Friday, November 16, 2007

Thai Fire & Rescue Training Academy กับภาพย้อนหลังไปสู่ “โรงเรียนสอนดับเพลิง” Thesis ปริญญาตรี ของข้าพเจ้า

ที่จั่วหัวไว้นี่ เป็นความจริงครับ เมื่อประมาณ เกือบสิบปีที่แล้ว
ในการศึกษาปีที่ห้า ผมได้มีความคิดที่จะทำโรงแสดงคอนเสิร์ต เป็นโครงการวิทยานิพนธ์ปริญญาตรี เพราะตัวเองเป็นนักดนตรี แต่แล้วก็ต้องเปลี่ยนใจ เมื่อวันหนึ่งได้เข้าไปอบรมเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในการอยู่อาศัยภายในอาคารสูง โดย พล ตำรวจ ตรี โชคชัย ยิ้มพงษ์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดับเพลิง
ผลจากการบรรยายคราวนั้นให้แรงบัลดาจใจกับผมมาก และทำให้ได้ทราบว่า กิจการการดับเพลิงและกู้ภัยของประเทศไทย ยังไม่มีการจัดการในแง่ของการฝึกระดับสูง (Advance) และในขณะนั้น ท่านโชคชัยก็บอกว่า กำลังมีการตั้งแนวทางการศึกษาเพื่อก่อตั้งสถาบันดังกล่าวอยู่ จึงตัดสินใจนำมาเป็นหัวข้อโคงการวิทยานิพนธ์ ชื่อ สถาบันอัคคีภัยแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนสอนดับเพลิงระดับสูง พิพิธภัณฑ์การกู้ภัยสำหรับเด็กๆ สถานฝึกอบรมสำหรับคนทั่วๆ ไป
ของแบบนี้ ตอนทำก็สนุก พอทำเสร็จก็ลืมครับ เวลาก็ผ่านไป
ผมเองก็ได้ทำงานในสหรัฐอเมริกาก็ทำใหได้เรียนรู้เกียวกับเรื่องนี้มาอีกระดับหนึ่ง ชีวิตการออกแบบของสถาปนิกที่นี่ เรื่องที่ต้องทำอยู่ทุกวันในการตัดสินใจใดๆ ส่วนใหญ่จะเป็นสอนเรื่องคือ เรื่องความปลอดภัยจากเพลิงไหม้ ซึ่งกฎหมายควบคุมทั้งหลายจะเล็งประเด็นนี้เ้ป็นหลัก อีกเรื่องคือเรื่องความเป็นไปได้ในการใช้อาคารของคนพิการ (Accessibility)
แต่ผมก็แทบจะไม่ได้คิดถึงเรื่อง สถาบันนี้อีกเลย
แต่เมื่อเช้านี้ก็ได้เกิดความรู้สึกประทับใจ ที่เหมือนทำให้ได้รับรู้ถึงอดีตที่กลับมาใหม่
เรื่องของเรื่องคือผมได้อ่านพบเรื่องราวเกี่ยวบกับสถาบันชื่อ Thai Fire & Rescue Training Academy – สถาบันดับเพลิงและกู้ภัยชั้นสูง ที่นี่ครับ
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9500000010910
ความรู้สึกมันยังกับฝันที่เป็นจริง
ใครๆ ที่เคยทำ Thesis แล้วโครงการของตัวเอง เกิดเป็นจริงขึ้นมา ก็คงจะเข้าใจความรู้สึกนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นคนไปลงมืออกแบบก่อสร้างเองจริงๆ ก็เถอะ
ผมได้อ่านบทความ แล้วก็ได้เข้าไปดูใน Website ของสถาบัน ก็รู้สึกประทับใจมากที่มีคนพยายามทำอะไรดีๆ ให้กับประเทศของเรา การฝึกทั้งหลายแน่นอนว่า ที่เป็นหลักคือการฝึกกู้ภัย แต่ที่น่าสนใจคือเขารับให้คำปรึกษากับการกู้ภัยในโครงการต่างๆ ซึ่งเรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพวกเราโดยตรง
ท่านที่รับนิตยสาร อาษาอาจจะเคยได้อ่านที่ผมเขียนเกี่ยวกับเรื่องแบบแผนอพยพ หรือ Exit Plan มาแล้ว มันคืออะไรทำนองนั้นล่ะครับ แต่ที่สถาบันนี้จะให้คำปรึกษาในระดับรายละเอียดที่ Advance มากๆ โดยเฉพาะถ้าโครงการเป็นประเภทอันตราย เช่นโรงงานเคมี คลังน้ำมัน โรงพยาบาล เป็นต้น
เว็บของสถาบันแห่งนี้คือ
http://www.thaifire.com/
อยากจะให้สถาปนิกทุกๆ ท่านลองเข้าไปดู ผมได้ปรึกษากับท่านชาติชาย ไทยกล้า ผู้บริหารสถาบัน (ซึ่งท่านก็มีลูกสาวเป็นสถาปนิก) ว่า เราน่าจะมีโครงการอะไรที่สถาปนิกจะได้เข้าไปเรียนรู้กันได้บ้าง ท่านชาติชายมีประวัติที่ผมพูดได้คำเดียวว่า God มาก ท่านเป็นครูฝึกที่สอนฝรั่งอเมริกันมาแล้ว ผ่านการฝึกมาแล้วทุกรูปแบบ นักบินท่านก็เป็น โดดร่ม ดำน้ำ ก็ได้คือสถาณการณ์ฉุกเฉินเกือบทุกรูปแบบ ท่านเคยผ่านการฝึกเพื่่อเข้ากูภัยและแก้ปัญหามาเกือบหมดแล้ว
คือเราได้รับการฝึกอบรมเรื่องการออกแบบเพื่อให้คนหนีออกจากอาคารได้มาพอสมควร เราก็ต้องเรียนรู้กันต่อไป แต่ผมว่าีมีพวกเราน้อยคนมากที่เคยเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบอาคารเพื่อให้สะดวกในการเข้ากู้ภัยโดยหน่วยกู้ภัย หรือที่เรียกกันว่าเป็น “Firemen’s Friendly” ทำนองเดียวกับ User’s Friendly ที่แปลว่า ใช้ง่าย
การออกแบบให้หน่วยดับเพลิงหรือหน่วยกู้ภัย มีความสะดวกในการทำงานนั้นก็เท่ากับว่า เราจะทำให้เราช่วยชีวิตคนได้มากขึ้น ซึ่งนั่นน่าจะเป็นสิ่งที่ดีใช่มั้ยครับผม

ดินสอที่มีอักษรเขียนว่า "เงินไม่สำคัญ"

เมื่อวานเพิ่งตอนเดินออกไปกินกาแฟ ใกล้ๆ กับที่ทำงาน ผมได้หยิบดินสออันหนึ่งที่ตกอยู่บนทางเท้าขึ้นมา เป็นดินสอที่หักซีกที่ตกอยู่เป็นซีกที่มีปลายแหลมสำหรับเขียน แล้วมีอักษรเขียนอยู่ด้านข้างว่า "Money is not important" หรือ เงินไม่สำคัญ ซึ่งเป็นประโยคที่ทำให้ผมคิดอะไรได้หลายๆ อย่างและอยากจะเอามา share ให้เพื่อนฟัง
ผมคิดว่าประโยคนี้ คงไม่ใช่ประโยคที่จบในตัวเอง คิดว่าน่าจะมีประโยคอีกส่วนหนึ่งที่อยู่ในอีกครึ่งหนึ่งของดินสอที่ไม่ได้อยู่ตรงนั้น ประโยคนั้นอาจจะเขียนว่า "Jesus is Important" หรือ "Family is important" หรืออะไรก็แล้วแต่ เพราะผมเชื่อว่านี่คือดินสอของที่ระลึกจากโบสถ์หรือองค์กรเอกชนที่ต้องการลดพฤติกรรมการทำงานหนักอย่างแรง เพื่อเงินของคนอเมริกันและหันมาเข้าหาศาสนาหรือให้เวลากับ ครอบครัวมากขึ้น แต่การที่ได้เห็นประโยคแค่ว่า "เงินไม่สำคัญ" ทำให้ผมได้แต่ยิ้มแล้วก็ส่ายหน้า


สิ่งที่แล่นเข้าหาสมองของผมตอนนั้นก็คือว่า ผมจะใช้ดินสอนนี้ทำอะไรได้บ้าง
แน่นอนผมก็สามารถเอาดินสอนี้ไปเขียนหนังสือได้ ผมจะเขียนอะไร ผมอาจจะเขียนเรื่องราวหรือกลอนที่ใช้เป็นแรงบันดาลใจคนทั้งโลก หรือใครก็ตามที่อยากจะอ่าน หรือผมอาจจะใช้เขียนคำที่เต็มไปด้วยความเกลียดชังให้คนเกิดความแค้น หรือผมอาจจะหยิบดินสอนี้ขึ้นมาแล้วหันปลายแหลมเข้าหาตัวเอง แล้วก็ … ทิ่มคอตัวเองตาย ก็เป็นได้
อุปมาที่น่าขันที่สุดในแนวคิดนี้ คือว่า คนในสังคมโลกของเรา ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหน มีทางเลือกในการใช้ประโยคที่ว่า “เงินไม่ใช่สิ่งสำคัญ” ได้ไม่ต่างกับดินสอที่ผมพูดถึงนี้เลย
คุณสามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่จะทำให้ชีวิตคุณมีแต่ความสุขความสงบ เหมือนกับการเขียนกลอนจรรโลงโลก หรือคุณอาจจะใช้ประโยคนี้ในการฆ่าตัวตายด้วยการเอาปลายแหลมของมันทิ่มคอหรือหัวใจของตัวเองให้สิ้นชีพไปก็ได้
คนที่พูดว่าเงินไม่ใช่ิสิ่งที่สำคัญที่ผมรู้จักในชีวิตมีอยู่สองรูปแบบคือ
หนึ่ง คนที่ทำมาหากินมาหนักสร้างเนื้อสร้างตัวมาจนถึงระดับที่มีเงินมากเสียจนรู้สึกว่า มันไม่ใช่ปัญหาของชีวิตของเขาอีกต่อไป เขากลับรู้สึกว่าการมีเงินมีทองนั้น มันไม่ได้ช่วยให้ชีวิตเขาเติมเต็ม เขารู้สึกว่า ชีวิตมีสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นที่รอให้คนหาอยู่ เช่นการเข้าหาธรรมะ การช่วยเหลือสังคม หรือการหาความตื่นเต้นอื่นๆ
สอง คือคนที่ ทั้งชีวิตไม่มีความพยายามที่จะทำงานหนักอะไร ไม่มีความต้องการที่จะพัฒนาตัวเองอะไร ไม่ยอมแม้กระทั่งจะพยายามดูสักครั้งเพื่อไปถึงสิ่งที่ฝัน แล้วก็เลยสร้างกำแพงล้อมตัวเองในใจ โดยใช้ประโยคว่า “เงินไม่ใช่เรื่องสำคัญ” มาเป็น “ข้อแก้ตัว” ที่ทำให้ตัวไม่จำเป็นต้องพยายาม ไม่จำเป็นต้องประสบความสำเร็จ
บุคคลสองกลุ่มนี้ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หากเปรียบเทียบเป็นยอดยุทธในบู๊ลิ้ม:
บุคคลกลุ่มแรก คือกลุ่มที่ไปถึงจุดสูงสุดแล้วคืนสู่สาัมัญ เขาได้ไปถึงจุดที่มีเงิน มีทอง ประสบความสำเร็จแล้วเขา แน่ใจอย่างชัดเจน ว่าเงิน เป็นเพียงเครื่องมือในการใช้ชีวิตเท่านั้น ไม่มีวันที่ตัวมันเองจะเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตไปได้ แถมยังเป็นเครื่องมือที่ต้องใช้ให้ถูก ถ้าใช้ผิดจะมีแต่ความทุกข์ แต่คนกลุ่มนี้ถ้าถูกรุกราน ก็จะสามารถป้องกันตัวเองและควบคุมการดำเนินชีวิตตัวเองได้เพราะมีวิทยายุทธอยู่
บุคคลกลุ่มที่สองคือคนที่ไ่ม่เคยหัดหมัดหัดมวย คิดว่า หัดไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร ไม่ได้จะไปสู้กับใคร หัดไปประสบความสำเร็จก็มีแต่ความว่างเปล่าแบบที่คนกลุ่มหนึ่งเป็น ก็เลยคิดว่า ไม่ต้องหัดเสียก็ดี แต่พอถึงเวลาที่มีเหตุการณ์ ถูกรุกราน คนกลุ่มนี้ก็จะช่วยอะไรตัวเองไม่ได้
ทำไมเงินจะไม่สำคัญ ทั้งๆ ที่ในโลกปัจจุบันของเราเป็นโลกเศรษฐกิจทุนนิยม
เงินนั้น มีความสำคัญอย่างแน่นอน ในส่วนที่มันมีความสำคัญได้ และเงินนั้นก็ไม่มีความสำคัญแม้แต่น้อยในส่วนที่มันไม่มีความสำคัญได้
เงินเป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ต่างกับฆ้อน หรือ ไขควง เราต้องใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
ถ้าท่านในแง่ดี ก็คือ บริจาค สร้างโรงพยาบาล สร้างสาธารณกุศล สร้างโรงเรียน ก็ว่าไปถ้าท่านในแง่ลบ ก็คือ ฆ่ากัน ทำสงครามกัน
นั่นคือสิ่งที่เงินซื้อได้
แต่เงินไม่สามารถซื้อ ความรัก การให้อภัย การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ความโอบอ้อมอารี
ซึ่งสิ่งเหล่าล้วนแต่เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ และห่างไกลจากเรื่องของเงินมาก ทำให้หลายๆ คนที่อยู่ในกลุ่มที่สอง(กลุ่มแก้ตัว) ยิ่งมีข้อสนับสนุนแนวคิดของตัวเองว่า เงินไม่ใช่เรื่องสำคัญของตน ได้มากขึ้นไปอีก แต่นั่นคือการเอาปากกาทิ่มคอตัวเองตายอยู่ !!
ถ้าท่านใช้ประโยคว่า “เงินไม่มีความสำัคัญ” เป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิต ท่านจะมีจิตใจที่โอบอ้อมอารี รู้จักบริจาค ให้ท่าน มีชีวิตพอเพียง เวลาตายจะไม่กังวลเรื่องทรัพย์สิน เพราะท่านได้ละแล้ว ไม่ยึดติดกับมันแล้ว นั่นคือการใช้ปากกาเขียนกลอนจรรโลงโลก
แต่ถ้าท่านใช้ประโยคว่า “เงินไม่มีความสำคัญ” มาเป็นข้อแก้ตัวในการดำเนินชีวิจของท่าน ท่านก็จะสามารถใช้ประโยคนี้ไป apply กับสิ่งอื่นๆ ได้ เช่น “การส่งลูกเรียนสูงๆ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ” การที่หาเงินให้พ่อแม่เกษียณ ได้ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ การที่จะให้ภรรยาของท่านไม่ต้องทำงานหนก ดูแลลูกอยู่กับบ้าน อบรมลูกให้เป็นคนดี ก็ไม่สำคัญอะไรมาก นั่นคือการใช้ปากกา ทิ่มคอตัวเองตายอย่างชัดเจน
สิ่งที่ผมกำลังพยายามจะพูดถึงคืออะไร
ผมกำลังบอกว่า การจะหยิบดินสอนหรือปากกาขึ้นมาทำอะไรนั้นเป็น “ทางเลือก” ของท่านที่ถือดินสอหรือปากกาอยู่ เพียงคนเดียว
การจะเขียนกลอนหรือบทความ หรือบทเพลงให้คนทั่งโลกนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ท่านต้องหาข้อมูล ฝึกฝนตัวเอง มีจิืตใจที่แนวแน่ มีความพยายามที่จะพัฒนา ซึ่งก็เหมือนกับความตั้งใจในการทำุธุรกิจที่จะหาเงิน ต้องมีจิตใจที่แนวแน่ ไม่ย้อท้อต่อความยากลำบาก ไม่กลัวความเหนื่อย ไม่กลัวที่จะถูกปฎิเสธ เป็นหนทางที่ยากเย็นแสนเข็ญ แต่ราววัลที่ได้รับนั้น หอมหวานมาก และท่านจะไปสู่จุดสูงสุดอันเป็นปรัชญาที่เข้าใจความหมายอย่างแท้จริงของประโยคที่ว่า “เงินไม่สำคัญ” นั้น คืออะไร
แต่การเอาดินสอหันเข้าหาตัวเองแล้วเอา ทิ่มคอตัวเองมันง่าย แค่ยกมือเพียงครั้งเดียว ชีวิตท่านก็จะจบสิ้น ไม่ต่างกับการที่่คนๆ นั้นไม่สนใจที่จะพัฒนาอะไร พูดว่าอยากทำธุีรกิจออกแบบให้ประสบความสำเร็จ แต่ไม่เคยค้นคว้า ไ่ม่เคยศึกษาหาตัวอย่างอะไร แต่ดันเลือกที่จะเป็น “เหยื่อ”
โปรดสังเกตุว่าผมใช้คำว่า “เลือก” ที่จะเป็นเหยื่อ
ผมไม่เชื่อว่าในชีวิตนี้มีใครที่ เกิดมาเป็นเหยื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เข้ามาเป็นสถาปนิกในวงการวิชาชีพอันทรงเกียรตินี้ได้ คนที่กลายเป็นเหยื่อคือคนที่เลือกที่จะเป็นเองลักษณะของเหยื่อ คืออะไร ? เจ้านายของผม Mr.Arthur Danielian ที่เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวงการสถาปัตยกรรมเคยบอกผมไว้ว่า มีสี่อย่าง
1. Blaming หรือ โทษคนอื่น – เหยื่อคือคนที่โทษทุกสิ่งทุกอย่างรอบๆ ตัวเวลาที่ตัวเองไม่ประสบความสำเร็จ โทษลูกค้า โทษสมาคม โทษหัวหน้า โทษลูกน้อง โทษเพื่อนร่วมงาน โทษสภาสาปนิก โทษภรรยา และแน่นอนที่สุด หลายๆ คนโทษพ่อแม่ตัวเองที่เลี้ยงตัวเองมาเป็นแบบนี้้ ปัญหาคือ เหยื่อเหล่านี้ โทษคนทั้งโลกยกเว้นตัวเอง
2. Justifying หรือ แก้ตัว – เหยื่อคือคนที่ไม่ประสบความสำเร็จแล้ว พยายามแก้ตัว ว่าสิ่งที่ตัวเองไม่ประสบความสำเร็จไม่ได้มีความสำคัญเช่น ไม่เห็นจะต้องไปสอบกส ไม่ได้สำคัญอะไร ไม่ต้องไปเรียนเรื่องการตลาด ไม่ได้สำคัญอะไร ไม่ต้องไปเรียนเรื่องการวางระบบเพราะไม่สำคัญอะไร สรุปแล้ว อะไรที่ตัวเองทำไม่สำเร็จ ก็จะบอกว่าไม่สำคัญ เป็นการสร้างเกราะกำบังให้ตัวเอง แทนที่จะยอมรับความไม่สำเร็จตรงนั้นแล้วพยายามใหม่ กลับบอกว่า คนที่ประสบความสำเร็จอยู่นั้นเป็นคนที่หลงทาง ทำอะไรที่ไม่มีความสำัคัญอยู่
3. Complaining – บ่น – นี่คือสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่เหยื่อจะทำได้ พอมีปัญหาอะไรก็บ่น หรือด่า แต่ไม่คิดจะต่อสู้ ไม่คิดจะมานั่งปรึกษาหาวิธีที่จะทำอะไรให้ดีขึ้น พอมีปัญหา ก็ด่าสมาคม ด่าสภา ด่าผู้บริหาร พอบอกให้ส่งจดหมายไปร้องเรียนสักฉบับก็บอกว่า ส่งไปก็ไ่ม่มีประโยชน์ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ลอง สรุปก็คือ ขอให้ได้บ่น การบ่นหรือด่า นั้นเป็นการรวมรวมความเลวร้ายที่เป็นสิ่งไม่ดีในชีวิตเข้ามาหาตนเอง เวลาทีคนเราบ่น เรากำลังพยายามมุ่งเน้นอะไรอยู่? เรามุ่งเนั้นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ในชีวิตเรา ถ้าเราวันๆ เองแต่มุ่งเน้นสิ่งที่ไม่ดีมากๆ เราจะกลายเป็นเหมือนกับแม่เหล็กที่ดูดสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายให้เข้ามามากขึนๆๆๆๆ
4. Back Stabbing หรือ นินทาคนอื่น – เป็นการกระทำที่ไมไ่ด้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรแม้แต่น้อย และเป็นอีกครั้งที่มุ่งเน้นแต่เนื้อหาในแง่ลบของชีวิตเข้ามาใส่ตัว เป็นสี่งที่เสียเวลาในชีวิตมาก แทนที่จะเลือกทำอะไรสักอย่าง ถ้าไม่ชอบคนๆ นี้ ก็ควรจะเลือกว่า หนึ่ง จะไม่คุยกับคนๆ นั้นอีก หรือ สองคือ ทำตัวเ็ป็นศัตรูคู่อาฆาต ต่อสู้ฟาดฟันกับคนๆ นั้นไป แต่ขอร้องว่าทำอะไรสักอย่าง อย่ามัวแต่นั่งนินทา
Mr. Danielian บอกอีกว่า ถ้าท่านอยากจะทำให้ชีวิตท่านกลายเป็นพลังที่มีแต่แง่บวก ขอให้เลิกเป็นเหยื่อเสีย ก็คือ จงงดกิจกรรมสี่ประการในชีิวิตของท่านให้หมดสิ้น ลองดูสัก สองสามอาทิตย เลิก โทษคนอื่น เลิกแก้ตัว เลิกบ่น แล้วก็เลิกนินทา ท่านอาจจะเห็นว่าชีวิตท่านเปลี่ยนไปอย่างไม่น่าเชื่อ
สรุปคือ ปากกาแท่งนี้อยู่ในมือของท่านแล้ว ท่านพร้อมหรือไม่ที่จะเริ่มฝึกตัวเอง ฝึกตัวเองให้หนัก ฝึกให้ตัวเองมีความเหนื่อยยากหรือ Uncomfortable ตั้งแต่วันนี้ เรียนรู้เรื่องการทำการตลาด การวางระบบ การจัดการเรื่องการเงิน เพื่อให้ท่านมีความเจริญเติบโตต่อไปข้างหน้า เพื่อให้ท่าน สามารถเป็นผู้เขียนกลอน หรือบทกวีบรรลือโลก สักวันหนึ่ง และมีประโยคที่ว่า “เงินไม่ใช่เรื่องที่สำคัญ” เป็นปรัชญาประจำตัวของท่าน หรือท่านจะเลือกวิธีง่ายๆ ที่จะเอาปากกาแท่่งนี้ ทิ่มคอตัวเอง ท่านต่อไปๆๆๆ อย่างต่อเนื่อง แล้วก็มีประโยคที่ว่า “เงินไม่ใช่เรื่องสำคัญ” มาเป็นข้อแก้ตัวและพันธนาการที่จะปิดโอกาสในการสร้างความเจริญของท่านไปตลอดชีวิต?:)
เชิญพี่ๆ น้องๆ อภิปรายได้ตามสะดวกต่อจากนี้นะครับ

บทความแปล: นอกจาก Zaha Hadid แล้วยังมี "พวกเธอ": สุภาพสตรีที่เป็นเจ้าของบริษัทสถาปัตย์

ยุค 2000 น่าจะเป็นยุคที่เป็น Power of the Women ใช่มั้ยครับ
เราเคยคิดว่า วิชาชีพสถาปนิกเป็นวิชาชีพของผู้ชายสมัยโน้น ตอนนี้ คณะสถาปัตย์ชั้นนำหลายๆ แห่ง มีผู้หญิงเรียนพอๆ กับผู้ชายแล้ว และอาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ
ใครที่เรียนเก่งที่สุดในชั้นครับ ? ใครที่จด lecture เก่งที่สุด เพื่อนๆ ต้องมาของ Zerox ถ้าไม่ได้เอามานั่งอ่าน หลายๆ คนอาจจะเรียนไม่จบ ก็เพื่อนผู้หญิงของพวกเราใช่มั้ยครับ
นั่นคือความสามารถของพวกเธอ แล้วในระดับความเป็นผู้นำของโลกล่ะ ?
เราได้เห็นสุภาพสตรี ได้กลายมาเป็นผู้นำประเทศยักษ์ใหญ่ อย่างเยอรมันนี กลายมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ กลายมาเป็นรัฐมนตรีกลาโหมของนอร์เวย์ (จริงคนนี้เป็นมาก่อนปี 2000 อีก) เร็วๆ นี้เราอาจจะได้เห็นสุภาพสตรีเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของสหรัฐอเมริกาก็ได้
มาลองดูวงการของเรา ในประเทศเราก็มีสถาปนิกสุภาพสตรีที่เป็น Sole Owner หรือเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว ของบริษัทออกแบบหลายคนแล้วเหมือนกัน
ในสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตกอื่นๆ ก็มีสถาปนิกสุภาพสตรีหลายคนที่เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว และทำการบริหารจัดการกิจการของตัวเองจนเจริญรุ่งเรือง ไม่แพ้ หมายเลขหนึ่งอย่าง Zaha Hadid ที่เป็นที่รู้จักกันดี และแน่นอนว่าไม่แพ้ชายอกสามศอกแต่อย่างใด (บางทีอาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ)
มาลองดูเรื่องราวของหญิงแกร่ง และหญิงเก่งเหล่านี้ เขียนโดย Suzanne Stephens แห่ง Architecture Record ฉบับเดือน ธันวาคมปี 2006 ครับ

ปล.โดยผู้แปลขอร้องว่าอย่ามองกระทู้นี้เป็น กระทู้ Sexist กันเลยนะครับ ไม่ได้ต้องการจะเอาผู้หญิงเพศแม่มาดูถูก หรือ จะเอาผู้ชายแบบพวกเรามาดูถูกเปรียบเทียบอะไรกันเลย เพียงแต่ผมคิดว่าวิชาชีพของเราซึ่ง เรามักจะเห็นคนที่ประสบความสำเร็จดังๆ มักจะเป็นสุภาพบุรุษ บทความนี้ได้สะท้อนมุมมองที่ตรงกันข้ามกับมุมนั้นบ้าง เท่านั้นเองครับ ด้วยความเคารพ

ลองสมมุติว่า ถ้าคุณไม่ใช่คนที่อยู่ในวงการนี้ แล้วลองไปเดินตามท้องถนน หยิบหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารสำหรับคนทั่วไปที่มีตลาดกว้างๆ ขึ้นมาอ่าน คุณอาจจะเข้าใจว่า ในโลกนี้มีสถาปนิกผู้หญิงเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ได้ออกแบบอาคารชั้นนำ ได้โครงการดีๆ ที่น่าสนใจไปทำ ชื่อของเธอก็ไม่ใช่ใครที่ไหน Zaha Hadid นั่นเอง แน่นอนว่าเราก็ต้องให้เครดิตกับเธอหน่อย สถาปนิกที่มีเชื้อสายอิรักซึ่งมีสำนักงานอยู่ในลอนดอนแห่งนี้ ได้นำสีสันอันอลังการเข้ามาสู่วงการของเราได้ไม่น้อย แต่คุณก็อาจจะอดไม่ได้ที่จะถามว่า แล้วสถาปนิกหญิงคนอื่นๆ ล่ะ ไม่มีใครที่มีความสามารถระดับนี้อีกแล้วหรือ มีใครบ้างไหม ที่เป็น แบบ Hadid ที่บริหารจัดการสำนักงานออกแบบด้วยตัวเอง เป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว ในบทความนี้ นิตยสารของเรา (Architectural Record) ได้ตัดสินใจลงลึกไปในประเด็นนี้ โดยสำรวจในกลุ่มของสถาปนิกหญิงในสหรัฐอเมริกา ว่าเรื่องความเป็นเพศหญิงของเธอนั้น ส่งผลใดกับเส้นทางวิชาชีพของพวกเธอกันบ้าง ถ้าถามกลับไปว่า ผู้หญิงมาไกลแค่ไหนในวิชาชีพนี้ ก็อาจจะต้องมองกลับไปในยุคที่ สุภาพสตรีมีการรวมพลังกันอย่างแข็งขัน นั่นคือในยุค 1970s โดยเมื่อปี 1977 ได้มีนิทรรศการที่ชื่อว่า Woman in American Architecture, an Historical and Contemporary Perspective (ขอแปลตรงๆ ว่า มุมมองในประวัติศาตร์และมุมมองร่วมสมัย เกี่ยวกับ สตรีในวงการสถาปัตยกรรมของสหรัฐอเมริกา) จัดขึ้นที่ Brooklyn Museum of Art จัดโดย Susana Torre และให้การสนับสนุนโดย Architectural League of New York งานแสดงครั้งนั้น เป็นที่ตื่นตะลึงไปทั่ว เพราะเป็นการแสดงผลงานอันตระการตาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ของสถาปนิกหญิงที่ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน บางอาคารมีชื่อเสียงมาก แต่ไม่มีใครรู้ว่าคนออกแบบเป็นสุภาพสตรีคำถามก็คือ ในปัจจุบัน เมื่อเวลาผ่านมาได้ 30 ปีพอดี ทุกวันนี้ สุภาพสตรี ยังสร้างความตื่นตะลึงให้กับวงการสถาปัตยกรรมได้มากน้อยแค่ไหน


ในการทำงานครั้งนี้เราได้สัมภาษณ์สถาปนิกสตรีที่มีประสบการณ์ทำงานยาวนาน ด้วยตนเองหรือกับหุ้นส่วนคนอื่นๆ ที่เป็นสุภาพสตรี เราพยายาจะกรองบริษัทที่มีผู้นำเป็นสุภาพสตรี แต่มีหุ้นส่วนต่างๆ เป็นสุภาพบุรุษ นอกเสียจากว่าจะมีการบริหารด้วยสุภาพสตรีมาตลอดจนเพิ่งจะมาเพิ่มบุรุษในตอนหลัง เราไม่ได้ต้องการที่จะมาพิสูจน์ว่า บริษัทที่ดำเนินการด้วยสถาปนิกสุภาพสตรีจะดีกว่าบริษัทที่ดำเนินการด้วยสุภาพบุรุษหรือผสม เราเพียงแต่ต้องการจะหาขอมูลว่า บรรยากาศและรูปแบบต่างๆของบริษัทรูปแบบนี้ เป็นอย่างไร และเราอยากได้แนวคิดและคำแนะนำที่จะมีให้กับนิสิตนักศึกษาสถาปัตย์และสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิตที่เป็นสตรี จากสถาปนิกสตรีผุ้ประสบความสำเร็จเหล่านี้
ในขณะที่เราพยายามหาไปทั่วประเทศ บริษัทที่เข้าตามคุณสมบัติที่เราคิดเอาไว้ส่วนใหญ่จะอยู่ใน มหานครนิวยอร์ค เหตุผลก็น่าจะมาจากสองสามประการ หนึ่งก็คือ มีโรงเรียนสถาปนิกอยู่มากมาย บัณฑิตที่จบมาก็ชอบที่จะอยู่ในเมืองที่มีสีสันแบบนี้ เมื่อมีแรงงานมาก ก็เกิดการแข่งขันมาก ดังนั้นบริษัทที่อยู่รอดและประสบความสำเร็จในการแข่งขัน ก็ต้องนับว่าอยู่ในระดับที่น่าสนใจเพียงพอที่จะนำมาพูดกันในที่นี้
ทุกวันนี้ ในสหรัฐอเมริกา จำนวนสุภาพสตรีที่เป็นสมาชิกของ AIA หรือ American Institute of Architects (คนที่มีใบอนุญาติเท่านั้นจึงจะเป็นสมาชิกได้) ถึงประมาณ 13.3% หรือประมาณ 62400 คน ถ้าหากนับรวม สุภาพสตรีที่มีใบอนุญาติ แต่ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ AIA จำนวนรวมกันของสถาปนิกสตรีที่มีใบประกอบวิชาชีพอาจจะรวมกันได้ถึง 110,000 คน ซึ่งถ้ารวมๆ กันอาจจะดูไม่มากเทียบกับบุรุษ แต่หากดูในแง่ของการเพิ่มจำนวนแล้ว จะเห็นได้ว่ามีความชัดเจนมาก ในปี 1975 ตามสถิติของ AIA สุภาพสตรีที่มีใบประกอบวิชาชีพสถาปนิก มีเพียง 1.2% เท่านั้น แต่พอเข้าปี 1991 กลับมีจำนวนสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาเป็น 9.59% และมี 4.3% ที่เป็นเจ้าของบริษัท และในปี 2006 มีสุภาพสตรีถึง 13% เป็นเจ้าของหรือหุ้นส่วนบริษัท แต่ถึงจะมีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับสัดส่วน 40% ของนิสิตนักศึกษาหญิงที่ศึกษาวิชาสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นระดับปริญญาตรี หรือปริญญาตรีแล้ว ผลที่ออกมาเป็นสิ่งที่ชัดเจนว่า จำนวนบัณฑิตหญิงที่เข้ามาทำงานจริงในวงการออกแบบสถาปัตยกรรมยังมีน้อย


Why do I? – ทำไมพวกเธอถึงตัดสินใจเริ่มทำธุรกิจ
สุภาพสตรีที่เราสัมภาษณ์ทุกคนพูดเหมือนกันหมดว่า การที่เธอตัดสินใจทำธุรกิจด้วยตัวเองเพียงคนเดียวเพราะต้องการอำนาจในการตัดสินใจเพื่อที่จะทำงานออกแบบที่มีคุณภาพได้ ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่เหมือนๆ กับคนที่เปิดสำนักงานใหม่ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม Suman Sorg, FAIA (สมาชิกระดับ Fellowship หรือน่าจะพอเปรียบเทียบได้กับ วุฒิสถาปนิก ในประเทศไทย) เป็นสถาปนิกสุภาพสตรีที่มีสำนักงานขนาด 40 คน ชื่อว่า Sorg and Associates ในเมือง Washington, D.C. เธอพูดว่า “ดิฉันยอมรับว่า ตัวเองเป็นคนที่มีความทะเยอทะยาน ต้องการที่จะพัฒนางานอยู่เสมอ และแน่นอนว่าต้องการอิสระในการออกแบบ”เช่นเดียวกับ Anne Fougeron, AIA ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทขนาด 9 คน อยู่ในเมือง San Francisco “ฉันต้องการพิสูจน์ให้สังคมรู้ว่า การที่สตรีจะดำเนินธุรกิจออกแบบด้วยตัวเองเพียงคนเดียวเป็นสิ่งที่เป็นไปได้” ในบางกรณี ความเห็นก็แตกต่างออกไป เช่น ความเห็นของ Page Ayres Cowley, AIA ซึ่งเป็นเจ้าของสำนักงาน ขนาด 11 คน เธอเคยมีหุ้นส่วนเป็นสุภาพบุรุษมาก่อนที่จะมาเป็นเจ้าของคนเดียว “การเข้าหุ้นกันจะไม่มีทางไปกันได้รอด ถ้าแต่ละฝ่ายมีมุมมองที่ต่างกันในเรื่องของ รายได้เป้าหมาย และเรื่องของนโยบายต่างๆ ในการทำธุรกิจ” แต่ก็มีสุภาพสตรีบางคนที่ เจอหุ้นส่วนที่ดี เช่นในกรณีของ Ann Beha, FAIA ที่เป็นเจ้าของบริษัทขนาด 30 คนใน Boston และได้พบกับ Pamela Hawkes, FAIA โดยทั้งสองชอบที่จะทำงานประเภท Renovation เหมือนๆกัน
สุภาพสตรีหลายๆคนที่จบการศึกษามาจากโรงเรียนสอนสถาปัตยกรรมในช่วงปี 1970s ก็ได้พยายามในการทำธุรกิจของตัวเองมาตลอด บางคนทำเพราะเชื่อมันว่าทำได้ ไม่มีการไปค้นคว้าตลาดแต่อย่างใด บางคนก็พยายามอยู่ให้รอดโดยการทำงานเล็กๆ ที่คนอื่นไม่มีใครทำ บางคนก็แอบทำ ในขณะที่ตัวเองมีงานประจำอยู่ บางคนก็มีคำตอบที่ดีให้กับชีวิตโดยเฉพาะเวลาที่มีลูกว่า การเป็นเจ้าของธุรกิจทำให้เธอจัดเวลาของเธอได้ ทำให้เธอได้เป็นแม่เต็มเวลา และยังทำงานได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังไม่ต้องไปทำงานแข่งกับผู้ชายในสำนักงานใหญ่ๆ ซึ่งก็จะทำให้เธอต้องห่างกับครอบครัว
Katherine McGraw Berry, AIA แห่ง นคร New York เปิดบริษัทออกแบบของเธอเมื่อปี 1985 ในช่วงที่เธอมีลูกชายฝาแฝดสองคน โดยที่เธอลาออกมาจาก Kohn Pedersen and Fox เธอบอกว่า เธอมีความสุขที่ได้ทำงานขนาดไม่ใหญ่มาก มีเวลาใส่ใจกับรายละเอียดและรายได้ที่พอสมควร ไม่มาก แต่ทำให้เธอแบ่งเวลาให้กับทุกๆ มิติในชีวิต Heather McKinney, AIA แห่งเมือง Austin รัฐ Texas กล่าวว่า “เวลาที่ลูกเราโตขึ้นมา เธอใช้เวลากับการดูแลครอบครัวไปมาก หลายๆ คนที่ออกไปทำงานส่วนตัว จะไม่มีประสบการณ์มากพอที่จะไปทำงานระดับใหญ่ หรือระดับซับซ้อน ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะก้าวหน้าในวิชาชีพ” แต่สิ่งที่เราคนพบ กับบริษัทที่ประสบความสำเร็จซึ่งดำเนินการโดยสุภาพสตรีในบทความนี้ สถาปนิกสตรีเกือบทุกคนที่เราได้พูดคุยก็มีครอบครัวและมีลูก เช่นนกรณีของ Beha เธอมีลูกสองคน ซึ่งเธอให้ความเห็นว่า “ก็เป็นงานที่ยากลำบากอีกชิ้นหนึ่งที่เข้ามาในชีวิตเท่านั้นเอง”


สุภาพสตรีหลายๆคนที่จบการศึกษามาจากโรงเรียนสอนสถาปัตยกรรมในช่วงปี 1970s ก็ได้พยายามในการทำธุรกิจของตัวเองมาตลอด บางคนทำเพราะเชื่อมันว่าทำได้ ไม่มีการไปค้นคว้าตลาดแต่อย่างใด บางคนก็พยายามอยู่ให้รอดโดยการทำงานเล็กๆ ที่คนอื่นไม่มีใครทำ บางคนก็แอบทำ ในขณะที่ตัวเองมีงานประจำอยู่ บางคนก็มีคำตอบที่ดีให้กับชีวิตโดยเฉพาะเวลาที่มีลูกว่า การเป็นเจ้าของธุรกิจทำให้เธอจัดเวลาของเธอได้ ทำให้เธอได้เป็นแม่เต็มเวลา และยังทำงานได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังไม่ต้องไปทำงานแข่งกับผู้ชายในสำนักงานใหญ่ๆ ซึ่งก็จะทำให้เธอต้องห่างกับครอบครัว
Katherine McGraw Berry, AIA แห่ง นคร New York เปิดบริษัทออกแบบของเธอเมื่อปี 1985 ในช่วงที่เธอมีลูกชายฝาแฝดสองคน โดยที่เธอลาออกมาจาก Kohn Pedersen and Fox เธอบอกว่า เธอมีความสุขที่ได้ทำงานขนาดไม่ใหญ่มาก มีเวลาใส่ใจกับรายละเอียดและรายได้ที่พอสมควร ไม่มาก แต่ทำให้เธอแบ่งเวลาให้กับทุกๆ มิติในชีวิต Heather McKinney, AIA แห่งเมือง Austin รัฐ Texas กล่าวว่า “เวลาที่ลูกเราโตขึ้นมา เธอใช้เวลากับการดูแลครอบครัวไปมาก หลายๆ คนที่ออกไปทำงานส่วนตัว จะไม่มีประสบการณ์มากพอที่จะไปทำงานระดับใหญ่ หรือระดับซับซ้อน ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะก้าวหน้าในวิชาชีพ” แต่สิ่งที่เราคนพบ กับบริษัทที่ประสบความสำเร็จซึ่งดำเนินการโดยสุภาพสตรีในบทความนี้ สถาปนิกสตรีเกือบทุกคนที่เราได้พูดคุยก็มีครอบครัวและมีลูก เช่นนกรณีของ Beha เธอมีลูกสองคน ซึ่งเธอให้ความเห็นว่า “ก็เป็นงานที่ยากลำบากอีกชิ้นหนึ่งที่เข้ามาในชีวิตเท่านั้นเอง”
สุภาพสตรีส่วนใหญ่ที่เราได้สัมภาษณ์มาจาก รุ่นที่จบการศึกษาในยุคปลาย 1970s และต้น 1980s ส่วนใหญ่ทำธุรกิจด้วยตัวเองมาประมาณ 10-20 ปีแล้ว ขนาดของบริษัทก็มีตั้งแต่ทำงานคนเดียวไปจนถึง 40 คน โดยในประวัติของบริษัทก็จะมีพนักงานอยู่ประมาณ 20-30 คน บริษัทส่วนใหญ่มีสถาปนิกและนักออกแบบ (ไม่มีใบอนุญาติ แต่ได้รับมอบหมายงานให้ออกแบบ) สถาปนิกคนหนึ่งที่เราได้สัมภาษณ์คือ Sophia Guruzdys, AIA ซึ่งเคยทำงานให้กับ Pei Cobb Freed มาก่อน (พัฒนามาจากสำนักงานส่วนตัวของ I.M.Pei) ซึ่งเธอได้บอกว่า Harry Cobb หนึ่งในหุ้นส่วนได้เป็นคนสนับสนุนให้เธอออกมาทำเอง โดยส่วนตัวเธอบอกว่า เธอไม่ชอบทำงานให้กับเจ้านาย โดยที่เธอไม่มีส่วนร่วมในการควบคุมอะไรในโครงการนั้นเลย แน่นอนว่า การที่เธอออกมาก็มีข้อเสียคือ ในช่วงแรกที่เปิดสำนักงานในปี 1988 นั้น เธอต้องรับโครงการที่เธอไม่ได้อยากทำเลย แต่ต้องรับเพื่อให้มีรายได้
Gisue and Mojgan Hariri (น่าจะเป็นคนเชื้อสายอิหร่าน – ผู้แปล) สองสาวพี่น้องที่ทำงานด้วยกันมาตั้งแต่ปี 1986 ได้แนวคิดที่จะทำงานด้วยกันหลังจากที่ได้ไปเยี่ยมชมโครงการของบรีษัท Greene and Greene ในเมือง Pasadena, California “ถ้าหากว่าพี่น้องผู้ชายสองคนเขายังทำได้ พวกเราเลยคิดว่าพวกเราก็น่าจะทำได้เหมือนกัน”
อีกรายคือ Robin Elmslie Osler เธอเติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมของสถาปัตยกรรม พ่อของเธอเป็นเจ้าของบริษัทสถาปัตย์และลุงของเธอเป็นหุ้นส่วนของ Purcell & Elmslie ที่มีชื่อเสียง แห่งเมือง Minneapolis แม้ว่าเธอจะมีอาชีพเป็น นางแบบแฟชั่นมาก่อน แต่ประสบการณ์ที่เธอเคยอยู่ใกล้ชิดกับพ่อโดยเฉพาะได้เห็น site ก่อสร้างทำให้เธอตัดสินใจเข้าเรียนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ Yale และจบการศึกษาในปี 1990 เธอเปิดบริษัทของเธอเองชื่อว่า EOA/Elmsilie Osler Architects ในปี 1996 ปัจจุบันมีพนักงาน 8 คน ซึ่งงานส่วนใหญ่ที่เธอได้นั้น มาจากคนที่เธอรู้จักในวงการแฟชั่น แต่พอเวลาที่เธอได้ทำงานไปเรื่อยก็มีฐานลูกค้ามากขึ้น ล่าสุดลูกค้าที่เธอได้นั้น มาจากการส่งต่อโดย Richard Gluckman, FAIA แห่งสำนักงาน Gluckman Mayner ณ มหานคร นิวยอร์ค


Getting Clients
สำหรับสถาปนิกผู้หญิงการออกเดินสายหาลูกค้าเพื่อทำโครงการไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ส่วนใหญ่จะได้รู้จักกับลูกค้าตอนที่ทำงานในสำนักงานใหญ่ๆ ก่อนที่จะออกไปทำเองแล้วลูกค้าตามไปจ้าง หลายๆ คนต้องใช้วิธีที่ค่อนข้าง aggressive หรือ ถึงลูกถึงคน เช่นในกรณีของ Wendy Evens Josephs, FAIA ซึ่งมีโอกาสได้ตั้งสำนักงานขนาดหกคนของตัวเองในปี 1996 เพราะได้โครงการ สะพานคนข้ามของมหาวิทยาลัย Rockefeller ใน นคร นิวยอร์ค โดยที่มาของการได้โครงการนี้ก็มีอยู่ว่า ในคืนวันหนึ่งที่เธอกำลังรับประทานอาหารในงานสังคมงานหนึ่ง อธิการบดีของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้อยู่ในที่งานนี้ด้วยและอธิบายถึงปัญหาการขาดแคลนงบประมาณในการสร้างสะพานให้เธอฟัง เธอได้นำเสนอแผนการคร่าวๆ ให้อธิการบดีฟังทันที ด้วยความมีประสบการณ์อันมากมายมาจาก การออกแบบ Holocaust Museum ใน นครวอชิงตัน ดีซี สมัยที่ทำงานให้กับ Pei Cobb Freed โดยเธอมีทีมวิศวกรที่ใกล้ชิดและเด็กดร้าฟที่ทำงานที่โต็ะกินข้าวที่บ้านของเธอ แล้วต่อมาเธอก็ได้งานนี้ไป (ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน คงจะง่ายเพราะเป็นการตัดสินใจของ Board แต่ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ โอกาสที่จะได้งานแบบ Unsolicited proposal แบบนี้ น้อยมาก เพราะถ้า Board ส่ง proposal เข้าที่ประชุมแล้วสรุปโดยไม่มีการเปิดประมูลสาธารณะ ก็อาจจะโดนประชาชนผู้เสียภาษี ซึ่งมีสถาณภาพเหมือนผู้สนับสนุนกิจการของมหาวิทยาลัย ฟ้องร้องได้ – ผู้แปล)

Andrea Leers, FAIA และ Jane Weinzapfel, FAIA เปิดสำนักงานส่วนตัวในเมือง Boston ในปี 1982 ซึ่งเน้นความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบสาธาณูปโภคหรืองานเทคนิคระดับซับซ้อน เช่น หอควบคุมระบบการขนส่งทางน้ำของ Massachusetts Bay Transportation Authority เป็นต้น Leers กล่าวว่า “เราได้งานในตลาดที่ค่อนข้างไม่หวือหวา และมีงบประมาณที่จำกัดมาก เป็นโครงการที่บริษัททั่วๆไปไม่ค่อยสนใจ ซึ่งก็เป็นข้อดีสำหรับเรา เพราะเราจะไม่ค่อยถูกกระทบมากจากวงจรเศรษฐกิจที่มีขึ้นมีลง” อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ เรื่องเกี่ยวกับความเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายนั้นแทบจะไม่มีความหมาย โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกานั้น โครงการของรัฐนั้นมีระบบพิเศษที่จะช่วยเหลือกลุ่มที่ถือว่า “ด้อยโอกาสในสังคม” หรือที่เรียกว่า Minority ซึ่งธุรกิจที่มี สุภาพสตรีเป็นเจ้าของก็เป็นหนึ่งในนั้น ตัวอย่างเช่น นคร New York City ต้องการหาบริษัทที่มีผู้หญิงล้วนมาทำโครงการของรัฐ (เป็นการสร้างภาพทางการเมือง ในสหรัฐ การสร้างภาพเพื่อให้ตัวเองดูมีมุมมองที่กว้างขวาง ช่วยเหลือกลุ่มที่ด้อยโอกาสในสังคม เช่น คนดำ หรือสุภาพสตรีนั้น เป็น การรับประกันว่านักการเมืองจะได้ คะแนนเสียงจากคนกลุ่มนี้ไปในตัว) ตัวอย่างของ สถาปนิกกลุ่มนี้ได้แก่ Karen Bausman AIA และ Beyhan Karahan AIA ซึ่งแต่ละคนมี พนักงาน 11 และ 15 คนตามลำดับ ได้มีชื่อบริษัทของตัวเองอยู่ในบัญชีสถาปนิกของ นคร New York’s design excellence program ที่เป็นโครงการจากผู้ว่า Michael Bloomberg (http://www.archpaper.com/news/2007_0404.htm) ในแผนก ออกแบบและก่อสร้าง


อีกประการหนึ่งทีสถาปนิกหญิงพบในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาคือ การเพิ่มจำนวนของลูกค้าที่เป็นสุภาพสตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลูกค้ากลุ่มที่มาจากสถาบันการศึกษา สถาบันทางวัฒนธรรมต่างๆ และภาครัฐ Andrea Leers ได้กล่าวว่า “การที่เราเป็นผู้หญิงนั้นเป็นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับลูกค้าที่ใจกล้า ที่จะลองรับการบริการวิชาชีพจากเรา” แต่ Gisue Hariri ก็ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับ คณะกรรมการคัดเลือกสถาปนิกในองค์กรสำคัญๆ ว่า “ถ้าในกรรมการนั้น ไม่มีผู้หญิงอยู่เลย ก็จะไม่มีสถาปนิกหญิงได้รับเลือกเช่นกัน ส่วน Diane Lewis, AIA ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทขนาด 11 คนในนิวยอร์คก็ได้กล่าวว่า “บริษัทของดิฉันจะดึดดูดลูกค้าที่ค่อนข้างจะมีความรู้ และมีรสนิยมทางศิลปะมากหน่อย” งานของเธอนั้นเป็นประเภท Art Gallery, Charter School และห้องพัก (Loft) ของ Mark Wigley คณะบดีของ Graduate School of Planning and Preservation แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
แต่ถ้าเป็นลูกค้าที่เป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นั้นจะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง การได้งานจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่น้นเป็นได้ยากมากสำหรับสถาปนิกสตรี Deborah Berke, AIA ซึ่งเป็นเจ้าของสำนักงานขนาด 25 คน ได้กล่าวว่า “นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่โทรหาเรานั้น มักจะเป็นคนที่มีจิตใจเิปิดกว้างอยู่แล้ว” Julie Snow, FAIA ซึ่งเป็นเจ้าของสำนักงานขนาด 15 คนในเมือง Minnesota ในความเห็นว่า ลูกค้าบางคนนั้นไม่ค่อยจะรู้สึกสบายใจที่จะทงานกับผู้หญิง “แต่ที่เราได้งานส่วนใหญ่จากลูกค้าที่เป็นผู้ชายนั้น จะเป็นเพราะพวกเขาต้องการมุมมองของผู้หญิงที่อยากให้เขาไปอยุ่ในงานออกแบบ” Audrey Matlock, AIA ที่ีมีสำนักงานขนาด 12 คน ได้กล่าวว่า ถ้าเราไม่ได้งานนั้นมาทำกับมือ เราก็จะไม่รู้ว่าเรื่องความเป็นผู้หญิงของเรานั้นเกี่ยวข้องกับประเด็นที่เขาเลือกเราให้ทำงานกับเขาหรือไม่ ณ ปัจจุบัน เธอกำลังออกแบบโครงการ ศูนย์กีฬา และคฤหาสน์ ขนาดใหญ่ในประเทศคาซัคสถาน ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับผ่านมาทาง Skidmore Owings & Merril (SOM) นายจ้างเก่าของเธอ
Ronnette Riley, FAIA เปิดสำนักงานในนิวยอร์คตั้งแต่ปี 1987 มีจำนวนพนักงานไม่เกิน 14 คน พบว่าการทำงานกับบริัษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นเรื่องที่ยากเพราะ เป็นคนที่ค่อนข้างจะอนุัรักษ์นิยม และชินกันการเสี่ยง พวกเขามักจะชอบทำงานกับคนที่คุยภาษาเีดียวกับเขา แต่เธอก็เล่าให้ฟังว่า เธอได้งานจากลูกค้าคนหนึ่งเพราะรถที่เธอซื้อมาขับ (BMW 645 CI) เขาหยุดแล้วถามเธอเกี่ยวกับรถที่เธอขับว่าเป็นอย่างไรบ้าง แล้วการสนทนาก็เิ่ริ่มมาจากตรงนั้น Alison Spear, AIA มีสำนักงานขนาด 6 คนในเมือง Miami รัฐ Florida ชอบทำงานกับ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มาก เธอชอบความกดดันในการทำงาน เธอกล่าวว่าทำให้เธอรู้สึกสนุกกับมัน เธอเพิ่งจะออกแบบโครงการคอนโดมิเนียมขนาด 12 ชั้นเสร็จ โดยเป็นโครงการของบริษัท Aqua บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชื่อดัง เธอทำงานออกแบบภายใน ร่วมกับการออกแบบสถาปัตยกรรมด้วย เธอกล่าวว่า นี้เป็นสิ่งที่ลูกค้าเธอชอบเพราะไม่ต้องไปหานักออกแบบหลายๆ คน มาหาเธอคนเดียวแล้วจบ


The Press
การได้รับตีพิมพ์เป็นสิ่งสำคัญ แต่คุณจะให้สื่อต่างๆ มาสนใจคุณได้อย่างไรเวลาที่คุณเพิ่งเิริ่มเปิดกิจการ ก็มีหลักๆ สองอย่างที่จะดึงความสนใจสื่อได้คือ ประเภทของโครงการกับลูกค้าที่มีชื่อเสียง Spear ได้รับการตีพิมพ์เยอะมากในโครงการ loft ที่เธอทำเมื่อ 20 ปีก่อน ให้กับ Jay McInerney (นักเขียนชื่อดัง) ซึ่งเป็นลูกค้าที่เธอได้พบจากเครือข่ายศิลปินของ National Arts Club เธอจบการศึกษาจาก Cornell และตัดสินใจเข้าทำงานกับ Juan Pablo Molyneux ซึ่งเป็นมัณฑนากร เธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับ antiques การให้สี และ fabric ต่างๆ มากมาย ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับเธอ เทียบกับการเรียนสถาปัตยกรรมที่มีแต่ขาวกับดำ เธอเชื่ออยู่เสมอว่าตัวเองเป็นสถาปนิก แต่ทำงานออกแบบมัณฑนากร แต่สื่อมักจะคิดว่าเธอเป็น มัณฑนากรหรือ เรียกเธอว่า Decorator ในกรณีของ Jennifer Luce, AIA ผู้ทำธุรกิจออกแบบ ทั้งงาน Landscape และ งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ด้วยสาเหตุที่บริษัทของเธอมีสุภาพสตรีทำงานอยู่ถึง 75% ทำให้สื่อคิดว่าบริษัทของเธอเป็นบริษัทมัณฑนากร ล่าสุดงานของเธอ Nissan Design America Building ใน ดีทรอยต์ และ Nissan Design Studio ที่ La Jolla ในแคลิฟอร์เนีย น่าจะทำให้ภาพพจน์ตรงนี้ลดลง แต่เธอก็บอกว่ายาก เพราะเธอเป็นคนที่ใส่ใจในทุกรายละเอียดในงานของเธอ (ตีความว่าเป็นนิสัยของ Interior Designer )

สถาปนิกแห่ง มหานครนิวยอร์คอีกคนชื่อ Annabelle Selldorf, AIA ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยมีปัญหาในการได้รับความสนใจจากสื่อสักเท่าไหร่ ส่วนหนึ่งเพราะลูกค้าที่เป็นคนที่มีชื่อเสียงในวงการศิลปะของเธอ งานออกแบบของเธอส่วนใหญ่จะเป็นที่อยู่อาศัยของคนกลุ่มนี้ หรือไม่ก็ออกแบบ Art Gallery เช่น Museum of German and Austrian Art ในแมนฮัตตัน “ดิฉันเริ่มต้นจากการทำงานปรับปรุงห้องครัวเล็กๆ ในปี 1989” ปัจจุบันบริษัทของเธอมีพนักงาน 33 คน และได้รับงาน ที่สำคัญอย่าง Urban Glass House ออกแบบโดย ฟิลลิป จอห์นสัน เธอเลยได้ใช้โครงการนี้ไปในการทำการตลาดให้กับบริษัทของเธอ และดึงดูด สื่อไปโดยปริยาย ส่วน Lindy Roy เจ้าของสำนักงานชื่อ ROY ก่อตั้งในปี 2000 มีพนักงานเฉลี่ยประมาณ 10 คนได้กล่าวว่า ในปี 2001 สำนักงานของเธอได้รับเลือกให้ออกแบบ Courtyard ใน PS1 Contemporary Art Center ในเขต Long Island City ของนิวยอร์ค โดยเป็นส่วนหนึ่งของ MoMA/P.S.1 Young Architects Program “สื่อที่มาทำข่าวครั้งนั้น เป็นผลดีกับดิฉันมาก มีลูกค้าใหม่ๆ หลายคนโทรติดต่อเข้ามา” Roy เป็น สถาปนิกจาก อัฟริกาใต้ จบการศึกษาจาก Columbia University ผู้ออกแบบ Andre’ Balasz’s Hotel QT ซึ่งเป็น อาคารสำนักงานเก่าในย่าน Time Square ในปี 2005

Thursday, March 01, 2007

บทความแปล: Designer Compensation: How Important is Money, Really? เงินเดือนคือ ประเด็นหลักจริงหรือ?

หลายๆ คนที่เป็นผู้บริหารองค์กร คิดว่าการให้เงินเดืนอที่ดี เป็นสิ่งที่จะดึงดูดพนักงานเป็นอันดับหนึ่งให้อยู่ในองค์กรของท่าน บทความของ Robert Smith ชิ้นนี้อาจจะเพิ่มมุมมอง และประเด็นที่น่าสนใจบางอย่างให้กับการบริหารการจ่ายเงินเดือน และประเด็นข้างเคียงเกี่ยวกับการที่จะทำให้คนอยากทำงานกับองค์กรของท่าน

ในยุคที่เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างมีแบบแผนมากขึ้น และอาชีพการงานต่างๆ ก็ขยายตัวปลีกย่อยออกไป สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่คือการค้นหาความหมายของสิ่งที่ดึงดูดพนักงานที่มีคุณภาพสิ่งที่บริษัทออกแบบต้องต่อสู้เสมอคือการหาบุคลากรที่มีคุณภาพและรักษาไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ Compensation (ผลตอบแทน) จึงเป็นสิ่งที่ต้องหยิบยกขึ้นมาคุยอยู่เสมอคนทั่วไปจะคิดว่า Compensation นั้นเป็นเรื่องของ เงินเดือน และผลตอบแทนอื่นๆ ที่ตามมาเป็นเรื่องรองๅลงไป ด้วยเหตุผลนั้น ทำให้คนที่เป็นเจ้าของกิจการต้องพยายามที่จะตั้งอัตราเงินเดือนไว้ในระดับที่เหมาะสม ที่จะแข่งกับบริษัทอื่นๆ ได้ แต่ถึงเงินเดือน และผลตอบแทนอื่นๆ เช่น ประกันสุขภาพ จะสำคัญอย่างไร ทั้งส่องอย่างก็ไม่ควรเป็นเพียงสองสิ่งที่เจ้าของบริษัทให้ความสนใจเท่านั้น ในการตัดสินใจที่จะเข้าทำงานในบริษัทแห่งหนึ่ง คนๆนั้นจะค่อยๆ นั่งคิดถึงความสลับซับซ้อนของความต้องการส่วนตัว สิ่งที่เป็นระดับชั้นของความต้องการ (Hierarchy of needs) เป็นสิ่งที่มีระดับความละเอียดอ่อนแตกต่างกัน ตั้งแต่ความหิวต้องการเงินไปซื้ออาหาร ความตื่นเต้น ละความชอบสิ่งละอันพันละน้อยเล็กๆ ที่ได้พบเห็นในบริษัทนั้นๆ ซึ่งความต้องการต่างๆ เหล่านี้ ส่วนใหญ่แล้ว ไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่อง เงินเดือน หรือ ผลตอบแทนอื่นๆ (Salary and Benefits) สักเท่าใด

ตามทฤษฎีของ มาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy) นั้น เืมื่อมนุษย์ได้ประสบความสำเร็จในปัจจัยแต่ละขั้น “ความพึงพอใจ” อาจจะไม่ได้เป็นผลที่เกิดขึ้นโดยเสมอไป แต่อาจจะกลายเป็นความทะยานอยากที่จะก้าวไปสู่ขั้นต่อไป แทนที่ตัวอย่างเช่น เืมื่อสถาปนิกคนหนึ่ง ได้รับความสุขสบายทางร่างกาย (ปัจจัย 4) แล้วก็มีความปลอดภัย (มีเงิืนในธนาคาร มีบ้าน มีประกันชีวิต - จริงๆ แล้ว มาสโลว์ รวมความต้องการพื้นฐานไปถึงเรื่องการมี sex แบบสม่ำเสมอด้วย แต่เราไว้ว่ากันเื่รื่องนี้นอก web ดีกว่าครับ เดี๋ยวจะโดน censor) ระดับต่อไปที่ต้องการก็จะเป็นสิ่งที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น ต้องการอยู่กับบริษัทที่มีชื่อเสียง แล้วพอได้อยู่แล้ว ก็อาจจะอยากได้ตำแหน่งหน้าที่ๆ ดี เป็นระดับ project manager พอได้แล้ว ก็อยากจะขึ้นเป็นผู้บริหาร เป็นต้น (ฟังดูเหมือนพระพุทธเจ้าตรัสเกี่ยวกับตัณหาขั้นละเอียด)

ท่ามกลางระดับความต้องการในชีวิตมนุษย์ที่มาสโลว์ มีเพียงไม่กี่ข้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเงินตอบแทนจากการทำงาน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เงินเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทุกคนทราบ เพราะเงินนำไปใช้ืซื้อความสะดวกสะบายได้ ทำให้เกิดความมั่นคงในชีวิตได้ (เงินประกัน หรือเงินฝากสะสมสำหรับเวลาเกษียณ) หรือแม้กระทั่งเอาไปใช้ซื้อความโก้เก๋ เช่นการซื้อรถ BMW หรือบ้านสวยๆ ริมทะเล (มากกว่าการที่จะมีรถธรรมดาเพื่อไว้ใช้ หรือบ้านถูกๆ ไว้อยู่)นั่นคือระดับหยาบถ้าพูดถึงความพึงพอใจในระดับละเีอียดแล้ว มาสโลว์ แสดงให้เห็นน้อยมากถึงความเชื่อมโยงโดยตรงกับเงินทองค่าตอบแทนในการทำงาน แต่ความพึงพอใจกลับเข้าไปอยู่ในเรื่องของกิจกรรมในการทำงานและบรรยากาศของที่ทำงานเสียมากกว่า

Self-Actualization (การยอมรับนับถือในตัวเอง) อาชีพนักออกแบบที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีเรื่องตลกที่เกี่ยวข้องด้วยมากมาย หนึ่งในนั้นคือ “นี่ คุณสถาปนิก ถ้าคุณได้รับรางวัลล๊อตเตอรี่ หนึ่งล้านเหรียญคุณจะทำอะไรกับชีวิตคุณต่อไป”“อ้อ ผมก็ คงจะทำงานเป็นสถาปนิกไปเรื่อยๆ จนกว่าเงินจะหมดล่ะครับ”ถ้าเรื่องตลกนี่ไม่ค่อยตรงกับความจริง เราก็คงจะได้หัวเราะกับหงายหลัง แต่บังเอิญว่ามันกลายเป็นสิ่งที่เราขำไม่ออกเพราะัมันเป็นเรื่องจริง มีหลายครั้งที่นักออกแบบมืออาชีพอย่างพวกเรา คิดถึงเรื่องสถาณที่ๆอยากทำงานด้วย หรือแนวทางการออกแบบของสถาณที่ๆเราทำงานด้วยมาก่อนเรื่องเงินทอง ลองดูว่า ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นเรื่องจริงที่เราคุ้นเคยกันหรือไม่ (อาจจะไ่ม่เกิดขึ้นบ่อยในประเทศไทย แต่ในสหรัฐอเมริกานี่คือเรื่องปกติ)1. นักออกแบบที่ดีๆ เก่งๆ วิ่งข้ามไปข้ามมาระหว่างoffice หลายๆ รอบเพื่อเิพิ่มเงินเดือนให้ตัวเอง แต่ในที่สุดก็จบลงที่ยอมรับเงินเดือนน้อยลงแต่ได้ทำงานกับ office ที่ให้อิสระกับเขาในการออกแบบและการทำงานมากหน่อย2. นักออกแบบที่เก่งๆยอมที่จะอดอยาก ได้เงินเดือนน้อยมาก เพื่อให้ได้มีส่วนร่วมกับการออกแบบโดยตรง (มากกว่างานทำแบบก่อสร้าง บริหารก่ารก่อสร้าง งานเก็บกวาดข้อผิดพลาด งานการตลาด และอื่น) 3. สถาปนิกที่เก่งๆ ยอมที่จะทำงานเกินงบประมาณเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีออกมาสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละข้อนั้น เป็นสิ่งที่สะท้อนความรับผิดชอบอันสูงสุดของพวกเรา ที่ต้องการที่จะไปสู่ยอดพีระมิดของมาสโลว์ หรือ การยอมรับนับถือในตัวเอง (Self Actualization – น่าจะแปลว่าความภูมิใจก็ได้ แต่ล้ำลึกกว่านั้นอีกหน่อย)มาสโลว์ได้ยกตัวอย่างไปถึงนักดนตรีว่า“นักดนตรีก็ต้องเล่นดนตรี นักวาดภาพก็ต้องวาดภาพ กวีก็ต้องแต่งกลอน ถ้าหากเขาต้องการเกิดความสงบในจิตใจ เขาก็ต้องทำสิ่งเหล่านี้ คนที่เกิดมาเพื่อเ็ป็นอะไรสักอย่างก็ต้องเป็นไปตามที่เขาเชื่อมั่นที่จะเป็นไป นั่นล่ะ คือ ความยอมรับนับถือในตนเอง หรือจะเรียกอีกอย่างได้ว่า เป็นความปราถนาที่จะเติมชีวิตให้เต็ม”พวกเราที่เป็นนักออกแบบอาจจะมีปัญหาเรื่องการยอมรับนับถือในตนเองน้อยกว่าวิชาชีพอื่นๆ เพราะการยอมรับนับถือในตัวเองเป็นคุณลักษณะทางจิตใจที่สิ่งที่ สำคัญมาก สำหรับวิชาชีพของเรา แนวความคิดที่ว่า “นักออกแบบต้องออกแบบ” กลายเป็นสิ่งที่มีผลกระทบกว้างขวางมากต่อการตั้งระดับเงินเดือน และการบริหารจัดการสำนักงานออกแบบโดยรวม

เรื่องตลกเกี่ยวกับ เงินๆ ทองๆในรอบหลายๆ ปีที่ผ่านมา ผม(Robert Smith) ได้ทำการหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นที่ปรึกษาในการจัดระบบบริหารให้กับบริษัทออกแบบทั้งหลาย และในเกือบทุกครั้งเวลาที่เข้าไปทำการตรวจสอบหาข้อมูลในสำนักงานของลูกค้ารายใหม่ ผมต้องเจอกับคำเรียกร้องของพนักงานในเรื่องค่าตอบแทน แต่หลังจากที่ได้ทำการค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับค่าตอบแทนแล้ว ส่วนใหญ่ผมจะพบว่า บริษัทหลายๆ แห่งก็ให้ค่าตอบแทนที่ Competitive (แปลตรงๆ ว่าพอแข่งขันในตลาดได้ หรือพอๆ กับบริษัทอื่น) สิ่งที่น่าสนใจคือสิ่งที่พนักงานเห็นว่าเป็นปัญหาหลักไม่ใช่เงินเดือน แต่เป็นบรรยากาศของการทำงานในสำนักงานมากกว่า เงินค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียวไม่สามารถมาชดเชยเรื่องเกี่ยวกับ “บรรยากาศที่ไม่ดีในสำนักงาน” หรือ “สภาวะไร้โอกาสก้าวหน้าในทางการงาน”ได้ การที่พนักงานสักคนจะเข้ามาทำงานในที่ใดที่หนึ่งเพราะเห็นผลเรื่องเงินเดือนเพียงอย่างเดียวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นน้อยมาก ถ้ากลับไปมองที่ Maslow’s Hierarchy จะเห็นว่า ผู้บริหารของสำนักงานต้องเน้นไปในการพัฒนา “ประสบการณ์ที่พนักงานได้รับจากการทำงานในที่ทำงานของท่าน” เพราะนั่นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้พนักงานคนใดคนหนึ่งเลือกที่จะทำงานกับท่าน

ผลตอบแทนที่นอกเหนือจากเงิน เป็นสิ่งที่ทีมบริหารบริษัทต้องนำมาพิจารณาเป็นเรื่องหลัก ผลตอบแทนเหล่านี้มีได้หลายแนวทางมากอาจจะใช้้คำนิยามของผลตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงิน และไม่สามารถวัดเป็นปริมาณได้ดังกล่าวว่า “รายได้ทางใจ” หรือ Psychic Income (ขอร้องตรงนี้ว่าอย่าเอาไปใช้เป็นมุขกวนๆ เวลาที่ลูกน้องมาขอเงินเดือนขึ้นละกันนะครับ ผมแปลเอาตรงตัวเท่านั้นเอง) คือเป็นสิ่งตอบแทนที่ทำให้ลูกน้องของท่านรู้สึกมีขวัญและกำลังใจที่จะทำงานในองค์กรของท่าน ซึ่งเป็นเรื่องที่แทบจะไ่ม่เกี่ยวข้องกับเม็ดเงินที่เขาได้ทุกเดือนเลย Robert Smith เสนอให้ผู้บริหารทั้งหลายถามคำถามที่จะเป็นตัวนำการสร้าง “รายได้ทางใจ” ดังกล่าวที่เหมาะสมสำหรับสำนักงานของท่านในการดึงดูดพนักงานระดับคุณภาพ1. วัฒนธรรมของสำนักงานของท่านเป็นอย่างไร (Culture of the Office)2. ลักษณะของโครงการที่ท่านทำเป็นอย่างไร (Project Characteristics) 3. ระบบการทำงานของการผลิดผลงานเป็นอย่างไร (Nature of the Process) 4. บรรยากาศในการทำงานเป็นอย่างไร (Working Conditions)5. ที่ตั้งของสำนักงานของท่าน (Location of the Office)ขยายความได้ดังนี้

1. วัฒนธรรมของสำนักงานของท่านเป็นอย่างไร (Culture of the Office)- บริษัทของท่านมีนโยบายอย่างไรในเรื่องเกี่ยวกับการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นการคบเป็นส่วนตัว(Personal) หรือเป็นความสัมพันธ์แบบเพื่อนร่วมงาน(Professional)มากกว่ากัน - มีการสนับสนุนเส้นทางวิชาชีพของเขาหรือไม่ มีการแนะแนวหรือไม่- มีการแนะแนวการสร้างความสมดุลย์ระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวหรือไม่ อย่างไร - คำว่า “งาน” สำหรับบริษัทของท่าน มีความหมายอย่างไร 2. ลักษณะของโครงการที่ท่านทำเป็นอย่างไร (Project Characteristics) - โครงการต่างที่บริษัทของท่านมีอยู่ในมือนั้น หลากหลายพอที่จะทำให้คนไม่เบื่อหรือไม่- คุณภาพของงานที่ท่านได้ทำออกไปให้สาธารณะได้เห็นนั้น ดีพอที่สมาชิกในบริษัทของท่านจะรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรหรือไม่- บริษัทพยายามเข้าไปหางานที่เป็นงานในระดับชั้นที่ทำให้คนในบริษัทเกิดความกระตือรือร้นหรือไม่ (ไม่จำเป็นต้องเป็นงานใหญ่ แต่เป็นงานดัง)

3. ระบบการทำงานของการผลิดผลงานเป็นอย่างไร (Nature of the process) - บริษัทของท่านเป็นแบบแบ่งเป็นแผนก (Departments) หรือว่า เป็นแบบทำงานเป็นกลุ่ม (Team) - การผลิตงานให้กับลูกค้านั้นเป็นแบบสบายๆ หรือแบบที่ต้องใช้ความเคร่งเครียดสูง?- งานที่สำเร็จส่วนใหญ่มากจากความสามารถของคนๆ เดียว หรือมาจากความร่วมมือของทุกๆคนในทีม 4. บรรยากาศในการทำงานเป็นอย่างไร (Working Conditions)- ภาพพจน์ หรือการจัดสำนักงานของท่านทำให้คนทำงานเกิดความภาคภูมิใจหรือเกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นหรือไม่- เฟอร์นิเจอร์และัวัสดุตกแต่งทั้งหลายนั้น ดูดีมีคุณภาพ และทนทานหรือไม่- อุปกรณ์และระบบเทคนิคต่างๆ ที่บริษัทจัดหาให้เพียงพอกับความต้องการในการทำงานของพนักงานหรือไ่ม่- การสนับสนุนและแก้ปัญหาในการทำงานเช่น ฝ่าย IT ข้อมูลสนับสนุนเพื่อการออกแบบ (Library) การฝึกหัดต่างๆ (Training) และโอกาสในการเจริญเติบโตในวิชาชีพ พอเพียงหรือไม่ - การทำงานนั้นถ้ามีการทำเงินเกินเวลา จะมีนโยบายในการให้ผลตอบแทนพิเศษ (ไม่จำเป็นต้องเป็นเงิน) กับพนักงานอย่างไร ให้โอกาสในการเลือกวันหยุดหรือไม่5. ที่ตั้งของสำนักงานของท่าน (Location of the Office)- ตั้งอยู่ในที่ๆ การเดินทางไปมาสะดวกหรือไม่- การเข้าถึงด้วยระบบขนส่งสาธารณะเป็นอย่างไร- มีที่จอดรถเพียงพอหรือไม่- มีร้านค้า ร้านอาหาร และ สถาณที่ๆ น่าสนใจต่างๆ ดูมีวัฒนธรรมหรือไม่

คำตอบของทุกๆคำถามในแต่ละบริษัทก็จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งก็จะเหมือนกับคำตอบที่แตกต่างกันของพนักงานแต่ละคนที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งต่างๆในชีวิตที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นความเหมาะสมของแต่ละที่จึงไม่มีอะไรที่เป็น Absolute หรือ คำตอบที่เหมือนกันทั้งหมดแต่มัน key word หรือ คำที่สามารถยึดไว้เป็นหัวใจหลักของกระบวนการได้ก็คือคำว่า “ความเกี่ยวข้อง” หรือ “Associations”ผลตอบแทนอันมีคุณค่าึซึ่งไม่ใช่ตัวเงินที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี้ มีปัจจัยหลักมาจากเรื่องของ "ความเกี่ยวข้อง" กับสิ่งต่างๆ พนักงานทุกคนอยากเข้าไปเกี่ยวข้องกับ โครงการที่ดีๆ (Projects) ลูกค้าที่ดี (Clients) ผู้ออกแบบที่ดี (Designers) ผู้สอนที่ดี (Mentors) และเพื่อนร่วมงานที่่ดี (Colleagues) การที่พนักงานได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีคุณภาพในระดับสูงดังกล่าว ทำให้คุณภาพของเขาได้รับการผลักขึ้นไปให้สูง ทำให้เขามองไปสู่ที่สูง เกิดความต้องการที่จะพัฒนาตัวเองให้เท่าเทียม เกิดเป็นความภูมิใจ เกิดเป็นสถาณภาพที่คนอื่นยอมรับ(Prestige) และความรู้สึกในทางบวกต่างๆ ที่จะตามมา ซึ่ง ต้องย้ำอีกครั้งว่า ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับจำนวนเงินเดือนที่เขาได้รับเลย

ผู้ที่อยู่ในวิชาชีพออกแบบทุกๆคนที่ต้องการจะก้าวหน้า ก็จะมองหา ความเกี่ยวข้องต่างๆดังกล่าว ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ทางวิชาชีพ ความสัมพันธ์ทางบุคคล เพื่อที่จะได้เรียนรู้ และเติบโตไปบนความสัมพันธ์อันนั้น ผลตอบแทนที่ไม่ได้เป็นเงิน ที่บริษัทสามารถจัดหาให้พนักงานได้นั้น จะเป็นสิ่งที่ช่วยในเรื่องการเพิ่มทักษะ การเพิ่มความรู้ การให้โอกาส การสร้างชื่อเสียงให้กับตัวพนักงานเอง การให้โอกาสเดินทาง และการเข้าสังคมระดับที่ดีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ สะท้อนกลับไปยัง พีระมิดของมาสโลว์ ในเรื่องการยอมรับนับถือในตนเอง (Self-Actualization) บริษัทใด ที่ไม่ใส่ใจความต้องการของพนักงานตรงนี้ ก็จะเข้าไปอยู่ในสถาวะที่มีการเปลี่ยนพนักงานบ่อย มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ (Operating Cost) สูง และพนักงานจะไม่มีความกระตืนรือร้นใดๆ ในการทำงานเพื่อองค์กรประเด็นสำคัญอีกเรื่งคือ คำถามเกี่ยวกับเรื่องของ ผลตอบแทนที่เป็นเงิน หรือไม่ใช่เงินนั้น ไม่ใช่เรื่องของการที่ บริษัทจะมาเลือกตอบเอาเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้พนักงานเลือกเอา แต่บริษัทที่ประสบความสำเร็จจะมีทั้งสองอย่างให้พนักงานเสมอ แต่ในส่วนของพนักงานแล้ว มักจะใช้สามัญสำนึกหรือความรู้สึกเป็นตัวตัดสิน เพราะัมักจะต้องมีการมาเปรียบเทียบกันว่ามี บริษัทยื่นข้อเสนอให้เขาแบบใด เทียบกับที่เก่าที่ทำงานอยู่

monetary income + psychic income = total income ผลตอบแทนที่เป็นเงิน + ผลตอบแทนทางใจ = ผลตอบแทนโดยรวมเื่มื่อผลตอบแทนทางใจมีมาก สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทำให้พนักงานเห็นแนวทางชีวิตที่จะดำเนินไปในอนาคตกับองค์กรนั้นนๆ เพราะในชีวิตประจำวันทั่วๆไป ในองค์กรต่างๆ พนักงานทุกๆ คนจะรู้จักที่จะเลือกในการที่จะเดินเข้าไปทำงานที่หนึ่งว่า เขาควรจะเลือกว่าจะไปทางด้านเงิน หรือจะไปทางด้านที่เป็นผลตอบแทนทางใจ แต่ในที่สุดแล้ว คนที่มีคุณภาพจะเลือกในที่ๆ มีทั้งสองอย่างรวมกันได้เป็นผลตอบแทนที่สูงสุด ตามสมการดังกล่าวผู้บริหารอย่าได้พยายามที่จะเอาเรื่องผลตอบแทนโดยรวมมาเอาเปรียบพนักงานเพราะจะไ่ม่ีมีทางสำเร็จ ถ้าท่านไปสัญญาว่าจะมีผลตอบแทนทางใจมากมาย (ส่วนใหญ่พวกนี้ไม่ได้อยู่ในสัญญาว่าจ้างเหมือนกับจำนวนเงินเดือน) แต่พอถึงเวลาท่านให้ได้ไม่ตรงกับที่พนักงานเขาคาดหวังไว้ เขาก็จะไ่ม่อยู่กับท่าน ผู้บริหาร ควรจะต้องพิจารณาถึง “ราคากลาง” ของแรงงานที่ท่านจ้าง ในแง่ของผลตอบแทนทางใจตรงนี้ด้วย และจำเป็นจะต้อง “จ่าย” ผลตอบแทนรูปแบบนี้อย่างเป็นธรรมเหมือนกันผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน สิ่งที่เป็นจุดมุ่งหมายของท่านคือ หาจุดสมดุลย์ที่เหมาะสมกับองค์กรของท่านระหว่างผลตอบแทนทั้งสองรูปแบบ เพราะในบทสรุปแล้ว บริษัทที่สามารถให้ผลตอบแทนทั้งสองด้านกับพนักงานอย่างเหมาะสม ด้วยวิธีที่น่าสนใจ จะสามารถดึงดูดพนักงานที่มีคุณภาพ จะสามารถรักษาเขาและเธอทั้งหลายไว้ได้ มันทำให้พวกเขาได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และจะทำให้พวกเขาภักดีต่อองค์กรของท่านเป็นอย่างมาก ซึ่งทั้งหมด ก็จะเป็นผลดีกับองค์กรของท่านเอง

จบ

Robert Smith, AIA, เป็นหุ้นส่วนและผู้บริหารของ Culpepper, McAuliffe and Meaders, Inc., แห่งเมืองแอตแลนตา, รัฐจอเจียร์

Sunday, January 14, 2007

ตอบกระทู้: แบ่งวิชาชีพ หรือรวมวิชาชีพ

เขียนเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2006

ขออนุญาตินะครับ คุณสามเศร้า ถ้าท่านเป็นผู้อาวุโสกว่าผมก็ อโหสิกรรมให้ผมนะครับ แต่ผมต้องพูดตรงๆ กับท่านล่ะ สังคมข้อมูลข่าวสารเสรีนะครับ

1. ข้อหนึ่งเป็นเรื่องจรรยาบรรณและศีลธรรม เห็นด้วยครับ เรื่องในสมัยเป็นนักเรียนที่มีการ่สอนต่อๆ กันมาจากรุ่นพี่ว่า สถาปนิกเป็นคนที่เด่นและดีกว่าคณะอื่นๆ นั้นเ็ป็นเรื่องจริง แต่ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย จะล้มกระดาน กันหมดเลยก็กระไรอยู่ แต่ผมเห็นด้วยในการลดเรื่อง ออกแบบลงแล้วไปเรียนเรื่องอื่น ไม่ควรยัดอะไรเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่ เพราะทุกวันนี้เด็กเรียนมากพออยู่แล้ว ถ้าจะเพิ่มอะไรเข้าไป ต้องไปหาว่า อะไรควรตัดออก

2. ข้อสอง เห็นด้วยอย่างยิ่ง คงต้องมีการจัดการที่ดีและเป็นระบบจากทั้ง สภาสถาปนิก สภาวิศวกรรม และ สมาคมผู้รับหมาครับ

3. อันที่สามนี่ไ่ม่เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ อาชีพแต่ละอาชีพแยกย่อยลงไปเยอะมาก งานมัณฑนากร และงานภูมิสถาปัตยกรรม แต่เห็นว่า การมีใบอนุญาติวิชาชีพหนึ่งแล้ว จะมาสอบอีกวิชาชีพหนึ่งน่าจะเป็นไปได้ ให้พวกเราทุกคนได้มีการขยาดฐานความรู้ในทางกว้างบ้าง นอกจากทางลึกอย่างเดียว แต่ทางลึกเป็นสิ่งทีสำคัญมาก ทิ้งไม่ได้

อย่างของสหรัฐอเมริกานี่ ทั้งงาน Landscape และ Interior Design เป็นงานระดับซับซ้อน มีการเขียน Spec กันดุเดือดมาก งานภูมิก็เป็นวิทยาศาสตร์มากทั้งเืรื่องระบบน้ำ และระบบการวางต้นไม้ตามฤดุกาล และอีกหลายๆ เรื่อง

ถ้าท่านอยากให้วิชาชีพไหนมีการพัฒนาไปในอนาคต ต้องให้พื้นที่ของเขาที่เขาจะโตไปเป็น Expert ไปได้ ขืนไปปิดประตูใส่หน้าเขา ไปบังคับให้เขามาสอบใบอนุญาติสถาปนิกหมด แล้วงานระดับซับซ้อนที่ต้องอาศัย Technical ระดับมหากาฬ เราจะให้ใครทำดีครับ ถ้าคนแห่มาเป็นสถาปนิกกันหมด ? แล้วจริงๆ ถ้าใช้ Logic ที่ท่านว่า ซึ่งผมจะขอเรียนกว่า Logic แบบ Merger คือรวบกันเข้ามาให้หมด เราจะไม่มี Expert อะไรเลยในทาง Landscape และ Interior เพราะคนไม่ให้ความสำคัญ บนพื้นฐานที่ท่านว่า ใครๆ ก็ทำได้ งานที่เขาทำจะถูก Degrade ไปเป็นเรื่อง ง่ายๆ ถูกดูถูกไป

ลองสมมุติว่า ผมเป็นผู้รับเหมา ผมจะไปป่าวประกาศได้บ้างหรือไม่ครับว่า “จะไปจ้างสถาปนิกทำไม มาหาผมดีกว่า ผมมีแบบ ปรับนิดหน่อย ไม่ต้องออกแบบก็ได้ ยุบสภาสถาปนิกไปเลย ไม่ต้องมี เพราะถึงออกไปยังไง ผมก็ต้องเป็นคนสร้าง ท่านอยากได้อาคารแบบไหน ผมไปหาคนมา coordinate ทำเลย เปิดหนังสือเมืองนอกมา ผมจะเอา เด็ก Draft ทำ shop drawing เลย เดี๋ยวสร้างเสร็จ สถาปนิกไปจ้างทำไม เสียเวลา เพราะไปจ้างเขาออกแบบแล้ว คุณก็ต้องมาจ้างผมสร้างอยู่ดี?

สถาปนิกจะมีไปทำไม เพราะคนที่้ต้องรับผิดชอบกับ ชีวิตและความปลอดภัยจริงๆ คือผม ผู้รับเหมา เพราะผมเป็นคนตัดสินใจว่าจะสร้างยังไง สถาปนิกแค่มาดู Site ก่อสร้าง อาทิตย์ละครั้ง บางทีก็ไม่มา ?

เอา แบบนี้เลยมั้ยครับ คุณสามเศร้า?

ท่านบอกว่า ให้ผุ้จ้างตัดสินใจเอง โดยไม่มีกฎหมายมารองรับ เพราะถ้าเขาจะจ้างจริงๆ เขาก็มาหา มัณฑนากรหรือภุิมิสถาปนิกเอง งั้นผมถามว่า ถ้าวันนี้เรายกเลิกกฎหมายวิชาชีพสถาปนิกเลย ไ่ม่ต้องมี License สถาปนิกเลย ผมถามว่าลูกค้าเราจะจ้างเราหรือไม่

ลูกค้าไม่ิวิ่งไปหาผู้รับเหมาตรงๆ ไปเลย แล้วเราไม่ต้องเป็นเบี้ยล่างผู้รับเหมาไปตลอดกาลหรือครับ ?

ท่านกำลังอยากจะให้ มัณฑนากร และภุมิสถาปัตยกรรม เป็นเบี้ยล่างของสถาปนิกสายหลักแบบพวกเราหรือ ?

ผมว่า ท่านใจดำมาก กับเพื่อนร่วมอาชีพสาชาใกล้เคียง ซึ่งขัดแย้งกับ ข้อแนะนำข้อแรกของท่านว่า ควรให้เกียรติผู้อื่น ยอมรับผู้อื่น แล้วท่านยอมรับ คนพวกนี้หรือเปล่าครับ?

ผมเห็นด้วยว่าประชาชนควรได้ประโยชน์สูงสุด จากการตัดสินใจของเรา ประชาชนทั้งประเทศต้องมาก่อน แต่ปััญหาดูเหมือนจะอยู่กับเรื่องของ ขอบข่ายหน้าที่ ว่ามันจะต้องไปลงตรงไหน ถ้านั่นคือปัญหา ก็ไปแก้ตรงนั้น ไม่ใช่ไปยุบเลิกวิชาชีพเขาซะทั้งหมดแล้วมาฮุบรวมกับพวกเราซะเฉยๆ แบบนั้น

ผมเห็นด้วยว่า กฎหมายเรื่องขนาดพื้นที่ ถ้ามันเป็นสนามหญ้าโล่งๆ ร้อยเปอร์เซ็นต์ ไ่ม่มีต้นไม่ ไม่มีระบบน้ำ ไม่มีอะไรทั้งสิ้น แล้วจะต้องมาหา ภูิมิสถาปนิกให้เซ้น มันก็ไม่ค่อยจะเป็นธรรมกับลูกค้า

ผมเห็นด้วยว่า กฎหมายเรื่องขนาดพื้นที่ของ มัณฑนากร ถ้างานมันไม่ซับซ้อน มีแค่ ผนัง พื้น แล้วก็ ผ้าเพดาน ตรงไปตรงมา เขียน Spec แผ่นเดียวจบ จะให้ต้องมี มัณฑนากรมาเซ้นให้ถูกกฎหมาย ก็ไม่เป็นธรรมกับประชาชนเหมือนกัน

เราไปแก้ตรงนั้นแทนดีมั้ยครับ แทนที่จะคว่ำกระดาน หรือ Hijack กันซึ่งหน้าเลย

4. ข้อสี่ คนที่เซ็นแบบควรจะเป็นเ้จ้าของกิจการเท่านั้น เพราะเป็นคนที่ได้ผลประโยชน์มากที่สุด ก็ควรจะเป็นผู้ที่รับความเสี่ยงมากที่สุด การเซ็นยอมรับคือการรับความเสี่ยง การไปเซ็นโดยที่ไม่ดูนั้น เป็นเรื่องของคนที่ไปเซ็นเอง ผมเห็นด้วยเรื่องการยกเลิกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถากำลังจะ adopt American Model ของเรื่องการฝึกงานและการสอบ ซึ่งเขาก็ไ่ม่มีการแบ่งระดับ ที่นี่คนที่มีใบอนุญาติ ก็คือ ออกแบบอะไรก็ได้ ใหญ่แค่ไหนก็ได้

ผมไม่ทราบว่าท่านไปคุยกับสถาปนิกญี่ปุ่นคนไหน แต่ คำว่า Kenchikushi นั้นแปลว่า Architect and Building Engineers ภายใต้กฎหมาย Kenchikushi Law ปี 1950 โดยใบอนุญาติของ Kenchikushi นั้นเป็นใบอนุญาติ เพื่อทำการออกแบบ (Design Building) หรือ ควบคุมการก่อสร้าง (Superintend Construction Work) และมี Kenchikushi อยุ่ สามประเภท ได้ก่

1st-class Kenchikushi, - ออกแบบ อาคาร และ ควบคุมการก่อสร้างกับอาคารได้ทุกขนาด

2nd-class Kenchikushi, - ออกแบบและควบคุมอาคารขนาดเล็กได้เท่านั้น ซึ่งหมายถึงอาคาร ต่ำกว่า หนึ่งพันตารางเมตร และอาคารที่สูงไม่เกิน 13 เมตร (ความสูงรวม) หรือความสูงของ ผนังพื้นที่ใช้สอยชั้นสูงสุด (eve) ไม่เกิน เก้าเมตร

Mokuzo-Kenchikushi. – ทำได้เฉพาะอาคารไม้เล็กๆ เท่านั้น และนี่แหละ คือช่างไม้ที่ท่านว่า

พอเห็นภาพของมั้ยครับ (คุ้นๆ ม้ยว่าเหมือนกฎหมายวิชาชีพสถาปัตยกรรมประเทศไหน)

ท่านจะเห็นได้ว่า คำว่า Kenchikushi ไม่ได้แปลตรงๆ ว่าสถาปนิกเลย แต่เป้นคำที่ใหญ่มาก กินความถึงช่าง สถาปนิก วิศวกร ผุ้รับเหมา หรือเกือบจะเรียกได้ว่า เป็นสมาชิกทั้งหมดของอุตสาหกรรมการก่อสร้างก็ได้ (ยกเว้นผู้ผลิตวัสดุ) การที่ท่านมาบอกว่า สถาปนิกญุ่ปุ่น ไม่มีระดับ ก็คงจะไม่จริงทั้งหมด และการที่ท่านมาบอกว่า ช่างไม้ในญี่ปุ่นก็เป็นสถาปิกเหมือนกัน ก็คงจะไม่ผิด แต่ก็คงจะไม่ถูกเหมือนกัน เพราะในเมื่อ Term หรือ ศัพท์ดังกล่าว ไม่ได้เป็นเป็นสิ่งที่ Identical หรือเท่าเทียมกัน ท่านจะเอามาเปรียบเทียบกันได้อย่างไร ??? (เหมือนเอาทุเรียนไทยไปเปรียบเทียบกับสาลี่ญี่ปุ่น อันไหนมีคุณภาพกว่ากัน ? จะเปรียบเทียบกันยังไงดีครับ? )

ท่านเล่นอยากอ้างอะไรท่านก็อ้างโดยไม่มีการ ตรวจ ก่อนแบบนี้ แล้วเกิดเด็กมาอ่าน แล้วเขาเชื่อท่านหมดหัวใจ เอาไปป่าวประกาศทั้งประเทศว่า ญี่ปุ่นมีช่างไม้เป็นสถาปนิกด้วย โดยที่เขาเข้าใจว่า เป็นสถาปนิกเหมือนๆ กับพวกเรา แบบที่ท่านเข้าใจผิดอยู่นี่ ท่านจะรับผิดชอบหรือไม่ ? หรือท่านจะอ้างว่าก็ท่านฟังมาจากสถาปนิกญี่ปุ่น ก็น่าจะถูก

ทุกวันนี้ ที่ประเทศไทยเราเพี้ยนกันหนักขนาดนี้ ก็เพราะมีนักวิชาการ ไปเรียนปริญญาเอก ไม่เคยทำงานทำการ นั่งเล่นเทียนอยู่บนหอคอยงาช้าง เท้าไม่ติดดิน อ้างข้อมูลไปมาโดยไม่ ตรวจสอบความถูกต้อง แล้วก็เอาข้อมูลไปใช้ ไปปฎิบัติเลย ออกมามันก็เละ แล้วประเทศเราก็เจอแต่ โครงการวิบัติ โครงการที่ไม่ work แผนที่ไร้ทิศทาง ปฎิบัติไม่ได้ แล้วใครรับกรรม? ก็ประชาชนไทยทั้งนั้น.

ถ้าท่านรักประเทศไทยจริง เริ่มจากการตรวจสอบสิ่งที่จะแนะนำให้ชาวบ้านเขาทำก่อนจะดีหรือไม่ ว่ามาจากฐานข้อมูลที่ถูกต้องหรือเปล่า ?

ท่านอย่าได้อ้างว่า ท่านเจตนาดี เจตนาดีหรือไม่นั้น ไม่สำคัญ เจตนาดีแต่ผลร้าย เอาไปลดหย่อนผ่อนโทษในศาลได้ถ้าท่านทำผิดกฎหมาย แต่ถ้าทำการพัฒนาแล้ว สิ่งที่สำคัญอยู่ที่ผลของการปฎิบัติ ถ้าท่านกระทำหรือพูดอะไรด้วยความไม่รู้ ต่อให้เจตนาท่านดี ผลก็อาจะกลายเป็นวิบัติได้

ถ้าอยากอ่านข้อมูลโดยละเอียด เชิญ ได้ที่นี่ครับ เป็น Website ของ Japan Architectural and Education Center

http://www.jaeic.or.jp/




5. ข้อห้า ผมว่า คนหลายๆ คนที่มาเสียเวลาเขียนอะไรในนี้ โดยที่ไม่ได้ผลประโยชน์ตอบแทน ก็คงเป็นคนที่รักประเทศไทยและอยากเห็นสังคมไทยเป็นสังคมที่ดีไม่แพ้ท่านหรอกครับ (แต่คำถามนี้ล่ะ เป็นคำถามที่ทำให้ผมเดือด)

ถ้าเราออกกฎกันแปลกๆ ขึ้นราคาค่าประกอบวิชาชีพกันเอง แบบฮั้วกัน (cartel) ผมว่า สมาคมผู้บริโภคที่มีหูตาราวกับสับปะรด เขาจะจัดการกับเราเองครับ แบบที่เขาจัดการกับ กฟผ แล้วก็ กำลังจะจัดการกับ ปตท อสมท แพทย์สถา และอื่นๆ

ถ้าท่านไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ผมพูด ผมก็จะรอคำตอบนะครับ

Interior Architecture และ Interior Design

ขอเอาของสหรัฐละกันนะครับ

Interior Design เป็นวิชาชีพ ที่ต้องมีใบอนุญาติ โดย สมาคม the National Council for Interior Design Qualification หลักๆ ของหน้าที่คือ การปรับแต่งสภาพแวดล้อมของ พื้นที่ภายในอาคาร โดยการปรับเปลี่ยน พื้นผิว และองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งจะต้องผ่านทางการใช้ข้อความสื่อสารและ การเขียนแบบก่อสร้าง รายการประกอบแบบ คำว่า Interior Design เป็น term ที่คนรู้จักกันมากและใช้อย่างแพร่หลาย ในระดับการประสานงานทางวิชาชีพ ระหว่างวิชาชีพที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง ก็จะเรียกผู้ที่รับผิดชอบด้านการออกแบบพื้นที่ภายในว่า Interior Designer เพราะฉะนั้น ความหมายของ Interior Designer น่าจะชัด โดยส่วนใหญ่ ส่วนเรื่องการศึ่กษานั้น จะเป็นระบบ สี่ปี และจะเป็นการศึกษาที่ยืนอยู่ในภาคของตัวเอง ไม่อิงกับคณะอื่นๆ ดังนั้น สาขาการศึกษาและวิชาชีพของ Interior Designer นั้น ชัดเจนมาก กรอบการทำงานก็ชัดมากคือ รับผิดชอบในเรื่อง FF&E หรือ Furniture Finishing and Equipment

ในขณะที่ Interior Architecture นั้นเป็น ศาสตร์ที่คนพยายามคิดขึ้นมาเพื่อ เชื่อม ช่องว่างระหว่าง Architecture หรือ สถาปัตยกรรม กับ Interior Designer หรือ มัณฑนากร ซึ่งทั้งสองศาสตร์ในรอบ เกือบๆ 30 ปีที่ผ่านมามีองค์ความรู้ขยายไปอย่างมหาศาลมาก เนื่องจากการพัฒนาระบบอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ อะไรก็แล้วแต่ ทำให้ คนจากทั้งสองวงการรู้สึกมีช่องว่างทางการสื่อสารขึ้นมา เลยพยายามจะหากลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งขึ้นมาปิด ช่องว่างตรงนี้ ก็คือเป็นคนที่เข้าใจหลักทางวิทยาศาสตร์เรื่องโครงสร้าง เรื่องงานระบบทั้งหลายดี แต่จะเนั้นเรื่องสภาพแวดล้อมในอาคารมากกว่า ก็คือเหมือนกับ สถาปนิกที่เราต้องประสานงานกับ วิศวกร (ซึ่ง Interior Designer ไม่ทำ เขาจะคุยกับสถาปนิกคนเดียว) และ ก็เน้นการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในด้วย ซึ่งเป็นกรอบการทำงานของ Interior Designer ฟังดูก็น่าจะเป็นวิชาชีพที่ดี ทีไ่ด้อยู่ทั้งสองโลก

แต่่ข้อจำกัดที่เกิดขึ้นคือเรื่องของ Term ในทางกฎหมายอีกนั่นเอง เพราะบุคคลที่จะใช้คำเรียกตัวเองได้ว่า สถาปนิก หรือ Architect ซึ่งได้กรณีนี้คือ Interior Architect คุณต้องได้รับใบอนุญาติ จาก National Council of Architectural Registration Board ซึ่ง ในกรณีนี้ คุณก็ต้องไปสอบ แล้วพอคุณเป็นสถาปนิก คุณจะเีรียกตัวเองว่า เป็น Interior Architect ก็ไ่ม่มีใครว่าอะไร เพราะในทางกฎหมายคุณคือ Architect เฉยๆ ในขณะเดียวกัน คุณจะเรียกตัวเองว่า Interior Designer ก็ไม่ได้ เพราะ คุณต้องได้รับ ใบอนุญาติ จาก NCIDQ ที่ได้กล่าวไปแล้ว ถ้าคุณไปสอบผ่าน ก็ไม่มีปัญหา คุณก็จะกลายเป็น Interior Designer ตามกฎหมาย

เพราะฉะนั้น สรุปคือ ถ้ามองในการศึกษานั้น Interior Architecture จะ เป็นสาขาที่ดี เพราะคุณได้ สัมผัสทั้งสองโลก แต่ถ้าจบออกมาจะทำงานเหมือนแบบที่เรียนมาจริงๆ จะยาก เพราะสองโลกที่ว่า เขาจะบังคับให้คุณเลือก หรือไม่ก็ต้องเข้าร่วมมันทั้งสองโลกเลย จึงจะได้ประกอบวิชาชีพแบบที่เรียนมาจริงๆ

รู้สึกว่าในสหรัฐ จะมีสาขาวิชาที่เปิดเป็น Interior Architecture จริงๆ สิบกว่าที่ แต่ละที่มีหลักสูตรแตกต่างกันออกไป เพราะไม่ีมีองค์กรที่มากำหนด มาตรฐาน ไม่เหมือนกับ สถาปนิก หรือ มัณฑนากร โดยตรง ที่มี องค์กรตรวจสอบมาตรฐานวิชาชีพมาวัดผลตลอดเวลา

การข้ามสองโลกในวงการการศึกษาเป็นเรื่องปกติ เพราะจุดประสงค์คืการต้องการให้ความรู้ นักศึกษาให้ได้มากที่สุด การประกอบวิชาชีพนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งข้างหน้า ตัวอย่างที่ชัดๆ ก็คือ ภาควิชา สถาปัตยวิศวกรรม หรือ Architecture Engineering ที่เปิดสอนที่มหาวิทยาลัยระดับ Top Class แบบ Perdue เป็นต้น สถาปนิกที่ประกอบวิชาชีพที่ ผมเคยรู้จักจบมาจากที่นี่ จะเข้าใจเรื่อง งานระบบและงานโครงสร้างลึกมาก เวลาออกแบบนี่ทุกอย่างจะแป๊ะไปหมด และผมรู้สึกว่า ในประเทศ เยอรมันก็จะเป็น Architecture Engineering ยังไงฝากผู้รู้ช่วย Confirm ด้วยครับ

ตอบกระทู้: เรียนสถาปัตย์มาห้าปีได้อะไร

เพิ่งได้ มาติดตามกระทู้นี้อีกที ปรากฎว่ากลายเป็นกระทู้ที่สนุกมาก ขอร่วม Jam อย่างเร็วๆ ละกันนะครับ (เดี่ยวจะต้องไปซักผ้าต่อ)

ก่อนอื่นขอ Quote ของพี่วิญญูก่อนเลยว่า พี่วิญญูเข้าประเด็นได้จะแจ้งมาก ทั้งสองเรื่อง

วินัย และ การเปลี่ยนจากนักเรียนมาเป็นมืออาชีพ

สองเรื่องนี้ เราหย่อนยานกันมากในสมัยเรียนหนังสือ ตั้งแต่แต่งตัวไม่ตรงตามระเบียบ มาสาย ไม่Organize และแน่นอน ส่งงานไม่ทัน (คนที่ส่งทันก็ทันตลอด คนที่ไม่ทันก็ไม่เคยทัน) อะไรทั้งหลายแหล่ ทำตัวเป็น Artist มากทั้งๆ ที่เราไม่ใช่ Artist ซึ่งผมก็ต้องบอกว่า ผมก็เป็น สมัยเรียนหนังสือ แบบนั้นเลย ไม่รู้ว่าเพราะ trend มันไปแบบนั้นเลยต้องตามๆ กันหรือมันเป็นเพราะอะไร แต่ต้องมา Research กันเหมือนกัน

แต่ผมก็ต้องบอกว่า สันดานพวกนี้ มันดัดได้นะครับ ขึ้นอยู่กับการที่เราไปอยู่ใน Environment แบบไหน ถ้าเราไปอยู่ใน สำนักงานที่เขาไม่สนใจเรื่องการเข้างาน คนก็มากันตามสบาย ถ้าไปอยู่ในสำนักงานที่ไม่มี นโยบายและการลงโทษที่เฉียบขาด เกี่ยวกับเรื่องการแอบเล่น internet หรือการแอบ chat คนก็เล่นกันเต็มที่ ตั้งแต่ surf net ประมูลของใน E-bay แล้วก็ chat กับเพื่อนไปด้วย ฟังเพลงไปอีกต่างหาก เจ้านายเรียนกก็ไม่ได้ยิน พอดี งานการไม่เดินกัน

อันนี้ไม่ได้ว่า ทุกออฟฟิสของทำเหมือนกัน ใครชอบแแบบไหนก็ทำได้ อย่าง Kohn Pedersen and Fox นี้ เขามีนโยบายปล่อยเลย ให้เป็นระเบียบของหัวหน้าทีม ถ้าทีมบอกว่า ให้เขา 11 โมงเช้าก็ได้ ก็ตามนั้น แต่ต้องทำงานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 40 ชั่วโมง อันนั้นก็เป็นวิธีการจัดการของเขา

แต่ถ้า office ไหนเฉียบขาด ทั้งหมดนี่จะไม่เกิด เพราะว่า คุณเป็นผู้มีอำนาจ คุณเป็นคนจ่ายเงินเดือน

ประเด็นคนคือคนที่ Enforce กฎพวกนี้ ทำได้หรือเปล่า คุณพ่อของผมท่านเป็นคนที่ตรงต่อเวลามาก เคยบอกผมไว้เรื่องนึงว่า เรื่องอะไรที่ตัวเองทำไมได้ อย่าไปหวังว่าจะให้ลูกน้องทำตามได้ เพราะเราเป็นหัวหน้า เราต้องเป็นคน set the bar พ่อผมท่านเห็นลูกน้องมาเข้างานสายบ่อยๆ วันหนึ่ง ก็เลยบอกว่า ต่อไปนี้ ประชุม ตอนเช้าทุกวัน พอบอกอย่างนั้น คนก็ยังไม่ค่อยสนใจ บางคนเข้างานตรงเวลา มาถึง 8 โมง ดันไปเล่น internet ถึง 8 โมง สิบนาที เดินเข้ามาห้องประชุม สติแตก พ่อผมท่านเปิดแฟ้มรอแล้ว นั่งกันแทบไม่ทัน หลังจากนั้น หนึ่งอาทิตย์ผ่านไป ไม่มีใครสายเลย เพราะพ่อผมท่าน เล่นว่า ถ้า 8 นาฬิกาปั้บ เปิดแฟ้มทันที เริ่มพูดทันที ใครไม่มาก็ไม่รอ (ไม่เคยถามเหมือนกันว่า แล้วถ้าอยู่คนเดียวจะเปิดแฟ้มลุยเลยหรือเปล่า)

เพราะฉะนั้น กฎ ไม่มีความหมายครับ ถ้าไม่มีการบังคับใช้ แล้วถ้าคนบังคับใช้ หย่อยยานเอง อย่าไปหวังให้คนทำตาม ทุกวันนี้ ความมีระเบียบเรียบร้อยใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ทุกแห่ง เป็นเรื่องของ อาจารย์ผ่านกิจการนิสิต ซึ่งเป็นเรื่องที่ตลกว่า ถ้าอาจารย์คนหนึ่งเป็นอาจารย์กิจการนิสิต ถ้าเจอนักเรียนทำตัวไม่เรียบร้อยจะเข้าไปว่ากล่าวตักเตือน แต่ถ้าพอหมดตำแหน่งแล้ว ไปทำอย่างอื่น เจอนักเรียนพฤติกรรมเดียวกันกลับไม่ใส่ใจ เพราะถือว่าตัวเองไม่ได้เป็นรองกิจการนิสิตแล้ว แบบนี้มันก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น อย่าไปไปหวัง

เรื่องที่สองคือเรื่องการเป็นมืออาชีพ จริงอย่างที่พี่วิญญุว่า ในโรงเรียนเราสอนกันน้อยมาก ผมจำได้ว่า ในสมัยผมเรียน อาจารย์ที่สอนผม คือท่านอาจารย์ อวยชัย วุฒิโฆษิต ท่านเป็นอาจารย์ผู้รอบรู้อย่างมากเรื่อง การออกแบบโรงพยาบาล แต่ผมก็จำได้ว่า แอร์มันก็เย็น วิธีการพูดของท่านอาจารย์มันก็ช่างนุ่มนวล พาให้เข้าสูภวังค์ แล้วก็เข้าไปจริงๆ อาจจะเป็นกรรมหรืออย่างไรก็ได้ ทุกวันนี้ไป Lecture ที่ไหนก็อดไม่ได้ที่จะต้องพูดถึงเรื่อง Professional Practice เกือบทุกๆ ครั้ง


แต่ประเด็นของผมคือ ผมจำได้ว่า วิชานั้น เรียนครั้งเดียว น่าจะตอนปี 4 แล้วก็ไม่เคยได้ยินอะไรอีกเลย

ผมจำได้ว่า ตอนที่ผมจบ ผมไม่รู้ว่าวิศวกรมีหน้าที่อะไร มารู้อีกทีคือตอนที่ทำงานแล้ว ว่าเออ ไอ้วิศวกรมันเป็นพวกเรานี่ ทำไมสมัยเรียน เราไม่เคยชอบคณะวิศวะเลยนะเนี่ย (แต่คิดอีกแง่ วิศวกรก็กลายไปเป็นผู้รับเหมาที่ต้องงัดข้อกับเราก็เยอะ)

เพราะฉะนั้นผมเห็นด้วยกับพี่วิญญูว่า เรามีปัญหา จริงๆ

ส่วนตัวผมเองนั้น ถ้าเลือกได้ อีกหน่อยมีโอกาส โชดดีได้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยกับเขาบ้าง ก็อยากจะเอาวิชานี้เป็นวิชาประจำตัว ขอสอนเเองเลย ถือว่าเป็นการใช้กรรมที่ไม่ค่อยตั้งใจเรียนกับครูบาอาจารย์สมัยนั้น แล้วก็จะได้ช่วยๆ Inspire เด็กๅ เพราะผมเชื่อว่า จริงๆ แล้วกรอบวิชานี้ กว้างใหญ่ไปศาลมาก ตั้งแต่การบริหารโครงการ บริหารสำนักงาน บริหารการเงิน กฎหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล บริหารความเสี่ยง มีเรื่องให้คุยไม่รู้จักจบ ถ้าคุยถูกวิธี ยกตัวอย่างให้สนุก นักศึกษาต้องได้อะไรมากแน่นอน (วิชาที่ผมไม่อยากสอนเลยคือ ออกแบบ เพราะไม่คิดว่าตัวเองออกแบบเก่ง)

แต่ถ้ามองในองค์รวมก็อดไม่ได้ที่จะถามคำถามว่า ทำไม Professional Practice ต้องเป็นวิชาหนึ่งที่แยกออกไป เพราะมันน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของทุกๆ วิชาอยู่แล้ว ในเมื่อเราเข้ามาเรียนหนังสือ เพื่อที่จะจบไปพร้อมที่จะเป็นมืออาชีพ ทำไมต้องมามีวิชาเล็กๆ สอนให้เราเป็นมืออาชีพอีก อันนั้นน่าคิด

คำตอบก็คือ อาจจะเป็นเพราะทุกวันนี้ อาจารย์ที่ทำงานเต็มเวลา ไ่ม่เคยทำงาน (มีน้อยมากที่ เป็นอาจารย์เต็มเวลา แล้วก็ยังประกอบวิชาชีพอยู่ ซึ่งในสหรํฐอเมริกา ปัญหานี้ก็รุนแรงมาก) อาจารย์ที่ได้รับทุนมหาวิทยาลัยถึงปริญญาเอก ร่ำเรียนมานานแสนนาน จบมาเป็น ดร. แต่ไม่เคยเป็นลูกน้องที่ทำงานในบริษํทไหนเลย เป็นบุคคลจากหอคอยงาช้าง ลงมาโปรดสัตว์โลกผู้ยากไ้ร้ทางวิชาการ ซึ่งผมก็เชื่อว่าท่่านเหล่านี้มีวิชาความรู้ดีจริงๆ แต่จะให้สอนเรื่องความเป็นมืออาชีพ ผมว่าเป็นไปได้ยาก ในเมื่อท่านไม่เคยเป็นมืออาชีพมา่ก่อน แล้วการที่จะเอาอาจารย์ข้างนอกมาสอน ความผูกพัน ความต่อเนื่องมันก็น้อยอีก (ซึ่งเทียบกับสมัยก่อน การเป็นช่างคือ ครูพักลักจำ มันจะตรงไปตรงมา ไปเรียนเอาจากการทำงานจริง สมัยนี่คือเรืยนในโรงเรียน ฝึกวิทยายุทธแล้วลงจากเขามาลองท่องยุทธจักร พอลงมารู้ตัวว่า วิทยายุทธที่ฝึกมา ใช้ไม่ได้กับโลกแห่งความจริง เพราะอาจารย์ฺสอนมาไม่ตรงกับโลกข้างล่าง ก็เผ่นกลับขึ้นเขาแทบไม่ทันไปเป็นอาจารย์ที่หลุดออกไปจากโลกภายนอกเหมือนเดิม หรือไม่ก็ พายเรือออกจากแผ่นดินไปหาโลกใหม่อยู่เลย….

……แต่ถ้าใครลงมาแล้ว ใช้วิทยายุทธที่ได้ร่ำเรียนมาเป็นพื้นฐาน ตั้งสติดีๆ เปิดหูตาให้กว้างๆ เรียนรู้จากยอดยุทธอื่นๆ ที่อยู่รอบข้าง เขาผู้นั้นก็อาจจะกลายเป็าเจ้ายุทธจักรได้เหมือนกัน….

….เพราะฉะนั้น มันเป็นเรื่องของ ทางเลือกแต่ละคน ใครอดทน ใครอ่อนแอ ใครหนักแน่น ใครจับจด ใึครขี้ประชด ก็ว่ากันไป ….

พูดมาเสียยาวก็ ขอตอบประเด็นเจ้าของกระทู้ ก็คือว่า

ผมคิดว่าการเรียนมาห้าปี นั้น สิ่งที่เราได้คือ “วิธีการเผชิญปัญหาและแก้ปัญหา” ซึ่งหลายๆ คณะไม่ได้เจอแบบเรา เขาอ่านหนังสือ แล้วเขาก็ไปสอบ เขาไม่มี task มาอยู่ตรงหน้าแล้วต้องทำให้เสร็จ (ถ้าเขาไปทำ ปริญญาโทถึงจะได้เจอ) ซึ่งเราต้องนับว่า เราล้ำหน้าสาขาอื่นไปหลายๆ สาขา ถ้าพูดถึงในแง่ของการใช้ชีวิต (ยกเว้น แพทย์ อันนั้นเขาเจอโครงการที่เรียกว่า คนไข้ วันละเป็นสิบคน แต่ ทนาย หรือ วิศวกร อย่างมาก็มีแค่ case มาให้ศึกษา ไม่เคยได้ลองลงมือทำจากอากาศ ทนายก็ไม่เคยว่าความตอนเรียนหนังสือ)

เพราะฉะนั้น การศึกษาที่พวกเราได้จากสาขาวิชานี้คือการศึกษาวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งได้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเราหัดจัดการให้ดี เราเอาไปปรับใช้กับอะไรก็ได้ นั่นอาจจะเป็นคำตอบว่า ทำไมถึงได้มีคนออกไปทำงานอย่างอืนแล้วประสบความสำเร็จ เพราะเขาได้ ทักษะ ตรงนี้ไป แต่เขาเอาไปปรับใช้ในสิ่งที่เขาชอบ

อยากจะบอกอีกอย่าง ที่คุณ Seim กับพี่วิญญูเถียงกันนี่ มันมีประโยคที่พูดถึงในวงการสถาปนิกที่ สหรัฐนี่บ่อยๆ ว่า

The guy who get and “A” end up being a teacher. And a guy who get a “B” end up working for a guy who get a “C”

แปลว่า คนที่เรียนได้เกรดสี่ ก็จะไปเป็นอาจารย์ ส่วนคนที่ได้เกรดสาม จะต้องไปทำงานเป็นลูกน้องคนที่ได้เกรดสอง

เพราะอะไร เพราะว่าคนที่ได้เกรดสอง มันเป็นพวกรอบจัด เรียนหนังสือพอผ่าน เอาเวลาไปเข้าสังคม รู้จักเพื่อนฝูง สร้าง network กลายเป็นคนที่มีเพื่อนมาก แล้วพอจบมาำทำงาน ก็พวกเพื่อนๆ พวกนี้ล่ะ ขน Project มาให้ เพราะผมเชื่อว่า ทุกๆ ท่านในที่นี้ก็รู้ว่า เวลาคนเขาจะให้งานกัน เขาอาจจะไม่ให้คนที่เก่งที่สุด แต่เขาจะให้คนที่เขาไว้ใจที่สุด แล้วใครจะเป็นคนที่เขาไว้ใจ ถ้าไม่ใช่เพื่อนเขา ที่จะปกป้องการลงทุนอันมหาศาล ในการก่อสร้างของเขา ได้ดีกว่าเพื่อนแ้ท้ของเขา (อันนี้ไม่ใช่โฆษณา บริษัทประกันนะครับ)

เพราะฉะนั้น Scenario ที่คุณ Siem พูด ที่ว่า

“แต่เท่าที่เห็นจนถึงเดี๋ยวนี้ ส่วนใหญ่ไอ้พวกเด็กที่โดดๆเนี่ย ออกมาแล้วทำงานด้วยง่ายกว่า,ไปได้ดีกว่าพวกเข้าเรียนทุกๆครั้ง คะแนนดีๆซะอีก........จริงๆนะ”

ผมเชื่อว่าเป็นไปได้ครับ มันขึ้นอยู่กับว่า คนๆ นั้น “โดด” เรียน แล้วเอาเวลาไปทำอะไร ไปทำกิจกรรม กับเพื่อนๆ คณะอื่น เข้าสังคม ทำอะไรที่เขาคิดว่าเป็นประโยชน์ ฝึกทักษะที่เขาสนใจ (เรียนมหาวิทยาลัย คิดว่าอะไรมีประโยชน์ก็น่าจะคิดเอง ตัดสินใจเองได้) แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าคนๆ “โดด” แล้วเอาเวลาไปทำอะไรที่ไร้สาระ ไม่ได้พัฒนาตัวเองตรงไหน มันก็ไม่น่าจะไปรอดเหมือนกัน

ผมเห็นด้วยกับคุณ Siem อีกเรื่องนึงคือเราให้ความสำคัญกับ ป้าย หรือคะแนนมาก ที่คุณแม่ของผม ต้องเคียวเข้ญให้ผมไปเรียน ปริญญาเอกมาให้ได้ ส่วนหนึ่งก็คือ อยากให้ลูกฉลาด (ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่า จุดประสงค์นี้สำเร็จแล้วหรือยัง อาจจะยังก็ได้) สองก็คือ เป็น ป้าย ที่จะเอาไว้ให้คนได้เห็นแล้ว ต้องขยับถอยหลังหนึ่งก้าว ถ้าคิดจะลองดีทางวิชาการ ซึ่งมันเป็นความจริงอันน่าเจ็บปวดจริง

เพราะว่า มันเหมือนกับ ผมเป็นนักท่องยุทธจักร มาดดี มีกระบี่ชั้นหนึ่ง Form ดีมากๆ ดูแล้ว น่าเกรงขาม แต่มันจะมีประโยชน์ อะไร ถ้าผมดึงกระบี่ออกมาฟาดฟันกันแล้ว ผมแฟ้คนที่ ดูมาดไม่ค่อยดี กระบี่ห่วย form ก็ไม่เข้าตา

คนจบปริญญาเอก ก็คือมีป้าย การพูดการจาก็คือ การร่ายรำอยู่คนเดียว อาจจะสวยงามเพราะมีครูดี แต่ถ้าถึงเวลาต้องประจันหน้าคู่ต่อสู้ แล้วคุณจอดภายในสามเพลง มันก็ไม่มีค่าอะไร

ผมขอเป็นยอดยุทธ ใส่เสื้อผ้าโทรมๆ มีไม้ไผ่หักๆ อันเดียว แต่เจอศัตรูเป็นร้อย ฟาดฟันให้แตกพ่ายในพริบตา ดีกว่าเยอะ

แต่ทำไงได้ เข้าเมืองตาหลิ่ว ก็ต้องหลิ่วตาตาม ในเมื่อสังคมไทย มองคนที่เรื่องของป้ายเป็นเรื่องใหญ่ ผมก็เลยต้อวิ่งไปเอาป้ายมาก่อน แล้วทุกวันนี้ก็พยายามฝึกวิทยายุทธ ไปพลางๆ

คำไทย ถึงได้มีไงครับว่า “ท่าดี ทีเหลว” ผมก็พยายามอย่างยิ่งที่จะไม่เข้าไปอยู่ในกลุ่มนี้ ถ้าเป็นไปได้

แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ต้องมีศีลธรรมด้วย

ผมพูดจริงๆ เลยว่า ความรู้ที่ผมมีหลายๆ อย่าง ที่ได้เอามา shareๆ กับท่านทีอยู่ในที่นี้ ได้มาจากตอนที่ผมไปทำงานทั้งสิ้น บางท่านอาจจะบอกว่า ก็ผมจบ U ที่ไม่ดัง ก็ต้องยอมรับครับ ผมไม่ได้จบ U top ten อะไร แต่ผมก็ไม่ได้พยายามจะแข่งอะไรกับใคร แต่พยายามแข่งกับตัวเองทุกวันอยู่

สุดท้ายอยากจะขอ Quate อันนี้

“ฉันโง่ ฉันเขลา ฉันทึ่งฉันจึง มาหา ความหมายหวังได้ กลับไป มากมายสุดท้าย ให้กระดาษ ฉันแผ่นเดียว”

ผมว่าตรงนี้ คือจุดวิกฤติการศึกษาของประเทศไทย เราตั้งโจทย์ในการศึกษาผิด

เราคิดว่า เราไปเรียน เรามุ่งหวังปริญญา เราไม่ได้มุ่งหวังความรู้

ถ้าเรามองการศึกษาเหมือนกับการเล่นตู้เกมตามห้าง ทุกอย่างมันจะออกมา clear มาก

คุณไปเล่นตู้เกม คุณจ่ายเงิน สิ่งที่คุณได้คือะไร แน่นอน คุณได้ ความมัน และอีกอย่างที่คุณได้คือ “ความรู้”

ผมไม่ได้พูดถึงความรู้ที่จะเอาไปหาเงินอะไร แต่เป็นความรู้ที่เป็นทักษะ คุณได้ฝึกฝนทักษะ ซึ่งจะทำให้คุณเล่นเกมได้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ในโอกาสต่อๆ ไป คุณเล่นแพ้ คุณก็จ่ายเงินเข้าไป เล่นใหม่ ยิ่งเล่นมาก ทักษะ คุณก็ดีมาก แล้ววันหนึ่ง คุณก็เล่นจนจบ สิ่งที่ได้คือทักษะระดับสูง ซึ่งถ้าคุณกลับมาเล่นอีก คุณก็ต้องเล่นได้ดีแน่นอน

เกมตู้ของเรา เป็นเกมตู้สถาปัตยกรรม ต่างกันกับเกมตู้ทั่วไปก็คือ เกมตู้ของเรา ฝึกทักษะที่จะออกไปประกอบวิชาชีพได้

เวลาคุณสอบตก ก็คือคุณเล่นไม่ผ่าน คุณจะมาอ้างอะไรได้ ? ตู้เกมมันจะยอมคุณมั้ย?
มันจะยอมคุณมั้ย ถ้าคุณบอกว่า แหม ผมจะฆ่า boss ด่านนี้ได้แล้ว พลังมันเหลือแค่ขีดเดียวเอง แต่ผมดันตายก่อน ให้ผมผ่านไปด่านต่อไปเถอะนะ ?
มันจะยอมคุณมั้ยถ้าคุณบอกว่า โหย Hard Mode ยากจัง ขอเล่นแบบ Easy mode แต่ขอดูฉากจบ แบบ Hardmode นะ?

มันคงไม่ยอมคุณหรอกใช้มั้ยครับ

เช่นกันถ้า คุณเป็นผู้เล่น เข้ามาเล่นแล้ว สิ่งที่ได้คือ ความมัน และ skill ที่จะเอาเป็นเล่นต่อในโลกภายนอกได้จริงๆ ปริญญา ไม่ปริญญา มันไม่น่าจะสำคัญมาก (เวลาเล่นเกมจบ คุณสนใจมั้ยว่า มันมีกระดาษ print ออกมาให้เป็นการประกาศให้โลกรู้ว่า คุณเล่นเกมนี้ได้เก่งมา จบแล้ว คุณจะสนทำไม ในเมื่อในใจคุณรู้ว่า คุณเล่นจบมาจริงๆ ด้วยความสามารถ ไม่ได้ไป print มาเอง)

เก่งไม่เก่ง ก็มาลองเล่นกันดู แข่งกันดูสิ เดี๋ยวก็รู้ว่าใครแน่กว่าใคร

ผมบอกได้เลยว่า ทุกวันนี้ จับผมไปแข่งกับ พี่ draft man บางคนที่จบ ปวส. ผมอาจจะโดนดาบเขาฟันขาดสองท่อนในสามเพลงก็ได้

เพราะฉะนั้น ต่อให้ผมจบ ด๊อกเตอร์มาอีกสามใบ ผมก็ไม่สามรถหยุดฝึกฝนวิทยายุทธได้ เพราะผมไม่อยาก “ตาย”

แต่ในขณะเดียวกัน ท่านๆ ที่เห็น คนถือป้ายด๊อกเตอร์ทั้งหลายเดินไปเดินมา ผมอยากให้ท่าน ขอท้าประลองให้ทั่วหน้าทุกๆ คน (แล้วแต่จะประลองเกมไหน)

ถ้าคุณไม่เคยประมือกับเขา คุณจะไม่มีทางได้รู้ว่าเขาเก่งแค่ไหน และที่สำคัญที่สุด “คุณจะไม่มีทางรู้เลยว่าตัวเองเก่งแค่ไหน” ถ้าไม่ได้ใช้ความสามารถที่ร่ำเรียน ฝึกฝนมาในการต่อสู้จริง อย่าไปกลัวคนพวกนี้ ถามคำถามไปเลย ลองภุมิไปเลย ท้าทายไปเลย ถ้าเขาแน่จริง เขาจะแสดงให้คุณเห็นเอง

เราต้องจบยุคที่ คนเรียนสูงก็ได้รับการยกย่องไปโดยอัตโนมัติโดยไม่มีการตราจสอบความสามารถอย่างแท้จริง

ถ้าทำได้แบบนั้น ผมเชื่อว่า เราจะได้สังคมวิชาชีพที่เป็นธรรมมากขึ้น จะได้นับถือคนที่ควรนับถือจริงๆ กันซะที

ความแตกต่าง ระหว่าง Townhome กับ Townhouse

Town home กะ Townhouse นี่ตามความเห็นส่วนตัวน่าจะเหมือนกันนะครับ ทำงานที่นี่ออกแบบ Townhome ผมถามเพื่อนฝรั่งทำไมไ่ม่เรียกว่า townhouse มันก็บอกว่าไม่รู้ แต่

รากของ Townhouse มาจากอังกฤษ ในสมัยพวกขุนนางทั้งหลายที่ต้องเขามาประชุมในเมืองหลวง จะมีที่พักของตัวเอง ที่อยู่ในเมือง ซึ่งจะมาใช้เฉพาะเวลาที่เข้ามาประชุมเท่านั้น ต่างกับ Country House ซึ่งเป็นที่อยู่ประจำ

Home Office อันนี้เป็นบ้านที่มีการปรับ ให้บางส่วนเป็นสำนักงานไปด้วย เช่นที่สหรัฐนี่ ส่วนใหญ่ก็เอาที่จอดรถในบ้านมาทำเป็น Home Office แล้วก็จอดรถข้างนอก จะเหมือนกัน

Shop House หรือตึกแถวของเรา แต่ตึกแถวเน้นการค้าขาย สิ้นค้า ที่มีการขนส่ง (Loading) มากกว่าพวก Home office ที่นั่งโต๊ะทำงานเป็นการให้บริการ มากกว่าการขายสิ้นค้าโดยตรง ดังนั้นเรื่อง Accessible ที่จะต้องติดถนนจึงไม่จำเป็นมากเท่า Shop House และ Shop House นี่ล่ะน่าจะเป็นอาคารพาินิชย์ เพราะสร้างขึ้นมาเพื่อการค้า (แต่คนไทยเอาไปอยู่อาศัยด้วย)

อันนี้ไ่่ม่เกี่ยวกับคำแปลตามกฎหมายนะครับ อันนี้ความเห็นส่วนตัวของผมเอง

คุณภาพในการออกแบบ กับการปรับเข้าหา FTA

จะไป Style ไหน หา Identity ความเป็นไทยเจอหรือไม่ หรือว่าจะหลงทางไปทางใด ผมว่าก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้าง Subjective และแล้วแต่ท่านผู้เชี่ยวชาญจะตีความ

สำหรับตัวผมเอง เห็นว่าเรื่องที่สำคัญมากตอนนี้คือเรื่อง คุณภาพที่จับต้องได้ และพิสูจน์ได้โดยตรงอย่างไม่ต้องการตีความ

ถ้าหากจะโยงไปเรื่อง FTA หรือ กระแสอื่นๆ จากต่างประเทศที่จะเข้ามาหาเรา หรือถูกผลักเข้าไปหาเขานั้น ผมว่า คุณภาพเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก

คุณภาพที่ผมกำลังพูดถึงเหล่านี้คือ

1. การออกแบบอาคารเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร (Safety in Built Environment)
ในกรณีนี้ ครอบคลุมไปถึงการหนีภัยในกรณ๊ฉุกเฉิน ไปจนถึง การออกแบบอาคารไม่ให้เกิดสภาวะความเป็นพิษในสภาพแวดล้อมภายใน เช่นในเรื่องของ Mold เป็นต้น

2. การออกแบบเพื่อการเข้าถึงของคนพิการ (Handicap Accessibility) โดยเปิดโอกาสให้คนที่อยู่บนรถเข็น คนตาขอด คนหูหนวก ฯลฯ ให้คนเหล่านี้ได้ใช้ อาคารหรือสภาพแวดล้อมที่ถูกก่อส้างโดยมนุษย์ได้เหมือนคนธรรมดาทั่วๆ ไป

หลักการทั้งสองนี้ เป็นเรื่องที่น่าทำเพราะเป็นเรื่องที่พิสุจน์ได้ชัดเจน และเป็นเรื่องที่ โจมตีประเด็นที่คนไทยคิดว่าแข็งแรง แต่จริงๆแล้วอ่อนแอมาก ได้แก่เรื่องของสิทธิมนุษยชน คืออย่างในประเด็นที่ 1 นั้นคือ คุณค่าของชีวิต มีกี่ชิวิตแล้วในเมืองไทยที่ต้องสังเวยเพราะความสะเพร่าในการก่อสร้างและการออกแบบ และ ประเด็นที่สองคือ เรื่องของความเท่าเทียมกันในสังคม

ก่อนที่เราจะไปไกลกันมากในเรื่อง Concept และ ความเป็นไทย หรืออะไรก็ตาม เรื่องปลอดภัย และเรื่องความเท่าเทียมกันของสังคม เป็นเรื่องใหญ่มาก ที่กฎหมาย และมาตรฐานการก่อสร้างของเราเองยังไปไม่ไกลเท่าไหร่ และทั้งๆ ที่กฎหมายเราก็ไม่ได้ไปไกลอยู่แล้ว ก็ยังมีการพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำตามกันอีก

ถ้าต่างประเทศจะหาเรื่อง attack เรา ก็จะมามุมนี้ โดยหาว่า Standard เราไม่ดี ต้องใช้ Standard ของเขา แล้วพอเราทำตามไม่ได้ เราจะตายทันที ในน้ำตื้น น้ำของเราเอง

อย่าคิดว่าการที่ต่างชาติจะมานั่งร่างกฎหมายในประเทศไทยเป็นไปไม่ได้ เพราะทุกอย่างเป็นเรื่องของ พลกำลังในการเจรจา และพลกำลังในปัจจุบันคือการเงิน ประเทศเราเป็นหนี้ประเทศไหน หรือมีประเทศไหนเป็นคู่ค้าสำคัญที่เราได้ดุลเยอะๆ บ้าง ประเทศนั้นละที่เป็นประเทศที่เสียงดัง และรัฐบาลเราทำได้อย่างเดียวคือทำตาม

ปรับตัวดีๆ นะครับ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทั้งหลาย

Playstation III กับอนาคตของการออกแบบสถาปัตยกรรม

และแล้ว ก็ึถึงวันนี้ กับ Playstation III

เขียนเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2006

เมื่อ วันพฤหัส ที่ 16 พฤศจิืกายน ที่ผ่านมา ในสหรัฐอเมริกาแห่งนี้ มีปรากฎการทางเทคโนโลยีที่สำคัญมาก เกิดขึ้น ได้แก่การเปิดขายเป็นเครั้งแรก ของเครื่องเล่น Playstation 3 ที่ทุกคนรอคอยมานานแสนนาน

ผมเองซึ่งเป็นคนเล่นวิดีโอเกมเหมือนกัน ถึงแม้อยากจะได้เป็นเจ้าของไว้สักเครื่อง แต่เห็นราคาที่สูง ขนาดนี้ ($600) แล้วแถมยังต้องไปต่อสู้แย่งชิงเพื่อให้ได้มาครอบครอง ในขณะทียังมีเกมออกมาไม่มาก แถมราคาแผ่นเกมก็แสนแพง (เกมแผ่นผี ที่นี่หายากมาก) ก็เลยคิดว่า คงจะรอดูไปก่อน

ในขณะเดียวกันก็อดไม่ได้ที่จะลองหาข้อมูลไปพลางๆ

ก็ต้องบอกจริงๆ ครับว่า ประทับใจมาก กับคุณภาพของ Graphic ทั้งภาพและเสียงที่ออกมา มันทำใ้ห้รู้สึกว่าการเล่นเกม ไม่ใช่ความสะใจที่เราจะมาใส่อารมณ์กันมันๆ หน้าจออีกแล้ว มันกลายเป็น “ประสบการณ์เสมือน” ที่นับวันเราจะแยกแยะโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกเสมือนออกจากกันยากขึ้นทุกที Playstation 3 นี้ทำใ้ห้เส้นแบ่งดังกล่าวเบลอ ไปอีกระดับหนึ่งทีเดียว

พอได้รู้สึกอย่างนั้นแล้ว มันก็เหมือนมี flash back ขึ้นมาในหัว ย้อนกลับไปเมื่อครั้งอดีต

ผมเคยคุยกับเพื่อนเหมือนกันว่า คนรุ่นเรา (เกิดในช่วงปี 1975-1980) น่าจะเป็นยุคที่ค่อนข้างโชคดี เพราะได้เห็นการ ก้าวกระโดด ของเทคโนโลยี แบบชัดเจนมาก

เริ่มต้นเลยคือว่า สมัยเด็กๆ ตอนอยู่ประถม ผมก็รบเร้าให้คุณแ่ม่ซื้อเครื่อง Famicom ให้ เกที่เล่นเป็นเกมแรก คือ Super Mario 1 เป็นเกมตลับ เสียบแล้วเล่น ที่ติดมากที่สุดเลยคือ Rockman เล่นได้ไม่กินข้าว ไม่หลับไม่นอน

พอตอนเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่รู้จักอะไรเกี่ยวกับ Computer ทุกคนต้อง Draft มืออย่างเดียว แต่คำว่า AutoCAD เริ่มจะเป็นที่คุ้นๆ กันบ้าง พอผมขึ้นปี 3 ที่บ้านก็ซื่อเครื่อง Computer ให้ซึ่งเป็นชุดที่หรูหรามาก มี RAM ถึง 16meg (ซึ่งตอนนี้ฟังดูเหมือนเรื่องตลก) ราคาแพง
มาก แต่ผมแทนที่จะเอามาหัด AutoCAD อย่างแข็งขัน ก็ดันเอาไป เล่น telnet จีบสาว ซึ่งตอนนั้น Program ที่ใช้ Chat ข้ามมหาวิทยาลัยได้ก็คือ Telnet หรือ Hyper Terminal เท่านั้น (ก่อนที่จะถึงยุค ICQ ซึ่งเปลี่ยนสังคมการหาเพื่อนใหม่ไปอย่างรุนแรง) ส่วนในตอนนั้น HTML ใช้เวลา Load ข้ามคืน กว่าจะได้รูปโป๊ดารา 1 รูป

กว่าจะเริ่มใช้ AutoCAD เป็นจริงๆ ก็อยู่เข้าไปปี 4 ซึ่งอย่างที่บอกว่ารู้สึกโชคดีก็เพราะว่า ได้เห็นทั้งสองโลก ทั้งการเขียนมือ และการใช้ CAD ตอนนั้นจำได้ว่า ร้อนวิชามาก อยากทำ 3D เป็นให้ได้ มีงานที่อาจารย์สอน CAD ท่านให้มา เพื่อนที่ทำงานในชั้นบอกว่า ยาก ทำไม่ได้ ผมก็เลยอาสาว่า เอางี้ ให้ทุกคนมาที่บ้านผม แล้วผมจะทำการบ้านชิ้นนี้ให้หมดเลย เอาเป็นว่ามานั่ง แล้วบอกว่าจะเอาอะไร ผมจะขึ้น Form ให้ ก็ดูเหมือนจะเป็นกรรมดี เพราะตอนนี้ก็เลย ทำ 3D ได้ แต่ยัง Render ไม่เป็น ห่วยมาก

หลังจากนั้น พอมาเรียนเมืองนอกก็ได้สัมผัสกับ Internet ความเร็วสูง T-1 Cable ที่เร็วมหากาฬ download เพลงได้ภายใน 10 นาที ซึ่งถือว่าเร็วมากๆ ตอนนั้น (ตอนนี้ 15 วินาทีอย่างมาก)

และเมื่อเรียนจบออกมาทำงาน ผมก็เห็นตัวเองเป็นมนุษย์ที่ตาอยู่ต่อหน้า Computer ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ถ้าอยู่นอกบ้านก็ใช้ Blackberry อยู่ในบ้านก็ใช้ Laptop ทำทุกๆ อย่าง มันเปลี่ยนโลกทัศน์ไปหมด

จนวันนี้ ที่เห็นการพัฒนาไปอีกขึ้นคือ Playstation 3 ซึ่งแทบจะเป็น ทั้ง PC ไปในตัว มีท้ง สายเคเบิ้ลต่อออก และ USB Port และเครื่องอ่านแผ่น Blue-ray ซึ่งจะเก็บควาจุแต่ละแผ่นได้ 40Gig ขึ้นไป ซึ่งนั่นคือขนาดของข้อมูลซึ่งในอนาคตก็จะเป็นเรื่องปกติ (http://en.wikipedia.org/wiki/Blu-ray_Disc)

ทีนี้ถ้าพูดถึงในเชิงสถาปัตยกรรม ก็อดไม่ได้ที่จะย้อนไปที่กระทู้เรื่อง มีคนถามว่า คนที่ทำ Perspective ด้วยมือเป็นอาชีพจะรอดมั้ย ผมว่า ถ้าดูกันโดยภาพรวม แล้วก็ใช้หลักการแบบที่พี่วิญญูว่า ว่า “คนที่เก่งมากๆ สุดๆ นั้น เอามานับรวมไม่ได้” เพราะคนพวกนี้ ถ้าอยู่ในระดับความสามารถดังกล่าว ไปอยู่ในวงการไหน ก็อยู่รอดได้ ก็คงต้องฟันธงเลยละครับว่า โอกาสรอดของวิชาชีพเขียนด้วยมือ จะน้อยลงไปเรื่อยๆ

มันจะหดตัวลงจนเหลือเป็น Master Piece ซึ่ง นักขาย เวลาเขาจะ Request เขาจะถามเลยว่า ใครเขียน Perspective มือสวยที่สุด เพราะเขาจะ ระบุตรงตัวในสิ่งที่เขาต้องการ

ซึ่งมันจะต่างกับการ Request ในเชิงของการ Presentation ธรรมดาๆ ที่ เวลาเราทำแบบแล้ว เขาขอ Animation, 3D model ไปด้วย ต้องเอา Fly-through Video ไป Present ให้ลูกค้า ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย และชัดเจนกว่า ภาพ Perspective ที่เขียนด้วยมือมาก

จากประสบการณ์ที่พบในสหรัฐอเมริกา ภาพ Perspective ที่เขียนด้วยมือ จะถูกนำมาใช้ในทางการตลาด มากกว่าการแสดงข้อมูลให้เจ้าของงานได้เข้าใจ ดังนั้นถ้าโครงการไหน ไม่มีการตลาดปน คนทำ perspective มือแทบจะไม่มีโอกาสเลย และต้องอย่าลืมว่า โครงการที่ต้องการการตลาดดังกล่าวส่วนใหญ่ ที่จะ request คนเขียน Perspective ด้วยฝีมือนั้น จะต้องเป็นโครงการที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น บ้าน หรือ อาคารที่อยู่อาศัย ที่ต้องการ ความเป็นธรรมชาติ อ่อนโยน มีชีวิต ในขณะที่โครงการประเภทอื่นๆ ที่ Computer Presentation กินขาดหมด

สิ่งที่เกิดขึ้นที่ผมเห็นใน Playstation 3 ก็คือ Generation ของคนเล่นเกมแบบพวกเรา และคนรุ่นหลังลงไป ที่จะเป็นคนที่มีความเข้าใจ Virtual 3D Environment เป็นอย่างดี คนพวกนี้ที่มีเงินซื้อเกมต่างๆ มาเล่นตั้งแต่เด็กๆ ต่อไปก็จะเป็นลูกค้าระดับ Top Class ของพวกเรา แล้วคนพวกนี้ล่ะ ที่จะ demand การบริการที่ต้องมีประสิทธิภาพ จากสถาปนิก อย่างน้อยๆ ก็ต้องพอสมน้ำสมเนื้อกับเกมที่เขาเล่นมาตั้งแต่เด็กๆ ล่ะ

ต่อไปลูกค้า เวลาที่จะตรวจงาน อาจจะหยิบ Joy ขึ้นมาแล้วกดปุ่มเดินไปเดินมาเองใน โลกเสมือนที่สถาปนิกสร้างขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า อีกหน่อยก็คงจะเป็น VR เข้าไปอยู่ในนั้นเองจริงๆ แบบที่มีแสงเงา อย่างเนียนมาก

เราจะเจอกับลูกค้าที่เข้าใจความเป็นสามมิติเป็นอย่างดี สื่อสารกับเราเ้ข้าใจมากขึ้น อาจจะอธิบายได้ดีขึ้นว่าเขาต้องการอะไร แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องให้การบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวดเร็วขึ้น และผิดพลาดน้อยลง

อยากจะพูดเรื่องเกมที่ เคยเล่นในสมัยของ Playstation 2 และมีความประทับใจเรื่องฉากที่ เขาทำออกมาจริงๆ แ่ต่ขออนุญาิติไปพักผ่อนก่อนนะครับ ช่วงนี้ในสหรัฐคือ Thanks Giving พอมีเวลาแวะมาเขียนบ้าง นิดหน่อย

อาจจะกระจัดกระจายบ้าง แต่เอาเป็นว่า Share ประสบการณ์ส่วนตัวกันสนุกๆ ละกันนะครับ

ความประทับใจที่ สถาปัตย์ มหาสารคาม

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และ นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถาบันการศึกษาที่มีอนาคตไกล

เขียนเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2006


ผมได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรพิเศษ เีกี่ยวกับการออกแบบอาคารสูงและโรงแรมที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และ นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเมื่อวันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2549 ที่ผ่านมา

คณะนี้เป็นคณะที่ มีสามภาควิชาได้แก่ สถาปัตยกรรม ผังเมือง และ นฤมิตศิลป์ โดยจะเป็นปริญญาตรีทั้งหมด

ต้องยอมรับว่าในช่วงแรกผม ตามประสาคนกรุงเทพ ก็คิืดว่า เป็นการไปช่วยเหลือมหาวิทยาลัยที่ห่างไกล และไม่พร้อมในทุกๆ เรื่องตั้งแต่สถาบัน ยันจำนวนอาจารย์ต่อนิสิตและศักยภาพของนิสิตเองด้วย นอกจากนี้จากการที่ได้อ่านบทความเกี่ยวกับการรับนิสิตในมหาวิทยาลัยของรัฐที่ถูกกล่าวหาว่า จะเน้นแ่ต่การเอาเงิน โดยรับเด็กเพิ่มมากๆ เพื่อรับค่าเล่าเรียน แต่มีอาจารย์ไม่เพียงพอ หรืออะไรก็แล้วแต่ เอาเป็นว่าไม่ได้คาดหวังอะไรมาก ไปสอนๆ ให้จบๆ ก็แล้วกํน

แต่ก็ต้องยอมรับว่าคิดผิดไปถนัด

เมื่อไปถึงก็มีอาจารย์มาต้อนรับ มีอาคารเรียนที่ใหญ่โต (ทราบอีกครั้งว่าเป็นของคณะศิลปกรรมศาสตร์) แต่อาคารของคณะสถาปัตย์นั้นกำลังก่อสร้างอยู่ นอกจากนี้ การที่ได้รู้จักกับคณาจารย์ ก็ิยิ่งประทับใจ โดยเห็นได้ว่าเป็นผู้ที่มีทั้งความรู้ ทั้งกำลัง และทั้งอุดมการณ์

คืออาจารย์มหาวิทยาลัยบางคนที่ผมรู้จัก ไม่ว่าจะในเืมืองหรือนอกเมือง ถ้าเป็นมหาวิทยาลับของรัฐจะมีกลุ่มคนที่มาสอนเพื่อที่จะยกระดับตัวเอง คือใช้ความเป็นอาจารย์เพื่อเข้าหาทุน เพื่อจะได้เรียนต่อ แต่ส่วนตัวไม่มีจิตวิญญาณของความเป็นครูแม้แต่น้อย พอจบมาก็เอาแต่ทำงานนอก สอนเด็กแบบ Minimum มาถึงไ่ม่เตรียมตัวสอน เอาแต่ด่าเด็กเป็นหลัก

แต่อาจารย์ที่ผมเจอที่มหาสารคาม นั้นตรงกันข้าม อาจารย์เหล่านี้มีจิตวิญญาณของความเป็นครูจริงๆ คือจะสอนเด็กแบบเขี้ยวเข็ญ ตามเด็กมาส่งงาน ทำอะไรก็ได้ให้เด็กได้ดี ผมจำ detail เล็กๆ ได้คือตอนที่ผมกำลังสอน มีเด็กคนหนึ่งเอา magazine ขึ้นมาอ่าน อาจารย์ถึงขนาดไปตามเก็บมายึดไว้ (เหมือนครูประถม) เพื่อให้เด็กตั้งใจฟัง อาจารย์แต่ละคนที่อยู่ที่นี่ ส่วนใหญ่ รักที่จะอยู่ทั้งสิ้นและจะอยู่ไปอีกนาน

ผมคิดไปอีกทีก็นับถืออาจารย์เหล่านี้ ว่ายินยอมเสียสละมาอยู่ในดินแดนกันดาร เพื่ออุดมการณ์ของตัวเอง 100% โดยมีชีวิตที่ไม่ได้สุขสบายเหมือนที่ๆ เคยอยู่มาก่อน (อาจารยฺ์ส่วนใหญ่เป็นคนกรุงเทพทั้งสิ้น)

แต่ผมก็ต้องคิดผิดอีกที ใครกันที่พูดว่าอีสาน แห่งแล้งกันดาร ไม่จริงครับ

อาหารมื้อแรกของผม นั้นเป็นอาหารอีสาน ที่มีทั้งคุณภาพและปริมาณ ปลาที่ผมกิน ตัวขนาดเท่าอ่างล้างมือเล็กๆ ถ้ากินในกรุงเทพ ต้องตัวละเป็นพันแน่ๆ เป็นปลาที่สดเพราะจับจากบ่อ ส้มตำ ปล่าย่าง ปลาทอด ซี่โครงหมูทอด และอาหารอีสานที่ผมจำชื่อไม่ได้หลายชนิด กินกัน 9 คน แทบเป็นแทบตาย เช็คบิลออกมา ตกคนละ 70 กว่าบาท ทำให้รู้ซึ่งเลยว่า อาจารย์พวกนี้ ไม่ได้ลำบากอย่างที่ผมคิด ถ้าเงินเดือนลูกจ้างของรัฐ ในรูปแบบของการออกนอกระบบที่เท่ากันทั้งประเทศในค่าครองชีพแบบนี้ อาจารย์เหล่านี้ความเป็นอยู่ดีมากๆ

คิดเทียบกันตรงไปตรงมา ชาเย็นในร้านหรูๆ ที่กรุงเทพ ราคาเฉลี่ยตกอยู่ที่ 45 บาท แต่ที่นี่ 15 บาทครับ

ค่าเช่าบ้านของอาจารย์เหล่าี้นี้ ก็ไม่ต้องเสีย มีอาคารหอพักอาจารย์ให้อยู่ เสียเงินเพียง 500 บาท เท่านั้น หมดค่าเช่าบ้านไปอีก

รถหรือครับ ไม่ต้องมี รถไม่ติด ถ้ามีมอเตอร์ไซค์ซักคัน ก็สบายแ้ล้ว อากาศดี เมืองเล็กๆ สงบๆ ไม่มี pollution จากบ้านมาทำงานใช้เวลา 5 นาที มีเวลามานั่งอ่านหนังสือ พัฒนาความสามารถตัวเอง และองค์กรเ็ป็นอย่างมาก

ถ้าท่านเบื่อ ก็ไปท่องเที่ยวได้ ไม่ต้องไปเดินห้างแบบกรุงเทพ มหาสารคามเป็นจังหวัดที่เรียกว่าเป็นสะดือ อีสาน คือ อยู่ตรงกลางพิกัดของ ภาคพอดี จะไปที่ไหนก็ 3-4 ชั่วโมงอย่างมาก ขับรถไป ไม่ถึงชั่วโมงก็ กาฬสินธุ์ วนไปอีกทีก็ ขอนแก่นแล้ว แต่ละจังหวัด ก็จะมีอาหารอร่อยๆ และผู้คนที่มีน้ำจิตน้ำใจที่ดี มีที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติมากมาย ถ้าท่านได้ไปอยู่ รับรองว่าแข็งแรงมาก ทั้งจากอากาศ อาหาร และการใช้ชีวิต

ถ้าจะเป็นวิทยากรพิเศษ ก็อยู่อย่างราชา ไปถึงที่สนามบินขอนแก่น มีรถมารับ ไปสอนที่คณะ กลางคืนพักโรงแรมตักศิลา สบายมากๆ อยู่กลางเมือง ถ้านับกันในประเทศ ผมให้ สามดาวครึ่ง โรงแรมนี้

อินเตอร์เน็ทของมหาวิทยาลัยก็เร็วมาก ไม่แพ้แถวสยามแสควร์

สรุปแล้ว สบายครับ ไม่ลำบากเลย

ที้นี้นิสิตเป็นอย่างไร ก็อาจจะต้องยอมรับว่า เป็นนิสิตที่อาจจะไ่ม่ไ้ด้รู้ได้เห็นอยู่ใน Trend มากเท่าเด็กกรุงเทพ คือความรู้พื้นฐานอาจจะทันกัน แต่ประสบการณ์อาจจะน้อยกว่า แต่เด็กพวกนี้ ความตั้งใจไม่แพ้แน่นอน และเด็กเหล่านี้มีสัมมาคารวะกับอาจารย์มาก ไม่เหมือนเด็กมหาวิทยาลัยเอกชน “บางแห่ง” ที่ ด่าพ่อล่อแม่กันข้ามหัวอาจารย์ (ผมเจอมาแล้ว) เพราะเขาถือว่า เขาจ่ายเงินมาแพง อาจารย์คือลูกจ้างของเขา

เด็กๆที่เรียนอยู่ที่นี่ เป็นเด็กที่มาจากทุกๆ จังหวัดในภาคอีสานทั้งสิ้น จะมีความหลากหลายในเรื่องของถิ่นที่อยู่ แต่จะยังคงมีรากของวัฒนธรรมท้องถิ้นผังลึกมาก ยังมีการไปทำบุญที่วัดเป็นประจำ มีการใช้ภาษาท้องถิ่้น หรือพูดง่ายๆ ก็คือยังคงความงดงามของเอกลักษณ์ประจำท้องถิ้นได้เป็นอบ่างดี

งาน Project ที่ทำก็จะเป็นงานในภาคอีสานเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเมือง การทำแผนให้กับ อบต หรือส่วนราชการของจังหวัด

สรุปก็คือ อาจจะไม่ใช้มหาวิทยาลัยที่เจริญก้าวหน้าอย่างฟู่ฟ่า อลังการ หรือไม่ได้ผลิตเด็กที่เก่งเป็น top class ของประเทศ แต่เป็นที่ๆ ถ้าเจริญก็น่าจะเจริญอย่างยั่งยืนได้ และ่ก่อให้เกิดความเจริญที่เหมาะสมกับศักยภาพของท้องถิ่นได้

สถาปนิกท่านใดที่มีความรู้ความสามารถ อยากจะแบ่งปันให้กับเด็กเหล่านี้ ก็ลองสมัครเป็นอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษได้นะครับ กินอยู่ เดินทาง ฟรี ติดต่อไปได้ที่ ท่านอาจารย์ มณี พานิชการ คณะบดี ได้ที่ 0-4375-4381 หรือ fax 0-4375-4382 ส่ง Resume ไปเลยครับ แล้วบอกไปเลยว่าอยากสอนวิชาอะไร

เรื่องใหญ่ที่สุดคือเรื่องความอยากสอนนะครับ สำหรับสถาปนิกทุกท่าน ความรู้ เราทุกคนพอมี แต่ใจที่อยากจะให้เป็นเรื่องใหญ่ อย่ารอให้เขามาเชิญท่านเลยครับ เสนอตัวไปเลย อย่างผมนี่ก็ ได้เจออาจารย์มณี ในงานที่กรุงเทพ ผมก็บอกว่า ผมยินดีที่จะสอน ให้ผมได้เมื่อไหร่ก็ได้ เขาก็ส่งจดหมายมาเชิญผมไป

มาช่วยๆ กันกระจายความรู้ที่เรามีเพื่อวิชาชีพของเรานะครับ

เกี่ยวกับ Boutique Hotel

Boutique Hotel อาจจะฟังดูเหมือนประเภทของโรงแรม แต่จริงๆ แล้วเป็นแนวทางในการตกแต่างหรือสร้างเอกลักษณ์ใน Space และการ Presentation ใหักับผู้ที่เขามาพักหรือเข้ามาใช้พื้นที่ในโรงแรมมากกว่า ไม่ใช่ประเภทของการใช้สอย

ต้องระวังเหมือนกันใน ปัจจุบันมีโรงแรมที่ ยกตนเองหรือเรียกตัวเองเป็น Boutique เยอะมาก บางโรงแรมถึงกับ ตั้งเป็นชื่อของโรงแรมหรือชื่อของ Chain เลยด้วยซ้ำ โดยบางเจ้าแค่น้ำ Fixture หรือ Furniture เดิ้นๆ มาจัด ก็เรียกตัวเองว่าเป็น Boutique แล้ว โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตัว space จริงๆ แต่อย่างใด อันนั้นไม่ใช่แน่ๆ

โดยส่วนตัว ที่บริษัททำงานออกแบบโรงแรมเป็นหลักนั้น Boutique Hotel โดยเฉพาที่มีการ Renovate มาจากตึกเก่า จะต้องมี การเปลี่ยนแปลงอย่างมาก (Radical Change) ในส่วนของงานสถาปัตยกรรม ไม่ใช่แค่ส่วนของ Interior เช่น Fixture, Furniture และ Equipment เท่านั้น

ตัวอย่างของ Boutique Hotel ระดับโลก มีดังนี้

The Standards – Los Angeles, California
Hudson Hotel – New York, New York ซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของ Chain ที่ชื่อ Morgan’s
‘W’ Hotel Chain – เป็น Boutique Chain อันแรกของโลก

โรงแรมทั้งหมดนี้ บรรยากาศเมื่อท่านได้เข้าไปจะเหมือนไม่รู้สึกว่าอยู่ในโรงแรม แต่รู้สึกว่าเหมือนเข้าไปใน สถาณที่ๆมีความตื่นเต้น เหมือนกัน Bar หรือ Lounge เป็นสถาณที่เที่ยวกลางคืนมากกว่าเพราะความแปลกตาของมัน

แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ว่า Boutique ทุกแห่งจะเหมือน Bar ไปหมด อาจจะเป็นบรรยาการศที่สงบ และเป็น ธรรมชาติของ Zen ได้เช่น The Hempel ที่ London แต่ก็ยังมีความเด็ดขาดของ Design มากกว่าโรงแรมทั่วๆไป

บางโรงแรมอาจจะไม่ Design จัดมาก แต่จะมีของเล่น พิเศษ ที่ไม่เหมือนใครให้ เช่น บางโรงแรมมี ปลาทองให้เลี้ยง บางโรงแรมที่ทางใต้ของอเมริกา มีการทำพิธี วูดู ใน ล๊อบบี้ คือเป็นบรรยากาศที่ แปลก

ในประเทศไทยที่รู้สึกว่าเป็น ความพยายามที่จะทำก็คือ D2 ของ เครือ Dusit ของหาดูนะครับ

Saturday, January 13, 2007

nanotechnology in construction industry

ความคิดเห็นที่ 1 โดย: ดร.พร วิรุฬห์รักษ์ วันที่ ( 03 Nov 2005 09:51:13 )


Mies เคยบอกว่า God is in Detail - ผมก็สงสัยเหมือนกันละครับในกรณีที่เป็น detail ระดับที่ตาเรามองไม่เห็น คนงานก่อสร้างวัดไม่ได้นี่ มันจะเกี่ยวอะไรกับพวกเราบ้าง

อย่างในกรณี วงการสาธารณสุขนี่ ความเป็นความตายมันอยู่ใน สเกล เล็กๆ แบบนั้นจริงๆ แต่อย่างของเรานี่ เราสร้างและทำทุกอย่างมาจากสิ่งที่เราจับต้องได้ เราอาจจะต้องไปอยู่ใน กลุ่ม Construction Material หรือเปล่าครับ? โดยเฉพาะวัสดุที่ไม่เป็นพิษ ย่อยสลายได้ กลับมาสร้างใหม่ได้ 100 % "โดยไม่ต้องเสียพลังงาน เพื่อการแปรรูปเลย" พอได้ไหมครับ? เหมือนเอาดินน้ำมัน มาทำให้แข็งเป็นหิน แล้วพอจะเอาออกก็ปรับออก นุ่มใหม่ เอามาปรับรูป เข้าแบบ สร้างได้อีก (จินตนาการมากไปหรือเปล่านี่)

แต่อยากให้ทำมากๆ เลยครับ เอาใจช่วย น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แล้วเอามาให้อ่านเป็นวิทยาทานบ้างนะครับ

Friday, January 12, 2007

ความหมายของ "ศูนย์ศิลปะ"

ถ้าศูนย์ ศิลปะที่ว่า คือ Arts Center ใน Sense ของภาษาอังกฤษ นั้น ความหมายจะกว้างกว่าที่คุณ Artist_in กล่าวถึงมาก เพราะ คำว่า ศิลปะนั้น จะรวมไปถึง Dance, Music, Film, Product หรือแม้แต่ Architecture เองก็ด้วยเหมือนกัน ส่วนในเรื่องกิจกรรมก็จะมีตั้งแต่ การแสดงงาน (performing arts) นิทรรศการ (exhibition) และแน่นอนคือการสอน (Classes) การจัดงาน ดังนั้น ถ้า คุณ Artist สนใจจะทำ Arts Center ในลักษณะ ความเข้าใจของสากล จริงๆ จะเป็นโครงการที่ซับซ้อนมาก และเป็น thesis ชั้นดีได้ สบายๆ แต่คงจะเหนื่อยเหมือนกัน เพราะ Function จะมหาศาลมาก

ถ้าอยากดูเรื่องกิจกรรมดีๆ ต้องดู web ของ Walker Arts Center ที่เมือง Minneapolis รัฐ Minnesota http://www.walkerart.org/index.wac

แต่ถ้าความหมายที่คุณ Artist_in ได้กล่าวไปว่าเป็น งานศิลปะที่มีการสร้างผลงาน นั้นฟังดูน่าจะใช้ชื่อภาษาอังกฤษ ว่า “Visual Arts” Center จะดีกว่า เพราะจะ Scope ลงมาเยอะ ตัดพวก Dance Film Music ออกไปหมด กลายเป็น “ศูนย์ทัศนะศิลป์ศึกษา”(ฟังดูเหมือนจะเน้นเรื่องการศึกษา) ทำนองนี้จะเห็นด้วยหรือไม่ครับ เพราะยังไงก็ต้องให้เจ้าของ Thesis เป็นคนตัดสินใจ ระบบการบริหาร ของโครงการเป็นไปได้หลายแบบ แต่ต้องคิดเรื่องนี้ด้วยเพราะมันจะมี ผลกับ Space ต้องถามว่า ใครเป็นเจ้าของ เช่น ถ้า มหาวิทยาลัย เป็นเจ้าของ ก็จะเน้นการศึกษามาก ถ้า นคร หรือ City เป็นเจ้าของอาจจะเน้น work Shop มาก และแน่นอนว่า ถ้า Private Organization เป็นเจ้าของก็ต้องเน้น Exhibition แล้วก็ การขายของ หรือ ขาย Class คือ ตัว Program และการจัดการ จะต่างกันสิ้นเชิง

ถ้าจะดู Web ก็มี Iris & B. Gerald Cantor Center for Visual Arts อยู่ที่ มหาวิทยาลัย Stanford http://museum.stanford.edu/

การออกแบบที่ดี

การออกแบบที่ดีคือออกแบบให้:

1. ใช้การได้ ไฟเปิดติด ชักโครกกดลง น้ำไหล แอร์เย็น

2. คนที่เข้ามาใช้อาคาร ไม่เสียชีวิต ไม่เจ็บตัว ไม่เสียสุขภาพ

3. ให้คนที่ลงทุนสร้างอาคารรู้สึกคุ้มค่ากับสิ่งที่เสียไป

ซึ่งถ้า สรุปทั้งสามข้อ มันก็กลับไปที่ Basic ของ Virtuvious ว่า คุณสมบัติ ของสถาปัตยกรรมคือ Commodity (ใช้การได้) Firmness (ทนทาน ไม่เกิดพิษภัย) แล้วก็ Delight (ความพึงพอใจ)สถาปนิกที่เก่ง ก็คือคนที่ทำได้ครบทั้งสามอย่างที่ว่า

จบ

สิ่งที่สถาปนิกควรรู้เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์

http://www.asa.or.th/download/journal/4808/4808132.pdf

Quote: Answer to Earth Quake Question from K.Siem (ASA web)

ความคิดเห็นที่ 8 โดย: seim (willy) วันที่ ( 16 Dec 2006 03:29:38 )

"อ่านเจอในตำรามาตั้งแต่ตอนเรียนว่า อาคารโบราณของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีแผ่นดินไหวอยู่เรื่อยๆ มีการออกแบบที่ดีและเหมาะสม เพราะ joint สามารถยืดหยุ่นได้ และไม่มีการยึดติด แต่ใช้เดือยไม้ (ลักษณะน่าจะเหมือนเรือนไทยบ้านเราๆ)แต่ความรู้จากอีกเล่ม บอกว่าอาคารของ Ando ที่เป็นก้อนคอนกรีต Rigid แข็งเป้กทั้งก้อน เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศที่เกิดแผ่นดินไหวอย่างญี่ปุ่นมากๆ.....ผมเลยงง (มานานแล้ว) ว่าตกลงอาคารที่ยอมให้ส่วนของอาคารขยับได้ หรือ เป็นก้อนแข็งริจิด ถึงจะเหมาะกับการป้องกันความเสียหายจากแผ่นดินไหวได้มากกว่ากันไม่ทราบว่ามี ผู้รู้ ท่านใด ช่วยไขปริศนาให้ ผู้ไม่รู้ อย่างผมให้ทีได้ไหมครับ..?"

คือ อย่างนี้ครับ คุณ Seim

ถ้าว่ากันตามวัสดุแล้ว โครงสร้างที่ใช้กันทุกวันนี้ก็มี สามอย่างคือ ไม้ เหล็ก แล้วก็ คอนกรีต (เสริมเหล้ก) ที่ใช้กันมากทีสุด

บ้านญี่ปุ่นสมัยก่อนที่เป็นโครงไม้ ทำเป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ่น พัฒนามาเป็นพันๆ ปีนั้น ไม่ได้มีการใช้ตะปู แต่เป็นการเข้าไม้ ดังนั้น วิธีการรับมือกับแผ่นดินไหว จึงเป็นรูปแบบของ การทำ Joint หรือข้อต่อให้ Flexible เวลาที่แผ่นดินไหว ลักษณะมาเป็นคลื่นบนดินนั้น Member ของโครงสร้าง เช่น เสา หรือ คาน สามารถ เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ หรือ “ดิ้นได้” โดยที่ Joint ไม่ได้ยึดติดกัน อาคารมันก็เลยไม่พัง อาจจะมีความเสียหายในเรื่องของ กระเบื้อง ประตู หน้าต่างบ้าง แต่ โครงสร้างไม่เป็นไร (ในกรณี แผ่นดินไหวเล็กน้อยนะครับ) หรืออย่างน้อยก็รักษาบ้านไว้ได้นานพอที่จะให้คนกระโดดออกจากบ้านนั่นล่ะถ้าแผ่นดินไหวแรงมาก

ต่อมา ในกรณีของ พิพิธภัณฑ์ ท่าน Ando นั้น ผมเองแม้จะไม่มีข้อมูล แต่จากที่เคยได้ มีส่วนร่วม เล้กน้อย ในการทำโครงการที่เคยตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่นมา อยากจะขอสันนิษฐานว่า อาคารของ Ando นั้นน่าจะเป็นโครงสร้าง Concrete เสริมเหล็ก ซึ่งแน่นอนว่า ธรรมชาติของระบบโครงสร้างนั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับไม้ เพราะตัวโครงสร้างมีการหล่อให้เชิ่อมต่อกันหมด ดังนั้นวิธีการรับมือกับแผ่นดินไหวก็คือ มีการสร้าง Plate หรือ แผ่นฐานราก ซึ่งตั้งอยู่บน Spring ซึ่งก็ตั้องอยู่บน เสาเข็มที่แผ่กกระจายอยู่ทั้ง site Plate ตัวนี้ จะทำหน้าที่รับแรงกระทำด้านข้างโดยตรง โดยหากมีแรงสั่นสะเทือนเป็นคลื่นบนดินมา ก็จะทำให้อาคารสั่นไปพร้อมๆ กัน ในทิศทางเดียวกันทุกๆ ส่วน ถ้าจะเปรียบเทียบแล้วก็ให้ลองคิดถึง กล่องสบู่ ตัวกล่องคือ Plate หรือแผ่นฐานราก แล้วสบู่คือตัวอาคาร เวลาเราเขย่า สบู่ก็สั่นไปทั้งก้อนนะครับ แต่จะอยู่ในกรอบของการรับมือของกล่องสบู่ไม่ให้พัง ที่เปรียบเทียบเป้นกล่องสบู่ นั้นบางคนอาจจะไม่เห็นด้วย เพราะแผ่นฐานรากออกจะแบน แต่กล่องสบู่นั้นเป็นกล่อง แต่บางกรณีถ้าอาคารตั้งอยู่บนที่ดินที่เป็นเนิน หรือ slope ก็อาจจะต้องมีการสร้างกำแพงเพิ่ม หรือเป็น Shear Wall ที่ เชื่อมต่อกับ Plate ดังกล่าวเหมือนกัน ซึ่งสำหรับ อาคารพิพิธภัณฑ์ของ ท่าน Ando ผมคิดว่าเป็นอาคารที่ไม่สูงมาก ยิ่งถ้ามี เสาหรือผนังส่วนใหญ่เป็น คอนกรีต ยิ่งทำให้ วิธีการใช้ Plateพวกนี้มีประสิทธิภาพากขึ้นไปอีก

ทีนี้ มันจะมีปัญหาเวลาที่ท่านทำตึกสูงในญี่ปุ่นนี่ละครับ ที่จะเริ่มยุ่งล่ะ และต้องเอาหลายวิธีมากๆ มาผสมกัน เดี๋ยวขอพักผ่อนก่อนวันนี้ แล้วจะเล่าให้ฟังต่อนะครับ