Sunday, January 14, 2007

Playstation III กับอนาคตของการออกแบบสถาปัตยกรรม

และแล้ว ก็ึถึงวันนี้ กับ Playstation III

เขียนเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2006

เมื่อ วันพฤหัส ที่ 16 พฤศจิืกายน ที่ผ่านมา ในสหรัฐอเมริกาแห่งนี้ มีปรากฎการทางเทคโนโลยีที่สำคัญมาก เกิดขึ้น ได้แก่การเปิดขายเป็นเครั้งแรก ของเครื่องเล่น Playstation 3 ที่ทุกคนรอคอยมานานแสนนาน

ผมเองซึ่งเป็นคนเล่นวิดีโอเกมเหมือนกัน ถึงแม้อยากจะได้เป็นเจ้าของไว้สักเครื่อง แต่เห็นราคาที่สูง ขนาดนี้ ($600) แล้วแถมยังต้องไปต่อสู้แย่งชิงเพื่อให้ได้มาครอบครอง ในขณะทียังมีเกมออกมาไม่มาก แถมราคาแผ่นเกมก็แสนแพง (เกมแผ่นผี ที่นี่หายากมาก) ก็เลยคิดว่า คงจะรอดูไปก่อน

ในขณะเดียวกันก็อดไม่ได้ที่จะลองหาข้อมูลไปพลางๆ

ก็ต้องบอกจริงๆ ครับว่า ประทับใจมาก กับคุณภาพของ Graphic ทั้งภาพและเสียงที่ออกมา มันทำใ้ห้รู้สึกว่าการเล่นเกม ไม่ใช่ความสะใจที่เราจะมาใส่อารมณ์กันมันๆ หน้าจออีกแล้ว มันกลายเป็น “ประสบการณ์เสมือน” ที่นับวันเราจะแยกแยะโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกเสมือนออกจากกันยากขึ้นทุกที Playstation 3 นี้ทำใ้ห้เส้นแบ่งดังกล่าวเบลอ ไปอีกระดับหนึ่งทีเดียว

พอได้รู้สึกอย่างนั้นแล้ว มันก็เหมือนมี flash back ขึ้นมาในหัว ย้อนกลับไปเมื่อครั้งอดีต

ผมเคยคุยกับเพื่อนเหมือนกันว่า คนรุ่นเรา (เกิดในช่วงปี 1975-1980) น่าจะเป็นยุคที่ค่อนข้างโชคดี เพราะได้เห็นการ ก้าวกระโดด ของเทคโนโลยี แบบชัดเจนมาก

เริ่มต้นเลยคือว่า สมัยเด็กๆ ตอนอยู่ประถม ผมก็รบเร้าให้คุณแ่ม่ซื้อเครื่อง Famicom ให้ เกที่เล่นเป็นเกมแรก คือ Super Mario 1 เป็นเกมตลับ เสียบแล้วเล่น ที่ติดมากที่สุดเลยคือ Rockman เล่นได้ไม่กินข้าว ไม่หลับไม่นอน

พอตอนเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่รู้จักอะไรเกี่ยวกับ Computer ทุกคนต้อง Draft มืออย่างเดียว แต่คำว่า AutoCAD เริ่มจะเป็นที่คุ้นๆ กันบ้าง พอผมขึ้นปี 3 ที่บ้านก็ซื่อเครื่อง Computer ให้ซึ่งเป็นชุดที่หรูหรามาก มี RAM ถึง 16meg (ซึ่งตอนนี้ฟังดูเหมือนเรื่องตลก) ราคาแพง
มาก แต่ผมแทนที่จะเอามาหัด AutoCAD อย่างแข็งขัน ก็ดันเอาไป เล่น telnet จีบสาว ซึ่งตอนนั้น Program ที่ใช้ Chat ข้ามมหาวิทยาลัยได้ก็คือ Telnet หรือ Hyper Terminal เท่านั้น (ก่อนที่จะถึงยุค ICQ ซึ่งเปลี่ยนสังคมการหาเพื่อนใหม่ไปอย่างรุนแรง) ส่วนในตอนนั้น HTML ใช้เวลา Load ข้ามคืน กว่าจะได้รูปโป๊ดารา 1 รูป

กว่าจะเริ่มใช้ AutoCAD เป็นจริงๆ ก็อยู่เข้าไปปี 4 ซึ่งอย่างที่บอกว่ารู้สึกโชคดีก็เพราะว่า ได้เห็นทั้งสองโลก ทั้งการเขียนมือ และการใช้ CAD ตอนนั้นจำได้ว่า ร้อนวิชามาก อยากทำ 3D เป็นให้ได้ มีงานที่อาจารย์สอน CAD ท่านให้มา เพื่อนที่ทำงานในชั้นบอกว่า ยาก ทำไม่ได้ ผมก็เลยอาสาว่า เอางี้ ให้ทุกคนมาที่บ้านผม แล้วผมจะทำการบ้านชิ้นนี้ให้หมดเลย เอาเป็นว่ามานั่ง แล้วบอกว่าจะเอาอะไร ผมจะขึ้น Form ให้ ก็ดูเหมือนจะเป็นกรรมดี เพราะตอนนี้ก็เลย ทำ 3D ได้ แต่ยัง Render ไม่เป็น ห่วยมาก

หลังจากนั้น พอมาเรียนเมืองนอกก็ได้สัมผัสกับ Internet ความเร็วสูง T-1 Cable ที่เร็วมหากาฬ download เพลงได้ภายใน 10 นาที ซึ่งถือว่าเร็วมากๆ ตอนนั้น (ตอนนี้ 15 วินาทีอย่างมาก)

และเมื่อเรียนจบออกมาทำงาน ผมก็เห็นตัวเองเป็นมนุษย์ที่ตาอยู่ต่อหน้า Computer ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ถ้าอยู่นอกบ้านก็ใช้ Blackberry อยู่ในบ้านก็ใช้ Laptop ทำทุกๆ อย่าง มันเปลี่ยนโลกทัศน์ไปหมด

จนวันนี้ ที่เห็นการพัฒนาไปอีกขึ้นคือ Playstation 3 ซึ่งแทบจะเป็น ทั้ง PC ไปในตัว มีท้ง สายเคเบิ้ลต่อออก และ USB Port และเครื่องอ่านแผ่น Blue-ray ซึ่งจะเก็บควาจุแต่ละแผ่นได้ 40Gig ขึ้นไป ซึ่งนั่นคือขนาดของข้อมูลซึ่งในอนาคตก็จะเป็นเรื่องปกติ (http://en.wikipedia.org/wiki/Blu-ray_Disc)

ทีนี้ถ้าพูดถึงในเชิงสถาปัตยกรรม ก็อดไม่ได้ที่จะย้อนไปที่กระทู้เรื่อง มีคนถามว่า คนที่ทำ Perspective ด้วยมือเป็นอาชีพจะรอดมั้ย ผมว่า ถ้าดูกันโดยภาพรวม แล้วก็ใช้หลักการแบบที่พี่วิญญูว่า ว่า “คนที่เก่งมากๆ สุดๆ นั้น เอามานับรวมไม่ได้” เพราะคนพวกนี้ ถ้าอยู่ในระดับความสามารถดังกล่าว ไปอยู่ในวงการไหน ก็อยู่รอดได้ ก็คงต้องฟันธงเลยละครับว่า โอกาสรอดของวิชาชีพเขียนด้วยมือ จะน้อยลงไปเรื่อยๆ

มันจะหดตัวลงจนเหลือเป็น Master Piece ซึ่ง นักขาย เวลาเขาจะ Request เขาจะถามเลยว่า ใครเขียน Perspective มือสวยที่สุด เพราะเขาจะ ระบุตรงตัวในสิ่งที่เขาต้องการ

ซึ่งมันจะต่างกับการ Request ในเชิงของการ Presentation ธรรมดาๆ ที่ เวลาเราทำแบบแล้ว เขาขอ Animation, 3D model ไปด้วย ต้องเอา Fly-through Video ไป Present ให้ลูกค้า ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย และชัดเจนกว่า ภาพ Perspective ที่เขียนด้วยมือมาก

จากประสบการณ์ที่พบในสหรัฐอเมริกา ภาพ Perspective ที่เขียนด้วยมือ จะถูกนำมาใช้ในทางการตลาด มากกว่าการแสดงข้อมูลให้เจ้าของงานได้เข้าใจ ดังนั้นถ้าโครงการไหน ไม่มีการตลาดปน คนทำ perspective มือแทบจะไม่มีโอกาสเลย และต้องอย่าลืมว่า โครงการที่ต้องการการตลาดดังกล่าวส่วนใหญ่ ที่จะ request คนเขียน Perspective ด้วยฝีมือนั้น จะต้องเป็นโครงการที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น บ้าน หรือ อาคารที่อยู่อาศัย ที่ต้องการ ความเป็นธรรมชาติ อ่อนโยน มีชีวิต ในขณะที่โครงการประเภทอื่นๆ ที่ Computer Presentation กินขาดหมด

สิ่งที่เกิดขึ้นที่ผมเห็นใน Playstation 3 ก็คือ Generation ของคนเล่นเกมแบบพวกเรา และคนรุ่นหลังลงไป ที่จะเป็นคนที่มีความเข้าใจ Virtual 3D Environment เป็นอย่างดี คนพวกนี้ที่มีเงินซื้อเกมต่างๆ มาเล่นตั้งแต่เด็กๆ ต่อไปก็จะเป็นลูกค้าระดับ Top Class ของพวกเรา แล้วคนพวกนี้ล่ะ ที่จะ demand การบริการที่ต้องมีประสิทธิภาพ จากสถาปนิก อย่างน้อยๆ ก็ต้องพอสมน้ำสมเนื้อกับเกมที่เขาเล่นมาตั้งแต่เด็กๆ ล่ะ

ต่อไปลูกค้า เวลาที่จะตรวจงาน อาจจะหยิบ Joy ขึ้นมาแล้วกดปุ่มเดินไปเดินมาเองใน โลกเสมือนที่สถาปนิกสร้างขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า อีกหน่อยก็คงจะเป็น VR เข้าไปอยู่ในนั้นเองจริงๆ แบบที่มีแสงเงา อย่างเนียนมาก

เราจะเจอกับลูกค้าที่เข้าใจความเป็นสามมิติเป็นอย่างดี สื่อสารกับเราเ้ข้าใจมากขึ้น อาจจะอธิบายได้ดีขึ้นว่าเขาต้องการอะไร แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องให้การบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวดเร็วขึ้น และผิดพลาดน้อยลง

อยากจะพูดเรื่องเกมที่ เคยเล่นในสมัยของ Playstation 2 และมีความประทับใจเรื่องฉากที่ เขาทำออกมาจริงๆ แ่ต่ขออนุญาิติไปพักผ่อนก่อนนะครับ ช่วงนี้ในสหรัฐคือ Thanks Giving พอมีเวลาแวะมาเขียนบ้าง นิดหน่อย

อาจจะกระจัดกระจายบ้าง แต่เอาเป็นว่า Share ประสบการณ์ส่วนตัวกันสนุกๆ ละกันนะครับ

2 comments:

Yuri said...

ท่าทางอาจารย์ก็ชอบอะไรที่มันเรียบง่ายเหมือนกันนะ

Anonymous said...

ขอบคุณมาก ๆ นะครับ สำหรับบทความดี ๆๆ