Sunday, January 14, 2007

ตอบกระทู้: แบ่งวิชาชีพ หรือรวมวิชาชีพ

เขียนเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2006

ขออนุญาตินะครับ คุณสามเศร้า ถ้าท่านเป็นผู้อาวุโสกว่าผมก็ อโหสิกรรมให้ผมนะครับ แต่ผมต้องพูดตรงๆ กับท่านล่ะ สังคมข้อมูลข่าวสารเสรีนะครับ

1. ข้อหนึ่งเป็นเรื่องจรรยาบรรณและศีลธรรม เห็นด้วยครับ เรื่องในสมัยเป็นนักเรียนที่มีการ่สอนต่อๆ กันมาจากรุ่นพี่ว่า สถาปนิกเป็นคนที่เด่นและดีกว่าคณะอื่นๆ นั้นเ็ป็นเรื่องจริง แต่ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย จะล้มกระดาน กันหมดเลยก็กระไรอยู่ แต่ผมเห็นด้วยในการลดเรื่อง ออกแบบลงแล้วไปเรียนเรื่องอื่น ไม่ควรยัดอะไรเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่ เพราะทุกวันนี้เด็กเรียนมากพออยู่แล้ว ถ้าจะเพิ่มอะไรเข้าไป ต้องไปหาว่า อะไรควรตัดออก

2. ข้อสอง เห็นด้วยอย่างยิ่ง คงต้องมีการจัดการที่ดีและเป็นระบบจากทั้ง สภาสถาปนิก สภาวิศวกรรม และ สมาคมผู้รับหมาครับ

3. อันที่สามนี่ไ่ม่เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ อาชีพแต่ละอาชีพแยกย่อยลงไปเยอะมาก งานมัณฑนากร และงานภูมิสถาปัตยกรรม แต่เห็นว่า การมีใบอนุญาติวิชาชีพหนึ่งแล้ว จะมาสอบอีกวิชาชีพหนึ่งน่าจะเป็นไปได้ ให้พวกเราทุกคนได้มีการขยาดฐานความรู้ในทางกว้างบ้าง นอกจากทางลึกอย่างเดียว แต่ทางลึกเป็นสิ่งทีสำคัญมาก ทิ้งไม่ได้

อย่างของสหรัฐอเมริกานี่ ทั้งงาน Landscape และ Interior Design เป็นงานระดับซับซ้อน มีการเขียน Spec กันดุเดือดมาก งานภูมิก็เป็นวิทยาศาสตร์มากทั้งเืรื่องระบบน้ำ และระบบการวางต้นไม้ตามฤดุกาล และอีกหลายๆ เรื่อง

ถ้าท่านอยากให้วิชาชีพไหนมีการพัฒนาไปในอนาคต ต้องให้พื้นที่ของเขาที่เขาจะโตไปเป็น Expert ไปได้ ขืนไปปิดประตูใส่หน้าเขา ไปบังคับให้เขามาสอบใบอนุญาติสถาปนิกหมด แล้วงานระดับซับซ้อนที่ต้องอาศัย Technical ระดับมหากาฬ เราจะให้ใครทำดีครับ ถ้าคนแห่มาเป็นสถาปนิกกันหมด ? แล้วจริงๆ ถ้าใช้ Logic ที่ท่านว่า ซึ่งผมจะขอเรียนกว่า Logic แบบ Merger คือรวบกันเข้ามาให้หมด เราจะไม่มี Expert อะไรเลยในทาง Landscape และ Interior เพราะคนไม่ให้ความสำคัญ บนพื้นฐานที่ท่านว่า ใครๆ ก็ทำได้ งานที่เขาทำจะถูก Degrade ไปเป็นเรื่อง ง่ายๆ ถูกดูถูกไป

ลองสมมุติว่า ผมเป็นผู้รับเหมา ผมจะไปป่าวประกาศได้บ้างหรือไม่ครับว่า “จะไปจ้างสถาปนิกทำไม มาหาผมดีกว่า ผมมีแบบ ปรับนิดหน่อย ไม่ต้องออกแบบก็ได้ ยุบสภาสถาปนิกไปเลย ไม่ต้องมี เพราะถึงออกไปยังไง ผมก็ต้องเป็นคนสร้าง ท่านอยากได้อาคารแบบไหน ผมไปหาคนมา coordinate ทำเลย เปิดหนังสือเมืองนอกมา ผมจะเอา เด็ก Draft ทำ shop drawing เลย เดี๋ยวสร้างเสร็จ สถาปนิกไปจ้างทำไม เสียเวลา เพราะไปจ้างเขาออกแบบแล้ว คุณก็ต้องมาจ้างผมสร้างอยู่ดี?

สถาปนิกจะมีไปทำไม เพราะคนที่้ต้องรับผิดชอบกับ ชีวิตและความปลอดภัยจริงๆ คือผม ผู้รับเหมา เพราะผมเป็นคนตัดสินใจว่าจะสร้างยังไง สถาปนิกแค่มาดู Site ก่อสร้าง อาทิตย์ละครั้ง บางทีก็ไม่มา ?

เอา แบบนี้เลยมั้ยครับ คุณสามเศร้า?

ท่านบอกว่า ให้ผุ้จ้างตัดสินใจเอง โดยไม่มีกฎหมายมารองรับ เพราะถ้าเขาจะจ้างจริงๆ เขาก็มาหา มัณฑนากรหรือภุิมิสถาปนิกเอง งั้นผมถามว่า ถ้าวันนี้เรายกเลิกกฎหมายวิชาชีพสถาปนิกเลย ไ่ม่ต้องมี License สถาปนิกเลย ผมถามว่าลูกค้าเราจะจ้างเราหรือไม่

ลูกค้าไม่ิวิ่งไปหาผู้รับเหมาตรงๆ ไปเลย แล้วเราไม่ต้องเป็นเบี้ยล่างผู้รับเหมาไปตลอดกาลหรือครับ ?

ท่านกำลังอยากจะให้ มัณฑนากร และภุมิสถาปัตยกรรม เป็นเบี้ยล่างของสถาปนิกสายหลักแบบพวกเราหรือ ?

ผมว่า ท่านใจดำมาก กับเพื่อนร่วมอาชีพสาชาใกล้เคียง ซึ่งขัดแย้งกับ ข้อแนะนำข้อแรกของท่านว่า ควรให้เกียรติผู้อื่น ยอมรับผู้อื่น แล้วท่านยอมรับ คนพวกนี้หรือเปล่าครับ?

ผมเห็นด้วยว่าประชาชนควรได้ประโยชน์สูงสุด จากการตัดสินใจของเรา ประชาชนทั้งประเทศต้องมาก่อน แต่ปััญหาดูเหมือนจะอยู่กับเรื่องของ ขอบข่ายหน้าที่ ว่ามันจะต้องไปลงตรงไหน ถ้านั่นคือปัญหา ก็ไปแก้ตรงนั้น ไม่ใช่ไปยุบเลิกวิชาชีพเขาซะทั้งหมดแล้วมาฮุบรวมกับพวกเราซะเฉยๆ แบบนั้น

ผมเห็นด้วยว่า กฎหมายเรื่องขนาดพื้นที่ ถ้ามันเป็นสนามหญ้าโล่งๆ ร้อยเปอร์เซ็นต์ ไ่ม่มีต้นไม่ ไม่มีระบบน้ำ ไม่มีอะไรทั้งสิ้น แล้วจะต้องมาหา ภูิมิสถาปนิกให้เซ้น มันก็ไม่ค่อยจะเป็นธรรมกับลูกค้า

ผมเห็นด้วยว่า กฎหมายเรื่องขนาดพื้นที่ของ มัณฑนากร ถ้างานมันไม่ซับซ้อน มีแค่ ผนัง พื้น แล้วก็ ผ้าเพดาน ตรงไปตรงมา เขียน Spec แผ่นเดียวจบ จะให้ต้องมี มัณฑนากรมาเซ้นให้ถูกกฎหมาย ก็ไม่เป็นธรรมกับประชาชนเหมือนกัน

เราไปแก้ตรงนั้นแทนดีมั้ยครับ แทนที่จะคว่ำกระดาน หรือ Hijack กันซึ่งหน้าเลย

4. ข้อสี่ คนที่เซ็นแบบควรจะเป็นเ้จ้าของกิจการเท่านั้น เพราะเป็นคนที่ได้ผลประโยชน์มากที่สุด ก็ควรจะเป็นผู้ที่รับความเสี่ยงมากที่สุด การเซ็นยอมรับคือการรับความเสี่ยง การไปเซ็นโดยที่ไม่ดูนั้น เป็นเรื่องของคนที่ไปเซ็นเอง ผมเห็นด้วยเรื่องการยกเลิกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถากำลังจะ adopt American Model ของเรื่องการฝึกงานและการสอบ ซึ่งเขาก็ไ่ม่มีการแบ่งระดับ ที่นี่คนที่มีใบอนุญาติ ก็คือ ออกแบบอะไรก็ได้ ใหญ่แค่ไหนก็ได้

ผมไม่ทราบว่าท่านไปคุยกับสถาปนิกญี่ปุ่นคนไหน แต่ คำว่า Kenchikushi นั้นแปลว่า Architect and Building Engineers ภายใต้กฎหมาย Kenchikushi Law ปี 1950 โดยใบอนุญาติของ Kenchikushi นั้นเป็นใบอนุญาติ เพื่อทำการออกแบบ (Design Building) หรือ ควบคุมการก่อสร้าง (Superintend Construction Work) และมี Kenchikushi อยุ่ สามประเภท ได้ก่

1st-class Kenchikushi, - ออกแบบ อาคาร และ ควบคุมการก่อสร้างกับอาคารได้ทุกขนาด

2nd-class Kenchikushi, - ออกแบบและควบคุมอาคารขนาดเล็กได้เท่านั้น ซึ่งหมายถึงอาคาร ต่ำกว่า หนึ่งพันตารางเมตร และอาคารที่สูงไม่เกิน 13 เมตร (ความสูงรวม) หรือความสูงของ ผนังพื้นที่ใช้สอยชั้นสูงสุด (eve) ไม่เกิน เก้าเมตร

Mokuzo-Kenchikushi. – ทำได้เฉพาะอาคารไม้เล็กๆ เท่านั้น และนี่แหละ คือช่างไม้ที่ท่านว่า

พอเห็นภาพของมั้ยครับ (คุ้นๆ ม้ยว่าเหมือนกฎหมายวิชาชีพสถาปัตยกรรมประเทศไหน)

ท่านจะเห็นได้ว่า คำว่า Kenchikushi ไม่ได้แปลตรงๆ ว่าสถาปนิกเลย แต่เป้นคำที่ใหญ่มาก กินความถึงช่าง สถาปนิก วิศวกร ผุ้รับเหมา หรือเกือบจะเรียกได้ว่า เป็นสมาชิกทั้งหมดของอุตสาหกรรมการก่อสร้างก็ได้ (ยกเว้นผู้ผลิตวัสดุ) การที่ท่านมาบอกว่า สถาปนิกญุ่ปุ่น ไม่มีระดับ ก็คงจะไม่จริงทั้งหมด และการที่ท่านมาบอกว่า ช่างไม้ในญี่ปุ่นก็เป็นสถาปิกเหมือนกัน ก็คงจะไม่ผิด แต่ก็คงจะไม่ถูกเหมือนกัน เพราะในเมื่อ Term หรือ ศัพท์ดังกล่าว ไม่ได้เป็นเป็นสิ่งที่ Identical หรือเท่าเทียมกัน ท่านจะเอามาเปรียบเทียบกันได้อย่างไร ??? (เหมือนเอาทุเรียนไทยไปเปรียบเทียบกับสาลี่ญี่ปุ่น อันไหนมีคุณภาพกว่ากัน ? จะเปรียบเทียบกันยังไงดีครับ? )

ท่านเล่นอยากอ้างอะไรท่านก็อ้างโดยไม่มีการ ตรวจ ก่อนแบบนี้ แล้วเกิดเด็กมาอ่าน แล้วเขาเชื่อท่านหมดหัวใจ เอาไปป่าวประกาศทั้งประเทศว่า ญี่ปุ่นมีช่างไม้เป็นสถาปนิกด้วย โดยที่เขาเข้าใจว่า เป็นสถาปนิกเหมือนๆ กับพวกเรา แบบที่ท่านเข้าใจผิดอยู่นี่ ท่านจะรับผิดชอบหรือไม่ ? หรือท่านจะอ้างว่าก็ท่านฟังมาจากสถาปนิกญี่ปุ่น ก็น่าจะถูก

ทุกวันนี้ ที่ประเทศไทยเราเพี้ยนกันหนักขนาดนี้ ก็เพราะมีนักวิชาการ ไปเรียนปริญญาเอก ไม่เคยทำงานทำการ นั่งเล่นเทียนอยู่บนหอคอยงาช้าง เท้าไม่ติดดิน อ้างข้อมูลไปมาโดยไม่ ตรวจสอบความถูกต้อง แล้วก็เอาข้อมูลไปใช้ ไปปฎิบัติเลย ออกมามันก็เละ แล้วประเทศเราก็เจอแต่ โครงการวิบัติ โครงการที่ไม่ work แผนที่ไร้ทิศทาง ปฎิบัติไม่ได้ แล้วใครรับกรรม? ก็ประชาชนไทยทั้งนั้น.

ถ้าท่านรักประเทศไทยจริง เริ่มจากการตรวจสอบสิ่งที่จะแนะนำให้ชาวบ้านเขาทำก่อนจะดีหรือไม่ ว่ามาจากฐานข้อมูลที่ถูกต้องหรือเปล่า ?

ท่านอย่าได้อ้างว่า ท่านเจตนาดี เจตนาดีหรือไม่นั้น ไม่สำคัญ เจตนาดีแต่ผลร้าย เอาไปลดหย่อนผ่อนโทษในศาลได้ถ้าท่านทำผิดกฎหมาย แต่ถ้าทำการพัฒนาแล้ว สิ่งที่สำคัญอยู่ที่ผลของการปฎิบัติ ถ้าท่านกระทำหรือพูดอะไรด้วยความไม่รู้ ต่อให้เจตนาท่านดี ผลก็อาจะกลายเป็นวิบัติได้

ถ้าอยากอ่านข้อมูลโดยละเอียด เชิญ ได้ที่นี่ครับ เป็น Website ของ Japan Architectural and Education Center

http://www.jaeic.or.jp/




5. ข้อห้า ผมว่า คนหลายๆ คนที่มาเสียเวลาเขียนอะไรในนี้ โดยที่ไม่ได้ผลประโยชน์ตอบแทน ก็คงเป็นคนที่รักประเทศไทยและอยากเห็นสังคมไทยเป็นสังคมที่ดีไม่แพ้ท่านหรอกครับ (แต่คำถามนี้ล่ะ เป็นคำถามที่ทำให้ผมเดือด)

ถ้าเราออกกฎกันแปลกๆ ขึ้นราคาค่าประกอบวิชาชีพกันเอง แบบฮั้วกัน (cartel) ผมว่า สมาคมผู้บริโภคที่มีหูตาราวกับสับปะรด เขาจะจัดการกับเราเองครับ แบบที่เขาจัดการกับ กฟผ แล้วก็ กำลังจะจัดการกับ ปตท อสมท แพทย์สถา และอื่นๆ

ถ้าท่านไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ผมพูด ผมก็จะรอคำตอบนะครับ

Interior Architecture และ Interior Design

ขอเอาของสหรัฐละกันนะครับ

Interior Design เป็นวิชาชีพ ที่ต้องมีใบอนุญาติ โดย สมาคม the National Council for Interior Design Qualification หลักๆ ของหน้าที่คือ การปรับแต่งสภาพแวดล้อมของ พื้นที่ภายในอาคาร โดยการปรับเปลี่ยน พื้นผิว และองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งจะต้องผ่านทางการใช้ข้อความสื่อสารและ การเขียนแบบก่อสร้าง รายการประกอบแบบ คำว่า Interior Design เป็น term ที่คนรู้จักกันมากและใช้อย่างแพร่หลาย ในระดับการประสานงานทางวิชาชีพ ระหว่างวิชาชีพที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง ก็จะเรียกผู้ที่รับผิดชอบด้านการออกแบบพื้นที่ภายในว่า Interior Designer เพราะฉะนั้น ความหมายของ Interior Designer น่าจะชัด โดยส่วนใหญ่ ส่วนเรื่องการศึ่กษานั้น จะเป็นระบบ สี่ปี และจะเป็นการศึกษาที่ยืนอยู่ในภาคของตัวเอง ไม่อิงกับคณะอื่นๆ ดังนั้น สาขาการศึกษาและวิชาชีพของ Interior Designer นั้น ชัดเจนมาก กรอบการทำงานก็ชัดมากคือ รับผิดชอบในเรื่อง FF&E หรือ Furniture Finishing and Equipment

ในขณะที่ Interior Architecture นั้นเป็น ศาสตร์ที่คนพยายามคิดขึ้นมาเพื่อ เชื่อม ช่องว่างระหว่าง Architecture หรือ สถาปัตยกรรม กับ Interior Designer หรือ มัณฑนากร ซึ่งทั้งสองศาสตร์ในรอบ เกือบๆ 30 ปีที่ผ่านมามีองค์ความรู้ขยายไปอย่างมหาศาลมาก เนื่องจากการพัฒนาระบบอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ อะไรก็แล้วแต่ ทำให้ คนจากทั้งสองวงการรู้สึกมีช่องว่างทางการสื่อสารขึ้นมา เลยพยายามจะหากลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งขึ้นมาปิด ช่องว่างตรงนี้ ก็คือเป็นคนที่เข้าใจหลักทางวิทยาศาสตร์เรื่องโครงสร้าง เรื่องงานระบบทั้งหลายดี แต่จะเนั้นเรื่องสภาพแวดล้อมในอาคารมากกว่า ก็คือเหมือนกับ สถาปนิกที่เราต้องประสานงานกับ วิศวกร (ซึ่ง Interior Designer ไม่ทำ เขาจะคุยกับสถาปนิกคนเดียว) และ ก็เน้นการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในด้วย ซึ่งเป็นกรอบการทำงานของ Interior Designer ฟังดูก็น่าจะเป็นวิชาชีพที่ดี ทีไ่ด้อยู่ทั้งสองโลก

แต่่ข้อจำกัดที่เกิดขึ้นคือเรื่องของ Term ในทางกฎหมายอีกนั่นเอง เพราะบุคคลที่จะใช้คำเรียกตัวเองได้ว่า สถาปนิก หรือ Architect ซึ่งได้กรณีนี้คือ Interior Architect คุณต้องได้รับใบอนุญาติ จาก National Council of Architectural Registration Board ซึ่ง ในกรณีนี้ คุณก็ต้องไปสอบ แล้วพอคุณเป็นสถาปนิก คุณจะเีรียกตัวเองว่า เป็น Interior Architect ก็ไ่ม่มีใครว่าอะไร เพราะในทางกฎหมายคุณคือ Architect เฉยๆ ในขณะเดียวกัน คุณจะเรียกตัวเองว่า Interior Designer ก็ไม่ได้ เพราะ คุณต้องได้รับ ใบอนุญาติ จาก NCIDQ ที่ได้กล่าวไปแล้ว ถ้าคุณไปสอบผ่าน ก็ไม่มีปัญหา คุณก็จะกลายเป็น Interior Designer ตามกฎหมาย

เพราะฉะนั้น สรุปคือ ถ้ามองในการศึกษานั้น Interior Architecture จะ เป็นสาขาที่ดี เพราะคุณได้ สัมผัสทั้งสองโลก แต่ถ้าจบออกมาจะทำงานเหมือนแบบที่เรียนมาจริงๆ จะยาก เพราะสองโลกที่ว่า เขาจะบังคับให้คุณเลือก หรือไม่ก็ต้องเข้าร่วมมันทั้งสองโลกเลย จึงจะได้ประกอบวิชาชีพแบบที่เรียนมาจริงๆ

รู้สึกว่าในสหรัฐ จะมีสาขาวิชาที่เปิดเป็น Interior Architecture จริงๆ สิบกว่าที่ แต่ละที่มีหลักสูตรแตกต่างกันออกไป เพราะไม่ีมีองค์กรที่มากำหนด มาตรฐาน ไม่เหมือนกับ สถาปนิก หรือ มัณฑนากร โดยตรง ที่มี องค์กรตรวจสอบมาตรฐานวิชาชีพมาวัดผลตลอดเวลา

การข้ามสองโลกในวงการการศึกษาเป็นเรื่องปกติ เพราะจุดประสงค์คืการต้องการให้ความรู้ นักศึกษาให้ได้มากที่สุด การประกอบวิชาชีพนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งข้างหน้า ตัวอย่างที่ชัดๆ ก็คือ ภาควิชา สถาปัตยวิศวกรรม หรือ Architecture Engineering ที่เปิดสอนที่มหาวิทยาลัยระดับ Top Class แบบ Perdue เป็นต้น สถาปนิกที่ประกอบวิชาชีพที่ ผมเคยรู้จักจบมาจากที่นี่ จะเข้าใจเรื่อง งานระบบและงานโครงสร้างลึกมาก เวลาออกแบบนี่ทุกอย่างจะแป๊ะไปหมด และผมรู้สึกว่า ในประเทศ เยอรมันก็จะเป็น Architecture Engineering ยังไงฝากผู้รู้ช่วย Confirm ด้วยครับ

ตอบกระทู้: เรียนสถาปัตย์มาห้าปีได้อะไร

เพิ่งได้ มาติดตามกระทู้นี้อีกที ปรากฎว่ากลายเป็นกระทู้ที่สนุกมาก ขอร่วม Jam อย่างเร็วๆ ละกันนะครับ (เดี่ยวจะต้องไปซักผ้าต่อ)

ก่อนอื่นขอ Quote ของพี่วิญญูก่อนเลยว่า พี่วิญญูเข้าประเด็นได้จะแจ้งมาก ทั้งสองเรื่อง

วินัย และ การเปลี่ยนจากนักเรียนมาเป็นมืออาชีพ

สองเรื่องนี้ เราหย่อนยานกันมากในสมัยเรียนหนังสือ ตั้งแต่แต่งตัวไม่ตรงตามระเบียบ มาสาย ไม่Organize และแน่นอน ส่งงานไม่ทัน (คนที่ส่งทันก็ทันตลอด คนที่ไม่ทันก็ไม่เคยทัน) อะไรทั้งหลายแหล่ ทำตัวเป็น Artist มากทั้งๆ ที่เราไม่ใช่ Artist ซึ่งผมก็ต้องบอกว่า ผมก็เป็น สมัยเรียนหนังสือ แบบนั้นเลย ไม่รู้ว่าเพราะ trend มันไปแบบนั้นเลยต้องตามๆ กันหรือมันเป็นเพราะอะไร แต่ต้องมา Research กันเหมือนกัน

แต่ผมก็ต้องบอกว่า สันดานพวกนี้ มันดัดได้นะครับ ขึ้นอยู่กับการที่เราไปอยู่ใน Environment แบบไหน ถ้าเราไปอยู่ใน สำนักงานที่เขาไม่สนใจเรื่องการเข้างาน คนก็มากันตามสบาย ถ้าไปอยู่ในสำนักงานที่ไม่มี นโยบายและการลงโทษที่เฉียบขาด เกี่ยวกับเรื่องการแอบเล่น internet หรือการแอบ chat คนก็เล่นกันเต็มที่ ตั้งแต่ surf net ประมูลของใน E-bay แล้วก็ chat กับเพื่อนไปด้วย ฟังเพลงไปอีกต่างหาก เจ้านายเรียนกก็ไม่ได้ยิน พอดี งานการไม่เดินกัน

อันนี้ไม่ได้ว่า ทุกออฟฟิสของทำเหมือนกัน ใครชอบแแบบไหนก็ทำได้ อย่าง Kohn Pedersen and Fox นี้ เขามีนโยบายปล่อยเลย ให้เป็นระเบียบของหัวหน้าทีม ถ้าทีมบอกว่า ให้เขา 11 โมงเช้าก็ได้ ก็ตามนั้น แต่ต้องทำงานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 40 ชั่วโมง อันนั้นก็เป็นวิธีการจัดการของเขา

แต่ถ้า office ไหนเฉียบขาด ทั้งหมดนี่จะไม่เกิด เพราะว่า คุณเป็นผู้มีอำนาจ คุณเป็นคนจ่ายเงินเดือน

ประเด็นคนคือคนที่ Enforce กฎพวกนี้ ทำได้หรือเปล่า คุณพ่อของผมท่านเป็นคนที่ตรงต่อเวลามาก เคยบอกผมไว้เรื่องนึงว่า เรื่องอะไรที่ตัวเองทำไมได้ อย่าไปหวังว่าจะให้ลูกน้องทำตามได้ เพราะเราเป็นหัวหน้า เราต้องเป็นคน set the bar พ่อผมท่านเห็นลูกน้องมาเข้างานสายบ่อยๆ วันหนึ่ง ก็เลยบอกว่า ต่อไปนี้ ประชุม ตอนเช้าทุกวัน พอบอกอย่างนั้น คนก็ยังไม่ค่อยสนใจ บางคนเข้างานตรงเวลา มาถึง 8 โมง ดันไปเล่น internet ถึง 8 โมง สิบนาที เดินเข้ามาห้องประชุม สติแตก พ่อผมท่านเปิดแฟ้มรอแล้ว นั่งกันแทบไม่ทัน หลังจากนั้น หนึ่งอาทิตย์ผ่านไป ไม่มีใครสายเลย เพราะพ่อผมท่าน เล่นว่า ถ้า 8 นาฬิกาปั้บ เปิดแฟ้มทันที เริ่มพูดทันที ใครไม่มาก็ไม่รอ (ไม่เคยถามเหมือนกันว่า แล้วถ้าอยู่คนเดียวจะเปิดแฟ้มลุยเลยหรือเปล่า)

เพราะฉะนั้น กฎ ไม่มีความหมายครับ ถ้าไม่มีการบังคับใช้ แล้วถ้าคนบังคับใช้ หย่อยยานเอง อย่าไปหวังให้คนทำตาม ทุกวันนี้ ความมีระเบียบเรียบร้อยใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ทุกแห่ง เป็นเรื่องของ อาจารย์ผ่านกิจการนิสิต ซึ่งเป็นเรื่องที่ตลกว่า ถ้าอาจารย์คนหนึ่งเป็นอาจารย์กิจการนิสิต ถ้าเจอนักเรียนทำตัวไม่เรียบร้อยจะเข้าไปว่ากล่าวตักเตือน แต่ถ้าพอหมดตำแหน่งแล้ว ไปทำอย่างอื่น เจอนักเรียนพฤติกรรมเดียวกันกลับไม่ใส่ใจ เพราะถือว่าตัวเองไม่ได้เป็นรองกิจการนิสิตแล้ว แบบนี้มันก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น อย่าไปไปหวัง

เรื่องที่สองคือเรื่องการเป็นมืออาชีพ จริงอย่างที่พี่วิญญุว่า ในโรงเรียนเราสอนกันน้อยมาก ผมจำได้ว่า ในสมัยผมเรียน อาจารย์ที่สอนผม คือท่านอาจารย์ อวยชัย วุฒิโฆษิต ท่านเป็นอาจารย์ผู้รอบรู้อย่างมากเรื่อง การออกแบบโรงพยาบาล แต่ผมก็จำได้ว่า แอร์มันก็เย็น วิธีการพูดของท่านอาจารย์มันก็ช่างนุ่มนวล พาให้เข้าสูภวังค์ แล้วก็เข้าไปจริงๆ อาจจะเป็นกรรมหรืออย่างไรก็ได้ ทุกวันนี้ไป Lecture ที่ไหนก็อดไม่ได้ที่จะต้องพูดถึงเรื่อง Professional Practice เกือบทุกๆ ครั้ง


แต่ประเด็นของผมคือ ผมจำได้ว่า วิชานั้น เรียนครั้งเดียว น่าจะตอนปี 4 แล้วก็ไม่เคยได้ยินอะไรอีกเลย

ผมจำได้ว่า ตอนที่ผมจบ ผมไม่รู้ว่าวิศวกรมีหน้าที่อะไร มารู้อีกทีคือตอนที่ทำงานแล้ว ว่าเออ ไอ้วิศวกรมันเป็นพวกเรานี่ ทำไมสมัยเรียน เราไม่เคยชอบคณะวิศวะเลยนะเนี่ย (แต่คิดอีกแง่ วิศวกรก็กลายไปเป็นผู้รับเหมาที่ต้องงัดข้อกับเราก็เยอะ)

เพราะฉะนั้นผมเห็นด้วยกับพี่วิญญูว่า เรามีปัญหา จริงๆ

ส่วนตัวผมเองนั้น ถ้าเลือกได้ อีกหน่อยมีโอกาส โชดดีได้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยกับเขาบ้าง ก็อยากจะเอาวิชานี้เป็นวิชาประจำตัว ขอสอนเเองเลย ถือว่าเป็นการใช้กรรมที่ไม่ค่อยตั้งใจเรียนกับครูบาอาจารย์สมัยนั้น แล้วก็จะได้ช่วยๆ Inspire เด็กๅ เพราะผมเชื่อว่า จริงๆ แล้วกรอบวิชานี้ กว้างใหญ่ไปศาลมาก ตั้งแต่การบริหารโครงการ บริหารสำนักงาน บริหารการเงิน กฎหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล บริหารความเสี่ยง มีเรื่องให้คุยไม่รู้จักจบ ถ้าคุยถูกวิธี ยกตัวอย่างให้สนุก นักศึกษาต้องได้อะไรมากแน่นอน (วิชาที่ผมไม่อยากสอนเลยคือ ออกแบบ เพราะไม่คิดว่าตัวเองออกแบบเก่ง)

แต่ถ้ามองในองค์รวมก็อดไม่ได้ที่จะถามคำถามว่า ทำไม Professional Practice ต้องเป็นวิชาหนึ่งที่แยกออกไป เพราะมันน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของทุกๆ วิชาอยู่แล้ว ในเมื่อเราเข้ามาเรียนหนังสือ เพื่อที่จะจบไปพร้อมที่จะเป็นมืออาชีพ ทำไมต้องมามีวิชาเล็กๆ สอนให้เราเป็นมืออาชีพอีก อันนั้นน่าคิด

คำตอบก็คือ อาจจะเป็นเพราะทุกวันนี้ อาจารย์ที่ทำงานเต็มเวลา ไ่ม่เคยทำงาน (มีน้อยมากที่ เป็นอาจารย์เต็มเวลา แล้วก็ยังประกอบวิชาชีพอยู่ ซึ่งในสหรํฐอเมริกา ปัญหานี้ก็รุนแรงมาก) อาจารย์ที่ได้รับทุนมหาวิทยาลัยถึงปริญญาเอก ร่ำเรียนมานานแสนนาน จบมาเป็น ดร. แต่ไม่เคยเป็นลูกน้องที่ทำงานในบริษํทไหนเลย เป็นบุคคลจากหอคอยงาช้าง ลงมาโปรดสัตว์โลกผู้ยากไ้ร้ทางวิชาการ ซึ่งผมก็เชื่อว่าท่่านเหล่านี้มีวิชาความรู้ดีจริงๆ แต่จะให้สอนเรื่องความเป็นมืออาชีพ ผมว่าเป็นไปได้ยาก ในเมื่อท่านไม่เคยเป็นมืออาชีพมา่ก่อน แล้วการที่จะเอาอาจารย์ข้างนอกมาสอน ความผูกพัน ความต่อเนื่องมันก็น้อยอีก (ซึ่งเทียบกับสมัยก่อน การเป็นช่างคือ ครูพักลักจำ มันจะตรงไปตรงมา ไปเรียนเอาจากการทำงานจริง สมัยนี่คือเรืยนในโรงเรียน ฝึกวิทยายุทธแล้วลงจากเขามาลองท่องยุทธจักร พอลงมารู้ตัวว่า วิทยายุทธที่ฝึกมา ใช้ไม่ได้กับโลกแห่งความจริง เพราะอาจารย์ฺสอนมาไม่ตรงกับโลกข้างล่าง ก็เผ่นกลับขึ้นเขาแทบไม่ทันไปเป็นอาจารย์ที่หลุดออกไปจากโลกภายนอกเหมือนเดิม หรือไม่ก็ พายเรือออกจากแผ่นดินไปหาโลกใหม่อยู่เลย….

……แต่ถ้าใครลงมาแล้ว ใช้วิทยายุทธที่ได้ร่ำเรียนมาเป็นพื้นฐาน ตั้งสติดีๆ เปิดหูตาให้กว้างๆ เรียนรู้จากยอดยุทธอื่นๆ ที่อยู่รอบข้าง เขาผู้นั้นก็อาจจะกลายเป็าเจ้ายุทธจักรได้เหมือนกัน….

….เพราะฉะนั้น มันเป็นเรื่องของ ทางเลือกแต่ละคน ใครอดทน ใครอ่อนแอ ใครหนักแน่น ใครจับจด ใึครขี้ประชด ก็ว่ากันไป ….

พูดมาเสียยาวก็ ขอตอบประเด็นเจ้าของกระทู้ ก็คือว่า

ผมคิดว่าการเรียนมาห้าปี นั้น สิ่งที่เราได้คือ “วิธีการเผชิญปัญหาและแก้ปัญหา” ซึ่งหลายๆ คณะไม่ได้เจอแบบเรา เขาอ่านหนังสือ แล้วเขาก็ไปสอบ เขาไม่มี task มาอยู่ตรงหน้าแล้วต้องทำให้เสร็จ (ถ้าเขาไปทำ ปริญญาโทถึงจะได้เจอ) ซึ่งเราต้องนับว่า เราล้ำหน้าสาขาอื่นไปหลายๆ สาขา ถ้าพูดถึงในแง่ของการใช้ชีวิต (ยกเว้น แพทย์ อันนั้นเขาเจอโครงการที่เรียกว่า คนไข้ วันละเป็นสิบคน แต่ ทนาย หรือ วิศวกร อย่างมาก็มีแค่ case มาให้ศึกษา ไม่เคยได้ลองลงมือทำจากอากาศ ทนายก็ไม่เคยว่าความตอนเรียนหนังสือ)

เพราะฉะนั้น การศึกษาที่พวกเราได้จากสาขาวิชานี้คือการศึกษาวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งได้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเราหัดจัดการให้ดี เราเอาไปปรับใช้กับอะไรก็ได้ นั่นอาจจะเป็นคำตอบว่า ทำไมถึงได้มีคนออกไปทำงานอย่างอืนแล้วประสบความสำเร็จ เพราะเขาได้ ทักษะ ตรงนี้ไป แต่เขาเอาไปปรับใช้ในสิ่งที่เขาชอบ

อยากจะบอกอีกอย่าง ที่คุณ Seim กับพี่วิญญูเถียงกันนี่ มันมีประโยคที่พูดถึงในวงการสถาปนิกที่ สหรัฐนี่บ่อยๆ ว่า

The guy who get and “A” end up being a teacher. And a guy who get a “B” end up working for a guy who get a “C”

แปลว่า คนที่เรียนได้เกรดสี่ ก็จะไปเป็นอาจารย์ ส่วนคนที่ได้เกรดสาม จะต้องไปทำงานเป็นลูกน้องคนที่ได้เกรดสอง

เพราะอะไร เพราะว่าคนที่ได้เกรดสอง มันเป็นพวกรอบจัด เรียนหนังสือพอผ่าน เอาเวลาไปเข้าสังคม รู้จักเพื่อนฝูง สร้าง network กลายเป็นคนที่มีเพื่อนมาก แล้วพอจบมาำทำงาน ก็พวกเพื่อนๆ พวกนี้ล่ะ ขน Project มาให้ เพราะผมเชื่อว่า ทุกๆ ท่านในที่นี้ก็รู้ว่า เวลาคนเขาจะให้งานกัน เขาอาจจะไม่ให้คนที่เก่งที่สุด แต่เขาจะให้คนที่เขาไว้ใจที่สุด แล้วใครจะเป็นคนที่เขาไว้ใจ ถ้าไม่ใช่เพื่อนเขา ที่จะปกป้องการลงทุนอันมหาศาล ในการก่อสร้างของเขา ได้ดีกว่าเพื่อนแ้ท้ของเขา (อันนี้ไม่ใช่โฆษณา บริษัทประกันนะครับ)

เพราะฉะนั้น Scenario ที่คุณ Siem พูด ที่ว่า

“แต่เท่าที่เห็นจนถึงเดี๋ยวนี้ ส่วนใหญ่ไอ้พวกเด็กที่โดดๆเนี่ย ออกมาแล้วทำงานด้วยง่ายกว่า,ไปได้ดีกว่าพวกเข้าเรียนทุกๆครั้ง คะแนนดีๆซะอีก........จริงๆนะ”

ผมเชื่อว่าเป็นไปได้ครับ มันขึ้นอยู่กับว่า คนๆ นั้น “โดด” เรียน แล้วเอาเวลาไปทำอะไร ไปทำกิจกรรม กับเพื่อนๆ คณะอื่น เข้าสังคม ทำอะไรที่เขาคิดว่าเป็นประโยชน์ ฝึกทักษะที่เขาสนใจ (เรียนมหาวิทยาลัย คิดว่าอะไรมีประโยชน์ก็น่าจะคิดเอง ตัดสินใจเองได้) แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าคนๆ “โดด” แล้วเอาเวลาไปทำอะไรที่ไร้สาระ ไม่ได้พัฒนาตัวเองตรงไหน มันก็ไม่น่าจะไปรอดเหมือนกัน

ผมเห็นด้วยกับคุณ Siem อีกเรื่องนึงคือเราให้ความสำคัญกับ ป้าย หรือคะแนนมาก ที่คุณแม่ของผม ต้องเคียวเข้ญให้ผมไปเรียน ปริญญาเอกมาให้ได้ ส่วนหนึ่งก็คือ อยากให้ลูกฉลาด (ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่า จุดประสงค์นี้สำเร็จแล้วหรือยัง อาจจะยังก็ได้) สองก็คือ เป็น ป้าย ที่จะเอาไว้ให้คนได้เห็นแล้ว ต้องขยับถอยหลังหนึ่งก้าว ถ้าคิดจะลองดีทางวิชาการ ซึ่งมันเป็นความจริงอันน่าเจ็บปวดจริง

เพราะว่า มันเหมือนกับ ผมเป็นนักท่องยุทธจักร มาดดี มีกระบี่ชั้นหนึ่ง Form ดีมากๆ ดูแล้ว น่าเกรงขาม แต่มันจะมีประโยชน์ อะไร ถ้าผมดึงกระบี่ออกมาฟาดฟันกันแล้ว ผมแฟ้คนที่ ดูมาดไม่ค่อยดี กระบี่ห่วย form ก็ไม่เข้าตา

คนจบปริญญาเอก ก็คือมีป้าย การพูดการจาก็คือ การร่ายรำอยู่คนเดียว อาจจะสวยงามเพราะมีครูดี แต่ถ้าถึงเวลาต้องประจันหน้าคู่ต่อสู้ แล้วคุณจอดภายในสามเพลง มันก็ไม่มีค่าอะไร

ผมขอเป็นยอดยุทธ ใส่เสื้อผ้าโทรมๆ มีไม้ไผ่หักๆ อันเดียว แต่เจอศัตรูเป็นร้อย ฟาดฟันให้แตกพ่ายในพริบตา ดีกว่าเยอะ

แต่ทำไงได้ เข้าเมืองตาหลิ่ว ก็ต้องหลิ่วตาตาม ในเมื่อสังคมไทย มองคนที่เรื่องของป้ายเป็นเรื่องใหญ่ ผมก็เลยต้อวิ่งไปเอาป้ายมาก่อน แล้วทุกวันนี้ก็พยายามฝึกวิทยายุทธ ไปพลางๆ

คำไทย ถึงได้มีไงครับว่า “ท่าดี ทีเหลว” ผมก็พยายามอย่างยิ่งที่จะไม่เข้าไปอยู่ในกลุ่มนี้ ถ้าเป็นไปได้

แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ต้องมีศีลธรรมด้วย

ผมพูดจริงๆ เลยว่า ความรู้ที่ผมมีหลายๆ อย่าง ที่ได้เอามา shareๆ กับท่านทีอยู่ในที่นี้ ได้มาจากตอนที่ผมไปทำงานทั้งสิ้น บางท่านอาจจะบอกว่า ก็ผมจบ U ที่ไม่ดัง ก็ต้องยอมรับครับ ผมไม่ได้จบ U top ten อะไร แต่ผมก็ไม่ได้พยายามจะแข่งอะไรกับใคร แต่พยายามแข่งกับตัวเองทุกวันอยู่

สุดท้ายอยากจะขอ Quate อันนี้

“ฉันโง่ ฉันเขลา ฉันทึ่งฉันจึง มาหา ความหมายหวังได้ กลับไป มากมายสุดท้าย ให้กระดาษ ฉันแผ่นเดียว”

ผมว่าตรงนี้ คือจุดวิกฤติการศึกษาของประเทศไทย เราตั้งโจทย์ในการศึกษาผิด

เราคิดว่า เราไปเรียน เรามุ่งหวังปริญญา เราไม่ได้มุ่งหวังความรู้

ถ้าเรามองการศึกษาเหมือนกับการเล่นตู้เกมตามห้าง ทุกอย่างมันจะออกมา clear มาก

คุณไปเล่นตู้เกม คุณจ่ายเงิน สิ่งที่คุณได้คือะไร แน่นอน คุณได้ ความมัน และอีกอย่างที่คุณได้คือ “ความรู้”

ผมไม่ได้พูดถึงความรู้ที่จะเอาไปหาเงินอะไร แต่เป็นความรู้ที่เป็นทักษะ คุณได้ฝึกฝนทักษะ ซึ่งจะทำให้คุณเล่นเกมได้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ในโอกาสต่อๆ ไป คุณเล่นแพ้ คุณก็จ่ายเงินเข้าไป เล่นใหม่ ยิ่งเล่นมาก ทักษะ คุณก็ดีมาก แล้ววันหนึ่ง คุณก็เล่นจนจบ สิ่งที่ได้คือทักษะระดับสูง ซึ่งถ้าคุณกลับมาเล่นอีก คุณก็ต้องเล่นได้ดีแน่นอน

เกมตู้ของเรา เป็นเกมตู้สถาปัตยกรรม ต่างกันกับเกมตู้ทั่วไปก็คือ เกมตู้ของเรา ฝึกทักษะที่จะออกไปประกอบวิชาชีพได้

เวลาคุณสอบตก ก็คือคุณเล่นไม่ผ่าน คุณจะมาอ้างอะไรได้ ? ตู้เกมมันจะยอมคุณมั้ย?
มันจะยอมคุณมั้ย ถ้าคุณบอกว่า แหม ผมจะฆ่า boss ด่านนี้ได้แล้ว พลังมันเหลือแค่ขีดเดียวเอง แต่ผมดันตายก่อน ให้ผมผ่านไปด่านต่อไปเถอะนะ ?
มันจะยอมคุณมั้ยถ้าคุณบอกว่า โหย Hard Mode ยากจัง ขอเล่นแบบ Easy mode แต่ขอดูฉากจบ แบบ Hardmode นะ?

มันคงไม่ยอมคุณหรอกใช้มั้ยครับ

เช่นกันถ้า คุณเป็นผู้เล่น เข้ามาเล่นแล้ว สิ่งที่ได้คือ ความมัน และ skill ที่จะเอาเป็นเล่นต่อในโลกภายนอกได้จริงๆ ปริญญา ไม่ปริญญา มันไม่น่าจะสำคัญมาก (เวลาเล่นเกมจบ คุณสนใจมั้ยว่า มันมีกระดาษ print ออกมาให้เป็นการประกาศให้โลกรู้ว่า คุณเล่นเกมนี้ได้เก่งมา จบแล้ว คุณจะสนทำไม ในเมื่อในใจคุณรู้ว่า คุณเล่นจบมาจริงๆ ด้วยความสามารถ ไม่ได้ไป print มาเอง)

เก่งไม่เก่ง ก็มาลองเล่นกันดู แข่งกันดูสิ เดี๋ยวก็รู้ว่าใครแน่กว่าใคร

ผมบอกได้เลยว่า ทุกวันนี้ จับผมไปแข่งกับ พี่ draft man บางคนที่จบ ปวส. ผมอาจจะโดนดาบเขาฟันขาดสองท่อนในสามเพลงก็ได้

เพราะฉะนั้น ต่อให้ผมจบ ด๊อกเตอร์มาอีกสามใบ ผมก็ไม่สามรถหยุดฝึกฝนวิทยายุทธได้ เพราะผมไม่อยาก “ตาย”

แต่ในขณะเดียวกัน ท่านๆ ที่เห็น คนถือป้ายด๊อกเตอร์ทั้งหลายเดินไปเดินมา ผมอยากให้ท่าน ขอท้าประลองให้ทั่วหน้าทุกๆ คน (แล้วแต่จะประลองเกมไหน)

ถ้าคุณไม่เคยประมือกับเขา คุณจะไม่มีทางได้รู้ว่าเขาเก่งแค่ไหน และที่สำคัญที่สุด “คุณจะไม่มีทางรู้เลยว่าตัวเองเก่งแค่ไหน” ถ้าไม่ได้ใช้ความสามารถที่ร่ำเรียน ฝึกฝนมาในการต่อสู้จริง อย่าไปกลัวคนพวกนี้ ถามคำถามไปเลย ลองภุมิไปเลย ท้าทายไปเลย ถ้าเขาแน่จริง เขาจะแสดงให้คุณเห็นเอง

เราต้องจบยุคที่ คนเรียนสูงก็ได้รับการยกย่องไปโดยอัตโนมัติโดยไม่มีการตราจสอบความสามารถอย่างแท้จริง

ถ้าทำได้แบบนั้น ผมเชื่อว่า เราจะได้สังคมวิชาชีพที่เป็นธรรมมากขึ้น จะได้นับถือคนที่ควรนับถือจริงๆ กันซะที

ความแตกต่าง ระหว่าง Townhome กับ Townhouse

Town home กะ Townhouse นี่ตามความเห็นส่วนตัวน่าจะเหมือนกันนะครับ ทำงานที่นี่ออกแบบ Townhome ผมถามเพื่อนฝรั่งทำไมไ่ม่เรียกว่า townhouse มันก็บอกว่าไม่รู้ แต่

รากของ Townhouse มาจากอังกฤษ ในสมัยพวกขุนนางทั้งหลายที่ต้องเขามาประชุมในเมืองหลวง จะมีที่พักของตัวเอง ที่อยู่ในเมือง ซึ่งจะมาใช้เฉพาะเวลาที่เข้ามาประชุมเท่านั้น ต่างกับ Country House ซึ่งเป็นที่อยู่ประจำ

Home Office อันนี้เป็นบ้านที่มีการปรับ ให้บางส่วนเป็นสำนักงานไปด้วย เช่นที่สหรัฐนี่ ส่วนใหญ่ก็เอาที่จอดรถในบ้านมาทำเป็น Home Office แล้วก็จอดรถข้างนอก จะเหมือนกัน

Shop House หรือตึกแถวของเรา แต่ตึกแถวเน้นการค้าขาย สิ้นค้า ที่มีการขนส่ง (Loading) มากกว่าพวก Home office ที่นั่งโต๊ะทำงานเป็นการให้บริการ มากกว่าการขายสิ้นค้าโดยตรง ดังนั้นเรื่อง Accessible ที่จะต้องติดถนนจึงไม่จำเป็นมากเท่า Shop House และ Shop House นี่ล่ะน่าจะเป็นอาคารพาินิชย์ เพราะสร้างขึ้นมาเพื่อการค้า (แต่คนไทยเอาไปอยู่อาศัยด้วย)

อันนี้ไ่่ม่เกี่ยวกับคำแปลตามกฎหมายนะครับ อันนี้ความเห็นส่วนตัวของผมเอง

คุณภาพในการออกแบบ กับการปรับเข้าหา FTA

จะไป Style ไหน หา Identity ความเป็นไทยเจอหรือไม่ หรือว่าจะหลงทางไปทางใด ผมว่าก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้าง Subjective และแล้วแต่ท่านผู้เชี่ยวชาญจะตีความ

สำหรับตัวผมเอง เห็นว่าเรื่องที่สำคัญมากตอนนี้คือเรื่อง คุณภาพที่จับต้องได้ และพิสูจน์ได้โดยตรงอย่างไม่ต้องการตีความ

ถ้าหากจะโยงไปเรื่อง FTA หรือ กระแสอื่นๆ จากต่างประเทศที่จะเข้ามาหาเรา หรือถูกผลักเข้าไปหาเขานั้น ผมว่า คุณภาพเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก

คุณภาพที่ผมกำลังพูดถึงเหล่านี้คือ

1. การออกแบบอาคารเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร (Safety in Built Environment)
ในกรณีนี้ ครอบคลุมไปถึงการหนีภัยในกรณ๊ฉุกเฉิน ไปจนถึง การออกแบบอาคารไม่ให้เกิดสภาวะความเป็นพิษในสภาพแวดล้อมภายใน เช่นในเรื่องของ Mold เป็นต้น

2. การออกแบบเพื่อการเข้าถึงของคนพิการ (Handicap Accessibility) โดยเปิดโอกาสให้คนที่อยู่บนรถเข็น คนตาขอด คนหูหนวก ฯลฯ ให้คนเหล่านี้ได้ใช้ อาคารหรือสภาพแวดล้อมที่ถูกก่อส้างโดยมนุษย์ได้เหมือนคนธรรมดาทั่วๆ ไป

หลักการทั้งสองนี้ เป็นเรื่องที่น่าทำเพราะเป็นเรื่องที่พิสุจน์ได้ชัดเจน และเป็นเรื่องที่ โจมตีประเด็นที่คนไทยคิดว่าแข็งแรง แต่จริงๆแล้วอ่อนแอมาก ได้แก่เรื่องของสิทธิมนุษยชน คืออย่างในประเด็นที่ 1 นั้นคือ คุณค่าของชีวิต มีกี่ชิวิตแล้วในเมืองไทยที่ต้องสังเวยเพราะความสะเพร่าในการก่อสร้างและการออกแบบ และ ประเด็นที่สองคือ เรื่องของความเท่าเทียมกันในสังคม

ก่อนที่เราจะไปไกลกันมากในเรื่อง Concept และ ความเป็นไทย หรืออะไรก็ตาม เรื่องปลอดภัย และเรื่องความเท่าเทียมกันของสังคม เป็นเรื่องใหญ่มาก ที่กฎหมาย และมาตรฐานการก่อสร้างของเราเองยังไปไม่ไกลเท่าไหร่ และทั้งๆ ที่กฎหมายเราก็ไม่ได้ไปไกลอยู่แล้ว ก็ยังมีการพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำตามกันอีก

ถ้าต่างประเทศจะหาเรื่อง attack เรา ก็จะมามุมนี้ โดยหาว่า Standard เราไม่ดี ต้องใช้ Standard ของเขา แล้วพอเราทำตามไม่ได้ เราจะตายทันที ในน้ำตื้น น้ำของเราเอง

อย่าคิดว่าการที่ต่างชาติจะมานั่งร่างกฎหมายในประเทศไทยเป็นไปไม่ได้ เพราะทุกอย่างเป็นเรื่องของ พลกำลังในการเจรจา และพลกำลังในปัจจุบันคือการเงิน ประเทศเราเป็นหนี้ประเทศไหน หรือมีประเทศไหนเป็นคู่ค้าสำคัญที่เราได้ดุลเยอะๆ บ้าง ประเทศนั้นละที่เป็นประเทศที่เสียงดัง และรัฐบาลเราทำได้อย่างเดียวคือทำตาม

ปรับตัวดีๆ นะครับ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทั้งหลาย

Playstation III กับอนาคตของการออกแบบสถาปัตยกรรม

และแล้ว ก็ึถึงวันนี้ กับ Playstation III

เขียนเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2006

เมื่อ วันพฤหัส ที่ 16 พฤศจิืกายน ที่ผ่านมา ในสหรัฐอเมริกาแห่งนี้ มีปรากฎการทางเทคโนโลยีที่สำคัญมาก เกิดขึ้น ได้แก่การเปิดขายเป็นเครั้งแรก ของเครื่องเล่น Playstation 3 ที่ทุกคนรอคอยมานานแสนนาน

ผมเองซึ่งเป็นคนเล่นวิดีโอเกมเหมือนกัน ถึงแม้อยากจะได้เป็นเจ้าของไว้สักเครื่อง แต่เห็นราคาที่สูง ขนาดนี้ ($600) แล้วแถมยังต้องไปต่อสู้แย่งชิงเพื่อให้ได้มาครอบครอง ในขณะทียังมีเกมออกมาไม่มาก แถมราคาแผ่นเกมก็แสนแพง (เกมแผ่นผี ที่นี่หายากมาก) ก็เลยคิดว่า คงจะรอดูไปก่อน

ในขณะเดียวกันก็อดไม่ได้ที่จะลองหาข้อมูลไปพลางๆ

ก็ต้องบอกจริงๆ ครับว่า ประทับใจมาก กับคุณภาพของ Graphic ทั้งภาพและเสียงที่ออกมา มันทำใ้ห้รู้สึกว่าการเล่นเกม ไม่ใช่ความสะใจที่เราจะมาใส่อารมณ์กันมันๆ หน้าจออีกแล้ว มันกลายเป็น “ประสบการณ์เสมือน” ที่นับวันเราจะแยกแยะโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกเสมือนออกจากกันยากขึ้นทุกที Playstation 3 นี้ทำใ้ห้เส้นแบ่งดังกล่าวเบลอ ไปอีกระดับหนึ่งทีเดียว

พอได้รู้สึกอย่างนั้นแล้ว มันก็เหมือนมี flash back ขึ้นมาในหัว ย้อนกลับไปเมื่อครั้งอดีต

ผมเคยคุยกับเพื่อนเหมือนกันว่า คนรุ่นเรา (เกิดในช่วงปี 1975-1980) น่าจะเป็นยุคที่ค่อนข้างโชคดี เพราะได้เห็นการ ก้าวกระโดด ของเทคโนโลยี แบบชัดเจนมาก

เริ่มต้นเลยคือว่า สมัยเด็กๆ ตอนอยู่ประถม ผมก็รบเร้าให้คุณแ่ม่ซื้อเครื่อง Famicom ให้ เกที่เล่นเป็นเกมแรก คือ Super Mario 1 เป็นเกมตลับ เสียบแล้วเล่น ที่ติดมากที่สุดเลยคือ Rockman เล่นได้ไม่กินข้าว ไม่หลับไม่นอน

พอตอนเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่รู้จักอะไรเกี่ยวกับ Computer ทุกคนต้อง Draft มืออย่างเดียว แต่คำว่า AutoCAD เริ่มจะเป็นที่คุ้นๆ กันบ้าง พอผมขึ้นปี 3 ที่บ้านก็ซื่อเครื่อง Computer ให้ซึ่งเป็นชุดที่หรูหรามาก มี RAM ถึง 16meg (ซึ่งตอนนี้ฟังดูเหมือนเรื่องตลก) ราคาแพง
มาก แต่ผมแทนที่จะเอามาหัด AutoCAD อย่างแข็งขัน ก็ดันเอาไป เล่น telnet จีบสาว ซึ่งตอนนั้น Program ที่ใช้ Chat ข้ามมหาวิทยาลัยได้ก็คือ Telnet หรือ Hyper Terminal เท่านั้น (ก่อนที่จะถึงยุค ICQ ซึ่งเปลี่ยนสังคมการหาเพื่อนใหม่ไปอย่างรุนแรง) ส่วนในตอนนั้น HTML ใช้เวลา Load ข้ามคืน กว่าจะได้รูปโป๊ดารา 1 รูป

กว่าจะเริ่มใช้ AutoCAD เป็นจริงๆ ก็อยู่เข้าไปปี 4 ซึ่งอย่างที่บอกว่ารู้สึกโชคดีก็เพราะว่า ได้เห็นทั้งสองโลก ทั้งการเขียนมือ และการใช้ CAD ตอนนั้นจำได้ว่า ร้อนวิชามาก อยากทำ 3D เป็นให้ได้ มีงานที่อาจารย์สอน CAD ท่านให้มา เพื่อนที่ทำงานในชั้นบอกว่า ยาก ทำไม่ได้ ผมก็เลยอาสาว่า เอางี้ ให้ทุกคนมาที่บ้านผม แล้วผมจะทำการบ้านชิ้นนี้ให้หมดเลย เอาเป็นว่ามานั่ง แล้วบอกว่าจะเอาอะไร ผมจะขึ้น Form ให้ ก็ดูเหมือนจะเป็นกรรมดี เพราะตอนนี้ก็เลย ทำ 3D ได้ แต่ยัง Render ไม่เป็น ห่วยมาก

หลังจากนั้น พอมาเรียนเมืองนอกก็ได้สัมผัสกับ Internet ความเร็วสูง T-1 Cable ที่เร็วมหากาฬ download เพลงได้ภายใน 10 นาที ซึ่งถือว่าเร็วมากๆ ตอนนั้น (ตอนนี้ 15 วินาทีอย่างมาก)

และเมื่อเรียนจบออกมาทำงาน ผมก็เห็นตัวเองเป็นมนุษย์ที่ตาอยู่ต่อหน้า Computer ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ถ้าอยู่นอกบ้านก็ใช้ Blackberry อยู่ในบ้านก็ใช้ Laptop ทำทุกๆ อย่าง มันเปลี่ยนโลกทัศน์ไปหมด

จนวันนี้ ที่เห็นการพัฒนาไปอีกขึ้นคือ Playstation 3 ซึ่งแทบจะเป็น ทั้ง PC ไปในตัว มีท้ง สายเคเบิ้ลต่อออก และ USB Port และเครื่องอ่านแผ่น Blue-ray ซึ่งจะเก็บควาจุแต่ละแผ่นได้ 40Gig ขึ้นไป ซึ่งนั่นคือขนาดของข้อมูลซึ่งในอนาคตก็จะเป็นเรื่องปกติ (http://en.wikipedia.org/wiki/Blu-ray_Disc)

ทีนี้ถ้าพูดถึงในเชิงสถาปัตยกรรม ก็อดไม่ได้ที่จะย้อนไปที่กระทู้เรื่อง มีคนถามว่า คนที่ทำ Perspective ด้วยมือเป็นอาชีพจะรอดมั้ย ผมว่า ถ้าดูกันโดยภาพรวม แล้วก็ใช้หลักการแบบที่พี่วิญญูว่า ว่า “คนที่เก่งมากๆ สุดๆ นั้น เอามานับรวมไม่ได้” เพราะคนพวกนี้ ถ้าอยู่ในระดับความสามารถดังกล่าว ไปอยู่ในวงการไหน ก็อยู่รอดได้ ก็คงต้องฟันธงเลยละครับว่า โอกาสรอดของวิชาชีพเขียนด้วยมือ จะน้อยลงไปเรื่อยๆ

มันจะหดตัวลงจนเหลือเป็น Master Piece ซึ่ง นักขาย เวลาเขาจะ Request เขาจะถามเลยว่า ใครเขียน Perspective มือสวยที่สุด เพราะเขาจะ ระบุตรงตัวในสิ่งที่เขาต้องการ

ซึ่งมันจะต่างกับการ Request ในเชิงของการ Presentation ธรรมดาๆ ที่ เวลาเราทำแบบแล้ว เขาขอ Animation, 3D model ไปด้วย ต้องเอา Fly-through Video ไป Present ให้ลูกค้า ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย และชัดเจนกว่า ภาพ Perspective ที่เขียนด้วยมือมาก

จากประสบการณ์ที่พบในสหรัฐอเมริกา ภาพ Perspective ที่เขียนด้วยมือ จะถูกนำมาใช้ในทางการตลาด มากกว่าการแสดงข้อมูลให้เจ้าของงานได้เข้าใจ ดังนั้นถ้าโครงการไหน ไม่มีการตลาดปน คนทำ perspective มือแทบจะไม่มีโอกาสเลย และต้องอย่าลืมว่า โครงการที่ต้องการการตลาดดังกล่าวส่วนใหญ่ ที่จะ request คนเขียน Perspective ด้วยฝีมือนั้น จะต้องเป็นโครงการที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น บ้าน หรือ อาคารที่อยู่อาศัย ที่ต้องการ ความเป็นธรรมชาติ อ่อนโยน มีชีวิต ในขณะที่โครงการประเภทอื่นๆ ที่ Computer Presentation กินขาดหมด

สิ่งที่เกิดขึ้นที่ผมเห็นใน Playstation 3 ก็คือ Generation ของคนเล่นเกมแบบพวกเรา และคนรุ่นหลังลงไป ที่จะเป็นคนที่มีความเข้าใจ Virtual 3D Environment เป็นอย่างดี คนพวกนี้ที่มีเงินซื้อเกมต่างๆ มาเล่นตั้งแต่เด็กๆ ต่อไปก็จะเป็นลูกค้าระดับ Top Class ของพวกเรา แล้วคนพวกนี้ล่ะ ที่จะ demand การบริการที่ต้องมีประสิทธิภาพ จากสถาปนิก อย่างน้อยๆ ก็ต้องพอสมน้ำสมเนื้อกับเกมที่เขาเล่นมาตั้งแต่เด็กๆ ล่ะ

ต่อไปลูกค้า เวลาที่จะตรวจงาน อาจจะหยิบ Joy ขึ้นมาแล้วกดปุ่มเดินไปเดินมาเองใน โลกเสมือนที่สถาปนิกสร้างขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า อีกหน่อยก็คงจะเป็น VR เข้าไปอยู่ในนั้นเองจริงๆ แบบที่มีแสงเงา อย่างเนียนมาก

เราจะเจอกับลูกค้าที่เข้าใจความเป็นสามมิติเป็นอย่างดี สื่อสารกับเราเ้ข้าใจมากขึ้น อาจจะอธิบายได้ดีขึ้นว่าเขาต้องการอะไร แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องให้การบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวดเร็วขึ้น และผิดพลาดน้อยลง

อยากจะพูดเรื่องเกมที่ เคยเล่นในสมัยของ Playstation 2 และมีความประทับใจเรื่องฉากที่ เขาทำออกมาจริงๆ แ่ต่ขออนุญาิติไปพักผ่อนก่อนนะครับ ช่วงนี้ในสหรัฐคือ Thanks Giving พอมีเวลาแวะมาเขียนบ้าง นิดหน่อย

อาจจะกระจัดกระจายบ้าง แต่เอาเป็นว่า Share ประสบการณ์ส่วนตัวกันสนุกๆ ละกันนะครับ

ความประทับใจที่ สถาปัตย์ มหาสารคาม

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และ นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถาบันการศึกษาที่มีอนาคตไกล

เขียนเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2006


ผมได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรพิเศษ เีกี่ยวกับการออกแบบอาคารสูงและโรงแรมที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และ นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเมื่อวันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2549 ที่ผ่านมา

คณะนี้เป็นคณะที่ มีสามภาควิชาได้แก่ สถาปัตยกรรม ผังเมือง และ นฤมิตศิลป์ โดยจะเป็นปริญญาตรีทั้งหมด

ต้องยอมรับว่าในช่วงแรกผม ตามประสาคนกรุงเทพ ก็คิืดว่า เป็นการไปช่วยเหลือมหาวิทยาลัยที่ห่างไกล และไม่พร้อมในทุกๆ เรื่องตั้งแต่สถาบัน ยันจำนวนอาจารย์ต่อนิสิตและศักยภาพของนิสิตเองด้วย นอกจากนี้จากการที่ได้อ่านบทความเกี่ยวกับการรับนิสิตในมหาวิทยาลัยของรัฐที่ถูกกล่าวหาว่า จะเน้นแ่ต่การเอาเงิน โดยรับเด็กเพิ่มมากๆ เพื่อรับค่าเล่าเรียน แต่มีอาจารย์ไม่เพียงพอ หรืออะไรก็แล้วแต่ เอาเป็นว่าไม่ได้คาดหวังอะไรมาก ไปสอนๆ ให้จบๆ ก็แล้วกํน

แต่ก็ต้องยอมรับว่าคิดผิดไปถนัด

เมื่อไปถึงก็มีอาจารย์มาต้อนรับ มีอาคารเรียนที่ใหญ่โต (ทราบอีกครั้งว่าเป็นของคณะศิลปกรรมศาสตร์) แต่อาคารของคณะสถาปัตย์นั้นกำลังก่อสร้างอยู่ นอกจากนี้ การที่ได้รู้จักกับคณาจารย์ ก็ิยิ่งประทับใจ โดยเห็นได้ว่าเป็นผู้ที่มีทั้งความรู้ ทั้งกำลัง และทั้งอุดมการณ์

คืออาจารย์มหาวิทยาลัยบางคนที่ผมรู้จัก ไม่ว่าจะในเืมืองหรือนอกเมือง ถ้าเป็นมหาวิทยาลับของรัฐจะมีกลุ่มคนที่มาสอนเพื่อที่จะยกระดับตัวเอง คือใช้ความเป็นอาจารย์เพื่อเข้าหาทุน เพื่อจะได้เรียนต่อ แต่ส่วนตัวไม่มีจิตวิญญาณของความเป็นครูแม้แต่น้อย พอจบมาก็เอาแต่ทำงานนอก สอนเด็กแบบ Minimum มาถึงไ่ม่เตรียมตัวสอน เอาแต่ด่าเด็กเป็นหลัก

แต่อาจารย์ที่ผมเจอที่มหาสารคาม นั้นตรงกันข้าม อาจารย์เหล่านี้มีจิตวิญญาณของความเป็นครูจริงๆ คือจะสอนเด็กแบบเขี้ยวเข็ญ ตามเด็กมาส่งงาน ทำอะไรก็ได้ให้เด็กได้ดี ผมจำ detail เล็กๆ ได้คือตอนที่ผมกำลังสอน มีเด็กคนหนึ่งเอา magazine ขึ้นมาอ่าน อาจารย์ถึงขนาดไปตามเก็บมายึดไว้ (เหมือนครูประถม) เพื่อให้เด็กตั้งใจฟัง อาจารย์แต่ละคนที่อยู่ที่นี่ ส่วนใหญ่ รักที่จะอยู่ทั้งสิ้นและจะอยู่ไปอีกนาน

ผมคิดไปอีกทีก็นับถืออาจารย์เหล่านี้ ว่ายินยอมเสียสละมาอยู่ในดินแดนกันดาร เพื่ออุดมการณ์ของตัวเอง 100% โดยมีชีวิตที่ไม่ได้สุขสบายเหมือนที่ๆ เคยอยู่มาก่อน (อาจารยฺ์ส่วนใหญ่เป็นคนกรุงเทพทั้งสิ้น)

แต่ผมก็ต้องคิดผิดอีกที ใครกันที่พูดว่าอีสาน แห่งแล้งกันดาร ไม่จริงครับ

อาหารมื้อแรกของผม นั้นเป็นอาหารอีสาน ที่มีทั้งคุณภาพและปริมาณ ปลาที่ผมกิน ตัวขนาดเท่าอ่างล้างมือเล็กๆ ถ้ากินในกรุงเทพ ต้องตัวละเป็นพันแน่ๆ เป็นปลาที่สดเพราะจับจากบ่อ ส้มตำ ปล่าย่าง ปลาทอด ซี่โครงหมูทอด และอาหารอีสานที่ผมจำชื่อไม่ได้หลายชนิด กินกัน 9 คน แทบเป็นแทบตาย เช็คบิลออกมา ตกคนละ 70 กว่าบาท ทำให้รู้ซึ่งเลยว่า อาจารย์พวกนี้ ไม่ได้ลำบากอย่างที่ผมคิด ถ้าเงินเดือนลูกจ้างของรัฐ ในรูปแบบของการออกนอกระบบที่เท่ากันทั้งประเทศในค่าครองชีพแบบนี้ อาจารย์เหล่านี้ความเป็นอยู่ดีมากๆ

คิดเทียบกันตรงไปตรงมา ชาเย็นในร้านหรูๆ ที่กรุงเทพ ราคาเฉลี่ยตกอยู่ที่ 45 บาท แต่ที่นี่ 15 บาทครับ

ค่าเช่าบ้านของอาจารย์เหล่าี้นี้ ก็ไม่ต้องเสีย มีอาคารหอพักอาจารย์ให้อยู่ เสียเงินเพียง 500 บาท เท่านั้น หมดค่าเช่าบ้านไปอีก

รถหรือครับ ไม่ต้องมี รถไม่ติด ถ้ามีมอเตอร์ไซค์ซักคัน ก็สบายแ้ล้ว อากาศดี เมืองเล็กๆ สงบๆ ไม่มี pollution จากบ้านมาทำงานใช้เวลา 5 นาที มีเวลามานั่งอ่านหนังสือ พัฒนาความสามารถตัวเอง และองค์กรเ็ป็นอย่างมาก

ถ้าท่านเบื่อ ก็ไปท่องเที่ยวได้ ไม่ต้องไปเดินห้างแบบกรุงเทพ มหาสารคามเป็นจังหวัดที่เรียกว่าเป็นสะดือ อีสาน คือ อยู่ตรงกลางพิกัดของ ภาคพอดี จะไปที่ไหนก็ 3-4 ชั่วโมงอย่างมาก ขับรถไป ไม่ถึงชั่วโมงก็ กาฬสินธุ์ วนไปอีกทีก็ ขอนแก่นแล้ว แต่ละจังหวัด ก็จะมีอาหารอร่อยๆ และผู้คนที่มีน้ำจิตน้ำใจที่ดี มีที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติมากมาย ถ้าท่านได้ไปอยู่ รับรองว่าแข็งแรงมาก ทั้งจากอากาศ อาหาร และการใช้ชีวิต

ถ้าจะเป็นวิทยากรพิเศษ ก็อยู่อย่างราชา ไปถึงที่สนามบินขอนแก่น มีรถมารับ ไปสอนที่คณะ กลางคืนพักโรงแรมตักศิลา สบายมากๆ อยู่กลางเมือง ถ้านับกันในประเทศ ผมให้ สามดาวครึ่ง โรงแรมนี้

อินเตอร์เน็ทของมหาวิทยาลัยก็เร็วมาก ไม่แพ้แถวสยามแสควร์

สรุปแล้ว สบายครับ ไม่ลำบากเลย

ที้นี้นิสิตเป็นอย่างไร ก็อาจจะต้องยอมรับว่า เป็นนิสิตที่อาจจะไ่ม่ไ้ด้รู้ได้เห็นอยู่ใน Trend มากเท่าเด็กกรุงเทพ คือความรู้พื้นฐานอาจจะทันกัน แต่ประสบการณ์อาจจะน้อยกว่า แต่เด็กพวกนี้ ความตั้งใจไม่แพ้แน่นอน และเด็กเหล่านี้มีสัมมาคารวะกับอาจารย์มาก ไม่เหมือนเด็กมหาวิทยาลัยเอกชน “บางแห่ง” ที่ ด่าพ่อล่อแม่กันข้ามหัวอาจารย์ (ผมเจอมาแล้ว) เพราะเขาถือว่า เขาจ่ายเงินมาแพง อาจารย์คือลูกจ้างของเขา

เด็กๆที่เรียนอยู่ที่นี่ เป็นเด็กที่มาจากทุกๆ จังหวัดในภาคอีสานทั้งสิ้น จะมีความหลากหลายในเรื่องของถิ่นที่อยู่ แต่จะยังคงมีรากของวัฒนธรรมท้องถิ้นผังลึกมาก ยังมีการไปทำบุญที่วัดเป็นประจำ มีการใช้ภาษาท้องถิ่้น หรือพูดง่ายๆ ก็คือยังคงความงดงามของเอกลักษณ์ประจำท้องถิ้นได้เป็นอบ่างดี

งาน Project ที่ทำก็จะเป็นงานในภาคอีสานเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเมือง การทำแผนให้กับ อบต หรือส่วนราชการของจังหวัด

สรุปก็คือ อาจจะไม่ใช้มหาวิทยาลัยที่เจริญก้าวหน้าอย่างฟู่ฟ่า อลังการ หรือไม่ได้ผลิตเด็กที่เก่งเป็น top class ของประเทศ แต่เป็นที่ๆ ถ้าเจริญก็น่าจะเจริญอย่างยั่งยืนได้ และ่ก่อให้เกิดความเจริญที่เหมาะสมกับศักยภาพของท้องถิ่นได้

สถาปนิกท่านใดที่มีความรู้ความสามารถ อยากจะแบ่งปันให้กับเด็กเหล่านี้ ก็ลองสมัครเป็นอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษได้นะครับ กินอยู่ เดินทาง ฟรี ติดต่อไปได้ที่ ท่านอาจารย์ มณี พานิชการ คณะบดี ได้ที่ 0-4375-4381 หรือ fax 0-4375-4382 ส่ง Resume ไปเลยครับ แล้วบอกไปเลยว่าอยากสอนวิชาอะไร

เรื่องใหญ่ที่สุดคือเรื่องความอยากสอนนะครับ สำหรับสถาปนิกทุกท่าน ความรู้ เราทุกคนพอมี แต่ใจที่อยากจะให้เป็นเรื่องใหญ่ อย่ารอให้เขามาเชิญท่านเลยครับ เสนอตัวไปเลย อย่างผมนี่ก็ ได้เจออาจารย์มณี ในงานที่กรุงเทพ ผมก็บอกว่า ผมยินดีที่จะสอน ให้ผมได้เมื่อไหร่ก็ได้ เขาก็ส่งจดหมายมาเชิญผมไป

มาช่วยๆ กันกระจายความรู้ที่เรามีเพื่อวิชาชีพของเรานะครับ

เกี่ยวกับ Boutique Hotel

Boutique Hotel อาจจะฟังดูเหมือนประเภทของโรงแรม แต่จริงๆ แล้วเป็นแนวทางในการตกแต่างหรือสร้างเอกลักษณ์ใน Space และการ Presentation ใหักับผู้ที่เขามาพักหรือเข้ามาใช้พื้นที่ในโรงแรมมากกว่า ไม่ใช่ประเภทของการใช้สอย

ต้องระวังเหมือนกันใน ปัจจุบันมีโรงแรมที่ ยกตนเองหรือเรียกตัวเองเป็น Boutique เยอะมาก บางโรงแรมถึงกับ ตั้งเป็นชื่อของโรงแรมหรือชื่อของ Chain เลยด้วยซ้ำ โดยบางเจ้าแค่น้ำ Fixture หรือ Furniture เดิ้นๆ มาจัด ก็เรียกตัวเองว่าเป็น Boutique แล้ว โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตัว space จริงๆ แต่อย่างใด อันนั้นไม่ใช่แน่ๆ

โดยส่วนตัว ที่บริษัททำงานออกแบบโรงแรมเป็นหลักนั้น Boutique Hotel โดยเฉพาที่มีการ Renovate มาจากตึกเก่า จะต้องมี การเปลี่ยนแปลงอย่างมาก (Radical Change) ในส่วนของงานสถาปัตยกรรม ไม่ใช่แค่ส่วนของ Interior เช่น Fixture, Furniture และ Equipment เท่านั้น

ตัวอย่างของ Boutique Hotel ระดับโลก มีดังนี้

The Standards – Los Angeles, California
Hudson Hotel – New York, New York ซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของ Chain ที่ชื่อ Morgan’s
‘W’ Hotel Chain – เป็น Boutique Chain อันแรกของโลก

โรงแรมทั้งหมดนี้ บรรยากาศเมื่อท่านได้เข้าไปจะเหมือนไม่รู้สึกว่าอยู่ในโรงแรม แต่รู้สึกว่าเหมือนเข้าไปใน สถาณที่ๆมีความตื่นเต้น เหมือนกัน Bar หรือ Lounge เป็นสถาณที่เที่ยวกลางคืนมากกว่าเพราะความแปลกตาของมัน

แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ว่า Boutique ทุกแห่งจะเหมือน Bar ไปหมด อาจจะเป็นบรรยาการศที่สงบ และเป็น ธรรมชาติของ Zen ได้เช่น The Hempel ที่ London แต่ก็ยังมีความเด็ดขาดของ Design มากกว่าโรงแรมทั่วๆไป

บางโรงแรมอาจจะไม่ Design จัดมาก แต่จะมีของเล่น พิเศษ ที่ไม่เหมือนใครให้ เช่น บางโรงแรมมี ปลาทองให้เลี้ยง บางโรงแรมที่ทางใต้ของอเมริกา มีการทำพิธี วูดู ใน ล๊อบบี้ คือเป็นบรรยากาศที่ แปลก

ในประเทศไทยที่รู้สึกว่าเป็น ความพยายามที่จะทำก็คือ D2 ของ เครือ Dusit ของหาดูนะครับ