Monday, February 11, 2008

บทความแปล - Integrated Practice in Perspective: A new model for the architectural profession

โดย Andrew Pressman, FAIA – เป็นสถาปนิกแห่งนคร Washington D.C. และเป็นบรรณาธิการบริหาร ของการโครงการจัดพิมพ์ Architectural Graphic Standards, 11th Edition (2007) หรือตำรามาตรฐานการเขียนแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นหนังสืออ้างอิงที่ “สำคัญที่สุด” และได้รับการยอมรับมากที่สุดในวงการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมในสหรัฐอเมริกา

เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรทุกวันนี้สามารถสร้างอะไรก็ได้เท่าที่นักออกแบบพึงจะสร้างสรรค์ขึ้นมา การจัดการข้อมูลทั้งหลายที่ซับซ้อนก็สามารถทำให้ง่ายลงมาเพื่อให้เจ้าของโครงการสามารถจัดการได้อย่างดี สถาปนิก ที่ปรึกษา และเจ้าของโครงการ ทำงานกันอย่างใกล้ชิดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

Integrated Practice (IP) เป็นศัพท์ที่ถูกใช้ในการเรียกระบบการทำงานที่ใกล้ชิดดังกล่าว (Collaborative Process) IP เป็นระบบที่ตอบโจทย์ของตลาดการก่อสร้างในปัจจุบันที่ ต้องออกแบบให้รวดเร็วและทำการก่อสร้างให็เสร็จอย่างรวดเร็ว ด้วยราคาที่ต่ำ และต้องมีคุณภาพที่สูงในหลายๆด้านเช่น คุณสมบัติเพื่อความยั่งยืน (Sustainability) BIM หรือ Building Information Modeling เป็นระบบที่บังคับ ทำให้เกิดวัฒนธรรมของ Integrated Practice ตรงนี้ขึ้นมา

BIM ก็คือคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ ที่เรียกกันว่า Parametric object-based ซึ่งไม่ได้เขียนเพียงแค่ ตัวสามมิติ หรือชิ้นงานก่อสร้างเท่านั้น แต่ยังบวกข้อมูลที่ละเอียดมากเช่น การประเมิณงบประมาณการก่อสร้าง (Budget Estimates) ตารางเวลาการก่อสร้าง (Construction Schedules) ปริมาณของวัสดุที่จะใช้ (Quantities Takeoff) และการประกอบเข้าหากันของวัสดุก่อสร้าง (Fabrication Details) ระบบ Parametric Modeling ทำให้การปรับหรือเปลี่ยนที่เกี่ยวข้องกับหลายๆส่วนในงานออกแบบ ทำได้ง่ายขึ้นและตรวจสอบผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น ซึ่งระบบดังกล่าวได้เคยถูกกล่าวไว้แล้วใน Architectural Records ฉบับเดือน เมษายน 2007 ในบทความชื่อว่า “Transformative Tools Start to Take Hold” (ขอแปลแบบด้อยสติปัญญาว่า “เครื่องมือที่มีความยืดหยุ่นในการใช้และการปรับตัวเอง กำลังจะเริ่มเข้ามามีบทบาทเป็นตัวหลักของการออกแบบ” - ยาวแต่คงได้ใจความครบนะครับ – ผู้แปล)

ความสัมพันธ์ และการทำงานร่วมกันระหว่าง สถาปนิก ลูกค้า ที่ปรึกษา ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการของเรา William Caudill, FAIA หุ้นส่วนของบริษัท Caudill Rowlett Scott, ได้บัญญัติคำัศัพท์ว่า Squatters ขึ้นมาในปี 1950s โดยอธิบายการประชุมระดมความคิดระหว่าง สถาปนิก วิศวกรที่ปรึกษา ลูกค้า และผู้ใช้อาคาร เพื่อทำการร่างโปรแกรมการออกแบบ การหาคุณค่าที่สำคัญของงานออกแบบ และอื่นๆ William Lam นักออกแบบด้านแสง (Lighting Designer) ชื่อก้องโลก ได้กล่าวเกี่ยวกับขั้นตอนนี้ว่า การสนทนากันระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมจะต้องมีบรรยากาศที่เปิดเผย ทุกคนต้องลด ego ของตัวเองลง แล้วเพิ่มความใส่ใจในผลลัพท์ชองสิ่งที่กำัลังทำงานร่วมกันให้มากขึ้น อันเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

โดยหลักๆ Lam ได้พูดถึงพื้นฐานของวิธีการทำงานที่บริษัทในปัจจุบันควรทำในเชิงของ “Integrated Practice”ไว้แล้วในการวิจารณ์ดังกล่าง โดยทั่วๆ ไปที่เราเห็นคือ ที่ปรึกษาจะมาประชุมร่วมกันตอนต้นในการร่างนโยบายการทำงาน และวางโปรแกรม เสร็จแล้วก็จะแยกย้ายกันไป แต่ BIM เป็นระบบที่เน้นการทำงานร่วมกันอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การปรับเปลี่ยนแบบและการ update ข้อมูลที่เิกิดขึี้นตลอดเวลาเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน และกำลังถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในเชิงของเวลาและค่าใช้จ่าย ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการทำงานรูปแบบใหม่นี้มีอย่างกว้างขวาง เช่น วัฒนธรรมการทำงานของบริษัท รุปแบบการเขียนสัญญาจ้างที่ปรึกษา การประกันภัยวิชาชีพ (Professional Liability Insurance) การบริหารความเสี่ยง ระบบการจ่ายค่าตอบแทนให้กับพนักงาน (Compensation) และ ระบบการศึีกษา (Professional Education) ใครก็ตามที่เข้าใจการทำงานในระบบดังกล่าว และสามารถนำมาปรับใช้กับการทำธุรกิจได้จะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในองค์กรของเขา

วัฒนธรรมของสำนักงาน (Firm Culture)

สิ่งที่ต้องปรับตัวเพื่อเรียนรู้ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ๆ อีกต่อไป แต่เป็นเรื่องของมุมมอง (Attitude) ต่อการร่วมมืออย่างสมบูรณ์กับสมาชิกในทีมออกแบบทั้งหมด (วิศวกรและที่ปรึกษาอื่นๆ) Volker Mueller, Assoc. AIA ซึ่งเป็น Design Technology Manager ของบริษัทยักษ์ใหญ่ NBBJ กล่าวว่า “การที่จะทำให้สมาชิกทุกคนในทีมเข้าใจจุดมุ่งหมาย (Goal) ของโครงการร่วมกันแต่ต้น และจะต้องมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ตั้น นั้นเป็นสิ่งท้าทายและอาจจะต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใ้ช้เพื่อให้การดำเนินการตรงนี้เ็ป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

“สถาปนิกควรจะพัฒนาตนเองในด้านความเป็นผู้นำ (Leadership) มากกว่าความเป็นเจ้าของกิจการ (Ownership) และทำการออกแบบให้เต็มที่แทนที่จะมาั่นั่งกลัวเรื่องความเสี่ยงทั้งหลายกันอยู่” Scott Simpson, FAIA หุ้นส่วนของบริษัท KlingStubbins แห่งเมือง Boston ได้กล่าวไว้ ส่วน Andy Anway แห่ง บริษัท Amaze Design ได้กล่าวว่า “ความสามารถเฉพาะส่วนของที่ปรึกษาทั้งหลายจะต้องมีการประสานกันให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ภายใต้การนำของสถาปนิก ถ้าเรามีคนที่มีคุณภาพ มีเครื่องมือที่มีคุณภาพ มีระบบที่มีคุณภาพ ภายใต้การนำที่มีคุณภาพ งานที่ออกมาจะไม่มีทางเป็นอย่างอื่นได้นอกจากงานที่มีคุณภาพ สิ่งที่น่าสนใจตรงนี้คือ การปรากฎการณ์ของการ Cross Suggestion วิศวกรอาจจะนำเสนอเรื่องความงาม สถาปนิกอาจจะความเห็นเรื่องงานระบบ ซึ่งสิ่งที่สถาปนิกจะต้องปรับตัวก็คือการรับฟังความเห็นคนมากขึ้น และอาจจะสูญเสียการควบคุมโครงการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด (Total Control)

ส่วนในบริษัทเองนั้น คนที่อยู่ในระดับ Senior ขององค์กร ต้องมีการรวบรวมแนวคิดให้มุ่งไปทางเดียวกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างไป ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องของหลักการในการดำเนินการขององค์กร ปรัชญาการทำงานขององค์กรคืออะไร สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรคืออะไร คือผลกำไรของลูกค้าที่จะได้รับ หรือกำไรของพวกเราที่จะได้รับ จะเป็นอะไรก็ได้ แต่ต้องเชื่อเหมือนกัน และคิดไปในทางเดียวกัน

แบบและสัญญาก่อสร้าง (Contract Documents)

Chris Noble แห่ง สำนักงานทนายความชื่อ Noble & Wickersham (ในสหรัฐอเมริกาสัญญาการก่อสร้าง หรือการว่าจ้างออกแบบใดๆ ก็ตาม ทุกฉบับไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กต้อง ผ่านการตรวจสอบและแก้ไขจากทนายความเสมอ - ผุ้แปล)แห่งเมือง Cambridge ในรัฐ Massachusetts ให้ความเห็นว่า Integrated Practice จะมีผลทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในระบบการทำงานของการวางโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการร่างสัญญาการทำงาน การ share ข้อมูลซึ่งกันและกัน การบริหารและจัดสรรความเสี่ยง การจ่ายค่าตอบแทน และหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละบุคคล ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะมีมากขึ้นเืมื่อ การพัฒนาของ Design-Build ก้าวไปเรื่อยๆ (ในสหรัฐ Design-Build ยังเป็นสิ่งทีเป็นปรากฎการณ์ใหม่มาก ในขณะที่ในเอเชียของเราเป็นเรื่องปกติ) การแก้ไขมาตรฐานของสัญญาก่อสร้างต้นแบบ และการทดสอบที่จะนำวิีธีการบริหารจัดการงานก่อสร้างอื่นๆ มาใช้ในอนาคต ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ Noble กล่าวว่า “จะมีการเขียนสัญญา ที่ระบุการแ้ก้ปัญหาในกรณีต่างๆไว้ล่วงหน้า (Conditions) เพื่อสร้างการคุ้มครองทางกฎหมายให้กับทุกๆ ฝ่าย เข่น ในด้านของ ลิขสิทธิ์ (Intellectual Property Rights) ข้อยัดแย้งระหว่างฝ่าย (intra-project disputes) การสื่อสารและแนวทางการสื่อสารระหว่างบุคคล (communication protocol) และผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่พึงจะต้องเกิดขึ้น (allocate rewards commensurate with risks)

Suzanne Harness, AIA ประธารคณะกรรมการว่าด้วยเรื่องสัญญา (Counsel for Contract Documents) แห่ง American Institute of Architects ได้กล่าวเกี่ยวกับ Integrated Practice และการแบ่งสรรความเสี่ยงให้แต่ละฝ่ายอย่างเหมาะสมว่า เรากำลังอยู่ในช่วงของการค้นคว้าเท่านั้น เรากำลังสร้างสถาณการณ์ในแต่ละระดับของการประสานกัน (Integrated) ตรงนี้ ตั้งแต่ไม่มีการประสานกันแต่อย่างใด ไปจนถึงการประสานกันอย่าง 100% ซึ่งในความเป็นจริงและ สภาวะสุดโต่งทั้งสองไ่ม่มีทางเกิดขึ้น เราเพียงแต่ต้องการหา Indicator หรือเหมือนกับ มาตรวัด เพื่อมาพยายามหาว่า สภาวะที่เหมาะสมในสถาณการณ์หลักที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงนั้นเ็็ป็นอย่างไร นอกจากนี้ เธอยังตระหนักในเรื่องของการเรียกร้องจากสมาชิกทั้งหลายให้มีการออกสัญญาต้นแบบในลักษณะ Integrated Practice ให้ออกมาโดยเร็วที่สุด แต่เธอก็ยืนยันที่จะค่อยๆ พัฒนาตามแผนเพื่อให้เกิดความถูกต้อง ดีกว่ารีบออกแล้วก้ไปแก้แล้วแก้อีกระหว่างทาง

Liability and Risk Management
ความรับผิดชอบต่อความเสียหายและการบริหารความเสี่ยง

“เลือกสมาชิกทีมที่ปรึกษาด้วยความระมัดระวัง” คือคำแนะำนำของ David W. Hinson, FAIA ซึ่งเป็นคณบดีของ School of Architecture, Alabama’s Auburn University เกี่ยวกับเคล็ดลับความสำเร็จในระบบ Design-Built ในโครงการก่อสร้างต่างๆ ซึ่งในกรณีนี้ คำแนะนำสำหรับระบบ Integrated Practice ก็ไม่ต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสถาปนิกยังคงเป็น “ผู้นำ” ที่มีความรับผิดชอบสูงสุดและรับผิดชอบแทนกลุ่มที่ปรึกษาทั้งหมดตามกฎหมาย (Legal Entity) ที่จะใช้ระบบ BIM ซึ่งเป็นระบบที่จะต้องมีการประสานงานกันอย่างสูงสุด ทั้งในด้านความเชี่ยวชาญเฉพาะตัว (Expertise) ความไว้ใจซึ่งกันและกัน (Trust) ความเคารพซึ่งกันและกัน (Respect) และการแบ่งข้อมูลซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกในทีม ระดับของความเข้มข้นในการบริหารความเสียงต่างๆ จะขึ้นอยู่กัความสัมพันธตรงนี้เป็นอย่างมาก

Joseph H. Jones, Jr. AIA ซึ่งเป็น ผู้อำนวยการของ Victor O. Schinnerer & Company บริษัทจัดการบริหารความเสี่ยงในธุุรกิจออกแบบก่อสร้าง กล่าวว่า “สมาชิกในทีมทุกคนต้องลดความเป็นตัวของตัวเองลงอย่างมาก ต้องมีการปรับตัวตามสภาพ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันอย่างแนบแน่นในโครงการนั้น ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้มีการ ร่างสัญญาที่มีคู่สัญญาระว่างเจ้าของโครงการ กับทีมที่ปรึกษา แบบใหม่ (Entity) ขึ้นมา” อันดับแรกคือเลือกลูกค้ากับเลือกโครงการที่เหมาะสมที่จะใช้ระบบนี้เสียก่อน

Lorna Parsons ซึ่งเป็นผู้บริหารอีกคนของ Sccchinnerer กล่าวว่า “การที่พวกเราในวงการทำงานผ่านทาง Internet มากขึ้นก็ทำให้ความเสียงในยุคเก่าๆ ที่เคยมีมาลดลง และเกิดความเสี่ยงประเภทใหม่ๆ ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น เรื่องของการใช้ Software ลิขสิทธิ์ เรื่องของลิขสิทธิ์ในงานออกแบบต่างๆ เป็นต้น แต่ ในขณะเดียวกัน เธอก็กล่าวว่า บริษัทของเธอจะไม่เข้าไปก้าวก่ายการทำงานของ Integrated Practice System ว่าจะต้องทำงานอย่างไรให้เสี่ยงน้อย และเธอก็ให้ความเห็นว่า บริษัทประกันภัย (ในที่นี้หมายถึงบริษัทประกันความเสี่ยงในการประอบวิชาชีพ หรือ Professional Liability Insurance) เองก็ไม่ควรจะเข้ามามีบทบาทในการกำหนดว่า Integrated Practice จะต้องดำเนินไปอย่างไรเช่นเดียวกัน ควรจะให้พวกเราทำในสิ่งที่พวกเราเห็นว่าเหมาะสม แล้วก็ให้เขาคิด เบี้ยประกันที่เป็นธรรมออกมา

เป็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ที่วันหนึ่งในอนาคต Computer 3D Model จะกลายมาเ็ป็น แบบก่อสร้างที่ต้องมีการเซ็นรับรองโดยผู้ออกแบบและกลายมาเป็นเอกสาร(Documents) ที่มีผลตามกฎหมาย แต่ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร ความใส่ใจที่มาจากลักษณะนิสัยการในประกอบวิชาีชีพของสถาปนิกเอง และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพกับลุกค้าก็จะเป็นองค์ประกอบที่่สำคัญที่สุดในการที่จะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งหรือการร้องเรียน (Claim) ต่างๆ ปัจจุบันยังเป็นการยากที่จะมีการออกกฎหมายมาเพื่อควบคุมการประกอบวิชาชีพในลักษณะของ Integrated Practice องค์กรที่รับผิดชอบเรื่องการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมอย่าง National Council of Architectural Registration Board กำลังจะทำรายงานออกมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ในปี 2008


Compensation

มีบริษัทออกแบบบางบริษัทได้เริ่มพิจารณาในการคิดราคาค่าบริการวิชาชีพที่แตกต่างไปจากเดิมในการให้บริการแบบ Intergrated Practice สิ่งหนึ่งที่อาจจะเปลี่ยนไปได้ โดยเฉพาะในยุคที่เราใช้ Building Information Modeling อย่างมาก ก็คือ การเปลี่ยนวิธีการเก็บเงินจากแบบที่เป็น Phase (Schematic Design, Design Development etc.) ไปเป็นแบบอื่น

James R. Brogan, AIA หัวหน้าฝ่าย IT จากบริษัท Kohn Pedersen and Fox ให้ความเห็นว่า Intergrated Practice จะทำให้ขั้นตอนที่เป็น Phase หายไป และจะมีผลโดยตรงต่อรูปแบบการเชียนสัญญาระหว่าง สถาปนิก-ที่ปรึุกษา-ลูกค้า ซึ่งก็หมายความว่า สัญญามาตรฐานจาก AIA ก็จะต้องถูกปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ คำสำคัญ (Term) ที่ใช้ในทางกฎหมายซึ่งสื่อความหมายของความสัมพันธ์ในการทำงานจะถูกปรับปรุงและตีความใหม่เกือบหมด นอกจากระบบที่น่าสนใจเช่่น Project-Alliance System ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่สหรัฐอเมริกา (ระบบที่มีการให้เงิน Bonus หรือ ค่าปรับ ตามคุณภาพของงานที่ได้รับ โดยรวม ซึ่งเป็นผลงานของทีมทั้งหมด) อาจจะถูกนำเข้ามาใช้

“Value เป็นสิ่งที่จะต้องถูกแสดงให้ เจ้าของหรือผู้ที่จะจ่ายค่าบริการวิชาชีพเข้าใจให้ได้” Scott Simpson ได้กล่าวไว้ “สถาปนิกจะต้องเรียนรู้ิวิธีการอธิบาย คุณค่า (อาจจะแปลว่ามูลค่าก็ได้ เพราะเป็นการเปรียบเทียบกับเงิน – ผู้แปล) ว่าเราทำอะไรให้กับลูกค้าบ้างที่คุ้มค่าเงินที่จะออกจากกระเป๋าของเขา ถ้าลูกค้าเขาใจและเห็นคุณค่า ลูกค้าจะยินดีมากที่จะจ่ายเงิน” การออกแบบที่มีประสิทฺธิภาพ และการประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสามารถทำให้ลูกค้าเห็น Value ดังกล่าว “การลดปริมาณของ Change Order (การเปลี่ยนแปลงแบบในระหว่างการก่อสร้าง) และการลดเวลาก่อสร้างโดยรวมลง เป็นสิ่งที่ลูกค้าจดจำได้และตระหนักถึงประสิทธิภาพที่เรามอบให้” แต่บางคนก็มองว่า การใ้ห้ Value ที่เพิ่มขึ้นตรงนี้ไม่ได้แปลว่าเราจะไปเก็บเงินลูกค้าเพิ่มขึ้นได้ในระยะยาว เพราะในจุดหนึ่ง Integrated Practice ที่เคยเป็นจุดที่ทำให้บางบริษัทมีประสิทธิภาพเหนือคู่แข่ง ก็จะกลายมาเป็นมาตรฐานปกติที่ทุกๆคนใช้กัน เหมือนกับ เทคโนโลยีอื่นๆ


Implication for Architectural Educationsผลกระทบต่อวงการศึกษาสถาปัตยกรรม


สถาบันการศึกษาสถาปัตยกรรมหลายๆ แห่งยังพยายามผลิตนักศึกษาที่เข้าใจว่าจะได้ออกมาทำงานเป็นวีรบุรุษหรือวีรสตรีเพื่อ****้โลกด้วยตัวเองเพียงคนเดียวอยู่ แน่นอนว่า Integrated Practice จะทำให้แนวความคิดดังกล่าวต้องถูกเปลี่ยนแปลงไป การศึกษาไม่เพียงแต่สอนเรื่องการออแบบหรือการก่อสร้างเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะต้องมองไปถึงการสอนเรื่อง ภาวะความเป็นผู้นำ (leadership) การสื่อสารกับคนนอกวิชาชีพ การทำงานร่วมกับคนที่ีมีมุมมองแตกต่างกับตนเอง การให้ความเคารพกับคนในวิชาชีพอื่นๆ เป็นต้น Renee Cheng, AIA อาจารย์แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Minnesota ได้กล่าวไว้ว่า “แน่นอนว่าเรื่องการออกแบบยังคงเป็นวิชาเอกที่ต้องศึกษาสำหรับเราต่อไป แต่วิชารองอันดับต้นๆ นั้น ปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก เราเห็นว่าทักษะที่สำคัญที่นักศึกษาจะต้องมีคือ ทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการเจรจาและการวางแผน หรือทักษะใดๆ ก็ตามที่จะทำให้นักศึกษาเหล่านี้ มีความสามารถในการประสานงานได้อย่างดีกับวิชาชีพอื่นๆ ที่อยู่ในวงการก่อสร้างเหมือนๆ กัน”


แน่นอนว่า คำถามต่อไป คือ จะเอาวิชาที่เกี่ยวกับทักษะใหม่ๆ เหล่านี้เข้าไปยัดใส่ตารางเวลาที่แน่นมากๆ อยู่แล้วสำหรับนักศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้อย่างไร อาจารย์ Cheng ก็เตือนไว้ว่า ถ้าจับวิชาเหล่านี้มาแทนที่วิชาการออกแบบจะทำให้เราเสียความเป็นตัวตนและทักษะหลักของเราไป เธอเสนอให้นำแนวความคิดของ BIM เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในวิชาหลายๆ วิชาแทนที่จะตั้งเป็นวิชาหลักต่างหาก การที่นักศึกษาเกิดความเข้าใจว่า BIM เป็นส่วนหนึ่งของการประกอบวิชาชีพที่สำคัญ ไม่ต่างกับเรื่องของการออกแบบที่แทรกสอดเข้าไปในทุกๆ วิชาของการเรียนสถาปัตยกรรมนั้น จะทำให้นักศึกษาไม่แยก BIM ออกไปเป็นชิ้นส่วนที่สามารถ โยนทิ้งไปได้เมื่อเรียนจบวิชา หรือเมื่อจบการศึกษา


ทุกวันนี้ Practice Academy ซึ่งเป็นองค์กรที่ ทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อทำการพัฒนาการศึกษาสถาปัตยกรรม ได้พยายามอย่างยิ่งในการที่จะเชื่อมโลกของการทำงาน (Practice World) เข้ากับโลกของการศึกษาสถาปัตยกรรม (Academic World) และได้จัดหาเงินทุกเพื่อให้สถาบันการศึกษาต่าๆ เข้ามารับเพื่อนำไปใช้ในการทดลองสร้างหลักสูตรที่ตอบโจทย์ดังกล่าว Boston Architectural College เป็นหนึ่งในสถาบันแรกๆ ที่รับทุนนี้ โดยพยายามสร้างหลักสูตรที่มีเนื้อหาของ Integrated Practice และ Building Information Modeling อย่างเต็มที่ โดยร่วมมือกับ บริษัทชั้นนำในท้องถิ่นหล่ายๆ แห่งที่ใช้ระบบเดียวกัน ซึ่งเป็นประโยชน์กับนักศึกษาเป็นอย่างมาก Bruce E. Blackmer, FAIA ประธานของ National Architectural Accrediting Board (NAAB) หรือ องค์กรรับรองสถาบันการศึกษาสถาปัตยกรรมของสหรัฐ ได้ยอมรับว่า แม้ว่าจะไม่มีความเกี่ยวข้องระหว่างสถาบันที่นำระบบ IP หรือ BIM เข้ามาอยู่ในหลักสูตร ว่าสถาบันนั้นจะมีโอกาสในการได้รับรองจากองค์กรมากขึ้นหรือไม่ แต่ก็เชื่อว่า ทักษะที่นักศึกษาได้รับนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตการประกอบวิชาชีพของนักศึกษาเป็นอย่างมาก และจะทำให้ผลงานออกแบบของนักศึกษาเหล่านี้มีคุณภาพมาก ในปี 2008 NAAB จะมีการประชุมว่า ควรจะนำหัวข้อของ BIM และ IP เข้ามามีส่วนร่วมในการรับรองสถาบันการศึกษาด้วยหรือไม่


And what about preliminary design?
การอภิปรายจะไม่มีทางสมบูรณ์ได้ถ้าเราเหล่าสถาปนิกไม่พูดถึงเรื่องที่เป็นเรื่องพื้นฐานที่สุดคือเีืรื่องของขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น เพื่อสร้างสรรค์พื้นที่ว่างเพื่อใช้ในการทำงาน การอยู่อาศัย และสันทนาการ การออกแบบในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สถาปนิกมีบทบาทมาก แทบจะเรียกได้ว่ามีอิทธิพลมาจากความเป็นตัวตนของสถาปนิกผู้ออกแบบคนนั้นๆ เป็นส่วนใหญ่ (Personal and Idiosyncratic) และจะเป็นกระบวนการที่ผ่านการใช้สื่อ แบบหยาบๆ เพื่อให้เห็นภาพ เช่น การใช้ปากกา กระดาษร่าง โปรแกรมสามมิติ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะไม่มีทางหายไปไหนในวงการออกแบบ

Geoffrey Adams ซึ่งเป็น อาจารย์ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่ง มหาวิทยาลัย New Mexico ได้ให้ความเห็นในเรื่องของความแตกต่างในการสร้าง ข้อมูลด้วยโครงสร้างที่คิดถึงการใช้สอยโดยไม่มีรายละเอียดของตัววัสดุและการก่อสร้าง (algorithmic computation) กับการสร้างข้อมูลด้วยการทำความรู้ที่ซับซ้อนจากรายละเอียดต่างๆ เข้ามาประกอบกัน (associative thinking) โดย Professor Adams เห็นว่า ระบบ Associative Thinking นั้น เป็นระบบที่มีซับซ้อนและหากต้องการเพิ่มองค์ประกอบของความเป็นศิลปะเข้าไปนั้น ระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันยังไม่สามารถไปถึงตรงนั้นได้ ยังคงต้องใช้มันสมองของมนุษย์ในการสร้างสรรค์ต่อไป แต่ก็ยอมรับว่า BIM เป็นระบบที่มีเสนห์ต่อวงการศึกษามากเช่นกัน แต่ก็อยากให้ใช้เป็นโครงการต่อโครงการไปก่อนในปัจจุบัน

ไม่มีเทคโนโลยีระดับไหนที่จะก้าวข้ามพลังแห่งการสร้างสรรค์ของมนุษย์ได้ แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญในวงการหลายๆ คนที่มีความกังวลในเรื่องการเสพติดคอมพิวเตอร์ของนักออกแบบยุคใหม่ เพราะทำให้เกิดความมักง่าย เวลาออกแบบก็จะออกแบบด้วยการทำโมเดลที่่โปรแกรมสร้างมาให้เป็นโครงร่างพื้นฐาน Earl Mark อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม แห่ง University of Virginia’s Department of Architecture ซึ่งเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์มาก่อน ได้ระบุปัญหานี้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญและจะขยายตัวออกไปมากขึ้น ปัญหาในฝั่งของนักออกแบบ Software เองก็คือ ถ้า Software ในอนาคตมีความซับซ้อนมากขึ้น ความมักง่ายตรงนี้มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นตามไปด้วย


After Integrated Practice, What’s Next? ผู้เชี่ยวชาญหลายๆคนที่ให้สัมภาษณ์ในบทความนี้เห็นตรงกันอยู่ประเด็นหนึ่งว่า BIM จะเป็นระบบที่ไม่สามารถถูกนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตราบใดที่ผู้รับเหมาก่อสร้างไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วยตั้งแต่ต้น รวมทั้งที่ปรึกษาทั้งหลายด้วย แต่การที่จะไปถึงจุดนั้นได้ ลูกค้าก็จะต้องมีความเชื่อมันต่อการทำงารของระบบ Design-Build (ทำกันมากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว เป็นอย่างน้อย ในประเทศญี่ปุ่น – ผู้แปล) มากกว่าระบบ Design-Bid-Build ที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมี ค่าใช้จ่ายต่อความผิดพลาดในการสื่อสารข้อมูลระหว่างบุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในการทำงานสูงกว่า แต่เจ้าของมีอำนาจในการควบคุมมากกว่า เป็นต้น
ในสภาพแวดล้อมของการทำงานในปัจจุบันนั้น ไม่เพียงแต่เราจะต้องทำงานให้ตรงเวลาและตรงตามงบประมาณ พร้อมกับรักษาคุณภาพอย่างเต็มที่เพียงเท่านั้น Integrated Practice จะไม่มีความหมายอะไรถ้าเราไม่สามารถนำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งภายใต้ การทำงานอย่างถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณของสถาปนิก ถ้าจะถามความหมายของคำว่า Integrated Practice แบบง่ายๆ แล้ว ก็อาจจะแปลได้ว่า “อัจฉริยะ” นั่นเอง

--จบ--