Thursday, June 15, 2006

ASA Internet Radio

จะเป็นไปได้มั้ยครับที่

สมาคมจะมีสถานีวิทยุ online ที่จะมาจัดรายการคุยกันเรื่องเกี่ยวกับวิชาชีพ ตั้งแต่เรื่อง trend เรื่อง ธุรกิจ เรื่อง ตลก เบาสมองในวงการใกล้เคียงกับเรา เรื่อง เกี่ยวกับ สาระต่างๆ ในต่างประเทศทุกๆ ประเทศ (สมาชิกของเรามีอยู่ทั่วโลก) โทรกันเข้ามา คุยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันสดๆ นอกจากนี้ยังเชิญ แขกพิเศษทั้งนอก และในวงการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิชาชีพของเรา เข้ามาคุยกันได้ แบบยาวๆ มีคนโทรเข้ามาถามคำถามได้ น่าจะเป็นรายการที่เป็นสาระเป็นส่วนใหญ่ มีเบาๆ สมองบ้าง แต่จะมีบันเทิงเป็นส่วนน้อย (จะไม่มีเลยก็คงไม่ได้ เพราะเราเป็นพวก สุนทรีย์ และสถาปัตยกรรมก็เกี่ยวข้องกับหลายๆ มุมในชีวิตธรรมดาทั่วๆ ไป (Lifestyle) เป็นอย่างมาก) ในด้านวิชาการ ก็จะเป็นที่ๆ ให้เด็กที่เรียนสถาปัตยกรรมทั่วประเทศไทย ส่งคำถามเข้ามาถามได้ จะมีผู้เชี่ยวชาญมาตอบ จะเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้เท่ากันมากขึ้น ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ไหน อาจจะมีการจัดประกวดแบบย่อย โดยสถานีวิทยุก็ได้

ผมว่าคนที่สนใจน่าจะมาคุยกัน ทีมที่น่าจะมาช่วยกันได้ ก็มีหลายๆ คน ท่านที่เป็นอาจารย์ พิเศษต่างๆ ที่ชอบสอนหนังสือ แต่อาจจะไม่มีเวลาเดินทางก็น่าจะใช้ Channel นี้ได้ เช่นพี่ยอดเยี่ยมก็จะได้คุยเรื่อง FTA อาจารย์เกชา ก็มาสอนเรื่อง งานระบบอาคารที่สถาปนิกควรรู้ อาจารย์อ๊อตโต้ สอนเรื่องวัสดุและเรื่องการก่อสร้าง

เวลาจะสอบ กส ก็เอาปรมาจารย์ มานั่งติวกันทาง วิทยุได้ และท่านที่อยู่ใน กระทู้ “รสนิยมสถาปนิก” ท่านเหล่านี้มีมุมมองเรื่อง Life Style ที่น่าสนใจมาก ส่วนผมเองก็ Contribute เรื่อง Trend และ เนื้อหาจากต่างประเทศได้ หรือถ้าจะแปลงานเขียนที่น่าสนใจก็จะได้อ่านแล้วพูดไปเลย จะเร็วกว่ามากที่จะเขียนแปล เป็นเดือน กว่าจะเสร็จ เพื่อนผมที่ทำงานในประเทศจีนบางคนก็อาจจะนำมุมมอง เรื่องความเป็นไปได้ของตลาดของการออกแบบในประเทศจีน น่าจะมานั่งคุยกัน รับรองได้ว่ามีเรื่องคุยกันไม่จบไม่สิ้นแน่ๆ

ใครมี Idea อะไรลองมา Brain Storm กันหน่อยสิครับ เผือจะเอาไปเสนอ สมาคมให้เป็นโครงการจริงได้

เท่าที่ผมดูคือ เทคโนโลยีมันไม่น่าแพงมาก การลงทุนที่ต้องใช้ กับประโยชน์ที่น่าจะได้มันมหาศาล แต่แน่นอน ว่าเราต้องมีกรอบนโยบายชัดเจน มีคณะกรรรมการควบคุมการใช้ และไม่อยากให้มี Sponsor อะไรทั้งสิ้น เพราะเกิดฟลุ้ค มีสถาปนิกฟังมากขึ้นมาก็จะมี access เข้ามามหาศาล กรรมการก็จะถูก approach เป็นที่ครหาอีก (มีเงินที่ไหนมีข่าวอื้อฉาวที่นั่น) หรือถ้าจำเป็นต้องมีจริงๆ ก็ต้องมีกฏกติกาการคัดเลือกที่เป็นธรรมมากๆ และทุกอย่างต้องเปิดเผยให้กับสมาชิก ถ้าจะระดมสมองในที่นี้ ลองคิดตารางเวลาเป็น หนึ่งอาทิตย์ อาทิตย์ละสี่ชั่วโมง รายการ ห้าโมง ถึง สามทุ่มดูก่อนดีมั้ยครับ คือที่ออกแนวนี้เพราะไม่อยากให้รบกวนเวลาทำงาน หรือบางท่านอาจจะคิดอีกอย่างว่า ทำงานสิดี จะได้มีวิชาการ เข้าทางกัน เวลา หลังเลิกงานจะเอาไว้บันเทิงกับดูข่าว ดูละคร ก็ตามใจนะครับ ลองมาคุยกันดู รายการที่ผมนึกออกตอนนี้ ก็น่าจะมีได้ประมาณนี้ นี่คิดเล่นๆ นะครับ

1. รายการ Architect and the Gang ตั้งชื่อเล่น มาสนทนาเรื่องปัญหาการทำงานกับ คนอื่นๆ เช่น Consult ทั้งวิศวกร Interior และการทำงานกับผู้รับเหมา การทำงานกับ เจ้าหน้าที่รัฐ

2. รายการ Going Global พูดถึงการไปหา project บุกตลาดต่างประเทศ มีตลาดที่ไหนบ้าง จีน อินเดีย เขมร ยุโรป อเมริกา พูดเรื่อง FTA เรื่องกฎการค้าต่างๆ ที่เราควรรู้

3. รายการ "ก้าวแรกสู่สถาปัตย์" อันนี้มุ่งสู่ผู้ฟังที่เป็นเด็ก อยากเรียนสถาปัตย์ โดยเฉพาะ

4. รายการ "สายตรงจาก......." อันนี้ ใครที่อยู่ต่างประเทศ มีอะไรจะ share ก็เข้ามาเล่นกันเลย ผมอยู่อเมริกา ใครอยู่อังกฤษ ใครอยู่ Singapore มา Share ความคิดกัน

5. รายการ "ข่าวสถาปัตย" ประกวดแบบที่ไหน มีอะไรออก มีอะไรสร้างเสร็จ

6. รายการ "Life Style" พวกเราเป็นพวกรสนิยมสูงรายได้ต่ำ ก็คือต้องหาอะไรถูกๆ มาทำให้ดูดีๆ จะทำยังไง รายการนี้น่าจะมุ่งไปตรงนั้น

7. รายการ ปูชนียบุคคล - พี่ยอดเยี่ยมเคยบอกว่า เด็กสมัยใหม่รู้ Know how เยอะ แต่ Know who น้อยมาก การที่เราจะเชิญผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการ เล่าให้ฟังถึงการพัฒนาสถาปัตยกรรมในอดีต มาจนถึงปัจจุบันก็เท่ากับเป็นการเรียสถาปัตยกรรมแบบ post modern กลายๆ เลย

8 รายการ Young blood อันนี้ เป็นพื้นที่ของนิสิต นักศึกษาสถาปัตย์ เชิญ เด็กที่ชนะ ประกวดแบบ อะไรที่ไหน รุ่นใหม่ๆ ที่อยากแจ้งเกิด มาออก หรือจะเป็นกิจกรรมคณะก็ได้

9. รายการหมอบ้าน " คราวนี้ Convert มาไว้ช่องนี้เลย" มุงไปที่ประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ต้องรองานอาษาแล้ว มาที่นี่เลย จะได้ทำให้ อาจารย์เชี่ยวตกงานได้ซะที

10. รายการ "Knowledge 360" ความรู้ ทางสังคมที่ไม่เกี่ยวกับสถาปนิกโดยตรง แต่ศาสตร์ของเรากว้างมาก น่าจะเป้นรายการเบ็คเตล็ด เชิญบุคคลสำคัญในประเทศมาออก ให้ความรู้ในสาขาอื่นๆ ที่กว้างขวางมากขึ้น เช่น ทนายความ แพทย์ ครู และอื่นๆ

11. รายการ Computer Tech อันนี้ให้ คุณ K9 ไปเลย แต่ช่วนหาคนแปลไทยเป็นไทยมาทำรายการร่วมด้วย

12. รายการที่น่าจะสำคัญที่สุด "Financial Architect" สอนสถาปนิกเรื่องการเงิน การจัดการธุรกิจ การบริหาร การตลาด น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับ Freelance และคนที่อยากจะเปิด office เอง

13. "สถาปนิกช่วยสถาปนิก" ให้เป็นที่ระบายอารมณ์ คุยเรื่องอะไรก็ได้ กลุ้มใจอะไร เรื่องอะไร การงาน ชีวิตส่วนตัว มาแก้ปัญหากัน หรืออะไรแนวนี้ อันนี้คิดเล่นๆ นะครับ อย่างที่เห็นว่า คงต้องใช้กำลังคนมหาศาล และรายการน่าจะเป็น อาทิตย์ละครั้ง หรือาทิตย์เว้นอาทิตย์ งบประมาณก็คง ต้องมาจากสมาคม อันนี้ หลายท่านอาจจะบอกว่า เออ งั้นก็คงต้องมี sponser แน่ๆ ก็ ต้องลองมาดูความเป็นไปได้กันครับ

บทความแปล: "Warchitecture" by Rem Koolhaas

แปลจาก International Institute of Asian Studies Newsletter ฉบับที่ 39 – ธันวาคม ปี 2005
(คำนำโดย บรรณาธิการ)

ใน การประชุม ของ International Institute of Asian Studies (IIAS) ที่ประเทศ Netherlands การบรรยายหลักของคน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนนั้น เป็นของ Rem Koolhaas สถาปนิกชาวดัชท์ ที่มีชือเสียงระดับโลก เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย Harvard เป็น ผู้ก่อตั้งสำนักงาน Office of Metropolitan Architecture (OMA) และ AMO (ไม่แน่ใจว่าย่อมาจาก Architecture Media Organization หรือเปล่า – ใครทราบช่วย Confirm ด้วยครับ – ดร.พร) ซึ่งทั้งสองเป็น เหมือนกับ สมองกล หรือที่มาของ idea อันบรรเจิดมากมาย โครงการที่ Rem Koolhaas ออกแบบตัวอย่างเช่น Kunsthal แห่งเมือง Rotterdam, Guggenheim Museum แห่งเมือง Las Vegas สหรัฐอเมริกา, Prada Boutique แห่ง Soho ณ กรุงนิวยอร์ค, Casa a Musica แห่ง Porto ประเทศ โปรตุเกส, Seattle Public Library ที่เมือง Seattle สหรัฐอเมริกา และ แน่นอน สำนักงานใหญ่ สถานีโทรทัศน์ CCTV แห่ง กรุงปักกิ่ง งานเขียนของเขาก็มีตั้งแต่ Delirious New York, a retroactive manifesto (1978) จนถึง S,M,L,XL ที่หน้าถึง 1500 หน้า (1995), Great Leap Forward (2002) และ Harvard Design School Guide to Shopping (2002) และล่าสุดคือ Content (2005) โดย ใน Newsletter ฉบับนี้ เราได้พยายามค้นหาว่า ทำไม Rem Koolhaas ในหนังสือเล่มล่าสุด ถึงได้พยายามพาพวกเราไปค้าหาโลกตะัวันออก (ใช้คำว่า Go East – ดร.พร) ทำไมเขาจึงมีความประทับใจมาจนชั่วชีวิตกับเมืองในเอเชีย ทำไมเลือดของเขาถึงได้สูบฉีดเวลาที่พูดถึงโลกตะวันออก ทำไม OMA ถึงได้พัฒนาความสนใจและมาตรฐานในการที่จะอนุรักษ์เมืองเก่าในกรุงปักกิ่งเอาไว้ และสิ่งที่อาจจะสำคัญที่สุด ทำไมเขาจึงมีแนวคิดที่ว่าสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อกับความเป็นอุดมคติได้

Rem Koolhaas ที่อ้างตัวว่าเป็น นักสืบสมัครเล่น ได้นำเสนอเนื้อหาของความเปลี่ยนแปลงของ เมืองใน เอเชีย นับตั้งแต่ปี 1930s มาจนถึงปัจจุบัน ทำการวิเคราะห์เรื่องของการเมืองระดับย่อย และผลกระทบของรูปแบบการเมืองเหล่านั้นต่อสภาพแวดล้อมของเมือง โดย Rem ได้ทำการปาฐกถาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ผ่านทางมิติของลัทธิ ฟาซิสม์ ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ และทุนนิยม ซึ่งทั่งสี่เป็น สุดยอดของ แนวความคิดที่เป็นอุดมคติ ที่ได้รับการยอมรับในเอเชียตะวันออก ในช่วง 75 ปี ที่ผ่านมา แต่ Rem ได้ระบุไว้อย่างหนักแน่นว่า ไม่ว่าจะเป็นระบบไหนก็ตาม สิ่งที่ออกมาก็ล้วนเป็น “เผด็จการ” ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเ้ป็นเผด็จการซ่อนเร้น หรือเปิดเผย ก็ล้วนเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่แท้จริงของความเจริญก้าวหน้าของเอเชียตะวันออกเท่านั้น

จากการศึกษา Rem Koolhaas จะได้ทำการแสดงในสอง กรณีศึกษาหลัก ได้แก่ กรณีของ จีน และ กรณีของ ญี่ปุ่น ว่ารัฐบาลของทั้งสองประเทศ ได้ทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบเืมืองไปได้อย่างไร (ใช้คำว่า Reform) แต่ไม่ว่าความเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปในทิศทางไหน แนวคิดที่ฝังรากลึกในสังคมนั้นๆ ก็จะยังไม่ได้เลือนหายไปจากระบบการใช้ชีวิตและการปกครองโดยรวม เช่น ประชาธิปไตยของญี่ปุ่น เป็นสิ่งที่มีพัฒนาการและมีผลกระทบ (Influences) มาจากการปกครองแบบ ฟาสซิสม์ ที่มีมาก่อนสมัยสงครามโลก เป็นเวลานาน และทุนนิยมที่เป็นอยู่ในประเทศจีน ก็เป็นสิ่งที่มีพัฒนาการและมีผลกระทบ (Influences) มาจากการปกครองแบบ คอมมิวนิสต์ อาจจะออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่มีจุดประสงค์เหมือนกันในเชิงของการพยายามที่จะแก้ปัญหาของสังคมที่เป็นอยู่ ณ ช่วงเวลานั้น แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ อาณาจักรทั้งสองนี้ เป็นมหาอาณาจักรที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเมืองในประเทศทุกๆ ประเทศในเอเชียตะวันออกอย่างใหญ่หลวง (รายละเอียดเพิ่มเติมในช่วงของ Timeline ก็คือ ญี่ปุ่น ก็กลายสภาพจาก ฟาสซิสม์ มาเป็นประชาธิปไตย โดยการผลัีกดันของ สหรัฐอเมริกา ส่วน จีน ก็กลายสภาพจาก ทุนนิยมประชาธิปไตย (สมัยเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้) มาเป็น คอมมิวนิสต์ ผ่านการผลักดันโดย สหภาพโซเวียต– แต่ก็มีลักษณะการบริหารประเทศและเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ใต้การเมือง คอมมิวนิสต์ แบบปัจจุบัน - การเปลี่ยนแปลงทั้งสองเกิดขึ้นในช่วงเดียวกันคือ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง– ดร.พร)

Koolhas เริ่มต้นการพูดด้วยการบรรยายถึงชีวิตในวัยเด็กของเขา เมื่อตอนที่เขาอายุแปดขวบ ครอบครัวของเขาได้ย้ายเข้าไปอยู่ที่เมือง จาการ์ตา ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในเมืองที่มีโครงสร้างที่เรียกว่า Kampongs เป็นรูปแบบที่หาได้ทั่วๆ ไปในประเทศอินโดนีเซีย ที่เมืองจาการ์ตานั้น มี Kampongs ที่หนาแน่นที่สุด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือเขารู้สึกได้ว่า บ้านเมืองในอินโดนีเซียสมัยนั้นมีความเป็น Modern มากกว่า Holland ที่เขาจากมา และสิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดที่เขาจำได้อย่างหนึ่งก็คือ คนอินโดนีเซียคิดถึงชาวญี่ปุ่นในครั้งนั้น(อย่างน้อยก็ในช่วงที่ญั่ปุ่นบุกเขามาตอนแรก)ว่า เป็นผู้มาปลดปล่อยพวกเขา

คนญี่ปุ่นได้เข้ามาปกครอง และพยายามที่จะสร้างระบบการขนส่ง ที่เรียกว่า Lebensraum ขึ้นมา ซึ่งเหมือนกับที่ คนเยอรมันมี Autobahns โดยสถาปนิกและวิศวกรญี่ปุ่นได้ทำการปรับเปลี่ยรูปแบบเมืองใหม่หมดในดินแดนยึดครอง มีการสร้างถนนใหม่และทางรถไฟ เพื่อทำการเชื่อมต่อเขตที่สร้างใหม่กับเขตเมืองเก่า เราอาจจะมองได้ว่า นี่เป็นเหมือนอาชญากรรมที่คนต่างชาติเข้ามายึดครองแผ่นดินแล้วสร้างอะไรตามใจชอบ แต่นี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่ สถาปัตยกรรมถูกนำมาใช้ในการประกอบอาชญากรรม มาผสมกันจนแยกไม่ออก ลัทธิฟาสซิสม์ของญี่ปุ่นนั้น เป็นเหมือนคลื่นลูกที่สองของการเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมในเอเชีย หลังจากยุคล่าอาณานิคมของยุโรป การขยายตัวของจักรวรรดิญีุ่ปุ่นนั้น อย่างน้อยในทางทฤษฎี็ก็เป็นที่เชื่อถือว่า เป็นการพัฒนามาจากการวางผังแบบใหม่ ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ เปิดโอกาสให้เกิดการพัฒนาทางการออกแบบสถาปัตยกรรมให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และจุดนี้ Koolhaas ได้มาถึงประเด็นสำคัญที่ว่า “สงครามเป็นสิ่งที่เจ็บปวด แต่เป็นสิ่งที่เป็นผลบวกต่อวงการสถาปัตยกรรม เป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยรวมเท่าใด เป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากความเป็นเผด็จการ (ใช้คำว่า Autocratic) ไม่ได้เคารพสิทธิมนุษยชน โดยที่สถาปนิกได้รับอำนาจอย่างมหาศาลมาจากผู้มีอำนาจเพียงแหล่งเดียว

ประเด็นนี้ได้รับการกล่าวไว้ใน หนังสือชื่อ Delirious New York ในปี 1978 โดย Koolhaas บอกว่า “The Grid” ซึ่งเป็น การวางผังเมืองให้ถนนตัดเป็นตาราง ของ ถนนตั้ง 13 เส้น (Avenues) และ ถนนขวาง 156 เส้น (Streets) เป็นสิ่งที่ทำให้เกาะแมนฮัตตัน (Manhattan) มีลักษณะพิเศษอย่างมาก (สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่เคยไป Manhattan ก็อยากจะอธิบายสั้นๆว่า เกาะ Manhattan เป็นส่วนหนึ่งของเมืองชื่อ New York City ที่หลายๆ ท่านอาจจะได้ดูในหนัง Hollywood เป็นเกาะที่เล็กมาก แต่ถูกใช้ประโยชน์ทุกตารางนี้ว และทางใต้ของเกาะที่เป็นบริเวณที่เรียกว่า downtown นั้นก็คือ ที่ตั้งของ World Trade Center ที่ถูกทำลายไปแล้วนั่นเอง-ดร.พร) Koolhaas บอกว่า Grid บนเกาะ Manhattan นี้ เป็นสิ่งที่เป็น การวางแผนที่กล้าหาญที่สุด (most courageous act) ในโลกตะวันตก แต่ก็ไม่ใช่เป็นการกระทำที่ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของประชากร แต่เป็นการกระทำตามใจของผู้ปกครอง (จริงอยู่ว่า สหรัฐอเมริกามีเป็นประชาธิปไตยมาตลอด แต่โดยการปฎิบัติแล้ว ในยุคโบราณ ผู้ปกครองก็ทำอะไรตามใจตัวเองโดยไม่ฟังเสียงประชาชนเหมือนกัน – ดร.พร) แต่ผลที่ออกมาก็เป็นสิ่งที่ดี

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ Koolhaas ให้ก็คือ Rotterdam ในประเทศ Holland ที่จะไม่มีทางเป็นเมืองที่เป็นแนวหน้าทางสถาปัตยกรรมของประเทศและของโลกได้เลย ถ้าไม่ถูกนาซีเยอรมัน ถล่มเสียราบคาบในปี 1940 เราคงไม่มีทางปฎิเสธได้ว่า อาณาจักรของการล่าอาณานิคม ไม่ว่าจะยุคสมัยใดนั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง เด็ดขาด เป็นอย่างมากในเชิงสถาปัตยกรรมและผังเมือง

กลับมามองที่ การล่าอาณานิคมของญี่ปุ่น เราก็เห็นชัดว่ามีกลุ่มสถาปนิกรุ่นเยาว์ที่ได้ประโยชน์จากการที่มีพื้นที่ใหม่เปิดให้ หนึ่งในสถาปนิกรุ่นเยาว์กลุ่มนั้นก้คือ Mr.Kenzo Tange ซึ่งต่อมาเป็นบิดาของ Metabolist Movement ในญี่ปุ่น (จะกล่าวขยายความต่อไป) เป็นกลุ่มสถาปนิกรุ่นใหม่ไฟแรงในเวลาต่อมา ในช่วงหลังสงคราม รัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยในญี่ปุ่น ก็จะมีระบบการตัดสินงานประกวดแบบโดยใช้กรรมการที่ลำเอียงสุดขั้ว Koolhaas บอกว่า Kenzo Tange นั้นเป็น “The True Manchurian Candidate” (หลายๆ ท่านอาจจะเคยได้ชมภาพยนต์ ชื่อนี้เมื่อสองปีที่แล้ว นำแสดงโดย Denzel Washington แต่ความหมายของๆคำๆนี้ คือ บุคคลที่ผ่านการล้างสมองอย่างเป็นระบบจนทำให้เกิดเป็นลักษณะของ อีกหนึ่งบุคลิกภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวคนๆนี้ และจะถูกนำออกมาเมื่อถึงเวลาที่ผู้ควบคุมที่ทำการล้างสมองนั้น ต้องการ – ดร.พร) Kenzo Tange เ็ป็นคนที่ยอมรับระบบ Corruption อันใหม่นี้ และทำร่วมมือร่วมใจกับ รัฐบาลใหม่ที่แตกต่างจากรัฐบาลเผด็จการในอดีตในเรื่องของระบบวิธีการได้ และทำให้ญี่ปุ่นได้ทำการประกาศตัวเองเป็นผู้นำในโลกของสถาปัตยกรรมของโลกได้ โดยตัวเขาเองได้รับการสนับสนุนอย่างสุดชีวิตโดยรัฐบาลกลางและนักเขียนหลายๆ คน และทำให้กลุ่ม Metabolist ได้รับการกล่าวขวัญเป็นอย่างมากในปี 1960 ที่ World Design Conference และไปถึงจุดสุดยอดในปี 1970 World Fair ที่ญีั่ปุ่น โดยได้รับการสนับสนุนของ Sony และบริษัทยักษ์ใหญ่อื่นๆ และงานในครั้งนั้น ทุกอณูในเชิงสถาปัตยกรรมก็รายล้อมรอบอยู่กับ Superstar ชื่อ Kenzo Tange เพียงคนเดียว

หลังจากที่ได้เข้าสู่อำนาจในการปกครองประเทศ พรรคคอมมิวนิสต์ของจีนได้ทำการวางผังเมืองและสร้างเมืองออกมาในรูปแบบที่เหมือนกับ สหภาพโซเวียต สมุดปกแดงของ เหมาเจ๋อตง มีภาพหมู่บ้านที่อยู่ในป่าอันอุดมสมบูรณ์และมีปล่องไฟ ซึ่งปัจจุบันเป็นภาพที่เห็นได้ทั่วไปทั้งประเทศตามบ้านนอก สถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเด็ดขาด รุนแรงตามสไตล์ของลัทธิคอมมิวนิสต์นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนประเทศฝั่งซ้ายทั่วไป แต่ยุคที่เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจริงๆ คือ จีนภายใต้การนำของเติ้งเสี่ยวผิง “to get rich is glorious” หรือ จะแปลง่ายๆ เป็นไทยว่า ยิ่งรวยยิ่งดี และนั่นก็เป็นคติพจน์ ที่มาจากผู้นำสูงสุด และผลที่ออกมาในตัวภาพพจน์ของเมืองก็คือ การวางผังอย่างรวดเร็ว การก่อสร้างอย่างรวดเร็วมากซึ่งปัจจุบันเราแทบจะไม่ได้เห็นภาพเก่าๆ จากหนังสือของประธานเหมาอีกแล้ว

Koolhaas ได้ทำการศึกษา โครงการ Pearl River Delta ซึ่งเป็น(เขตเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมพิเศษ ของประเทศจีนที่ทำขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตในฝั่งจีน และ back up ทางการเงินจากเงินลงทุนจากต่างชาติซึ่งผ่านมาทางฮ่องกง – ดร.พร) ห้าเมือง รวมกับเมืองของฮ่องกง และหมาเ๊ก๊า ซึงปัจจุบัน เมืองทั้งสามประชากร 20 ล้านคน แต่ในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า อาจจะมีเพิ่มเป็น 36 ล้านคน หรือ 40 ล้านคนในอนาคต ซึ่งจะเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นใน Pearl River Delta นั้น Koolhaas บอกว่าเป็นสิ่งที่ ไม่ได้ต่างกับที่เกิดขึ้นในแมนจูเรียเมื่อ 65 ปีที่แล้ว ซึ่งในแมนจูเรียนั้น พื้นที่ถูกกวาดอย่างเรียบวุด โดยไม่สนว่าใครอยู่ตรงนั้น พิ้นที่ธรรมชาติถูกปรับใหม่อย่างเด็ดขาด ไม่ฟังเสียงใคร มีการสร้างถนน ทางด่วน ทางรถไฟ การจัดแบ่งผังเป็นไปในระบบของพรรคคอมมิวนิสต์ การจัดการกับเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวนี้ จริงๆแล้วถ้ามองอีกด้านก็เป็นการพัฒนาอีกขั้นหนึ่งของวิสัยทัศน์ประธานเหมานั่นเอง สิ่งที่แตกต่างกันก็คือปัจจุบันการพัฒนานั้นนำมาซึ่งเงินตราให้กับสมาชิกของพรรคและเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งในสมัยก่อนเป็นสิ่งที่ขาด และเงินเหล่านั้นก็ถูกนำมาใช้ซื้อเครื่องมือที่ก้าวหน้าในทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำในสิ่งที่ขวานและเคียวไม่มีทางทำได้ (ขวานและเคียวคือเครื่องหมายของลิทธิคอมมิวนิสต์)

JAPANESE MODERNITY: METABOLISM

เคนโซ ตังเงะ (1913-2005) เป็นคนที่ไม่ชอบทั้งการที่จะกลับไปสู่วัฒนธรรมดังเกิม แต่ก็ไม่อยากที่จะทำตัวเหมือน International Modern เขาพยายามที่จะหาหนทางใหม่ Kenzo Tange เป็นคนที่มาเป็นแรงบัลดาลใจให้กับ สถาปนิกรุ่นต่อมาเช่น Noriaki Kurokawa และ Tadeo Ando โดยวิธีของ Tange คือการ ใช้สัญลักษณ์ใน สถาปัตยกรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น มาทำการประกอบกันด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ การก้าวกระโดดไปสู่สถาปัตยกรรม modern แนวใหม่ที่เป็นเอกลักษณฺ์เฉพาะตัวของญี่ปุ่นเอง โครงการที่เป็นที่กล่าวขวัญมากที่สุดโครงการหนึ่ง ได้แก่ Tokyo Bay Area เป็นโครงการที่แสดงให้เห็นว่าคนเอเชียสามารถที่จะแซงหน้าสิ่งที่ชาวตะวันตกเชื่อว่าเป็นความสำเร็จสูงสุดของเขาได้ เพราะตัวอย่างที่อลังการสูงสุดในโลกตะวันตกในขณะนั้นคือ New York City ซึ่งเป็นการสร้างบนเกาะมีการรุกเข้าไปในน้ำทะลบ้าง แต่สำหรับโครงการของ Kenzo Tange นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นการ Taming the water (แปลตรงๆว่าทำให้ ผิว“น้ำ”ทะเล ที่เหมือนสัตว์ป่า มาทำให้เชื่อง กลายเป็นสัตว์เลี้ยงได้ – ดร.พร) ซึ่งปัจจุบันโครงการที่จะเปรียบเทียบกันได้ก็คือ โครงการภายใต้วิสัยทัศน์ของประธานาธิบดี ลี กวน ยู เท่านั้นที่จะเข้าใกล้ Metabolism ได้เท่านั้น ซึ่งก็แน่นอนว่า เป็นการปกครองแบบเผด็จการ ภายใต้กฎเหล็กเช่นกันสำหรับประเทศสิงคโปร์

(ขอขยายความเรื่อง Tokyo Bay Project หน่อยนะครับ สำหรับ โครงการนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานของลัทธิ Metabolism อย่างสูงสุดเพราะเป็นเรื่องของ “เมือง” โครงการนี้มีการสร้างถนนเป็นโครงข่ายเหมือน กิ่งก้านของต้นไม้ เป็น Freeform และก็จะเป็น Form หลักที่จะ Copy ต่อๆ กันไปเป็น Unit ที่มีการเชื่อมโยงกัน กลายเป็นป่า แต่การออกแบบให้เป้นลักษณะนี้ก็มีปัญหาตามมาหมือนกันเพราะว่า ความต้องการที่จะให้มีความ Complex และมี Character พิเศษในทุกๆ มุมมอง เหมือนกับสิ่งมีชีวิต (ต้องไปดูงานของ Michael Sorkin) แ่ต่ก็ ต้องอยู่ภายใต้กฎของความเรียบง่ายเรื่องงานระบบ เรื่องการจราจร และเรื่อง Hierarchy ของพื้นที่ ตามหลักการออกแบบเืมือง แต่ก็ได้รับการกล่าวชมเชยโดยนักทฤษฎีผังเมืองชื่อดัง Christopher Alexander เมื่อปี 1965 ใน เอกสารชื่อ “A City is not a tree” ซึ่ง Alexander ได้บอกว่า แม้ว่าจะดูซับซ้อนแต่ก็มีหลักการดำเนินงานที่ตรงไปตรงมา แต่ก็วิจารณ์่ว่า Kenzo Tange ไมได้คำนึงถึงเรื่องการเจริญเติบโตมากเท่าที่ควร หลายๆ คนก็เอางานของ Tange เรื่อง เมืองทีมี Form มาจาก ต้นไม้ หรือสิ่งมีชีวิต มาพัฒนาต่อ หนึ่งในนั้นคือ Arata Isosaki อันนี้มาเป็นต้นไม้จริงๆ เลย)

CHINESE MODERNITY?

สำหรับกรณีของจีนนั้นแตกต่างออกไป โดยในการประชุมครั้งที่ Koolhaas เข้าร่วมนี้ สถาปนิกและนักวิจารณ์ชื่อดังของจีน Zheng Shiling ได้กล่าวว่า ในขณะที่ญี่ปุ่นได้มุ่งไปสู่สถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ที่เป็นของตัวเอง การเจริญเติบโตอย่างมหาศาลของอุตสาหกรรมก่อสร้างในจีน ไม่ได้ทำให้เกิดสถาปัตยกรรมจีนแบบใหม่แต่อย่างใด จะเห็นได้ชัดจากตัวอย่างของ โอลิมปิคในปี 2008 ที่จะจัดที่ประเทศจีน นั้น สถาปนิกจากทั่วโลก เช่น Norman Foster, PTW, Herzon & de Meuron ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบ แต่ไม่มีสถาปนิกชั้นนำของจีนเข้ามาร่วมเป็นแถวหน้าแต่อย่างใด มีแต่มาเ็ป็นสถาปนิกร่วม (Architect of record) ซึ่งก็หาเหตุผลได้ยากว่าเป็นเพราะอะไร บางคนบอกว่าสถาปนิกจีนเน้นเรื่องปริมาณมากกว่าคุณภาพ แต่เหตุผลที่แท้จริงน่าจะเป็นเพราะว่า รัฐบาลของจีนมีความตั้งใจอย่างมากที่จะให้จีนยืนเด่นบนแผนที่โลก และการที่จะให้โลกได้ยอมรับ ก็คือการที่จะต้องมีสถาปนิกนานาชาติมาร่วมออกแบบในโครงการนี้ ซึ่ง Zheng ก็ยอมรับอย่างเศร้าใจ

CCTV = BIGNESS = REMOLOGY

งานชิ้นโบว์แดงของ สำนักงาน OMA ของ Rem Koolhaas นั้น ได้แก่ อาคารสำนักงาน CCTV (China Central Television) หรือ โทรทัศน์กลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเป็นอาคารสูง 230 เมตร มีพื้นที่อาคารประมาณ 360,000 ตารางเมตร เป็นสถาณีที่ใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลที่สุดในประเทศจีน (มีตั้งแต่รายการที่มีเนื้อหาของรัฐบาล ข่าว และการให้การศึกษาอื่นๆ มีบันเทิง รวมทั้งหมดมี 16 ช่อง รวมทั้งที่เป็นภาษาอังกฤษ ภาษาสเปญและภาษาฝรั่งเศส – ใครอยากดูอาคารหลังนี้ลองหาดูใน Internet นะครับ) อาคารหลังนี้เป็น การประกอบกันของรูปทรงที่แรงมากที่เป็น volume ยาว ทั้งทางตั้งและทางนอน เป็นโครงการที่ตั้งอยูี่่ในเขตเมืองที่มีอาคารสูงปนอยู่แล้ว ไม่ใช่ไปตั้งอยู่กลางทุ่งโล่ง เป็นแท่งสูงเสียดฟ้า รูปทรงที่ออกมา Koolhaas ไ้ด้บอกว่า ต้องการที่จะเปลี่ยนความรู้สึกของอาคารสูงที่ส่วนใหญ่ต้องการไปสู่ฟ้า แต่อาคารหลังนี้ให้เหมือนกันหันมาคุ้มครองคนบนพื้นดินบ้าง อันเป็นปรัชญาของโลกตะวันออกอย่างหนึ่ง

ในหนังสือ S,M,L,XL นั้น Koolhaas ได้อธิบายเรื่องเกี่ยวกับ คำว่า “ultimate architecture” อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้สถาปัตยกรรมไปสู่จุดที่เรียกว่าเป็นสิ่งที่ให้ความรู้กับคนในสังคม Koolhaas ได้ให้คำหลักๆว่า “Bigness” โดยเริ่มต้นตั้งแต่ เกือบร้อยปีก่อน ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการปฎิวัติของวงการศิลปะ ที่เรียกว่า “Modernist Revolution” ซึ่งในช่วงนั้นก็มี Picasso, Marinetti และ Joyce ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเน้นรูปทรงบางประการและการสื่อความหมายที่่ลึกซึ่งมากขึ้น เป็น abstract และ symbol มากขึ้น Picasso เน้นเรื่องการวาดภาพแบบ สองมิติที่มีการเหลื่อมกันระหว่าง เส้นสายและสี Joyce เน้นไปในด้านงานเขียนโดยการมุ่งโจมตีหลักการการใช้ภาษาเก่าๆ มีการปรับเปลี่ยน ภาษา สัญลักษณ์ และ งานพิมพ์ Marinetti ซึ่งเรียกว่าเป็นผู้นำของ Italian Futurists ทำการปฎิวัติวงการโดย เน้นเรื่อง การสร้างการเคลื่อนไหว และความรู้สึกของความเร็ว ลงไปใน Form ที่หยุดนิ่ง
ด้วยการ Contribute (แปลเป็นไทยได้ไม่ตรงครับ คำนี้) ต่อสังคมของ Mies van der Rohe, Gropius และ Frank Lloyd Wright สถาปัตยกรรม ได้เข้าสู่ยุคของการทดลองหรือ Experiment ซึ่งเป็นยุคที่ Koolhaas ได้จับแยกออกมาเป็น ห้าส่วน; โดยเป็นการค้นหา 1) ในเรื่องการขยายส่วนในการทำซ้ำ (Multiplicity) 2) เรื่องของตัวรูปด้าน (Elevation) 3) ลักษณะของรูปด้าน (Façade) 4) การแยกส่วนของพื้นที่เมือง (Disintegration of Urban Tissue) และ ส่วนสุดท้ายที่สำคัญที่สุด คือ 5) จริยธรรมใหม่ ที่ต้องไปมากกว่า กรอบของ ความดีและความเลว หัวข้อทั้งห้าเหล่านี้เป็นการเปิดทางไปสู่ “Bigness” ของ Rem Koolhaas เปรียบเทียบสถาปัตยกรรมที่ใหญ่ผิดปกติเหล่านี้โดยใช้คำว่า Nietzschean ซี่งหมายถึง มนุษย์ที่ถูกสร้่างขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลงยีนให้มีความแข็งแกร่ง ฉลาด และมีคุณสมบัติเพรียบพร้อม เหนือมนุษย์ทั่วไป และแก้ปัญหาข้อเสียทั้งหมดของมนุษย์ไป สำหรับในกรณีของ สถาปัตยกรรม ก็คือการไปสู่จุดที่ใหญ่เหนือมนุษย์ ห่างไกลจากความเป็น scale ของมนุษย์ (inhuman quantity) เพราะคนที่สร้างสถาปัตยกรรมชนิดนี้ขึ้นมา มีจุดมุ่งหมายในการที่จะสร้างสถาปัตยกรรมให้ มีลักษณะใหญ่โต มโหฬารดังกล่าว ดังนั้น จะเป็นไปได้มั้ยว่าอาคาร CCTV ที่ Koolhaas ออกแบบนั้นเป็นสิ่งที่จะเป็นผลลบ คำตอบของ Koolhaas ก็คือ ไม่จริง เพราะ Koolhaas สรุปว่า สถาปัตยกรรมนั้น มาคู่กับความเป็น อาชญากรรม (Crime) มาคู่กับความบ้าอำนาจ (Despotic Regime) เพราะนั่นคือหนทางที่มันจะไปสู่ความเป็น Bigness ซึ่ง CCTV ก็เป็นอาคารที่ ใหญ่ที่สุด ในชีวิตการทำงานของ Rem Koolhaas ซึ่งเป็นผลสะท้อนของความเป็น Remology (การศึกษาทาง Rem Koolhaas = Rem + Ology เหมือนกับ Sociology, Biology)

Down Fall of The Sky Scraper

ประวัติศาสตร์ของอาคารสูงเสียดฟ้า หรือ Skyscraper นั้นเป็นประวัติศาสตร์ที่มีการพัฒนามุ่งไปทางตะวันออก โดยเริ่มต้นมาจากปี 1920 ในมหานคร นิวยอร์ค และชิคาโก และมุ่งไปสู่ยุโรป ไปสู่อัฟริกา และหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองก็ไปสู่เอเชีย ในระหว่างที่ค่อยๆคลืบคลานไปนั้น ประโยชน์ใช้สอย และการสื่อความหมายก็เปลี่ยนไป อาคารสูงระฟ้านั้นถูกใช้เป็นเครื่องหมายและเครื่องมือของลัทธิทุนนิยมเสมอ แต่ลัทธิทุนนิยมก็ไม่ได้ใช้มันโดยตรง หรือไม่ได้มีอิทธิพลต่อการสร้างให้อาคารสูงเป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้สูงสุดภายใต้ความเชื่อของลัทธินี้แต่อย่างใด ตัวอย่างที่น่าสนใจได้แ่ก่อาคาร Seagram ที่มหานครนิวยอร์ค ซึ่งเป็นเครื่องจักรทุนนิยม ทำจากเหล็กกล้าและกระจก เป็นการเชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์ระหว่างที่ว่างและเวลา (ขอขยายความหน่อยว่า อาคาร Seagram นี้เป็นอาคารที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นอาคารที่มีค่าก่อสร้างต่อพื้นที่แพงที่สุดในโลก สาเหตุเพราะเรื่องการ Set back ที่ Mies Van De Rohe บอกให้ Set ไปทั้งแผง เกิดเป็น Plaza หน้าอาคาร ขนาดใหญ่เป็นครั้งแรก ในขณะที่อาคารอื่นๆ ใช้วิธี ค่อยๆ set back เป็นขึ้นบันได้ เพื่อจะได้พื้นที่เต็มขั้น Plaza ที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้คนเห็นอาคารได้อย่างอลังการแต่ในขณะเดียวกันก็แห้งแล้งไร้ชีวิตชีวา ตามสไตล์ โมเดิร์น ทีล็อคตัวเองอยู่ในช่วง 60s – 70s จนกระทั่งค่อยๆ ปรับเปลี่ยนไปเป็นทางเท้า ที่มีชีวิตชีวาที่เกิดขึ้น ต้องไปเปรียบเทียบกับ Rockefeller Sunken Plaza – ตัวอาคารของ Seagram เองนั้นมีการคิดเรื่อง Model ของ Mullion กระจก การปรับพื้นที่ให้ flexible การให้แสงธรรมชาติ เป็น in side out และ out side in ที่ perfect ที่สุดอันหนึ่งของโลก คนที่รู้เรื่อง Mies มากที่สุดคนหนึ่งที่ผมรู้จักในที่นี้ คือ คุณศัลยเวทย์ ประเสริฐวิทยาการ ลองให้ท่านมาอธิบายดู) ในขณะเดียวกัน อาคารที่เราเห็นอยู่ในปัจจุุบันนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสัญลักษณ์เป็นส่วนใหญ่ หนึ่งในนั้นคือ กลุ่มอาคารสูงใหม่ของเมืองเซี้ยงไฮ้ เป็นสิ่งที่คิดขึ้นมาส่วนใหญ่เพื่อจุดประสงค์เพียงมิติเดียวคือ เพื่อความเทห์ Oriental Pearl TV Tower เป็นสิ่งที่ชัดมาก เพราะเป็นอาคารที่เป็น กลุ่มรูปทรงที่ดู แปลกตา นักท่องเที่ยวต้องมารุมดู เป็นสัญลักษณ์ของยุคใหม่ แต่ภายในแทบจะไม่มีพื้นที่ใช้สอยที่มีความหมายใดๆ เลย ถ้านี่คืออาคารสูงที่เป็น ผลสะท้อนของเศรษฐกิจ ไปตามกระแสตลาด เป็นเหมือนกับการสนองความอยากตามแต่ตัณหาจะพาไป (Rem Koolhaas ใช้คำว่า Viagra-Potency) สิ่งที่ Koolhaas พยายามทำกับ CCTV ทีออกแบบคือการ ทำลายแนวคิดตรงนี้ลงไป (แนวคิดเดิมๆ Koolhaas ใช้คำว่า Banality) เป็นสิ่งที่ โลก Communist ของจีนที่ดำเนินไปด้วยเชื้อเพลีงของทุนนิยมจะต้องทำการทดลองค้นคว้าต่อไป (Exploration) แต่สรุปแล้ว ถ้าจะให้เปลี่ยนแปลงอย่างเด็ดขาด ไม่มีทางอื่นนอกจากจะต้อง ฆ่าอาคารสูงระฟ้าเท่านั้น (Kill The Skyscraper)

WELCOME TO PHOTOSHOPOLIS!

ถ้าจะมีสิ่งที่เป็นประเด็นหลักในงานเขียนของ Rem Koolhaas เรื่องที่น่าสนใจก็คือ เรื่องของ “ตรรกะ” ของเมืองในปัจจุบันที่ต่างกับสมัยก่อน เป็น ตรรกะ หรือ Logic ที่เขาหยิบยกมาใช้ตลอด Koolhaas ไม่ได้สนใจการจะสร้างความชัดเจนให้กับสิ่งที่เขานำเสนอ แต่เขาสนใจที่จะให้ผู้ชมตีความสิ่งที่เขาเสนอเอาเอง เขาได้เขียน ประสบการณ์ และมีการนำภาพถ่ายของสัญลักษณ์ หรือสิ่งของต่างๆที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ไม่เคยได้ิยินมาก่อนมาให้กับผู้ชม โดยเนื้อหาก็จะพันไปถึงเรื่องของ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และ สถาปัตยกรรม ซึ่งจะมีการส่งผลมาถึงตัว Form ที่เห็น เป็นผลลัพท์สุดท้าย

ถ้าเช่นนั้น อะไรเป็น Influences (ใครช่วยแปลคำว่า Influences หน่อยครับ ไม่ได้แปลว่าผลกระทบ) ที่ทำให้เกิดเมืองสมัยใหม่ในประเทศจีน ตัวอย่างชัดๆ ก็คือ Pearl River Delta, Shanghai และ Beijing เพราะ Koolhaas มักจะทำให้เรามึนงงเสมอด้วย คำถามอันมากมายเกี่ยวกับสิ่งที่เขา ได้พบ ฟัง และรู้สึก มันฟังดูแปลกมั้ยที่ ศูนย์กลางของเมือง (City Center) ของเมือง เสิ่นเจิ้น คือ สนามกอล์ฟ, อะไรคือการกำหนดคำจำกัดความของคำว่าอาคารระฟ้า (Skyscraper) ในเมือง (Urban) ทั้งๆที่ อาคารสิบชั้นในจีนคืออาคารที่สร้างอย่างปกติใน ชานเมือง แล้วอะไรที่ทำให้ รัฐบาลและกลุ่มธุรกิจไม่สนใจผลเสียใดๆ ว่าทางด่วน Wu ซึ่งแพงมาก และแทบไม่ได้แตะพื้นเลย และเป็นทางด่วนที่ไม่ได้มุ่งไปที่ไหนเลย

Koolhaas ไม่ได้ตั้งคำถามเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อหาคำตอบ แต่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เกิดสภาวะของแนวคิดในระดับ Conceptual กับสิ่งต่างๆ ที่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาอย่างยิ่งใหญ่แต่แทบจะไม่ได้ตอบสนองอะไรเลยเหล่านี้ Koolhaas ใช้คำว่า POTEMKIN CORRIDORS หรือ POTEMKIN CITIES (ความหมายของ Potemkin มาจาก คำว่า Potemkin Village หรือหมู่บ้านของ Potemkin ซึ่งเป็นชื่อของ Grigori Alexandrovich Potemkin ขุนนางและนักรบสมัย สมเด็จพระราชินี แคเธอรีนมหาราชแห่งรัสเซีย หลายกระแสบอกว่าเป็น Lover พระองค์ด้วย เป็น โดยครั้งหนึ่งได้ทำการก่อสร้างหมู่บ้านปลอม ท่าเรือปลอม ป้อมปลอม เพื่อให้สมเด็จพระราชีนีเกิดความประทับใจ ถ้าจะเปรียบเทียบกับประเทศไทยก็คือการจัดหมู่บ้าน ตกแต่งให้ดูว่าเจริญแล้ว เพื่อรับนักการเมืองหรือรับเสด็จ นั่นเอง หมายถึงการก่อสร้างให้ดูดี แต่เป็นของจอมปลอม ไม่ได้สะท้อนการพัฒนาที่แท้จริง) ประเทศจีนนั้น มีหลายกรณีมากที่เป็นแบบนี้ การเจริญเติบโตที่ไม่ได้เป็นผลสะท้อนมาจากความต้องการที่แท้จริง แต่เหมือนเป็นการสร้างภาพ ทำให้เกิดสูญเสียลักษณะเฉพาะ หรือ itendity ที่เป็นผลสะท้อนทางวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่แท้จริงของสังคมนั้นๆ เป็นเมืองทีดูธรรมดาๆ เหมือนทั่วๆไปในโลก ไม่สามารถมองดูแล้วบอกได้ว่าที่นี่คือที่ไหน (Generic City) มีเพียงแต่แรงโน้มถ่วงของโลกเท่านั้นทีทำให้อาคารเหล่านี้ยังตั้งอยู่ แต่ไร้แรงทางวัฒนธรรมและสังคม เป็นเมืองที่มีลักษณะทางกายภาพแต่ไร้จิตวิญญาณ (Urban without Urbanity) ดูเหมือนทางรัฐของประเทศจีนจะปฎิเสธความแตกต่างของความเป็นเมือง และชนบทไปหมดแล้ว และความเป็นเมืองก็ดูเหมือนจะเกิดขึ้นมาจากความรีบเร่งของเวลา มากว่าความต้องการที่จะเข้ามาจัดการพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพแบบการเกิดความเป็นเมืองทั่วๆไปในโลก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเมืองหนึ่งคือ Zhouhai ที่เป็นเมืองใหม่ในประเทศจีน มีตึกรามบ้านช่องสูงใหญ่ ในเขตของ Pearl Delta River เขตเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ที่มีการพัฒนาสูงสุดแห่งหนึ่งของประเทศจีน ซึ่งเป็นเมืองที่ว่างเปล่า ไม่มีพื้นที่สาธารณะ และไม่มีคนอยู่ (อันนี้ไม่ตรงกับข้อมูลของ Website ของรัฐบาลจีนว่า Zouhai เป็นเมืองในฝัน มีการวางผังและจัดระบบการพัฒนาแบบมืออาชีพ และจะเป็นเมืองที่มีคุณภาพชีวิตสูงมาก เหมาะสำหรับชาวต่างชาติจะย้ายมาเป็นที่อยู่อาศัย และเป็นบ้านที่สองสำหรับนักธุรกิจต่างประเทศ - ลองดูเองว่าจะเชื่อใครนะครับ) แทนที่จะเป็นเมืองจริงๆ กลับกลายเป็นเมืองที่เหมือนกับเมือง เป็น Announcement City หรือเมืองที่ประกาศศักดา เป็นหน้าตาของประเทศ เท่านั้นเอง (กลับไปที่ Potemkin Village ใหม่)

Koolhaas ย้ำมากว่า ในระดับของความเร็วที่เกิดขึ้นในการก่อสร้างเมืองใหม่ของรัฐบาลจีนนั้น Shenzhen หรือเสิ่นเจิ้นนั้น แทบจะยังไม่เป็นวัยรุ่นด้วยซ้ำ แต่กลับเป็นเมืองที่มีคนมาอยู่เ้ป็นล้านๆ แล้ว เมืองเสิ่นเจิ้นนั้นไม่ใช่กรณีพิเศษ แต่เหมือนกับทุกๆ แห่งในประเทศ เป้นการออกแบบที่ทำบนเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ในบ้านเล็กๆ หรือห้องเล็กๆในครัวของ สถาปนิกเด็กที่ยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่ Koolhaas บอกว่า กลุ่มสถาปนิกจีนเหล่านี้เป็นกลุ่มสถาปนิกที่สำคัญที่สุดในโลก เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ ตอกย้ำความจำเป็นที่สถาปนิกเหล่านี้ต้องมีความเข้าใจต่อ กฎเกณฑ์ของสถาัปัตยกรรม เป็นอย่างมาก (นึำกถึงประเทศไทยสมัย เศรษฐกิจปาฎิหารย์ ก่อนปี 1997 ที่เด็กจบใหม่ได้ออกแบบ Condo สามสิบชั้น แต่ที่นีคือออกแบบเมืองเลย) ถ้าไม่เช่นนั้น จะเป็นปัญหาที่น่ากลัวมากในอนาคต (เพราะเมื่อถึงเวลาทุกสิ่งทุกอย่างจะเริ่มเสีย เริ่มเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็วพร้อมกันทั้งประเทศเหมือนกัน)

สิ่งที่มีขนาดใหญ่และต้องการความรวดเร็วในการออกแบบเช่น เมืองในประเทศจีนนี้ ไม่สามารถทำให้ออกมาอย่างมีคุณภาพด้วย กระดาษและดินสออีกต่อไป แต่ทุกๆคนก็ต้องหันมาใช้ คอมพิวเตอร์ AutoCAD หรือถ้าดีกว่านั้นคือ PHOTOSHOP ซึ่งเป็น เครื่องมือที่รวมทุกๆอย่างที่คนจะจินตนาการได้เข้ามาในกรอบภาพกรอบเดียว การตัดแปะอาคารสูง 200 เมตร สร้างขึ้นมาภายใน 20 วัน เป็นเรื่องปกติไปแล้ว และการออกแบบด้วยวิธีนี้ทำให้เกิดผลกระทบที่ค่อนข้างน่ากลัวต่อเมือง การตัดและแปะไม่ได้ทำให้เกิดความเป็นเืมืองซึ่งควรจะเป้นการรวมตัวกันของ สไตล์และฟอร์มที่หลากหลาย แต่รวมตัวกันเป็นหนึ่งลักษณะไปในทางเดียวกัน (Koolhaas ใช้คำว่า Melodic Coexistence) เมืองที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วย Photoshop เป็นสิ่งที่ดูดีแต่ยากที่จะเิกิด ความเป็นหนึ่งลักษณะดังกล่าวได้ แต่กลับกลายเป็น ความแตกต่างที่เป็นความวุ่นวายและน่าจะนำไปสู่หายนะ (City of Exacerbated Difference)

IS OMA GETTING OLD?

Koolhaas ปิดการบรรยายด้วยการยอมรับ ว่าหน่วยงานของเขา (Koolhaas ไม่ใช้คำว่า Office หรือ Company แต่ใช้คำว่า Bureau เหมือนกับความเป็น ราชการที่ทำงานเพื่อสังคม) เริ่่มที่จะทำสิ่งที่เขาไม่เคยคิดว่าจะทำเลย เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เช่น การทำโครงการอนุรักษ์เขตวัฒนธรรมพิเศษในประเทศจีน การตัดสินใจที่ท้าทายมากว่า จตุรัส Hutongs ควรจะกลายเป็นอาคารสูงระฟ้า หรือจะเป็นบ้านโบราณไว้ให้อนาคตของชาติได้เห็น

สิ่งที่เป็นปัญหากับระบบการอนุรักษ์คือ คนจะมองว่าเป็นเรื่องของอาคาร เรื่องของรูปร่างหน้าตา น่าเสียดายที่เราไม่สามารถ อนุรักษ์แนวทางการใช้ชีวิตของคนไว้ได้ บ้านเก่าๆ เหล่านี้ ต่อไปก็จะไม่มีใครอยูเพราะสภาพของเมืองจะผลักคนเหล่านี้ออกไป Koolhaas กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของการอนุรักษ์น่าจะเป็นทั้งระบบ ไม่ใช่เพียงแต่เปลือก สภาพชีวิตของคนที่อยู่ในอาคารเก่า วิถีชีวิตของพวกเขาจะเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมเห็นความแตกต่าง แต่ไม่ใช่การห้ามการสร้างของใหม่ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ท้าทายมากต่อไปในอนาคต

Theme และ Boutique

ผมยังคิดว่าทั้งสองคำ Link ไปกับอาคารทางด้านโรงแรม เพราะไม่เคยได้ยินว่า โรงพยาบาล โรงเรียน สถาณีตำรวจ หรือ อาคารราชการจะเป็น Theme หรือ Boutique อะไร

เท่าที่เคยทำมา คำว่า Theme นั้นเป็นสิ่งที่ คนส่วนใหญ่มี Perception หรือภาพ ในใจอยู่แล้ว เช่น Theme ทะเลใต้ Theme ละครสัตว์ นั่นจะไปเกิดในโรงแรมที่จะมีการจัดไปในทางเดียวกันหมด ตั้งแต่การตกแต่ง เครื่องแบบพนักงาน และ ข้าวของเครื่องใช้ไปในทางเดียวกันหมด การลงทุนมหาศาล ค่า Maintaintenane มหาศาล หลายๆ สิ่งทีทำขึ้นต้องเป็น Custom made คือสั่งทำพิเศษ ดังนั้น ถ้า order เป็น lot เล็กๆ ก็ไม่คุ้ม ซึ่งหมายถึงว่า Theme Resort นั้นจะต้องเป้นโรงแรมที่ใหญ่มากๆ มีเป็นพันห้อง เหมือนเนรมิตให้คนไปอยู่ในโลกอีกโลกหนึ่ง ซึ่ง ตามลักษณะตลาดนั้น ตอนนี้เบาบางลงไปแล้ว คนกำลังเข้าสู่สไตล์ใหม่ๆ Theme Resort ที่ชัดเจนมากก็อย่างเช่น Venetian แห่งเมือง Las Vegas ก็คือ Theme เป็นเมือง Venice เลย เอา Venice มาตั้งไว้ในทะเลทราย, Caesars Palace แห่งเมือง Las Vegas ก็มี Theme เป็นโรมัน ทหารโรมันเดินไปมาในโรงแรม อะไรแบบนั้น

คำว่า Boutique นั้นเป็นอีกเรื่อง คือตอนนี้ใครๆ จะเปิดโรงแรม หา Furniture สวยๆ ทำแสงสลัว แล้วแต่ง Minimal หน่อยก็จะเรียกตัวเองว่าเป็น Boutique แล้ว แต่ในส่วนตัว และเคยได้คุยกับเจ้านายที่ออกแบบโรงแรมมา 30 ปี บอกว่า คำว่า Boutique ถ้าจะให้ Valid จริงๆ ต้องออกมาจากการออกแบบ Space เพื่อให้เกิดความแปลกใหม่ ไม่เหมือนใครจริงๆ คือต้องเป็น Structure และ Architecture ไม่ใช่ Skin และ Interior เ่ท่านั้น ว่าง่ายๆ ก็คือ ถ้าไปซื้อตึกเก่า เอาสี Paint แ่ต่งผนัง ทำแสงสวยๆ เอา โซฟา Design แรงๆ มาวาง แต่ห้องเป็นสี่เหลี่ยมธรรมดา อันนี้ไม่ใช่ แต่ถ้าเข้าไปในห้องพักที่โรงแรม มี อ่างอาบน้ำอยู่กลางห้องเลย หรือมีห้องน้ำไปอยู่ติดหน้าต่าง มีเตียงลอยอยู่เหนือสระน้ำ อะไรแบบนี้คือ Design From the beginning ซึ่งมันไม่เหมือนใคร นี่คือ Boutique

แต่อย่างว่า มันไ่ม่ใช่ Legal Term ทุกวันนี้ Chain Hotel ที่ตั้งชื่อตัวเองว่า Boutique ก็ทำโรงแรมออกมา ไม่ได้ มี Design อะไรมากเท่าไหร่ ถ้า Boutique จริงๆ คงจะต้อง Recommend W Hotel Chain ทั้งหมด หรือ Standard Hotel ที่ นคร Los Angeles หรือ โรงแรมที่เป็น Adaptive Reuse ทั้งหลาย เช่นเอา อ่างเก็บน้ำเก่ามาทำโรงแรม เอาโรงงานรถยนต์มาทำเป็นโรงแรม พวกนี้จะได้ความแปลกพิสดาร ไม่เหมือนใคร

Wednesday, May 31, 2006

ตีความการประกวด Plan-less House ของ Kengo Kuma

ถ้าว่ากันตรงๆ ก็ คือ ขึ้นคำว่า Plan คือสิ่งที่ อธิบาย Lifestyle หรือแนวทางการใช้ชีวิตของเรา โดยคำที่เป็นความหมายหลักของเรื่องทั้งหมดคือคำว่า division หรือ การแบ่งออกเป็นส่วนๆ ด้วยสิ่งที่เราเรียกว่า “ผนัง” (ผนังแบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็นส่วนๆ) และแน่นอนว่า ถ้าเราเน้น ผนังหรือกำแพงในแบบแปลนเป็นเรื่องสำคัญ สิ่งที่จะเตะตาเรามากที่สุดก็คือตัวผนังที่อยู่บนแปลน ที่เหมือนเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับ บ้า่นหลังหนึ่ง เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

แต่ถ้ากลับไปถามคำถามง่ายๆ ว่าผนังจำเป็นต้องมีอยู่เป็นตัวแทนของความเป็นบ้านหรือไม่ ทำไมเราไม่สามารถอธิบายความหมายของความเป็นบ้านด้วยลักษณะการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ ? หรือ เครื่องใช้สอยบนโต๊ะ อุปกรณ์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งสิ่งที่เรียบเป็นสองมิติอย่าง วัสดุปูพื้น ซึ่งจริงๆแล้ว วัสดุปูพื้นเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ มนุษย์สัมผัสโดยตรงเสมอ (แน่นอนว่ารวมทั้ง กลอนประตูและที่รองนั่งในห้องส้วม) ถ้าเราจะมองความเป็นบ้านโดยการกลับมาเปรียบเทียบกับประสาทสัมผัสของตัวเราเป็นหลัก บ้านก็จะกลายเป็นความหลากหลายของพื้นผิวต่างๆแทนที่จะเป็นเรื่องของ space หรือเราจะลองมองในแง่ของความแตกต่างของอุณภูมิที่เกิดขึ้น หรือจะมองในแง่การเคลื่อนที่ของอากาศอันวุ่นวายสับสน

สิ่งที่ ทำให้ Kengo Kuma ตั้งคำถามกับความสามัญของผนังก็คือ เขาคิดว่าการที่จะต้องแบ่งชีวิตออกเป็นส่วนๆ ด้วยผนัง แต่แล้วทุกๆสิ่งก็ค่่อยๆ เปลี่ยนไป การแบ่งเป็นส่วนๆ ค่อยๆ เปลี่ยนรูปหรือลดลง ด้วยเหตุผลหลายๆ ประการ หนึ่งในนั้นคือ เทคโนโลยี เช่นโทรศัพท์มือถือ หรือ การเปลี่ยนแปลที่แทบจะเกิดขึ้นตลอดเวลาของข่าวสารข้อมูลที ทำให้เราเรียรู้ตลอดเวลาจนทำให้ แนวคิดของเราเกิดความไม่หยุดนิ่ง หรือแม้แ่ต่การที่ตัว lifestyle เองหายไปในช่วงเวลาที่คุณกำลังจะสร้างบ้านในผันของคุณ (จะเป็นเพราะงานการยุ่ง มีลูก มีภาระอื่นๆ สิ่่งที่ต้องทำเป็นสิ่งที่ไม่เคยคิด สิ่งที่อยากทำกลับไม่ได้ทำแล้ว ก็เท่ากับว่า Lifestyle เปลี่ยนไป ต้องหาวิธีปรับใหม่) สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุด น่าจะเป็นเรื่องของจุดประสงค์ คนที่มีโอกาสที่จะออกแบบบ้าน สร้างบ้านเป็นของตัวเองนั้น มักจะมีจุดประสงค์ที่เป็นตัวของตัวเองไม่เหมือนใคร และมักจะมากกว่าหนึ่งประการ ถ้ามองกันให้ลึกๆ ถามคำถามให้มากๆ แล้ว จะพบว่า มันเป็นเรื่องของ สิ่งของที่อยู่ในบ้านทุกๆ ชิ้น (ผู้คนบอกว่าอยากมี ทีวีใหญ่ๆ อยากมีตู้ปลา อยากทำกับข้าวให้สนุก อยากให้ลูกมีห้องสมุด อยากมีห้องซ้อมดนตรี) ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ พื้นที่ว่างที่ถูกล้อมกรอบ สร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ

นี่คืดแนวความคิดหลักของการประกวดครั้งนี้ในการที่จะตีความบ้านใหม่ โดยฉีกให้ออกจากเรื่องของการทำผนัง แบ่งส่วน ตามการออกแบบปกติ ถ้าคุณหาเรื่องที่น่าสนใจมาก แต่เป็นเืรื่องที่เราสัมผัสอยู่ทุกๆ วันในบ้าน แต่คนมักจะมองข้าม นั่นน่าจะเป็น Concept ของคุณ (Kengo Kuma ใช้ตัวอย่างในการอธิบายมากเกินไป สิ่งที่เขาบอกเป็นแนวคิดเจ๋งๆ ทั้งนั้น แต่เท่ากับว่าเขาปิดทางเลือกพวกนั้นหมดแล้ว เพราะเขาบอกออกมาแล้ว คุณต้องคิดให้ลึกกว่านั้นอีก ห้ามถามว่าผมคิดยังไง เพราะถ้าผมบอกคุณตอนนี้ ก็เท่ากับบอก public เดี่ยวจะไป ชี้นำความคิดคุณ)

(ที่ตลกที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของ เนื้อหาที่ต้องส่ง หรือ Content เพราะว่า การอธิบาย เนื้อหาการประกวดบรรเจิดมาก แต่เวลาจะเอางานส่ง เล่นเป็นแบบ Project มี Plan (เนื้อหาว่า Plan-less House แต่ดันขอ Plan) รูปด้าน รูปตัด มีDetail มี model อะไรเสร็จ เหมือนกับว่า Practical มากๆ จะเอาไปสร้างจริงๆ ค่อนข้างขัดแย้งกับ คำบรรยายที่ Conceptual มากๆ)
ตามสัญญานะครับ ตีให้แล้ว และคิดว่าน่าจะแตก เชิญส่งประกวดซะดีๆ

ขอให้โชคดีครับ

Monday, April 03, 2006

Noah, the God has abandoned you.

แม้พวกเราหลายคนจะเป็นชาวพุทธ แต่ก็คงจะคุ้นเคยกับเรื่องใน คัมภีร์ Bible ของ โนอาห์ ผู้มีบุญญาธิการ ซึ่งได้รับบัญชาจากพระผู้เป็นเจ้า ให้สร้างเรือขนาดใหญ่ ขนสัตว์ อย่างละคู่ขึ้นไปบน เรือ ก่อนที่พระองค์จะบันดาลให้น้ำท่วมโลก อันเป็นการล้างโลกให้สะอาด ปราศจากมลทิน เนื่องจากประชาชนบนโลกนั้นกระทำแต่บาปกรรม ไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ อีกต่อไป และหลังจากน้ำท่วมโลกแล้ว Noah และครอบครัวก็คือมนุษย์กลุ่มเดียวที่เหลือ และเป็นบรรพบุรษของมนุษย์ทุกคนที่อยู่บนโลกในปัจจุบัน (ตามที่ Bible กล่าวไว้)

Joke ที่ผมได้มา เป็นผลผลิตของบริษัท Carol Norby & Asociates ที่ขายวัสดุึเยอะมากใน Nevada. (แปลมาแบบงูๆ ปลาๆ ถ้าผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วบครับ) เป็น Joke ที่เกี่ยวกับว่า ถ้า Noah มีชีวิตอยู่ใน America ณ ปี 2002 และได้รับบัญชาจากพระเจ้า ให้ทำอย่างเดิม.... อะไรจะเกิดขึ้น?

ณ วันหนึ่ง ที่ปราสาทชานเมืองของ Noah (Noah นอกจากจะเป็นคนดีแล้ว ก็รวยด้วย) ชายชราผู้เปี่ยมด้วยคุณธรรมกำลังเดินเล่นอยู่ในสวน ทันใดนั้น พระผู้เป็นเจ้า บันดาลให้ท้องฟ้าเป็น ลำแสงส่องมาแสกหน้าของ Noah “Noah” เสียงกังวานก้องมาจากฟ้า “เจ้าจงฟังข้า นับจากวันนี้ ในอีก 1 ปี ข้าจะบันดาลให้ฝนตกทั่วโลก น้ำจะท่วมไปทุกหนแห่งจนมนุษย์ทุกผู้ตายสิ้น ข้าต้องการให้เจ้า สร้างเรือ (ARK) เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีคุณธรรมและให้พ้นจากภัยในครั้งนี้ เจ้าจงน้ำสิ่งมีชีวิตอย่างละคู่ขึ้นเรือด้วย เพื่อหลังจากน้ำท่วมจะได้ให้สัตวฺ์ออกลูกหลาน สร้างโลกใหม่….เอาละ เจ้าจงไปนำ laptop มา” Noah ทำตามคำพระบัญชา วิ่งเข้าบ้านไปเอา Laptop ออกมา ทันใดนั้นพระผู้เป็นเจ้าก็ปล่อยลำแสงไปที่ Laptop เพื่อทำการ Download Spec และ Construction Document ของเรือ Ark เมื่อการ Download เสร้จสิ้น พระผู้เป็นเจ้าก็กล่าวกับ Noah ว่า “จงจำไ้ว้ให้มั่น เจ้าจะต้องสร้างเรือและระดมสิ่งมีชีวิตให้พร้อมภายใน 1 ปี” Noah ด้วยความกลัว ก็ตอบว่า “ข้าแต่พระบิดา ข้าจะกระทำการให้สำเร็จให้จงได้”

365 วันต่อมา ท้องฟ้าที่ ปราสาทของ Noah ก็ปรากฎลำแสงออกมาอีกครั้ง ในช่วงเวลากับที่ทั่วโลกเกิดฝนฟ้าคะนองครั้งใหญ่ และน้ำได้ท่วมในบางพื้นที่แล้ว แต่สนามหญ้าบ้าน Noah กลับว่างเปล่า มีเพียวชายชราผู้เปี่ยมด้วยคุณธรรม นั่งร้องไห้อยู่

“Noah เรือ Ark อยู่ที่ไหน?” พระผู้เป็นเจ้าถาม
“ข้าแต่พระบิดา” Noah ตอบด้วยน้ำตานองหน้า “โปรดอภัยให้ข้า ข้าได้ทำดีที่สุดแล้ว แต่ข้าประสบปัญหามากมายเหลือเกิน” เริ่มแรก ข้าประสบปัญหาในการขออุญาติก่อสร้างกับทางเทศบาลนคร เพราะว่า Spec กับแบบ ของพระบิดาไมถูกต้องตามกฎหมายเลย ข้าจึงต้องไปจ้างสถาปนิกมาแก้แบบ เมื่อแก้แบบเสร็จแล้ว ข้าต้องมีความกับ OHSA (Occupational Safety and Health Administration) เนื่องจากทางกรรมการแนะนำว่า เรือ Ark ควรจะต้องมีระบบ Sprinkler ดับไฟ และระบบลอยน้ำแบบใหม่ ข้าต้องทำตามและต้องใข้ข้าใช้จ่ายมหาศาล

พอหลังจากที่การขออนุญาติเสร็จสิ้น เพื่อนบ้านของข้าก็รวมตัวกัน ประกาศว่า การสร้าง เรื่อ Ark ในสนามหน้าบ้านข้า นั้นผิดกฎหมายประเภทของการใช้ที่ดิน (Zoning) ข้าต้องไปขออนุญาติพิเศษจาก แผนกผังเืมือง (Planning Department) ของเทศบาลอีก ใช้เวลาอีกนาน และค่าใช้จ่ายอีกมาก หลังจากนั้นข้าก็พบปัญหาในการหาไม้ เนื่องจาก ทางรัฐบาลยกเลิกการตัดไม้เพื่อรักษาแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยให้สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ข้าต้องไปเจรจา กับกรมป่าไม้ (US Forest Service) ว่าที่ข้าต้องการตัดไม้ ก็เพื่อรักษาสัตว์ป่าเหล่านี้ล่ะ แต่พอข้าได้รับอนุญาติจากกรมป่าไม้แล้ว ทางกรมสัตว์น้ำ และสัตว์ป่า (Fish and Wildlife Department) ก็ไม่ให้ข้าจับสัตว์แม้แต่ตัวเดียว ก็เป็นอันว่า ข้าไม่สามารถหาสัตว์ป่าและสัตว์น้ำได้เลย

ต่อมา กลุ่มสหพันธ์ช่างไม้ก็นัดหยุดงานประท้วง ข้าต้องไปเจรจากับ คณะกรรมการแรงงานแห่งชาติ (National Labor Relations Board) ใช้เงิืนอีกมหาศาล ในที่สุด ข้าก็ได้ ช่างไม้มา 16 คน แล้วการก่อสร้างก็ดำเนินไปได้ ในขณะเดียวกัน ข้าก็พยายามเสาะหาสัตว์ที่ไม่ใช้สัตว์หายาก เช่นสัตว์ฺเลี้ยง หรือสัตว์ในอุตสาหกรรมอาหาร เพราะจะได้ไม่มีปัญหากับกรมสัตว์ป่าอีก แต่ข้าก็โดนกลุ่ม ผุ้พิทักษ์สิทธิสัตว์ฟ้องร้อง ข้าถูกศาลตัดสินให้จ่ายค่าชดเชยกับสัตว์ที่ไม่ได้รับการคัดเลือกให้ขึ้นเรือ ข้าต้องขายทรัพย์สินจำนวนมากเพื่อที่จะจ่ายให้สัตว์เหล่านั้น พอคดีความกับกลุ่มพิทักษ์สัตว์ จบลง ข้าต้องเจอกับกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จาก Washingtong DC (Environmental Protection Act) มาที่บ้านข้า และยื่นรายงานให้ข้า แถลงว่า การก่อสร้าง ARK จะดำเนินต่อไปไม่ได้ ถ้าข้าไม่ทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้กับรัฐบาลก่อน (Environmental Impact Assessment) นอกจากนี้ยังให้ข้าทำรายงานเกี่ยวกับระดับ และอาณาบริเวณของน้ำที่จะท่วมให้ทางทหารบก (US Army) ทราบด้วย โดยเมื่อข้าไปพบเขา เขาก็ขอแผนที่ว่าน้ำจะท่วมตรงไหนบ้าง เมื่อข้าส่งแผนที่โลกให้ทหารบก ว่าจะท่วมทั้งโลก ทางทหารโกรธมาก หาว่าข้ากวนTeen จับตัวข้าไปสอบสวนเสียหลายวัน และแล้ว วันที่เลวร้ายกว่าก็มาถึง เมื่อทางสรรพากร (IRS = Internal Revenue Service) ทำการยึดทรัพย์สินที่เหลือของข้าทั้งหมด เนื่องจาก ข้าตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าจะใช้เรือ Ark หลบหนีออกนอกประเทศเพื่อหลบเลี่ยงภาษี นอกจากนี้ข้ายังได้รับแจ้งจากทางรัฐ อีกว่า ข้าต้องจ่ายภาษีของเรือ ARK เนื่องจากข้าไม่ได้จดทะเบียนให้เป็นพาหนะขนส่งทางน้ำ ข้าต้องจ้างทนายเพื่อต่อสู้คดี แต่แล้ว ท้ายที่สุด สิ่งที่เลวร้ายที่สุดก็เกิดขึ้น โดยทาง ACLU (American Civil Liberties Union) ได้เรียกร้องผ่านทางศาลให้หยุดการก่อสร้าง โดยเด็ดขาดและให้ทำการรื้อถอนโดยทันที เนื่องจากทางศาลได้ตีความว่า การที่พระบิดาจะให้น้ำท่วมโลกนั้น เป็นการปฏิบัติการทางศาสนา ซึ่งไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ตอนนเืรือก็คงไม่มีทางเสร็จแน่นอน ภายใน 5-6ปี นี้ พระบิดาได้โปรดยืดเวลาออกไปด้วยเถิด”

ทันใดนั้น ท้องฟ้าที่กำลังเกิดฝนฟ้าคะนองทั่วโลก ก็หยุด กลายเป็นท้องฟ้าแจ่มใส ระดับน้ำที่ท่วมอยู่ ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว Noah มองขึ้นไปบนฟ้า อย่างมีความหวัง
“พระบิดา .....ขอขอบพระคุณพระบิดาที่ใหเวลากับข้า ข้าจะทำทุกอย่างเพื่อให้เรือ Ark สำเร็จให้จงได้"
“ไม่ต้องแล้ว” พระผู้เ็ป็นเจ้าตอบกลับมา
“หมายความว่า ....พระบิดาจะไม่ทำลาบโลกกระนั้นหรือ?” Noah ถามอย่างมีความหวัง
“ไม่จำเป็น…..รัฐบาลของเจ้าทำแทนข้าไปเรียบร้อยแล้ว”

จบ

ความเห็นส่วนตัว - อันนี้เป็น Joke ที่ เป็น Scenario ที่สามารถเกิดขึ้นจริงได้ในปัจจุบัน USA เป็นประเทศที่สนใจในสิทธิของประชากร และมีกฎหมายที่ซับซ้อนมาก จนบางครั้งทำให้การอออกแบบอะไรบางอย๋างที่Artistic มากๆ เกิดขึ้นได้ยาก ทำให้เมืองไม่มีเอกลักษณ์ กลายเป็นปัญหา Lost Identity ไป Architect ต้องเจอกับ Issue ที่มากขึ้นๆ แต่ได้รับค่าตอบแทนเท่าเดิม หรือน้อยลง ก็เป็นจุดที่น่าสนใจ เพราะไม่รูว่าจะไปจบที่ไหน

Tuesday, March 07, 2006

วิชาชีพสถาปนิกคืออะไร - ตอบคุณ vbada

เรียนคุณ vbada

ดีใจที่ชอบนะครับ บางคนก็ว่ามันไม่เป็นวิชาการเหมือนกัน นานาจิตตังนะครับ

ผมเคยสอนนิสิตปริญญาโท หลักสูตรภาษาอังกฤษ การจัดการทางวัฒนธรรม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทั้งหมดเป็นกลุ่มคนที่มี background แตกต่างกันมากและส่วนใหญ่ ไม่มีความรู้เลยเกี่ยวกับวิชาชีพสถาปนิก ผมได้มีโอกาสอธิบายให้เขาได้ฟังโดยใช้วิธีนี้

1. เราเป็นผู้นำของทีมก่อสร้าง ก็เล่าให้เขาฟังว่า เริ่มแรกคือ สถาปนิกกับเจ้าของ พอไปเรื่อยก็เป็น สถาปนิก+วิศวกร+interior กับเจ้าของ ต่อมาพอเริ่มสร้างก็จะเป็นสองก๊ก ก๊กที่ปรึกษา นำโดยสถาปนิก กับก๊กผู้รับเหมา นำโดยผู้รับเหมาหลัก ตรวจสอบซึ่งกันและกัน แล้วพอยุ่ง เจ้าของก็ เอา CM เข้ามา ทำแบบนี้ เขียนเป็น Diagram ให้เขาเห็นชัดๆ ตรงนี้จะทำให้เขาเห็นว่า สถาปนิก วิศวกร มัณฑนากร ต่างกันอย่างไร

2. เราเป็นผู้ที่มีหน้าที่รับใช้สังคม – เรามีหน้าที่รับผิดชอบความเป็นอยู่ที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ว่าไปให้เห็นความดีงามของวิชาชีพ
3. เราไม่ได้เป็น Artist – ไม่ใช่พวกเพื้อฝัน เราต้องทำงานตรงเวลา เราต้องสื่อสารกับคนเป็นร้อย เราไม่ทำตามอารมณ์
4. เราไม่ได้เป็น พระเจ้า – ไม่ใช่ว่าเสกอะไรออกมาแล้วจะเป็นจริงดั่งใจ คนสร้างคือเจ้าของ เราคือ นักแปลที่ทำฝันของเจ้าของให้ออกมาเป็นจริง ตามข้อจำกัดเท่าที่มี คนที่ออกเงินคือเจ้าของ
5. เรามีหน้าที่รับผิดชอบต่อ สามส่วน คือ เจ้าของเงิน ผู้ใช้อาคาร และตัวเราเอง ตามหลักการประกอบวิชาชีพ
6. เป็นอาชีพทีทำเงินทำทองได้ แต่ต้องไปเรียนรู้ Business Skill เพราะในโรงเรียนจะไม่สอน
7. วาดรูปไม่เก่ง หัดได้ แต่ถ้าหัดแล้วไม่ได้ ดื้อดึงจะเรียนก็จะเหนื่อย และอาจจะไม่สนุก เพราะ Computer ที่ช่วยวาดมันก็เหมือนปากกาแท่งหนึ่ง เหมือนกัน Skill ที่จะวาดก็ต้องมี

ไม่ต้องพูดทั้งหมดนี่นะครับ เป็นทางเลือกเฉยๆ เอาให้สนุกๆ ไว้ก่อนจะดีกว่านะครับ

เท่าที่ผมเห็นเพื่อนๆ ผมในรุ่นเดียวกันที่ทำงานมานะครับ อาจจะมีคนเป็นส่วนน้อยที่ทำวิชาชีพสถาปนิกอย่างที่เรียนมาจริง แต่ผมคิดว่าจะมีน้อยมาก ที่เสียใจที่ได้เรียนคณะนี้ หลายๆคนผมมั่นใจมากว่า ช่วงเวลาที่ได้เรียนในคณะสถาปัตย์คือช่วงเวลาที่มีความสนุกและความสุขมากที่สุดในชีวิต และความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมานั้น ก็ยังเป็นความรู้ที่นำไปใช้ประกอบสัมมาอาชีพอื่นๆที่ทำอยู่ เพราะเราสอนวิธีการคิด วิธีการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทั้งชีวิตอยู่แล้วในทุกๆด้าน --- อันนี้อาจจะเป็นสิ่งที่บอกน้องๆ พวกนี้ได้อีกประเด็นนะครับ

ขอให้มีความสุขในการแนะแนวครับผม

Sunday, March 05, 2006

ภาพประกอบ How Firms Succeed


บทนำ โดย: พณ ท่าน Richard Swett, FAIA

(พณ ท่าน Richard Swett เป็นบุคคลที่น่าสนใจมาก ต้องขอเล่าประวัติเล็กน้อย ท่านเป็น สถาปนิก เป็นนักการทูต เ็ป็นสส. เป็นสมาชิกระดับ วุฒิของสมาคมสถาปนิกอเมริกา และเป็น สมาชิกอาวุโส ของ Design Futures Council. (ไว้วันหลังจะเล่าให้ฟังว่าเป็นองค์กรเดี่ยวกับอะไรนะครับ น่าสนใจเหมือนกัน) เคยทำหน้าที่ในหลายๆ องค์กรมากๆ รวมทั้งเป็นคณะกรรมการโอลิมปิคของสหรัฐอเมริกา หลังจากที่ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตประจำประเทศเดนมาร์คแล้ว ท่านก็มาเป็นที่ปรึกษาของบริษัท APCO Worldwide ซึ่งเป็นบริษัทวางแผนการสื่อสาร(หมายถึงการสื่อสารระหว่างบุคคลให้เกิดความเข้าใจ ไม่ใช่เทเลคอมนะครับ) และประชาสัมพันธ์ระดับโลก ท่านจบปริญญาตรีสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัย Yale ท่านได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Grand-Croix of the Order of the Dannebrog หรือ ระดับ อัศวิน จากสมเด็จพระราชินี Margrethe II แห่งเดนมาร์ค ปัจจุบันท่านกำลังเขียนหนังสือเกี่ยวกับภาวะผู้นำของวงการการออกแบบ (design leadership) และทำการค้นคว้าเกี่ยวกับ Design Diplomacy and Communications ท่าน แบ่งงานที่ทำออกเป็นหลายส่วน ตั้งแต่ เรื่องเกี่ยวกับภาวะผู้นำ, การประชาสัมพันธ์ และการสื่อสาร, และการวางแผนธุรกิจ ท่านได้รับเชิญไปบรรยายให้แก่วงการต่างๆ นับไม่ถ้วน ปัจจุบันท่านพำันักอยู่ที่เมือง Bow รัฐ New Hampshire)

ข้าพเจ้า เชื่อมาตลอดชีวิตของข้าพเ้จ้าว่า วิชาชีพสถาปนิกต้องการสิ่งที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้มากที่สุด ซึ่งก็คือคู่มือการทำธุรกิจบริษัทออกแบบให้ประสบความสำเร็จ ข้าพเจ้าคิดว่ามีหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยมาก หนังสือที่ข้าพเจ้าได้เห็นส่วนใหญ่เกี่ยวกับวิาชีพของเราจะเป็นหนังสือเกี่ยวกับ การสร้างตึกเป็นคิดเป็น งานศิลปะ โดยจะมองไปที่การก่อสร้างและการออกแบบเป็นหลัก หนังสือ How Firms Succeed ของ James Cramer และ Scott Simpson เล่มนี้ เป็นหนังสือที่จะนำท่านจากการ บทกวีแห่งการสร้างสรรงานศิลปะอันงดงาม ไปสู่งานวิจัยแห่งการบริหารจัดการธุรกิจออกแบบ หนังสือเล่มนี้จะมีประโยชน์ต่อบริษัท ในทุกๆ ขนาดในการจัดการองค์กร ในการทำให้เกิดความมั่นใจในการสร้างธุรกิจ เพื่อให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการออกแบบ และให้คำตอบกับคำถามมากมายที่สถาปนิกต้องคลำเองในการทำธุรกิจให้อยู่รอด ในขณะเดียวกันก็เกิดการผลิตผลงานที่มีคุณภาพด้วย

ในช่วงที่ข้าพเจ้าประกอบวิชาชีพเป็นสถาปนิก, นักธุรกิจพลังงาน, สส, และ นักการทูต นั้น ข้าพเจ้าได้เป็นสัขขีพยาน ในเรื่องของ ความสลับซับซ้อนของ ระบบการดำเนินงาน ระบบราชการ วินัยของผู้ประกอบวิชาชีพ องค์กรมวลชน NGO บริษัทยักษ์ใหญ่ ซึ่งทั้งหมดเป็นผลกระทบโดยตรงต่อ Built Environment (สภาพแวดล้อมที่ได้รับการก่อสร้างขึ้น – เป็นคำใหญ่มาก ที่รวมทุกอย่างที่ได้รับการก่อสร้างโดยมนุษย์ ตั้งแต่ถนนหนทาง ตึกรามบ้านช่อง เมือง ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ) ของพวกเรา ข้าพเจ้าเห็นว่า มีบุคคลไม่กี่ประเภทที่มีความสามารถพอที่จะมา ทำการจัดการ ประมวลผล และวิเคราะห์ ข้อมูลที่มาจากจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันของคนทุกๆกลุ่มดังกล่าว แล้วปรับให้กลายมาเป็นเนื้อหาที่มีความสมดุลย์และมีทางเดินไปในทางเดียวกันได้ แต่ด้วยการฝึกหัด ทักษะ และ มุมมอง ที่มีนั้น นักออกแบบอย่างพวกเรา (โปรดสังเกตุว่า พณ ท่านใช้คำว่า นักออกแบบ หรือ Designer ไม่ใช่ สถาปนิก หรือ Architect ซึ่งน่าจะเป็นเพราะต้องการขยายฐานของคนที่ท่านสื่อสารอยู่ด้วย) น่าจะเป็นผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ได้เป็นอย่างดี แต่ก็น่าเสียดายที่มีคนน้อยเหลือเกินที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในฐานะผู้นำของสังคมดังกล่าว

หากมองกันตรงๆ ไปที่ ปรัชญาการประกอบวิชาชีพของเรา ก็จะเห็นความขัดแย้งได้ไม่ยาก เพราะสิ่งที่เราทำคือ การก่อสร้างสิ่งที่ทนฟ้าทนฝนไปอีกนานแสนนาน แต่ต้องมีความเป็นศิลปะอยู่ด้วย เราต้องทำการออกแบบที่มีการใช้สอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีลักษณะของการ ยกระดับจิตใจของผู้เข้ามาใช้ ซึ่งเราทุกคนก็รู้ๆ กันอยู่ว่า “พูดน่ะ มันง่าย” แต่ทั้งหมดนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายที่ทั้งสถาปนิก วิศวกร และ นักออกแบบอื่นๆ ต้องฟาดฟันอย่างที่สุดเพื่อมุ่งไปให้ถึง

ฟังดูก็น่าจะยากพอแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็ีมีข่าวร้ายที่จะต้องตอบให้ท่านทราบว่า ในปัจจุบัน การทำงานเพียงเท่านั้นของเราก็ไม่พอแล้ว เราต้องเตรียมตัวที่จะทำอะไรมากขึ้นไปอีก ไม่ใช่แค่การสร้างสรรค์งานที่ดีเท่านั้น แ่ต่จะต้องมีการบริหารจัดการที่ดีที่จะทำให้กิจการของเราเจริญก้าวหน้าต่อไปด้วย ถ้าจะมองกันให้ดีๆทุนนี้สถาปนิกและวิศวกรทำงานมากกว่าแ่ค่ออกแบบอยู่แล้ว เพราะเราไม่ได้แค่ทำอาคารให้อยู่ได้ แต่งานระบบที่มีเทคโนโลยีสูงที่เราต้องนำเข้ามาใส่อาคาร และระบบการรับรู้ข้อมูลของคนในยุคที่มีความซับซ้อนแบบนี้นับวันก็มีแต่จะยุ่งยากมากขึ้นและต้องใช้เวลากับมันมากขึ้น ไหนเรายังจะต้องยกระดับพื้นที่โดยรอบ และสร้างสรรชุมชนอีกต่างหาก

สรุปก็คือ เรามีโจทย์ที่ยาวมาก และนั่นทำให้การทำงานในบริษัทออกแบบเป็นการทำงานที่ตื่นเต้น และท้าทาย แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้องไม่ลืมว่าการดำเนินงานทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับการออกแบบนั้นล่ะ จะทำให้งานส่วนที่ตื่นเต้น ท้าทายนั้นเป็นไปได้ดี ในหนังสือเล่มนี้ สถาปนิกและวิศวกร หรือนักออกแบบอื่นๆ จะได้ข้อมูลในเืรื่องการดำเนินงานดังกล่าวนี้ไป ตัวอย่างมากมายในหนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่างที่มากจาก บริษัทที่ประสบความสำเร็จ มีกำไรมากมาย และบริษัทที่ทำงานออกแบบที่มีคุุณภาพ มีความคิดสร้างสรรค์สูง ซึ่งเป็นข้อสังเกตุว่า งานที่ดีก็มาจากบริษัทที่มีกำไรมากได้ ไม่ได้ต้องเป็นเื่รื่องที่จะต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง

สิ่งที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ที่ต้องกล่าวถึงอีกประการคือ นอกจากเรื่องของตัวอบ่างระบบวิธีการ หรือเทคนิคในการบริหารจัดการจากบริษัทต่างทั่วโลก แล้ว ยังมีเรื่อง ระบบที่นำมาใช้ในการจัดการองค์กรโดยตรง (Organizational Tools) ที่ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านสามารถระบุปัญหาขององค์กรของท่านเองได้ด้วย ตัวอย่างเ่ช่น การทำการตลาดตามลักษณะและข้อจัดกัดของบริษัท การดำเนินการธุรกิจ การประกอบวิชาชีพ(Professional Services) และการจัดการเรื่องความสมดุลย์ระหว่างความเสี่ยง (Risk) และผลตอบแทนที่จะได้รับ (Rewards)

ในบทสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้ ได้แก่ “Anatomy of Leadership” จะเป็นการกล่าวเกี่ยวกับเรื่อง ที่ข้าพเจ้าคิดว่าสำคัญที่สุดในวิชาชีพสถาปนิก ได้แ่ก่ ภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) สถาปนิก วิศวกร และ นักออกแบบอื่นๆ จะต้องเป็นผู้นำของสาธารณชนในชุมชนที่ตัวเองอยู่

หนังสือเล่มนี้ควรจะมีอยู่ในห้องสมุดของ คณะสถาปัตยกรรมทุกสถาบัน และสำนักงานสถาปนิกทุกๆ แห่ง

บทนำโดย ผู้เีขียน: โครงสร้างสี่ส่วนที่สำคัญในการการบริหารและจัดการบริษัทออกแบบให้ประสบความสำเร็จ

Quote“Future is already here; it’s just not evenly distributed.” “อนาคตอยู่ที่นี่แล้ว แต่มันไม่ได้รับการจัดสรรให้ทุกคนได้รับเท่าๆ กัน”โดย: William Gibson

วิชาชีพออกแบบเป็นวิชาชีพซับซ้อน เพราะเป็นเรื่องของทั้งศาสตร์และศิลป์ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับของความคิดสร้างสรรค์และข้อจำกัดต่างๆ เป็นเรื่องของความเป็นจริงและเรื่องของสัญลักษณ์ทางนามธรรม เป็นเรื่องทีทั้งชัดเจนและตีความได้

ที่สำคัญที่สุดคือเป็นงานศิลปะที่มีความเป็นสาธารณะที่สุด แต่ดันเป็นงานที่ถูกสร้างด้วยความโดดเดี่ยวของผู้สร้างงานเกือบจะที่สุดเหมือนๆกัน

นักออกแบบมักจะชอบความรู้สึกที่เป็นผู้ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ความเป็นจริงแล้วอำนาจของเรามีแค่เรื่องของการจูงใจเท่านั้น วิชาชีพของเรามักจะได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในกลุ่มสูงสุดของความนิยมชมชอบ และได้รับการยอมรับจากสังคมเสมอ แต่ในขณะเดียวกัน สถาปนิกและิวิศวกรเองมักจะบ่นว่า ลูกค้าไม่ค่อยเข้าใจเราเลย มักจะบ่นว่า เราได้เงินน้อย และบ่นว่า แนวความคิดของเราได้รับการตีความผิดหรือปฎิเสธจากสาธารณชน

แน่นอนล่ะว่า การออกแบบเป็นสิ่งที่ทำให้คนทำงานมีความสุข แต่ก็เป็นงานที่ทำให้เกิดความกดดัน ความสับสนในชีวิตด้วยในขณะเดียวกัน เพราะเราจะไม่มีวันได้เจอ Site ที่สมบูรณ์แบบ ไม่มีวันเจอโปรแกรมที่สมบูรณ์แบบ ไม่มีวันเจองบประมาณที่สมบูรณ์แบบ และแน่นอนว่า ลูกค้าของเราซึ่งก็เ็ป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดาก็จะไม่มีัวันมีความสุขอย่างสมบูรณ์แบบกับงานที่เราทำเหมือนกัน เราพยายามสร้างความสมดุลย์ระหว่างสิ่งที่เราอยากให้เกิดกับสิ่งที่เรามีเสมอ สิ่งที่น่าสนใจมากอีกประเด็นหนึ่งในงานออกแบบก็ืคือ เรามักจะมีจำนวนคำตอบมากกว่าจำนวนปัญหา และนั่นเป็นสิ่งทีทำให้แนวความคิดที่ดีๆ จริงเพียงหยิบมือเดียวเท่านั้นที่ได้รับการคัดเลือกมาทำให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งจริงๆ แล้วทั้งหมดนี่เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งที่พวกเราผู้เขียนอยากจะเรียกว่า Psycho-Dynamics (ใครช่วยแปลหน่อยครับ) ในวิชาชีพออกแบบนี้

ในภาพใหญ่แล้ว จิตวิทยาของการออกแบบนั้นอยู่ใน โรงเรียนออกแบบ แต่ปัญหาก็คืออาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่ไ่ม่ได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ และพวเขามักจะพยายามสร้างภาพของวิชาชีพออกแบบให้ดู ดี สง่างาม และมีชีวิตอยู่ในความเฟ้อฝันบนหอคอยงาช้าง โดยไม่ได้สอนในเรื่องของข้อจำกัดในชีวิตจริง พวกเขาปฎิืเสธที่จะยอมรับความเป็นจริงว่าพวกเขาเป็นอาจารย์ในโรงเรียนวิชาชีพซึ่งมีจุดประสงค์อันดับแรกคือการเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะทำมาหาเลี้ยงชีพเีลี้ยงตนเองได้ (ซึ่งก็เป็นปัญหาเดียวกับคณะนิติศาสตร์ทั้งหลายที่สอนเด็กเรื่องกฎหมายแต่ไม่ได้สอนให้เป็นนักกฎหมายที่ดี) โดนอาจารย์ในโรงเรียนออกแบบทั้งหลายนั้นมักจะสอนให้เลือกเอา ว่าชีวิตของคุณในฐานะนักออกแบบนั้นมีอยู่สองทาง หนึ่งคือ ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และจิตวิญญาณให้กับการออแบบ มุ่งไปสู่ความเป็น นักออกแบบสุดขั้ว มีชีวิตอยู่เพื่อคุณค่าทางศิลปะของการออกแบบ หรือจะประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงาน มีเงินทอง โดยพยายามจะสื่อว่า เป็นลดคุณค่าความเป็นนักออกแบบที่ดีเพื่อผลกำไร ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการทุ่มเททั้งชีวิตจิตใจให้การออกแบบไ่ม่ได้ เป็นหลักประกันว่าจะต้องได้ผงานที่ดีออกมา และก็มีสถาปนิกหลายคนที่ผลิตผลงานที่ดีมีคุณภาพ โดยสามารถจัดการด้านการเงินได้ดี

ในโรงเรียนออกแบบนั้น มีเรื่องราวที่จะต้องสอนมากมายจนเกินไป และมากมายขึ้นทุกๆวัน จนไม่เหลือเวลาที่จะสอนเด็กๆ เรื่องสำคัญมากเรื่องหนึ่งคือ เรื่องการประกอบวิชาชีพ (Professional Practice) ซึ่งเป็นวิชาที่น่าเบื่อ หรือเป็นยาขมเสมอๆ สำหรับนักเรียน ยังไม่นับรวมเรื่องความเป็นจริงในการประกอบวิชาชีพอื่นๆ เช่น งบประมาณ กฎหมาย ที่มักจะถูกมองว่าเป็น สิ่งที่มาจำกัดจินตนาการของการออกแบบ ดังนั้นผลที่ออกมาคือ นักออกแบบรุ่นใหม่หลายๆ คนกลายเป็นคนที่แบกความคิดอันสับสนของตัวเองไปในที่ต่างๆ มีชีวิตอยู่ในหัวของตัวเองด้วยความโดดเดี่ยว และหนีจากความเป็นจริงเสมอ โดยไม่ใช่แต่กับตัวเขาเองเท่านั้น ยังนำความสับสนเหล่านี้ไปให้ลูกค้าของเขาด้วย

จริงๆแล้วถ้าจะถามกันว่า “มีความขัดแย้งอันใดที่หลีกเลี่ยงไ่ม่ได้ระหว่าง ทักษะทางธุรกิจและทักษะทางการออกแบบหรือไม่” คำตอบก็คือ “มันไม่ควรจะมีเลยแม้แต่ข้อเดียว” หนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนคิดว่า ถ้าไม่สามารถทำให้สองหัวข้อนี้ไปด้วยกันได้อย่างเต็มที่ อย่างน้อยก็อาจจะช่วยให้นักออกแบบได้สร้างความสมดุลย์ได้ เพราะเราหนีความจริงเรื่องการหาเลี้ยงชีพไปไม่พ้นอย่างแน่นอน โดยหากเราไม่สามารถหาวิธีการทำธุรกิจออกแบบให้ดำเนินไปได้ด้วยดีแล้ว วิชาความรู้อันมีค่าของเราที่อุตสาห์ร่ำเรียนมาก็จะเสียเปล่า

ปัญหาไม่ใช่เรื่องของว่า งานออกแบบที่ดี และธุรกิจที่ดีไปด้วยกันได้หรือไม่ มันไปด้วยกันได้อย่างแน่นอน แต่เป็นการที่จะขจัดความคิดเก่าๆ (Paradigm) จากโรงเรียนออกแบบที่เราได้กล่าวไว้แล้วออกไป ซึ่งจะมีความสำคัญมากกับมุมมองของสถาปนิกยุคต่อไป และมุมมองของสาธารณะชนด้วย โดยการเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวของความเป็นศิลปะและธุรกิจในแง่ของการออกแบบนั้น เป็นเรื่องของความเข้าใจผิดว่าเป็นไปไม่ได้ และสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันที่ถูกมองเป็นปัญหานั้น บางทีไม่ได้เป็นปัญหาแ่ต่อย่างใด หากแต่เป็นการตีความสถานการณ์ที่ผิดพลาดเท่านั้น

ความเป็นจริงก็คือ การออกแบบนั้นเป็นเืรื่องที่หยั่งรากลงไปมากกว่าเรื่องของความงาม (Aesthetics) ซึ่งเป็นเพียงเรื่องของเปลือก มากมายนัก งานออกแบบที่ดีนั้น มีนัยยะลึกลงไปมากกว่าเรื่องของ สี พื้นผิว วัสดุก่อสร้าง และสัดส่วน โดยเฉพาะในงานสถาปัตยกรรมนั้น มักมีประเด็นแฝงในเรื่องของการวางยุทธศาสตร์อยู่ (ทำไมอาคารถึงถูกสร้างขึ้นมา) มีเรื่องของเทคโนโลยี (ทำมาจากอะไรและประกอบกันขึ้นอย่างไร) เรื่องทางเศรษฐศาตร์ (ใคนจ่ายเงินให้สร้าง และราคาทั้งหมดรวมทั้งค่าดูแลรักษาในระยะยาวจะประมาณเท่าไหร่) และเรื่องทางการเมือง (กฎเกณฑ์ที่จะต้องทำตามคืออะไร และใครที่จะมีอำนาจในการตัดสินใจอนุมัติ)

สุดท้าย ซึ่งอาจจเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด งานออกแบบเป็นสิ่งทีทำโดยมนุษย์ และส่วนใหญ่เป็นเป็นกลุ่มคน ไม่ใช่คนๆเดียว โดยงานที่ทำไม่ใช่เพียงแค่อาศัยฝีมือการออกแบบแต่อาศัยความเป็นผู้นำ การจัดการที่ดี การสื่อสารที่ดี และการประสานงานอีกด้วย ดังนั้นการร่วมมือร่วมใจกันออกแบบซึ่งเราอาจจะเห็นว่าเป็นเพียงเรื่องธรรมดานั้น จริงๆแล้วเป็นปรากฎการณ์ที่ยิ่งใหญ่มาก

ดังนั้นเราอาจจะบอกได้ว่า ผลลัพธ์กับวิธีการออกแบบนั้นมีความสำคัญไม่แพ้กันเลยทีเดียว เหมือนกับที่เราเล่น กล่องหมุน ที่มีสี หกด้าน เราเข้าใจโจทย์ เราเข้าใจจุดมุ่งหมาย เรารู้วิธีการที่จะหมุนไปหมุนมา แ่ต่การที่จะทำให้ออกมาได้นั้น เป็นความสามารถเฉพาะตัวของใครของมัน แต่ก็เป็นสิ่งที่ฝึกหัดกันได้

สิ่งที่เราต้องการคือ คำอธิบายเรื่องของระบบกลไกในการบริหารบริษัทออกแบบให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรียบง่ายแต่ซ่อนอยู่ในความสลับซับซ้อนอันเคยชินของเรา อย่างที่ผู้พิพากษา Byron White เคยกล่าวไว้เป็น คำคมที่ยิ่งใหญ่อันหนึ่งเกี่ยวกับ สื่อลามก (Pornography) ว่า “เราไม่อาจจะให้คำจำกัดความมันได้หรอก แต่เราจะรู้ว่าเป็นมันเมื่อเราได้ดูมัน” ซึ่งแทบจะใช้ได้กับงานออกแบบเลยทีเดียวกับเรื่องของการออกแบบ มีผู้คนหลายคนจากหลายๆ วงการมีความเข้าใจในเรื่องการออกแบบที่ดีไม่เลวเลยทีเดียว พวกเขาเข้าใจว่า งานออกแบบที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องของความสวยเพียงอย่างเดียวแต่ยังเป็นเรื่องของ การช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่อยู่รอบข้าง เป็นเรื่องของการประหยัดเป็นการส่งเสริมเอกลักษณ์หรือตอบแทนต่อสังคม และเป็นการยกระดับจิตใจของผู้ที่พบเห็นอีกด้วย ถ้าจะว่าไปแล้ว มนุษย์ทุกคนก็เป็นสถาปนิก เพราะทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ สภาพแวดล้อมรอบๆตัวเรา เพื่อเพิ่มคุณภาพในการใช้ชีวิตทั้งสิ้น

งานออกแบบที่ดี จะเป็นผลสะท้อนของตัวตนของผู้ออกแบบในเชิงวัฒนธรรม และเป็นการสื่อให้เห็นว่าผู้ออกแบบใส่ใจกับสังคมขนาดไหน อาคารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอารยธรรมนั้นๆ ก็จะกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของอารยธรรมนั้นๆ โดยปริยาย และทั้งหมดนี้ก็คือเหตุผลที่ว่า ทำไมคนถึงสนใจเรื่องการออกแบบนักหนา และก็เป็นสาเหตุที่ส่งต่อมาว่าทำไม สถาปนิกจึงเป็นอาชีพที่ทุกคนให้ความยกย่อง แล้วทำไม พวกเราผู้ประกอบวิชาชีพจึงมีปัญหามากมายนักในการอธิบายให้เห็นถึงคุณค่าในสิ่งที่เราทำอย่างยากลำบาก

Shaping the Future of Design Management

ที่เราพูดกันมาก็อาจจะเป็นการอธิบายมากมายเกี่ยวกับเื่รื่องว่างานออกแบบนั้นมีคุณค่าขนาดไหน ซึ่งอาจจะทำให้ผู้อ่านเห็นว่า แนวทางการประกอบวิชาชีพนั้นเป็นเรื่องรองๆ ลงไป

แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย ความสับสนของผู้ประกอบวิชาชีพในการ บริหารงานธุรกิจนั้นในประเด็นนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพเองไ่ม่อยากเข้าไปยุ่งกับประเด็นนี้เพราะนับวันต้องเจอกับความเปลี่ยนแปลงร้อยแปดในทุกๆด้านอยู่แล้ว โดยด้านหนึ่งที่ทำให้เหนื่อยมากที่สุดก็คือเรื่องของเทคโนโลยี แต่ต้องจำไว้อย่างหนึ่งว่า ไม่ว่าจะเป็น Digital File, e-mail, teleconferencing, โทรศัพท์มือถือ หรือของเล่นอะไรทั้งหลายแหล่เหล่านี้ ที่เราคิดว่าทำให้เราทำงานได้ดีขึ้นนั้น ไม่ได้มีอยู่เมื่อสมัยที่ผู้บริหารบริษัทออกแบบทั้งหลายที่ประสบความสำเร็จทุกวันนี้อยู้ในวัยที่เพิ่งเริ่มทำงานแต่อย่างใด เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงการทำงาน แต่ที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ มันได้เปลี่ยนแนวความคิดของผู้ออกแบบอย่างเราในเรื่องของคำถามที่ว่า อะไรเป็นไปได้ และเวลาที่ต้องใช้ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้น ในเบื้องต้น สิ่งที่เราจะต้องจำไว้ในเรื่องของความเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อธุรกิจออกแบบของเรานั้นมีอยู่ สามส่วน ดังต่อไปนี้

1. First Major Shift : Connectivity – เนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้นในเวลาที่น้อยลง คนที่อยู่ในชนบทไม่ได้แปลว่าจะต้องเป็นคนที่ไกลปืนเที่ยงอีกต่อไป สิ่งที่เกิดขึ้นจากเรื่องนี่ืคือ เราจะมีการสรุปเอาเองว่า สมาชิกของทีมออกแบบนั้นได้รับข้อมูลต่างๆ เรียบร้อยแล้ว และได้รับอย่างสม่ำเสมอ เท่าๆกัน แม้ว่าเราจะรู้เหมือนกันว่า บางทีเราก็ไ่่ม่อ่าน e-mail และก็ไม่ได้เช็ค Voice Mail เป็นประจำเท่าไหร่ แต่เราชอบคิดว่าคนอื่นจะทำ และนอกจากนี้ e-mail เองบางทีก็ไม่ได้ถูกส่งไป หรือได้รับทันที แต่คนอ่านมักจะคิดว่า คนรับได้รับแล้วและอ่านแล้ว และนั่นคือทะเลของการส่งข้อมูลข่าวสารระหว่าง สถาปนิก วิศวกร ลูกค้า และผู้รับเหมา ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในสายงานของเราคือเรื่องของการ “จัดการการรับส่งข้อมูล” (managing information flow) ที่เป็นสิ่งจำเป็นมากที่เราสถาปนิกจะต้องมีทักษะด้านนี้ ซึ่งเราในฐานะนักออกแบบจะไม่ค่อยมองตัวเป็นนักจัดการข้อมูลเท่าไหร่ แต่เราก็หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว คนที่หลีกเลี่ยงที่จะทำตรงนี้จะพบปัญหาอย่างรุนแรงในการประสานข้อมูล หรือ Coordination ระหว่างฝ่ายซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะต้องทำ เพราะอย่างที่ทราบๆ กันว่า คำถามทุกๆคำถามนั้น สุดท้ายแล้วถ้าไม่มีใครตอบได้ก็จะมาถึงสถาปนิก เสมอ

2. The Second Major Shift is Speed: ความเร็ว เพราะทุกอย่างที่เราำำำำกำลังทำนั้น เราทำได้เร็วขึ้นๆ ดังนั้น ความคาดหวังของลูกค้าก็เร็วตามไปด้วย โอกาสในการที่เราจะมีเวลามานั่งค่อยๆ แก้ไขความผิดพลาดหรือตรวจทานก็น้อยลง ซึ่งจริงๆ แล้วถ้าเรามองในมุมของลูกค้าที่เป็นเจ้าของธุรกิจที่เวลาเป็นเงินเป็นทองนั้นก็จะเข้าใจได้เป็นอย่างดี แต่ก็เหมือนกับประเด็นเรื่องของ Connectivity ว่า เื่รื่องของความเร็วไม่ไ้ด้มีแต่ด้านที่เลวร้าย แต่มันต้องได้รับการทำความเข้าใจ และจัดการกับมัน ก็เหมือนกับความเ้้ข้าใจของพวกเราทุกคนที่ว่า “ความคิดแรกอาจจะไม่ใช่ความคิดที่ดีที่สุด” แต่ในขณะเดียวกัน “การใช้เวลามากขึ้นในการปรับแบบไม่ได้หมายความว่าจะทำให้แบบดีขึ้น”เช่นกัน มีขนมเค้กหลายชิ้นที่น่าจะเป็นขนมแสนอร่อยแต่ดันถูกวางอยู่ในเตาอบนานเกินไป การทำงานให้ “เร็วขึ้น” + “ดีขึ้น” + “ถูกลง” เป็นจุดมุ่งหมายที่ทุกคนจะต้องพยายามมุ่งไป และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องถูกสอนในโรงเรียน ที่ทุกวันนี้เรายังเห็นนักเรียไม่ค่อยใส่ใจที่จะส่งงานตามเวลาด้วยซ้ำ

ทุกวันนี้ นักออกแบบทั้งหลายต้องทำความรู้จักและฝึกใช้เครื่องมือต่างๆ ที่จะทำให้เราประหยัดเวลาได้ ซึ่งมันจะเหมือนกับ ยานอวกาศที่จะนำเราไปสู่โลกใหม่ และมองกลับมายังโลกของเราในมุมที่เปลี่ยนไปทันที

3. The Third Major Shift: Productivity ประสิทธิภาพการผลิตหรือในที่นี้หมายถึงการทำงานอย่างมีคุณภาพและปริมาณที่น่าพอใจ จะเป็นสิ่งที่ให้เราเห็นความแตกต่างระหว่าง ขั้นตอนการทำงานและผลลัพธ์ โดยที่การออกแบบในอดีต เราจะใช้อุปกรณ์คือกระดาษร่าง โต๊ะดร้าฟ การทำโมเดลด้วยกระดาษแข็ง แต่ในยุคใหม่ทุกอย่างคือ Software ใน Computer หมด และใช้เวลาในการทำงานน้อยลงมาก

โดยเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแนวความคิดในการจินตนาการเรื่องเกี่ยวกับ Space (Conceptualization) และก็ไม่น่าแปลกใจที่ สถาปนิก วิศวกร และนักออกแบบอื่นๆ มีโอกาสที่จะได้ทดลองสร้าง รูปทรงใหม่ ที่ในอดีตแม้แต่จะคิดก็ไม่มีทางได้คิด แต่ในปัจจุบันเป็นเรื่องปกติไปแล้ว (เช่น Frank Gehry จะไม่มีวันมีทุกวันนี้ได้ถ้าไม่มี Catia หรือโปรแกรมที่ช่วยสร้าง Form มหัศจรรย์พันลึกของเขา - ผู้แปล)

ในโลกที่เติบโตอย่างรวดเร็ว (Brave new world) หลักการทั้งสามจะเข้ามาเป็นองค์ประกอบสำคัญของวิชาชีพนักออกแบบของเรา: connectivity, speed และ productivity หลักการทั้งสามเป็นสิ่งที่ล้มกระดานเรื่องวิธีการทำงานแบบเก่าๆ เกือบทั้งหมด และทำให้เกิดวิธีการทำงาแบบใหม่ ปัญหาแบบใหม่ เป็นบริษัทออกแบบพันธุ์ใหม่ขึ้นมา โดยที่บริษัทเหล่านี้จะต้องเข้าใจว่า การออกแบบนั้น ความหมายโดยรากก็คือ “การสร้างคุณค่า” (creating value) บริษัทใหม่ๆ เหล่านี้จะต้องมอง สถาปัตยกรรมเป็น งานศิลปะของสังคม (Social Art) โดยประชาชน และเพื่อประชาชน (เกือบเหมือนหลักการประชาธิปไตย เหลือแต่ “ของ”เจ้าของเท่านั้น ไม่ใช่ของประชาชน แต่ถ้าเป็นงานราชการ ก็ใช่เลย-ผู้แปล) บริษัทใหม่ๆเหล่านี้ ต้องมีความเคารพในอดีต และในขณะเดียวกันก็พยายามมุ่งสู่อนาคตอย่างมีราก และสุดท้าย บริษัทเหล่านี้ต้องให้ความสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่าง ผลลัพธ์ (Result) และวิธีการทำงาน (Process) และต้องภูมิใจกับความเป็นจริงเรื่องของวิชาชีพว่า วิธีการออกแบบนั้นเองก็ถูกออกแบบใหม่เหมือนกัน

ในวิธีการมองแบบใหม่นี้ Design/Enterprise เราแทบจะไม่มีข้อจำกัดของความสำเร็จที่จะได้รับได้เลย มันขึ้นอยู่กับว่าตัวนักออกแบบเองต้องการจะไปไกลแค่ไหน

การมองสถานการณ์และมุ่งสู่อนาคต

แล้วบริษัทแบบใหม่ที่ว่านี้จะเป็นแบบใด จะมีการจัดการบริหารงานอย่างไร ใครจะเป็นคนที่ทำให้มันใช้การได้ จริงๆแล้วแนวความคิดหลักเหล่านี้เป็นสิ่งที่เป็นเรื่องที่ตรงไปตรงมามาก และความเป็นไปได้ของคำตอบก็มีมากมายหลายแนวทาง แต่ไ่ม่ว่าจะเป็นแนวทางใด บริษัทก็ต้องมีคุณสมบัติอยู่ 4 ประการที่จะทำให้ประสบความสำเร็จได้ ถ้าใน 4 ประการนี้หายไปอย่างใดอย่างหนึ่ง คุณภาพการบริหารงานของบริษัทก็จะลดๆ ลงไป การบริหารบริษัทด้วยการพิจารณาใน 4 ประเด็นดังกล่าว จะต้องเป็นไปอย่างสมดุลย์

คุณสมบัติที่สี่ประการได้แก่

1. Marketing – การตลาด

2. Operations – การดำเนินงาน

3. Professional Services – การผลิตผลงาน

4. Finance – การเงิน

1. Marketing หรือ การตลาด – คำจำกัดความของมันคือ การที่บริษัทจะ ค้นพบ, ทำให้ได้มา, สร้าง และ รักษาไว้ของ กลุ่มลูกค้าหรือโครงการ ที่บริษัทต้องการ เป็นเรื่องที่ใครๆ ก็รู้ว่า ถ้าไม่มีลูกค้า บริษัทก็อยู่ไม่ได้ แต่การจะหาลูกค้าก็เป็นสิ่งที่โรงเรียนออกแบบไม่เคยสอน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่หรือเล็ก เฉพาะทางหรือทำได้ทุกอย่าง ทุกๆบริษัทก็ต้องเริ่มจากการตลาดทั้งสิ้น

คำ่ว่า “การตลาด” นั้น บางครั้งฟังดูเหมือนเป็นคำหยาบของวิชาชีพ เพราะคนไปตีความว่า ความเป็นลิ้นสองแฉก หรือการพูดเก่งของคนบางคน จะมาแทนที่การทำงานให้มีคุณภาพได้ ซึ่งจะว่าไปก็ไม่เป็ภาพพจน์ที่ผิด แต่ก็ไม่ได้ถูกทั้งหมด เพราะในความเป็นจริงแล้ว ความหมายของมันก็คือ ทักษะที่ตรงตามความต้องการของ “ตลาด” และเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทจะต้องพูดกับลูกค้าให้ได้ว่า “นี่คือวิธีการทำงานของเรา นี่คือสิ่งที่เราทำได้ดี และนี่คือวิธีที่จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จ” ถ้าเรามองแบบนี้ การตลาดจะกลายมาเป็น ก้าวแรกของการออกแบบทันที เพราะเป็นการรับรู้และทำความเข้าใจเป้าหมายของลูกค้า เพราะถ้าเราไม่มีความเชื่อมโยงอันนี้ว่าเราเข้าใจเขา การผลิืตผลงานออกมาให้ดีนั้นก็จะไกลจากความเป็นไปได้อย่างมาก วิธีทางการตลาดก็มีมากมายที่ไม่ได้ยากเกินความสามารถที่จะเรียนและฝึกฝน เราไม่ได้ต้องการความกะล่อน รอบจัด แต่อย่างใด สิ่งที่ต้องการคือความซื่อสัตย์ ทิศทางที่ชัดเจน และความจริงใจในการสื่อสาร และก็แน่นอนว่าโยงไปถึงความสามารถที่แท้จริงของผู้ออกแบบเองด้วย และถ้าผู้ออกแบบยังไม่ได้โครงการนี้มาอยู่ในมือ ก็ยังไม่มีทางที่จะขยับไปสู่ขั้นตอนต่อไปได้

2. Operations: Operations เป็นการจัดการการทำงาน ไม่ใช่การออกแบบ แต่หมายถึงการ เช่าพื้นที่สำนักงาน การจัด Furniture การซื้อหรือเช่า Computer และอุปกรณ์ Printer อื่นๆ การวางนโยบายและกฎของ สำนักงาน ระบบการว่าจ้าง การฝึกหัดพนักงาน การวางระบบผู้นำของทีมต่างๆ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวด ถ้าไม่มีแล้วละก็ ต่อให้มีแผนการตลาดดีแค่ไหนก็ไร้ค่า การจัดการดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำให้งานออกแบบเกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ และก็เหมือนกับเรื่องของการตลาด เรื่องการจัดการเองก็เป็นการ “ออกแบบ” อย่างหนึ่ง ก็คือการหาคำตอบโดยเฉพาะของวัฒนธรรมในองค์กรหนึ่งๆ นั่นเอง ในการตลาดนั้น เราเรียนรู้ที่จะออกแบบความสัมพันธ์ ระหว่างเรากับลูกค้า ส่วนในเรื่องการจัดการนั้น เราเรียนรู้ที่จะออกแบบระบบของสำนักงาน ถ้าจะว่ากันให้ง่ายกว่านี้ การจัดการหรือ Operations ก็คือการ ตีเส้นสนามเทนนิส การตั้งเน็ท การตั้งเก้าอี้กรรมการ เพื่อให้เกมพร้อมที่จะเล่นนั่นเอง และแน่นอนว่าจะต้องมีการตกลงเรื่องกฎกติกา เพราะถ้าไม่มีทุกอย่างก็จะเละเทะ

และสุดท้าย สิ่งที่เกิดขึ้นในความเป้นจริง การจัดการสำนักงานที่ว่านี้ก็เหมือนกับการตลาดนั่นเองสำหรับพวกเราส่วนใหญ่ ก็คือเป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับมัน

. ถ้าสองอย่างได้ผ่านไปแล้ว ก็คือเราได้ โครงการมาอยู่ในมือ อันดับต่อไปที่ต้องทำให้ดีืคือ Professional Services หรือ การบริการทางวิชาชีพ ซึ่งถ้าแปลง่ายก็ก็คือการ ทำงานตามปกติืของเรานั่นเอง ซึ่งไม่ใช่การ ทำ 3D หรือ AutoCAD เท่านั้น แต่รวมถึงการวิเคราะห์ และเก็บข้อมูล การค้นคว้าทั้งเรืองกฎหมาย เรื่องแนวทางของรูปแบบ การประสานงานระหว่างสมาชิกในสำนักงาน และที่ปรึกษา วิศวกร มัณฑนากร อื่นๆ โดยทั้งหมดต้องอยู่ในงบประมาณ!!

การที่จะประสบความสำเร็จตรงนี้ได้ จะต้องมีสามส่วนที่สำคัญมากคือ (1) การสื่อสารระหว่างสมาชิกของทีมออกแบบ(Communication) (2) การจัดการที่ดี (Management) (3) ความเป็นผู้นำ (Leadership) โดยทั้งหมดนี้ สถาปนิกส่วนใหญ่จะต้องต่อสู้กับตัวเองในเรื่องของการที่มี ทางเลือกที่ดีมากมาย แต่ก็ต้องเลือกเอาเพียง 1 ทางเลือกเท่านั้นที่จะได้นำไปสร้าง ซึ่งนักออกแบบที่ดีซึ่งส่วนใหญ่พวกเราก็เป็นอยู่แล้วนั้น จำทำอย่างสุดความสามารถที่จะผลิตงานที่ดีออกมาให้ได้ แต่จะต้องมีความสามารถที่บางคนอาจจะไม่มีคือการที่จะชักจูงให้คนรอบๆ ตัวทั้งลูกทีมและลูกค้าเชื่อให้ได้ว่านี่คือคำตอบที่ดีที่สุด ซึ่งถ้าไปถึงจุดแห่งการยอมรับจากทุกฝ่ายไม่ได้ ก็อาจจะมีความรู้สึกไ่ม่ยอมรับอย่างเต็มที่ติดค้างอยู่ในใจ และความรู้สึกอันนี้อาจจะทำให้เกิดการต่อต้านอย่างง่ายดายถ้าการดำเนินงานในช่วงต่อไปมีอุปสรรค หรือมีการติดขัด (ซึ่งต้องมีแน่นอน) ซึ่งจะทำให้เสียการประสานงานที่ดีระหว่างสมาชิกไป

สิ่งที่สำคัญมากที่พวกเราต้องจำไว้คือ เวลาที่เราเขียนแบบนั้น เราเขียนผลลัพธ์ของการก่อสร้าง เราบอกวิธีการก่อสร้างให้แต่เราไม่ได้ไปสร้างเอง ดังนั้น แบบก่อสร้าง รายการประกอบแบบ ไม่ใช่จุดจบของการออกแบบแต่เป็นเพียงแค่ เครื่องมือให้กับผู้รับผิดชอบการก่อสร้างนำไปใช้เท่านั้น ซึ่งพวกเขาจะต้องมีความเข้าใจคู่มือนี้อย่างถ่องแท้จึงจะนำไปสร้างให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพได้ ซึ่งถ้ามองในแง่ผลลัพธ์แบบนี้ เราก็จะสามารถมองย้อนกลับไปสู่คำถามที่ว่า เราควรจะให้การบริการทางวิชาชีพอย่างไรจึงจะเหมาะสม และยังจะเป็นการเปิดประตูไปสู่การบริการอื่นๆ ที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน เพื่อให้ผู้ัรับเหมาก่อสร้างต่างๆ ทำงานได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ การส่งผลงานออกแบบในปัจจุบันก็มักจะเป็นการส่งในแบบที่เป็น Digital File มากขึ้น ซึ่งทำให้การผลิตแทบจะไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายเรื่องกระดาษและการทำซ้ำ ซึ่งบางครั้งทำให้คนไม่เห็นค่าว่า จะต้องจ่ายค่าแบบไปทำไม และแน่นอนว่า นักออกแบบจะต้องทำความเข้าใจกับผู้รับบริการหรือลูกค้าว่า สิ่งที่เราขายคือแนวความคิดหรือ idea เราไม่ได้ขายกระดาษ หรือ File พวกนี้

4. จากสามส่วนที่ได้เรียนไปแล้วได้แก่ Marketing, Operations และ Professional Services เป็นสิ่งที่ เป็นเส้นทางสู้การได้งาน และผลิตงานอย่างมีคุณภาพแล้ว องค์ประกอบสุดท้ายที่สำคัญมากและขาดไม่ได้คือ การเงิน หรือ Finance

เป็นอีกครั้งที่สิ่งที่ฟังแล้วเป็นเรื่องแสนจะธรรมดา แต่มีความสลับซับซ้อนเป็นอย่างมากในเรื่องการตีความ การเงินนั้น สำหรับ สำนักงานสถาปนิกนั้นแบ่งออกเป็นหลายงาน ตัวอย่างเช่น การจัดการ “เก็บเงิน” ลูกค้า และสองคือการ “จัดการ” การใช้จ่ายในสำนักงาน การจัดการเรื่อง Timesheets (แปลเป็นภาษาไทยเองนะครับ) การจัดเก็บแบบฟอร์มต่างๆ การทำบัญชี การจ่ายเงินให้กับที่ปรึกษา ฯลฯ

เงินนั้นเหมือนกับน้ำมัน ที่จะทำให้กลไกของสำนักงานออกแบบขับเคลื่อนไปข้างหน้า ถ้าไม่มีน้ำมัน ต่อให้เ็ป็นรถลิมบอร์กินี่ ก็ิวิ่งไปไหนไม่ได้ เช่นเดียวกัน ถ้าการเงินฝืดเคือง บริษัทที่มีสมาชิกที่เก่งฉกาจและระบบการจัดการที่ดีขนาดไหน ก็ไม่มีทางผลิตอะไรได้

ถ้ามองเรื่องของเงินเป็นตัวประเด็นหลักแล้ว เงินคือสิ่งที่มีหลายความหมายที่เกี่ยวกับเรา เป็นสิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนกับสินค้า เป็นการเปรียบเทียบมูลค่า และในหลายๆครั้ง เงินเป็นบทสรุปของความขัดแย้ง แต่เงินก็เป็น เครื่องมือในการออกแบบอย่างหนึ่งได้

นอกจากนี้เิงินก็เป็นคำที่สื่อความหมายในทางอารมณ์ได้ เพราะความหมายของเงินนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละผู้คน บางคนพูดถึงเรื่องเงินในลักษณะที่ไม่ค่อยจะสบายใจนัก รู้สึกเหมือนเป็นเรื่องที่อายที่จะพูด แต่บางคนก็คิดว่าเป็นเรื่องที่จะต้องพูดเป็นอันดับแรก

และก็เหมือนกับน้ำัมันจริงๆ ถ้าอยู่ด้วยตัวมันเองไม่มีความหมายอะไร มันจะมีความหมายมากในวิธีการที่เราจะนำมันไปใช้

“เงิน” เป็นสิ่งที่เหมือนภาษาต่างประเทศสำหรับนักออกแบบหลายๆคน บางคนอาจะเป็นภาษาที่สอง แต่บางคนก็อาจจะเป็นภาษาที่สามไปเลย เราไม่เคยสอนการ approach หรือเข้าหาประเด็นเรื่องการเงินมากนักในสถาบันการศึกษา แต่เงินกลับเป็นภาษาที่หนึ่งในการทำธุรกิจ และลูกค้าเราหลายๆ คนก็พูดภาษานี้คล่องแคล่วเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเราจะออกแบบได้ดี เราก็มีความจำเป็นจะต้องพูดภาษานี้กับลูกค้าของเราอย่างคล่องแคล่วไปด้วย เหตุผลง่ายๆ ก็คือ เงินเป็นตัวแปรที่สำคัญมากที่จะชี้ผลลัพธ์ของการออกแบบของเรา การที่เราจะออกแบบออกมาได้ดีที่สุดนั้น เราต้องรู้จักสถาณการณ์และข้อจำกัดทั้งหมด เรื่องเงินก็เป็นหนึี่งในนั้น เราจะ้ต้องเข้าใจว่า อะไรราคาเท่าไหร่ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ทำให้เรานำไปปรับใช้ในการออกแบบให้ได้งานคุณภาพสูงสุด ดังนั้นการคิดเรื่องการใช้เงินในงบประมาณ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องนั้น จึงเป็นเรื่องของ “ยุทธวิธี” ที่จะนำเราไปสู่เป้าหมาย และเมื่อเป็นยุทธวิธีแล้ว มันก็คือหนึ่งใน Design Tools หรือเครื่องมืออกแบบของเรานั่นเอง

ประเด็นทั้งสี่ Marketing, Operations, Professional Services และ Finance นั้น เป็นเหมือนกันสารเคมีที่จะมีการเชื่อมต่อกัน กลายเป็น DNA ของบริษัทออกแบบของท่าน และ DNA เหล่านี้ก็มี “แขน” ที่เป็นตัวเชื่อม ทั้งหมดเข้าด้วยกัน แขนดังกล่าวก็คือ 3 ส่วนที่กล่าวไป ได้แก่ Speed, Connectivity และ Productivity

การจัดรูปแบบของ DNA ก็จะแตกต่างกันไปแล้วแต่รูปแบบของบริษัทที่เหมาะกับความคล่องตัวของท่าน แต่องค์ประกอบนั้นไม่สามารถลดหย่อนไปได้จากนี้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และจะทำงานไม่ได้ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไป บริษัทใดที่เข้าใจโครงสร้างของ DNA นี้ และค้นพบวิธี สร้าง DNA ให้เหมาะกับตัวเอง จะเป็นบริษัทที่ก้าวกระโดดไปในเชิงธุรกิจเป็นอย่างมาก เทียบกับบริษัทอื่นๆ เพราะนอกจากจะทำให้เข้าใจธุรกิจต้วเองเป็นอย่างดีแ้ล้ว ก็จะเข้าใจธุรกิจของลูกค้าด้วย และความเชื่อมต่อของความเข้าใจทั้งสองนี้ จะเป็นสิ่งที่ทำให้ท่านประสบความสำเร็จต่อไปไม่ีมีที่สิ้นสุด และนั่นเป็นสิ่งที่จะอธิบายต่อไปทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้

Sunday, February 26, 2006

บทความแปล - กรณีศึกษาวิชาชีพในประเทศสเปน

บทความแปล - กรณีศึกษาวงการประกอบวิชาชีพของ Spain - สถาปนิกใน "ออก" สถาปนิกนอก "เข้า"

เขียนบน Website ของ สมาคมสถาปนิกสยาม (www.asa.or.th) เริ่มเขียนเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2005

จาก The Spanish Import/Export Business:As foreign architects flock to Spain, Spaniards explore abroad. Architecture Record ฉบับ มีนาคม 2005 โดย Sam Lubell

จากพระราชวัง Alhambra แห่งเมือง Granada ไปสู่ Renaissance Monastery แห่ง El Escorial ณ เมือง Madrid โดย Juan De Herrara (สถาปนิกสเปน 1530-1597) จนถึง Sagrada Familia โดย Antonio Gaudi งานสุดยอดสถาปัตยกรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้โลกได้เห็นถึง ความสามารถของสถาปนิกสเปน ที่มีมาหลายศตวรรษ แ่ต่ ประเทศ สเปน ในปัจจุบันที่เราเ็ห็น ไม่ได้เป็นดินแดนของ Gaudi เท่าั้นั้น แต่ที่นี่ยังเป็นดินแดนของ Gehry อีกด้วย พิพิธภัณฑ์ Bilbao อันมีเอกลักษณ์ของผนัง Aluminium ภายนอก ที่เขาได้ออกแบบนั้น (1996) อาจจะเีรียกได้ว่าเป็น โครงการ(สถาปัตยกรรม) ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประเทศ ก็เป็นได้ ไม่ใช่เพียงแค่ในด้านของการดึงดูดคน และการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นเท่านั้น แต่เป็นการ บ่งบอกถึงจุดของเวลา ที่่สถาปนิกต่างชาติได้ทำการบุกเข้าสู่คาบสมุทร Iberian แห่งนี้ กองทัพสถาปนิกต่างชาติเหล่านี้ มาพร้อมกับอาวุธยุธโทปกรณ์ ทั้งด้าน Computer Program, ทฤษฎีทางด้านความงามสมัยใหม่ รสนิยมที่ทั้งโลกกำลังไปสู่ทางเดียวกัน ซึ่งทั้งหมด กำลังค่อยๆ เปลี่ยนแปลงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของประเทศ Spain ไปอย่างช้าๆ แต่รุนแรง สถาปนิกและนักออกแบบทั้งหลายที่พยายามจะเข้ามาใน Spain นั้น โหยหาความสำเร็จที่เหมือนกับ Bilbao และต้องการที่จะเข้ามามีส่วนแบ่งกับตลาดของอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่เจริญเติบโตรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นจุดจบของสถาปนิก สเปน แต่อย่างใด ตรงกันข้าม สถาปนิก สเปน กลับมุ่งไปได้ Project ในทุกๆ มุมของโลก ด้วยอัตราที่สูงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สาเหตุส่วนหนึ่งก็เื่นื่องมาจากความทึ่งของโลก กับสถาปัตยกรรมสเปนสมัยใหม่ ที่มีแนวการคิดอันสลับซับซ้อนแต่ แสดงออกมาอย่างเรียบง่าย หมดจด และ ระบบการทำรายละเอียดโครงสร้าง ที่มีคุณภาพสูงที่สุดเป้นอันดับต้นๆ ของโลก (นิตยสารเกี่ยวกับการออกแบบและสถาปัตยกรรม นั้น มุ่งเน้นไปในการเผยแพร่ประเด็นนี้มาโดยตลอด) ดังนั้น การนำเข้าสถาปนิกต่างชาติ และการส่งออกสถาปนิก สเปนไปทั่วโลก ณ ปัจจุบัน ทำให้ Spain เป็นเหมือนกับ ห้องทดลองทางความคิดสร้างสรรค์จากนานาชาติ และน่าจะเป็นกรณีศึกษาที่ดี สำหรับประเด็นของ Globalization of Architecture

สถาปนิกต่างชาติ กำลังมา !!!

การหลั่งไหลของ สถาปนิกต่างชาติเข้ามาใน ประเทศ เสปน นั้นเหมือนกับการที่สถาปนิกต่างชาติเข้าสุ๋ประเทศจีน ภายหลังจากการปกครองของนายพล ฟรังโก เศรษฐกิจของประเทศก็ดีขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้ ความช่วยเหลือจาก EU. ทำให้ตลาดการก่อสร้างเป็นที่โหยหาของสถาปนิกจากนานาประเทศ จากข้อมูลของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน Analistas Financieros เศรษฐกิจการก่อสร้างนั้นคิดเป็น 9.8% ของเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมดของประเทศในปี 2003 โดยเทียบกับ ทั้ง 5.6% ของ E.U.

เช่นเดียวกับจีน ประเทศเสปนนั้นต้องการแสดงความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจโดยการจ้างสถาปนิกชื่อดัง ราคาแพงๆ จากต่างประเทศมากทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความสำเร็จของพิพิธภัณฑ์ Bilbao ที่มีคนมาเยี่ยมประมาณ 1 ล้านคนต่อปี นั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากมี และด้วยผลกระทบอันนี้ทำให้ชาวเสปน พยายามมองหาสถาปนิกต่างชาติที่ีความสามารถมากขึ้น

จำนวนของสถาปนิกต่างชาติที่เข้ามาใน Spain ในรอบ 5 ปี นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะถือว่ามหัศจรรย์ เริ่มได้ตั้งแต่ Frank Gehry ที่ได้รับการรับเชิญให้ออกแบบแผนพัฒนาเมืองอีก 1 เมือง ที่ชื่อ Elciego ที่เป็นเมือง ผลิตไวน์ที่มีชื่อเสียง โดย Gehry สัญญา่ว่าจะ Redefine และ Invigorate ภาพพจน์ของเืมืองต่อสาธารณะใหม่ แปลว่าจะตีความใหม่และทำให้เกิดความตื่นเต้นและมีสีสัน (โปรดสังเกตุว่าคนเสปนเชื่อมันในตัวสถาปนิกมากในเื่รื่องที่จะมาทำงานระดับนโยบาย ไม่ได้เป็นแค่งานระดับการประกอบวิชาชีพหรือนำเสนอแนวทางการสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพเท่านั้น - ผู้เขียน) นอกจากนี้ Gehry เป็นสถาปนิกออกแบบโรงแรมแห่งใหม่ในเขต Poblenou ในเมือง Barcelona สถาปิกชาวฝรั่งเศส Dominic Perrault มีโครงการยักษ์ๆ 4 โครงการ (เสปนคือตลาดที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท) David Chipperfield จากอังกฤษ มี 6 โครงการ Herzog and de Meuron แห่งสวิส มี 8 โครงการ นอกจากนี้ยังมี Zaha Hadid (4 โครงการ) และ OMA ของ Rem Koolhaas (2 โครงการยักษ์ที่สำคัญมาก)

“ประเทศอื่นๆ ในยุโรปมีการก่อสร้างเต็มไปหมดเรียบร้อยแล้ว” ฮวน เฟอร์นันเดซ อันดริโน สถาปนิกแห่งบริษัท Dominic Perrault กล่าว “ผมคิดว่าประเทศสเปน เป็นประเทศที่มองหา idea ใหม่ๆ และ คนใหม่ อยู่เสมอ” นอกจากนี้ Ascan Merganthaler หุ้นส่วนของ Herzog & de Meuron ก็เสริมว่า “สเปนน่าจะเป็นประเทศเดียวในโลกถ้าไม่นับจีน ที่เป็นประเทศที่คุณสามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงสภาพของเืมืองได้อย่างสิ้นเชิง (Radical Change)”

ความรู้สึกที่อยากจะมีอะไรใหม่ๆหรือเทห์ๆ อยู่เป็นสัญลักษณ์ของชุมชน หรืออาจจะเรียกได้ว่าความบ้าสถาปัตยกรรมก็ได้นั้น เป็นสิ่งที่มาจากวัฒนธรรมของสเปนโดยแท้ ที่มีความเป็น Visual Culture สูงมาก โดย Peter Eisenmann เคยกล่าวไว้ในตอนที่เขาทำการออกแบบ Galicia City of Culture ซึ่งเป็น โครงการทางวัฒนธรรมขนาดใหญ่ ในเขต Santiago de Composela ว่า “ตอนที่ผมเดินเข้าไปในโรงแรมนี่ มีคนรู้จักผมเยอะมาก พอตอนที่ไปกินข้าวก็ได้รับการเสนอให้นั่งในโต๊ะพิเศษ ซึ่งถ้าผมอยู่ในอเมริกา(ประเทศของเขาเอง)นี่ ไม่มีทางที่จะได้รับการดูแลอย่างดีเช่นนี้แน่นอน” นอกจากนี้ ตัวเขาเองได้รับการรับเชิญให้ไปพบปะสังสรรค์กับผู้ว่าการรัฐทุกๆ ครั้งที่ได้บินไป ส่วนสถาปนิกคนอื่นๆก็มีเรื่องเล่าทำนองเดียวกันนี้ เช่น บางคนที่ไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยก็จะมีคนภายนอกทั่วไปเข้ามาร่วมฟังด้วยเป็นจำนวนมาก ส่วนบางคนเมื่อเวลาที่ไปเยี่ยมชม site ก่อสร้างก็จะมีประชาชนไปยืนเกาะรั้วเพื่อที่จะดูตัวเป็นร้อยคน (เป็นสัญญลักษณ์ของความเป็น Celebrityship ของสถาปนิกเหล่านี้ในสายตาชาวสเปน ที่ยากที่จะหาได้กับประเทศอื่นๆ ในโลก-ผู้แปล)

โดยภาพรวมนั้นเหมือนกับว่า ประเทศสเปนกำลังทำตัวเองให้เป็นพื่นที่ทดลองทางงานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิกต่างประเทศหลายๆคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาหลงสเหน์ของความสามารถ ความยืดหยุ่น และความกล้าที่จะทดลองอะไรใหม่ๆ ของ ผู้รับเหมาก่อสร้างชาวสเปนที่แตกต่างจากที่อื่นๆ สำหรับที่สเปน ในขั้นตอนการก่อสร้าง เจ้าเหนือหัวที่สั่งได้ทุกอย่างคือ”สถาปนิก” ไม่ใช่ ผู้รับเหมา Change Orders ในการก่อสร้าง (ภาษาไทย คืออะไรผู้รู้ช่วยแปลด้วยนะครับ ถ้าผมแปลตรงตัวคือบริการนอกเหนือสัญญาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจจากเจ้าของโครงการที่จะต้องมีการเสียค่าใช้จากเพิ่มให้กับสถาปนิกและ/หรือ ผู้รับเหมา-ผู้แปล) ถ้าจะมองให้ง่ายอีกแง่ก็คือ การออกแบบไม่ได้จบลงตรงขั้นตอนการทำแบบก่อสร้างเสร็จ แต่จะจบลงเมื่อก่อสร้างเสร็จ ทุกอย่างมีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงได้ และก็แน่นอนว่า ข้อเสียก็คือ ความไม่เป็นระเบียบ การสื่อสารที่มีปัญหาระหว่างกลุ่ม ทำให้เกิดความล่าช้า และค่าใช้จ่ายที่บาน ตามมา ซึ่งก็เป็นผลกระทบที่ตรงตัว แต่ที่ทุกคนมีตรงกันที่แตกต่างจากความร้อนแรงในการก่อสร้างของจีนคือ ทุกๆ คน ตั้งแต่สถาปนิก ผู้รับเหมา วิศวกร ไปจนถึงคนงานก่อสร้าง มีวิสัยทัศน์ในเรื่องของ Modern Architecture อยู่ในหัวแล้ว เพราะได้รับการสอนมาจากในสถาบันการศึกษาตั้งแต่เป็นเด้ก ทุกคนเข้าในความสลับซับซ้อนและบางครั้งหาเหตุผลที่ชัดเจนไม่ได้ของคำว่า Design แต่นั่นก็ก่อให้เกิดข้อเสียเล็กๆ น้อยๆ ตามมาเป็นปกติ เช่นในกรณีที่ Mergenthaler กล่าวไว้ว่า “บางครั้งพวกเขา (ผู้รับเหมาก่อสร้าง) คิดว่าเขารู้ดีกว่า”

The New Style

แนวความคิดที่ได้รับความสนใจจากชาวสเปนของสถาปนิกต่างชาตินั้น มักจะมาในรูปของ Abstract หรือมาในรูปของทฤฎีที่มีความแตกต่างอย่างมากกับ รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศสเปนในยุคหลัง ที่มักจะมาในรูปของ รูปทรงที่เรียบง่าย (มาก) และความแตกต่างของ วัสดุก่อสร้างที่น้อยๆ ค่อนข้างจะไปในทาง Minimalism ซึ่งจะไปตรงกับเอกลักษณ์ของ Herzog and de Meuron ที่เพิ่งทำ Forum Building เสร็จไป เป็นอาคารที่ มีูรูปด้านใหญ่ หนัก และยาวมากเนื่องจากความเป็นประโยชน์ใช้สอยที่มีลักษณะของความเป็น Convention (ถ้าในเมืองไทยอาจจะแปลเป็นศูนย์แสดงสินค้า แต่จริงๆแล้วประโยชน์ีมากกว่านั้นมาก) Herzog ใช้สีน้ำเงินเข้ม กับวัสดุที่มีลักษณะความหยาบ ได้ effect ของน้ำทะเล และมีการตัดด้วย กระจกที่สีน้ำเงินที่ทำหน้าที่เป็นเหมือน LED Screen โดยมีการใช้ แสง Laser ยิงไปบนกระจกให้เกิด effect ของคลื่นในทะเล บนนั้น หลังคาของโครงการมีบางส่วนที่เป็นสระน้ำ มีน้ำตกไหลจากที่สูงมาสู่ที่ต่ำบน Plaza หน้าโครงการ โครงการนี้ ชาวสเปนเห็นว่า สะท้อนความเป็นชาวสเปนได้เป็นอย่างดี ส่วนโครงการที่จะมีลักษณะพิเศษในเรื่องโครงสร้างที่น่าจับตามองคงจะเป็น Barajas Airport ที่ออกแบบโดย Richard Rogers คู่กับ บริษัท Lamela ของสเปน และ้ถ้าเป็นเื่องของขนาด ก็คงจะไม่พ้น City of Culture ของ Eisenmann และ Agbar Tower ของ Jean Nouvel ที่เป็นโครงสร้างตึกรูปหัวกระสุน มีCurtain Wall กระจกที่มีสีแดง เขียว และ สีน้ำเงิน ที่มีการเรียงตัวในรูปแบบที่น่าสนใจมากค่อยๆ ขึ้นไปสู่ท้องฟ้า

ในขณะที่ประเทศสเปนทำการต้อนรับสถาปนิกชั้นนำต่างชาติมากมาย ในขณะที่สถาปนิกสเปนก็บ่นว่า มีการนำสถาปนิกต่างชาติมาแย่งงานสถาปนิกในสเปน แต่รัฐบาลสเปนก็บอกว่า การประกวดแบบทุกๆครั้งก็ให้ สถาปนิกนอก กับสถาปนิกท้องถิ่นเข้าประกวดในจำนวนเท่าๆกัน สถาปนิกบางคนก็บ่นอีกว่า งานที่ออกมาของสถาปนิกพวกนี้ ไม่สง่างามเ่ท่าสถาปัตยกรรมของสเปน นอกจากนี้ก็มีข้องสงสัยว่า สถาปนิกต่างชาติได้รับการยกเว้นกฎมากมาย แต่สถาปนิกท้องถิ่นเจอกฎเหล็ๆครบชุด และที่สำคัญที่สุดคือประชาชนทั่วไปคิดว่า การเจริญเิติบโตของอุตสาหกรรมก่อสร้างในขณะนี้เป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืิน ซึ่งจากการขยายตัวของ EU โดยการรวมประเทศที่ยากจนกว่า ระดับเฉลี่ย เข้ามาเป็นสมาชิกทำให้คาดการณ์ได้ว่า เงินทุนต่างๆ จะเข้ามาในสเปนน้อยลง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดวิกฤติการณ์หนี้สินในอนาคตได้

แต่ในขณะที่สถาปนิกทั่วโลกตบเท้าเข้ามาในสเปนนั้น สถาปนิกของสเปนเองก็ทำการตอบโต้ด้วยการออกไปได้ Commission จากทั่วโลกเหมือนกัน โดยที่ความต้องการของสถาปนิกกลุ่มนี้ก็เหมือนจะีมีมากขึ้นเสียด้วย Richardo Bofill สถาปนิกโมเดิร์นสุดกู่ก็มีงานที่กำลังดำเนินอยุ่ใน ประเทศต่างๆ รวม 11 งาน ได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เชค รีพับบลิค ลักเซมเบิร์ก ญี่ปุ่น จีน เลบานอน โมรอคโค และอื่นๆ Juan Navarro Baldeweg กำลังทำอาคารสำนักงานที่ Amersoort, ประเทศเนเธอร์แลนด์ ส่วน Alberto Campo ก็เพิ่งจะทำ กล่องกระจกที่มี Detail พิเศษ อย่างอลังการในแนว สเปน เสร็จไปที่ นคร New York

สถาปนิกคนหนึ่งของ สเปนที่ต้องนับเป็นหัวหอกในการ “ส่งออก”สถาปนิกสเปนไปสู่ระดับโลกก็คือ Rafael Moneao ซึ่งได้ทำงานออกแบบที่สำคัญมากใน อเมริกาได้แก่ Cathedral of Our Lady of the Angels ณ เมือง Los Angeles ซึ่งเป็นงานที่ทำให้ชาวอเมริกันทั่วๆไปได้รู้จักเขา มีคนไปชม เป็นหมื่นๆ คนทุกๆ วันหยุด ไม่ว่าจะมาจาศาสนาใดก็ตาม นอกจากนี้งานของเขาก็ืืคือ Cranbrook Art Museum ในรัฐ Michigan และงานของเขาก็ก้าวหน้าเขาไปอยู่ในสถาบันที่มีความเป็นอเมริกันอย่างสูงสุดเช่น โครงการศูนย์นักศึกษา Rhode Island School of Design และ ห้องปฎิบัติการวิศวกรรม ของมหาวิทยาลัย Harvard โดยเฉพาะโครงการ RISD นั้นกลายเป็นสิ่งที่คนในเมืองยกให้เป็นสัญลักษณ์ หรือ “โคมไฟ” ของเืมือง ไปเรียบร้อยแล้ว

สาเหตุของความสำเร็จอันมากมายของสถาปนิก สเปนทั่วโลกนั้น อาจจะมาจากการที่สถาปนิกล้นตลาดในประเทศเป็นส่วนหนึ่ง แต่จริงๆแ้ล้ว ก็อาจจะมาจากการที่คนทั่วโลกกำลังหันเข้า trend ตรงนี้ซึ่งบางคนอาจจะเีรียกว่าเป็น old-fashion ซึ่งมาจาก แนวทางการก่อสร้างที่เน้นระบบการก่อสร้างเป็นจุดศูนย์กลางมากกว่าเรื่อง Shape และ Form

ผมคิดว่าคนที่ชอบสถาปัตยกรรมของเรา(สเปน)เืนื่องจากเรื่องของ Purity, Logic and Rationalism (แปลตรงๆ คือเรื่องของความเรียบง่ายและเต็มไปด้วยเหตผล)” Miguel Quismondo ซึ่งเป็นสถาปนิกที่รับผิดชอบงานของ Alberto Campo ในโครงการ Baeza’s House “อาจจะเรียกได้ว่า เป็น Modernism ที่เต็มไปด้วยการทะนุทะหนอม อย่างดีก็ได้ ในขณะที่ Jean-Pierre Carniaux ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของ Richardo Bofill กล่าว่า “น่าจะเรียกว่า Archeomodernism ก็คงจะได้” โดยทั้งหมดอาจจะมาจากการที่ในยุค เผด็จการของจอมผล Francisco Franco นั้น สเปนเหมือนกับหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ของโลกเพราะยึดถืดนโยบายโดดเดี่๋ยว และเิกิดสงครามกลางเมือง ไม่มีใครคิดว่าจริงแล้ว การศึกษาทางสถาปัตยกรรมก็ยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องโดยที่ เน้นไปทาง Engineer มาก และไม่ได้ขึ้นอยูกับ standard ของระบบอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างมากนัก ทำให้เืมื่อประเทศเปิดสู่ภายนอก ทุกๆ คนก็หันมามองกับความไม่เหมือนใครตรงนี้ทันที “พอหลังจากนั้น โลกกันหันมามองเรา” Antonio Cruz บอก “พวกเขาค้นพบสถาปัตยกรรมที่ดีมากๆ และพวกเขาก็ประหลาดใจมากๆ”

Exceptions ข้อยกเว้น

ในความเป็นจริงแล้ว งานที่ออกแบบโดยสถาปนิกสเปน หรือที่เรียกกันว่าเป็นงาน “ส่งออก” ก็ไม่ได้เป็นงานออกแบบที่เป็น สเปนสุดๆ หรือที่เน้นความ pure ของโครงสร้างอย่างที่ว่า แ่ต่อย่างใด กลับออกจะเป็นการผสมปนเปไปกับ สายพวก deconstruction หรือ กระแสหลักอื่นๆ ของโลกด้วยซ้ำ ตัวอย่างเช่นงานของ EMBT ที่ได้รับเลือกให้ออกแบบ รัฐสภาของประเทศ สก๊อตแลนด์ ที่เมือง Edinburgh (พยายามอย่าเอามาเปรียบเทียบว่าเราควรจ้างสถาปนิกเมืองนอกมาออกแบบรัฐสภาของเราบ้างนะครับ ยุโรปกำลังมีเรื่อง merger ของวัฒนธรรมที่ต้องการให้มีการจ้างงานข้ามวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก เพื่อให้เป็นหนึ่งยุโรปให้ได้ ทั้งในทางการเงิน และวัฒนธรรม - ผู้แปล), โรงเรียนดนตรี ที่ Hamburg, เยอรมันนี ก็จะเป็น Deconstruction มาก หรือในกรณีของ Santiago Calatrava ที่มีลายมือที่ชัดเจนของตัวเอง แต่ก็ไ้ด้รับยกย่องมากจนเหมือนเป็นตัวแทนของสถาปัตยกรรมยุคใหม่ของสเปนไปแล้ว ทั้งๆ ที่จริงๆแล้วงานส่วนใหญ่ของเขาก็ไม่ได้อยู่ในสเปน และแม้แต่ office ของเขาก็ไม่ได้อยู่ในสเปน มีแต่ชื่อและสายเลือดเท่านั้นที่เป็นสเปน

ยิ่งถ้ามองไปใน กลุ่มสถาปนิกรุ่นใหม่นั้น กลายเป็นว่ายิ่งไปกันใหญ่ เพราะว่าได้เข้าไปติดอยู่กับ Trend ของความเป็นสากล ทฤษฎีต่างๆ เทคโนโลยี กลุ่มนี้เองก็เริ่มส่งออกงานไปต่างประเทศแล้วเหมือนกัน โดย Critic หลายๆ คนก็ยังยกย่องว่ากลุ่มรุ่นใหม่เหล่านี้ก็มีความเป็นเฉพาะตัวในเรื่องรูปแบบของงานออกแบบไม่แฟ้คนรุ่นเก่า ตัวอย่างในกลุ่มนี้ เช่น Cruz Ortiz ที่ออกแบบ Rijksmuseum ที่ประเทศ เนเธอร์แลนด์ และ สถานีรถไฟที่เมือง Basel ในประเทศ สวิสเซอร์แลนด์, Mansilla+Tunon ที่ออกแบบ บ้านที่โด่งดังมากในประเทศจีน และ Carlos Ferrater ที่ออกแบบ Aquieila Tower ที่เมือง Venice ประเทศ อิตาลี และโครงการพัฒนาโรงละครที่เมือง Le Mans (งานพวกนี้เจ๋งๆ ทั้งนั้นนะครับ ไปลอง Search หาดูใน google นะครับ - ผู้แปล) กลุ่มเลือดใหม่เหล่านี้ก็กำลังสร้างมาตรฐานใหม่ของ “งานส่งออก” ที่กำลังจะขึ้นมาใหม เป็นการสร้างชื่อเสียงในอีกยุคให้กับประเทศ

อย่างไรก็ตาม กลุ่มสถาปนิกอนุร้กษ์นิยมก็รู้สึกขมขื่นพอสมควรกับ International Style หรือรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นสากล ที่กำลังเข้ามาผสมพันธุ์กับสถาปัตยกรรมยุคใหม่ของสเปน และอีกไม่นานสิ่งที่เรียกว่า Modern Spanish Architecture ดังกล่าวอาจจะไม่มีหลงเหลืออยู่อีกแล้วก็ได้ ซึ่งคนที่่เป็นนักอนุรักษ์สถาปัตยกรรมรูปแบบดังกล่าวชอบเรียก Internatinal style นั้นว่า เป็น Contamination หรือการทำให้เสื่อม ซึ่งก็คงต้องเถียงกับสถาปนิกรุ่นเด็กๆ ไปอีกนาน ว่าทำให้เสื่อมจริงหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายก็ดุเหมือนจะเห็นพ้องต้องกันในแนวทางหนึ่งคือ เรื่องของ “professional rejection” หรือการ “ปฎิเสธ” ในระดับวิชาชีพ และสิ่งที่ปฎิเสธก็คือ การเอาผลกำไรนำหน้า การออกแบบ หรือการเอารูปแบบธุรกิจเป็นอาวุธ ในการไปทำการออกแบบทั่วโลก

แนวคิดในการปฎิเสธดังกล่าว ทำให้เกิดคำถามอีกคำถามหนึ่งที่ยังจะต้องไปหาคำตอบกัน ก็คือ ถ้าสเปนกำลังเป็นตัวแทนของวงการสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ วงการสถาปัตยกรรมในกระแสโลกาภิวัฒน์้ จะหลีกเลี่ยงการมุ่งไปสู่รูปแบบเดียวได้้ (Homogenization)หรือไม่ โดยเฉพาะในเรื่องของ ความงาม และ วัฒนธรรม

ถ้าคำถามนี้ได้รับการตอบอย่างเหมาะสม อาจจะนำไปสู่ยุคใหม่ของสถาปัตยกรรมที่เราคาดไม่ถึงก็ได้

บทความแปล: Tadao Ando - Pounding The Sandbag

เขียนบน website ของสมาคมสถาปนิกสยาม (www.asa.or.th) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2004

คำนำ จากหนังสือ ANDO ARCHITECTแต่งโดย Kazukiyo Matsubaแปลและเรียบเรียงโดย - ดร.พร วิรุฬห์รักษ์

ทาดาโอะ อันโดะ เกิดที่เมือง โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเมืองที่ เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมของประเทศมาแต่ครั้งโบราณ จากการที่เขาเติบโตขึ้นมาในย่านชุมชนที่เต็มไปด้วยโรงงานเล็กๆ ทำให้เขาได้รับการอบรมในแง่ของ ระเบียบวินัย การทำงานหนัก และ ความรับผิดชอบ และเนื่องจากได้รับอิสระเป็นอย่างมากในสมัยเป็นเด็กๆ เขากลายเป็นเด็กที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก คุณปู่และคุณย่า(อาจจะเป็นตาหรือยายก็ได้ เพราะมาจากคำว่า Grandparents) ซึ่งเป็นผู้ที่เลี้ยงดูเขามานั้น เป็นผู้ที่ต้องทำงานหนักทั้งคู่ และก็ไม่ได้หวังมากมายว่าจะให้เด็กชายทาดาโอะ คนนี้ต้องเรียนหนังสือให้เก่งฉกาจเลิศเลอ ซึ่งในที่สุดในช่วงปลายวัยรุ่นของเขา เขาได้ให้ความสนใจกับการชกมวยเป็นอย่างมาก และถึงขนาดไปขึ้นชกจนได้ใบประกาศรับรองความเป็นนักชกอาชีพเรียบร้อยก่อนที่จะเรียนจบมัธยมปลาย แต่หลังจากที่เรียนจบ แทนที่เขาจะมุ่งหน้าชกมวยอย่างจริงจัง เขากลับเลือกที่จะทำงานเป็นพนักงานเขียนแบบในสำนักงานสถาปนิกแห่งหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกับพนักงานเขียนแบบที่ทำงานในญี่ปุ่นหรือในที่อื่นๆ สมัยนั้น ด้วยความที่ทาดาโอะ อันโดะ ไม่เคยไปร่ำเรียนวิชาสถาปัตยกรรมหรือการเขียนแบบใดๆ มาจากในมหาวิทยาลัยทาดาโอะ อันโดะคนนี้ ไม่มีปริญญา แต่เขาใช้เวลามากมายในช่วงทศวรรษ 1960s ซึ่งอยู่ในวัย 20 กว่าๆของเขา ทำการศึกษาการเขียนแบบด้วยตัวเอง รวมทั้งทำการ ท่องเที่ยวไปทั่วประเทศ และทั่วโลก

ถ้า Tadao Ando ผู้ซึ่งมีความเป็นตัวของตัวเองและมีความมั่นใจในตัวเองสูงมากนั้น จะ มีภาพพจน์ที่ไม่เหมือนกับลักษณะของชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่จากสายตาของชาวโลก ก็เนื่องมาจากว่า เขาไม่ได้เ็ป็นชาวญีุ่ปุ่นกระแสหลัก แต่เขาคือ Osakaite หรือ ชาวเมือง Osaka ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของเขต Kansai (ฟังดูเล็กๆ แต่จริงแล้วเหมือนมณฑล หรือ รัฐ) ชาว Kansai นั้นจะมีลักษณะและวัฒนธรรมในการดำรงชีพ แตกต่างจากชาวญี่ปุ่นอื่นๆ ลักษณะเด่นคือการที่แสดงอารมณ์อย่างตรงไปตรงมา และมีความกระตือรือร้นมากกว่า เทียบกับ ความสุขุมและค่อนข้างเก็บตัวของชาวโตเกียว และถึงแม้ว่าคนกลุ่มนี้จะเป็นคนที่มีระเบียบวินัยในการใช้ชีวิต และมีความตั้งใจในการทำงานไม่แพ้ชาวญี่ปุ่นอื่นๆ พวกเขาก็มักจะถูกนับว่าเป็นพลเมืองชั้นรอง นอกจากนี้ แม้ว่าจะมี นโยบายรวมชาติผ่านทางการสร้างวัฒนธรรมของประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว ที่ได้ปฎิบัติกันมาทั่วประเทศนับตั้งแต่ต้นศตวรรษ ชาว Kansai ก็ยังคงปฎิเสธที่จะยกเลิกภาษาท้องถิ่นของเขาในการสนทนาประจำวัน

Tadao Ando เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากคนที่รู้จักว่า เป็นบุคคลที่มีศักดิ์ศรีในตัวเองมาก จากวิธีการทำงานของเขา ซึ่งเขากล้าจะยินดีรับผิดชอบกับผลลัพธ์ทุกๆอย่างที่เกิดขึ้นจากงานที่เขาทำ และเขาจะเป็นคนทำงานละเอียดละออมากๆ โดยจะตรวจตราในทุกๆจุดอย่างถีถ้วนเสมอ และจากที่ได้รับการกล่าวถึงใน นิตยสารสถาปัตยกรรมในประเทศญี่ปุ่นว่า เขามีรสนิยมของความงานที่สลับซับซ้อน (อาจจะแปลว่า พิลึกก็ได้ ถ้าพูดแบบสุภาพตามประสาคนญี่ปุ่น - ผู้แปล) แต่ก็มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ ไม่หวั่นไหว ที่จะทำงานในเชิง Modernism (ในที่นี้หมายถึงแนวทางที่สถาปนิก ยุโรป เช่น Gropius – Mies หรือ Ler Corbusier วางเอาไว้) โดยไม่ข้องแวะเข้าไปในกระแสอื่นๆ ที่มาตาม Fashion แต่อย่างใด

อาจจะเป็นการที่จะพูดเกินจริงว่า มหานครโตเกียว นั้นก็คือประเทศญี่ปุ่น แต่จากตัวเลขจะเห็นได้ว่า 70% ของผลผลิตมวลรวมในประเทศ มากจากโตเกียว และนั่นก็รวมถึงธุรกิจก่อสร้างด้วย ในขณะที่คนอเมริกัน หรือคนยุโรปไม่ได้สนใจที่จะต้องเดินทางไปอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เพื่อที่จะทำธุรกิจหรือหางานทำเพื่อความเจริญก้าวหน้า ประเทศใน เอเชียอย่าง ญี่ปุ่น ผู้คนยังคงให้ความสำคัญ และเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี ว่าคุณประสบความสำเร็จในโตเกียวหรือไม่ แต่สำหรับ Tadao Ando แล้ว เขาไม่ได้สนใจเรื่องนี้แต่อย่างใด เขาได้ก่อตั้ง Office ไว้ที่เมือง Osaka ที่เขาคุ้นเคย มาตั้งแต่เริ่มต้น และไม่เคยย้ายไปไหน แม้ว่าปัจจุบันจะเป็นบริษัทระดับโลกไปแล้วก็ตาม ในช่วงทศวรรษ 1980s วงการการออกแบบสถาปัตยกรรมในญี่ปุ่นเริ่มมาถึงจุดหักเห เมื่อ ความ Pure และ Functionalism ต่างๆ เริ่มเจือจาง และมีสถาปิกหลายๆ คนได้หันกลับมาหาความเป็นญี่ปุ่นมากขึ้น โดยต้องการที่จะหา identity อันใหม่ ของสถาปัตยกรรมที่แสดงความเป็นญี่ปุ่น โดยแนวทางของการพัฒนาเพื่อค้นหานี้ จะแยกออกเป็น 2 กลุ่ม หนึ่งคือกลุ่มที่ยังคงยึดความเป็น Modern อยู่เป็นฐาน และอีกกลุ่มคือ กลุ่มที่ต้องการจะหา Style อื่นๆ โดยไม่ยึดติดกับอะไร สถาปนิกหลายๆ คนหันไปหาแนวทางใหม่เป็นส่วนใหญ่ แต่ Tadao Ando ก็ไม่ใสใจกับคลื่นความเปลี่ยนแปลงนั้น ยังคงทำงานแบบ Modern ของตัวเองต่อไป

มีหลายๆครั้ง ที่ สถาปนิกและนักวางผังเมืองชาวยุโรปและอเมริกันได้กล่าวยกย่อง ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ในไม่เปลี่ยนแปลง ในการทำงานStyle Modern ของ Tadao Ando ต่อหน้าข้าพเจ้า (Mr.Matsuba ผู้เขียน) โดยที่ไม่ทราบว่าข้าพเจ้าเป็นเพื่อนสนิทของเขา เนื่องจากในคนกลุ่ืมนี้ ทั้งที่มีชื่อเสียงมากและไม่ค่อยมีชื่อเสียง ได้ทำการผันตัวเองไปตามกระแสของโลกที่ต้องการสีสันใหม่ๆ โดยการออกจาก Modern เข้าไปหา Post Modern และกระแสอื่นๆ ที่ตามมา แต่ทุกๆคนก็ยังยกย่องAndo ที่เหมือนเป็นตัวแทนที่กำลังทำในสิ่งที่พวกเขาอยากจะทำ แต่ไม่สามารถทำไดแล้ว

จากบ้าหลังเล็กๆ ที่มีขนาดประมาณ 100 ตารางเมตร (Row House Sumiyoshi) ที่เป็นงานสร้างชื่อของเขา Ando ได้ทำการออกแบบอย่างดุดัน และค่อยข้างจะเป็นเรื่องที่มีความเสียงสูงในด้าน Trend ที่จะยังคงใช้ ความเป็น Abstract ของรูปทรง และ ความงามในด้านสัดส่วน (ทำมาโดยตลอด ไม่เคยเปลี่ยน) เขาพยายามเปิดตัวเองอยู่เสมอและหาโอกาสอธิบายงานของเขาต่อทุกๆ คนที่ผ่านเข้ามาในเส้นทางการดำเนินชีวิตและการทำงาน เพื่อเป็นการเผยแพร่สิ่งที่เขาเชื่อและปฎิบัติอยู่

แต่อย่างไรก็ตาม จุดที่เป็นความแข็งแกร่งที่สุดในการทำงานของเขานั้น คือ ความสามารถในการ ใช้รูปทรงที่สร้างความงามเหนือกาลเวลาให้กับสัดส่วนของอาคาร (His Mastery of Geometry that sustains a supeb sense of proportion) ซี่งในปัจจุบัน Ando อาจจะเป็นคนเดียวที่ทำได้ ไกลขนาดที่เห็น

ถ้าจะพูดสั้นๆ ก็คือ Tadao Ando พยายามที่จะ มุ่งหน้าทำงานเื่พื่อสร้างสรรค์ ความงามของสถาปัตยกรรม Modern โดยไม่ใส่ใจว่าโลกรอบๆ ตัวนั้จะเปลี่ยนไปอย่างไร อาจจะเป็นการสื่อให้เห็นแนวคิดว่า เขามีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่า Modernism นั้นเป็น อุดมคติอันถาวรของโลกปัจจุบัน ในขณะที่ Post-Modernism นั้นเป็นเพียงแค่แสงวูบวาบของดาวตกเท่านั้น ในด้านทักษะทางการสนทนาและการเข้าสังคมนั้น Ando เป็นคนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ฟังที่มีความตั้งใจที่จะเข้าถึงความต้องการของลูกค้ามากกว่า สถาปนิกคนอื่นๆ แต่ในสภาวะของการทำงานแล้ว เขาเป็น Creator หรือผู้สร้าง และจะไม่ยอมอ่อนข้อในเรื่องของแนวทางการออกแบบที่เกี่ยวกับ Modernism นี้แม้แต่นิดเดียว ซึ่งลักษณะตรงข้ามที่ผสมผสานกันเป็นอย่างดีนี้ เป็นที่นิยมชบชอบของคนทั้งในและนอกวงการสถาปัตยกรรม

จากการสังเกตุของผู้เขียน (Mr.Matsuba) พบว่า สถาปนิกที่ได้รับการยกย่องในปรัชญาของวิถีการการทำงานอย่างแน่วแน่ ทางคล้ายๆ กับ Tadao Ando นี้ ได้ผ่านขั้นตอน 3 ขั้น ในชีวิตการทำงานของพวกเขา เช่นในกรณีของ Kenzo Tange นี่ชัดมาก โดยเริ่มจาก สถาปัตยกรรมที่เป็นตามประเพณีดั้งเดิม ที่เรียกว่า Sukiya (บ้านของเขา ได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก Katsura Imperial Villa) หลังจากนั้นก็ปรับไปสู่ Dynamic Metastructure (ใึีึีึครช่วยผมแปลด้วยครับ หมดปัญญาจริงๆ - ผู้แปล) และจบด้วย Postmodern Deco (หมดปัญญาเหมือนกันครับ ไม่กล้าเดา)- ซึ่ง I.M. Pei และ Le Corbusier ก็เป็นไปตามนั้น จะมีเว้นเสียก็แต่ Mies Van De Rohe คนเดียวเท่านั้น และสำหรับ Ando นั้น ผู้เขียนคิดว่ากำลังอยู่ในขั้นที่สอง

งานของ Tadao Ando ไม่เคยเปลี่ยนแปลงแบบรุนแรงมาก่อน งานของเขายังคงเป็น คอนกรีตเปลือย ที่มีรูปทรงเรียบง่าย แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปหลังจากงาน Raika Building แล้ว สิ่งที่เขาให้ความสนใจมากขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดคือเรื่องของ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และงามภูมิสถาปัตยกรรมรอบๆตัวอาคารที่เขาออกแบบ งานคอนกรีตของเขาหลังจากนี้จะเป็นสิ่งที่ เข้าไปกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นป่าเขา หรือว่างานที่วางอยู่ริมท้องทะเลก็ตาม

หลักการหนึ่งของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่สาธารณชนไม่เห็นด้วยก็คือ หลักของการอยู่โดดเดี่ยว (Isolation) และความสูงสงเหนือธรรมชาติกว่าโลกที่เป็นอยู่ทั่วไปจดหยดสุดท้าย งานของ Ando นั้นจะเห็นได้ชัดว่ามีการพัฒนาการไปในทางตรงกันข้ามกับหลักการดังกล่าว เช่น งาน Row House Sumiyoshi นั้น ได้มีการสร้างประสบการณ์ให้ผู้อยู่อาศัยมีปฎิสัมพันธ์กับ สภาพอากาศภายนอก เป็นที่น่าแปลกใจว่า ยิ่งเทคโนโลยีมีการพัฒนาให้คอนกรีตมีความแข็งแกร่งขึ้น และ Ando ก็มีวิธีการออกแบบและการใช้วัสดุคอนกรีตไปในแนวทางที่พลิกแพลงมากขึ้น แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับภายในอาคารที่เขาออกแบบก็มากขึ้นตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวผู้เขียนเอง (Kazukiyo Matsuba) ที่ได้ติดตามผลงานของ Ando มาโดยตลอดนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในญี่ปุ่นนี้ ค่อนข้างมีความมั่นใจว่า ผู้เขียนได้เห็นแนวทางการทำงานของ Tadao ในมุมที่กว้างและลึกกว่าคนที่มองมาจากต่างประเทศ ที่ได้เห็นผลงานที่มีชื่อเสียงหลายๆแห่งในโลกของเขา ข้าพเจ้ามีความเห้นว่า ณ เวลานี้ แนวทางการทำงานของ Tadao กำลังอยู่ในขั้นที่สองและกำลังจะก้าวไปสู่ขั้นที่สามแ้ล้ว

เมื่อข้าพเจ้าได้รับข่าวว่า Tadao Ando ชนะการประกวดแบบ Modern Art Museum แห่งเมือง Fort Worth รัฐ Texas นั้น ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างมาก เพราะนี่เป็นข้อพิสูจน์ว่าผลงานของเขานั้นเป็นที่ยอมรับในระดับสากลที่มากไปกว่าการเป็น อาคารที่มีความงานแบบประติมากรรมโมเดิร์นอย่างที่เคยเป็น ผลงานที่ออกมาอันเป็นการสะท้อนเอกลักษณ์และเรื่องราวของ อาคารพิพิธภัณฑ์ เก่าที่อยู่เคียงกัน ที่ออกแบบโดย Luis I Kahn เป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า Tadao Ando ได้มาสู่จุดสูงสุดของความรอบคอบในการพิจารณาบริบทรอบอาคารที่อย่างแท้จริง

ในขณะที่ผู้เขียน (Kazukiyo Matsuba) แต่งหนังสือเล่มนี้ ก็ได้รับทราบข่าวว่า Tadao Ando ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นอาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว สถาบันแห่งนี้คือจุดสูงสุดของระบบการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น และเป็นที่ผลิตสุดยอดสถาปนิกของญี่ปุ่นมาแล้วมากมายหลายคน รวมทั้ง Kenzo Tange และ Arata Isozaki สิ่งที่ต้องนำมาบอกให้โลกรู้ไว้ในที่นี้คือ Tadao Ando ไม่มีปริญญา และไม่เคยผ่านการเรียนรู้หรือการฝึกงานที่เป็นระบบในวิชาชีพสถาปัตยกรรมมาก่อน ซึ่งสำหรับสังคมที่มีระบบ ระเบียบแบบแผนที่เ้ข้มงวดและซับซ้อนอย่างญี่ปุ่นนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ สามารถนับได้เหมือนกับว่าเป็นการเปิดยุคใหม่เลยทีเดียว

ในความเป็นจริงแล้ว การประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมอย่างที่เ็ป็นในปัจจุบันอาจจะไม่ได้เหมาะกับลักษณะการศึกษาของสถาบันแห่งนี้สักเท่าใด ทุกวันนี้ สถาบันแห่งนี้คือที่ๆ สอนเรื่องเกี่ยวกับปรัชญาสังคมแบบเก่าและเป็นที่ผลิตชนชั้นสูง และในจำนวนนี้หลายๆคนก็เข้าสู่ระบบราชการ และทำงานในนั้นไปตลอดชีวิต ดังนั้นการที่รับ Tadao Ando เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดวิชาสถาปัตยกรรมต่อคนรุ่นใหม่ของสถาบันแห่งนี้ จึงเป็นการจุดประกายที่สำคัญอีกด้านหนึ่งที่น่าสนใจให้กับ คนรุ่นใหม่ของวิชาชีพ

ผู้เขียนต้องขอเพิ่มเติมอีกด้านหนึ่งคือ นี่จะต้องเป็นสถาณการณ์ที่ทางมหาวิทยาลัยโตเกียวรู้ตัวเองว่ากำลังเข้าสู่จุดคับขัน จึงได้ยินยอมที่จะรับ “คนเถื่อน” แบบ Tadao Ando เข้ามาเป็นอาจารย์ในสถาบัน ปัญหาที่เป็นอยุ่ในปัจจุับันคือ อาจารย์หลายๆคนในสถาบันเป็นผู้ที่อยู่ในโลกของอุดมการณ์และตัดขาดจากโลกของความเป็นจริงในการประกอบวิชาชีพ โดยหากจะมองในสังคมทั้งประเทศญี่ปุ่นแล้ว เรากำลังอยู่ในจุดที่ค่อนข้างอันตรายเนื่องจากเราให้ความสนใจกับการซ่อมแซมเศรษฐกิจที่สึกหรอให้เป็นเหมือนที่เคยมีมา โดยไม่สนใจที่จะสร้างมันออกมาในรูปแบบใหม่ให้ยั่งยืนกว่าเก่า และหลักการอันนี้ก็ส่งผลกระทบออกไปในทุกๆวงการ รวมทั้งการศีกษาด้วย สิ่งที่ผู้คนทุกวันนี้รู้สึกกับชีวิตตัวเองในทุกๆ มิติคืออนาคตที่ค่อนข้างมืดมัวเหมือนกับเมฆดำที่อยู่บนอากาศ การเข้ามาของ Ando นั้นก็เหมือนเป็นความพยายามอันหนึ่งที่จะขจัดเมฆนี้ออกไป

การชนะประกวดแบบใน Texas และ การได้รับเลือกให้เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยโตเกียว ทำให้ 1997 เป็นปีทองของ Tadao Ando และทำให้ เมือง Osaka ของเขานั้นกลายมาเป็นอีกหนึ่งเนื้อหาที่จะเข้าไปปะปนกับภาพพจน์โดยรวมของ ญี่ปุ่นที่คนทั่วโลกได้เห็น โดยที่ Tadao Ando จะเป็นสถาปนิกที่ เป็นตัวแทนของภาพพจน์อันนี้ ในรูปแบบที่บริสุทธิ์ที่สุด

ถ้าหากลองย้อนกลับไปมองชีวิตทั้งชีวิตของเขา นั้น ก็ต้องยอมรับว่าอัศจรรย์ เรื่องราวของเขาที่ได้รับใบอนุญาติเป็นนักมวยอาชีพเมื่อตอนเป็นนักเรียนมัธยม และถึงขนาดเข้ามาขึ้นชกบนเวทีที่ประเทศไทย (ข้อมูลใน Internet หลายอันยืนยันเหมือนกัน – ผู้แปล) เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องราวที่ทำให้ตัวเขาเ็ป็นจุดสนใจเทียบกับสถาปนิกญี่ปุ่นคนอื่นๆ หลายๆ คนคงจะจำเรื่องราวของนักชกคนหนึ่งที่เติมโตบนถนนของเมือง Brooklyn ในมหานคร New York และได้ก้าวไปเป็นแชมเปี้ยนโลก สำหรับ Tadao Ando ที่เป็นแชมเปี้ยนในวงการสถาปัตยกรรมนี้ เขาก็ได้ไต่เต้ามาทีละนิดจากความเหนื่อยยากในการชกกระสอบทรายในทุกๆก้าวของการขึ้นสู่จุดสูงสุดของเขา เหมือนเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าคนนอกคอกในประเทศของเขาเองคนนี้นี่แหละที่ได้กลายมาเป็นตัวแทนของประเทศที่ไม่ยอมรับเขา และทำให้เห็นว่าคน “ในคอก” ที่เป็นส่วนใหญ่ของสังคมนั้นมีสักกี่คนกันที่จะกลายเป็นมาเป็นคนที่โลกยอมรับได้อย่างเขาคนนี้

เมื่อใดที่เสียงของหมัดที่เขาชกลงบนกระสอบทรายทุกๆหมัด ได้ก้องผ่าน ตึกรามบ้านช่องของเมือง Osaka ไปสู่ทุกๆจุดในโลกแล้ว เมื่อนั้น ความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของพวกเราชาวญีุ่ปุ่นก็คงจะกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถยืดอกบนโลกใบนี้ได้โดยที่ไม่ต้องเกรงกลัวใคร

จบ

Saturday, February 25, 2006

บทความแปล: โดย Renzo Piano

เขียนบน Website ของ สมาคมสถาปนิกสยาม (www.asa.or.th) เริ่มเขียนเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2004

อภิมหาสถาปนิกแห่งทศวรรษคนนี้ ได้เขียนหนังสือรวบรวมผลงานตัวเองชื่อ Log Book ไว้ - พิมพ์เมื่อปี 1997 ภายในหนังสือเล่มนี้มีบทความที่น่าสนใจ เกี่ยวกับมุมมองต่อวิชาชีพและการทำงานที่จะขอนำเสนอไว้ ณ ที่นี้

Renzo Piano เกิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน ปี 1937 ในตระกูลของผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีชื่อเสียง จบการศึกษาจาก School of Architecture – Milan Polytechnic เมื่อปี 1964 ในช่วงที่เป็นนักศึกษานั้น ได้ทำงานใกล้ชิดกับ Franco Albini ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น "Neo-Rationalist" designers ที่สำคัญที่สุดใน Italy และในขณะเดียวกันก็ทำงานให้กับบิดาใน Site ก่อสร้างมาตลอด ทำให้เกิดประสบการณ์ในการก่อสร้างโดยตรงมาแต่เยาว์วัย ในช่วงปี 1970 Renzo Piano ได้พบกับ Jean Prouve’ และสร้างทีมออกแบบที่จะมีอิทธิพลต่องานที่ตามๆ มามากของเขา และในปี 1971 ก็ได้ร่วมกับ Richard Rogers สถาปนิกจากอังกฤษ ก่อตั้ง Piano & Rogers เพื่อก่อสร้างอาคาร Pompidou Center ที่ชนะการประกวดและเป็นการสร้างชื่อในวงการของทั้ง 2 คน ในปี 1977 ได้ก่อตั้ง “L’Atelier Piano & Rice” ร่วมกับวิศวกร Peter Rice ที่จะทำงานระดับโลกต่อๆ มาอีกหลายงานร่วมกัน จนกระทั้ง Rice เสียชีวิตลงในปี 1993 และสุดท้าย Piano ได้ก่อตั้ง Renzo Piano Building Workshop ขึ้นที่เมือง Genoa โดยมีสมาชิกประมาณ 100 ชีวิตทำงานให้กับเขา (ประกอบไปด้วยทั้งสถาปนิก วิศวกร และ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆ

อาชีพสถาปนิกนั้นเหมือนการผจญภัยรูปแบบหนึ่ง จะเรียกได้ว่าเป็นอาชีพทัพหน้าก็ได้ พวกเราต้องเดินอยู่บนคมมีดที่แบ่งระหว่าง โลกของศิลปะและโลกของวิทยาศาสตร์ ระหว่างความทรงจำเก่าๆกับความคิดที่มีแปลกใหม่เป็นตัวของตัวเอง (Originality) ระหว่าง ความกล้าของการไปสู่โมเดิร์น และความเคารพที่ต้องมีต่อวัฒนธรรมอันเก่าแก่ สถาปนิกอย่างพวกเราไม่มีทางเลือก นอกจากมีชีตอยู่อย่างหวาดเสียวแบบนี้ (Living Dangerously) พวกเราทำงานกับวัสดุทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งข้าพเจ้าไม่ได้หมายความแต่เพียง คอนกรีต ไม้ หรือโลหะ เท่านั้น แต่ข้าพเจ้ารวมความไปถึง ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ นิเวศวิทยา ความงาม เทคโนโลยี ภูมิอากาศ และ สังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่สถาปนิกเราต้องทำงานร่วมกับมันทุกๆ วันอาชีพสถาปนิก เป็นอาชีพที่ดีที่สุดในโลก ด้วยเหตุผลที่ว่า ในโลกใบเล้กๆ แห่งนี้ มนุษย์ได้ค้นพบสิ่งต่างเกิบครบหมดแล้ว อย่างน้อยก็ไม่มีดินแดนไหนในโลกที่ไม่อยู่บนแผนที่ การค้นพบสิ่งใหม่ๆ แทบจะไม่เกิดขึ้นแล้ว แต่ในขณะเดียวกับ ในการออกแบบของพวกเรานั้น ยังคงเป็นเหมือนการผจญภัยที่จะค้นหาสิ่งใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา สำหรับการค้นหาโลกในเชิงกายภาพนั้น บรรพบุรษของเราได้จัดการเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับคนในยุคเรา สิ่งที่เหลืออยู่คือ การค้นหาสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ และจิตวิญญาณของตัวเราเอง การออกแบบนั้น ก็เหมือนเป็นการเดินทางอย่างหนึ่ง เราตั้งใจที่จะออกค้นหาอะไรบางอย่าง เพื่อที่จะได้เรียนรู้จากมัน แล้วเราก็เตรียมพร้อมกับสิ่งอันไม่คาดฝันที่จะเกิดขึ้น ถ้าเราเกิดความกลัว และตัดสินใจที่จะล้มเลิกการเดินทาง แล้วกลับไปหาสิ่งเก่าๆที่เราเคยมี เราเคยเห็น เราเคยรู้ การเดินทางก็ล้มเหลว แต่ถ้าคุณเป็นคนที่รักการผจญภัย คุณไม่หลบหนี คุณมีความกล้า และพยายามมุ่งหน้าต่อไป การทำโครงการใหม่ๆ ของคุณนั้นก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางใหม่ๆ ทุกๆ ครั้ง และคุณก็จะได้เข้าไปอยู่ในจุดที่คุณไม่เคยได้พบ ไม่เคยได้เห็น และไม่เคยได้รู้จักมาก่อนอยู่เสมอ คุณจะกลายเป็น Robinson Crusoe ของโลกยุคใหม่

อาชีพสถาปนิกเป็นอาชีพที่เก่าแก่ พอๆ กับนักล่าสัตว์ ชาวประมง ชาวนา ฯลฯ มนุษย์ปุถุชนอย่างพวกเราได้รับมรดกตกทอดทางกิจกรรมต่างๆ มาจากบรรพบุรุษเราทั้งสิ้น และทุกสิ่งทุกอย่างก็มีการพัฒนาเป็นขั้นตอนอย่างช้าๆ หลังจากที่การหาอาหารได้จบลง มนุษย์ก็หาที่อยู่ และ ณ จุดที่ มนุษย์ตัดสินใจที่จะพาตัวเองให้หลุดพ้นจาก สภาพความเป็นอยู่ตามมีตามเกิดแล้วแต่ ธรรมชาติจะประทานมาให้ และเริ่มสร้างสภาพแวดล้อมที่ตัวเองพอใจขึ้นมาเพื่อทำการใช้สอยอย่างที่ต้องการนั้น มนุษย์ก็กลายมาเป็น สถาปนิกผู้คนที่สร้างบ้านเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยนั้น นอกจากจะสร้างให้ตัวเองแล้ว ก็ยังสร้างให้ครอบครัว และสร้างให้ผู้คนในเผ่าของตนเอง และบ้านที่สร้างก็ไม่ได้มีจุดประสงค์เพียงเพื่อปกป้องผู้อยู่อาศัยจากดินฟ้าอากาศเท่านั้น แต่มักจะมากับความงาม และ การแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของตัวผู้อยู่อาศัย ณ ที่นั้นเสมอ การสร้างบ้าน ตั้งแต่เริ่มแรกของ อารยธรรมมนุษย์นั้น ก็คือการต่อสู้เพื่อค้นหา ความเป็นทีสุด ของ ความงาม (Beauty) ความมีสง่าราศรีและเกียรติยศ (Dignity) และ การแสดงออกถึงสถาณภาพ (Status) ซึ่งทั้งหมด สามารถแยกออกได้เป็น สองแนวทางที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง หนึ่งคือ ความพยายามที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และสองความความพยายามที่จะสร้างความแตกต่าง ดังนั้น การสร้างอาคารอะไรบางอย่างนั้นจึงไม่สามารถเป็นเรื่องของเทคนิคการก่อสร้างเพียงอย่างเดียวได้ แต่จะต้องเกี่ยวพันธ์กับอะไรหลายๆ ความปราศจากความหมดจด ชัดแจ้ง (Ambiguity) เหล่านี้ คือสิ่งที่ทำให้อาชีพสถาปนิกแตกต่างออกไปจากอาชีพอื่นๆ และบุคคลใดก็ตามที่พยายามจะมอง Ambiguity เหล่านี้ กลายเป็นของง่ายๆ และสร้างคำตอบง่ายๆ ให้กับมัน บุคคลผู้นั้นไม่ได้เป็นผู้ที่จะเริ่มเดินไปสู่ความก้าวหน้าได้เลย เพียงแต่เป็นผู้ที่เริ่มจะยอมแพ้กับการเดินทางต่างหาก

Profession in Crisis

ข้าพเจ้าได้มีโอกาสสนทนาเกี่ยวกับเรื่องความหวาดกลัวว่าวิชาชีพสถาปนิกกำลังจะสูญพันธุ์ไปจากโลกอยู่เสมอ ข้าพเจ้าเองก็เคยกล่าวไว้นานมาแล้วว่า สิ่งที่สถาปนิกทำอยู่ในตอนนี้ (Architect’s job) กำลังจะหายไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกับ คนที่จุดตะเกียงและดับตะเกียงถนน เพราะมันไม่มีตะเกียงน้ำมันแล้ว งานที่พวกเราทำต้องเปลี่ยนไป เพราะโลกมันเปลี่ยนไป แต่ถามว่า มนุษย์เรายังต้องการสถาปัตยกรรมหรือไม่ ข้าพเจ้าก็ต้องยืนยันว่า มนุษย์เรายังต้องการอยู่อย่างแน่นนอน และต้องการมากยิ่งกว่ายุคไหนๆ ที่ผ่านมาอีกด้วย ดังนั้นพวกเราจึงไม่มีความจำเป็นต้องกังวลกับการที่งานสถาปัตยกรรมจะหายไปแม้แต่น้อย แต่สิ่งที่กำลังจะหายไปในสายตาของข้าพเจ้าซึ่งน่ากลัวยิ่งกว่า ได้ ความไม่ย่อท้อ ความรับผิดชอบ ความยอมรับฟังเหตุผล และ ความรักในการสร้างงานให้มีคุณภาพ ต่างหาก และเป็นสิ่งที่จะมีผลกระทบต่ออนาคตของวิชาชีพมากกว่าอย่างอื่น ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่า วิชาชีพนี้จะต้องได้รับการสร้างเกียรติภูมิขึ้นมาใหม่ และเพื่อให้ได้เกียรติภูมินั้นมา เราจะต้องมองย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของวิชาชีพของเรา

อันดับแรกเลยคือ สถาปนิกคือใครกันแน่ – สถาปนิกจะต้องย้ำกับตัวเองไว้เลยว่า สถาปัตยกรรมนั้นคือ การบริการ (Architecture is a service) ต้องจำไว้ให้เป็นบทเรียนอันเจ็บปวดที่จะเตือนตัวเราไม่ให้หลงเข้าไปในโลกของ แฟชั่น สไตล์ และ เทรนด์ ทั้งหลาย ซึ่งไม่ใช่ว่าเราจะต้องยึดไว้เป็นสรณะ อย่างแน่วแน่สุดชีวิต แต่ขอให้เป็นการมองในมุมของผู้ที่ถ่อมตนว่า เรากำลังทำงานเพื่อให้บริการผู้อื่นอันดับที่สอง พวกเราสถาปนิกคือผู้ปลูกเรือนให้ท่านอยู่ ท่านคือผู้ที่จะเข้ามาอยู่ มาใช้ เรารู้จักวัสดุและโครงสร้าง เรารู้จักทิศทางลม และการขึ้นลงของน้ำในมหาสมุทร เรารู้จักการควบคุมการผลิตผลงานและทำให้ผลงานนั้นใช้การได้ หรือหากจะพูดให้ง่ายๆก็คือ พวกเรารู้และเข้าใจว่า ทำไม บ้าน สะพาน และเมือง ถึงได้ก่อกำเนิดขึ้นมาในทุกๆ วิกฤตการณ์ของมนุษย์เรานั้น จะมีเมล็ดพันธุ์ของความเห็นแก่ตัวเกิดขึ้นมาอย่างช้าๆ ซึ่งนำไปสู่การเอาตัวรอดวิธีใดวิธีหนึ่ง บางคนก็เหมาเอาเลยว่า ตนเองไม่ได้มีประโยชน์อะไรกับสังคมแล้ว ต้องหาที่ยืนใหม่ โดยผันตัวเองจาก ช่างฝีมือ(Craftspeople) ที่ควรจะเป็น ไปสู่ความเป็นศิลปินเต็มรูปแบบที่ไม่ต้องสนใจกับเงื่อนไขและข้อจำกัด หรือความรับผิดชอบ ที่มีอยู่ในชีวิตจริงๆ หรือในที่สุดก็อาจจะหนีเข้าไปอยู่ในสถาศึกษาต่างๆ ให้ไกลจากโลกของการทำงานมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ไปเลย ที่ข้าพเจ้ากล่าวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการเหมาเอาว่าทุกคนในวิชาชีพนี้กำลังจะไปสู่จุดนี้ แต่ข้าพเจ้าคิดว่าทุกคนจะต้องยอมหาวิธีที่จะทำอะไรให้ยากขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากที่กล่าวไว้แล้วว่า นี่คือวิชาชีพที่ต้องเดินอยู่บนคมดาบเสมอ ระหว่างเทคโนโลยีและศิลปะ และข้าพเจ้าคิดว่าการเดินที่มีอันตรายเช่นนี้คือการหนทางที่จำเป็นและควรจะคงอยู่ต่อไป ใครก็ตามที่เห็นว่า ทั้งสองส่วนนั้นควรจะแยกกันอย่างเด็ดขาดเมื่อไหน คนๆนั้นจะตกจากคมดาบทันที ไม่ข้างใดก็ข้างหนึ่ง

ถ้าอาคารสักหลังถูกลดค่าลงมาเป็นแค่เรื่องของ เทคนิค เรื่องของระบบอาคาร เรื่องของ การจัดการและเรื่องของ เงิน อาคารหลังนั้นจะหมดความน่าอภิรมย์ ลงไปทันที คุณค่าทางสังคมของอาคาร การเชื่อมสัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้ที่เข้าไปใช้อาคาร บ้านเมืองรอบๆตัวเรานั้นเต็มไปด้วย อาคารแบบนี้ในทุกๆ มุมของเมือง มีนักปราชญ์ชาวรัสเซีย ผู้หนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ความจริงคือสิ่งที่ดื้อรั้นที่สุด – สำหรับสิ่งที่สะท้อนไปถึงสถาปนิกเราก็คือ อาคารก็ต้องสร้าง และความเป็นเทคนิคก็ยังต้องมีอยู่ด้วย อย่างสมบูรณ์ สามารถใช้การได้ มีผู้คนหลายๆคนเห็นว่าเรื่องของเทคนิคนั้น น่าจะเป็นการทำอย่างมีความเป็นศิลปะ ซึ่งฟังดูต้องเป็นเรื่องของอุคมดติมาก หรืออาจจะพูดให้ตรงไปเลยคือ ศิลปะกับเรื่องของเทคนิคนั้นไม่ควรจะเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันได้เลย สำหรับตัวข้าพเจ้าเอง เห็นว่าความคิดทั้ง 2 ด้านนั้นเป็นความคิดที่รุนแรงเกินไป ข้าพเจ้าจึงไม่เห็นด้วยทั้ง 2 ด้าน แต่ค่อนข้างจะเอนเอียงมาในอย่างหลัง มากกว่าอย่างแรก เนื่องจากข้าพเจ้ายังมีความเชื่อมันในคุณสมบัติของความเป็นศิลปะมากกว่า ข้าพเจ้าอยากจะมองสถาปนิกว่าเป็นผู้ใช้ความรู้ทางเทคนิคเพื่อสร้าง อารมณ์ – อารมณ์ในเชิงศิลปะ ถ้าจะกล่าวให้ตรงไปตรงมา (Architects, a person who uses technique to create an artistic emotion) ถ้าใครก็ตามที่เคยได้ฟังการแสดงดนตรี โดยนักดนตรีชั้นยอด (Mr.Piano ยกตัวอย่าง นักเปียโน Maurizio Pollini และ นักไวโอลิน Salvatore) Accardo) คุณจะเห็นได้ว่า เทคนิคที่เข้าได้รับการฝึกฝนมาช้านานนั้น มันได้ฝังเข้าไปในจิตวิญญาณของเขา เป็นส่วนหนึ่งราวเก็บเลือดที่โลดแล่นอยู่ภายในร่างกายของเขาปแล้ว และเมื่อถึงจุดนั้นมันก็เข้าสู่สภาวะของความเป็น ศิลปะไปโดยปริยายCharlie Parker เคยบอกกับข้าพเจ้าว่า “เรียนดนตรี และการเล่นเครื่องคนตรี ให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ และให้เชี่ยวชาญที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ หลังจากนั้นก็ลืมมันไปซะ แล้วก็เล่นอะไรก็ได้ เล่นอย่างไรก็ได้อย่างที่คุณอยากเล่น” ข้าพเจ้าเชื่อว่าพวกเราสถาปนิกต้องทำอย่างเดียวกันในวิชาชีพของเรา

The Adventure of the Architect

การผจญภัยของสถาปนิกการสร้างสรรค์อะไรบางอย่างนั้นเหมือนกับการเดินทางไปสู่ที่มืด ด้วยความกล้าหาญ ความตื่นตัว และความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่หวั่นไหวกับสิ่งรอบข้าง จะมีหลายครั้งที่เราจะประสบพบกับจังหวะเวลาที่ทำให้เรารู้สึกสับสน อยากรู้อยากเห็นที่จะก่อให้เกิดความตึงเครียด แต่ถ้าท่านไม่ยอมรับความท้าทายเหล่านี้ ท่านก็จะไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากทำตามสิ่งที่คนรุ่นก่อนท่านทำๆ กันมา และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการเรียนการสอนสถาปัตยกรรม (academicism) อย่างที่เราเห็น – ทำตามๆ กันไป - เมื่อใดที่ท่านตัดสินใจที่จะยึดมันถือมันกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นหลักโดยที่ไม่ใส่ใจกับสิ่งอื่นๆแล้วละก็ เมื่อนั้นท่านไม่ได้สร้างจุดกำเนิดของความคิดใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไปแต่อย่างใด แต่ท่านได้หาทางออกเป็นข้อแก้ตัวของตัวเองเรียบร้อยแล้ว เพื่อไม่ให้ตัวเองมีความจำเป็นที่จะต้องคิดอะไรอีก เป็นการหาที่หลบภัยจากความกลัว อย่าลืมว่าการผจญภัยนั้นย่อมหมายถึงการไปผิดทางด้วยเหมือนกัน การเสี่ยงจะต้องมีอยู่ในตัว ถ้าหากท่านต้องการความแน่นอน ก็ไปใช้ถนนที่เขาตัดให้ไว้แล้วก็ย่อมได้ แต่นั้นไม่ใช่การค้นหาสิ่งใหม่ๆ (exploration) แ่ต่อย่างใดเมื่อท่านเดินเข้าไปในห้องที่มืดมิด สายตาของท่านจะใช้เวลาชั่วครู่ในการปรับตัว ซึ่งเป็นเหมือนกันสังเกคุสิ่งแวดล้อมรอบกายก่อน จิตของท่านก็รับรู้และปรับตัวไปด้วยเช่นกัน และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการคิดหาสิ่งใหม่ๆ (Creation) ที่อยู่ในห้องมืดนี้ จริงๆ แล้วคำว่า Creation นี้ ข้าพเจ้าเองก็ไม่แน่ใจว่าเป็นคำที่เหมาะสมหรือไม่ บางทีเราอาจจะต้องหาคำอื่น การออกแบบนั้นเป็นเหมือนการผจญภัยที่เต็มไปด้วย จังหวะเวลา (moment) แห่งความตื่นเต้น แต่ถ้าหากจะพูดถึงจังหวะเวลาแห่งการค้นหาสิ่งใหม่ๆ แล้วละก็ ถ้าหากมีอยู่จริงๆ อาจจะมีอยู่แค่เพียงในหัวของเราเท่านั้น อีก 6 เดือนถัดไป หรืออีก 1 ปีถัดไป ท่านจะกลับมานั่งคิดว่า เออ วันนั้นของชีวิตเรานั่นล่ะคือจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ แต่ท่านก็อาจจะอดคิดไม่ได้ว่า ทำไมมันถึงไม่มีความรู้สึกว่า มีวงโยธวาธิต หรือพลุ มาจุดในหัวของเราเพื่อฉลองความสำเร็จกับความคิดตรงนั้น ในความเป็นจริงนั้น ตัวความคิดใหม่ๆ (idea) ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นทันที ทันใดจากความเป็นอัจฉริยะส่วนบุคคลของคนแต่ละคน และไม่ได้เป้นเสียงแว่วในจิตนาการของเราเองเหมือนมีเทพมาบอก ความคิดใหม่ๆล้วนเกิดขึ้นจากความพยายามของบุคคลที่ เข้าไปทำการค้นคว้า วิจัย และทดลอง เป็นการพยายามทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า ครั้งแล้วครั้งเล่า ความคิดใหม่ๆ นั้น เป็นนั้นเป้นสิ่งที่เกิดขึ้นมาโดยธรรมชาติจากกรรมวิธีที่ยากที่จะจดจำช่วงเวลาได้ว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ นี่คือความคิดของข้าพเจ้าเองที่จะหลีกหนีจากพันธนการของคำว่า Creation – สำหรับข้าพเจ้านั้น ศิลปินทั้งหลายนั้นไม่ใช่ผู้ที่มี พรสวรรค์ (Gift) แต่อย่างใด แต่เขาเหล่านี้เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในระเบียบวิธีการ และเหตุผลของการฝึกหัดทั้งในความคิดและจิตวิญญาณอย่างแท้จริง ในการที่จะทำงานด้านต่างๆ ของเขาเหล่านั้นต่างหาก (Piano ใช้คำว่า Tekne’ หมายถึง art (in the sense of 'way of doing')

Obligation of the Architects

สถาปัตยกรรมเป็นศาสตร์ทางศิลปะที่ค่อนข้างจะอันตราย และเป็นผลลัพธ์ที่คนจะต้องเห็น (Imposed Art) คุณไม่จำเป็นที่จะต้องอ่านหนังสือที่เขียนไม่ดี คุณไม่จำเป็นต้องฟังเพลงที่ไม่ไพเราะ แต่อาคารที่คุณต้องเดินผ่านทุกๆ วัน คุณเลือกที่จะไม่มองมันไม่ได้ คุณไม่มีทางเลือก และถ้าหากคุณต้องเป็นผู้ที่ใช้อาคารนั้น ก็จะกลายเป็นฝันร้ายในระดับที่สูงขึ้นไปอีกดังนั้นความรับผิดชอบของสถาปนิกจึงค่อนข้างที่จะหนักหนาสาหัส เนื่องจากผลที่อาจจะเกิดขึ้นยาวนานไปถึงชั่วลูกชั่วหลานอันนี้ สิ่งที่กล่าวมานี้ไม่ใช่ความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าเองแม้แต่น้อย แต่เป็นสิ่งที่จะช่วยขยายมุมมองของภาพสะท้อนที่เรามองตัวเองอยู่ภาระหน้าที่ผูกพันธ์ของเรา (Obligation) คืออะไร? Pablo Neruda (นักประพันธ์และนักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศ ชิลี) ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ที่เป็นกวีนั้น จะพูดและเขียนอะไรเป็นบทกวีเสมอ เนื่องจากไม่มีวิธีใดอื่นแล้วสำหรับเขาและเธอผู้นั้นที่จะแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนเองออกมา และถ้าเป็นสถาปนิก สำหรับข้าพเจ้าเองนั้น ข้าพเจ้าก็ไม่ชอบที่จะมาป่าวประกาศอะไรมากมายแล้วไม่ทำอะไรให้เห็นเป็นชิ้นเป็นอัน ข้าพเจ้าจะบอกสิ่งที่ข้าพเจ้าคิด และจะสร้างมันให้เห็น ข้าพเจ้าต้องการที่จะสืบสานความยิ่งใหญ่ของแนวทางการประกอบวิชาชีพของเรานี้ โดยที่ไม่ได้มีสิ่งอื่นใดไปนอกจากเป็นการให้บริการที่มีคุณภาพต่อสังคม แต่แม้กระทั่งให้สถาปนิกมากมายเปลี่ยนมายึดถือความคิดนี้กันหมด ตัวสถาปนิกเองก็อาจจะตกอยู่ในอันตรายได้อยู่ดี เนื่องจากโลกในอุดมคติ (Utopia) ที่สถาปนิกคิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็นเหมือนโลกในอุดมคติของคนในวงการอื่นๆ เนื่องจากจะต้องเป็นโลกที่จะต้องนำมาสร้างให้เป็นความจริง Vision ที่สถาปนิกขึ้นมาเกี่ยวกับโลกนั้น จะต้องกลายมาเป็นโลกจริงๆ ในที่สุด และด้วยความรับผิดชอบขนาดนั้น อาจทำให้สถาปนิกคิดไปถึงขนาดที่ว่า ข้าคือคนกำหนดอนาคตของโลก หรืออย่างน้อยที่สุดก็คือ ข้าเป็นผู้ที่จะต้องกระตุ้นให้ระบบดำเนินไป ข้าพเจ้าคิดว่า งานของเรานั้นล้วนแต่เป็นโครงการที่ไม่มีวันทำเสร็จ เนื่องจากเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่เราจะต้องมีการปฎิวัติเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เกิดวิวัฒนาการ (evolution) อยู่อย่างต่อเนื่อง สถาปนิกเป็นผู้จุดประกายให้เกิดการเคลื่อนไหว แต่เราก็ไม่สามารถไปคาดเดาอนาคตได้ว่าจะออกมาในรูปแบบใด และนั่นคือเหตุผลที่่ว่า การเริ่มต้นใดๆนั้นจะต้องอยู่บนรากฐานที่แข็งแรง เพราะนั่นคือที่ๆ สถาปนิกจะได้ทุ่มเทจิตคุณค่าของจิตวิญญาณที่ตัวเองมี ลงไปในสิ่งที่เขาทำอยู่


The Culture of Doing

ข้าพเจ้าเกิดในครอบครัวที่เป็นผู้รับเหมา่ก่อสร้าง ตั้งแต่คุณปู่ คุณพ่อ และพี่น้องทั้งหมด ข้าพเจ้าจริงๆแล้วก็ควรจะไปร่วมอยู่ในนั้นด้วยแต่ในที่สุด ข้าพเจ้าได้ตัดสินใจว่าอยากจะเป็นสถาปนิกมากกว่า สำหรับพ่อของข้าพเจ้าเมื่อได้ฟัง ก็คงจะรู้สึกได้ถึงสัญญาณแห่งการแตกแขนงของความเป็นปึกแผ่นทางวิชาชีพของครอบครัวออกไป ข้าพเจ้ารู้ว่าอะไรคือสิ่งที่พ่อของข้าพเจ้าอยากเห็นมากที่สุด เนื่องจากท่านเป็นผู้รับเหมาที่ไม่มีปริญญา สิ่งที่ท่านอยากเห็นคือความเป็นผู้รับเหมาที่มีปริญญาของลูกๆ นั่นคือการพัฒนาในครอบครัวที่ท่านอยากเห็น ดังนั้สำหรับทางเลือกของข้าพเจ้านั้นจึงถือว่าอยู่เหนือความคาดหมายเล็กน้อย เคยมีคนบอกไว้ว่า สิ่งที่เรารู้ทุกๆอย่างนั้น มาจากการที่เราได้เรียนเมื่อตอนที่เราเป็นเด็กๆ และชีวิต จริงๆแล้วก็คือการค้นหาสิ่งใหม่ๆ โดยขุดลึกลงไปในความทรงจำต่างเมื่อเราเป็นเด็ก ข้าพเจ้าเองก็นำสถาณภาพของครอบครัวตรงนี้มาพิจารณาในเรื่องของการศึกษาต่อเป็นอย่างมาก เพราะข้าพเจ้าเองก็รำลึกได้ดีว่า สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในวัยเด็กที่เติบโตมานั้นมีผลกับข้าพเจ้าเป็นอย่างมาก เหมือนกับลูกหลานที่เิิกิดในคณะละครสัตว์ สักวันก็ต้องห้อยโหนโจนทะยานบ้าง ไม่มากก็น้อย ชีวิตวัยเด้กของข้าพเจ้า จากการที่เกิดมาเป็นลูกของผู้รับเหมาก่อสร้าง และโตมาใน site ก่อสร้างนั้น ทำใ้ห้ข้าพเจ้าเิิกิดแรงบันดาลใจและมีความประัทับใจในเรื่องของการก่อสร้างตั้งแต่เล็ก และถ้าหากจะูพูดให้ตรงไปกว่านี้ ก็อาจจะเรียกได้ว่า ประทับใจในเรื่องของ “วัฒนธรรมการลงมือทำ” (Culture of Doing) ซึ่งเป็นปรัชญาที่ข้าพเจ้าได้ยึดมั่นมาตลอดชีวิตของข้าพเจ้า

เป็นเรื่องปกติสำหรับสถาปนิกใหม่ที่มักจะอยากเริ่มต้นงานด้วย style ของตนเอง แต่สำหรับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเลือกที่จะเริ่มจากการลงมือทำก่อน (doing) โดยการศึกษาพื้นที่ก่อสร้าง การทำความรู้จักกับวัสดุก่อสร้าง ความรู้ทางระบบการก่อสร้าง ฯลฯ การเดินทางในโลกสถาปัตยกรรมของข้าพเจ้าเป็นการเดินผ่านเส้นทางในด้าน เทคนิค เป็นหลัก และหลังจากนั้น มันจึงได้นำข้าพเจ้ามาสู่ความเข้าใจในความสลับซับซ้อนของ ของที่ว่าง(space) การสื่อความรู้สึก (expression) และรูปทรง (form) ในช่วงแรกหลังจากที่ข้าพเจ้าจบการศึกษา ประมาณปี 1964 – 1968 เป็นช่วงเวลาของการทดลองความคิด ข้าพเจ้ารู้สึกได้ในตอนนี้ว่า ช่วงนั้นเป็นเวลาที่สำคัญมาก แม้ว่าข้าพเจ้าจะไม่มีงานออกแบบใดที่ได้สร้างเลยก็ตาม อาจจะเรียกได้ว่า เป็นการใช้เวลาเพื่อลองอะไรบางอย่างไปเรื่อยๆ และต่อเนื่อง เพื่อหลีกหนีให้พ้นจากแนวคิดที่ว่าจะต้องไปเป็นอาจารย์สอนสถาปัตย์ ที่ข้าพเจ้าไม่อยากเป็น ก็ได้ข้าพเ้จ้ายังจำได้เมื่อครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้ไปที่ site ก่อสร้างเป็นครั้งแรกกับบิดาของข้าพเ้จ้าเมื่อครั้งที่ยังเป็นเด็กเล้กๆ ประมาณ 10 ขวบ สำหรับข้าพเจ้าแล้ว site ก่อสร้างเป็นเหมือนพื้นที่ๆ มีปาฏิหารย์ เพราะวันหนึ่งข้าพเจ้าเห็นแต่กองทรายและกองอิฐ แต่ในเวลาต่อมา ข้าพเจ้ากลับได้เห็นกำแพงที่ตั้งตรงในตัวของมันเองได้ และในที่สุด ก็กลายเป็นอาคารที่สง่างามที่คนเข้าไปอาศัยได้ข้าพเจ้าไม่เคยลืมภาพของบิดาข้าพเจ้า ความสัมพันธ์ระหว่างเราสองคนแน่นแฟ้นมาก เมื่อครั้งหนึ่ง เมื่อท่านอายุได้ประมาณ 80 ปี ข้าพเจ้าได้พาท่านไปยัง site ก่อสร้างแห่งหนึ่งของโครงการที่ข้าพเจ้าออกแบบ โครงการนั้นเป็นโครงการที่ใช้ระบบ Tensile Structure และในวันนั้นก็เป็นวันที่จะทดสอบโครงสร้างพอดี บิดาของข้าพเจ้าสูบไปป์อย่างเงียบงัน ไม่กล่าวว่าอะไร จนในทางที่กลับบ้านเมื่อเรานั่งอยู่บนรถด้วยกัน ข้าพเจ้าอดไม่ได้ที่จะถามท่านว่า ท่านคิดอย่างไรกับงานของข้าพเจ้า ท่านตอบกลับมาสั้นๆ ว่า “ไม่รู้ว่ามันจะอยู่ได้มั้ย” - ทำให้ข้าพเจ้าแอบยิ้มในใจ ว่าข้าพเจ้าเดาถูกว่าท่านจะต้องคิดเช่นนั้น

The Magic of Building Siteข้าพเจ้ายังคงชอบสถานที่ก่อสร้างอยู่เสมอ ข้าพเจ้าคิดว่ามันเป็นสถานที่ๆ มีความพิเศษอยู่ ด้วยทุกสิ่งทุกอย่างนั้น มีการเคลื่อนไหวอยุ่เสมอ สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนไปตลอดเวลา มันเป็นการผจญภัยที่น่าสนใจทีสุดของมนุษย์จริงๆ และข้าพเจ้าเองก็ภูมิใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมัน สถานที่ก่อสร้างเหล่านี้เป็นที่ๆ เราจะได้ค้นพบอะไรใหม่ๆอยู่เสมอ ใครที่คิดว่า แบบแปลนที่เราเขียนๆ กันนั้น ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างไว้แล้วละกัน นั่นเป็นความเข้าใจผิดอย่างมนันต์ การที่เราได้เข้ามาอยู่ใน site จะทำให้เราเห็นความสำคัญก่อนหลังของขั้นตอนที่เกิดขึ้นซึ่งเราไม่มีทางเห็นในแบบ ในความเป้นจริงแล้ว เราอาจจะบอกได้ว่า กระบวนการก่อสร้างนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด ข้าพเจ้าเชื่อว่าอาคารก็เป็นเหมือนกับเมือง ที่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่มีวันจบสิ้น เราต้องระวังตัวให้ดีๆ ไมให้ตกอยู่ในหลุมพรางของแนวความคิดเกี่ยวกับ ความสมบูรณ์แบบอย่างที่สุด (perfection) ที่เอาอะไรออกไปและเติมเข้ามาไม่ได้แล้ว นั่นเป้นความคิดที่ไม่ถูกต้อง สถาปัตยกรรมนั้นเปรียบได้เหมือนกับสิ่งมีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของการใช้สอยและผู้ที่เข้ามาใช้สอย เรามีความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมด้วยเส้นด้ายแห่งกิจกรรมที่เกิดขึ้น โดยจะมีการเคลื่อนที่ไม่อย่างไม่มีที่สิ้นสุดแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องการก่อสร้างไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนี้ หรือจะเรียกได้ว่า งานที่ไม่มีวันสมบูรณ์นี้ อาจจะนำไปสู่แนวคิดอีกแนวที่ว่า งานสถาปัตยกรรมเป็นงานที่มีตำหนิก็ได้ ตำหนิที่เกิดขึ้นก็เกิดมาจากสิ่งที่น่าเกลียดทั้งหลายในชีวิตเรา เงินตรา อำนาจ ความไม่มั่นใจ ต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันมันก็เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับความงาม ความสุข ความมีเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ การสร้างสรรค์ที่ดีความมีตำหนิเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ วิชาชีพของเราหยิบยื่นให้เรามา และเราเองจะต้องพิจารณาว่ามันเป็นข้อจำกัดที่ทำให้เราลำบากหรือเป็นของขวัญที่ทำห้ชีวิตเราตื่นเต้นขึ้น เพราะสำหรับข้าพเจ้า อุปสรรคทั้งหลายแหล่ที่เราต้องฝ่าฟันนั้น คือสิ่งที่ทำให้งานยิ่งมีคุณค่ามากขึ้น เป็นการเปิดทางเลือกอื่นๆ ที่เราไม่เคยค้นหามาก่อน และน่าจะนำไปสู่ความก้าวหน้าในที่สุด

Curiosity and Disobedience

ท้องทะเล - เป็นผิวหน้าอันหนึ่งของโลกเรา แต่มันเป้นผิวหน้าที่เรารู้จักน้อยมาก ข้าพเจ้าเคยคิดว่า ความสงสัยใคร่รู้ (Curiousity) ของตัวข้าพเจ้าเองนั้น น่าจะมาจาก การเิดินอยู่ริมชายหาด มองเห็นทะเลอันกว้างใหญ่ ข้าพเจ้าจำได้ว่าข้าพเจ้าเป็นเด็กช่างสงสัย แหกคอก และไม่ค่อยเชื่อฟัง (Disobedience) ผู้ใหญ่มาแต่ไหนแต่ไร ในโรงเรียนนั้น คุณครูจำข้าพเจ้าได้ในฐานะีที่เป็นเด็กที่ถือว่าเป็นตัวปัญหาคนหนึ่งสำหรับข้าพเจ้าเอง คิดว่ามันมีความเกี่ยวข้องอะไรบางอย่างระว่างความไ่ม่เชื่อฟัง กับกา่รเป็นอิสระทางความคิด สิ่งที่ค่อยๆ เปลี่ยนไปตั้งแต่วัยเยาว์เป็นต้นมาคือ ความเป็นเด็กดื้อ ไปสู่การคิดด้วยตัวเองอยู่อย่างสม่ำเสมอและพัฒนากลายไปเป็นปัญญาของข้าพเจ้าไป และนั่นก็สามารถที่จะพบเห็นได้ในงานของข้าพเจ้าตัวอย่างเช่น Centre Pompidou นั่น เป้นตัวอย่างของการ แหกคอกในทางวัฒนธรรมที่ดีที่สุด อันหนึ่ง มันเป็นการปฎิเสธที่จะเอารูปแบบเดิมๆที่มีอยู่ในภาพพจน์ของคนทั่วๆไป เข้าไปว่างเพิ่มในเมืองที่แทบจะท่วมไปด้วยความทรงจำอันมหาศาลของตนเองอยู่แล้ว นี่เป็นการโจมตีทางเอกลักษณ์เข้าสู่ความคิดดั้งเดิมของ ความเป็นพวกอนุรักษ์นิยมสุดกู่ที่มีอยู่มาแต่เดิมๆ โดยตรง ที่น่ามหัศจรรย์ก็คือ เราได้รับการตอบรับจากกรรมการที่ตัดสินการประกวดนี้ ท่ามกลางผู้เข้าประกวดถึง 700 รายจริงๆแล้วข้าพเจ้าน่าจะโทษ Centre Pompidou นี้หรืออาจจะเรียกว่า เป็นดวง ของข้าพเจ้าก็ได้ ที่หลังจากนี้ อีกหลายสิปปี ข้าพเจ้าถูกกีดกันออกจากชุมชนวิชาชีพ จากสมาคม และสถาบันการศึกษาต่างๆ เนื่องจากงานชิ้นนั้น แต่ยังไงข้าพเจ้าก็ยังมีความสงบในจิตใจที่อยู่และมีความสุขใจในตัวเองอยู่พอสมควรข้าพเจ้าเคยคิดถึงอยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับเรื่องราวของ Jean Prouve’ ผู้ซึ่งเป็นลูกศิษย์เอก คนสุดท้ายของ Le Corbusier เขาผู้นี้เป็นผู้ที่อยู่นอกวงการศึกษาของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่อย่างแท้จริง เขาเป้นผู้ที่ก้าวมาสู่การเป็นสถาปนิกจากการฝึกงานกับตัว Le Corbusier เองล้วนๆ โดยที่ไม่มี ปริญญาบัตร ข้่าพเจ้าเคยปรึกษากับเพื่อนว่า จะจัดพิธีมอบปริญญาบัตร กิติมศักดิ์ให้เขา แต่เขาก็ตอบปฎิเสธเรื่อยมา จนวันหนึ่งเขาก็ได้พูดกับข้าพเจ้าตรงๆว่า “นี่ Renzo ฉันขอบใจเธอมาก ฉันรู้สึกเป็นเกียรติมากจริงๆ แต่ช่วยทีเถอะ อย่าให้ฉันรับไอ้ปริญญานี่เลย ให้ฉันตายแบบดื้อด้านของฉันแบบนี้เถอะ” เขาต้องการที่จะตายในสถาณภาพที่เขาเชื่อมั่นในความทรงคุณค่าของมันมาตลอดชีวิตของเขา ดีกว่าการที่จะได้รับ degree ปลอมๆ

Genoa

มีหลายภาพในความทรงจำของข้าพเจ้าที่ มักจักย้อนกลับมาในใจของข้าพเจ้าเสมอ ข้าพเจาเรียกมันว่า “Postcard from the Past” ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมาจากความทรงจำที่ เมือง Genoa บ้านเกิดของข้าพเจ้า Paolo Conte (.....) กล่าวไว้เกี่ยวกับ Genoa ว่า เหมือนกับแสงอาทิตย์ที่สาดส่องมาจากกระจก และ ทุกคนจะสามารถเห็นทะเลที่เคลื่อนไหลได้ตลอดเวลา แม้ในยามค่ำคืน ซึ่งพอพูดถึง แสง และทะเลแล้ว ก็หมายความถึงท่าเรือนั่นเองท่าเรือเป็น ภูมิทัศน์ที่มีทั้งความอลังการและการคงอยู่ที่สั้นมาก การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา ภาพสะท้อนบนน้ำ การยกของขึ้นลงจากเรือ ปั้นจั่นที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา และแน่นอน เรือที่เข้าออกตลอดเวลา จากที่ไหนสักแห่งในโลก และไปสู่ที่ไหนสักแห่ง เมื่อหลายปีก่อนมี นักวิจารณ์งานศิลปะ Giovanni Carandente บอกช้าพเจ้าว่า Centre Pompidou นั้นดูเหมือนจะเป็นงานที่มีบรรยากาศของความเป้นท่าเรืืออยู่ไม่น้อย ข้าพเจ้าไม่เคยนึกถึงมันในแง่นี้มาก่อน แต่พอมานั่งคิดดูอีกที มันอาจจะเป็นจริงก็ได้ อีกที่หนึ่งที่เป็น Postcard from the past ของข้าพเจ้า ก็คือ ใจกลางเมืองที่เป็นบ้านเรือนเก่าๆ หรืออาจจะเรียกว่าเป็นโบราณสถาณก็ได้ เป็นความรู้สึกที่น่าอบอุ่น สงบ และเหมือนจะคงอยู่ตลอดไป ซึ่งเป็นความรู้สึกตรงข้ามกับท่าเรืออย่างมาก ข้าพเจ้ามีความรู้สึกที่ทั้งรักและทั้งเกลียดเมือง Genoa นี้ ข้าพเจ้าไม่คิดว่าข้าพเจ้าจะใช้ชีวิตอยู่ได้นาน ข้าพเจ้าชอบที่จะอยู่ใน Paris หรืิอ London มากกว่า แต่ว่าข้าพเจ้าเองก็อยากที่จะกลับมาที่นีได้ทุกๆครั้งที่ต้องการ

The Conditions for Creating

ในฐานะที่เป็นสถาปนิก ข้าพเจ้ามีความเชื่อตลอดมาว่า สถาน(Place) นั้น เป็นสิ่งที่ มีผลต่อ การรับรู้ อารมณ์ และ กิจกรรมของผู้คน ดังนั้น ณ จุดหนึ่งของชีวิตของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ถามคำถามตัวเองว่า ที่ๆข้าพเจ้าควรจะทำงานนั้น ควรจะเป็นสถาณที่แบบใด มีลักษณะอย่างไร การที่จะสร้างสรรค์อะไรอย่างหนึ่งเป้นสิ่งที่ยากอยู่แล้ว การที่เราจะนำตัวเองเข้าไปอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมต่อการที่จะคิดสร้างสรรค์อะไรสักอย่างนั้นเป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่า เราต้องการความสงบ ความเงียบ แต่เราก็ต้องการ ความกดดันเล้กน้อย และพลังจากรอบด้านด้วย เราต้องการเวลาที่ดำเนินไปตามระบบแต่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ในที่สุด UNESCO Laboratory and Workshop ก็ได้ เกิดขึ้นมา บนชายผั่งตะวันตกของเมือง Genoa ต้้งอยู่บนหินและห้อมล้อมด้วยทะเล ตัวมันเองนั้นเหมือนเป็นหิน และเรือในขณะเดียวกัน และในความเป้นจริง ที่แห่งนี้ถูกเรียกว่า Punta Nave: Ship Rock ณ ที่นี้ ข้าพเจ้าค้นพบความสงบ และสมาธิ ซึ่งเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการเป็นอย่างมากในการทำงานข้าพเจ้ามักจะต้องกล่าวป้องกันตัวเองเสมอว่าที่นี่ไม่ใช่ ถ้ำของฤาษีที่ตัดขาดจากโลกภายนอกแต่อย่างไร เนื่องจากมีผู้คนจากหลายชาติหลายภาษาทำงานอยู่ที่นี่ มีการติดต่อประสานงานกับทุกมุมโลกอยู่ตลอดเวลา โดยที่มีสำนักงานร่วมในที่อื่นๆ ได้แ่ก่ Osaka, Noumea และ Sydney ข้าพเจ้าเชื่อว่า มนุษย์เรานั้น ต้องการที่จะอยู่มากกว่า 1 ที่ในเวลาเดียวกัน และเราก็ทำได้ในระดับหนึ่งในปัจจุบันนี้ ด้วยการช่วยเหลือของ Technology แต่เราไม่ได้ไปที่นั่นจริงๆ (Physical) ดังนั้นจึงเกิดคำว่า เสมือน(Virtual) ขึ้นมาTechnology เหล่านี้เป็นของหรูหรามาก สำหรับข้าพเจ้า เป็นเหมือนของขวัญพิเศษ ทั้ง โทรศัพท์ โทรสาร โมเด็ม อินเตอร์เน็ท ของเหล่านี้ทำให้ข้าพเจ้ามาอยู่ริมทะเลอันห่างไกลนี่ได้การทำงานใน Punta Nave ของข้าพเจ้านั้น แน่นอนว่ามีความสัมพันธ์บางอย่างย้อนไปกับความรู้สึกของ Postcard from the past แต่มีเหตุผลอื่นก็คือ ข้าพเจ้ามีความรักในคำว่า Workshop ที่เป็นการสื่อถึง ความเป็นสถานที่สำหรับ งานฝีมือ (Craftsmanship) และเทคโนโลยี ระดับสูงที่เรานำมาใช้ร่วมกัน ความกล้าที่จะลอง ความอดทนที่ต้องทุ่มเทให้ ความแน่วแน่ การทำงานเป็นทีม และ ความเป็นส่วนตัวที่ทำให้เกิดสมาธิแต่ในขณะเดียวกัน ข้าพเจ้าก็ชอบ Paris ข้าพเจ้าชอบที่ทำงานของข้าพเจ้าใน Marais ข้าพเจ้าชอบเดินไปใน ย่านต่างๆ ในช่วงเช้าวันอาทิตย์ ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าได้ทักทายกับผู้คน และเห็นการใช้ชีวิตของคน การพบปะกับคนนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกๆ คนควรจะมีประสบการณ์ เช่นเดียวกับความรู้สึกเหมือนผู้อพยพในดินแดนต่างๆ ที่เราไม่รู้จักเป็นครั้งคราว สำหรับ Paris นั้น ข้าพเจ้ารู้สึกว่า การพบปะผู้ึคนนั้น เป็นกิจกรรมที่มีความหนาแน่นที่สุดเทียบกับเมืองอื่นๆ ส่วน Punta Nave นั้นเป็นความสันโดษ ที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงทั้งหมดนี้ ชีวิตก็เหมือนเป็นงานก่อกระเบื้อง Mosaic ขนาดใหญ่ชิ้นหนึ่ง ซึ่งเราต้องเข้าไปทำงานอย่างใกล้ชิดในทุกๆ รายละเอียด กระเบื้องแต่ละแผ่นต้องลงไปอยู่ ณ ที่ๆ เราต้องการอย่างชัดเจน แต่ บางครั้งบางคราว เราก็ต้องถอยออกมาไกลๆ หน่อยเพื่อให้เห็นภาพรวม Marais นั้นเป็นความโกลาหลของชีวิต ที่เหมือนกันการเข้าไปดูใกล้ๆ ส่วน Punta Nave นั้นเป็นเหมือนกับ บัลลูนที่พาข้าพเจ้าไปอยู่ในที่สูงๆ เพื่อให้เห็นวิวทิวทัศน์ทั้งหมด

Architecture is a Patient Game

มีหลายโอกาสในชีวิตของคนคนหนึ่งที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ปัญญา และมีอีกหลายโอกาสที่จะต้องใช้มันอย่างมา สิ่งที่ข้าพเจ้าทำคือ ใช้ปัญญาเข้าไปเกี่ยวข้องให้น้อยหน่อย แต่ใช้ความรู้สึกและสัญชาติญาณมากหน่อย โดยที่ข้าพเจ้าไม่ต้องการทำให้งาน Mosaic ชิ้นนี้ เป็นเหมือนการถูก Program ขึ้นมา หรือ เป็นสิ่งที่แสดงอุดมคติ ข้าพเจ้าสนใจแค่ให้มันใช้การได้สำหรับข้าพเจ้าเท่านั้นสถาปัตยกรรมนั้น เป็นเหมือนเกม เป็นเกมที่ต้องการความอดทนเป็นอย่างสูง งานของเราไม่มีทางที่จะกลายเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาภายในเวลาอันสั้น งานของเราไม่ควรที่จะทำอย่างรีบร้อน ไม่มีใครควรพูดว่า “เออ มันทำกันแบบนี้ล่ะ มันต้องใช้การได้แน่” เราควรจะรอให้แนวความคิดต่างๆ ที่เราคิดออกมานั้น ได้รับการตรวจสอบและมองจากในหลายๆ มุมก่อน อาจจะใช้คำว่า รอให้แนวความคิดมัน “บ่ม” ตัวเองก่อนก็ได้ เหมือนกับ ไวน์ ซึ่งมีกรรมวิธี ที่ดีที่สุดอยู่วิธีเดียว ออกมาจากความไม่รีบร้อน การที่จะได้แนวความคิดที่ดีที่สุดนั้น ต้องมาจากการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ให้เวลากับการตัดสินใจมากๆ แล้วแนวความคิดที่ดีที่สุดจะมาอยู่บนจุดสูงสุดในสายตาทุกๆคนเอง โดยไม่สำคัญว่าจะมาจากใครก็ตาม มีคนหลายคนพูดกันมากเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม ซึ่งมันควรจะหมายถึงอะไร ถ้ามันหมายถึงการทำงานโดยที่ คนๆ หนึ่ง ทำงานออกมา แล้วส่งต่อให้คนอีกคนหนึ่งที่ทำงานด้วยข้อจำกัดมากขึ้น แล้วส่งต่อไปอีกคนที่ต้องเจอข้อจำกัดมากขึ้นไปอีก ไปเรื่อยๆ เช่นนี้ นั่นไม่ใช่สิ่งที่ข้าพเจ้าหมายความถึงแม้แต่น้อยการทำงานเป็นทีม คือการที่ท่านโยนแนวความคิดลงไป แล้วมันเด้งกลับมาหาท่านเหมือนการเล่น ปิงปอง เราอาจจะเล่นกันสองคน สีคน หกคน หรือแม้แต่แปดคนก็ได้ ถ้ามีการจัดการระบบที่ดี ลุกจะเดังไปมาระหว่างคนเหล่านี้ และอาจจะใช้ลูกได้ถึง 8 ลุกเช่นกัน สิ่งที่เกิดขึ้นจะซับซ้อนและเชื่อมสัมพันธ์กันเป็นอย่างมากจนเมื่องานออกมาจริงๆ เราก็บอกไม่ได้แล้วว่า แนวความคิดส่วนไหน มาจากใคร

Trying Over and Over Again

การออกแบบนั้นไม่ใช้ ระบบการทำงานเป็นเส้นตรง จากขึ้นที่ 1 ไปสู่ขั้นที่สองไปเรือย แต่มันเ็็ป็นเหมือนการทำงานเป็น วงกลม (Cycle) โดยที่ เมื่อ แนวความคิดถุกผลิตออกมา ก็จะถูกนำไปวาด หรือสร้าง Model จากนั้นก็จะถูกนำมาวิเคราะห์ แล้วก็กลับไปพัฒนาความคิดใหม่ เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ถึงตามจุดประสงค์ ซึ่งจริงๆแล้ว ก็เป็นเหมือนกับวิธีการทำงานของวิชาชีพสาขาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น การแต่งเพลง การทดลองทางฟิสิกส์ ในการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์นั้น ท่านต้องทำงานกับสภาวะของตัวแปรที่มากมายและผลกระทบที่อาจจะทำให้ผลการทดลองเปลี่ยนไป ในความเป็นไปได้ทีไม่รู้จบ ดังนั้นเพื่อจำกัดความสับสน นักทดลองจึงตั้งตัวแปรคงที่ขึ้นมา เพื่อจำกัดความมากมายอันนั้น และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการได้ หลังจากได้ผลลัพธ์มาแล้วก็ต้องนำผลลัพธ์อันนั้นไปตรวจสอบตามจุดประสงค์ ถ้าใช้ไม่ได้ก็ต้องมาเิริ่มกันใหม่ว่าผิดตรงไหน อย่างไร แล้วกลับไปตั้งสมมุติฐานใหม่ แล้วก็นับหนึ่ง เมื่อการทดลองทำซ้ำไปเรื่อยๆ และมีการตรวจสอบไปเรื่อย วงโคจรของระบบการทำงานก็จะแคบลงๆ เหมือนกับเหยี่ยวที่บินล้อมจับเหยื่อ การที่ทดลองซ้ำไปเรื่อยๆ เช่นนี้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การแก้ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่เป็นวิธีการทำความเข้าใจกับตัวโครงการที่่เราทำงานอยู่มากขึ้น รวมทั้งหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ วัสดุ แสง และ เสียง อีกด้วย

Experimentation

เมื่อครั้งโบราณกาล การออกแบบนั้นเป็นเป็นระบบการทำงานที่ ก่อให้เกิดการค้นพบอื่นๆ ในระหว่างทางด้วยเช่นกัน เช่น Brunelleschi นั้น ได้ทำการสังเกตุระบบการเดินของนาฬิกา ซึ่งเขาได้นำไปใช้ในระบบแรงสมดุลย์ (Counterweight หรือ แรง Moment ในคาน) ซึ่งต่อมาได้นำไปใช้ในการสร้างโดมของ Florence Cathedral อันลือชื่อ ระบบวิธีการขึ้นตอนและผลลัพทธ์ (The means and the end) เป็นผลพวงที่มาจากการทดลองชิ้นเดียวกัน ณ วินาที่ที่เราทดลองนั้น ไม่ควรเป็น วินาทีเดียวกันกับที่เราทำการสร้างงานขึ้นมาจริงๆ แต่ควรจะไปเกี่ยวข้องกับการตีความในสิ่งที่เกิดขึ้น การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และ ความคิดสร้างสรรค์ เมื่อเราทำงานเป็นระบบวงโคจรที่กล่าวมาแล้ว หัวข้อเกี่ยวกับเทคนิคการก่อสร้างที่จะต้องทำให้งานเกิดขึ้นได้จริงนั้น จะกลับมาเป็นจุดสำคัญที่ต้องทำการแก้ปัญหาให้ได้อย่างครบถวนเสมอ วัสดุและการก่อสร้างจะกลับมาเป้นจุดสำคัญเสมอ เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าทำงาน Menil Collection ใน เมือง Houston รัฐ Texas ของ สหรัฐอเมริกา (ปี 1982) เราได้ทำการคิดค้นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่เราเรียกโดยตรงแบบทึ่มๆ ว่า Solar Machine ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้พวกเราใน Genoa เข้าใจตำแหน่งของดวงอาทิตย์ใน เมือง Houston ได้ นอกจากนี้เราได้สร้างโมเดลขนาด 1:10 ของ section อาคารแล้วนำไปวางไว้ในสวนเพื่อ ศึกษาการกระจายตัวของแสง (Diffusion - ไม่แน่ใจว่าแปลถูกหรือเปล่า ตรวจสอบกับผู้รู้ด้วย- ผู้แปล) โครงการอื่นๆ ที่ออกมาจาก office ของเราก็มักจะทำงานผ่านวิธีการเดียวกันนี้เช่นกัน เราต้องการทำงานด้วยความรู้ที่เรามี ไม่ใช่ความรู้ในการใช้สมองอย่างเดียว แต่เป็นความรู้ในการใช้มือด้วย ซึ่งฟังดูอาจจะเหมือนเป็นจุดมุ่งหมายในอุดมคติ เทียบกับระบบการทำงานของวิชาชีพเราในปัจจุบัน แต่ความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้เป็นเช่นนั้นแม่แต่น้อย การสร้างสรรค์อย่างเป็นอิสระเสรีนั้น เกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าท่านมีความตั้งใจที่จะ ใช้วัสดุ วิธีการก่อสร้าง และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ในวิธีการที่แปลกใหม่ออกไปนั้น จะมีจุดใดจุดหนึ่งในระหว่างทางที่ท่านจะต้องพูดออกมาว่า “เออ มันคงทำไม่ได้หรอก” เพราะมันไม่เคยมีใครทำมาก่อน แต่ถ้าท่านพยายามที่จะทำ ท่านสามารถไปต่อได้ และจะเป็นการเดินทางที่ เพิ่มระดับความเป็นอิสระทางความคิดของท่านที่จะไม่ยึดติด อยุ่กับข้อจำกัดใดๆ อย่างที่ท่านเคยเป็นมาก่อนเมื่อครั้งที่เราสร้าง Centre of Pompidou นั้น เราได้พยายามสร้างระบบโครงสร้าง จากเหล็กหล่อ พวกเราได้รับการต่อต้านจาก สหพันธ์เหล็กกล้าของฝรั่งเศสอย่างเต็มที่ โดยให้เหตุผลกับพวกเราว่า โครงสร้างแบบนั้นไม่มีทางอยู่ได้แน่ๆ แต่พวกเรามีความแน่ใจในสิ่งที่เราทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Peter Rice ผู้ซึ่งยืนยันถึงความแข็งแรงของโครงสร้างนี้ (วิศวกรโครงสร้างคู่ใจของ Renzo Piano - เป็นบุคคลสำคัญของโลกในเรื่องระบบโครงสร้าง - ผู้เขียน) ได้ทำการ ส่งแบบของโครงการนี้ ต่อไปให้ บริษัทเยอรมัน Krupp ซึ่งได้ทำการหล่อแบบโครงสร้างหลักให้ ซึ่งเป็นกรณีศึกษาอีกอันหนึ่งว่า ความเข้าใจที่ถูกต้องของโครงสร้างที่เรามีนั้น ได้ปลดปล่อยพันธนาการทางความคิดของการสร้างสรรค์ของเราให้เป็นอิสระและในความคิดที่ค่อนข้างแปลกประหลาดของข้าพเจ้านั้น ด้วยสิ่งที่ปนๆ มาในอดีตของข้าพเจ้า ทั้งเรื่อง Postcard from the past, เรีืื่่อง Site ก่อสร้าง เรื่อง Robinson Crusoe และดนตรี Jazz ข้าพเจ้าอยากจะแนะนำงานต่างๆ ในชีวิตข้าพเจ้า ด้วยวิธีการที่เหมือนกับท่านแนะนำงานของท่านให้เพื่อนท่านฟัง