Saturday, February 25, 2006

บทความแปล: โดย Renzo Piano

เขียนบน Website ของ สมาคมสถาปนิกสยาม (www.asa.or.th) เริ่มเขียนเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2004

อภิมหาสถาปนิกแห่งทศวรรษคนนี้ ได้เขียนหนังสือรวบรวมผลงานตัวเองชื่อ Log Book ไว้ - พิมพ์เมื่อปี 1997 ภายในหนังสือเล่มนี้มีบทความที่น่าสนใจ เกี่ยวกับมุมมองต่อวิชาชีพและการทำงานที่จะขอนำเสนอไว้ ณ ที่นี้

Renzo Piano เกิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน ปี 1937 ในตระกูลของผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีชื่อเสียง จบการศึกษาจาก School of Architecture – Milan Polytechnic เมื่อปี 1964 ในช่วงที่เป็นนักศึกษานั้น ได้ทำงานใกล้ชิดกับ Franco Albini ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น "Neo-Rationalist" designers ที่สำคัญที่สุดใน Italy และในขณะเดียวกันก็ทำงานให้กับบิดาใน Site ก่อสร้างมาตลอด ทำให้เกิดประสบการณ์ในการก่อสร้างโดยตรงมาแต่เยาว์วัย ในช่วงปี 1970 Renzo Piano ได้พบกับ Jean Prouve’ และสร้างทีมออกแบบที่จะมีอิทธิพลต่องานที่ตามๆ มามากของเขา และในปี 1971 ก็ได้ร่วมกับ Richard Rogers สถาปนิกจากอังกฤษ ก่อตั้ง Piano & Rogers เพื่อก่อสร้างอาคาร Pompidou Center ที่ชนะการประกวดและเป็นการสร้างชื่อในวงการของทั้ง 2 คน ในปี 1977 ได้ก่อตั้ง “L’Atelier Piano & Rice” ร่วมกับวิศวกร Peter Rice ที่จะทำงานระดับโลกต่อๆ มาอีกหลายงานร่วมกัน จนกระทั้ง Rice เสียชีวิตลงในปี 1993 และสุดท้าย Piano ได้ก่อตั้ง Renzo Piano Building Workshop ขึ้นที่เมือง Genoa โดยมีสมาชิกประมาณ 100 ชีวิตทำงานให้กับเขา (ประกอบไปด้วยทั้งสถาปนิก วิศวกร และ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆ

อาชีพสถาปนิกนั้นเหมือนการผจญภัยรูปแบบหนึ่ง จะเรียกได้ว่าเป็นอาชีพทัพหน้าก็ได้ พวกเราต้องเดินอยู่บนคมมีดที่แบ่งระหว่าง โลกของศิลปะและโลกของวิทยาศาสตร์ ระหว่างความทรงจำเก่าๆกับความคิดที่มีแปลกใหม่เป็นตัวของตัวเอง (Originality) ระหว่าง ความกล้าของการไปสู่โมเดิร์น และความเคารพที่ต้องมีต่อวัฒนธรรมอันเก่าแก่ สถาปนิกอย่างพวกเราไม่มีทางเลือก นอกจากมีชีตอยู่อย่างหวาดเสียวแบบนี้ (Living Dangerously) พวกเราทำงานกับวัสดุทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งข้าพเจ้าไม่ได้หมายความแต่เพียง คอนกรีต ไม้ หรือโลหะ เท่านั้น แต่ข้าพเจ้ารวมความไปถึง ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ นิเวศวิทยา ความงาม เทคโนโลยี ภูมิอากาศ และ สังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่สถาปนิกเราต้องทำงานร่วมกับมันทุกๆ วันอาชีพสถาปนิก เป็นอาชีพที่ดีที่สุดในโลก ด้วยเหตุผลที่ว่า ในโลกใบเล้กๆ แห่งนี้ มนุษย์ได้ค้นพบสิ่งต่างเกิบครบหมดแล้ว อย่างน้อยก็ไม่มีดินแดนไหนในโลกที่ไม่อยู่บนแผนที่ การค้นพบสิ่งใหม่ๆ แทบจะไม่เกิดขึ้นแล้ว แต่ในขณะเดียวกับ ในการออกแบบของพวกเรานั้น ยังคงเป็นเหมือนการผจญภัยที่จะค้นหาสิ่งใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา สำหรับการค้นหาโลกในเชิงกายภาพนั้น บรรพบุรษของเราได้จัดการเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับคนในยุคเรา สิ่งที่เหลืออยู่คือ การค้นหาสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ และจิตวิญญาณของตัวเราเอง การออกแบบนั้น ก็เหมือนเป็นการเดินทางอย่างหนึ่ง เราตั้งใจที่จะออกค้นหาอะไรบางอย่าง เพื่อที่จะได้เรียนรู้จากมัน แล้วเราก็เตรียมพร้อมกับสิ่งอันไม่คาดฝันที่จะเกิดขึ้น ถ้าเราเกิดความกลัว และตัดสินใจที่จะล้มเลิกการเดินทาง แล้วกลับไปหาสิ่งเก่าๆที่เราเคยมี เราเคยเห็น เราเคยรู้ การเดินทางก็ล้มเหลว แต่ถ้าคุณเป็นคนที่รักการผจญภัย คุณไม่หลบหนี คุณมีความกล้า และพยายามมุ่งหน้าต่อไป การทำโครงการใหม่ๆ ของคุณนั้นก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางใหม่ๆ ทุกๆ ครั้ง และคุณก็จะได้เข้าไปอยู่ในจุดที่คุณไม่เคยได้พบ ไม่เคยได้เห็น และไม่เคยได้รู้จักมาก่อนอยู่เสมอ คุณจะกลายเป็น Robinson Crusoe ของโลกยุคใหม่

อาชีพสถาปนิกเป็นอาชีพที่เก่าแก่ พอๆ กับนักล่าสัตว์ ชาวประมง ชาวนา ฯลฯ มนุษย์ปุถุชนอย่างพวกเราได้รับมรดกตกทอดทางกิจกรรมต่างๆ มาจากบรรพบุรุษเราทั้งสิ้น และทุกสิ่งทุกอย่างก็มีการพัฒนาเป็นขั้นตอนอย่างช้าๆ หลังจากที่การหาอาหารได้จบลง มนุษย์ก็หาที่อยู่ และ ณ จุดที่ มนุษย์ตัดสินใจที่จะพาตัวเองให้หลุดพ้นจาก สภาพความเป็นอยู่ตามมีตามเกิดแล้วแต่ ธรรมชาติจะประทานมาให้ และเริ่มสร้างสภาพแวดล้อมที่ตัวเองพอใจขึ้นมาเพื่อทำการใช้สอยอย่างที่ต้องการนั้น มนุษย์ก็กลายมาเป็น สถาปนิกผู้คนที่สร้างบ้านเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยนั้น นอกจากจะสร้างให้ตัวเองแล้ว ก็ยังสร้างให้ครอบครัว และสร้างให้ผู้คนในเผ่าของตนเอง และบ้านที่สร้างก็ไม่ได้มีจุดประสงค์เพียงเพื่อปกป้องผู้อยู่อาศัยจากดินฟ้าอากาศเท่านั้น แต่มักจะมากับความงาม และ การแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของตัวผู้อยู่อาศัย ณ ที่นั้นเสมอ การสร้างบ้าน ตั้งแต่เริ่มแรกของ อารยธรรมมนุษย์นั้น ก็คือการต่อสู้เพื่อค้นหา ความเป็นทีสุด ของ ความงาม (Beauty) ความมีสง่าราศรีและเกียรติยศ (Dignity) และ การแสดงออกถึงสถาณภาพ (Status) ซึ่งทั้งหมด สามารถแยกออกได้เป็น สองแนวทางที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง หนึ่งคือ ความพยายามที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และสองความความพยายามที่จะสร้างความแตกต่าง ดังนั้น การสร้างอาคารอะไรบางอย่างนั้นจึงไม่สามารถเป็นเรื่องของเทคนิคการก่อสร้างเพียงอย่างเดียวได้ แต่จะต้องเกี่ยวพันธ์กับอะไรหลายๆ ความปราศจากความหมดจด ชัดแจ้ง (Ambiguity) เหล่านี้ คือสิ่งที่ทำให้อาชีพสถาปนิกแตกต่างออกไปจากอาชีพอื่นๆ และบุคคลใดก็ตามที่พยายามจะมอง Ambiguity เหล่านี้ กลายเป็นของง่ายๆ และสร้างคำตอบง่ายๆ ให้กับมัน บุคคลผู้นั้นไม่ได้เป็นผู้ที่จะเริ่มเดินไปสู่ความก้าวหน้าได้เลย เพียงแต่เป็นผู้ที่เริ่มจะยอมแพ้กับการเดินทางต่างหาก

Profession in Crisis

ข้าพเจ้าได้มีโอกาสสนทนาเกี่ยวกับเรื่องความหวาดกลัวว่าวิชาชีพสถาปนิกกำลังจะสูญพันธุ์ไปจากโลกอยู่เสมอ ข้าพเจ้าเองก็เคยกล่าวไว้นานมาแล้วว่า สิ่งที่สถาปนิกทำอยู่ในตอนนี้ (Architect’s job) กำลังจะหายไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกับ คนที่จุดตะเกียงและดับตะเกียงถนน เพราะมันไม่มีตะเกียงน้ำมันแล้ว งานที่พวกเราทำต้องเปลี่ยนไป เพราะโลกมันเปลี่ยนไป แต่ถามว่า มนุษย์เรายังต้องการสถาปัตยกรรมหรือไม่ ข้าพเจ้าก็ต้องยืนยันว่า มนุษย์เรายังต้องการอยู่อย่างแน่นนอน และต้องการมากยิ่งกว่ายุคไหนๆ ที่ผ่านมาอีกด้วย ดังนั้นพวกเราจึงไม่มีความจำเป็นต้องกังวลกับการที่งานสถาปัตยกรรมจะหายไปแม้แต่น้อย แต่สิ่งที่กำลังจะหายไปในสายตาของข้าพเจ้าซึ่งน่ากลัวยิ่งกว่า ได้ ความไม่ย่อท้อ ความรับผิดชอบ ความยอมรับฟังเหตุผล และ ความรักในการสร้างงานให้มีคุณภาพ ต่างหาก และเป็นสิ่งที่จะมีผลกระทบต่ออนาคตของวิชาชีพมากกว่าอย่างอื่น ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่า วิชาชีพนี้จะต้องได้รับการสร้างเกียรติภูมิขึ้นมาใหม่ และเพื่อให้ได้เกียรติภูมินั้นมา เราจะต้องมองย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของวิชาชีพของเรา

อันดับแรกเลยคือ สถาปนิกคือใครกันแน่ – สถาปนิกจะต้องย้ำกับตัวเองไว้เลยว่า สถาปัตยกรรมนั้นคือ การบริการ (Architecture is a service) ต้องจำไว้ให้เป็นบทเรียนอันเจ็บปวดที่จะเตือนตัวเราไม่ให้หลงเข้าไปในโลกของ แฟชั่น สไตล์ และ เทรนด์ ทั้งหลาย ซึ่งไม่ใช่ว่าเราจะต้องยึดไว้เป็นสรณะ อย่างแน่วแน่สุดชีวิต แต่ขอให้เป็นการมองในมุมของผู้ที่ถ่อมตนว่า เรากำลังทำงานเพื่อให้บริการผู้อื่นอันดับที่สอง พวกเราสถาปนิกคือผู้ปลูกเรือนให้ท่านอยู่ ท่านคือผู้ที่จะเข้ามาอยู่ มาใช้ เรารู้จักวัสดุและโครงสร้าง เรารู้จักทิศทางลม และการขึ้นลงของน้ำในมหาสมุทร เรารู้จักการควบคุมการผลิตผลงานและทำให้ผลงานนั้นใช้การได้ หรือหากจะพูดให้ง่ายๆก็คือ พวกเรารู้และเข้าใจว่า ทำไม บ้าน สะพาน และเมือง ถึงได้ก่อกำเนิดขึ้นมาในทุกๆ วิกฤตการณ์ของมนุษย์เรานั้น จะมีเมล็ดพันธุ์ของความเห็นแก่ตัวเกิดขึ้นมาอย่างช้าๆ ซึ่งนำไปสู่การเอาตัวรอดวิธีใดวิธีหนึ่ง บางคนก็เหมาเอาเลยว่า ตนเองไม่ได้มีประโยชน์อะไรกับสังคมแล้ว ต้องหาที่ยืนใหม่ โดยผันตัวเองจาก ช่างฝีมือ(Craftspeople) ที่ควรจะเป็น ไปสู่ความเป็นศิลปินเต็มรูปแบบที่ไม่ต้องสนใจกับเงื่อนไขและข้อจำกัด หรือความรับผิดชอบ ที่มีอยู่ในชีวิตจริงๆ หรือในที่สุดก็อาจจะหนีเข้าไปอยู่ในสถาศึกษาต่างๆ ให้ไกลจากโลกของการทำงานมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ไปเลย ที่ข้าพเจ้ากล่าวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการเหมาเอาว่าทุกคนในวิชาชีพนี้กำลังจะไปสู่จุดนี้ แต่ข้าพเจ้าคิดว่าทุกคนจะต้องยอมหาวิธีที่จะทำอะไรให้ยากขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากที่กล่าวไว้แล้วว่า นี่คือวิชาชีพที่ต้องเดินอยู่บนคมดาบเสมอ ระหว่างเทคโนโลยีและศิลปะ และข้าพเจ้าคิดว่าการเดินที่มีอันตรายเช่นนี้คือการหนทางที่จำเป็นและควรจะคงอยู่ต่อไป ใครก็ตามที่เห็นว่า ทั้งสองส่วนนั้นควรจะแยกกันอย่างเด็ดขาดเมื่อไหน คนๆนั้นจะตกจากคมดาบทันที ไม่ข้างใดก็ข้างหนึ่ง

ถ้าอาคารสักหลังถูกลดค่าลงมาเป็นแค่เรื่องของ เทคนิค เรื่องของระบบอาคาร เรื่องของ การจัดการและเรื่องของ เงิน อาคารหลังนั้นจะหมดความน่าอภิรมย์ ลงไปทันที คุณค่าทางสังคมของอาคาร การเชื่อมสัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้ที่เข้าไปใช้อาคาร บ้านเมืองรอบๆตัวเรานั้นเต็มไปด้วย อาคารแบบนี้ในทุกๆ มุมของเมือง มีนักปราชญ์ชาวรัสเซีย ผู้หนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ความจริงคือสิ่งที่ดื้อรั้นที่สุด – สำหรับสิ่งที่สะท้อนไปถึงสถาปนิกเราก็คือ อาคารก็ต้องสร้าง และความเป็นเทคนิคก็ยังต้องมีอยู่ด้วย อย่างสมบูรณ์ สามารถใช้การได้ มีผู้คนหลายๆคนเห็นว่าเรื่องของเทคนิคนั้น น่าจะเป็นการทำอย่างมีความเป็นศิลปะ ซึ่งฟังดูต้องเป็นเรื่องของอุคมดติมาก หรืออาจจะพูดให้ตรงไปเลยคือ ศิลปะกับเรื่องของเทคนิคนั้นไม่ควรจะเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันได้เลย สำหรับตัวข้าพเจ้าเอง เห็นว่าความคิดทั้ง 2 ด้านนั้นเป็นความคิดที่รุนแรงเกินไป ข้าพเจ้าจึงไม่เห็นด้วยทั้ง 2 ด้าน แต่ค่อนข้างจะเอนเอียงมาในอย่างหลัง มากกว่าอย่างแรก เนื่องจากข้าพเจ้ายังมีความเชื่อมันในคุณสมบัติของความเป็นศิลปะมากกว่า ข้าพเจ้าอยากจะมองสถาปนิกว่าเป็นผู้ใช้ความรู้ทางเทคนิคเพื่อสร้าง อารมณ์ – อารมณ์ในเชิงศิลปะ ถ้าจะกล่าวให้ตรงไปตรงมา (Architects, a person who uses technique to create an artistic emotion) ถ้าใครก็ตามที่เคยได้ฟังการแสดงดนตรี โดยนักดนตรีชั้นยอด (Mr.Piano ยกตัวอย่าง นักเปียโน Maurizio Pollini และ นักไวโอลิน Salvatore) Accardo) คุณจะเห็นได้ว่า เทคนิคที่เข้าได้รับการฝึกฝนมาช้านานนั้น มันได้ฝังเข้าไปในจิตวิญญาณของเขา เป็นส่วนหนึ่งราวเก็บเลือดที่โลดแล่นอยู่ภายในร่างกายของเขาปแล้ว และเมื่อถึงจุดนั้นมันก็เข้าสู่สภาวะของความเป็น ศิลปะไปโดยปริยายCharlie Parker เคยบอกกับข้าพเจ้าว่า “เรียนดนตรี และการเล่นเครื่องคนตรี ให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ และให้เชี่ยวชาญที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ หลังจากนั้นก็ลืมมันไปซะ แล้วก็เล่นอะไรก็ได้ เล่นอย่างไรก็ได้อย่างที่คุณอยากเล่น” ข้าพเจ้าเชื่อว่าพวกเราสถาปนิกต้องทำอย่างเดียวกันในวิชาชีพของเรา

The Adventure of the Architect

การผจญภัยของสถาปนิกการสร้างสรรค์อะไรบางอย่างนั้นเหมือนกับการเดินทางไปสู่ที่มืด ด้วยความกล้าหาญ ความตื่นตัว และความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่หวั่นไหวกับสิ่งรอบข้าง จะมีหลายครั้งที่เราจะประสบพบกับจังหวะเวลาที่ทำให้เรารู้สึกสับสน อยากรู้อยากเห็นที่จะก่อให้เกิดความตึงเครียด แต่ถ้าท่านไม่ยอมรับความท้าทายเหล่านี้ ท่านก็จะไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากทำตามสิ่งที่คนรุ่นก่อนท่านทำๆ กันมา และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการเรียนการสอนสถาปัตยกรรม (academicism) อย่างที่เราเห็น – ทำตามๆ กันไป - เมื่อใดที่ท่านตัดสินใจที่จะยึดมันถือมันกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นหลักโดยที่ไม่ใส่ใจกับสิ่งอื่นๆแล้วละก็ เมื่อนั้นท่านไม่ได้สร้างจุดกำเนิดของความคิดใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไปแต่อย่างใด แต่ท่านได้หาทางออกเป็นข้อแก้ตัวของตัวเองเรียบร้อยแล้ว เพื่อไม่ให้ตัวเองมีความจำเป็นที่จะต้องคิดอะไรอีก เป็นการหาที่หลบภัยจากความกลัว อย่าลืมว่าการผจญภัยนั้นย่อมหมายถึงการไปผิดทางด้วยเหมือนกัน การเสี่ยงจะต้องมีอยู่ในตัว ถ้าหากท่านต้องการความแน่นอน ก็ไปใช้ถนนที่เขาตัดให้ไว้แล้วก็ย่อมได้ แต่นั้นไม่ใช่การค้นหาสิ่งใหม่ๆ (exploration) แ่ต่อย่างใดเมื่อท่านเดินเข้าไปในห้องที่มืดมิด สายตาของท่านจะใช้เวลาชั่วครู่ในการปรับตัว ซึ่งเป็นเหมือนกันสังเกคุสิ่งแวดล้อมรอบกายก่อน จิตของท่านก็รับรู้และปรับตัวไปด้วยเช่นกัน และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการคิดหาสิ่งใหม่ๆ (Creation) ที่อยู่ในห้องมืดนี้ จริงๆ แล้วคำว่า Creation นี้ ข้าพเจ้าเองก็ไม่แน่ใจว่าเป็นคำที่เหมาะสมหรือไม่ บางทีเราอาจจะต้องหาคำอื่น การออกแบบนั้นเป็นเหมือนการผจญภัยที่เต็มไปด้วย จังหวะเวลา (moment) แห่งความตื่นเต้น แต่ถ้าหากจะพูดถึงจังหวะเวลาแห่งการค้นหาสิ่งใหม่ๆ แล้วละก็ ถ้าหากมีอยู่จริงๆ อาจจะมีอยู่แค่เพียงในหัวของเราเท่านั้น อีก 6 เดือนถัดไป หรืออีก 1 ปีถัดไป ท่านจะกลับมานั่งคิดว่า เออ วันนั้นของชีวิตเรานั่นล่ะคือจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ แต่ท่านก็อาจจะอดคิดไม่ได้ว่า ทำไมมันถึงไม่มีความรู้สึกว่า มีวงโยธวาธิต หรือพลุ มาจุดในหัวของเราเพื่อฉลองความสำเร็จกับความคิดตรงนั้น ในความเป็นจริงนั้น ตัวความคิดใหม่ๆ (idea) ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นทันที ทันใดจากความเป็นอัจฉริยะส่วนบุคคลของคนแต่ละคน และไม่ได้เป้นเสียงแว่วในจิตนาการของเราเองเหมือนมีเทพมาบอก ความคิดใหม่ๆล้วนเกิดขึ้นจากความพยายามของบุคคลที่ เข้าไปทำการค้นคว้า วิจัย และทดลอง เป็นการพยายามทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า ครั้งแล้วครั้งเล่า ความคิดใหม่ๆ นั้น เป็นนั้นเป้นสิ่งที่เกิดขึ้นมาโดยธรรมชาติจากกรรมวิธีที่ยากที่จะจดจำช่วงเวลาได้ว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ นี่คือความคิดของข้าพเจ้าเองที่จะหลีกหนีจากพันธนการของคำว่า Creation – สำหรับข้าพเจ้านั้น ศิลปินทั้งหลายนั้นไม่ใช่ผู้ที่มี พรสวรรค์ (Gift) แต่อย่างใด แต่เขาเหล่านี้เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในระเบียบวิธีการ และเหตุผลของการฝึกหัดทั้งในความคิดและจิตวิญญาณอย่างแท้จริง ในการที่จะทำงานด้านต่างๆ ของเขาเหล่านั้นต่างหาก (Piano ใช้คำว่า Tekne’ หมายถึง art (in the sense of 'way of doing')

Obligation of the Architects

สถาปัตยกรรมเป็นศาสตร์ทางศิลปะที่ค่อนข้างจะอันตราย และเป็นผลลัพธ์ที่คนจะต้องเห็น (Imposed Art) คุณไม่จำเป็นที่จะต้องอ่านหนังสือที่เขียนไม่ดี คุณไม่จำเป็นต้องฟังเพลงที่ไม่ไพเราะ แต่อาคารที่คุณต้องเดินผ่านทุกๆ วัน คุณเลือกที่จะไม่มองมันไม่ได้ คุณไม่มีทางเลือก และถ้าหากคุณต้องเป็นผู้ที่ใช้อาคารนั้น ก็จะกลายเป็นฝันร้ายในระดับที่สูงขึ้นไปอีกดังนั้นความรับผิดชอบของสถาปนิกจึงค่อนข้างที่จะหนักหนาสาหัส เนื่องจากผลที่อาจจะเกิดขึ้นยาวนานไปถึงชั่วลูกชั่วหลานอันนี้ สิ่งที่กล่าวมานี้ไม่ใช่ความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าเองแม้แต่น้อย แต่เป็นสิ่งที่จะช่วยขยายมุมมองของภาพสะท้อนที่เรามองตัวเองอยู่ภาระหน้าที่ผูกพันธ์ของเรา (Obligation) คืออะไร? Pablo Neruda (นักประพันธ์และนักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศ ชิลี) ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ที่เป็นกวีนั้น จะพูดและเขียนอะไรเป็นบทกวีเสมอ เนื่องจากไม่มีวิธีใดอื่นแล้วสำหรับเขาและเธอผู้นั้นที่จะแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนเองออกมา และถ้าเป็นสถาปนิก สำหรับข้าพเจ้าเองนั้น ข้าพเจ้าก็ไม่ชอบที่จะมาป่าวประกาศอะไรมากมายแล้วไม่ทำอะไรให้เห็นเป็นชิ้นเป็นอัน ข้าพเจ้าจะบอกสิ่งที่ข้าพเจ้าคิด และจะสร้างมันให้เห็น ข้าพเจ้าต้องการที่จะสืบสานความยิ่งใหญ่ของแนวทางการประกอบวิชาชีพของเรานี้ โดยที่ไม่ได้มีสิ่งอื่นใดไปนอกจากเป็นการให้บริการที่มีคุณภาพต่อสังคม แต่แม้กระทั่งให้สถาปนิกมากมายเปลี่ยนมายึดถือความคิดนี้กันหมด ตัวสถาปนิกเองก็อาจจะตกอยู่ในอันตรายได้อยู่ดี เนื่องจากโลกในอุดมคติ (Utopia) ที่สถาปนิกคิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็นเหมือนโลกในอุดมคติของคนในวงการอื่นๆ เนื่องจากจะต้องเป็นโลกที่จะต้องนำมาสร้างให้เป็นความจริง Vision ที่สถาปนิกขึ้นมาเกี่ยวกับโลกนั้น จะต้องกลายมาเป็นโลกจริงๆ ในที่สุด และด้วยความรับผิดชอบขนาดนั้น อาจทำให้สถาปนิกคิดไปถึงขนาดที่ว่า ข้าคือคนกำหนดอนาคตของโลก หรืออย่างน้อยที่สุดก็คือ ข้าเป็นผู้ที่จะต้องกระตุ้นให้ระบบดำเนินไป ข้าพเจ้าคิดว่า งานของเรานั้นล้วนแต่เป็นโครงการที่ไม่มีวันทำเสร็จ เนื่องจากเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่เราจะต้องมีการปฎิวัติเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เกิดวิวัฒนาการ (evolution) อยู่อย่างต่อเนื่อง สถาปนิกเป็นผู้จุดประกายให้เกิดการเคลื่อนไหว แต่เราก็ไม่สามารถไปคาดเดาอนาคตได้ว่าจะออกมาในรูปแบบใด และนั่นคือเหตุผลที่่ว่า การเริ่มต้นใดๆนั้นจะต้องอยู่บนรากฐานที่แข็งแรง เพราะนั่นคือที่ๆ สถาปนิกจะได้ทุ่มเทจิตคุณค่าของจิตวิญญาณที่ตัวเองมี ลงไปในสิ่งที่เขาทำอยู่


The Culture of Doing

ข้าพเจ้าเกิดในครอบครัวที่เป็นผู้รับเหมา่ก่อสร้าง ตั้งแต่คุณปู่ คุณพ่อ และพี่น้องทั้งหมด ข้าพเจ้าจริงๆแล้วก็ควรจะไปร่วมอยู่ในนั้นด้วยแต่ในที่สุด ข้าพเจ้าได้ตัดสินใจว่าอยากจะเป็นสถาปนิกมากกว่า สำหรับพ่อของข้าพเจ้าเมื่อได้ฟัง ก็คงจะรู้สึกได้ถึงสัญญาณแห่งการแตกแขนงของความเป็นปึกแผ่นทางวิชาชีพของครอบครัวออกไป ข้าพเจ้ารู้ว่าอะไรคือสิ่งที่พ่อของข้าพเจ้าอยากเห็นมากที่สุด เนื่องจากท่านเป็นผู้รับเหมาที่ไม่มีปริญญา สิ่งที่ท่านอยากเห็นคือความเป็นผู้รับเหมาที่มีปริญญาของลูกๆ นั่นคือการพัฒนาในครอบครัวที่ท่านอยากเห็น ดังนั้สำหรับทางเลือกของข้าพเจ้านั้นจึงถือว่าอยู่เหนือความคาดหมายเล็กน้อย เคยมีคนบอกไว้ว่า สิ่งที่เรารู้ทุกๆอย่างนั้น มาจากการที่เราได้เรียนเมื่อตอนที่เราเป็นเด็กๆ และชีวิต จริงๆแล้วก็คือการค้นหาสิ่งใหม่ๆ โดยขุดลึกลงไปในความทรงจำต่างเมื่อเราเป็นเด็ก ข้าพเจ้าเองก็นำสถาณภาพของครอบครัวตรงนี้มาพิจารณาในเรื่องของการศึกษาต่อเป็นอย่างมาก เพราะข้าพเจ้าเองก็รำลึกได้ดีว่า สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในวัยเด็กที่เติบโตมานั้นมีผลกับข้าพเจ้าเป็นอย่างมาก เหมือนกับลูกหลานที่เิิกิดในคณะละครสัตว์ สักวันก็ต้องห้อยโหนโจนทะยานบ้าง ไม่มากก็น้อย ชีวิตวัยเด้กของข้าพเจ้า จากการที่เกิดมาเป็นลูกของผู้รับเหมาก่อสร้าง และโตมาใน site ก่อสร้างนั้น ทำใ้ห้ข้าพเจ้าเิิกิดแรงบันดาลใจและมีความประัทับใจในเรื่องของการก่อสร้างตั้งแต่เล็ก และถ้าหากจะูพูดให้ตรงไปกว่านี้ ก็อาจจะเรียกได้ว่า ประทับใจในเรื่องของ “วัฒนธรรมการลงมือทำ” (Culture of Doing) ซึ่งเป็นปรัชญาที่ข้าพเจ้าได้ยึดมั่นมาตลอดชีวิตของข้าพเจ้า

เป็นเรื่องปกติสำหรับสถาปนิกใหม่ที่มักจะอยากเริ่มต้นงานด้วย style ของตนเอง แต่สำหรับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเลือกที่จะเริ่มจากการลงมือทำก่อน (doing) โดยการศึกษาพื้นที่ก่อสร้าง การทำความรู้จักกับวัสดุก่อสร้าง ความรู้ทางระบบการก่อสร้าง ฯลฯ การเดินทางในโลกสถาปัตยกรรมของข้าพเจ้าเป็นการเดินผ่านเส้นทางในด้าน เทคนิค เป็นหลัก และหลังจากนั้น มันจึงได้นำข้าพเจ้ามาสู่ความเข้าใจในความสลับซับซ้อนของ ของที่ว่าง(space) การสื่อความรู้สึก (expression) และรูปทรง (form) ในช่วงแรกหลังจากที่ข้าพเจ้าจบการศึกษา ประมาณปี 1964 – 1968 เป็นช่วงเวลาของการทดลองความคิด ข้าพเจ้ารู้สึกได้ในตอนนี้ว่า ช่วงนั้นเป็นเวลาที่สำคัญมาก แม้ว่าข้าพเจ้าจะไม่มีงานออกแบบใดที่ได้สร้างเลยก็ตาม อาจจะเรียกได้ว่า เป็นการใช้เวลาเพื่อลองอะไรบางอย่างไปเรื่อยๆ และต่อเนื่อง เพื่อหลีกหนีให้พ้นจากแนวคิดที่ว่าจะต้องไปเป็นอาจารย์สอนสถาปัตย์ ที่ข้าพเจ้าไม่อยากเป็น ก็ได้ข้าพเ้จ้ายังจำได้เมื่อครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้ไปที่ site ก่อสร้างเป็นครั้งแรกกับบิดาของข้าพเ้จ้าเมื่อครั้งที่ยังเป็นเด็กเล้กๆ ประมาณ 10 ขวบ สำหรับข้าพเจ้าแล้ว site ก่อสร้างเป็นเหมือนพื้นที่ๆ มีปาฏิหารย์ เพราะวันหนึ่งข้าพเจ้าเห็นแต่กองทรายและกองอิฐ แต่ในเวลาต่อมา ข้าพเจ้ากลับได้เห็นกำแพงที่ตั้งตรงในตัวของมันเองได้ และในที่สุด ก็กลายเป็นอาคารที่สง่างามที่คนเข้าไปอาศัยได้ข้าพเจ้าไม่เคยลืมภาพของบิดาข้าพเจ้า ความสัมพันธ์ระหว่างเราสองคนแน่นแฟ้นมาก เมื่อครั้งหนึ่ง เมื่อท่านอายุได้ประมาณ 80 ปี ข้าพเจ้าได้พาท่านไปยัง site ก่อสร้างแห่งหนึ่งของโครงการที่ข้าพเจ้าออกแบบ โครงการนั้นเป็นโครงการที่ใช้ระบบ Tensile Structure และในวันนั้นก็เป็นวันที่จะทดสอบโครงสร้างพอดี บิดาของข้าพเจ้าสูบไปป์อย่างเงียบงัน ไม่กล่าวว่าอะไร จนในทางที่กลับบ้านเมื่อเรานั่งอยู่บนรถด้วยกัน ข้าพเจ้าอดไม่ได้ที่จะถามท่านว่า ท่านคิดอย่างไรกับงานของข้าพเจ้า ท่านตอบกลับมาสั้นๆ ว่า “ไม่รู้ว่ามันจะอยู่ได้มั้ย” - ทำให้ข้าพเจ้าแอบยิ้มในใจ ว่าข้าพเจ้าเดาถูกว่าท่านจะต้องคิดเช่นนั้น

The Magic of Building Siteข้าพเจ้ายังคงชอบสถานที่ก่อสร้างอยู่เสมอ ข้าพเจ้าคิดว่ามันเป็นสถานที่ๆ มีความพิเศษอยู่ ด้วยทุกสิ่งทุกอย่างนั้น มีการเคลื่อนไหวอยุ่เสมอ สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนไปตลอดเวลา มันเป็นการผจญภัยที่น่าสนใจทีสุดของมนุษย์จริงๆ และข้าพเจ้าเองก็ภูมิใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมัน สถานที่ก่อสร้างเหล่านี้เป็นที่ๆ เราจะได้ค้นพบอะไรใหม่ๆอยู่เสมอ ใครที่คิดว่า แบบแปลนที่เราเขียนๆ กันนั้น ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างไว้แล้วละกัน นั่นเป็นความเข้าใจผิดอย่างมนันต์ การที่เราได้เข้ามาอยู่ใน site จะทำให้เราเห็นความสำคัญก่อนหลังของขั้นตอนที่เกิดขึ้นซึ่งเราไม่มีทางเห็นในแบบ ในความเป้นจริงแล้ว เราอาจจะบอกได้ว่า กระบวนการก่อสร้างนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด ข้าพเจ้าเชื่อว่าอาคารก็เป็นเหมือนกับเมือง ที่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่มีวันจบสิ้น เราต้องระวังตัวให้ดีๆ ไมให้ตกอยู่ในหลุมพรางของแนวความคิดเกี่ยวกับ ความสมบูรณ์แบบอย่างที่สุด (perfection) ที่เอาอะไรออกไปและเติมเข้ามาไม่ได้แล้ว นั่นเป้นความคิดที่ไม่ถูกต้อง สถาปัตยกรรมนั้นเปรียบได้เหมือนกับสิ่งมีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของการใช้สอยและผู้ที่เข้ามาใช้สอย เรามีความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมด้วยเส้นด้ายแห่งกิจกรรมที่เกิดขึ้น โดยจะมีการเคลื่อนที่ไม่อย่างไม่มีที่สิ้นสุดแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องการก่อสร้างไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนี้ หรือจะเรียกได้ว่า งานที่ไม่มีวันสมบูรณ์นี้ อาจจะนำไปสู่แนวคิดอีกแนวที่ว่า งานสถาปัตยกรรมเป็นงานที่มีตำหนิก็ได้ ตำหนิที่เกิดขึ้นก็เกิดมาจากสิ่งที่น่าเกลียดทั้งหลายในชีวิตเรา เงินตรา อำนาจ ความไม่มั่นใจ ต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันมันก็เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับความงาม ความสุข ความมีเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ การสร้างสรรค์ที่ดีความมีตำหนิเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ วิชาชีพของเราหยิบยื่นให้เรามา และเราเองจะต้องพิจารณาว่ามันเป็นข้อจำกัดที่ทำให้เราลำบากหรือเป็นของขวัญที่ทำห้ชีวิตเราตื่นเต้นขึ้น เพราะสำหรับข้าพเจ้า อุปสรรคทั้งหลายแหล่ที่เราต้องฝ่าฟันนั้น คือสิ่งที่ทำให้งานยิ่งมีคุณค่ามากขึ้น เป็นการเปิดทางเลือกอื่นๆ ที่เราไม่เคยค้นหามาก่อน และน่าจะนำไปสู่ความก้าวหน้าในที่สุด

Curiosity and Disobedience

ท้องทะเล - เป็นผิวหน้าอันหนึ่งของโลกเรา แต่มันเป้นผิวหน้าที่เรารู้จักน้อยมาก ข้าพเจ้าเคยคิดว่า ความสงสัยใคร่รู้ (Curiousity) ของตัวข้าพเจ้าเองนั้น น่าจะมาจาก การเิดินอยู่ริมชายหาด มองเห็นทะเลอันกว้างใหญ่ ข้าพเจ้าจำได้ว่าข้าพเจ้าเป็นเด็กช่างสงสัย แหกคอก และไม่ค่อยเชื่อฟัง (Disobedience) ผู้ใหญ่มาแต่ไหนแต่ไร ในโรงเรียนนั้น คุณครูจำข้าพเจ้าได้ในฐานะีที่เป็นเด็กที่ถือว่าเป็นตัวปัญหาคนหนึ่งสำหรับข้าพเจ้าเอง คิดว่ามันมีความเกี่ยวข้องอะไรบางอย่างระว่างความไ่ม่เชื่อฟัง กับกา่รเป็นอิสระทางความคิด สิ่งที่ค่อยๆ เปลี่ยนไปตั้งแต่วัยเยาว์เป็นต้นมาคือ ความเป็นเด็กดื้อ ไปสู่การคิดด้วยตัวเองอยู่อย่างสม่ำเสมอและพัฒนากลายไปเป็นปัญญาของข้าพเจ้าไป และนั่นก็สามารถที่จะพบเห็นได้ในงานของข้าพเจ้าตัวอย่างเช่น Centre Pompidou นั่น เป้นตัวอย่างของการ แหกคอกในทางวัฒนธรรมที่ดีที่สุด อันหนึ่ง มันเป็นการปฎิเสธที่จะเอารูปแบบเดิมๆที่มีอยู่ในภาพพจน์ของคนทั่วๆไป เข้าไปว่างเพิ่มในเมืองที่แทบจะท่วมไปด้วยความทรงจำอันมหาศาลของตนเองอยู่แล้ว นี่เป็นการโจมตีทางเอกลักษณ์เข้าสู่ความคิดดั้งเดิมของ ความเป็นพวกอนุรักษ์นิยมสุดกู่ที่มีอยู่มาแต่เดิมๆ โดยตรง ที่น่ามหัศจรรย์ก็คือ เราได้รับการตอบรับจากกรรมการที่ตัดสินการประกวดนี้ ท่ามกลางผู้เข้าประกวดถึง 700 รายจริงๆแล้วข้าพเจ้าน่าจะโทษ Centre Pompidou นี้หรืออาจจะเรียกว่า เป็นดวง ของข้าพเจ้าก็ได้ ที่หลังจากนี้ อีกหลายสิปปี ข้าพเจ้าถูกกีดกันออกจากชุมชนวิชาชีพ จากสมาคม และสถาบันการศึกษาต่างๆ เนื่องจากงานชิ้นนั้น แต่ยังไงข้าพเจ้าก็ยังมีความสงบในจิตใจที่อยู่และมีความสุขใจในตัวเองอยู่พอสมควรข้าพเจ้าเคยคิดถึงอยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับเรื่องราวของ Jean Prouve’ ผู้ซึ่งเป็นลูกศิษย์เอก คนสุดท้ายของ Le Corbusier เขาผู้นี้เป็นผู้ที่อยู่นอกวงการศึกษาของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่อย่างแท้จริง เขาเป้นผู้ที่ก้าวมาสู่การเป็นสถาปนิกจากการฝึกงานกับตัว Le Corbusier เองล้วนๆ โดยที่ไม่มี ปริญญาบัตร ข้่าพเจ้าเคยปรึกษากับเพื่อนว่า จะจัดพิธีมอบปริญญาบัตร กิติมศักดิ์ให้เขา แต่เขาก็ตอบปฎิเสธเรื่อยมา จนวันหนึ่งเขาก็ได้พูดกับข้าพเจ้าตรงๆว่า “นี่ Renzo ฉันขอบใจเธอมาก ฉันรู้สึกเป็นเกียรติมากจริงๆ แต่ช่วยทีเถอะ อย่าให้ฉันรับไอ้ปริญญานี่เลย ให้ฉันตายแบบดื้อด้านของฉันแบบนี้เถอะ” เขาต้องการที่จะตายในสถาณภาพที่เขาเชื่อมั่นในความทรงคุณค่าของมันมาตลอดชีวิตของเขา ดีกว่าการที่จะได้รับ degree ปลอมๆ

Genoa

มีหลายภาพในความทรงจำของข้าพเจ้าที่ มักจักย้อนกลับมาในใจของข้าพเจ้าเสมอ ข้าพเจาเรียกมันว่า “Postcard from the Past” ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมาจากความทรงจำที่ เมือง Genoa บ้านเกิดของข้าพเจ้า Paolo Conte (.....) กล่าวไว้เกี่ยวกับ Genoa ว่า เหมือนกับแสงอาทิตย์ที่สาดส่องมาจากกระจก และ ทุกคนจะสามารถเห็นทะเลที่เคลื่อนไหลได้ตลอดเวลา แม้ในยามค่ำคืน ซึ่งพอพูดถึง แสง และทะเลแล้ว ก็หมายความถึงท่าเรือนั่นเองท่าเรือเป็น ภูมิทัศน์ที่มีทั้งความอลังการและการคงอยู่ที่สั้นมาก การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา ภาพสะท้อนบนน้ำ การยกของขึ้นลงจากเรือ ปั้นจั่นที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา และแน่นอน เรือที่เข้าออกตลอดเวลา จากที่ไหนสักแห่งในโลก และไปสู่ที่ไหนสักแห่ง เมื่อหลายปีก่อนมี นักวิจารณ์งานศิลปะ Giovanni Carandente บอกช้าพเจ้าว่า Centre Pompidou นั้นดูเหมือนจะเป็นงานที่มีบรรยากาศของความเป้นท่าเรืืออยู่ไม่น้อย ข้าพเจ้าไม่เคยนึกถึงมันในแง่นี้มาก่อน แต่พอมานั่งคิดดูอีกที มันอาจจะเป็นจริงก็ได้ อีกที่หนึ่งที่เป็น Postcard from the past ของข้าพเจ้า ก็คือ ใจกลางเมืองที่เป็นบ้านเรือนเก่าๆ หรืออาจจะเรียกว่าเป็นโบราณสถาณก็ได้ เป็นความรู้สึกที่น่าอบอุ่น สงบ และเหมือนจะคงอยู่ตลอดไป ซึ่งเป็นความรู้สึกตรงข้ามกับท่าเรืออย่างมาก ข้าพเจ้ามีความรู้สึกที่ทั้งรักและทั้งเกลียดเมือง Genoa นี้ ข้าพเจ้าไม่คิดว่าข้าพเจ้าจะใช้ชีวิตอยู่ได้นาน ข้าพเจ้าชอบที่จะอยู่ใน Paris หรืิอ London มากกว่า แต่ว่าข้าพเจ้าเองก็อยากที่จะกลับมาที่นีได้ทุกๆครั้งที่ต้องการ

The Conditions for Creating

ในฐานะที่เป็นสถาปนิก ข้าพเจ้ามีความเชื่อตลอดมาว่า สถาน(Place) นั้น เป็นสิ่งที่ มีผลต่อ การรับรู้ อารมณ์ และ กิจกรรมของผู้คน ดังนั้น ณ จุดหนึ่งของชีวิตของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ถามคำถามตัวเองว่า ที่ๆข้าพเจ้าควรจะทำงานนั้น ควรจะเป็นสถาณที่แบบใด มีลักษณะอย่างไร การที่จะสร้างสรรค์อะไรอย่างหนึ่งเป้นสิ่งที่ยากอยู่แล้ว การที่เราจะนำตัวเองเข้าไปอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมต่อการที่จะคิดสร้างสรรค์อะไรสักอย่างนั้นเป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่า เราต้องการความสงบ ความเงียบ แต่เราก็ต้องการ ความกดดันเล้กน้อย และพลังจากรอบด้านด้วย เราต้องการเวลาที่ดำเนินไปตามระบบแต่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ในที่สุด UNESCO Laboratory and Workshop ก็ได้ เกิดขึ้นมา บนชายผั่งตะวันตกของเมือง Genoa ต้้งอยู่บนหินและห้อมล้อมด้วยทะเล ตัวมันเองนั้นเหมือนเป็นหิน และเรือในขณะเดียวกัน และในความเป้นจริง ที่แห่งนี้ถูกเรียกว่า Punta Nave: Ship Rock ณ ที่นี้ ข้าพเจ้าค้นพบความสงบ และสมาธิ ซึ่งเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการเป็นอย่างมากในการทำงานข้าพเจ้ามักจะต้องกล่าวป้องกันตัวเองเสมอว่าที่นี่ไม่ใช่ ถ้ำของฤาษีที่ตัดขาดจากโลกภายนอกแต่อย่างไร เนื่องจากมีผู้คนจากหลายชาติหลายภาษาทำงานอยู่ที่นี่ มีการติดต่อประสานงานกับทุกมุมโลกอยู่ตลอดเวลา โดยที่มีสำนักงานร่วมในที่อื่นๆ ได้แ่ก่ Osaka, Noumea และ Sydney ข้าพเจ้าเชื่อว่า มนุษย์เรานั้น ต้องการที่จะอยู่มากกว่า 1 ที่ในเวลาเดียวกัน และเราก็ทำได้ในระดับหนึ่งในปัจจุบันนี้ ด้วยการช่วยเหลือของ Technology แต่เราไม่ได้ไปที่นั่นจริงๆ (Physical) ดังนั้นจึงเกิดคำว่า เสมือน(Virtual) ขึ้นมาTechnology เหล่านี้เป็นของหรูหรามาก สำหรับข้าพเจ้า เป็นเหมือนของขวัญพิเศษ ทั้ง โทรศัพท์ โทรสาร โมเด็ม อินเตอร์เน็ท ของเหล่านี้ทำให้ข้าพเจ้ามาอยู่ริมทะเลอันห่างไกลนี่ได้การทำงานใน Punta Nave ของข้าพเจ้านั้น แน่นอนว่ามีความสัมพันธ์บางอย่างย้อนไปกับความรู้สึกของ Postcard from the past แต่มีเหตุผลอื่นก็คือ ข้าพเจ้ามีความรักในคำว่า Workshop ที่เป็นการสื่อถึง ความเป็นสถานที่สำหรับ งานฝีมือ (Craftsmanship) และเทคโนโลยี ระดับสูงที่เรานำมาใช้ร่วมกัน ความกล้าที่จะลอง ความอดทนที่ต้องทุ่มเทให้ ความแน่วแน่ การทำงานเป็นทีม และ ความเป็นส่วนตัวที่ทำให้เกิดสมาธิแต่ในขณะเดียวกัน ข้าพเจ้าก็ชอบ Paris ข้าพเจ้าชอบที่ทำงานของข้าพเจ้าใน Marais ข้าพเจ้าชอบเดินไปใน ย่านต่างๆ ในช่วงเช้าวันอาทิตย์ ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าได้ทักทายกับผู้คน และเห็นการใช้ชีวิตของคน การพบปะกับคนนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกๆ คนควรจะมีประสบการณ์ เช่นเดียวกับความรู้สึกเหมือนผู้อพยพในดินแดนต่างๆ ที่เราไม่รู้จักเป็นครั้งคราว สำหรับ Paris นั้น ข้าพเจ้ารู้สึกว่า การพบปะผู้ึคนนั้น เป็นกิจกรรมที่มีความหนาแน่นที่สุดเทียบกับเมืองอื่นๆ ส่วน Punta Nave นั้นเป็นความสันโดษ ที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงทั้งหมดนี้ ชีวิตก็เหมือนเป็นงานก่อกระเบื้อง Mosaic ขนาดใหญ่ชิ้นหนึ่ง ซึ่งเราต้องเข้าไปทำงานอย่างใกล้ชิดในทุกๆ รายละเอียด กระเบื้องแต่ละแผ่นต้องลงไปอยู่ ณ ที่ๆ เราต้องการอย่างชัดเจน แต่ บางครั้งบางคราว เราก็ต้องถอยออกมาไกลๆ หน่อยเพื่อให้เห็นภาพรวม Marais นั้นเป็นความโกลาหลของชีวิต ที่เหมือนกันการเข้าไปดูใกล้ๆ ส่วน Punta Nave นั้นเป็นเหมือนกับ บัลลูนที่พาข้าพเจ้าไปอยู่ในที่สูงๆ เพื่อให้เห็นวิวทิวทัศน์ทั้งหมด

Architecture is a Patient Game

มีหลายโอกาสในชีวิตของคนคนหนึ่งที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ปัญญา และมีอีกหลายโอกาสที่จะต้องใช้มันอย่างมา สิ่งที่ข้าพเจ้าทำคือ ใช้ปัญญาเข้าไปเกี่ยวข้องให้น้อยหน่อย แต่ใช้ความรู้สึกและสัญชาติญาณมากหน่อย โดยที่ข้าพเจ้าไม่ต้องการทำให้งาน Mosaic ชิ้นนี้ เป็นเหมือนการถูก Program ขึ้นมา หรือ เป็นสิ่งที่แสดงอุดมคติ ข้าพเจ้าสนใจแค่ให้มันใช้การได้สำหรับข้าพเจ้าเท่านั้นสถาปัตยกรรมนั้น เป็นเหมือนเกม เป็นเกมที่ต้องการความอดทนเป็นอย่างสูง งานของเราไม่มีทางที่จะกลายเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาภายในเวลาอันสั้น งานของเราไม่ควรที่จะทำอย่างรีบร้อน ไม่มีใครควรพูดว่า “เออ มันทำกันแบบนี้ล่ะ มันต้องใช้การได้แน่” เราควรจะรอให้แนวความคิดต่างๆ ที่เราคิดออกมานั้น ได้รับการตรวจสอบและมองจากในหลายๆ มุมก่อน อาจจะใช้คำว่า รอให้แนวความคิดมัน “บ่ม” ตัวเองก่อนก็ได้ เหมือนกับ ไวน์ ซึ่งมีกรรมวิธี ที่ดีที่สุดอยู่วิธีเดียว ออกมาจากความไม่รีบร้อน การที่จะได้แนวความคิดที่ดีที่สุดนั้น ต้องมาจากการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ให้เวลากับการตัดสินใจมากๆ แล้วแนวความคิดที่ดีที่สุดจะมาอยู่บนจุดสูงสุดในสายตาทุกๆคนเอง โดยไม่สำคัญว่าจะมาจากใครก็ตาม มีคนหลายคนพูดกันมากเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม ซึ่งมันควรจะหมายถึงอะไร ถ้ามันหมายถึงการทำงานโดยที่ คนๆ หนึ่ง ทำงานออกมา แล้วส่งต่อให้คนอีกคนหนึ่งที่ทำงานด้วยข้อจำกัดมากขึ้น แล้วส่งต่อไปอีกคนที่ต้องเจอข้อจำกัดมากขึ้นไปอีก ไปเรื่อยๆ เช่นนี้ นั่นไม่ใช่สิ่งที่ข้าพเจ้าหมายความถึงแม้แต่น้อยการทำงานเป็นทีม คือการที่ท่านโยนแนวความคิดลงไป แล้วมันเด้งกลับมาหาท่านเหมือนการเล่น ปิงปอง เราอาจจะเล่นกันสองคน สีคน หกคน หรือแม้แต่แปดคนก็ได้ ถ้ามีการจัดการระบบที่ดี ลุกจะเดังไปมาระหว่างคนเหล่านี้ และอาจจะใช้ลูกได้ถึง 8 ลุกเช่นกัน สิ่งที่เกิดขึ้นจะซับซ้อนและเชื่อมสัมพันธ์กันเป็นอย่างมากจนเมื่องานออกมาจริงๆ เราก็บอกไม่ได้แล้วว่า แนวความคิดส่วนไหน มาจากใคร

Trying Over and Over Again

การออกแบบนั้นไม่ใช้ ระบบการทำงานเป็นเส้นตรง จากขึ้นที่ 1 ไปสู่ขั้นที่สองไปเรือย แต่มันเ็็ป็นเหมือนการทำงานเป็น วงกลม (Cycle) โดยที่ เมื่อ แนวความคิดถุกผลิตออกมา ก็จะถูกนำไปวาด หรือสร้าง Model จากนั้นก็จะถูกนำมาวิเคราะห์ แล้วก็กลับไปพัฒนาความคิดใหม่ เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ถึงตามจุดประสงค์ ซึ่งจริงๆแล้ว ก็เป็นเหมือนกับวิธีการทำงานของวิชาชีพสาขาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น การแต่งเพลง การทดลองทางฟิสิกส์ ในการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์นั้น ท่านต้องทำงานกับสภาวะของตัวแปรที่มากมายและผลกระทบที่อาจจะทำให้ผลการทดลองเปลี่ยนไป ในความเป็นไปได้ทีไม่รู้จบ ดังนั้นเพื่อจำกัดความสับสน นักทดลองจึงตั้งตัวแปรคงที่ขึ้นมา เพื่อจำกัดความมากมายอันนั้น และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการได้ หลังจากได้ผลลัพธ์มาแล้วก็ต้องนำผลลัพธ์อันนั้นไปตรวจสอบตามจุดประสงค์ ถ้าใช้ไม่ได้ก็ต้องมาเิริ่มกันใหม่ว่าผิดตรงไหน อย่างไร แล้วกลับไปตั้งสมมุติฐานใหม่ แล้วก็นับหนึ่ง เมื่อการทดลองทำซ้ำไปเรื่อยๆ และมีการตรวจสอบไปเรื่อย วงโคจรของระบบการทำงานก็จะแคบลงๆ เหมือนกับเหยี่ยวที่บินล้อมจับเหยื่อ การที่ทดลองซ้ำไปเรื่อยๆ เช่นนี้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การแก้ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่เป็นวิธีการทำความเข้าใจกับตัวโครงการที่่เราทำงานอยู่มากขึ้น รวมทั้งหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ วัสดุ แสง และ เสียง อีกด้วย

Experimentation

เมื่อครั้งโบราณกาล การออกแบบนั้นเป็นเป็นระบบการทำงานที่ ก่อให้เกิดการค้นพบอื่นๆ ในระหว่างทางด้วยเช่นกัน เช่น Brunelleschi นั้น ได้ทำการสังเกตุระบบการเดินของนาฬิกา ซึ่งเขาได้นำไปใช้ในระบบแรงสมดุลย์ (Counterweight หรือ แรง Moment ในคาน) ซึ่งต่อมาได้นำไปใช้ในการสร้างโดมของ Florence Cathedral อันลือชื่อ ระบบวิธีการขึ้นตอนและผลลัพทธ์ (The means and the end) เป็นผลพวงที่มาจากการทดลองชิ้นเดียวกัน ณ วินาที่ที่เราทดลองนั้น ไม่ควรเป็น วินาทีเดียวกันกับที่เราทำการสร้างงานขึ้นมาจริงๆ แต่ควรจะไปเกี่ยวข้องกับการตีความในสิ่งที่เกิดขึ้น การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และ ความคิดสร้างสรรค์ เมื่อเราทำงานเป็นระบบวงโคจรที่กล่าวมาแล้ว หัวข้อเกี่ยวกับเทคนิคการก่อสร้างที่จะต้องทำให้งานเกิดขึ้นได้จริงนั้น จะกลับมาเป็นจุดสำคัญที่ต้องทำการแก้ปัญหาให้ได้อย่างครบถวนเสมอ วัสดุและการก่อสร้างจะกลับมาเป้นจุดสำคัญเสมอ เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าทำงาน Menil Collection ใน เมือง Houston รัฐ Texas ของ สหรัฐอเมริกา (ปี 1982) เราได้ทำการคิดค้นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่เราเรียกโดยตรงแบบทึ่มๆ ว่า Solar Machine ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้พวกเราใน Genoa เข้าใจตำแหน่งของดวงอาทิตย์ใน เมือง Houston ได้ นอกจากนี้เราได้สร้างโมเดลขนาด 1:10 ของ section อาคารแล้วนำไปวางไว้ในสวนเพื่อ ศึกษาการกระจายตัวของแสง (Diffusion - ไม่แน่ใจว่าแปลถูกหรือเปล่า ตรวจสอบกับผู้รู้ด้วย- ผู้แปล) โครงการอื่นๆ ที่ออกมาจาก office ของเราก็มักจะทำงานผ่านวิธีการเดียวกันนี้เช่นกัน เราต้องการทำงานด้วยความรู้ที่เรามี ไม่ใช่ความรู้ในการใช้สมองอย่างเดียว แต่เป็นความรู้ในการใช้มือด้วย ซึ่งฟังดูอาจจะเหมือนเป็นจุดมุ่งหมายในอุดมคติ เทียบกับระบบการทำงานของวิชาชีพเราในปัจจุบัน แต่ความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้เป็นเช่นนั้นแม่แต่น้อย การสร้างสรรค์อย่างเป็นอิสระเสรีนั้น เกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าท่านมีความตั้งใจที่จะ ใช้วัสดุ วิธีการก่อสร้าง และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ในวิธีการที่แปลกใหม่ออกไปนั้น จะมีจุดใดจุดหนึ่งในระหว่างทางที่ท่านจะต้องพูดออกมาว่า “เออ มันคงทำไม่ได้หรอก” เพราะมันไม่เคยมีใครทำมาก่อน แต่ถ้าท่านพยายามที่จะทำ ท่านสามารถไปต่อได้ และจะเป็นการเดินทางที่ เพิ่มระดับความเป็นอิสระทางความคิดของท่านที่จะไม่ยึดติด อยุ่กับข้อจำกัดใดๆ อย่างที่ท่านเคยเป็นมาก่อนเมื่อครั้งที่เราสร้าง Centre of Pompidou นั้น เราได้พยายามสร้างระบบโครงสร้าง จากเหล็กหล่อ พวกเราได้รับการต่อต้านจาก สหพันธ์เหล็กกล้าของฝรั่งเศสอย่างเต็มที่ โดยให้เหตุผลกับพวกเราว่า โครงสร้างแบบนั้นไม่มีทางอยู่ได้แน่ๆ แต่พวกเรามีความแน่ใจในสิ่งที่เราทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Peter Rice ผู้ซึ่งยืนยันถึงความแข็งแรงของโครงสร้างนี้ (วิศวกรโครงสร้างคู่ใจของ Renzo Piano - เป็นบุคคลสำคัญของโลกในเรื่องระบบโครงสร้าง - ผู้เขียน) ได้ทำการ ส่งแบบของโครงการนี้ ต่อไปให้ บริษัทเยอรมัน Krupp ซึ่งได้ทำการหล่อแบบโครงสร้างหลักให้ ซึ่งเป็นกรณีศึกษาอีกอันหนึ่งว่า ความเข้าใจที่ถูกต้องของโครงสร้างที่เรามีนั้น ได้ปลดปล่อยพันธนาการทางความคิดของการสร้างสรรค์ของเราให้เป็นอิสระและในความคิดที่ค่อนข้างแปลกประหลาดของข้าพเจ้านั้น ด้วยสิ่งที่ปนๆ มาในอดีตของข้าพเจ้า ทั้งเรื่อง Postcard from the past, เรีืื่่อง Site ก่อสร้าง เรื่อง Robinson Crusoe และดนตรี Jazz ข้าพเจ้าอยากจะแนะนำงานต่างๆ ในชีวิตข้าพเจ้า ด้วยวิธีการที่เหมือนกับท่านแนะนำงานของท่านให้เพื่อนท่านฟัง

บทความแปล: บริษัทออกแบบชั้นนำได้ idea ดีๆ จากไหน

แนะนำผู้เีขียน Robert E. Tucker - เป็นประธานบริษัทของ Innovative Resource และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในวงการเกี่ยวกับ Innovation ( โปรดเข้าใจเรื่องความแตกต่างของคำว่า Creative และ Innovative ก่อน ใน Dictionary จะความหมายใกล้เคียงกันมาก แต่ในทางปฎิบัติผมเห็นว่า Creative คือขั้นที่ 1 เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่คนมีในหัว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นข้างในก่อน ส่วนระดับที่ 2 คือ Innovative ซึ่งเกิดมาจาก Creative แต่สามารถจัดการให้เป็นระบบและผลักดันไปสู่ความมีผลลัพธ์ หรือ Outcome ออกมาอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นในทางวัตถุหรือทางระบบแผนงาน ที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อตัวเองและสิ่งแวดล้อม - ผุ้แปล ) เคยเป็น ผู้ช่วยศาสตรจารย์ที่ University of California, Los Angeles มาก่อน Robert E. Tucker เป็นผู้ทำวิจัยเกี่ยวกับ บริษัทหรือบุคคลที่เป็น Innovator มาตั้งแต่ปี 1981 ความเป็นผู้บุกเบิกให้สังคมเห็นความสำคัญของเรื่อง Innovators ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือ Winning the Innovation Game ในปี 1986 และหลังจากนั้นก็ได้ตีัพิมพ์อีกหลายครั้ง รวมทั้งได้รับเชิญไปออกรายการ TV ทั้งในและต่างประเทศ บริษัท Innovative Resource ตั้งอยู่ที่ Santa Barbara, California เป็นบริษัที่ปรึกษาที่ ให้คำแนะนำบริษัทต่างๆที่สนใจที่จะค้นหาความสามารถอีกขั้นของตัวเองและต้องการที่จะยืนอยู่ในแนวหน้าของวงการที่เกี่ยวกับ Innovation Robert E. Tucker มักจะท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆทั่วโลกเพื่อทำการบรรยายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ลูกค้าของเขามีประมาณ 500 องค์กร รวมทั้ง กระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไต้หวัน และ สมาคมการตลาดแห่งประเทศญี่ปุ่น (Robert E. Tucker มี Article ดีๆ เยอะมาก จะเลือกที่เกี่ยวกับสถาปนิกโดยตรงมาแปลครับ - ผู้แปล)

คำถามหลักคือว่า บริษัทเหล่านี้ได้ความคิดใหม่ๆ มาจากไหน แล้วพวกเขาเอาความคิดหรือ idea ที่ดีๆ เหล่านี้มาัำพัฒนาให้ประสบความสำเร็จในการบริการ การประกอบธุรกิจ และผลลัพธ์อื่นๆได้อย่างไร Creative Ideas มักจะเป็นสิ่งที่มีสถาณภาพของ Serendipity หรือ มักจะเป็นการค้นพบสิ่งที่น่าสนใจโดยไม่ได้วางแผนมาก่อน อาจจะเรียกว่าโดยบังเอิญก้ได้ (นึกถึง อาร์คีมีดิสที่ค้นพบเรื่อง มวล ในขณะที่แช่น้ำอยู่) และมักจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถบีบบังคับออกมาให้ได้ ตามที่ต้องการในเวลาที่ต้องการ (on demand) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพธุรกิจและความรวดเร็วของการเปลี่ยนแปลในปัจจุบันนี้ ทำให้เกิดบุึคคลหลายกลุ่มที่ พยายามศึกษาเรื่องการเกิดของ ความคิดสร้างสรรค์ (creative ideas) และศึกษาเรื่องการพัฒนาไปสู่การเกิดการสร้างสรรค์อย่างเป็นรูปธรรม (Innovative Process) จากข้อมูลการสำรวจที่ได้มาจากผู้บริหารธุรกิจทั่วโลก บริษัททั่วๆไป มักจะพบกับความผิดหวังในระดับของ Innovative Result (ไม่อยากจะแปลคำนี้เลย – ขอทับศัพท์ไว้ก็แล้วกันครับ – ผู้แปล) ที่เกิดขึ้นในบริษัท แต่ในจำนวนนี้มีอยู่กลุ่มเล็กๆที่ประสบความสำเร็จโดยตระหนักในการปรับตัว และยินดีที่จะปรับตัวอยู่เสมอ และในกลุ่มนี้มีคุณลักษณะ 7 ประการคือ

1. จะเรียกให้คนทุกๆ คนในองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหาความคิดใหม่ๆ โดยไม่จำกัด ระดับ หรือประสบการณ์ ใดๆ ทั้งสิ้น

2. ลูกค้าเก่าแก่ ถูกดึงเข้ามาเป็นส่วนร่วมในการหา idea นี้ด้วย

3. การเข้าหาลูกค้าใหม่ๆ ด้วยวิธีที่แตกต่าง

4. การค้าหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการภายในใจลึกๆ แต่ไม่ได้บอกออกมาให้เราทราบ

5. การเปิดตลาดไปสู่กลุ่มลูกค้าที่มี background แตกต่างออกไป

6. การดึง Supplier ที่เราทำงานด้วยเป็นประจำเข้ามาร่วมในกระบวนการ (ในวิชาชีพสถาปนิกอาจหมายถึง Consultant หรือ วิศวกร)

7. การบันทึก กระบวนการค้นหา idea นี้ไว้โดยละเอียดทุกขั้นตอน

ลูกค้าเป็นกลุ่มที่สำคัญมากในกระบวนการเหล่านี้ เนื่องจากในที่สุดแล้วไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพในการทำงานของบริษัท หรือผลลัพธ์ที่ออกมาอย่างมีคุณภาพมากกว่าระดับมาตรฐาน รวมไปถึงความสำเร็จในลักษณะอื่นๆที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน จะเป็นผลที่ดีกลับไปหาตัวลูกค้าเอง

Strategy 1: Involve Everyone in the Quest for Ideas Bristol-Myers Squibb (BMS)

บริษัทเภสัชกรรมระดับโลก ไม่เคยจำกัดความของเรื่อง Innvation ใ้ห้อยู่เฉพาะในเรื่องของการคิดค้นยารักษาโรคตัวใหม่ๆ เท่านั้น แต่ทางบริษัทจะให้ความสนใจมากกว่าในเรื่องใดๆ ก็ตามที่เป็นการนำเสนอจากบุคลากรในทุกระดับชั้น มีอยู่กรณีหนึ่งซึ่งเป็นกรณีใบอนุญาติของผลิตภัณฑ์ยาที่ชื่อ Glucophage ซี่งเป็นยาช่วยรักษาผู้ป่วยเบาหวาน กำลังหมดอายุและอาจถูกเพิกถอนเพราะกำลังเสื่อมไปจากตลาดอย่างรวดเร็ว แทนที่จะทิ้งปัญหานี้ไปให้กับฝ่ายการตลาด ทางบริษัทเห็นว่าน่าจะจัดตั้งกลุ่มย่อยเพื่อทำการประชุมแก้ปัญหาในระดับรายละเอียดปลีกย่อยเพื่อหาทางออก คำถามทั้งหลายถูกดึงออกมาหมด เช่น การขนย้ายผู้ป่วยประเภทนี้จากบ้านไปโรงพยาบาลหรือ Clinic มีขั้นตอนอะไรบ้าง - ปัจจัยของการที่คนป่วยสักคนจะตัดสินใจใช้ยาชนิดใหม่มาจากอะไร - นอกจากนี้ยังมีการเปิด Intranet Site ให้ พนักงานของบริษัททุกคนทุกระดับชั้น e-mail ความคิดเข้าไป และ 1 ในความคิดเหล่านั้นจากพนักงานในโรงงานคนหนึ่งก็ได้ถูกนำไปพัฒนาและปรับเป็นแผนเพื่อ แถลงการสงครามต่อต้านโรคเบาหวานขององค์กร และการทำพิพิทธภัณฑ์โรคเบาหวาน (และเมื่อสัญลักษณ์ของการต่อต้านโรคเบาหวานเป็๋นขององค์กรนี้ - หมายถึงว่า ถ้าพูดถึงโรคเบาหวานคนต้องนึกถึง บริษัท นี้ แล้วยาที่ผลิตมันก็ต้องขายได้ เป็นธรรมดา - ปัญหาก็ถูกแก้ไปโดยอัตโนมัติพร้อมกับชื่อเสียงที่ได้มาอีกอย่างมากมายอีกด้วย - Think Outside The Box - ผู้แปล) บทเรียน - องค์กรทุกองค์กรสามารถขยายขอบเขตของความคิดต่างๆได้โดยการให้โอกาสพนักงานได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาระดับสูงขององค์กร เช่น การผลิตสินค้า และบริการแบบใหม่ และสามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ โดยการให้พนักงานเหล่านี้ มีการ สนทนาปราศัยกับลูกค้ามากขึ้น และไม่อนุญาติให้พนักงานคนใดก็ตามที่มีใช้เวลาในการสนทนาหรือติดต่อกับลูกค้าน้อยกว่า 20% ของเวลาทั้งหมด มาร่วมในกระบวนการแก้ปัญหา (เพราะคนกลุ่มนี้จะมีความคิืดของตัวเองที่มาจากตัวเองมากกว่ามาจากข้อมูลของผู้ใช้บริการ - ผู้แปล)

Strategy 2: Involve Client and Customers

ถ้าคุณต้องการที่จะเลือกลูกค้าระดับแนวหน้าเ ท่านั้นที่จะมามีส่วนเกี่ยวข้องกับ Innovative Process ลองคิดดูใหม่ดีๆ บริษัทที่ประสบความสำเร็จตรงนี้ มีเทคนิคกว้างขวางกว่านั้นมากที่จะจัดการรับข้อมูลจากด้านของลูกค้า ในกรณีของ BMW ที่ต้องการที่จะรักษาความเป็น Ultimate Driving Machine (ขออนุญาติไม่แปลคำนี้เพราะยากเกิน – ผู้แปล) ทางบริษัทยินดีที่จะใช้เงินเป็นจำนวนมากมหาศาลเทียบกับสัดส่วนของบริษัทอื่นที่จะรักษาตัวเองที่จะให้อยู่ในแนวหน้า ทางบริษัทได้ทำการสร้างองค์กร Virtual Innovation Agency (VIA) ภายในบริษัท เพื่อเป็นส่วนที่ทำการติดต่อโดยตรงกับ ลูกค้า ทางบริษัทได้ทำ online community ที่เจ้าของรถ และที่ไม่ใช่เจ้าของรถทั้งหลายจะได้เข้าไปนั่งคุยกันและมีของสมนาคุณ เกม และ งานจัดเลี้ยงตามที่ต่างๆมากมายเพื่อให้คนมาแลกข้อมูลกัน และก่อเกิดเป็นสังคมชนิดพิเศษขึ้นมา Idea ที่ถูก post เข้าไปจะถูกนำไปวิเคราะห์ และทำการพัฒนา ภายในอาทิตย์แรกของการก่อตั้ง VIA นั้น มี idea ประมาณ 4000 จากลูกค้าที่ส่งเข้ามา ลูกค้าระดับแนวหน้าสามารถเป็นกำลังสำคัญให้กับองค์กรของคุณได้ ถ้าสามารถมีการจัดการให้ลูกค้ากลุ่มนี้เป็นผู้นำของกลุ่มลูกค้าย่อยๆ ที่ไม่ได้ เป็นกลุ่มที่ซื้อ product ออกใหม่ตลอดเวลา ถ้าหากประสบความสำเร็จตรงนี้ การบริหารงานทางด้านการตลาดจะเป็นไปได้ อย่าง smooth เนื่องจาก information เข้ามาหาเราเองจากลูกค้าย่อย สู่ลูกค้าหลัก แล้วก็สู่ผู้ประกอบการแบบเรา เราจะอยู่บนยอดคลื่นของ Trend อยู่ตลอดเวลา - ความเห็นของผู้แปล – วิชาชีพของเราไม่ใช่การขาย Product แต่เป็นการขาย Service ลูกค้าหลักของเรา อาจเทียบได้กลับลูกค้าประจำที่จ้างเรามาแล้วหลายๆ งาน การที่จะดุดลุกค้าย่อยๆ เข้ามาอยู่ในระบบนั้น จะเกิดจาก Relationship ที่ดีระหว่างลุกค้าหลัก กับเราที่จะต้องให้เขาพยายามที่จะช่วยเราใน เชิง Business มากกว่าที่จะให้งานเราเฉยๆ ในกรณีนี่ การที่เราให้ Favor กับลูกค้าประจำมากๆ โดยขอแลกกับเวลา ที่เขาจะมานั่งคุยกับเราเรื่อง Marketing Strategy หรือ Business Strategy ใน บริษัทออกแบบ อาจจะเป็นทีศทางหนึ่งตรงนี้ - การปฎิบัติการตรงนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาหรือ ว่าจะเป็นการตกลงกันปากเปล่าก็แล้วแต่ เจ้าของบริษัทออกแบบควรจะรู้ดีที่สุดว่า ลุกค้าคนนั้นๆ เป็นคนที่สนใจกับความก้าวหน้าของบริษัทเราหรือไม่ เพราะบางคนก็ชอบที่จะให้งานเราเฉยๆเก็บเราไว้คนเดียว ไม่ได้อยากให้เราเติบโตไปทำงานกับคนอื่น

Strategy 3: Involve Clients in New Ways

องค์กรต่างๆ มีการสอบถามความต้องการของลูกค้าด้วยวิธีการที่แตกต่างกันออกไป วิธีการที่คลาสสิคที่สุดก็คือการทำ Survey หรือแปลตรงๆว่าการทำแบบสอบถาม แต่ก็ไม่ได้จำเป็นว่าจำต้องทำเป็น แบบ Form ให้ลูกค้าเข้าไปนั่งกรอกกัน การทำแบบสอบถามในตลาดของการออกแบบร้านค้านั่นไม่ค่อยมีการพัฒนาไปมาก แต่ในทางของการออกแบบบ้านนั้นในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก KB Home, บริษัทรับสร้างบ้านที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในเมือง Los Angeles ในสหรัฐอเมริกา ได้ทำการสร้างระบบการสำรวจความต้องการของลูกค้าเริ่มต้นในช่วงปลายทศวรรศ 1990 ผลที่ได้ออกมาทำให้เกิดความประหลาดใจกับมาตรฐานและการคาดคะเนตลาดของบริษัทที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก เกี่ยวกับว่าเจ้าของบ้าน ต้องการบ้านแบบไหนที่เป็นของตัวเอง ตัวอย่างเช่นในเมือง Denver ที่เป็นเมืองในรัฐ Colorado อากาศค่อนข้างหนาวเย็น บริษัท KB Home มักจะออกแบบบ้านให้ทุกหลังมี เตาผิง (Fireplace) และ ห้องใต้ดินไว้ โดยคิดว่านั่นคือสิ่งที่ทุกคนต้องการ แต่ผลจากการสำรวจแสดงให้เห็นว่า เจ้าของบ้านยุคใหม่ ไม่สนใจมากนักที่จะมีห้องใต้ดิน หรือแม้แต่เตาผิง ถ้าสามารถตัดออกไปแล้วจะประหยัดราคาบ้านได้ 20% หรือ อีกกรณีหนึ่งคือในเมือง Phoenix ของรัฐ Arizona ที่อากาศร้อนมากหลายๆเดือนในแต่ละปีนั้น การออกแบบ Porches หรือชานนอกบ้านก็มักจะถูกทำให้มีหลังคาคลุมเพื่อป้องกันความร้อน แต่เจ้าของบ้านมากกว่าครึ่งที่บอกว่า ไม่จำเป็นต้องคลุมก็ได้ ผลที่ออกมาอาจจะดูได้อย่างคร่าวๆว่า ทุกคนเพียงแค่ต้องการจะประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงจากการสำรวจลึกลงไปอีกกลับพบว่า มี Feature หลายๆอย่างในบ้าน ที่คนยินดีที่จะจ่ายเพื่อให้สร้าง แต่กลับไม่ปรากฎมาก่อนในตลาด เช่น Coffee Bar ให้ห้องนอนใหญ่ หรือห้องทำงานสมบูรณ์แบบ (Built-in Home Office) มีสายโทรศัพท์ สายเคเบิล ตู้เอกสาร อะไรเสร็จหมด หรืออย่างเช่น บานกระจกหน้าต่างแบบ Modern ผิดกับตัวบ้านที่เป็น Traditional Look กลับเป็น Trend ที่มาแรงมากเป็นต้น ทางบริษัทได้ใช้ระบบ Amenities Customization (หรือการจัดการออกแบบ-สร้าง ส่วนต่อเติมเพื่อความต้องการพิเศษให้ตรงตามความต้องการลูกค้าเป็นคนๆไป) นี้มาเป็นเวลา 7-8 ปี และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในกลุ่มลูกค้า และทำให้คู่แข่ง ที่ยังมี Vision แบบเก่าว่า One Size Fits All (หรือสร้างให้เหมือนๆ กันเป็นกลางๆไว้ก่อน – ขายได้เอง) ถูกกระทบกระเทือนเป็นอย่างมาก - จุดที่น่าสนใจคือ ถ้าเราสามารถกะเทาะข้อมูลในใจชองลูกค้าที่เขามีความต้องการจริงๆออกมาได้นั้น ยิ่งมากเท่าไหร่แต่แรก็จะยิ่งมีประโยชน์กับการออกแบบ และประหยัดเวลาในการเปลี่ยนแบบมากเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าคนไทยบางคนขี้เกรงใจมาก คุณสถาปนิกว่าดีก็ดีครับ แต่ในใจแล้วไม่ค่อยชอบ แต่ไม่พูดเพราะให้เกียรติเรา การที่ทำให้ลูกค้าเปิดอกกับเรา 100% อาจจะทำให้เราเข้าไปถึง Area ของ Trend ที่มีอยู่จริง แต่ไม่อยู่ในสายตาเรามาก่อนก็ได้ (ผู้แปล)

Strategy 4: Focus on Unarticulated Client Needs

สาเหตุที่กลุ่มตัวลูกค้าที่เป็นกลุ่มที่มักถูกจับตาให้เป็นกลุ่มตัวอย่าง (Focus Group) ไม่น่าจะเป็นกลุ่มที่จะนำไปสู่ Innovation ได้มากนักก็เนื่องมาจากว่า กลุ่มลูกค้าเหล่านี้เป็นกลุ่มที่มักจะตอบสนองต่อสิ่งที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก และไม่ค่อยมองไปเกินหรือลึกลงไปกว่านั้น ซึ่งสิ่งที่เราซึ่งเป็นฝ่ายทำธุรกิจต้องการคือการที่จะได้รับการตอบสนองจากลูกค้าเกี่ยวกับ Idea ที่ยังไม่มีอยู่ (None Existing Idea) แล้วเราจะทำได้อย่างไร ? วิธีการที่ยากแต่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการที่จะค้นหาความต้องการที่แม้แต่ลูกค้าเองก็ยังไม่ทราบว่าคืออะไรแต่มีอยู่แล้วในหัว (คือทราบว่ามีปัญหาและต้องการแก้ปัญหาแต่ ระบุปัญหาไม่ได้) ถ้าหากทางองค์กรประสบความสำเร็จในการค้นหาปัญหาที่ซ่อนอยู่ในเบื้องลึกของลูกค้าที่แม้แต่ลูกค้าก็ยังบอกไม่ได้นี้ ก็อาจจะนำไปสู่การสร้างหรือการคิดค้นวิธีการ ผลิตภัณฑ์ และระบบการทำงานใหม่ๆที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนก็เป็นได้ องค์กรที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ Callaway Golf – ทางบริษัทส่งคนออกไปปะปนอยู่ใน Country Club และสนามกอล์ฟสาธารณะต่างๆ เพื่อทำการสังเกตุพฤติกรรมของผู้เล่น พูดคุยเกี่ยวกับวิธีการเล่น และการใช้อุปกรณ์ต่างๆที่เขาชอบ สิ่งที่ค้นพบก็คือว่า ในความเป็นจริงแม้ว่าทุกคนที่มาเล่นกอล์ฟ จะดูเหมือนรักการเล่นมาก เพราะต้องมากแต่เช้า ใช้เวลานาน ต้องฝึกซ้อมแต่ในความเป็นจริงแล้ว ในระหว่างการเล่นนั้น คนที่เล่นมักจะอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างจะเครียดมากกว่า การเล่นเพื่อความสนุก ดังนั้นทางบริษัทจึงได้แนวคิดการพัฒนาว่าจะทำอย่างไรให้คนเล่นกอล์ฟ เล่นได้อย่างสนุก สิ่งที่เป็นผลมาจากการพัฒนาแนวคิดอันนี้ก็คือ Big Bertha ซึ่งเป็น ชุดไม้กอล์ฟที่มีหน้ากว้างและมีจุด Sweet Spot (จุดที่จะทำให้ตีลูกได้ระยะที่ดี และเสียงเพราะ) กว้างใหญ่กว่าปกติ หรือที่เรียกันว่ามี Forgiving มากกว่าปกติ ซึ่งทำให้คนตีกอล์ฟ มีโอกาสตีลูกได้ดีมากกว่าปกติ (พอตีดีก็อารมณ์ดีขึ้น) – ในช่วงที่ออกมาใหม่นั้น ประสบความสำเร็จอย่างมาก คนรุ่นใหม่ๆ หันมาใช้ Big Bertha กันมากมาย คนรุ่นเก่าๆ หลายคนถึงกับขอแลกหัวไม้ดีๆ แพงๆ กับ Big Bertha. ปัจจุบัน Big Bertha เป็นไม้ที่คนนิยมมากที่สุดรุ่นหนึ่งในโลกของคนเล่นกอล์ฟ ข้อสังเกตุ - การค้นหาข้อมูลจากลูกค้าในสิ่งที่ เขา “ไม่ได้ทำ” ลองฟังในสิ่งที่เขา “ไม่ได้พูด” และการสังเกตุสิ่งทำให้เขาอารมณ์เสียหรือหงุดหงิด เป็นวิธีการที่ไม่ค่อยมีองค์กรไหนกล้าทำเพราะเป็นสิ่งที่ต้องใช้การลงทุนลงแรงมาก แต่ไม่แน่ว่าจะได้ผลหรือเปล่า แต่สำหรับวงการออกแบบของเรา ประสบการณ์จะเป็นตัวสอนให้เห็นได้ว่าลุกค้านั้นเป็นคนอย่างไร การที่เสนอสิ่งที่ดีให้ลูกค้าโดยที่เขาไม่รู้ หรือไม่เคยคิดเลยว่านั้นคือปัญหานั้นไม่ใช่สิ่งใหม่ของเรา แต่การแสดงให้ลูกค้าเห็นจุดนี้จะเป็นการเพิ่ม Value ของการทำงานให้เราในสายตาของลูกค้า

Strategy 5: Seek Ideas from New Customer Groups

องค์กรต่างๆโดยส่วนใหญ่ ทราบเป็นอย่างดีว่าลูกค้าหลักของพวกเขาคือใครบ้าง แต่ถ้าเราพยายามมองกลุ่มลูกค้าให้กว้างออกไปมากกว่าปกติ เราก็สามารถที่จะขยายฐานของกลุ่มลูกค้าออกไปมากกว่าปกติได้ ตัวอย่างสำหรับยุทธวิธีในรูปแบบนี้ สามารถดูได้จากกรณีของแผนกเครื่องมือทางการแพทย์ (Medical Products) บริษัท Phillips Electronics ทางบริษัทเคยมองกลุ่มลูกค้าหลักว่าเป็นกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียว ได้แก่ แพทย์ที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลทั้งหลาย เพราะคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่มีอำนาจการตัดสินใจในการซื้อเครื่องมือราคาแพงเหล่านี้ แต่ทางบริษัท Phillips ได้พยายามมองให้ลึกลงไปในธุรกิจการแพทย์ (Healthcare Industry) และได้พบว่าการให้บริการต่างๆ นั้นได้มีการจัดการในรูปแบบที่แต่ต่างไปจากเดิม คือการบริการนั้นไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่อาจจะอยู่ตามบ้านคน ที่จัดการโดยบริษัทที่ทำการดูแลคนไข้นอกสถานที่ (Outpatient Clinics) ไปรักษาคนที่ร่ำรวยอยู่ในคฤหาสน์ หรือองค์กรการกุศลที่ต้องเอารถออกไปรักษาคนจรจัดที่อยู่ตามถนนก็ตาม จากการที่ได้เข้าไปสัมผัสกับกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่เหล่านี้ และได้เห็นวิธีการทำงานของพวกเขา บริษัท Phillips ได้ทำการพัฒนาอุปกรณ์ใหม่ๆขึ้นมา เช่นเครื่องตรวจฟัง (ที่แขวนคอหมอไว้ทุกคน) ที่สามารถกรองเสียงรบกวน ภายนอกออกไปได้ ที่ทำให้การทำงานนอกสถานที่ หรือในสภาวะที่ไม่สงบ เป็นไปได้ง่ายขึ้น ข้อสังเกตุ – สิ่งที่น่าจะดูมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือ “ลูกค้าของลูกค้าเรา” (เราก็ต้องเข้าใจธุรกิจของไปด้วยในตัว) และ “ลูกค้าของคู่แข่งเรา” (ทำให้เราต้องเข้าใจคู่แข่ง และความแตกต่างของลูกค้าไปในตัว) – นอกจากนี้เราสามารถมองไปที่ลูกค้าเก่า หรือลุกค้ากลุ่มที่เราไม่เคยทำงานด้วยมาก่อน พยายามถามตัวเองอยู่เสมอว่าพวกเขาต้องการอะไรและเราจะทำอย่างไรให้เราให้บริการเขาได้ดีที่สุด ให้เขาเลือกมาเป็นลูกค้าของเราได้ในที่สุด

Strategy: 6 Involve Suppliers in Problem-Solving Suppliers

หรือผู้ที่จัดหาอุปกรณ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ดิบทั้งหลายให้กับองค์กรนั้น สามารถเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการสร้าง Innovative Process แต่การที่จะให้คนกลุ่มนี้เข้ามาเกี่ยวข้องตรงนี้ดวยนั้น เราจะต้องนำทางให้เขาหรือให้กรอบกับการคิดของเขาหน่อย ตามปกติแล้วสิ่งที่เราพูดกับ Supplier ก็คือ “ถ้าคุณมีความคิดอะไรใหม่ๆ ที่น่าสนใจที่จะทำให้งานของบริษัทเราดีขึ้น คูณอย่าลืมบอกให้เราทราบด้วย” ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ ไม่มีความคิดอะไรใหม่ๆ ออกมาเลยแม้แต่น้อย ทีนี้ถ้าเปลี่ยนใหม่เป็น ถามคำถามที่เฉพาะเจาะจงลงไป ผลที่ได้จะเป็นอีกแบบทันที เจ้าของบริษัทที่กำลังทำการพัฒนาครีมบำรุงผิวแห่งหนึ่งได้ให้สัมภาษณ์ว่า มีอยู่ครั้งที่ได้สนทนากับ Supplier และได้ถามไปว่า “คุณมีสารเคมีเพื่อการเกาะติดชั่วคราว ที่ใช้ได้กับผิวอ่อนบาง ผิวหยาบ ผิวติดเชื้อ และผิวที่มีรอยขีดข่วน ได้ทั้งหมดเลยหรือเปล่า ถ้าเกิดมีขึ้นมาอย่าลืมบอกทางเรา หรือนำมาให้เราลองดู” ถ้าถามคำถามแบบนี้ จะเหมือนกับเป็นการให้การบ้านไปคิดทันที Supplier ที่ดีนั้น สนใจที่จะสร้างเครดิตที่ดีให้ตัวเองอยู่เสมอ ผลที่ได้รับนั้น ดีเกินความคาดหมาย แม้แต่ Supplier ที่ไม่เคยเสนอความคิดอะไรใหม่ ๆ ให้กับบริษัทมาก่อน ยังอุตสาห์พยายามไปเสาะหาสารเคมี หรือพัฒนาสารตัวนี้ออกมาถึง 2 แบบ และ Supplier บางคนก็ตื่นเต้นมากที่เราให้โอกาสเขาในการที่จะมี Creative Input ในผลิตภัณฑ์ของเรา ข้อสังเกตุ – ก็เหมือนๆกับที่เราอยากได้ ความคิดใหม่ๆ จากลูกค้า ลองคิดดูว่าเราเองคือลูกค้า ของ Supplier เราเองก็เป็นไปได้ที่จะมี Unarticulated Need หรือความต้องการอะไรบางอย่างที่เราไม่สามารถอธิบายได้ การที่จะทำการระบุความต้องการตรงนี้ออกมานั้น Supplier สามารถเป็นคำตอบหนึ่งเช่นกัน สำหรับธุรกิจออกแบบสถาปัตย์นั้น Supplier อาจรวมไปถึงผู้ที่ทำงานให้เรา ตั้งแต่ Consultant หลักเช่นวิศวกรโครงสร้าง ไฟฟ้า ไปจนถึงร้านพิมพ์งาน คนเหล่านี้เห็นบริษัทเราทำงานจากภายนอกอย่างใกล้ชิดในอีกแง่มุมหนึ่งที่แตกต่างจากลูกค้าอย่างสิ้นเชิงทั้งสิ้น และเราสามารถใช้ระบบการถามคำถามอย่างเฉพาะเจาะจงกับพวกเขา เพื่อการพัฒนาของเราได้เช่นเดียวกัน

Strategy 7: Benchmark Ideation Methods Ideation

เป็นอีกคำที่น่าสนใจสำหรับการนำไปสู่ Innovation คำว่า Ideation เป็นจุดเริ่มต้นเหมือนกับการระดมสมอง ค้นหาแนวทางใหม่ๆ หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น “ระบบการค้นคว้า ก็ได้” ส่วน Innovative Ideas หรือ Innovation นั้นเป็นผลลัพธ์ของขั้นตอนตรงนี้ องค์กรที่สนใจที่จะมี Innovation จะต้องให้ความสำคัญกับ Ideation ให้มากๆ ไว้ และไม่ควรให้ปล่อยเป็นเรื่องของความบังเอิญ บริษัทควรให้การลงทุนกับการ ให้เวลาในการประชุม การอ่านหนังสือใหม่ๆ การเข้าร่วมการสัมนาต่างๆ เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ เพราะนั่นคือจุดแรกสุดก่อนที่จะนำไปสู่ Innovative ต่างๆได้ ข้อสังเกตุ บริษัทที่ต้องการจะไปสู่ Innovation จริงๆจะต้อง ค้นหาว่า Ideation ในบริษัทนั้นเกิดมาจากที่ใด มาจากคนกลุ่มใด ที่ทำอะไรเป็นหลักแล้วผลักจุดนั้นให้แรงขึ้น

Monday Morning at the Idea Factory

ด้วยความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน การปรับเปลี่ยนของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่ออกมา และการก้าวกระโดดของระบบแผนงานต่างๆนั้น ทำให้องค์กรที่ยังคงยึดติดอยู่กับแนวคิดเดิมๆ ผลงานแบบเดิมๆ อยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วง องค์กรที่ต้องการจะโต้คลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงที่โหมกระหน่ำเข้ามานี้จะต้อง มีการจัดการเพื่อให้ก่อเกิดแนวคิดใหม่ๆ ตลอดเวลา แต่ในการทำงานแต่ละวันนั้น เราก็ต้องเข้าใจว่า ความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ผู้บริหารเองก็ลำบากใจที่จะตัดสินเพราะเป็นสิ่งที่มีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นการที่จะ balance ทั้ง 2 ด้านนี้จะเป็นงานที่ยากที่สุดสำหรับผู้นำทุกๆ คน ที่จะต้องนำไปคิดค้นวิธีที่เหมาะสมกับองค์กรตัวเองที่สุดต่อไป

จบ

บทความแปล: การบุกตลาด Asia ของสถาปนิกตะวันตก

เขียนบน Website ของสมาคมสถาปนิกสยาม (www.asa.or.th) เริ่มเขียนเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2003

Leaders Roundtable: Success in Asia-Pacific เป็น Article ที่ลงใน Online Magazine – Design Intelligence เป็นบทสัมภาษณ์ของ Executive 4 คน ของ 3บริษัทสถาปิกมหายักษ์ของโลกตะวันตกที่ทำการบุกตลาด Asia Pacific และประสบความสำเร็จอย่างงดงามและรุนแรง ซึ่งได้แก่

1. Harold Adams, chairman of RTKL Associates Inc.;

2. Steve Huh, president and chief executive officer of The Leonard Parker Associates (a part of the Durrant Group)

3. Howard J. Wolff, Senior Vice President

4. Chao "Robert" Zhen, Director of Business Development for Greater China of Wimberly, Allison, Tong & Goo.

หลายๆคนที่สนใจเรื่องการเข้ามาทำงานในประเทศแถบ Asia ของสถาปนิกตะวันตกว่ามีความเป็นมาอย่างไรใน วิธีการเปิดตลาด หาลูกค้า การทำงานกับสถาปนิกท้องถิ่น อาจจะได้ข้อมูลดีๆ จาก Article นี้

ถาม: ขอให้ทุกท่านช่วยเล่า Background ของการเข้ามาทำงานใน Asia Pacific ก่อนครับ

Adams: ประสบการณ์ใน Asia Pacific ของ RTKL เริ่มมาประมาณเมื่อ 15 ปีก่อน ตอนที่เศรษฐกิจทางฝั่ง America นี่แย่มาก แต่ทางฝั่ง Asia รุ่งเรื่อง พวกเราเปิด office ที่ Tokyo เมื่อปี 1990 แล้วก็ค่อยๆพัฒนาไปเรื่อยๆ ในช่วง 15 ปีนี้เราได้ สร้างเครื่อข่าย ทำความรู้จัก และความสัมพันธ์อันดีกับ ผู้คนในหลายๆประเทศของภูมิภาคนี้ ตั้งแต่ เกาหลี ไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไต้หวัน ออสเตรเลีย และล่าสุด และมาแรงที่สุดก็คือ จีน - งานออกแบบพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีที่ เซี่ยงไฮ้นั้นเป็นโครงการที่เปิดประตูไปสู่โอกาสของ โครงการอื่นๆ ที่เราได้มาอีกเป็นจำนวนมาก และด้วยความที่โครงการมีจำนวนมาก และโอกาสอันดีในอนาคตที่เรายังมองเห็นอยู่ เราจึงอยู่ในช่วงของการดำเนินการที่จะเปิด office ใหม่ที่เซี่ยงไฮ้เร็วๆนี้

Huh: Leonard Parker Associates ของเรามีจุดเริ่มต้นที่ เกาหลีเมื่อ 15 ปีก่อนเหมือนกัน ส่วนใหญ่โครงการที่ได้ทำคือ บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ มีหลายๆรูปแบบ ตั้งแต่เป็นโครงการบ้านชานเมืองเป็นหลังๆ จนถึง High Rise Apartment และ Condo. แต่ในช่วงที่ผ่านมาล่าสุดนี้งานของเราจะไปอยู่ในจีนเสีย เป็นส่วนใหญ่ เช่น โครงการ Mix-use ขนาด 3 ล้านตารางเมตร ที่จังหวัด Dailian แล้วก็ โครงการ Artist Park ใน Olympic Complex ที่ ปักกิ่ง ในปี 2008 นี้ นอกจากนี้เราก็มีประสบการณ์ ใน Australia และ New Zealand มามากพอสมควร โครงการของเรามีในประเทศอื่นๆ เช่น ไต้หวัน และ ฟิลิปปินส์ แต่ว่าในช่วงหลังๆนี้เราไม่ค่อยได้เข้าไป เพราะว่าเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มนี้ไม่ค่อยดี ประเภทหลักๆของโครงการที่เราได้ออกแบบคือ ศูนย์การประชุม โรงแรม ห้างสรรพสินค้า และบางครังก็ เป็นพิพิธภัณฑ์ โดยหลักๆแล้ว รายได้จากโครงการในต่างประเทศของบริษัทเรานั้นคิดเป็น 30 % ของรายได้รวม แ่ต่เนื่องจากเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของ America ในปัจจุบันนั้น เราต้อง บุกตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น

Wolf : รายได้ 26% ของ Wimberly Allison Tong and Goo ของเรานั้น มาจาก ใน Asia Pacific อยู่แล้ว และถ้านับ Hawaii ด้วยก็คือ 29% Office 6 office จาก จำนวน 7 office ของเรา ในตอนนี้ มี โครงการที่กำลังอยู่ในขึ้นการออกแบบ ใน Asia Pacific เราทำโครงการต่างๆในภูมิภาคนี้มาตั้งแต่ช่วงปี 1950s แล้ว

ถาม: แล้ววิชาชีพสถาปัตยกรรมใน Asia นี่แตกต่างกับเรามากหรือเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน จีน

Adams: แต่ละประเทศเขาก็มีระบบระเบียบในการดำเนินวิชาชีพของตัวเอง ดังนั้นคำถามนี้จึงตอบคำตอบเดียวไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามองจากระดับการพัฒนาของประเทศต่างๆ บางประเทศนั้นเป็นประเทศพัฒนาแล้ว บางประเทศเป็นประเทศกำลังพัฒนา ถ้าอย่างจีนนี่ต้องนับว่าเป็นประเืทศที่กำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก ทั้งในด้านกำลังเงิน และชีดความสามารถของบุคลากร จีนกำลังต้องการที่จะมุ่งไปสู่ความเป็นสากลมาก และนั่นก็แสดงออกมาในรูปแบบของ สถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้นในรอบสิปปีที่ผ่านมานี้ สิ่งที่เราต้องระมัดระวังคือเรื่องของการมุึ่่งไปสู่งสากลอันนั้น จะมีผลกระทบกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวจีนอย่างไร ทุกวันนี้คุณอาจจะเห็นสถาปัตยกรรมที่สมัยใหม่มาก แต่ในเรื่องการออกแบบผังเมืองนั้น ยังนับว่า จีนเพิ่งเริ่มให้ความใส่ใจจริงๆ เมื่อไม่นานมานี้เอง

Huh : สำหรับตัวผมเอง ผมไม่คิดว่าการประกอบวิชาชีพใน Asia เทียบกับใน America นั้นต่างกันมากนัก แต่แน่นอน อันนั้นสามารถมองได้แตกต่างกันออกไปในระดับรายละเอียด แต่ในเรื่องของ ทิศทาง และรูปแบบของ Design นั้น ค่อนข้างที่จะมุ่งไปในทางเดียวกัน ขีดความสามาถในการออกแบบของ สถาปนิกเอเชียนั้น นั้นกำลังจะตามทันความเป็นสากล ในยุโรป หรือ America แล้ว ผมทายว่าอีกประมาณ 10 ปี สถาปนิก Asia จะสามารถแข่งขันกับสถาปนิกจาก America หรือ Europe ได้

Zehn: สถาปนิก Asia ถูกยอมรับในด้านของ ความสามารถในเชิง Production และ Technical มากกว่าความสามารถในการออกแบบ ลูกค้าส่วนใหญ่่ในจีน ให้ความสำคัญกับ ความคิดสร้างสรรค์ของสถาปนิก American ควบคู่ไปกับการใช้ ความรู้และข้อจำกัดเช่นเรื่อง ฝีมือแรงงาน และ วัสดุ ในท้องถิ่นนั้นๆ มาใช้ให้การก่อสร้างสำเร็จลุล่วงไปได้

ถาม: แล้วเรื่อง ค่าแบบ(Fees) เปรียบเทียบกันแล้วเป็นอย่างไรบ้างครับ?

Wolf: จากประสบการณ์ที่มี ผมว่า ค่าแบบในโลกตะวันตกค่อนข้างจะทัดเทียมกับส่วนอื่นๆของโลก แต่แน่นอนว่า บริษัทในประเทศนั้นๆ ย่อมจะ Charge ได้ ถูกกว่า

Adams: ปกติค่าแบบที่ได้จากงานในต่างประเทศ โดยเฉพาะใน Asia นี้ มักจะถุกเสนอมาในราคาที่ถูกมาก เราจึงต้องมีการ Negotiate เพื่อให้ได้ ราคาที่เหมาะสม ส่วนใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะออกมาเป็นที่น่าพอใจ เงินที่ได้รับจะมาจากกที่เราทำงานเสร็จเป็ฯ Phase ไป ส่วนที่ยากก็คือการที่จะให้ได้ Approve ใน Asia ค่อนข้างจะยุ่งยาก แล้วก็ การที่จะให้ลูกค้า “จ่าย” เงินมาให้เราจริงๆ ตามที่ตกลงกันไว้ อันนั้นก็อีกเรื่องเลย มันก็น่าสนใจในการที่ลูกค้้า อาจจะขอเจรจาอีกรอบก็ได้ แต่ในขณะที่การเจรจาเป็นไปอย่างเชื่องช้า Construction Document ที่ถูกผลิตในท้องถิ่นนั้นกลับเป็นไปอย่างรวดเร็วผิดปกติ เราใช้เวลาไปมากในการเจรจาที่ค่อนข้างจะยุ่งยาก แต่เราก็ได้ค่าแบบในจำนวนที่เราพอใจมา Huh: ค่าแบบใน Asia นั้นถุกมาก (Extremely Low) สำหรับมาตรฐานที่พวกเขาตั้งขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตาม มาตรฐานของงานเป็นไปในแบบเดียวกัน คือเราต้องได้ เงินค่าจ้างของเวลาที่เราลงทุนไป เรามักจะเป็นคนบอกไปว่า นี่คือราคาของเรา แล้วก็ จะต้องมีการ เจรจากันไปอีกนานอยู่เสมอ

ถาม: ตอนนี้ประเทศจีน พยายามที่จะประกาศไปทั่วโลกเกี่ยวกับ ความพยายามในการที่สร้างชื่อในการเป็นประเทศที่คำนึงถึงสภาวะสิ่งแวดล้อม โดยการที่จะให้ Building Complex ทั้งหมดใน Olympic 2008 นี้เป็น Green Architecture อยากให้ทุกท่านช่วยเปรียบเทียบ Trend ตรงนี้ของจีน กับ USA หน่อย

Huh: เรื่องสิ่งแวดล้อมนั้นเป็น หัวข้อที่ทุกประเทศใน Asia ให้ความสำคัญหมด เนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วนั้นมักก่อให้เกิดปัญหามลพิษ อันนี้ก็รวมไปถึงความหนาแน่นของคนในเมืองด้วยซึ่งก็โยงไปถึงปัญหาการขาดแคลน พลังงาน เรื่องประหยัดพลังงานนี้ โยงไปถึงเหตุผลทางการเงินมากกว่าเรื่องอื่น คือส่วนใหญ่รัฐบาลในทุกๆประเทศจะย้ำให้เราคำนึงเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ก็ไม่มีคู่มือ หรือหนังสือประกอบการออกแบบให้เหมาะสมสำหรับเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ทางเราเองก็ มักจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ในขั้นตอนของการออกแบบอยู่แล้ว

Adams: ความสนใจเรื่อง Green Design กับ Sustainability กำลังเป็น Trend ของ Asia การที่รัฐบาลจีน ออกมาประกาศเรื่องการที่จะให้่หัวข้อตรงนี้เป็น 1 ในแรงขับเคลื่อน ของกระบวนการออกแบบ Olympic Park นั้นก็ นับว่าน่าประทับใจอยู่มาก แต่ในความเป็นจริงแล้วก็ต้องยอมรับว่า หัวข้อเรื่องสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันของจีนนั้น ยังไม่อยู่ในสายตาของประชากรส่วนใหญ่เท่าใด เนื่องจากทุกคนกำลังให้ความสำคัญกับ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการขยายตัวของเมือง (Urban Expansion) แต่ถ้าจะให้เปรียบเทียบกันในเชิงนโยบายละก็ ผมว่า จีนนำหน้า USA อยูี่ระดับหนึ่ง Wolf: เรื่องนี้ค่อนข้างจะละเอียดอ่อน และอยู่ในความสนใจของ ลุกค้าหลายคนที่ผมได้พบ สิ่งที่เป็นรูปธรรมที่ได้รับการปฎิบัติแล้ว หรือคนพยายามที่จะทำให้ดีขึ้นก็คือ การลดปริมาณของเสีย (Waste) และมลภาวะ มากกว่าการที่จะวางแผนเพื่อการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainability Development) ในจีนนั้น ลูกค้ามักจะเลือกเอา Green เฉยๆ (Green เป็นแสลงของ ภาษา อังกฤษในที่นี้หมายถึง เิงิน) มากกว่าที่จะเอา Green Building

ถาม: มาถึงเรื่องมาตรฐานแบบเดียวกับ ADA (American with Disability Act - กรมที่ดูแลเรื่องสิทธิืของคนพิการ - การออกแบบอาคารเพื่อคนพิการเป็นส่วนหนึ่งของกรมนี้ ภายใต้กระทรวงยุติธรรม ของ USA) และ OSHA (Occupational Safety & Health Administration คล้ายๆ กับกรมที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน เป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงแรงงานของ USA) นี่มีความคล้ายคลึงกับของเราหรือว่า แ่ตกต่างกันออกไปใน Asia Pacific นี้

Adams: ความสนใจในเรื่องนี้กำลังกระจายออกไปอย่างกว้างขวางใน Asia แต่สำหรับในจีนนี่ เท่าที่ผมเห็น รัฐบาลยังไม่มีนโยบายที่เป็นรูปธรรมสักเท่าไหร่ สำหรับทางเราเอง เราจะพยายาม Market ตัวเองให้ทุกๆอย่างที่ออกมานั้นเป็น International Standard อยู่แล้ว และอันนี้ก็รวมไปถึงเรือง ความปลอดภัยในขั้นตอนการก่อสร้าง และความปลอดภัยของผู้ใช้อาคารด้วย ลูกต้าส่วนใหญ่ก็คล้อยตามเราในเรื่องนี้มากกว่าในเรื่องการออกแบบอาคารเพื่อคนพิการ

Huh: สำหรับตัวผมเอง ผมคิดว่าในจีนนั้น ยังไม่มีกฎหมายทืี่ชัดเจนใดๆทั้งสิ้นในเรื่องนี้ แต่รัฐบาลกำลังให้ความสนใจในการค้นคว้ามาก และก็พยายามเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด การที่ บริษัืทของ American นำ Safty Code ของ America มาใช้ในภูมิภาคนี้เป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อ วงการออกแบบสถาปัตย์ท้องถิ่นเป็๋นอย่างมาก มันเป็นการส่งข้อความทางอ้อมว่า เรามีความเชื่อมั่นในความก้าวหน้าของประเทศนั้นๆ ว่าสักวัน มาตรฐานเหล่านี้จะได้รับการพัฒนาให้ทัดเทียม หรือดียิ่งกว่าโลกตะวันตก และในระยะยาวจะประหยัดค่าใช้จ่ายที่จะต้องมานั่ง Upgrade อาคารให้ตรงตาม กฎหมายนั้นๆ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช้ว่าลูกค้าทุกคนที่เรา Present ให้ฟังจะคล้อยตามเราหมด เพราะว่าในเมื่อกฎหมายไม่ได้บังคับ มาตรฐานสากลซึ่งจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้นนั้นก็อาจกลายเป็นสิ่งที่เิกินความจำเป็นสำหรับลูกค้าได้ แต่เราก็พยายามย้ำอยู่เสมอว่า ลูกค้าจะอาจจะต้องเสียเงินจำนวนมากในอนาคต ถ้าละเลยประเด็นนี้ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น

ถาม: การที่จะได้งานใน Asia นี่ยากหรือเปล่าครับ และเมื่อได้มาแล้วเนี่ยลำบากมากมั้ยที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ

Wolf: มีกุญแจสำคัญ 2 ประการ ในการที่จะได้ project ใน Asia ซึ่งก็คือ Reputation (ชื่อเสียงของบริษัท) และ Relationship (ความสัมพันธฺ์อันดี ซึ่งในที่นี้อาจจะหมายถึง การรู้จักคนถูก หรือ Connection) ส่วน อุปสรรคที่สำคัญที่สุด 2 ประการก็คือ การ Communicate (การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล ซึ่งรวมไปถึงเรื่องความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรม) และ Delivering Less than what was promised (คุณภาพของงานที่ทำไม่ดีพอกับที่ลูกค้าตั้งความหวังไว้)

Adams: เรื่อง Relationship นี่เป็นเรื่องใหญ่มากที่สุด เพราะบริษัทที่ใหญ่ๆ จากโลกตะวันตกไม่ค่อยจะมีปัญหาในการที่จะไปถึงตัวลูกค้าเท่าไหร่ ส่วนใหญ่การที่จะได้รับเลือกเข้าทำ Project ใหญ่ๆนั้นก็มาจากการประกวดแบบทั้งนั้น แต่การที่ชนะประกวดแบบ ก็ไม่ได้จำเป็นว่า บริษัทนั้นๆที่ชนะ จะต้องได้งานไปทำ บางทีอาจจะมีจุดพลิกผันในขั้นสุดท้าย เราไม่มีทางรู้เลย โครงการ พิพิทธภัณฑ์วิทยศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เซี่ยงไฮ้ นั้น (สร้างเสร็จเมื่อปี 2001) เป็นโครงการที่อยู่ในขั้นตอนการประกวดแบบนานมาก คือประมาณ 18 เดือน มี Presentation หลายครั้งมาก และพนักงานเกือบทุกๆคนในบริษัทของเราได้เข้ามามี ส่วนร่วมในโึครงการนี้ มีคนประมาณ 30 คน ทำ Project นี้อยู่ตลอดเวลา เมื่อเราชนะและได้รับเลือก ขั้นต่อไปคือการที่จะต้องหาข้อมูล ที่จำเป็นที่จะเกี่ยวกับการก่อสร้าง เริ่มจากศูนย์ ข้อจำกัดของฝีมือแรงงาน ข้อจำกัดของวัสดุก่อสร้าง ฯลฯ เราพยายามหาคนจำนวนมากในเมืองจีนที่มี Degree มาจาก America คนกลุ่มนี้ช่วยเราแก้ปัญหาไปได้มาก เพราะพวกเขาเข้าใจภาษา และวัฒนธรรมของเขาเอง และก็ของเรา เราจะไม่มีทางทำงานได้สำเร็จเลยถ้าไม่มีคนเหล่านี้

Huh: การที่จะได้งานใน Asia หรือที่อื่นๆก็ตามสำหรับผม หลักสำคัญก็คือการที่เรามี service ที่มีคุณภาพ คุณจะต้องมีความรู้และความสามารถสูงมากกว่ามาตรฐานทั่วๆไป ทั้งในเรื่องของ เทคนิคการก่อสร้าง และความงามทางสถาปัตยกรรม แต่ก็แน่นอน การที่คุณมี Connection ในประเทศที่คุณไปทำงานนั้น เป็นสิ่งช่วยได้มาก อาจจะเรียกได้ว่าสำคัญมากที่สุดกว่าเรื่องอื่นเลยก็ได้ Relationship เป็นสิ่งที่สำคัญ และการที่จะได้ Relationship ก็ต้องมาจาก Reputation ที่ดี และการที่จะได้ Reputation ที่ได้ต้องมาจากการตลาด (Marketing)ที่ดี เราต้องรู้จัก Promote ตัวเอง ให้คนในท้องถิ่นนั้นๆรู้จักเรา การลงทุนในด้านการตลาดนั้น บางครั้งอาจดูเหมือนเอาเงินไปทิ้ง แต่ผมก็ไม่เคยเห็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จบริืษัทไหนที่ไม่มีการลงทุนเป็นจำนวนมากในทางการคลาด

ถาม: เรื่องภาษา เป็นอุปสรรคมากหรือเปล่าในการสื่อสาร

Huh: คุณต้องมีใครบางคนคอยให้ความช่วยเหลือในด้านนี้ตามประเทศต่างๆที่คุณมีงานอยู่ คนๆนี้ควรจะต้องพูดได้ทั้ง ภาษาอังกฤษและภาษาของเขา เรื่องสำคัญที่สุดคือเรื่อง Attitude ของเรา เราจะต้องแสดงให้คนท้องถิ่นนั้นๆ เห็นว่า เราให้ความสำคัญและต้องการจะเรียนรู้วัฒนธรรมของเขา เราต้องการที่จะเปิดรับความคิดเห็นในมุมมองของเขา เพื่อใ้ห้เขาพูดอะไรก็ได้กับเราอย่างเปิดอก ที้นี้ถ้าเป็นลูกค้าต่างชาติ อันนี้จะเป็นอีกเรื่อง ปกติผมจะมีวิธีคือถ้าเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญของการสนทนา ผมจะย้ำเป็นทั้งภาษาของเขาและภาษาของเรา อันนี้อาจจะทำให้ดูยืดยาว แต่เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการที่จะหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่เกิดจากการติดต่อสื่อสาร สิ่งที่มีประสิทธิภาพก็คือการประชุมที่เราได้มาเจอกันตัวต่อตัว เพราะข้อดีส่วนหนึ่งคือการลดความกดดัน ระหว่างสองด้าน เพราะเป็นสิ่งที่ง่ายเหลือเกิดที่จะเกิดขึ้นสำหรับคน 2 กลุ่มที่มีเบิ้องหลังทางวัฒนธรรมแตกต่างกัน

Zehn: ลูกค้าของเราส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษได้ เพียงแ่ต่ว่าเขามี Project อยู่ในเมืองจีน เขาอาจจะไม่ใช่คนจีนเลยก็ได้ แต่เรามีพนักงานที่พูดได้ทั้ง 2 ภาษาอยู่จำนวนหนึ่ง ทั้งในกลุ่มการตลาดและกลุ่มออกแบบ เรามีทั้งพนักงานที่พูดภาษา Asia ภาษาอื่นๆได้อีกด้วย เรื่องภาษาถ้าใครอยากจะแ้ก้ปัญหาตรงๆ ก็คือไปจ้างล่าม ใครๆก็จ้างล่ามได้ อันนั้นมันไม่ยาก แต่ล่ามพอมาแล้วก็ไป เป็นการประชุมเป็นครั้งๆ ถ้าเป็นเรา เราจะยอมเสียเวลาสร้างคนที่เข้าใจองค์กรของเรา และธุรกิจของเรา มาแก้ตรงจุดนี้ดีกว่าดีกว่า

ถาม: แล้วหลังจากที่มีการสร้างความสัมพันธ์กันแล้ว คุณมีการจัดการยังไงในเรื่องการทำงานร่วมกันในระยะไกล พวกคุณใช้ Technology อะไรช่วยตรงนี้หรือเปล่า

Adams: เราก็ใช้ Technology เท่าที่มีของเรา อย่างเช่น Teleconferencing, Web Meeting, e-mail, fax ฯลฯ แต่ไม่มีอะไรสู้ตั๋วเครื่องบินได้หรอก (หัวเราะ) เราเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะง่ายขึ้นมาอีกหน่อยถ้าเราเปิด office ที่เซี้ยงไฮ้ ในระหว่างนั้นเราก็มีการจ้างคนเพื่อทำงานให้เราอยู่ อย่างที่ได้บอกไปแล้ว Wolff: สำนักงาน 2 แห่งของเราที่ Honolulu, Hawaii กับที่ สิงคโปร์ เป็นส่วนที่เวลาไม่ตรงกันในการทำงาน บางที่เลิกทำงานเวลาที่ลูกค้าเราเพิ่งเข้า office แต่ส่วนใหญ่ทางลูกค้าจะมีบุคลากรที่จะมาติดตามการทำงานของเรา และเราก็ใช้ Technology เข้าช่วยให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่สิ่งที่คิดว่าใช้มากและมีประสิทธิภาพที่สุดก็คือโทรศัพท์ ถาม: สำนักงานสถาปนิกใน America ที่สนใจที่จะหา Project ใน Asia ควรจะมี สาขาอยู่ที่นั่นเลยหรือเปล่า การทีมีมันจะทำให้เกิดความแตกต่างในการทำงานมากกว่าการที่จะไม่มีหรือไม่

Wolff: ลูกค้าทุกคนต้องการที่จะคุยกับคุณได้ทุกเวลาที่เขาต้องการ นั่นคือประเด็น การที่มี สำนักงานใน Timezone เดียวกันย่อมเป็นสิ่งที่เราปราถนาเช่นกัน แต่เราก็เชื่อว่าลูกค้าไม่ต้องการเสียค้าใช่จ่ายตรงนั้น ดังนั้นถ้าเราจะมีสำนักงานในต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายก็จะออกมาจาก ตัว Project เอง หรือไม่เราก็ต้อง ลงทุนไปก่อน บางทีบินไปบ่อยๆ ยังถูกกว่า Huh: ผมไม่แนะนำให้มีสำนักงานขนาดใหญ่ เพราะว่างานที่ทำส่วนใหญ่เราทำร่วมกับสถาปนิกท้องถิ่นมากกว่า ส่วนมากแล้ว สถาปนิกท้องถิ่นจะเป็นคนวิ่งเข้ามาหาเราพร้อมกับงานให้เราร่วมด้วยด้วยซ้ำไป ดังนั้นการทำ Marketing ของเราก็ไม่จำเป็นมาก เนื่องจากคนรู้จักเรามากอยู่แล้ว แต่ถ้าบริษัทท้องถิ่นเหล่านี้รู้สึกว่าเขาทำงานกับเราไม่สะดวก เขาก็จะไม่แนะนำเราให้กับลุกค้าอีก เพราะฉะนั้นตรงนี้ต้องระวังมาก ดังนั้นการทำงานในต่างประเทศนั้นผมว่า Connection กับ สถาปนิกท้องถิ่นสำคัญว่าการที่จะมี สำนักงานอยู่ที่นั่นมาก

Adams: ลูกค้าคน Asia ของเรา หรือจะว่าลูกค้าไหนๆ ก็ได้ มักจะ ต้องการเวลาที่จะพบกับสถาปนิกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้อยู่แล้ว ถ้าเราทำให้ลูกค้าเชื่อได้ว่าเราจะไม่ทิ้งเขา เราเอาใจใส่กับงาน เราโทรกลับไปทุกครั้งที่เขาฝากข้อความ อันนั้นก็จะทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น การที่เรามีคนทำงานให้เราอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ เป็นตัวแทนโดยตรงของเรา ก็เป็นสิ่งที่ดีมากขึ้นไปอีก เพราะทำให้เราเองเข้าไปสู่ข้อมูลทางการเมือง หรือข้อมูลที่เฉพาะคนท้องถิ่นเท่านั้นที่รู้ ซึ่งจะมีความสำคัญมากในเวลาที่เราจะเข้าสู่การประกวดแบบ

ถาม: สิ่งที่เป็นปัญหาที่จะต้องพูดถึงก่อนเป็นอันดับแรกถ้าจะมีการตั้งสำนักงานสถาปนิกในภูมิภาคนี้คือ?

Adams: ภาษีกับกฎหมาย แค่นี้ก็หนักแล้ว

Huh: ประเทศแต่ละประเทศมีหลักวิธีการจัดเก็บภาษีแตกต่างกันมาก ละมีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจของเรา ถ้าอย่างพวกเรานี่คือ เราโดนเก็บภาษี 2 ต่อ คือจากทางบ้านเราที่ America แล้วก็ประเทศที่เรามี office อยู่ การตั้ง office ในต่างประเทศจึงเป็นการตัดสินใจที่เกิดขึ้นจากความมั่นใจที่จะได้กำไรแน่นอนเท่านั้น เพราะมันเสี่ยง

Zehn: ขอแบ่งประเด็นปัญหาเป็นสามส่วนดีกว่า คงจะบอกว่าส่วนไหน หนักกว่ากันก็พูดยาก ประเด็นแรกคือ ปัญหาเบื้องต้นทั่วๆไปในขั้นตอนของการจัดตั้ง office ซึ่งจะนำไปสู่ประเด็นที่สองก็คือการที่เราจะต้อง แข่งกับราคาค่าบริการที่ต่ำกว่า (มาก) ของสถาปนิกท้องถิ่น และจะนำไปสูประเด็นสุดท้ายก็คือความเสี่ยงของการที่เราอาจจะต้องยินยอมลดคุณภาพของงานออกแบบลงเพื่อให้พอกับค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นความเสียหายมากในระยะยาวต่อชื่อเสียงของเรา

ถาม: เรื่องกรอบของการทำงานและการบริหารสำนักงานนี่ มีอะไรบ้างที่ตรงกันข้ามเลยกับ ฝั่ง America บ้าง

Adams: ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา รายได้ประมาณ 30% ของเรามาจากประเทศในแถบ Asia ขนาดของ Project มักจะใหญ่กว่า และซับซ้อนกว่า ดังนั้นค่าแบบที่ได้รับก็ค่อนข้างจะสูง และเรื่องการออกแบบนั้นเขาก็ค่อนข้างเปิดโอกาสให้เราได้ทำอะไรอย่างที่เราอยากจะทำ ไม่ค่อยมีการควบคุมมากเท่าใน America แต่เราก็ยังไม่มีโอกาสที่จะได้ทำงารละเอียดเข้าไปในขั้นตอนของการทำรายละเอียดการก่อสร้าง หรือควบคุมคุณภาพโดยสมบูรณ์แบบเลย นี่คือสิ่งที่ตรงกันข้าม เราไม่มีทางทำงานเองตั้งแต่ต้นจบจบได้ เราต้องเข้าร่วมกับบริษัทหรือองค์กรท้องถิ่นเสมอ

Huh: ประเทศในเอเชีย มักจะสนใจในด้าน “Front End” จากพวกเรา ในที่นี้ก็คือ Conceptual Design, Master Planning หรือ Idea เบื้องต้น อย่างมากที่เราไปได้ก็คือ Schematic Design หรือ 50% ของ Design Development - ใน America พวกเราทำงานตั้งแต่ต้นจบจบ Preliminary ไปจนถึง Construction Administration แต่งานใน Asia นี่ออกแบบไปแล้วก็ต้องทำใจว่า เราจะไม่มีทางรู้ว่า ผลลัพธ์จะออกมาจริงๆเป็นอย่างไร ถ้าเจ้าของให้เราเข้าไปร่วม อย่างน้อยมีการส่งข่าวให้เรารู้ตลอดก็ดีไป แต่ถ้าเขาไม่ทำ เราก็ต้องนั่งภาวนาให้งานออกมาดี บางครั้งงานที่ออกมา เป็นงานที่แบบโดนเปลี่ยนหมดจนเราจำไม่ได้เลยก็มี และแน่นอนที่สุด โดยส่วนใหญ่แล้วเราไม่มี License ใน Asia เราเซ็นแบบไม่ได้ ต้องให้บริษัทที่ร่วมกับเราเข้ามาเซ็น และในบางครั้ง่ต่อให้คนที่ทำงานให้เรามี License เรายังไม่อยากให้เซ็นเลย เพราะว่าประเทศส่วนใหญ่ใน Asia ระบบการประกันภัยในเชิงธุรกิจนั้น ยังไม่พัฒนาเท่าไหร่ ถ้าเกิดเรื่องขึ้นมาจริงๆ เราก็เข้าเนื้อเต็มๆ ทั้งนั้น ไม่ค่อยคุ้ม

Wolff: ทางผมก็คงจะเห็นคล้ายๆกันคือ เราได้แต่ทำงานเบื้องต้นอย่างเดียว แบบก่อสร้างและรายการประกอบแบบมักจะเป็น สถาปนิกท้องถื่นทั้งนั้น ส่วนจะได้ ควบคุมคุณภาพหรือเปล่าอันนั้นขึ้นอยู่กับความเมตตาของลูกค้า

ถาม: มีความประทับใจส่วนตัวที่อยากเล่าให้ฟังบ้าง ?

Adams: มิตรภาพกับลูกค้าค่อนข้างจะน่าสนใจมาก คือเขาถือเหมือนเราเป็นเพื่อนเขา พาไปเที่ยวทีี่ต่างๆ ดูแลเราดีมาก แล้วก็ เรื่องความจริงใจนี่มีเต็มเปี่ยม ลูกค้าที่ทำงานกับเราเมื่อ 15 ปีก่อนที่ญี่ึปุ่นยังคงติดต่อกับเราอยู่

Huh: เราค่อนข้างจะประทับใจกับบรรยากาศของการประกวดแบบ เราสามารถทำแบบได้สบายๆ แบบทีี่เราต้องการ อย่างใน America นี่ขั้นตอนการคัดเลือกผู้มีสิทธิเข้าร่วมยุ่งยากมาก ถ้าใน Asia คุณทำงานชนะประกวดสักอัน คถุณอาจจะได้รับการยกย่องเป็น Expert ในอาคารประเภทนั้นไปเลยก็ได้ เรามักจะเรียกร้องเงินค่าแบบจากการเข้าประกวดแบบเสมอไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ อันนั้นเป็นการแสดงเจตนาของลูกค้าด้วยว่าเขาจริงใจกับเราขนาดไหน โดยส่วนใหญ่ เราจะชนะเสียประมาณ 50% เรื่องที่ประทับใจอีกเรื่องคือการได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่น่าสนใจของคนในท้องถิ่นนั้นๆ และการได้พบปะกับผู้คนที่่มีความคิดหลากหลาย มันเป็นความภูมิใจอย่างมากที่คนในท้องถิ่นให้การยอมรับและชื่นชมการงานออกแบบของเรา

ถาม: อะไรบ้างที่ต้องใช้เวลาและทรัพยากรมากมายกว่าจะได้เรียนรู้

Adams: ความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างของเรากับของเขา เป็นสิ่งที่จะมีผลต่อการทำธุรกิจในทุกๆขั้นตอนตั้งแต่การร่างสัญญา การเจรจา การออกแบบ ฯลฯ เราพยายามอย่างมากที่จะเตรียมตัวตรงนี้ก่อนไป แต่ก็ไปเจออะไรอีกแบบที่เราต้องปรับตัวอย่างมากอยู่ดี Huh:ในหลายๆ กรณี เราเจอกับการที่ตัว Program ถูกเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในขั้นตอนการออกแบบ อันนี้คือเราไม่เคยเจอใน America แล้วก็ ส่วนใหญ่ลูกค้าไม่ค่อยชอบเรื่องการที่จะต้องมีค่าบริการเพิ่ม เนื่องมาจากสาเหตุข้างต้น ดังนั้นในขั้นตอนการเขียนสัญญาก็จะมีเรื่องของรายละเอียดในประโยคบางประโยคเพื่อเป็นการ Save ตัวเอง โดยจะเขียนว่า “สถาปนิืกและวิศวกร ควรจะทำการเปลี่ยนแปลงแบบเพื่อให้เหมาะสมกับ program ในขั้นตอนสุดท้าย” และอันนี้มันก็ไม่ดีสำหรับเราเท่าไหร่ ดังนั้นเรื่องภาษานี่สำคัญมาก เราต้องมีคนมาดูแลตรงนี้ ลูกค้าส่วนมากก็มักจะบอกว่า การเปลี่ยนแบบจะมีน้อยมาก แต่เราทำงานมานาน เรารู้ดีว่ายังไงก็ไม่น้อยแน่ๆ

ถาม: ช่วยเล่าเกี่ยวกับงานหลักๆ ใน Asia ที่ทำอยู่ในปัจจุบันหน่อย

Adams - งานหลักของเราคือ พิพิทธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ที่เซี่ยงไฮ้ ขนาดก็ประมาณ 1,200,000 ตารางฟุต (110,000 ตารางเมตร) เป็นอาคารที่จะใช้ไปแล้วเป็นที่ประชุม Apec ในปี 2001 เป็นอาคารที่มีรูปแบบล้ำหน้าไปมาก เป็นสัญลักษณ์ของจีนใหม่ กร้าวแกร่ง แข็งขัน แ่ต่ในขณะเดียวกันก็น้อบน้อมและเคารพต่อวัฒนธรรมอันยาวนาน มีอีกโครงการหนึ่งก็คือเรื่องของ ความพยายามของเราที่จะเสนอ โครงการออกแบบพัฒนาสภาพแวดล้อมของเมือง (Urban Design) ในส่วนทางตอนเหนือของเมือง ส่วนนี้เป็นส่วนที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มาก ทางรัฐสนใจที่จะปรับ โรงเก็บสินค้าและโรงงานเก่าๆนี้ให้เป็น ย่านที่อยู่อาศัยและธุรกิจขนาดหนาแน่นมาก ให้เหมือนกับ Lower Manhattan โครงการนี้เราก็ได้รับเลือกไปแล้ว ประกวดแบบได้ที่ 1

Huh: โครงการ Lotte World II ที่เมือง Pusan ประเทศเกาหลีใต้ของเรา ขนาดประมาณ 5.5 ล้านตารางฟุต (530,000 ตารางเมตร) - โดยบริษัีท Lotte ผู้ผลิตสินค้าหลักคือขนมขบเคี้ยวต่างๆ ทั่วโลก - เ็ป็นโครงการที่มี Function หลายอย่างมาก ตั้งแต่ Shopping, โรงหนัง, โรงละคร, โรงแรม, Apartment, และสวนสนุกต่างๆ ตัวอาคารกินเนื้อที่ไปประมาณ 3 ล้านตารางฟุต ใข้เวลาประมาณ 8 เดือนในการทำ Conceptual, Schematic แล้วก็ 50% DD

ถาม - สุดท้ายอย่างจะให้มุ่งประเด็นไปทางประเทศ จีนสักหน่อย - ประเทศจีนจะมีความสำคัญมากกับประเทศเราหรือเปล่าในอนาคตสำหรับตลาด AEC (ไม่ทราบว่าที่แน่ๆ ย่อมาจากอะไรแต่คิดว่าคงเป็น Architecture Engineering and Construction-ผู้แปล) จะเป็นแหล่งที่หลบภัยสำหรับสภาวะถดถอยของประเทศเราตอนนี้หรือเปล่า

Adams - ประเทศจีนน่าจะเป็นแหล่งที่สำคัญที่สุดสำหรับ AEC Industry ของเราตอนนี้ ตั้งแต่เราทำงานมา ประเทศจีนเป็นตลาดที่มีความคึกคักมากที่สุด และดูเหมือนจะมีอนาคตที่ยังอีกยาวไกล และผมว่านักลงทุกหลายคนก็พยายามเรียนรู้จาก ความพินาศของเศรษฐกิจใน South East Asia เมื่อประมาณ ปลายยุค 90s แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้องเตรียมตัวไว้ว่า บริษัทในเืมืองจีนที่เรียนรู้จากเราไปมากๆ ก็จะกลายมาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของเราเหมือนกัน

Huh - ในอีกประมาณ 10-15 ปีต่อไปนี้ ประเทศจีนจะเป็นตลาดที่สำคัญที่สุดในโลกถ้ายังรักษาระดับการเจริญเติบโตแบบนี้ไว้ได้ แต่อย่างไรก็ตามผมไม่คิดว่าตลาดของประเทศจีนจะเป็นแหล่งหลบภัยของเราในสภาพเศรษฐกิจถดถอยแบบที่เป็นอยู่ เนื่องจากเรายังคงปฎิบัติตามนโยบายของเราว่าเราจะรับงานต่างประเทศไม่เกิน 30% ของงานทั้งหมด และเราก็ใช้หลักการพิจารณาการรับงานเหมือนกันว่า โครงการนี้ มีความน่าตื่นเต้นมั้ย มีผลประโยชน์ต่อชื่อเสียงของเราหรือเปล่า หรือมีผลกำไรที่ดีพอหรือเปล่า ถ้าจะพูดกันตรงๆอีกอย่างก็คือ การรับงานต่างประเทศมีผลกับการที่เราจะรับคนทำงานใหม่ๆ เข้ามาในบริษัท คนรุ่นใหม่สนใจทำงานที่อยู่ในต่างประเทศมาก เราทำการออกแบบโครงการในต่างประเทศ ไปแล้วประมาณ 20 โครงการ รวมมูลค่าการก่อสร้างทั้งหมด 2,500 ล้านเหรียญ ส่วนใหญ่เป็นโครงการ แบบ Multi-use, multi-complex, ศูนย์การประชุม, โครงการที่อยู่อาศัย, พิพิทธภัณฑ์ อาคารรัฐบาล ฯลฯ

Zehn: ประเทศจีนดูจะมีการเจริญเติบโตในยุคนี้ผิดกับส่วนอื่นๆของโลก และโดยเฉพาะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีในปัจจุบันทำให้บริษัท American ทั้งหลายต้องออกไปหางานจากต่างประเทศมาเข้าบริษัท แต่ถ้าเศรษกิจที่นี่ดีอีก หลายๆ บริษัทก็คงจะทิ้งตลาดกลับมาทำงานที่ America เพราะว่ามันง่ายกว่าที่่จะทำงานในบ้านเราเอง สำหรับเรื่องโครงการที่เราเคยทำในจีน และ ประเทศใกล้เคียงที่อยู่ในการปกครองเราเริ่มมาตั้งแต่ปี 1976 - เฉพาะในปี 2002 นี้ค่าแบบที่เราได้มา ประมาณ 7 ล้านเหรียญ มาจากภูมิภาคนี้ของโลก (จีน - ฮ่องกง - ไต้หวัน - มาเก๊า)

จบ

Resume: ดร. พร วิรุฬห์รักษ์

ADDRESS:
4281 Vale St.

Irvine, CA

ponn_virulrak@yahoo.com

Date of Birth: May 11, 1977

Registered Architect (Thailand) # 9899

Education

University of Hawaii at Manoa Honolulu, HI
· Architecture Doctoral (Arch.D) (Honor)
Chulalongkorn University Bangkok, Thailand
· Bachelor of Architecture (B.Arch)

Awards & Honors
· American Institute of Architects “Henry Adams” Award
· Excellent Student Scholarship, School of Architecture University of Hawaii at Manoa
· Representative of School of Architecture to the University Student Board, Chulalongkorn University,
Bangkok, Thailand
· Member of Tao Sigma Architecture and Arts Honor Society, School of Architecture, University of Hawaii
· Member of Council of Thai Architects, Bangkok Thailand
. Member of Association of Siamese Architects, Bangkok Thailand
. News Moderator for Association of Siamese Architects, Bangkok, Thailand

Lectures

- Visiting Lecturer at Hotel Facility Management Class: Master of Arts in Cultural Management, Chulalongkorn University
- Visiting Lecturer at School of Architecture Thammasart University, Bangkok Thailand

- Visiting Lecturer at School of Architecture Rangsit University, Bangkok Thailand
- Visiting Lecturer at School of Architecture Chulalongkorn University, Bangkok Thailand
- Visiting Lecturer at School of Social Science Srinakarinvirot University, Bangkok Thailand
- Visiting Lecturer at the Fifth Asia Pacific Architecture Symposium, University of Hawaii
- Visiting Lecturer at the Grand Assembly of Construction Professional, Bangkok Thailand
- Visiting Lecturer at School of Architecture, Mahasarakam University, Bangkok Thailand
- Visiting Lecturer at School of Architecture, Kasetsart University, Bangkok Thailand
- Visiting Critic at the School of Architecture, University of Nevada Las Vegas

Publications


- Fifth Asia Pacific Symposium (Honolulu, Hawaii) Journal May 2003
- Monthly Columnist - Art and Culture Magazine (ศิลปวัฒนธรรม) – Thailand
- Regular Contributors - Association of Siamese (Thai) Architect Magazine

Experiences

Danielian Associates (Best Residential Design Firm of California, 2006), Irvine, CA - (May 2006-Present)

- Sparks Galleria Mall - Reno, Nevada


Klai Juba Architects (Nevada’s Firm of the Year 2004) Las Vegas, NV Jul 2003- May2006
- Panorama Luxury Condominium – Las Vegas, Nevada
- Sky Las Vegas Luxury Condominium – Las Vegas, Nevada
- W Hotel and Casino, Las Vegas, Nevada
- Mandalay Bay Resort and Casinos – THE HOTEL (Tower II)

RAFI (Robert A. Fielden Inc.) Las Vegas, NV Jul 2002- May 2003
- CCSN New Telecommunication Building – Las Vegas, Nevada
- Chaparral High School Theater – Las Vegas, Nevada

Virtual Campus Project Honolulu, HI Aug 2001- May 2002
- Virtual Reality 3D Modeling of all facilities in University of Hawaii Campus.

The Stubbins Associates, Inc. (Academic Internship) Cambridge, MA Jan - May 2001
- US Embassy at Yerevan, Armenia
- Convention Center, Venetian Hotel - Las Vegas, Nevada

Kohn Pedersen & Fox Associates, PC (Academic Internship) New York, NY Aug 2000- JAN 2001
- GOLDMAN SACHS, New Trading Facility - Downtown, NYC
- MORGAN STANLEY DEAN WITTER - New Head Quarters - Midtown, NYC
- Garnett & USA Today Head Quarters – Washington DC
- University of Washington Law School – Seattle, Washington

Wimberly Allison Tong and Goo, Inc. Honolulu, HI May - July 2000
- Hilton Hawaiian Village - South West Tower,
- Ilikai Nikko at Waikiki
- Pacific Command Center at Pearl Harbor

Taliesin Architects & Frank Lloyd Wright Foundation Scottsdale, AZ Mar - May 1998
- Native Indian Cultural Center
- Volunteer for a site job of Frank Lloyd Wright Architecture
- Taliesin Heritage Restoration Project.

Reference

Robert A. Fielden, FAIA
President
RAFI
2480 East Tompkins # 103
Las Vegas, NV 89121
702-435-7234

Gregory Clement, FAIA
Partners
Kohn Pedersen and Fox
111 West 57th Street
New York, NY 10019
212-977-6500

Richard Green, FAIA
President
The Stubbins Associates

1030 Massachusetts Avenue
Cambridge, MA 02138-5388
617-491-6450

John Klai, AIA
President
Klai Juba Architects
4444 Russell Rd. # J
Las Vegas, NV 89146
702-221-2254

บทความแปล: การตั้ง Architecture Firm ของตัวเอง

เขียนบน Website ของสมาคมสถาปนิกสยาม (www.asa.or.th) เริ่มเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2003

Starting a New Firm: Practical advice for the adventurous By Peter Piven, FAIA

เกี่ยวกับผู้เขียน Peter Piven, FAIA (FAIA ย่อมาจาก Fellow of American Institute of Architects ซึ่งเป็นสมาชิกระดับสูงสุดของสมาคมวิชาชีพ ในบางรัฐมีประมาณ 3-4 คนเท่านั้น) เป็นผู้บริหารและเจ้าของบริษัท Coxe Group, Inc. ในเมือง Philadelphia ซึ่งเป็น บริษัทที่เก่าแก่ และ มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่ทำงานเกี่ยวกับ การสนับสนุน บริษัท สถาปนิก วิศวกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมภายใน Graphic ให้มีความสามารถในการ จัดการองค์กร จัดสรรระบบการออกแบบ และผลิตงาน การประเมิณผลงาน การจัดสรรเวลา การตลาด ประชาสัมพันธ์ การเงิน ฯลฯ Peter Piven ได้รับ M.Arch จาก University of Pennsylvania, MS of Architecture จาก Columbia University และ Certificate in Management of Design Organization จาก Harvard จากนั้นไปเป็น ผู้บริหารการเงินให้กับ Gaddes Brecher Qualls Cunningham ซึ่งเป็น บริษัทออกแบบ และก่อสร้าง ใน Philadelphia และ Princeton เขาได้รับเลือกให้อยู่ในกรรมการทุกสมัยของ American Institute of Architects สาขาเมือง Philadelphia และสำหรับในระดับ ชาติของ America นั้น เขาได้รับเลือกให้ ดำรงตำแหน่งประธานของคณะกรรมการพิเศษ เกี่ยวกับการจัดการ ระบบเวลาทำงานของสถาปนิก และต่อมาได้ร่วมก่อตั้ง คณะกรรมการวิชาการ ว่าด้วยเรื่อง การจัดการระบบการเงิน ให้กับ AIA อีกด้วย นอกจากนี้ Peter Piven ยังเป็น อาจารย์พิเศษ ของ University of Pennsylvania ซึ่งสอน วิชา และการสัมนาประจำ ที่น่าสนใจมากมายเช่น “The Design and Design Oranizations” “Practice Seminar” “Starting a Design Firm” หนังสือ ที่ Peter Piven เขียนได้แก่ Financial Management in Current Techniques in Architectural Practice และ Compensation Management: A Guideline for Small Firms Peter Piven จัดเป็นกลุ่มสถาปนิกกลุ่มน้อยที่มีความสามารถเป็นพิเศษที่สถาปนิกส่วนใหญ่ไม่มี คือ ความเชียวชาญในด้านการบริหารองค์กร และ บริหารการเงิน Article ที่เกี่ยวกับ Starting A New Firm นี้ น่าจะเป็น Article ที่เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจจะตั้งบริษัทออกแบบ ของตัวเอง เนื้อหาของ Paper นี้ค่อนข้างจะเป็นกลางมาก และน่าจะเป็นประโยน์โดยไม่สำคัญว่าท่านจะ ประกอบวิชาชีพอยู่ที่ไหนก็ตาม

Introduction

สถาปนิกทุกคน ณ จุดหนึ่งของวิชาชีพ ก็พยายามที่จะตั้งบริษัทของตัวเองทั้งนั้น เหตุผลนั้นเป็นได้ นับร้อย นับพัน คำถามที่น่าสนใจสำหรับสถาณการณ์ในปัจจุบันก็คือ ทำไมสถาปนิกบางคนถึงอยากเปิดบริษัทของตัวเองท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่เช่นนี้ สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั้นสะท้อนปัญหาที่เกี่ยวข้องคือ การแข่งขันสูง และก็ดูเหมือนว่า บริษัทที่จะเกิดขึ้นใหม่นั้น ไม่น่าจะมีโอกาสได้ลืมตาอ้าปากเลย ในทางปฎิบัติแล้ว มีสถาปนิกหลายคนที่ตัดสินใจเดินสวนกระแส ตั้งบริษัทของตัวเองในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย Charles Dickens กล่าวไว้ใน Tales of Two Cities ว่า “It was the best of times; it was the worst of times.” ตามความหมายแล้ว สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็เป็นเช่นนั้น ในบางสถาณการณ์อันเหมาะเจาะ อาจจะเป็นโอกาสให้บริษัทเล็กๆ ได้ ประกาศศักดา ขึ้นมาแข่งขันในตลาดได้ไม่แพ้บริษัทใหญ่ การ Lay off (การให้ออก แบบสุภาพ เนื่องจากไม่มีปัญญาจ้างแล้ว ซึ่งใน America ต่างกันมากกับ Fire ที่แปลว่า ไล่ออก ซึ่งมักจะเกิดจากการทำความผิดอย่างร้ายแรง หรทุจริต - ผู้แปล) ก็เป็นสาเหตุหนึ่งทีทำให้ สถาปนิกผู้มีความสามารถหลายคน ตัดสินใจที่จะไม่เป็นลูกจ้างใครอีกต่อไปแล้ว

สาเหตุของการ Lay off นั้นก็เข้าใจได้ไม่ยาก ตามปกติ บริษัทใน America ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับ Labor (เงินเดือน - ประกันสุขภาพ - Bonus – Benefit etc.) จะตกประมาณ 40 % ของรายจ่ายทั้งหมด เป็นเรื่องธรรมดา ของคนที่ต้องโดน Lay Off เนื่องจากเป็นคนที่เงินเดือนมากนั้น มักจะเป็นคนที่มีความสามารถสูง รอบตัว พอที่จะเริ่มต้นกิจการของตัวเองได้ และเมื่อมองไปรอบๆตัวแล้ว ไม่มีบริษัทไหนที่จะให้ข้อเสนอที่ดีพอ ส่วนบริษัทที่ให้ออกนั้น การ Lay off มักจะนำไปสู่สถาณการณที่ดีขึ้น แต่ก็เพียงชั่วคราวเท่านั้น ณ จุดนี้ บุคคลผู้ที่ “เป็นอิสระ” ได้ถูกปล่อยให้ เดินออกไปสู่โลกกว้าง โดยที่ต้องนั่งคิดแบบจริงจัง กันเสียทีว่า จะเอาอย่างไรกับอนาคตของตัวเอง และหลายๆคนก็ตัดสินใจ ที่จะก้าวไปสู่สถาณภาพ อันเป็น ช่องว่างอันมหึมาของวิชาขีพอันน่าสนใจ และเป็นที่นิยมสูงสุด อยู่เสมอ ก็คือ Independent Practice (หรือ ภาษาไทยคือ Freelance) Earl Flansburgh สถาปนิกแห่งรัฐ Massachusetts กล่าวไว้เมื่อ 20 กว่าปีก่อน ว่า “There is no good time to start a new firm, only better times” ซึ่งเขาก็พูดได้ถูกต้องทีเดียว ถึงแม้ว่าการเปิดบริษัทในช่วงเศรษฐกิจรุ่งเรื่องจะเป็นที่นิยมและดูเหมาะสม แต่ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำก็มีโอกาสอันน่าสนใจอยู่ไม่น้อย ลูกค้าหลายๆคนที่โดนมรสุม ก็อาจจะอยากจะหาวิธีลด ค่าแบบจากบริษัทระดับ 5 ดาว โดยหันมาลองให้โอกาสบริษัทเล็กดูได้ ลูกค้า่ส่วนใหญ่ได้รับประสบการณที่ดีจากการทำงานกับสถาปนิกใหม่ที่ไฟแรง และทุ่มเทให้กับงานมากเป็นภาระสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด มากกว่าบริษัทใหญ่ที่มีภาระหลักคือการต้องหาเงินให้ได้พอกับค่าใช้จ่ายอันมหาศาลในองค์กร และต้องค้นพบตัวเองว่าไม่สามารถ Manage Project ขนาดเล็กได้ดีเท่ากับบริษัทมือใหม่ได้ เพราะไม่ชิน ไม่เคยทำมาก่อน

สิ่งที่ต้องคิดก่อนที่จะเริ่มลงมีอตั้งบริษัท ก็มีดังที่จะกล่าวต่อไป

S.I. Morris สถาปนิกจากเมืิอง Houston รัฐ Texas กล่าวไว้อย่างถ่อมตนว่า “อยากจะทำบริษัทสถาปนิกให้ประสบความสำเร็จมันก็ไม่มีอะไรมากหรอก ก็แค่หา Project ให้ได้ตลอดเวลาแล้วก็ ทำให้ดีที่สุดตั้งแต่ีต้นจนจบก็แค่นั้น” แต่ก็เป็นที่แน่นอนและรู้โดยทั่วๆไปทุกๆคนว่า สิ่งที่กล่าวมาทุกอย่างนั้นไม่มีอะไรง่ายเลยแม้แต่นิดเดียว แล้วสิ่งที่ผู้ที่ตั้งใจจะตั้งสำนักงานสถาปนิกเป็นของตัวเองจะต้องเริ่มคำนึงถึงก่อนคืออะไร? สิ่งแรกที่น่าจะคำนึงถึงก่อนเป็นอันดับแรกนั้นก็คือตัวเอง

ผู้ที่จะสร้างกิจการ จะต้องมีความเป็นผู้นำเป็นอันดับแรก คุณจะค้องมี ความสามารถที่จะสร้าง Vision ที่ชัดเจนสำหรับอนาคตขึ้นมา และจะต้องมีความสามารถที่จะอธิบายหรือสื่อสาร Vision อันนั้นให้กับคนรอบๆข้างของคุณให้คล้อยตาม และเขาจะต้องสามารถ ชักจูง หรือให้แรงใจ (Motivate) คนรอบๆข้างให้เกิดแรงบันดาลใจอันจะเป็นบ่อเกิดให้มีความมุ่งมั่นในการร่วม ลงทุนลงแรงในกิจการนี้ให้สำเร็จ ผู้นำของบริษัทจะต้องสามารถระบุตำแหน่งของบริษัทได้อย่างชัดเจน ในตลาดของงานออกแบบ หรือที่เรียกว่า Niche Market เช่น การที่มีปรัชญาการออกแบบที่ไม่เหมือนใคร การมีระบ Hightech ในงาน Design หรือ การที่สามารถให้บริการได้อย่างสมบูรณ์แบบเหนือบริษัทอื่นๆ ถ้ามองในทางวืิชาชีพ ผู้นำของบริษัทจะต้องมีความสามารถในการจัดการคน ซึ่งเป็นความสามารถที่แตกต่างจากการเป็นผู้นำที่ดี ผู้นำหรือในหลายกรณีคือ Managing Director ของบริษัทจะต้องทำหน้าที่ จัดสรรงาน (assign and distribute tasks) วางแผนระบบงาน (Make work plans) ควบคุมการทำงาน (Supervise) สอนงาน (Mentor) และ การพัฒนาคุณภาพบุคลากร (Develop Talent) นอกจากนี้ยังจะต้องมีความสามรถทางด้านการขาย และการตลาดเพื่อที่จะหา project มาให้กับบริษัทได้ตลอดเวลา และท้ายที่สุดและสำคัญที่สุด ผู้นำของบริษัทจะต้อง มีความสามารถในการจัดการด้านการเงิน (Money-Management Skills) เพื่อที่จะทำให้ บริษัีทอยู่ในสภาวะที่มีกำไร สามารถตั้งตัวและเจริญก้าวหน้าต่อไปได้

จะเห็นได้ว่า ความสามารถและทักษะที่จะต้องมีนั้นมากมายและหลากหลาย ซึ่งเป็นได้ยากที่จะมีอยู่ในคนๆเดียวได้ ดังนั้นในหลายๆกรณีการตั้งบริษัทใหม่ๆที่ผู้ก่อตั้งวางแผนอย่างจริงจังที่จะก้าวไปสู่อนาคต ขยายขนาดทั้งกำลังคนและกำลังเงิืนออกไป ไม่ใช่แค่ One Man Show Freelance นั้น มักจะเป็นการก่อตั้งโดยการรวบรวมผู้คนที่มีความสามารถในด้านต่างๆ แต่มองไปยังจุดมุ่งหมายเดียวกัน เข้ามาร่วมกันทำงาน เรียกได้อีกอย่างว่าเป็น

หุ้นส่วน

กลุ่มคนที่มีสมาชิกที่มีความสามารถหลากหลาย และมีความช่วยเหลือเกิ้อกูลซึ่งกันและกันอย่างแน่นแฟ้นนั้นจะสามารถนำไปสู่โอกาสของความสำเร็จในการสร้างกิจการมากกว่า การดำเนินไปด้วยคนเพียงคนเดียว Partners สามารถที่จะช่วยกันดูแล เรื่องระบบก่อสร้าง เรื่องทางกฎหมาย เรื่องการบริหารองค์กร หรือเรื่องการควบคุมคุณภาพได้ดีกว่า ตา 1 คู่ของคนเพียงคนเดียวอย่างแน่นอน มีเจ้าของบริษัืทหลายบริษัทที่ป็นผู้ถือหุ้นแต่ผู้เดียว ไม่สามารถออกเดินทางไปพักผ่อนที่ไหนได้เลยเนื่องจากไม่สามารถที่จะทิ้งกิจการไปได้ ในขณะที่ระบบ Partners เป็นระบบที่ทุกๆคนสามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แบ่งๆ กันไปพักได้บ้าง ในระบบที่เรียกว่า Classic สำหรับกิจการของบริษัทสถาปนิกนั้น Partners จะประกอบด้วยบุคคล 3 ประเภท ได้แก่ Partner ที่มีความสามารถทางธุรกิจ สามารถหา Project เข้า office ได้ Partner ที่เก่งด้านการออกแบบและก่อสร้าง ทำหน้าที่ผลิตงาน และ สุดท้ายคือ Partner ที่มีความสามารถในทางการบริหารคน และบริหารเงิน เป็นผู้ที่ทำให้องค์กรดำิเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ความสุดยอดของ office จะเกิดขึ้นเมื่อ Partner ทุกๆคน มีความพอใจและความเชียวชาญในงานส่วนที่ตัวเองทำ และสามารถทำหน้าที่แทน Partners คนที่ไม่ว่างในงานส่วนนั้นได้บ้าง เป็นกรณีๆ ไป ดังที่ได้เห็นความสำคัญของ Partners แต่ละคนไปแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่าง Partners นั้นก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้ความสามารถส่วนตัว ความสัมพันธ์ของ Partners เป็นสิ่งที่จะสามารถทำให้บริษัีท เจริญรุ่งเรื่อง หรืออาจจะเป็นจุดที่ทำให้เกิดความวิบัติอย่างฉับพลันก็เป็นได้ ดังนั้นข้อสำคัญในการเลือกหุ้นส่วนคือ - คุณควรจะหาคนที่มีความสามารถในระดับเดียวกับคุณ ไม่จำเป็นว่าจะต้องออกแบบเก่งเหมือนคุณ แต่หาคนที่เก่งมากพอๆ กับคุณใน Field ของเขา เช่น คนที่คุณมั่นใจว่า ทำการเงินได้เก่งมากพอๆ กับที่คุณออกแบบเก่ง - Partner แต่ละควรควรจะ เคารพ และ ไว้ใจใน ตัว Partners คนอื่นๆ ในจุดนี้ มิตรภาพที่มีมายาวนานอาจช่วยได้ แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป - Partner ไม่จำเป็นต้องทำงานหนักมาก เหมือนกัน แต่ต้องเป็นแกนนำในการ รับผิดชอบหน้าที่ตัวเองให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นหาลูกค้า ออกแบบ ผลิตงาน บริหาร ฯลฯ สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างของลักษณะหุ้นส่วนก็คือ การที่หุ้นส่วนแต่ละคนมี Attitude ที่แตกต่างกัน หารความแตกต่างนั้น ตั้งอยู่บนความเคารพ ไว้เนื้อเชื่อใจ และมีจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน บริษัทนั้นจะเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จ การเข้าเป็นหุ้นส่วนกันนั้น เป็นการเช้าชื่อรวมลงนามข้อตกลงร่วมกัน (Agreement) ดังนั้นการที่ บริษัทจะประสบความสำเร็จได้หรือไม่ ส่วนนึงก็ขึ้นอยู่กับว่า Agreement อันนี้จะยั่งยืนไปได้นานเท่าไหร่ การเขียน Agreement นั้นควรจะใช้เวลาให้มากที่สุดเพื่อให้ครอบคลุมข้อสงสัยและคำถามในใจของ Partner ทุึกๆคน โดยไม่ให้มีข้อข้องใจใดๆ หลงเหลืออยูี่ เพราะถ้ามี ในอนาคตข้อข้องใจเล็กๆนี้อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง และแตกหักได้ และไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก้ตาม ถ้าหากเห็นว่า หุ้นส่วนที่มีอยู่หรือความสัมพันธ์อันนั้น ไม่ Work ก็ควรจะจบความสัมพันธ์อันนั้นโดยเร็ว และถ้าเป็นไปได้ อย่างมีไมตรี

เงินลงทุน

หรือในการนี้อาจจะเรียกได้ว่าเงินหน้าตัก นั้นจำเป็นจะต้องมากพอที่จะใช้จ่ายใน 2 ประเด็นใหญ่คือ เงินสำหรับจัดตั้ง และ เิงินสำหรับค่าใช้จ่ายเบื่องต้น ก่อนที่จะมีเงินจากลูกค้าเข้าในบริษัท คำถามที่ถสถาปนิกทุกคนมักจะถามก็คือ แล้งจริงๆมันคือเท่าไหร่กันแน่ การจัดตั้งสำนักงามสถาปนิกนั้น ค่อนข้างจะเป็นอะไรที่หลากหลายและหาตัวเลขเบื้องต้นแบบระบุชัดเจนไปเลยคงจะไม่ได้ แต่ว่า ส่วนใหญ่แล้ว ทุกๆบริษัทที่เปิดใหม่ควรจะมีเงินไว้เลี้ยงตัวเองได้ประมาณ 3-6 เดือนโดยที่ยังไม่มีรายรับเลย การที่จะหาจำนวนเงินตรงนี้ออกมาได้ ก็คือการสมมุติ สถาณการณืของการทำงานว่า เราจะใช้อะไรบ้าง แล้วเอาค่าใข้จ่ายมารวมแล้วประมาณดู ค่าใช้จ่ายในสำนักงานนั้น หลักๆ คือ Operating Expenses ก็คือ ค่าแรง ค่าประกันสุขภาพ พนักงาน ค่าเดินทาง Fax โทรศัพท์ ค่าส่งของ etc. เช่นว่า Project นี้จะลงทุนเท่าไหร่ ก็จะอยู่ในกลุ่มนี้และ Organizational Expenses ซึ่งเป็นสิ่งที่สถาปนิกจะคิดไม่ค่อยออก หรือคาดไม่ถึงว่าจะต้องมากขนาดไหน Organizational Expenses หลักๆได้แก่ ค่าเช่าสำนักงาน เฟอร์นิเจอร์ คอมพิวเตอร์ ซอฟตฺ์แวร์ โบรชัวร์ฺ ปากกา ดินสอ etc นอกเหนือจากการคาดคะเนค่าใช้จ่ายเหล่านี้แล้ว เจ้าของบริษัทควรจะเพิ่มงบฉุกเฉินเข้าไปอีก ในกรณืเกิดสถาณการณ์อันไม่พึงประสงค์ คำถามต่อไปคือ เมื่อไหร่เงินถึงจะเข้ามาเป็นเนื้อเป็นหนังให้เห็น? สถาปนิกบางคน เริ่มตั้งบริษัทโดยที่มี Project อยู่ในมือแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็น Project ที่่่คาดว่าจะสร้างชื่อ และน่าจะไปได้ดี ทำให้สามารถที่จะมีความสบายใจในเรื่องรายได้ มากขึ้นมาหน่อย แต่สำหรับงานบริการรูปแบบนี้ในปัจจุบันแล้ว การเก็บเงินจะทำได้ก็ต่อเมื่อ เราส่งใบเสร็จ (Invoice) ไปให้ลูกค้า แจ้งว่าเราทำอะไรไปแล้วเท่านั้น จึงจะได้เงินมา กรณีที่ยกเว้น ลูกค้ายอมจ่ายล่วงหน้านั้นก็คือ บริษัทออกแบบใหญ่ๆที่ลูกค้าต้องมาตามขอร้องให้ออกแบบให้เท่านั้น ถ้าบริษัทที่เริ่มต้นจากการที่ไม่มี Project เลยในมือ เงินทุนสำรองที่ต้องมีไว้นั้น อาจจะต้อง มากขึ้นไปอีก เพราะก่อนที่จะได้เงินมานั้น บริษัทต้อง เปิดตัว ออกไปหาลูกค้า ทำการตลาด ได้ Project เริ่มทำงาน แล้วจึงจะส่ง invoice ไปให้ลูกค้าได้ จึงจะได้เงินมา เงินลงทุนเบื้องต้นนั้นมาได้จากหลายแหล่ง เช่น เงินสะสมส่วนตัว เงินกู้จาก Bank ผ่านการจำนองอสังหาริมทรัพย์ เงินกู้จากเพื่อนๆ พ่อแม่ พี่น้อง Credit Card ฯลฯ ในบางกรณีที่ Bank ไม่ให้เงินกูนั้น เจ้าของบริษัทใหม่ก็ไม่ควรไปตกใจ เนื่องจาก Bank นั้นต้องการเป็น คนให้เงินกู้ ไม่้ต้องการเป็นนักลงทุน ดังนั้น Bank จะไม่อยากรับภาระเสี่ยง และจะไม่ต้องการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ส่วนใหญ่แล้ว Bank จะให้เงินกูไม่เกินครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินลงทุนเบื้องต้นที่เราขอไป

การปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ Professional Services

บริษัททุกบริษัท ต้องการ Banker หรือนักการธนาคารที่จะให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นทางด้านการเงินก่อนเป็นอันดับแรก ต่อมาก็มันจะไปถึงความต้องการ ทนายความ สมุห์บัญชี ที่ปรึกษาด้านภาษี บางบริษีัทก็จะจ้าง Consultant Firm เข้ามารับผิดชอบด้านต่างๆไปเลย เช่น Information Technology เป็นต้น ดังนั้นแม้แต่คนที่จะตั้งบริษัทขึ้นมาเองด้วยคัวคนเดียวนั้น ไม่จำเป็นต้องรู้สึกว่าขาดที่พึ่งเลยแม้แต่น้อย เพราะมีผู้ที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือแก่ท่านอยู่มากมาย และเมื่อท่านต้องการที่จะหาบุคคลเหล่านี้ คุณสมบัติของพวกเขาคือ จะต้องเป็นคนที่ ฟังและพยายามเข้าใจลักษณะของ Architecture Business จะเป็นการดีมากถ้าพวกเขาเคยทำงานกับ บริษัทสถาปนิกมาก่อน เมืิ่อท่านพบปัญหาที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง และต้องการความช่วยเหลือจากบุคคลเหล่านี้ ท่านจะต้องพิจารณาว่า วิธีการแก้ปัญหาที่บุึคคลเหล่านี้ แสดงให้ท่านเห็นนั้น มีความเหมาะสมต่อคุณสมบัติของวิชาชีิพ หรือลักณะการดำเนินการของบริษัทออกแบบของท่านหรือไม่ จะมีหลายครั้งที่ Business Advisor เหล่านี้ ใช้แผนแบบเดิมๆในการแก้ปัญหา (ที่เขาคิดว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน) ของบริษัทที่อยู่ในธุรกิจที่แตกต่างกัน วิธิการแก้ปัญหาบางอย่างสามารถเป็นรูปแบบที่ตายตัว แต่บางอย่างก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของธุรกิจ และธุรกิจออกแบบสถาปัตย์นั้นก็มีลักษณะพิเศษมากมาย วิธิการแก้ปัญหาแบบตายตัวอาจจะใช้ไม่ได้เสมอไป ดังนั้น ท่านจะต้องเป็นผู้พิจารณาแผนของ Consultant เหล่านี้ก่อนที่จะลงมีอนำไปปฏิบัติ ไม่ใช่เขาว่าอย่างไรก็ว่าตามนั้่น เพราะอย่าลืมว่าถึงแม้เขาทำงานให้กับท่าน แต่บริษัทนี้ไม้ใช่ของเขา ถ้าแผนเขาผิดพลาด อย่างมากเขาคือเสียลูกค้า แต่ท่านอาจจะเสียบริษัท ในกรณีของความสัมพันธ์กับทนายความนั้น ส่วนใหญ่ทนายความจะเช้ามาทำหน้าที่ในเรื่องของ สัญญาระหว่างหุ้นส่วน สัญญาระหว่างลูกค้ากับสถาปนิก สัญญาระหว่างสถาปนิกกับบริษัทประกันภัยทางธุรกิจและความเสียหายอื่นๆ สัญญาระหว่างบริษัทกับลูกจ้าง ฯลฯ การได้ทนายที่ดีและไว้ใจได้มาีีร่วมทางในการดำเนินธุรกิจนั้นสำคัญมาก เพราะการพูดโทรศัพท์กับทนายความเพียง 5 นาที อาจจะช่วยลดเวลาอันมากมาย (อาจจะเป้นนอาทิตย์ ในบางกรฺณี) ที่จะต้องเสียไปในการคลำหาลู่ทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาทางกฎหมายได้ สำหรับในกรณีของสมุห์บัญชี เป็นเรื่องที่ค่อนข้างปกติถ้าบริษัทที่เปิดใหม่จะไม่มี สมุห์บัญชีประจำอยู่ ถ้าบริษัทนั้นเล็กมาก อาจจะไม่ต้องการเลยก็ได้ แต่ถ้าบริษัทนั้นเริ่มจะมี ลูกจ้างประมาณ 2-3 คนขึ้นไป หรือว่ามีการรวมหุ้นกับหุ้นส่วน หรือเปลี่ยนลักษณะของบริษัท เป็นห้างหุ้นส่วน หรือ นิติบุคคล ฯลฯ สมุห์บัญชีอาจจะมีความจำเป็นขึ้นมา สมุห์บัญชีที่ดีจะช่วยจัดการเรื่องระบบเงินเดือน การเก็บบันทึกของการเงินเข้าของบริษัท และการใช่จ่ายในแต่ละ Project ได้ ซึ่งแน่นอนว่า สถาปนิกทั่วไปไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้เท่าใด และแน่นอนว่าไม่มีบริษัทใดที่ไม่มี บัญชีเงินฝากธนาคาร การสร้่างความสัมพันธ์ระหว่างตัวท่านซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทกับธนาคารที่ท่านไว้ใจนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ตั้งแต่การที่ท่านจะกูเงินไปลงทุนทำกิจการเป็นต้นไป นายธนาคารที่ท่านจะติดต่อด้วยนั้น น่าจะเป็นคนที่เข้าใจลักษณะธุรกิจของท่าน และสามารถแนะแนวการลงทุนเพื่อขยายกิจการให้ท่านได้ ในบางกรณี อาจจะสามารถแนะแนวการนำกำไรไปใช้ในการลงทุนต่างๆที่อาจจะทำให้เกิดผลดีกับธุรกิจของท่านมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในหลายกรณี สถาปนิกที่มีความสัมพันธ์อันดีกับธนาคารนั้น มันจะได้รับการแนะนำลูกค้าใหม่ๆ Project ใหม่ๆ จากทางธนาคารเสมอ สุดท้ายก็คือ ถ้าหากท่านต้องการให้ธุรกิจของท่านขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว มั่นคง และ นิ่มนวล ท่านมักจะต้องมองหา ที่ปรึกษาทางการบริหารธุรกิจ (ฺBusiness Management Consultant) ที่ปรึกษาทางการบริหารธุรกิจที่ดีนั้น มักจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษามาแล้วกับลูกค้าที่ทำธุรกิจในหลายๆด้าน ที่ประสบปัญหากับเหตุการหลายๆแบบ พวกเขาจะเข้าใจการดำเนินงานของธุรกิจที่มีลักษณะพิเศษ และสามารถปรับทัศนวิสัยของเข้าเพือให้เขาใจปัญหาใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วและครบถ้วน พวกเขาจะสามารถให้คำปรีกษาที่ดีเนื่องจากว่าเขาสามารถนำกรณีเปรียบเทียบที่น่าสนใจจากธุรกิจอื่นๆมาแนะนำให้ท่านได้ และสามารถนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา และผลกระทบ ที่จะออกมาในแบบต่างๆ ให้ท่านเลือกได้ มากกว่า 1 วิธีอยู่เสมอ

จรรยาบรรณวิชาชีพ

สถาปนิกและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวงการออกแบบทั้งหลายควรจะต้องประกอบวิชาชีพอย่างมีจรรยาบรรณ และอาจจะไม่จำไปต้องพูดต่อไปอีกว่า บริษัทที่ตั้งขึ้นมานั้นควรจะยึดหลักนี้ไว้เหนือสิ่งอื่้นใด ไม่มีอะไรจะสำคัญไปกว่าจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุณปฏิบัติต่อลูกค้า ถ้าคุณละเลย บกพร่องในจุดนี้ คุณไม่ได้เพียงแต่ทำลายธุรกิจของตัวเองแต่ยังทำลายภาพพจน์ของวิชาชีพและเพื่อนๆร่วมวิชาชีพของคุณอีกด้วย ใน America นั้น American Institutes of Architects ได้จัดทำ Code of Ethics and Professional Conducts และ update โดยนำกรณีใหม่ๆขึ้นมาวิเคราะห์กันทุกปี (สำหรับในประเทศไทย ทางสมาคม หรือสภาคงจะมีคู่มือตรงนี้อยู่เข่นกัน) และเป็นคู่มือที่เปิดเผยให้คนทั่วไปให้เข้าไปรับรู้ข้อมูล ไม่จำกัดแต่สถาปนิกเท่านั้น อย่างไรก็ตามกรณีที่น่าจะนำมากล่าวถึง คือเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างในบริษัท สถาปนิกทุกคนเริ่มต้นจากการเป็น Intern ให้กับบริษัทหนึ่งๆ ก่อน หลังจากนั้นเมื่อทำงานมีประสบการณ์มากขึ้น ได้ติดต่อกับลูกค้ามากขึ้น ก็มักจะใช้ ความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าที่มีต่อตัวเองนั้น ก้าวไปทำบริษัทของตัวเองในที่สุด (ถ้าลูกค้าเลือกที่จะเชื่อในตัวสถาปนิกคนนี้ มากกว่าเชื่อใน่ Credit ของบริษํท) ในเวลาที่ทำงานให้กับบริษัทหนึ่งๆ ถ้าหากมีโอกาสที่คุณจะใช้ชื่อของตัวเอง และ Credit ของตัวเองในการทำงาน Project นั้นๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่คุณทำงานอยู่ คุณต้องแน่ใจว่า เวลาและเงินลงทุน ที่คุณ ใช้ไปในการทำ Project อันนี้ออกมาจากกระเป๋าจของคุณเอง ไม่ใช่กระเป๋าของบริษัทที่คุณทำงานอยู่ อย่าพยายามแก้ตัวว่า คุณเป็นตัวแทนของบริษัท แ่ต่เอางานเข้าัตัวเอง (แต่เงินเข้ากระเป๋าคุณคนเดียวด้วย) จงทำงานอย่างทุ่มเทเต็มที่ต่อนายจ้างของคุณ ถ้าคิดว่าไม่สามารถจัดการแบ่งเวลาให้ลงตัวได้ ก็ต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง หากคุณต้องการจะ Copy งานของบริษัทเข้าไปไว้ใน Port Folio ของคุณเอง อย่าลืมขออนุญาติเจ้านายของคุณก่อน บริษัทบางแห่งมีนโยบายที่เข้มงวดกับการ เผยแพร่ข้อมูลในบริษัทมาก บางแห่งไม่เข้มแต่ลูกค้าเรียกร้องให้ปิดข้อมูลเป็นความลับ ถ้ารั่วไหลออกไป (เพราะคุณ) ลูกค้าอาจจะเสียความไว้วางใจ บริษํทอาจจะเสียลูกค้าที่ด และอาจจะแถมด้วยการฟ้องร้องอีกด้วย ถ้าคุณต้องการจะทำการตลาดของบริษัทคุณเองด้วยการ แสดงผลงานที่คุณมีส่วนร่วมตอนที่ทำงานอยู่กับบริษัทที่คุณทำงานให้เขามาแต่ก่อน จงแสดงให้ชัดเจนว่า คุณมีส่วนร่วม ณ จุดใด และอย่าลืมให้ Credit ของบริษัทที่คุณทำงานให้ พร้อมกับ ชื่อของ Team ผู้ร่วมงานนั้นๆให้ครบด้วย ในกรณีปกติ ถ้าคุณกำลังอยู่ในช่วงที่จะออกไปตั้งบริษัทเอง คุณอาจจะบอกกับลูกค้าของบริษัีทที่คุณทำงานอยู๋ ลูกค้าที่คุณสนิืทด้วยว่า คุณกำลังจะเปิดบริษัทตัวเองแล้ว แต่ถ้าคุณได้เซ็นสัญญา Noncompete Agreement (หรือสัญญาว่าจะไม่แข่งขันกับนายจ้างในขณะที่เป็นลูกจ้างของบริษัท) คุณก็หมดสิทธิ์ตรงนี้ไป และสัญญาอันนี้ก็จะมีผลไปถึงการที่จะไม่ให้คุณชวนคนอื่นออกจากงาน ไปร่วมตั้งบริษัทกับคุณด้วย คุณทำได้เพียงแต่บอกเพื่อนร่วมงานเท่านั้น ว่าคุณจะตั้งบริษัท แต่ให้เขาตัดสินใจเอาเอง ในวิชาชีพนี้ นับว่าเป็นโชคดีที่เราอยู่ในวงการของคนที่ค่อนข้างจะมีนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ยังเป็น Artist มากกว่า Businessman ดังนั้นคุณอาจจะแปลกใจที่จะพบว่า ในการตั้งบริษัทใหม่ของคุณเองนั้น เจ้านายเก่าของคุณอาจจะช่วยคุณอย่างเต็มที่ ทั้งคำแนะนำ กำลังใจ ข้อมูล การช่วยเหลืออื่นๆ และอาจจะถึงขนาดหา Project ให้อีกด้วย ขอให้คุณเป็นคนดีที่ไว้ใจได้ ทำงานให้กับเขามาอย๋างจริงใจและต่อเนื่อง อย่างลืมว่าวงการของเราเป็นวงการที่แคบ สักวันคนที่เราเคยคบ เคยทำงานด้วยกัน ก็จะต้องกลับมาพบกันอีก มีมิตรย่อมดีกว่ามีศัตรู

จบ