Friday, November 16, 2007

Thai Fire & Rescue Training Academy กับภาพย้อนหลังไปสู่ “โรงเรียนสอนดับเพลิง” Thesis ปริญญาตรี ของข้าพเจ้า

ที่จั่วหัวไว้นี่ เป็นความจริงครับ เมื่อประมาณ เกือบสิบปีที่แล้ว
ในการศึกษาปีที่ห้า ผมได้มีความคิดที่จะทำโรงแสดงคอนเสิร์ต เป็นโครงการวิทยานิพนธ์ปริญญาตรี เพราะตัวเองเป็นนักดนตรี แต่แล้วก็ต้องเปลี่ยนใจ เมื่อวันหนึ่งได้เข้าไปอบรมเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในการอยู่อาศัยภายในอาคารสูง โดย พล ตำรวจ ตรี โชคชัย ยิ้มพงษ์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดับเพลิง
ผลจากการบรรยายคราวนั้นให้แรงบัลดาจใจกับผมมาก และทำให้ได้ทราบว่า กิจการการดับเพลิงและกู้ภัยของประเทศไทย ยังไม่มีการจัดการในแง่ของการฝึกระดับสูง (Advance) และในขณะนั้น ท่านโชคชัยก็บอกว่า กำลังมีการตั้งแนวทางการศึกษาเพื่อก่อตั้งสถาบันดังกล่าวอยู่ จึงตัดสินใจนำมาเป็นหัวข้อโคงการวิทยานิพนธ์ ชื่อ สถาบันอัคคีภัยแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนสอนดับเพลิงระดับสูง พิพิธภัณฑ์การกู้ภัยสำหรับเด็กๆ สถานฝึกอบรมสำหรับคนทั่วๆ ไป
ของแบบนี้ ตอนทำก็สนุก พอทำเสร็จก็ลืมครับ เวลาก็ผ่านไป
ผมเองก็ได้ทำงานในสหรัฐอเมริกาก็ทำใหได้เรียนรู้เกียวกับเรื่องนี้มาอีกระดับหนึ่ง ชีวิตการออกแบบของสถาปนิกที่นี่ เรื่องที่ต้องทำอยู่ทุกวันในการตัดสินใจใดๆ ส่วนใหญ่จะเป็นสอนเรื่องคือ เรื่องความปลอดภัยจากเพลิงไหม้ ซึ่งกฎหมายควบคุมทั้งหลายจะเล็งประเด็นนี้เ้ป็นหลัก อีกเรื่องคือเรื่องความเป็นไปได้ในการใช้อาคารของคนพิการ (Accessibility)
แต่ผมก็แทบจะไม่ได้คิดถึงเรื่อง สถาบันนี้อีกเลย
แต่เมื่อเช้านี้ก็ได้เกิดความรู้สึกประทับใจ ที่เหมือนทำให้ได้รับรู้ถึงอดีตที่กลับมาใหม่
เรื่องของเรื่องคือผมได้อ่านพบเรื่องราวเกี่ยวบกับสถาบันชื่อ Thai Fire & Rescue Training Academy – สถาบันดับเพลิงและกู้ภัยชั้นสูง ที่นี่ครับ
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9500000010910
ความรู้สึกมันยังกับฝันที่เป็นจริง
ใครๆ ที่เคยทำ Thesis แล้วโครงการของตัวเอง เกิดเป็นจริงขึ้นมา ก็คงจะเข้าใจความรู้สึกนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นคนไปลงมืออกแบบก่อสร้างเองจริงๆ ก็เถอะ
ผมได้อ่านบทความ แล้วก็ได้เข้าไปดูใน Website ของสถาบัน ก็รู้สึกประทับใจมากที่มีคนพยายามทำอะไรดีๆ ให้กับประเทศของเรา การฝึกทั้งหลายแน่นอนว่า ที่เป็นหลักคือการฝึกกู้ภัย แต่ที่น่าสนใจคือเขารับให้คำปรึกษากับการกู้ภัยในโครงการต่างๆ ซึ่งเรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพวกเราโดยตรง
ท่านที่รับนิตยสาร อาษาอาจจะเคยได้อ่านที่ผมเขียนเกี่ยวกับเรื่องแบบแผนอพยพ หรือ Exit Plan มาแล้ว มันคืออะไรทำนองนั้นล่ะครับ แต่ที่สถาบันนี้จะให้คำปรึกษาในระดับรายละเอียดที่ Advance มากๆ โดยเฉพาะถ้าโครงการเป็นประเภทอันตราย เช่นโรงงานเคมี คลังน้ำมัน โรงพยาบาล เป็นต้น
เว็บของสถาบันแห่งนี้คือ
http://www.thaifire.com/
อยากจะให้สถาปนิกทุกๆ ท่านลองเข้าไปดู ผมได้ปรึกษากับท่านชาติชาย ไทยกล้า ผู้บริหารสถาบัน (ซึ่งท่านก็มีลูกสาวเป็นสถาปนิก) ว่า เราน่าจะมีโครงการอะไรที่สถาปนิกจะได้เข้าไปเรียนรู้กันได้บ้าง ท่านชาติชายมีประวัติที่ผมพูดได้คำเดียวว่า God มาก ท่านเป็นครูฝึกที่สอนฝรั่งอเมริกันมาแล้ว ผ่านการฝึกมาแล้วทุกรูปแบบ นักบินท่านก็เป็น โดดร่ม ดำน้ำ ก็ได้คือสถาณการณ์ฉุกเฉินเกือบทุกรูปแบบ ท่านเคยผ่านการฝึกเพื่่อเข้ากูภัยและแก้ปัญหามาเกือบหมดแล้ว
คือเราได้รับการฝึกอบรมเรื่องการออกแบบเพื่อให้คนหนีออกจากอาคารได้มาพอสมควร เราก็ต้องเรียนรู้กันต่อไป แต่ผมว่าีมีพวกเราน้อยคนมากที่เคยเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบอาคารเพื่อให้สะดวกในการเข้ากู้ภัยโดยหน่วยกู้ภัย หรือที่เรียกกันว่าเป็น “Firemen’s Friendly” ทำนองเดียวกับ User’s Friendly ที่แปลว่า ใช้ง่าย
การออกแบบให้หน่วยดับเพลิงหรือหน่วยกู้ภัย มีความสะดวกในการทำงานนั้นก็เท่ากับว่า เราจะทำให้เราช่วยชีวิตคนได้มากขึ้น ซึ่งนั่นน่าจะเป็นสิ่งที่ดีใช่มั้ยครับผม

ดินสอที่มีอักษรเขียนว่า "เงินไม่สำคัญ"

เมื่อวานเพิ่งตอนเดินออกไปกินกาแฟ ใกล้ๆ กับที่ทำงาน ผมได้หยิบดินสออันหนึ่งที่ตกอยู่บนทางเท้าขึ้นมา เป็นดินสอที่หักซีกที่ตกอยู่เป็นซีกที่มีปลายแหลมสำหรับเขียน แล้วมีอักษรเขียนอยู่ด้านข้างว่า "Money is not important" หรือ เงินไม่สำคัญ ซึ่งเป็นประโยคที่ทำให้ผมคิดอะไรได้หลายๆ อย่างและอยากจะเอามา share ให้เพื่อนฟัง
ผมคิดว่าประโยคนี้ คงไม่ใช่ประโยคที่จบในตัวเอง คิดว่าน่าจะมีประโยคอีกส่วนหนึ่งที่อยู่ในอีกครึ่งหนึ่งของดินสอที่ไม่ได้อยู่ตรงนั้น ประโยคนั้นอาจจะเขียนว่า "Jesus is Important" หรือ "Family is important" หรืออะไรก็แล้วแต่ เพราะผมเชื่อว่านี่คือดินสอของที่ระลึกจากโบสถ์หรือองค์กรเอกชนที่ต้องการลดพฤติกรรมการทำงานหนักอย่างแรง เพื่อเงินของคนอเมริกันและหันมาเข้าหาศาสนาหรือให้เวลากับ ครอบครัวมากขึ้น แต่การที่ได้เห็นประโยคแค่ว่า "เงินไม่สำคัญ" ทำให้ผมได้แต่ยิ้มแล้วก็ส่ายหน้า


สิ่งที่แล่นเข้าหาสมองของผมตอนนั้นก็คือว่า ผมจะใช้ดินสอนนี้ทำอะไรได้บ้าง
แน่นอนผมก็สามารถเอาดินสอนี้ไปเขียนหนังสือได้ ผมจะเขียนอะไร ผมอาจจะเขียนเรื่องราวหรือกลอนที่ใช้เป็นแรงบันดาลใจคนทั้งโลก หรือใครก็ตามที่อยากจะอ่าน หรือผมอาจจะใช้เขียนคำที่เต็มไปด้วยความเกลียดชังให้คนเกิดความแค้น หรือผมอาจจะหยิบดินสอนี้ขึ้นมาแล้วหันปลายแหลมเข้าหาตัวเอง แล้วก็ … ทิ่มคอตัวเองตาย ก็เป็นได้
อุปมาที่น่าขันที่สุดในแนวคิดนี้ คือว่า คนในสังคมโลกของเรา ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหน มีทางเลือกในการใช้ประโยคที่ว่า “เงินไม่ใช่สิ่งสำคัญ” ได้ไม่ต่างกับดินสอที่ผมพูดถึงนี้เลย
คุณสามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่จะทำให้ชีวิตคุณมีแต่ความสุขความสงบ เหมือนกับการเขียนกลอนจรรโลงโลก หรือคุณอาจจะใช้ประโยคนี้ในการฆ่าตัวตายด้วยการเอาปลายแหลมของมันทิ่มคอหรือหัวใจของตัวเองให้สิ้นชีพไปก็ได้
คนที่พูดว่าเงินไม่ใช่ิสิ่งที่สำคัญที่ผมรู้จักในชีวิตมีอยู่สองรูปแบบคือ
หนึ่ง คนที่ทำมาหากินมาหนักสร้างเนื้อสร้างตัวมาจนถึงระดับที่มีเงินมากเสียจนรู้สึกว่า มันไม่ใช่ปัญหาของชีวิตของเขาอีกต่อไป เขากลับรู้สึกว่าการมีเงินมีทองนั้น มันไม่ได้ช่วยให้ชีวิตเขาเติมเต็ม เขารู้สึกว่า ชีวิตมีสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นที่รอให้คนหาอยู่ เช่นการเข้าหาธรรมะ การช่วยเหลือสังคม หรือการหาความตื่นเต้นอื่นๆ
สอง คือคนที่ ทั้งชีวิตไม่มีความพยายามที่จะทำงานหนักอะไร ไม่มีความต้องการที่จะพัฒนาตัวเองอะไร ไม่ยอมแม้กระทั่งจะพยายามดูสักครั้งเพื่อไปถึงสิ่งที่ฝัน แล้วก็เลยสร้างกำแพงล้อมตัวเองในใจ โดยใช้ประโยคว่า “เงินไม่ใช่เรื่องสำคัญ” มาเป็น “ข้อแก้ตัว” ที่ทำให้ตัวไม่จำเป็นต้องพยายาม ไม่จำเป็นต้องประสบความสำเร็จ
บุคคลสองกลุ่มนี้ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หากเปรียบเทียบเป็นยอดยุทธในบู๊ลิ้ม:
บุคคลกลุ่มแรก คือกลุ่มที่ไปถึงจุดสูงสุดแล้วคืนสู่สาัมัญ เขาได้ไปถึงจุดที่มีเงิน มีทอง ประสบความสำเร็จแล้วเขา แน่ใจอย่างชัดเจน ว่าเงิน เป็นเพียงเครื่องมือในการใช้ชีวิตเท่านั้น ไม่มีวันที่ตัวมันเองจะเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตไปได้ แถมยังเป็นเครื่องมือที่ต้องใช้ให้ถูก ถ้าใช้ผิดจะมีแต่ความทุกข์ แต่คนกลุ่มนี้ถ้าถูกรุกราน ก็จะสามารถป้องกันตัวเองและควบคุมการดำเนินชีวิตตัวเองได้เพราะมีวิทยายุทธอยู่
บุคคลกลุ่มที่สองคือคนที่ไ่ม่เคยหัดหมัดหัดมวย คิดว่า หัดไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร ไม่ได้จะไปสู้กับใคร หัดไปประสบความสำเร็จก็มีแต่ความว่างเปล่าแบบที่คนกลุ่มหนึ่งเป็น ก็เลยคิดว่า ไม่ต้องหัดเสียก็ดี แต่พอถึงเวลาที่มีเหตุการณ์ ถูกรุกราน คนกลุ่มนี้ก็จะช่วยอะไรตัวเองไม่ได้
ทำไมเงินจะไม่สำคัญ ทั้งๆ ที่ในโลกปัจจุบันของเราเป็นโลกเศรษฐกิจทุนนิยม
เงินนั้น มีความสำคัญอย่างแน่นอน ในส่วนที่มันมีความสำคัญได้ และเงินนั้นก็ไม่มีความสำคัญแม้แต่น้อยในส่วนที่มันไม่มีความสำคัญได้
เงินเป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ต่างกับฆ้อน หรือ ไขควง เราต้องใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
ถ้าท่านในแง่ดี ก็คือ บริจาค สร้างโรงพยาบาล สร้างสาธารณกุศล สร้างโรงเรียน ก็ว่าไปถ้าท่านในแง่ลบ ก็คือ ฆ่ากัน ทำสงครามกัน
นั่นคือสิ่งที่เงินซื้อได้
แต่เงินไม่สามารถซื้อ ความรัก การให้อภัย การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ความโอบอ้อมอารี
ซึ่งสิ่งเหล่าล้วนแต่เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ และห่างไกลจากเรื่องของเงินมาก ทำให้หลายๆ คนที่อยู่ในกลุ่มที่สอง(กลุ่มแก้ตัว) ยิ่งมีข้อสนับสนุนแนวคิดของตัวเองว่า เงินไม่ใช่เรื่องสำคัญของตน ได้มากขึ้นไปอีก แต่นั่นคือการเอาปากกาทิ่มคอตัวเองตายอยู่ !!
ถ้าท่านใช้ประโยคว่า “เงินไม่มีความสำัคัญ” เป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิต ท่านจะมีจิตใจที่โอบอ้อมอารี รู้จักบริจาค ให้ท่าน มีชีวิตพอเพียง เวลาตายจะไม่กังวลเรื่องทรัพย์สิน เพราะท่านได้ละแล้ว ไม่ยึดติดกับมันแล้ว นั่นคือการใช้ปากกาเขียนกลอนจรรโลงโลก
แต่ถ้าท่านใช้ประโยคว่า “เงินไม่มีความสำคัญ” มาเป็นข้อแก้ตัวในการดำเนินชีวิจของท่าน ท่านก็จะสามารถใช้ประโยคนี้ไป apply กับสิ่งอื่นๆ ได้ เช่น “การส่งลูกเรียนสูงๆ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ” การที่หาเงินให้พ่อแม่เกษียณ ได้ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ การที่จะให้ภรรยาของท่านไม่ต้องทำงานหนก ดูแลลูกอยู่กับบ้าน อบรมลูกให้เป็นคนดี ก็ไม่สำคัญอะไรมาก นั่นคือการใช้ปากกา ทิ่มคอตัวเองตายอย่างชัดเจน
สิ่งที่ผมกำลังพยายามจะพูดถึงคืออะไร
ผมกำลังบอกว่า การจะหยิบดินสอนหรือปากกาขึ้นมาทำอะไรนั้นเป็น “ทางเลือก” ของท่านที่ถือดินสอหรือปากกาอยู่ เพียงคนเดียว
การจะเขียนกลอนหรือบทความ หรือบทเพลงให้คนทั่งโลกนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ท่านต้องหาข้อมูล ฝึกฝนตัวเอง มีจิืตใจที่แนวแน่ มีความพยายามที่จะพัฒนา ซึ่งก็เหมือนกับความตั้งใจในการทำุธุรกิจที่จะหาเงิน ต้องมีจิตใจที่แนวแน่ ไม่ย้อท้อต่อความยากลำบาก ไม่กลัวความเหนื่อย ไม่กลัวที่จะถูกปฎิเสธ เป็นหนทางที่ยากเย็นแสนเข็ญ แต่ราววัลที่ได้รับนั้น หอมหวานมาก และท่านจะไปสู่จุดสูงสุดอันเป็นปรัชญาที่เข้าใจความหมายอย่างแท้จริงของประโยคที่ว่า “เงินไม่สำคัญ” นั้น คืออะไร
แต่การเอาดินสอหันเข้าหาตัวเองแล้วเอา ทิ่มคอตัวเองมันง่าย แค่ยกมือเพียงครั้งเดียว ชีวิตท่านก็จะจบสิ้น ไม่ต่างกับการที่่คนๆ นั้นไม่สนใจที่จะพัฒนาอะไร พูดว่าอยากทำธุีรกิจออกแบบให้ประสบความสำเร็จ แต่ไม่เคยค้นคว้า ไ่ม่เคยศึกษาหาตัวอย่างอะไร แต่ดันเลือกที่จะเป็น “เหยื่อ”
โปรดสังเกตุว่าผมใช้คำว่า “เลือก” ที่จะเป็นเหยื่อ
ผมไม่เชื่อว่าในชีวิตนี้มีใครที่ เกิดมาเป็นเหยื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เข้ามาเป็นสถาปนิกในวงการวิชาชีพอันทรงเกียรตินี้ได้ คนที่กลายเป็นเหยื่อคือคนที่เลือกที่จะเป็นเองลักษณะของเหยื่อ คืออะไร ? เจ้านายของผม Mr.Arthur Danielian ที่เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวงการสถาปัตยกรรมเคยบอกผมไว้ว่า มีสี่อย่าง
1. Blaming หรือ โทษคนอื่น – เหยื่อคือคนที่โทษทุกสิ่งทุกอย่างรอบๆ ตัวเวลาที่ตัวเองไม่ประสบความสำเร็จ โทษลูกค้า โทษสมาคม โทษหัวหน้า โทษลูกน้อง โทษเพื่อนร่วมงาน โทษสภาสาปนิก โทษภรรยา และแน่นอนที่สุด หลายๆ คนโทษพ่อแม่ตัวเองที่เลี้ยงตัวเองมาเป็นแบบนี้้ ปัญหาคือ เหยื่อเหล่านี้ โทษคนทั้งโลกยกเว้นตัวเอง
2. Justifying หรือ แก้ตัว – เหยื่อคือคนที่ไม่ประสบความสำเร็จแล้ว พยายามแก้ตัว ว่าสิ่งที่ตัวเองไม่ประสบความสำเร็จไม่ได้มีความสำคัญเช่น ไม่เห็นจะต้องไปสอบกส ไม่ได้สำคัญอะไร ไม่ต้องไปเรียนเรื่องการตลาด ไม่ได้สำคัญอะไร ไม่ต้องไปเรียนเรื่องการวางระบบเพราะไม่สำคัญอะไร สรุปแล้ว อะไรที่ตัวเองทำไม่สำเร็จ ก็จะบอกว่าไม่สำคัญ เป็นการสร้างเกราะกำบังให้ตัวเอง แทนที่จะยอมรับความไม่สำเร็จตรงนั้นแล้วพยายามใหม่ กลับบอกว่า คนที่ประสบความสำเร็จอยู่นั้นเป็นคนที่หลงทาง ทำอะไรที่ไม่มีความสำัคัญอยู่
3. Complaining – บ่น – นี่คือสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่เหยื่อจะทำได้ พอมีปัญหาอะไรก็บ่น หรือด่า แต่ไม่คิดจะต่อสู้ ไม่คิดจะมานั่งปรึกษาหาวิธีที่จะทำอะไรให้ดีขึ้น พอมีปัญหา ก็ด่าสมาคม ด่าสภา ด่าผู้บริหาร พอบอกให้ส่งจดหมายไปร้องเรียนสักฉบับก็บอกว่า ส่งไปก็ไ่ม่มีประโยชน์ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ลอง สรุปก็คือ ขอให้ได้บ่น การบ่นหรือด่า นั้นเป็นการรวมรวมความเลวร้ายที่เป็นสิ่งไม่ดีในชีวิตเข้ามาหาตนเอง เวลาทีคนเราบ่น เรากำลังพยายามมุ่งเน้นอะไรอยู่? เรามุ่งเนั้นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ในชีวิตเรา ถ้าเราวันๆ เองแต่มุ่งเน้นสิ่งที่ไม่ดีมากๆ เราจะกลายเป็นเหมือนกับแม่เหล็กที่ดูดสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายให้เข้ามามากขึนๆๆๆๆ
4. Back Stabbing หรือ นินทาคนอื่น – เป็นการกระทำที่ไมไ่ด้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรแม้แต่น้อย และเป็นอีกครั้งที่มุ่งเน้นแต่เนื้อหาในแง่ลบของชีวิตเข้ามาใส่ตัว เป็นสี่งที่เสียเวลาในชีวิตมาก แทนที่จะเลือกทำอะไรสักอย่าง ถ้าไม่ชอบคนๆ นี้ ก็ควรจะเลือกว่า หนึ่ง จะไม่คุยกับคนๆ นั้นอีก หรือ สองคือ ทำตัวเ็ป็นศัตรูคู่อาฆาต ต่อสู้ฟาดฟันกับคนๆ นั้นไป แต่ขอร้องว่าทำอะไรสักอย่าง อย่ามัวแต่นั่งนินทา
Mr. Danielian บอกอีกว่า ถ้าท่านอยากจะทำให้ชีวิตท่านกลายเป็นพลังที่มีแต่แง่บวก ขอให้เลิกเป็นเหยื่อเสีย ก็คือ จงงดกิจกรรมสี่ประการในชีิวิตของท่านให้หมดสิ้น ลองดูสัก สองสามอาทิตย เลิก โทษคนอื่น เลิกแก้ตัว เลิกบ่น แล้วก็เลิกนินทา ท่านอาจจะเห็นว่าชีวิตท่านเปลี่ยนไปอย่างไม่น่าเชื่อ
สรุปคือ ปากกาแท่งนี้อยู่ในมือของท่านแล้ว ท่านพร้อมหรือไม่ที่จะเริ่มฝึกตัวเอง ฝึกตัวเองให้หนัก ฝึกให้ตัวเองมีความเหนื่อยยากหรือ Uncomfortable ตั้งแต่วันนี้ เรียนรู้เรื่องการทำการตลาด การวางระบบ การจัดการเรื่องการเงิน เพื่อให้ท่านมีความเจริญเติบโตต่อไปข้างหน้า เพื่อให้ท่าน สามารถเป็นผู้เขียนกลอน หรือบทกวีบรรลือโลก สักวันหนึ่ง และมีประโยคที่ว่า “เงินไม่ใช่เรื่องที่สำคัญ” เป็นปรัชญาประจำตัวของท่าน หรือท่านจะเลือกวิธีง่ายๆ ที่จะเอาปากกาแท่่งนี้ ทิ่มคอตัวเอง ท่านต่อไปๆๆๆ อย่างต่อเนื่อง แล้วก็มีประโยคที่ว่า “เงินไม่ใช่เรื่องสำคัญ” มาเป็นข้อแก้ตัวและพันธนาการที่จะปิดโอกาสในการสร้างความเจริญของท่านไปตลอดชีวิต?:)
เชิญพี่ๆ น้องๆ อภิปรายได้ตามสะดวกต่อจากนี้นะครับ

บทความแปล: นอกจาก Zaha Hadid แล้วยังมี "พวกเธอ": สุภาพสตรีที่เป็นเจ้าของบริษัทสถาปัตย์

ยุค 2000 น่าจะเป็นยุคที่เป็น Power of the Women ใช่มั้ยครับ
เราเคยคิดว่า วิชาชีพสถาปนิกเป็นวิชาชีพของผู้ชายสมัยโน้น ตอนนี้ คณะสถาปัตย์ชั้นนำหลายๆ แห่ง มีผู้หญิงเรียนพอๆ กับผู้ชายแล้ว และอาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ
ใครที่เรียนเก่งที่สุดในชั้นครับ ? ใครที่จด lecture เก่งที่สุด เพื่อนๆ ต้องมาของ Zerox ถ้าไม่ได้เอามานั่งอ่าน หลายๆ คนอาจจะเรียนไม่จบ ก็เพื่อนผู้หญิงของพวกเราใช่มั้ยครับ
นั่นคือความสามารถของพวกเธอ แล้วในระดับความเป็นผู้นำของโลกล่ะ ?
เราได้เห็นสุภาพสตรี ได้กลายมาเป็นผู้นำประเทศยักษ์ใหญ่ อย่างเยอรมันนี กลายมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ กลายมาเป็นรัฐมนตรีกลาโหมของนอร์เวย์ (จริงคนนี้เป็นมาก่อนปี 2000 อีก) เร็วๆ นี้เราอาจจะได้เห็นสุภาพสตรีเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของสหรัฐอเมริกาก็ได้
มาลองดูวงการของเรา ในประเทศเราก็มีสถาปนิกสุภาพสตรีที่เป็น Sole Owner หรือเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว ของบริษัทออกแบบหลายคนแล้วเหมือนกัน
ในสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตกอื่นๆ ก็มีสถาปนิกสุภาพสตรีหลายคนที่เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว และทำการบริหารจัดการกิจการของตัวเองจนเจริญรุ่งเรือง ไม่แพ้ หมายเลขหนึ่งอย่าง Zaha Hadid ที่เป็นที่รู้จักกันดี และแน่นอนว่าไม่แพ้ชายอกสามศอกแต่อย่างใด (บางทีอาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ)
มาลองดูเรื่องราวของหญิงแกร่ง และหญิงเก่งเหล่านี้ เขียนโดย Suzanne Stephens แห่ง Architecture Record ฉบับเดือน ธันวาคมปี 2006 ครับ

ปล.โดยผู้แปลขอร้องว่าอย่ามองกระทู้นี้เป็น กระทู้ Sexist กันเลยนะครับ ไม่ได้ต้องการจะเอาผู้หญิงเพศแม่มาดูถูก หรือ จะเอาผู้ชายแบบพวกเรามาดูถูกเปรียบเทียบอะไรกันเลย เพียงแต่ผมคิดว่าวิชาชีพของเราซึ่ง เรามักจะเห็นคนที่ประสบความสำเร็จดังๆ มักจะเป็นสุภาพบุรุษ บทความนี้ได้สะท้อนมุมมองที่ตรงกันข้ามกับมุมนั้นบ้าง เท่านั้นเองครับ ด้วยความเคารพ

ลองสมมุติว่า ถ้าคุณไม่ใช่คนที่อยู่ในวงการนี้ แล้วลองไปเดินตามท้องถนน หยิบหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารสำหรับคนทั่วไปที่มีตลาดกว้างๆ ขึ้นมาอ่าน คุณอาจจะเข้าใจว่า ในโลกนี้มีสถาปนิกผู้หญิงเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ได้ออกแบบอาคารชั้นนำ ได้โครงการดีๆ ที่น่าสนใจไปทำ ชื่อของเธอก็ไม่ใช่ใครที่ไหน Zaha Hadid นั่นเอง แน่นอนว่าเราก็ต้องให้เครดิตกับเธอหน่อย สถาปนิกที่มีเชื้อสายอิรักซึ่งมีสำนักงานอยู่ในลอนดอนแห่งนี้ ได้นำสีสันอันอลังการเข้ามาสู่วงการของเราได้ไม่น้อย แต่คุณก็อาจจะอดไม่ได้ที่จะถามว่า แล้วสถาปนิกหญิงคนอื่นๆ ล่ะ ไม่มีใครที่มีความสามารถระดับนี้อีกแล้วหรือ มีใครบ้างไหม ที่เป็น แบบ Hadid ที่บริหารจัดการสำนักงานออกแบบด้วยตัวเอง เป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว ในบทความนี้ นิตยสารของเรา (Architectural Record) ได้ตัดสินใจลงลึกไปในประเด็นนี้ โดยสำรวจในกลุ่มของสถาปนิกหญิงในสหรัฐอเมริกา ว่าเรื่องความเป็นเพศหญิงของเธอนั้น ส่งผลใดกับเส้นทางวิชาชีพของพวกเธอกันบ้าง ถ้าถามกลับไปว่า ผู้หญิงมาไกลแค่ไหนในวิชาชีพนี้ ก็อาจจะต้องมองกลับไปในยุคที่ สุภาพสตรีมีการรวมพลังกันอย่างแข็งขัน นั่นคือในยุค 1970s โดยเมื่อปี 1977 ได้มีนิทรรศการที่ชื่อว่า Woman in American Architecture, an Historical and Contemporary Perspective (ขอแปลตรงๆ ว่า มุมมองในประวัติศาตร์และมุมมองร่วมสมัย เกี่ยวกับ สตรีในวงการสถาปัตยกรรมของสหรัฐอเมริกา) จัดขึ้นที่ Brooklyn Museum of Art จัดโดย Susana Torre และให้การสนับสนุนโดย Architectural League of New York งานแสดงครั้งนั้น เป็นที่ตื่นตะลึงไปทั่ว เพราะเป็นการแสดงผลงานอันตระการตาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ของสถาปนิกหญิงที่ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน บางอาคารมีชื่อเสียงมาก แต่ไม่มีใครรู้ว่าคนออกแบบเป็นสุภาพสตรีคำถามก็คือ ในปัจจุบัน เมื่อเวลาผ่านมาได้ 30 ปีพอดี ทุกวันนี้ สุภาพสตรี ยังสร้างความตื่นตะลึงให้กับวงการสถาปัตยกรรมได้มากน้อยแค่ไหน


ในการทำงานครั้งนี้เราได้สัมภาษณ์สถาปนิกสตรีที่มีประสบการณ์ทำงานยาวนาน ด้วยตนเองหรือกับหุ้นส่วนคนอื่นๆ ที่เป็นสุภาพสตรี เราพยายาจะกรองบริษัทที่มีผู้นำเป็นสุภาพสตรี แต่มีหุ้นส่วนต่างๆ เป็นสุภาพบุรุษ นอกเสียจากว่าจะมีการบริหารด้วยสุภาพสตรีมาตลอดจนเพิ่งจะมาเพิ่มบุรุษในตอนหลัง เราไม่ได้ต้องการที่จะมาพิสูจน์ว่า บริษัทที่ดำเนินการด้วยสถาปนิกสุภาพสตรีจะดีกว่าบริษัทที่ดำเนินการด้วยสุภาพบุรุษหรือผสม เราเพียงแต่ต้องการจะหาขอมูลว่า บรรยากาศและรูปแบบต่างๆของบริษัทรูปแบบนี้ เป็นอย่างไร และเราอยากได้แนวคิดและคำแนะนำที่จะมีให้กับนิสิตนักศึกษาสถาปัตย์และสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิตที่เป็นสตรี จากสถาปนิกสตรีผุ้ประสบความสำเร็จเหล่านี้
ในขณะที่เราพยายามหาไปทั่วประเทศ บริษัทที่เข้าตามคุณสมบัติที่เราคิดเอาไว้ส่วนใหญ่จะอยู่ใน มหานครนิวยอร์ค เหตุผลก็น่าจะมาจากสองสามประการ หนึ่งก็คือ มีโรงเรียนสถาปนิกอยู่มากมาย บัณฑิตที่จบมาก็ชอบที่จะอยู่ในเมืองที่มีสีสันแบบนี้ เมื่อมีแรงงานมาก ก็เกิดการแข่งขันมาก ดังนั้นบริษัทที่อยู่รอดและประสบความสำเร็จในการแข่งขัน ก็ต้องนับว่าอยู่ในระดับที่น่าสนใจเพียงพอที่จะนำมาพูดกันในที่นี้
ทุกวันนี้ ในสหรัฐอเมริกา จำนวนสุภาพสตรีที่เป็นสมาชิกของ AIA หรือ American Institute of Architects (คนที่มีใบอนุญาติเท่านั้นจึงจะเป็นสมาชิกได้) ถึงประมาณ 13.3% หรือประมาณ 62400 คน ถ้าหากนับรวม สุภาพสตรีที่มีใบอนุญาติ แต่ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ AIA จำนวนรวมกันของสถาปนิกสตรีที่มีใบประกอบวิชาชีพอาจจะรวมกันได้ถึง 110,000 คน ซึ่งถ้ารวมๆ กันอาจจะดูไม่มากเทียบกับบุรุษ แต่หากดูในแง่ของการเพิ่มจำนวนแล้ว จะเห็นได้ว่ามีความชัดเจนมาก ในปี 1975 ตามสถิติของ AIA สุภาพสตรีที่มีใบประกอบวิชาชีพสถาปนิก มีเพียง 1.2% เท่านั้น แต่พอเข้าปี 1991 กลับมีจำนวนสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาเป็น 9.59% และมี 4.3% ที่เป็นเจ้าของบริษัท และในปี 2006 มีสุภาพสตรีถึง 13% เป็นเจ้าของหรือหุ้นส่วนบริษัท แต่ถึงจะมีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับสัดส่วน 40% ของนิสิตนักศึกษาหญิงที่ศึกษาวิชาสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นระดับปริญญาตรี หรือปริญญาตรีแล้ว ผลที่ออกมาเป็นสิ่งที่ชัดเจนว่า จำนวนบัณฑิตหญิงที่เข้ามาทำงานจริงในวงการออกแบบสถาปัตยกรรมยังมีน้อย


Why do I? – ทำไมพวกเธอถึงตัดสินใจเริ่มทำธุรกิจ
สุภาพสตรีที่เราสัมภาษณ์ทุกคนพูดเหมือนกันหมดว่า การที่เธอตัดสินใจทำธุรกิจด้วยตัวเองเพียงคนเดียวเพราะต้องการอำนาจในการตัดสินใจเพื่อที่จะทำงานออกแบบที่มีคุณภาพได้ ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่เหมือนๆ กับคนที่เปิดสำนักงานใหม่ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม Suman Sorg, FAIA (สมาชิกระดับ Fellowship หรือน่าจะพอเปรียบเทียบได้กับ วุฒิสถาปนิก ในประเทศไทย) เป็นสถาปนิกสุภาพสตรีที่มีสำนักงานขนาด 40 คน ชื่อว่า Sorg and Associates ในเมือง Washington, D.C. เธอพูดว่า “ดิฉันยอมรับว่า ตัวเองเป็นคนที่มีความทะเยอทะยาน ต้องการที่จะพัฒนางานอยู่เสมอ และแน่นอนว่าต้องการอิสระในการออกแบบ”เช่นเดียวกับ Anne Fougeron, AIA ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทขนาด 9 คน อยู่ในเมือง San Francisco “ฉันต้องการพิสูจน์ให้สังคมรู้ว่า การที่สตรีจะดำเนินธุรกิจออกแบบด้วยตัวเองเพียงคนเดียวเป็นสิ่งที่เป็นไปได้” ในบางกรณี ความเห็นก็แตกต่างออกไป เช่น ความเห็นของ Page Ayres Cowley, AIA ซึ่งเป็นเจ้าของสำนักงาน ขนาด 11 คน เธอเคยมีหุ้นส่วนเป็นสุภาพบุรุษมาก่อนที่จะมาเป็นเจ้าของคนเดียว “การเข้าหุ้นกันจะไม่มีทางไปกันได้รอด ถ้าแต่ละฝ่ายมีมุมมองที่ต่างกันในเรื่องของ รายได้เป้าหมาย และเรื่องของนโยบายต่างๆ ในการทำธุรกิจ” แต่ก็มีสุภาพสตรีบางคนที่ เจอหุ้นส่วนที่ดี เช่นในกรณีของ Ann Beha, FAIA ที่เป็นเจ้าของบริษัทขนาด 30 คนใน Boston และได้พบกับ Pamela Hawkes, FAIA โดยทั้งสองชอบที่จะทำงานประเภท Renovation เหมือนๆกัน
สุภาพสตรีหลายๆคนที่จบการศึกษามาจากโรงเรียนสอนสถาปัตยกรรมในช่วงปี 1970s ก็ได้พยายามในการทำธุรกิจของตัวเองมาตลอด บางคนทำเพราะเชื่อมันว่าทำได้ ไม่มีการไปค้นคว้าตลาดแต่อย่างใด บางคนก็พยายามอยู่ให้รอดโดยการทำงานเล็กๆ ที่คนอื่นไม่มีใครทำ บางคนก็แอบทำ ในขณะที่ตัวเองมีงานประจำอยู่ บางคนก็มีคำตอบที่ดีให้กับชีวิตโดยเฉพาะเวลาที่มีลูกว่า การเป็นเจ้าของธุรกิจทำให้เธอจัดเวลาของเธอได้ ทำให้เธอได้เป็นแม่เต็มเวลา และยังทำงานได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังไม่ต้องไปทำงานแข่งกับผู้ชายในสำนักงานใหญ่ๆ ซึ่งก็จะทำให้เธอต้องห่างกับครอบครัว
Katherine McGraw Berry, AIA แห่ง นคร New York เปิดบริษัทออกแบบของเธอเมื่อปี 1985 ในช่วงที่เธอมีลูกชายฝาแฝดสองคน โดยที่เธอลาออกมาจาก Kohn Pedersen and Fox เธอบอกว่า เธอมีความสุขที่ได้ทำงานขนาดไม่ใหญ่มาก มีเวลาใส่ใจกับรายละเอียดและรายได้ที่พอสมควร ไม่มาก แต่ทำให้เธอแบ่งเวลาให้กับทุกๆ มิติในชีวิต Heather McKinney, AIA แห่งเมือง Austin รัฐ Texas กล่าวว่า “เวลาที่ลูกเราโตขึ้นมา เธอใช้เวลากับการดูแลครอบครัวไปมาก หลายๆ คนที่ออกไปทำงานส่วนตัว จะไม่มีประสบการณ์มากพอที่จะไปทำงานระดับใหญ่ หรือระดับซับซ้อน ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะก้าวหน้าในวิชาชีพ” แต่สิ่งที่เราคนพบ กับบริษัทที่ประสบความสำเร็จซึ่งดำเนินการโดยสุภาพสตรีในบทความนี้ สถาปนิกสตรีเกือบทุกคนที่เราได้พูดคุยก็มีครอบครัวและมีลูก เช่นนกรณีของ Beha เธอมีลูกสองคน ซึ่งเธอให้ความเห็นว่า “ก็เป็นงานที่ยากลำบากอีกชิ้นหนึ่งที่เข้ามาในชีวิตเท่านั้นเอง”


สุภาพสตรีหลายๆคนที่จบการศึกษามาจากโรงเรียนสอนสถาปัตยกรรมในช่วงปี 1970s ก็ได้พยายามในการทำธุรกิจของตัวเองมาตลอด บางคนทำเพราะเชื่อมันว่าทำได้ ไม่มีการไปค้นคว้าตลาดแต่อย่างใด บางคนก็พยายามอยู่ให้รอดโดยการทำงานเล็กๆ ที่คนอื่นไม่มีใครทำ บางคนก็แอบทำ ในขณะที่ตัวเองมีงานประจำอยู่ บางคนก็มีคำตอบที่ดีให้กับชีวิตโดยเฉพาะเวลาที่มีลูกว่า การเป็นเจ้าของธุรกิจทำให้เธอจัดเวลาของเธอได้ ทำให้เธอได้เป็นแม่เต็มเวลา และยังทำงานได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังไม่ต้องไปทำงานแข่งกับผู้ชายในสำนักงานใหญ่ๆ ซึ่งก็จะทำให้เธอต้องห่างกับครอบครัว
Katherine McGraw Berry, AIA แห่ง นคร New York เปิดบริษัทออกแบบของเธอเมื่อปี 1985 ในช่วงที่เธอมีลูกชายฝาแฝดสองคน โดยที่เธอลาออกมาจาก Kohn Pedersen and Fox เธอบอกว่า เธอมีความสุขที่ได้ทำงานขนาดไม่ใหญ่มาก มีเวลาใส่ใจกับรายละเอียดและรายได้ที่พอสมควร ไม่มาก แต่ทำให้เธอแบ่งเวลาให้กับทุกๆ มิติในชีวิต Heather McKinney, AIA แห่งเมือง Austin รัฐ Texas กล่าวว่า “เวลาที่ลูกเราโตขึ้นมา เธอใช้เวลากับการดูแลครอบครัวไปมาก หลายๆ คนที่ออกไปทำงานส่วนตัว จะไม่มีประสบการณ์มากพอที่จะไปทำงานระดับใหญ่ หรือระดับซับซ้อน ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะก้าวหน้าในวิชาชีพ” แต่สิ่งที่เราคนพบ กับบริษัทที่ประสบความสำเร็จซึ่งดำเนินการโดยสุภาพสตรีในบทความนี้ สถาปนิกสตรีเกือบทุกคนที่เราได้พูดคุยก็มีครอบครัวและมีลูก เช่นนกรณีของ Beha เธอมีลูกสองคน ซึ่งเธอให้ความเห็นว่า “ก็เป็นงานที่ยากลำบากอีกชิ้นหนึ่งที่เข้ามาในชีวิตเท่านั้นเอง”
สุภาพสตรีส่วนใหญ่ที่เราได้สัมภาษณ์มาจาก รุ่นที่จบการศึกษาในยุคปลาย 1970s และต้น 1980s ส่วนใหญ่ทำธุรกิจด้วยตัวเองมาประมาณ 10-20 ปีแล้ว ขนาดของบริษัทก็มีตั้งแต่ทำงานคนเดียวไปจนถึง 40 คน โดยในประวัติของบริษัทก็จะมีพนักงานอยู่ประมาณ 20-30 คน บริษัทส่วนใหญ่มีสถาปนิกและนักออกแบบ (ไม่มีใบอนุญาติ แต่ได้รับมอบหมายงานให้ออกแบบ) สถาปนิกคนหนึ่งที่เราได้สัมภาษณ์คือ Sophia Guruzdys, AIA ซึ่งเคยทำงานให้กับ Pei Cobb Freed มาก่อน (พัฒนามาจากสำนักงานส่วนตัวของ I.M.Pei) ซึ่งเธอได้บอกว่า Harry Cobb หนึ่งในหุ้นส่วนได้เป็นคนสนับสนุนให้เธอออกมาทำเอง โดยส่วนตัวเธอบอกว่า เธอไม่ชอบทำงานให้กับเจ้านาย โดยที่เธอไม่มีส่วนร่วมในการควบคุมอะไรในโครงการนั้นเลย แน่นอนว่า การที่เธอออกมาก็มีข้อเสียคือ ในช่วงแรกที่เปิดสำนักงานในปี 1988 นั้น เธอต้องรับโครงการที่เธอไม่ได้อยากทำเลย แต่ต้องรับเพื่อให้มีรายได้
Gisue and Mojgan Hariri (น่าจะเป็นคนเชื้อสายอิหร่าน – ผู้แปล) สองสาวพี่น้องที่ทำงานด้วยกันมาตั้งแต่ปี 1986 ได้แนวคิดที่จะทำงานด้วยกันหลังจากที่ได้ไปเยี่ยมชมโครงการของบรีษัท Greene and Greene ในเมือง Pasadena, California “ถ้าหากว่าพี่น้องผู้ชายสองคนเขายังทำได้ พวกเราเลยคิดว่าพวกเราก็น่าจะทำได้เหมือนกัน”
อีกรายคือ Robin Elmslie Osler เธอเติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมของสถาปัตยกรรม พ่อของเธอเป็นเจ้าของบริษัทสถาปัตย์และลุงของเธอเป็นหุ้นส่วนของ Purcell & Elmslie ที่มีชื่อเสียง แห่งเมือง Minneapolis แม้ว่าเธอจะมีอาชีพเป็น นางแบบแฟชั่นมาก่อน แต่ประสบการณ์ที่เธอเคยอยู่ใกล้ชิดกับพ่อโดยเฉพาะได้เห็น site ก่อสร้างทำให้เธอตัดสินใจเข้าเรียนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ Yale และจบการศึกษาในปี 1990 เธอเปิดบริษัทของเธอเองชื่อว่า EOA/Elmsilie Osler Architects ในปี 1996 ปัจจุบันมีพนักงาน 8 คน ซึ่งงานส่วนใหญ่ที่เธอได้นั้น มาจากคนที่เธอรู้จักในวงการแฟชั่น แต่พอเวลาที่เธอได้ทำงานไปเรื่อยก็มีฐานลูกค้ามากขึ้น ล่าสุดลูกค้าที่เธอได้นั้น มาจากการส่งต่อโดย Richard Gluckman, FAIA แห่งสำนักงาน Gluckman Mayner ณ มหานคร นิวยอร์ค


Getting Clients
สำหรับสถาปนิกผู้หญิงการออกเดินสายหาลูกค้าเพื่อทำโครงการไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ส่วนใหญ่จะได้รู้จักกับลูกค้าตอนที่ทำงานในสำนักงานใหญ่ๆ ก่อนที่จะออกไปทำเองแล้วลูกค้าตามไปจ้าง หลายๆ คนต้องใช้วิธีที่ค่อนข้าง aggressive หรือ ถึงลูกถึงคน เช่นในกรณีของ Wendy Evens Josephs, FAIA ซึ่งมีโอกาสได้ตั้งสำนักงานขนาดหกคนของตัวเองในปี 1996 เพราะได้โครงการ สะพานคนข้ามของมหาวิทยาลัย Rockefeller ใน นคร นิวยอร์ค โดยที่มาของการได้โครงการนี้ก็มีอยู่ว่า ในคืนวันหนึ่งที่เธอกำลังรับประทานอาหารในงานสังคมงานหนึ่ง อธิการบดีของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้อยู่ในที่งานนี้ด้วยและอธิบายถึงปัญหาการขาดแคลนงบประมาณในการสร้างสะพานให้เธอฟัง เธอได้นำเสนอแผนการคร่าวๆ ให้อธิการบดีฟังทันที ด้วยความมีประสบการณ์อันมากมายมาจาก การออกแบบ Holocaust Museum ใน นครวอชิงตัน ดีซี สมัยที่ทำงานให้กับ Pei Cobb Freed โดยเธอมีทีมวิศวกรที่ใกล้ชิดและเด็กดร้าฟที่ทำงานที่โต็ะกินข้าวที่บ้านของเธอ แล้วต่อมาเธอก็ได้งานนี้ไป (ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน คงจะง่ายเพราะเป็นการตัดสินใจของ Board แต่ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ โอกาสที่จะได้งานแบบ Unsolicited proposal แบบนี้ น้อยมาก เพราะถ้า Board ส่ง proposal เข้าที่ประชุมแล้วสรุปโดยไม่มีการเปิดประมูลสาธารณะ ก็อาจจะโดนประชาชนผู้เสียภาษี ซึ่งมีสถาณภาพเหมือนผู้สนับสนุนกิจการของมหาวิทยาลัย ฟ้องร้องได้ – ผู้แปล)

Andrea Leers, FAIA และ Jane Weinzapfel, FAIA เปิดสำนักงานส่วนตัวในเมือง Boston ในปี 1982 ซึ่งเน้นความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบสาธาณูปโภคหรืองานเทคนิคระดับซับซ้อน เช่น หอควบคุมระบบการขนส่งทางน้ำของ Massachusetts Bay Transportation Authority เป็นต้น Leers กล่าวว่า “เราได้งานในตลาดที่ค่อนข้างไม่หวือหวา และมีงบประมาณที่จำกัดมาก เป็นโครงการที่บริษัททั่วๆไปไม่ค่อยสนใจ ซึ่งก็เป็นข้อดีสำหรับเรา เพราะเราจะไม่ค่อยถูกกระทบมากจากวงจรเศรษฐกิจที่มีขึ้นมีลง” อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ เรื่องเกี่ยวกับความเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายนั้นแทบจะไม่มีความหมาย โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกานั้น โครงการของรัฐนั้นมีระบบพิเศษที่จะช่วยเหลือกลุ่มที่ถือว่า “ด้อยโอกาสในสังคม” หรือที่เรียกว่า Minority ซึ่งธุรกิจที่มี สุภาพสตรีเป็นเจ้าของก็เป็นหนึ่งในนั้น ตัวอย่างเช่น นคร New York City ต้องการหาบริษัทที่มีผู้หญิงล้วนมาทำโครงการของรัฐ (เป็นการสร้างภาพทางการเมือง ในสหรัฐ การสร้างภาพเพื่อให้ตัวเองดูมีมุมมองที่กว้างขวาง ช่วยเหลือกลุ่มที่ด้อยโอกาสในสังคม เช่น คนดำ หรือสุภาพสตรีนั้น เป็น การรับประกันว่านักการเมืองจะได้ คะแนนเสียงจากคนกลุ่มนี้ไปในตัว) ตัวอย่างของ สถาปนิกกลุ่มนี้ได้แก่ Karen Bausman AIA และ Beyhan Karahan AIA ซึ่งแต่ละคนมี พนักงาน 11 และ 15 คนตามลำดับ ได้มีชื่อบริษัทของตัวเองอยู่ในบัญชีสถาปนิกของ นคร New York’s design excellence program ที่เป็นโครงการจากผู้ว่า Michael Bloomberg (http://www.archpaper.com/news/2007_0404.htm) ในแผนก ออกแบบและก่อสร้าง


อีกประการหนึ่งทีสถาปนิกหญิงพบในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาคือ การเพิ่มจำนวนของลูกค้าที่เป็นสุภาพสตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลูกค้ากลุ่มที่มาจากสถาบันการศึกษา สถาบันทางวัฒนธรรมต่างๆ และภาครัฐ Andrea Leers ได้กล่าวว่า “การที่เราเป็นผู้หญิงนั้นเป็นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับลูกค้าที่ใจกล้า ที่จะลองรับการบริการวิชาชีพจากเรา” แต่ Gisue Hariri ก็ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับ คณะกรรมการคัดเลือกสถาปนิกในองค์กรสำคัญๆ ว่า “ถ้าในกรรมการนั้น ไม่มีผู้หญิงอยู่เลย ก็จะไม่มีสถาปนิกหญิงได้รับเลือกเช่นกัน ส่วน Diane Lewis, AIA ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทขนาด 11 คนในนิวยอร์คก็ได้กล่าวว่า “บริษัทของดิฉันจะดึดดูดลูกค้าที่ค่อนข้างจะมีความรู้ และมีรสนิยมทางศิลปะมากหน่อย” งานของเธอนั้นเป็นประเภท Art Gallery, Charter School และห้องพัก (Loft) ของ Mark Wigley คณะบดีของ Graduate School of Planning and Preservation แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
แต่ถ้าเป็นลูกค้าที่เป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นั้นจะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง การได้งานจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่น้นเป็นได้ยากมากสำหรับสถาปนิกสตรี Deborah Berke, AIA ซึ่งเป็นเจ้าของสำนักงานขนาด 25 คน ได้กล่าวว่า “นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่โทรหาเรานั้น มักจะเป็นคนที่มีจิตใจเิปิดกว้างอยู่แล้ว” Julie Snow, FAIA ซึ่งเป็นเจ้าของสำนักงานขนาด 15 คนในเมือง Minnesota ในความเห็นว่า ลูกค้าบางคนนั้นไม่ค่อยจะรู้สึกสบายใจที่จะทงานกับผู้หญิง “แต่ที่เราได้งานส่วนใหญ่จากลูกค้าที่เป็นผู้ชายนั้น จะเป็นเพราะพวกเขาต้องการมุมมองของผู้หญิงที่อยากให้เขาไปอยุ่ในงานออกแบบ” Audrey Matlock, AIA ที่ีมีสำนักงานขนาด 12 คน ได้กล่าวว่า ถ้าเราไม่ได้งานนั้นมาทำกับมือ เราก็จะไม่รู้ว่าเรื่องความเป็นผู้หญิงของเรานั้นเกี่ยวข้องกับประเด็นที่เขาเลือกเราให้ทำงานกับเขาหรือไม่ ณ ปัจจุบัน เธอกำลังออกแบบโครงการ ศูนย์กีฬา และคฤหาสน์ ขนาดใหญ่ในประเทศคาซัคสถาน ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับผ่านมาทาง Skidmore Owings & Merril (SOM) นายจ้างเก่าของเธอ
Ronnette Riley, FAIA เปิดสำนักงานในนิวยอร์คตั้งแต่ปี 1987 มีจำนวนพนักงานไม่เกิน 14 คน พบว่าการทำงานกับบริัษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นเรื่องที่ยากเพราะ เป็นคนที่ค่อนข้างจะอนุัรักษ์นิยม และชินกันการเสี่ยง พวกเขามักจะชอบทำงานกับคนที่คุยภาษาเีดียวกับเขา แต่เธอก็เล่าให้ฟังว่า เธอได้งานจากลูกค้าคนหนึ่งเพราะรถที่เธอซื้อมาขับ (BMW 645 CI) เขาหยุดแล้วถามเธอเกี่ยวกับรถที่เธอขับว่าเป็นอย่างไรบ้าง แล้วการสนทนาก็เิ่ริ่มมาจากตรงนั้น Alison Spear, AIA มีสำนักงานขนาด 6 คนในเมือง Miami รัฐ Florida ชอบทำงานกับ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มาก เธอชอบความกดดันในการทำงาน เธอกล่าวว่าทำให้เธอรู้สึกสนุกกับมัน เธอเพิ่งจะออกแบบโครงการคอนโดมิเนียมขนาด 12 ชั้นเสร็จ โดยเป็นโครงการของบริษัท Aqua บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชื่อดัง เธอทำงานออกแบบภายใน ร่วมกับการออกแบบสถาปัตยกรรมด้วย เธอกล่าวว่า นี้เป็นสิ่งที่ลูกค้าเธอชอบเพราะไม่ต้องไปหานักออกแบบหลายๆ คน มาหาเธอคนเดียวแล้วจบ


The Press
การได้รับตีพิมพ์เป็นสิ่งสำคัญ แต่คุณจะให้สื่อต่างๆ มาสนใจคุณได้อย่างไรเวลาที่คุณเพิ่งเิริ่มเปิดกิจการ ก็มีหลักๆ สองอย่างที่จะดึงความสนใจสื่อได้คือ ประเภทของโครงการกับลูกค้าที่มีชื่อเสียง Spear ได้รับการตีพิมพ์เยอะมากในโครงการ loft ที่เธอทำเมื่อ 20 ปีก่อน ให้กับ Jay McInerney (นักเขียนชื่อดัง) ซึ่งเป็นลูกค้าที่เธอได้พบจากเครือข่ายศิลปินของ National Arts Club เธอจบการศึกษาจาก Cornell และตัดสินใจเข้าทำงานกับ Juan Pablo Molyneux ซึ่งเป็นมัณฑนากร เธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับ antiques การให้สี และ fabric ต่างๆ มากมาย ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับเธอ เทียบกับการเรียนสถาปัตยกรรมที่มีแต่ขาวกับดำ เธอเชื่ออยู่เสมอว่าตัวเองเป็นสถาปนิก แต่ทำงานออกแบบมัณฑนากร แต่สื่อมักจะคิดว่าเธอเป็น มัณฑนากรหรือ เรียกเธอว่า Decorator ในกรณีของ Jennifer Luce, AIA ผู้ทำธุรกิจออกแบบ ทั้งงาน Landscape และ งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ด้วยสาเหตุที่บริษัทของเธอมีสุภาพสตรีทำงานอยู่ถึง 75% ทำให้สื่อคิดว่าบริษัทของเธอเป็นบริษัทมัณฑนากร ล่าสุดงานของเธอ Nissan Design America Building ใน ดีทรอยต์ และ Nissan Design Studio ที่ La Jolla ในแคลิฟอร์เนีย น่าจะทำให้ภาพพจน์ตรงนี้ลดลง แต่เธอก็บอกว่ายาก เพราะเธอเป็นคนที่ใส่ใจในทุกรายละเอียดในงานของเธอ (ตีความว่าเป็นนิสัยของ Interior Designer )

สถาปนิกแห่ง มหานครนิวยอร์คอีกคนชื่อ Annabelle Selldorf, AIA ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยมีปัญหาในการได้รับความสนใจจากสื่อสักเท่าไหร่ ส่วนหนึ่งเพราะลูกค้าที่เป็นคนที่มีชื่อเสียงในวงการศิลปะของเธอ งานออกแบบของเธอส่วนใหญ่จะเป็นที่อยู่อาศัยของคนกลุ่มนี้ หรือไม่ก็ออกแบบ Art Gallery เช่น Museum of German and Austrian Art ในแมนฮัตตัน “ดิฉันเริ่มต้นจากการทำงานปรับปรุงห้องครัวเล็กๆ ในปี 1989” ปัจจุบันบริษัทของเธอมีพนักงาน 33 คน และได้รับงาน ที่สำคัญอย่าง Urban Glass House ออกแบบโดย ฟิลลิป จอห์นสัน เธอเลยได้ใช้โครงการนี้ไปในการทำการตลาดให้กับบริษัทของเธอ และดึงดูด สื่อไปโดยปริยาย ส่วน Lindy Roy เจ้าของสำนักงานชื่อ ROY ก่อตั้งในปี 2000 มีพนักงานเฉลี่ยประมาณ 10 คนได้กล่าวว่า ในปี 2001 สำนักงานของเธอได้รับเลือกให้ออกแบบ Courtyard ใน PS1 Contemporary Art Center ในเขต Long Island City ของนิวยอร์ค โดยเป็นส่วนหนึ่งของ MoMA/P.S.1 Young Architects Program “สื่อที่มาทำข่าวครั้งนั้น เป็นผลดีกับดิฉันมาก มีลูกค้าใหม่ๆ หลายคนโทรติดต่อเข้ามา” Roy เป็น สถาปนิกจาก อัฟริกาใต้ จบการศึกษาจาก Columbia University ผู้ออกแบบ Andre’ Balasz’s Hotel QT ซึ่งเป็น อาคารสำนักงานเก่าในย่าน Time Square ในปี 2005