อภิมหาสถาปนิกแห่งทศวรรษคนนี้ ได้เขียนหนังสือรวบรวมผลงานตัวเองชื่อ Log Book ไว้ - พิมพ์เมื่อปี 1997 ภายในหนังสือเล่มนี้มีบทความที่น่าสนใจ เกี่ยวกับมุมมองต่อวิชาชีพและการทำงานที่จะขอนำเสนอไว้ ณ ที่นี้
Renzo Piano เกิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน ปี 1937 ในตระกูลของผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีชื่อเสียง จบการศึกษาจาก School of Architecture – Milan Polytechnic เมื่อปี 1964 ในช่วงที่เป็นนักศึกษานั้น ได้ทำงานใกล้ชิดกับ Franco Albini ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น "Neo-Rationalist" designers ที่สำคัญที่สุดใน Italy และในขณะเดียวกันก็ทำงานให้กับบิดาใน Site ก่อสร้างมาตลอด ทำให้เกิดประสบการณ์ในการก่อสร้างโดยตรงมาแต่เยาว์วัย ในช่วงปี 1970 Renzo Piano ได้พบกับ Jean Prouve’ และสร้างทีมออกแบบที่จะมีอิทธิพลต่องานที่ตามๆ มามากของเขา และในปี 1971 ก็ได้ร่วมกับ Richard Rogers สถาปนิกจากอังกฤษ ก่อตั้ง Piano & Rogers เพื่อก่อสร้างอาคาร Pompidou Center ที่ชนะการประกวดและเป็นการสร้างชื่อในวงการของทั้ง 2 คน ในปี 1977 ได้ก่อตั้ง “L’Atelier Piano & Rice” ร่วมกับวิศวกร Peter Rice ที่จะทำงานระดับโลกต่อๆ มาอีกหลายงานร่วมกัน จนกระทั้ง Rice เสียชีวิตลงในปี 1993 และสุดท้าย Piano ได้ก่อตั้ง Renzo Piano Building Workshop ขึ้นที่เมือง Genoa โดยมีสมาชิกประมาณ 100 ชีวิตทำงานให้กับเขา (ประกอบไปด้วยทั้งสถาปนิก วิศวกร และ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆ
อาชีพสถาปนิกนั้นเหมือนการผจญภัยรูปแบบหนึ่ง จะเรียกได้ว่าเป็นอาชีพทัพหน้าก็ได้ พวกเราต้องเดินอยู่บนคมมีดที่แบ่งระหว่าง โลกของศิลปะและโลกของวิทยาศาสตร์ ระหว่างความทรงจำเก่าๆกับความคิดที่มีแปลกใหม่เป็นตัวของตัวเอง (Originality) ระหว่าง ความกล้าของการไปสู่โมเดิร์น และความเคารพที่ต้องมีต่อวัฒนธรรมอันเก่าแก่ สถาปนิกอย่างพวกเราไม่มีทางเลือก นอกจากมีชีตอยู่อย่างหวาดเสียวแบบนี้ (Living Dangerously) พวกเราทำงานกับวัสดุทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งข้าพเจ้าไม่ได้หมายความแต่เพียง คอนกรีต ไม้ หรือโลหะ เท่านั้น แต่ข้าพเจ้ารวมความไปถึง ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ นิเวศวิทยา ความงาม เทคโนโลยี ภูมิอากาศ และ สังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่สถาปนิกเราต้องทำงานร่วมกับมันทุกๆ วันอาชีพสถาปนิก เป็นอาชีพที่ดีที่สุดในโลก ด้วยเหตุผลที่ว่า ในโลกใบเล้กๆ แห่งนี้ มนุษย์ได้ค้นพบสิ่งต่างเกิบครบหมดแล้ว อย่างน้อยก็ไม่มีดินแดนไหนในโลกที่ไม่อยู่บนแผนที่ การค้นพบสิ่งใหม่ๆ แทบจะไม่เกิดขึ้นแล้ว แต่ในขณะเดียวกับ ในการออกแบบของพวกเรานั้น ยังคงเป็นเหมือนการผจญภัยที่จะค้นหาสิ่งใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา สำหรับการค้นหาโลกในเชิงกายภาพนั้น บรรพบุรษของเราได้จัดการเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับคนในยุคเรา สิ่งที่เหลืออยู่คือ การค้นหาสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ และจิตวิญญาณของตัวเราเอง การออกแบบนั้น ก็เหมือนเป็นการเดินทางอย่างหนึ่ง เราตั้งใจที่จะออกค้นหาอะไรบางอย่าง เพื่อที่จะได้เรียนรู้จากมัน แล้วเราก็เตรียมพร้อมกับสิ่งอันไม่คาดฝันที่จะเกิดขึ้น ถ้าเราเกิดความกลัว และตัดสินใจที่จะล้มเลิกการเดินทาง แล้วกลับไปหาสิ่งเก่าๆที่เราเคยมี เราเคยเห็น เราเคยรู้ การเดินทางก็ล้มเหลว แต่ถ้าคุณเป็นคนที่รักการผจญภัย คุณไม่หลบหนี คุณมีความกล้า และพยายามมุ่งหน้าต่อไป การทำโครงการใหม่ๆ ของคุณนั้นก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางใหม่ๆ ทุกๆ ครั้ง และคุณก็จะได้เข้าไปอยู่ในจุดที่คุณไม่เคยได้พบ ไม่เคยได้เห็น และไม่เคยได้รู้จักมาก่อนอยู่เสมอ คุณจะกลายเป็น Robinson Crusoe ของโลกยุคใหม่
อาชีพสถาปนิกเป็นอาชีพที่เก่าแก่ พอๆ กับนักล่าสัตว์ ชาวประมง ชาวนา ฯลฯ มนุษย์ปุถุชนอย่างพวกเราได้รับมรดกตกทอดทางกิจกรรมต่างๆ มาจากบรรพบุรุษเราทั้งสิ้น และทุกสิ่งทุกอย่างก็มีการพัฒนาเป็นขั้นตอนอย่างช้าๆ หลังจากที่การหาอาหารได้จบลง มนุษย์ก็หาที่อยู่ และ ณ จุดที่ มนุษย์ตัดสินใจที่จะพาตัวเองให้หลุดพ้นจาก สภาพความเป็นอยู่ตามมีตามเกิดแล้วแต่ ธรรมชาติจะประทานมาให้ และเริ่มสร้างสภาพแวดล้อมที่ตัวเองพอใจขึ้นมาเพื่อทำการใช้สอยอย่างที่ต้องการนั้น มนุษย์ก็กลายมาเป็น สถาปนิกผู้คนที่สร้างบ้านเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยนั้น นอกจากจะสร้างให้ตัวเองแล้ว ก็ยังสร้างให้ครอบครัว และสร้างให้ผู้คนในเผ่าของตนเอง และบ้านที่สร้างก็ไม่ได้มีจุดประสงค์เพียงเพื่อปกป้องผู้อยู่อาศัยจากดินฟ้าอากาศเท่านั้น แต่มักจะมากับความงาม และ การแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของตัวผู้อยู่อาศัย ณ ที่นั้นเสมอ การสร้างบ้าน ตั้งแต่เริ่มแรกของ อารยธรรมมนุษย์นั้น ก็คือการต่อสู้เพื่อค้นหา ความเป็นทีสุด ของ ความงาม (Beauty) ความมีสง่าราศรีและเกียรติยศ (Dignity) และ การแสดงออกถึงสถาณภาพ (Status) ซึ่งทั้งหมด สามารถแยกออกได้เป็น สองแนวทางที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง หนึ่งคือ ความพยายามที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และสองความความพยายามที่จะสร้างความแตกต่าง ดังนั้น การสร้างอาคารอะไรบางอย่างนั้นจึงไม่สามารถเป็นเรื่องของเทคนิคการก่อสร้างเพียงอย่างเดียวได้ แต่จะต้องเกี่ยวพันธ์กับอะไรหลายๆ ความปราศจากความหมดจด ชัดแจ้ง (Ambiguity) เหล่านี้ คือสิ่งที่ทำให้อาชีพสถาปนิกแตกต่างออกไปจากอาชีพอื่นๆ และบุคคลใดก็ตามที่พยายามจะมอง Ambiguity เหล่านี้ กลายเป็นของง่ายๆ และสร้างคำตอบง่ายๆ ให้กับมัน บุคคลผู้นั้นไม่ได้เป็นผู้ที่จะเริ่มเดินไปสู่ความก้าวหน้าได้เลย เพียงแต่เป็นผู้ที่เริ่มจะยอมแพ้กับการเดินทางต่างหาก
Profession in Crisis
ข้าพเจ้าได้มีโอกาสสนทนาเกี่ยวกับเรื่องความหวาดกลัวว่าวิชาชีพสถาปนิกกำลังจะสูญพันธุ์ไปจากโลกอยู่เสมอ ข้าพเจ้าเองก็เคยกล่าวไว้นานมาแล้วว่า สิ่งที่สถาปนิกทำอยู่ในตอนนี้ (Architect’s job) กำลังจะหายไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกับ คนที่จุดตะเกียงและดับตะเกียงถนน เพราะมันไม่มีตะเกียงน้ำมันแล้ว งานที่พวกเราทำต้องเปลี่ยนไป เพราะโลกมันเปลี่ยนไป แต่ถามว่า มนุษย์เรายังต้องการสถาปัตยกรรมหรือไม่ ข้าพเจ้าก็ต้องยืนยันว่า มนุษย์เรายังต้องการอยู่อย่างแน่นนอน และต้องการมากยิ่งกว่ายุคไหนๆ ที่ผ่านมาอีกด้วย ดังนั้นพวกเราจึงไม่มีความจำเป็นต้องกังวลกับการที่งานสถาปัตยกรรมจะหายไปแม้แต่น้อย แต่สิ่งที่กำลังจะหายไปในสายตาของข้าพเจ้าซึ่งน่ากลัวยิ่งกว่า ได้ ความไม่ย่อท้อ ความรับผิดชอบ ความยอมรับฟังเหตุผล และ ความรักในการสร้างงานให้มีคุณภาพ ต่างหาก และเป็นสิ่งที่จะมีผลกระทบต่ออนาคตของวิชาชีพมากกว่าอย่างอื่น ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่า วิชาชีพนี้จะต้องได้รับการสร้างเกียรติภูมิขึ้นมาใหม่ และเพื่อให้ได้เกียรติภูมินั้นมา เราจะต้องมองย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของวิชาชีพของเรา
อันดับแรกเลยคือ สถาปนิกคือใครกันแน่ – สถาปนิกจะต้องย้ำกับตัวเองไว้เลยว่า สถาปัตยกรรมนั้นคือ การบริการ (Architecture is a service) ต้องจำไว้ให้เป็นบทเรียนอันเจ็บปวดที่จะเตือนตัวเราไม่ให้หลงเข้าไปในโลกของ แฟชั่น สไตล์ และ เทรนด์ ทั้งหลาย ซึ่งไม่ใช่ว่าเราจะต้องยึดไว้เป็นสรณะ อย่างแน่วแน่สุดชีวิต แต่ขอให้เป็นการมองในมุมของผู้ที่ถ่อมตนว่า เรากำลังทำงานเพื่อให้บริการผู้อื่นอันดับที่สอง พวกเราสถาปนิกคือผู้ปลูกเรือนให้ท่านอยู่ ท่านคือผู้ที่จะเข้ามาอยู่ มาใช้ เรารู้จักวัสดุและโครงสร้าง เรารู้จักทิศทางลม และการขึ้นลงของน้ำในมหาสมุทร เรารู้จักการควบคุมการผลิตผลงานและทำให้ผลงานนั้นใช้การได้ หรือหากจะพูดให้ง่ายๆก็คือ พวกเรารู้และเข้าใจว่า ทำไม บ้าน สะพาน และเมือง ถึงได้ก่อกำเนิดขึ้นมาในทุกๆ วิกฤตการณ์ของมนุษย์เรานั้น จะมีเมล็ดพันธุ์ของความเห็นแก่ตัวเกิดขึ้นมาอย่างช้าๆ ซึ่งนำไปสู่การเอาตัวรอดวิธีใดวิธีหนึ่ง บางคนก็เหมาเอาเลยว่า ตนเองไม่ได้มีประโยชน์อะไรกับสังคมแล้ว ต้องหาที่ยืนใหม่ โดยผันตัวเองจาก ช่างฝีมือ(Craftspeople) ที่ควรจะเป็น ไปสู่ความเป็นศิลปินเต็มรูปแบบที่ไม่ต้องสนใจกับเงื่อนไขและข้อจำกัด หรือความรับผิดชอบ ที่มีอยู่ในชีวิตจริงๆ หรือในที่สุดก็อาจจะหนีเข้าไปอยู่ในสถาศึกษาต่างๆ ให้ไกลจากโลกของการทำงานมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ไปเลย ที่ข้าพเจ้ากล่าวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการเหมาเอาว่าทุกคนในวิชาชีพนี้กำลังจะไปสู่จุดนี้ แต่ข้าพเจ้าคิดว่าทุกคนจะต้องยอมหาวิธีที่จะทำอะไรให้ยากขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากที่กล่าวไว้แล้วว่า นี่คือวิชาชีพที่ต้องเดินอยู่บนคมดาบเสมอ ระหว่างเทคโนโลยีและศิลปะ และข้าพเจ้าคิดว่าการเดินที่มีอันตรายเช่นนี้คือการหนทางที่จำเป็นและควรจะคงอยู่ต่อไป ใครก็ตามที่เห็นว่า ทั้งสองส่วนนั้นควรจะแยกกันอย่างเด็ดขาดเมื่อไหน คนๆนั้นจะตกจากคมดาบทันที ไม่ข้างใดก็ข้างหนึ่ง
ถ้าอาคารสักหลังถูกลดค่าลงมาเป็นแค่เรื่องของ เทคนิค เรื่องของระบบอาคาร เรื่องของ การจัดการและเรื่องของ เงิน อาคารหลังนั้นจะหมดความน่าอภิรมย์ ลงไปทันที คุณค่าทางสังคมของอาคาร การเชื่อมสัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้ที่เข้าไปใช้อาคาร บ้านเมืองรอบๆตัวเรานั้นเต็มไปด้วย อาคารแบบนี้ในทุกๆ มุมของเมือง มีนักปราชญ์ชาวรัสเซีย ผู้หนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ความจริงคือสิ่งที่ดื้อรั้นที่สุด – สำหรับสิ่งที่สะท้อนไปถึงสถาปนิกเราก็คือ อาคารก็ต้องสร้าง และความเป็นเทคนิคก็ยังต้องมีอยู่ด้วย อย่างสมบูรณ์ สามารถใช้การได้ มีผู้คนหลายๆคนเห็นว่าเรื่องของเทคนิคนั้น น่าจะเป็นการทำอย่างมีความเป็นศิลปะ ซึ่งฟังดูต้องเป็นเรื่องของอุคมดติมาก หรืออาจจะพูดให้ตรงไปเลยคือ ศิลปะกับเรื่องของเทคนิคนั้นไม่ควรจะเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันได้เลย สำหรับตัวข้าพเจ้าเอง เห็นว่าความคิดทั้ง 2 ด้านนั้นเป็นความคิดที่รุนแรงเกินไป ข้าพเจ้าจึงไม่เห็นด้วยทั้ง 2 ด้าน แต่ค่อนข้างจะเอนเอียงมาในอย่างหลัง มากกว่าอย่างแรก เนื่องจากข้าพเจ้ายังมีความเชื่อมันในคุณสมบัติของความเป็นศิลปะมากกว่า ข้าพเจ้าอยากจะมองสถาปนิกว่าเป็นผู้ใช้ความรู้ทางเทคนิคเพื่อสร้าง อารมณ์ – อารมณ์ในเชิงศิลปะ ถ้าจะกล่าวให้ตรงไปตรงมา (Architects, a person who uses technique to create an artistic emotion) ถ้าใครก็ตามที่เคยได้ฟังการแสดงดนตรี โดยนักดนตรีชั้นยอด (Mr.Piano ยกตัวอย่าง นักเปียโน Maurizio Pollini และ นักไวโอลิน Salvatore) Accardo) คุณจะเห็นได้ว่า เทคนิคที่เข้าได้รับการฝึกฝนมาช้านานนั้น มันได้ฝังเข้าไปในจิตวิญญาณของเขา เป็นส่วนหนึ่งราวเก็บเลือดที่โลดแล่นอยู่ภายในร่างกายของเขาปแล้ว และเมื่อถึงจุดนั้นมันก็เข้าสู่สภาวะของความเป็น ศิลปะไปโดยปริยายCharlie Parker เคยบอกกับข้าพเจ้าว่า “เรียนดนตรี และการเล่นเครื่องคนตรี ให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ และให้เชี่ยวชาญที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ หลังจากนั้นก็ลืมมันไปซะ แล้วก็เล่นอะไรก็ได้ เล่นอย่างไรก็ได้อย่างที่คุณอยากเล่น” ข้าพเจ้าเชื่อว่าพวกเราสถาปนิกต้องทำอย่างเดียวกันในวิชาชีพของเรา
The Adventure of the Architect
การผจญภัยของสถาปนิกการสร้างสรรค์อะไรบางอย่างนั้นเหมือนกับการเดินทางไปสู่ที่มืด ด้วยความกล้าหาญ ความตื่นตัว และความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่หวั่นไหวกับสิ่งรอบข้าง จะมีหลายครั้งที่เราจะประสบพบกับจังหวะเวลาที่ทำให้เรารู้สึกสับสน อยากรู้อยากเห็นที่จะก่อให้เกิดความตึงเครียด แต่ถ้าท่านไม่ยอมรับความท้าทายเหล่านี้ ท่านก็จะไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากทำตามสิ่งที่คนรุ่นก่อนท่านทำๆ กันมา และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการเรียนการสอนสถาปัตยกรรม (academicism) อย่างที่เราเห็น – ทำตามๆ กันไป - เมื่อใดที่ท่านตัดสินใจที่จะยึดมันถือมันกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นหลักโดยที่ไม่ใส่ใจกับสิ่งอื่นๆแล้วละก็ เมื่อนั้นท่านไม่ได้สร้างจุดกำเนิดของความคิดใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไปแต่อย่างใด แต่ท่านได้หาทางออกเป็นข้อแก้ตัวของตัวเองเรียบร้อยแล้ว เพื่อไม่ให้ตัวเองมีความจำเป็นที่จะต้องคิดอะไรอีก เป็นการหาที่หลบภัยจากความกลัว อย่าลืมว่าการผจญภัยนั้นย่อมหมายถึงการไปผิดทางด้วยเหมือนกัน การเสี่ยงจะต้องมีอยู่ในตัว ถ้าหากท่านต้องการความแน่นอน ก็ไปใช้ถนนที่เขาตัดให้ไว้แล้วก็ย่อมได้ แต่นั้นไม่ใช่การค้นหาสิ่งใหม่ๆ (exploration) แ่ต่อย่างใดเมื่อท่านเดินเข้าไปในห้องที่มืดมิด สายตาของท่านจะใช้เวลาชั่วครู่ในการปรับตัว ซึ่งเป็นเหมือนกันสังเกคุสิ่งแวดล้อมรอบกายก่อน จิตของท่านก็รับรู้และปรับตัวไปด้วยเช่นกัน และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการคิดหาสิ่งใหม่ๆ (Creation) ที่อยู่ในห้องมืดนี้ จริงๆ แล้วคำว่า Creation นี้ ข้าพเจ้าเองก็ไม่แน่ใจว่าเป็นคำที่เหมาะสมหรือไม่ บางทีเราอาจจะต้องหาคำอื่น การออกแบบนั้นเป็นเหมือนการผจญภัยที่เต็มไปด้วย จังหวะเวลา (moment) แห่งความตื่นเต้น แต่ถ้าหากจะพูดถึงจังหวะเวลาแห่งการค้นหาสิ่งใหม่ๆ แล้วละก็ ถ้าหากมีอยู่จริงๆ อาจจะมีอยู่แค่เพียงในหัวของเราเท่านั้น อีก 6 เดือนถัดไป หรืออีก 1 ปีถัดไป ท่านจะกลับมานั่งคิดว่า เออ วันนั้นของชีวิตเรานั่นล่ะคือจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ แต่ท่านก็อาจจะอดคิดไม่ได้ว่า ทำไมมันถึงไม่มีความรู้สึกว่า มีวงโยธวาธิต หรือพลุ มาจุดในหัวของเราเพื่อฉลองความสำเร็จกับความคิดตรงนั้น ในความเป็นจริงนั้น ตัวความคิดใหม่ๆ (idea) ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นทันที ทันใดจากความเป็นอัจฉริยะส่วนบุคคลของคนแต่ละคน และไม่ได้เป้นเสียงแว่วในจิตนาการของเราเองเหมือนมีเทพมาบอก ความคิดใหม่ๆล้วนเกิดขึ้นจากความพยายามของบุคคลที่ เข้าไปทำการค้นคว้า วิจัย และทดลอง เป็นการพยายามทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า ครั้งแล้วครั้งเล่า ความคิดใหม่ๆ นั้น เป็นนั้นเป้นสิ่งที่เกิดขึ้นมาโดยธรรมชาติจากกรรมวิธีที่ยากที่จะจดจำช่วงเวลาได้ว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ นี่คือความคิดของข้าพเจ้าเองที่จะหลีกหนีจากพันธนการของคำว่า Creation – สำหรับข้าพเจ้านั้น ศิลปินทั้งหลายนั้นไม่ใช่ผู้ที่มี พรสวรรค์ (Gift) แต่อย่างใด แต่เขาเหล่านี้เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในระเบียบวิธีการ และเหตุผลของการฝึกหัดทั้งในความคิดและจิตวิญญาณอย่างแท้จริง ในการที่จะทำงานด้านต่างๆ ของเขาเหล่านั้นต่างหาก (Piano ใช้คำว่า Tekne’ หมายถึง art (in the sense of 'way of doing')
Obligation of the Architects
สถาปัตยกรรมเป็นศาสตร์ทางศิลปะที่ค่อนข้างจะอันตราย และเป็นผลลัพธ์ที่คนจะต้องเห็น (Imposed Art) คุณไม่จำเป็นที่จะต้องอ่านหนังสือที่เขียนไม่ดี คุณไม่จำเป็นต้องฟังเพลงที่ไม่ไพเราะ แต่อาคารที่คุณต้องเดินผ่านทุกๆ วัน คุณเลือกที่จะไม่มองมันไม่ได้ คุณไม่มีทางเลือก และถ้าหากคุณต้องเป็นผู้ที่ใช้อาคารนั้น ก็จะกลายเป็นฝันร้ายในระดับที่สูงขึ้นไปอีกดังนั้นความรับผิดชอบของสถาปนิกจึงค่อนข้างที่จะหนักหนาสาหัส เนื่องจากผลที่อาจจะเกิดขึ้นยาวนานไปถึงชั่วลูกชั่วหลานอันนี้ สิ่งที่กล่าวมานี้ไม่ใช่ความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าเองแม้แต่น้อย แต่เป็นสิ่งที่จะช่วยขยายมุมมองของภาพสะท้อนที่เรามองตัวเองอยู่ภาระหน้าที่ผูกพันธ์ของเรา (Obligation) คืออะไร? Pablo Neruda (นักประพันธ์และนักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศ ชิลี) ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ที่เป็นกวีนั้น จะพูดและเขียนอะไรเป็นบทกวีเสมอ เนื่องจากไม่มีวิธีใดอื่นแล้วสำหรับเขาและเธอผู้นั้นที่จะแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนเองออกมา และถ้าเป็นสถาปนิก สำหรับข้าพเจ้าเองนั้น ข้าพเจ้าก็ไม่ชอบที่จะมาป่าวประกาศอะไรมากมายแล้วไม่ทำอะไรให้เห็นเป็นชิ้นเป็นอัน ข้าพเจ้าจะบอกสิ่งที่ข้าพเจ้าคิด และจะสร้างมันให้เห็น ข้าพเจ้าต้องการที่จะสืบสานความยิ่งใหญ่ของแนวทางการประกอบวิชาชีพของเรานี้ โดยที่ไม่ได้มีสิ่งอื่นใดไปนอกจากเป็นการให้บริการที่มีคุณภาพต่อสังคม แต่แม้กระทั่งให้สถาปนิกมากมายเปลี่ยนมายึดถือความคิดนี้กันหมด ตัวสถาปนิกเองก็อาจจะตกอยู่ในอันตรายได้อยู่ดี เนื่องจากโลกในอุดมคติ (Utopia) ที่สถาปนิกคิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็นเหมือนโลกในอุดมคติของคนในวงการอื่นๆ เนื่องจากจะต้องเป็นโลกที่จะต้องนำมาสร้างให้เป็นความจริง Vision ที่สถาปนิกขึ้นมาเกี่ยวกับโลกนั้น จะต้องกลายมาเป็นโลกจริงๆ ในที่สุด และด้วยความรับผิดชอบขนาดนั้น อาจทำให้สถาปนิกคิดไปถึงขนาดที่ว่า ข้าคือคนกำหนดอนาคตของโลก หรืออย่างน้อยที่สุดก็คือ ข้าเป็นผู้ที่จะต้องกระตุ้นให้ระบบดำเนินไป ข้าพเจ้าคิดว่า งานของเรานั้นล้วนแต่เป็นโครงการที่ไม่มีวันทำเสร็จ เนื่องจากเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่เราจะต้องมีการปฎิวัติเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เกิดวิวัฒนาการ (evolution) อยู่อย่างต่อเนื่อง สถาปนิกเป็นผู้จุดประกายให้เกิดการเคลื่อนไหว แต่เราก็ไม่สามารถไปคาดเดาอนาคตได้ว่าจะออกมาในรูปแบบใด และนั่นคือเหตุผลที่่ว่า การเริ่มต้นใดๆนั้นจะต้องอยู่บนรากฐานที่แข็งแรง เพราะนั่นคือที่ๆ สถาปนิกจะได้ทุ่มเทจิตคุณค่าของจิตวิญญาณที่ตัวเองมี ลงไปในสิ่งที่เขาทำอยู่
The Culture of Doing
ข้าพเจ้าเกิดในครอบครัวที่เป็นผู้รับเหมา่ก่อสร้าง ตั้งแต่คุณปู่ คุณพ่อ และพี่น้องทั้งหมด ข้าพเจ้าจริงๆแล้วก็ควรจะไปร่วมอยู่ในนั้นด้วยแต่ในที่สุด ข้าพเจ้าได้ตัดสินใจว่าอยากจะเป็นสถาปนิกมากกว่า สำหรับพ่อของข้าพเจ้าเมื่อได้ฟัง ก็คงจะรู้สึกได้ถึงสัญญาณแห่งการแตกแขนงของความเป็นปึกแผ่นทางวิชาชีพของครอบครัวออกไป ข้าพเจ้ารู้ว่าอะไรคือสิ่งที่พ่อของข้าพเจ้าอยากเห็นมากที่สุด เนื่องจากท่านเป็นผู้รับเหมาที่ไม่มีปริญญา สิ่งที่ท่านอยากเห็นคือความเป็นผู้รับเหมาที่มีปริญญาของลูกๆ นั่นคือการพัฒนาในครอบครัวที่ท่านอยากเห็น ดังนั้สำหรับทางเลือกของข้าพเจ้านั้นจึงถือว่าอยู่เหนือความคาดหมายเล็กน้อย เคยมีคนบอกไว้ว่า สิ่งที่เรารู้ทุกๆอย่างนั้น มาจากการที่เราได้เรียนเมื่อตอนที่เราเป็นเด็กๆ และชีวิต จริงๆแล้วก็คือการค้นหาสิ่งใหม่ๆ โดยขุดลึกลงไปในความทรงจำต่างเมื่อเราเป็นเด็ก ข้าพเจ้าเองก็นำสถาณภาพของครอบครัวตรงนี้มาพิจารณาในเรื่องของการศึกษาต่อเป็นอย่างมาก เพราะข้าพเจ้าเองก็รำลึกได้ดีว่า สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในวัยเด็กที่เติบโตมานั้นมีผลกับข้าพเจ้าเป็นอย่างมาก เหมือนกับลูกหลานที่เิิกิดในคณะละครสัตว์ สักวันก็ต้องห้อยโหนโจนทะยานบ้าง ไม่มากก็น้อย ชีวิตวัยเด้กของข้าพเจ้า จากการที่เกิดมาเป็นลูกของผู้รับเหมาก่อสร้าง และโตมาใน site ก่อสร้างนั้น ทำใ้ห้ข้าพเจ้าเิิกิดแรงบันดาลใจและมีความประัทับใจในเรื่องของการก่อสร้างตั้งแต่เล็ก และถ้าหากจะูพูดให้ตรงไปกว่านี้ ก็อาจจะเรียกได้ว่า ประทับใจในเรื่องของ “วัฒนธรรมการลงมือทำ” (Culture of Doing) ซึ่งเป็นปรัชญาที่ข้าพเจ้าได้ยึดมั่นมาตลอดชีวิตของข้าพเจ้า
เป็นเรื่องปกติสำหรับสถาปนิกใหม่ที่มักจะอยากเริ่มต้นงานด้วย style ของตนเอง แต่สำหรับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเลือกที่จะเริ่มจากการลงมือทำก่อน (doing) โดยการศึกษาพื้นที่ก่อสร้าง การทำความรู้จักกับวัสดุก่อสร้าง ความรู้ทางระบบการก่อสร้าง ฯลฯ การเดินทางในโลกสถาปัตยกรรมของข้าพเจ้าเป็นการเดินผ่านเส้นทางในด้าน เทคนิค เป็นหลัก และหลังจากนั้น มันจึงได้นำข้าพเจ้ามาสู่ความเข้าใจในความสลับซับซ้อนของ ของที่ว่าง(space) การสื่อความรู้สึก (expression) และรูปทรง (form) ในช่วงแรกหลังจากที่ข้าพเจ้าจบการศึกษา ประมาณปี 1964 – 1968 เป็นช่วงเวลาของการทดลองความคิด ข้าพเจ้ารู้สึกได้ในตอนนี้ว่า ช่วงนั้นเป็นเวลาที่สำคัญมาก แม้ว่าข้าพเจ้าจะไม่มีงานออกแบบใดที่ได้สร้างเลยก็ตาม อาจจะเรียกได้ว่า เป็นการใช้เวลาเพื่อลองอะไรบางอย่างไปเรื่อยๆ และต่อเนื่อง เพื่อหลีกหนีให้พ้นจากแนวคิดที่ว่าจะต้องไปเป็นอาจารย์สอนสถาปัตย์ ที่ข้าพเจ้าไม่อยากเป็น ก็ได้ข้าพเ้จ้ายังจำได้เมื่อครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้ไปที่ site ก่อสร้างเป็นครั้งแรกกับบิดาของข้าพเ้จ้าเมื่อครั้งที่ยังเป็นเด็กเล้กๆ ประมาณ 10 ขวบ สำหรับข้าพเจ้าแล้ว site ก่อสร้างเป็นเหมือนพื้นที่ๆ มีปาฏิหารย์ เพราะวันหนึ่งข้าพเจ้าเห็นแต่กองทรายและกองอิฐ แต่ในเวลาต่อมา ข้าพเจ้ากลับได้เห็นกำแพงที่ตั้งตรงในตัวของมันเองได้ และในที่สุด ก็กลายเป็นอาคารที่สง่างามที่คนเข้าไปอาศัยได้ข้าพเจ้าไม่เคยลืมภาพของบิดาข้าพเจ้า ความสัมพันธ์ระหว่างเราสองคนแน่นแฟ้นมาก เมื่อครั้งหนึ่ง เมื่อท่านอายุได้ประมาณ 80 ปี ข้าพเจ้าได้พาท่านไปยัง site ก่อสร้างแห่งหนึ่งของโครงการที่ข้าพเจ้าออกแบบ โครงการนั้นเป็นโครงการที่ใช้ระบบ Tensile Structure และในวันนั้นก็เป็นวันที่จะทดสอบโครงสร้างพอดี บิดาของข้าพเจ้าสูบไปป์อย่างเงียบงัน ไม่กล่าวว่าอะไร จนในทางที่กลับบ้านเมื่อเรานั่งอยู่บนรถด้วยกัน ข้าพเจ้าอดไม่ได้ที่จะถามท่านว่า ท่านคิดอย่างไรกับงานของข้าพเจ้า ท่านตอบกลับมาสั้นๆ ว่า “ไม่รู้ว่ามันจะอยู่ได้มั้ย” - ทำให้ข้าพเจ้าแอบยิ้มในใจ ว่าข้าพเจ้าเดาถูกว่าท่านจะต้องคิดเช่นนั้น
The Magic of Building Siteข้าพเจ้ายังคงชอบสถานที่ก่อสร้างอยู่เสมอ ข้าพเจ้าคิดว่ามันเป็นสถานที่ๆ มีความพิเศษอยู่ ด้วยทุกสิ่งทุกอย่างนั้น มีการเคลื่อนไหวอยุ่เสมอ สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนไปตลอดเวลา มันเป็นการผจญภัยที่น่าสนใจทีสุดของมนุษย์จริงๆ และข้าพเจ้าเองก็ภูมิใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมัน สถานที่ก่อสร้างเหล่านี้เป็นที่ๆ เราจะได้ค้นพบอะไรใหม่ๆอยู่เสมอ ใครที่คิดว่า แบบแปลนที่เราเขียนๆ กันนั้น ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างไว้แล้วละกัน นั่นเป็นความเข้าใจผิดอย่างมนันต์ การที่เราได้เข้ามาอยู่ใน site จะทำให้เราเห็นความสำคัญก่อนหลังของขั้นตอนที่เกิดขึ้นซึ่งเราไม่มีทางเห็นในแบบ ในความเป้นจริงแล้ว เราอาจจะบอกได้ว่า กระบวนการก่อสร้างนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด ข้าพเจ้าเชื่อว่าอาคารก็เป็นเหมือนกับเมือง ที่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่มีวันจบสิ้น เราต้องระวังตัวให้ดีๆ ไมให้ตกอยู่ในหลุมพรางของแนวความคิดเกี่ยวกับ ความสมบูรณ์แบบอย่างที่สุด (perfection) ที่เอาอะไรออกไปและเติมเข้ามาไม่ได้แล้ว นั่นเป้นความคิดที่ไม่ถูกต้อง สถาปัตยกรรมนั้นเปรียบได้เหมือนกับสิ่งมีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของการใช้สอยและผู้ที่เข้ามาใช้สอย เรามีความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมด้วยเส้นด้ายแห่งกิจกรรมที่เกิดขึ้น โดยจะมีการเคลื่อนที่ไม่อย่างไม่มีที่สิ้นสุดแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องการก่อสร้างไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนี้ หรือจะเรียกได้ว่า งานที่ไม่มีวันสมบูรณ์นี้ อาจจะนำไปสู่แนวคิดอีกแนวที่ว่า งานสถาปัตยกรรมเป็นงานที่มีตำหนิก็ได้ ตำหนิที่เกิดขึ้นก็เกิดมาจากสิ่งที่น่าเกลียดทั้งหลายในชีวิตเรา เงินตรา อำนาจ ความไม่มั่นใจ ต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันมันก็เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับความงาม ความสุข ความมีเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ การสร้างสรรค์ที่ดีความมีตำหนิเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ วิชาชีพของเราหยิบยื่นให้เรามา และเราเองจะต้องพิจารณาว่ามันเป็นข้อจำกัดที่ทำให้เราลำบากหรือเป็นของขวัญที่ทำห้ชีวิตเราตื่นเต้นขึ้น เพราะสำหรับข้าพเจ้า อุปสรรคทั้งหลายแหล่ที่เราต้องฝ่าฟันนั้น คือสิ่งที่ทำให้งานยิ่งมีคุณค่ามากขึ้น เป็นการเปิดทางเลือกอื่นๆ ที่เราไม่เคยค้นหามาก่อน และน่าจะนำไปสู่ความก้าวหน้าในที่สุด
Curiosity and Disobedience
ท้องทะเล - เป็นผิวหน้าอันหนึ่งของโลกเรา แต่มันเป้นผิวหน้าที่เรารู้จักน้อยมาก ข้าพเจ้าเคยคิดว่า ความสงสัยใคร่รู้ (Curiousity) ของตัวข้าพเจ้าเองนั้น น่าจะมาจาก การเิดินอยู่ริมชายหาด มองเห็นทะเลอันกว้างใหญ่ ข้าพเจ้าจำได้ว่าข้าพเจ้าเป็นเด็กช่างสงสัย แหกคอก และไม่ค่อยเชื่อฟัง (Disobedience) ผู้ใหญ่มาแต่ไหนแต่ไร ในโรงเรียนนั้น คุณครูจำข้าพเจ้าได้ในฐานะีที่เป็นเด็กที่ถือว่าเป็นตัวปัญหาคนหนึ่งสำหรับข้าพเจ้าเอง คิดว่ามันมีความเกี่ยวข้องอะไรบางอย่างระว่างความไ่ม่เชื่อฟัง กับกา่รเป็นอิสระทางความคิด สิ่งที่ค่อยๆ เปลี่ยนไปตั้งแต่วัยเยาว์เป็นต้นมาคือ ความเป็นเด็กดื้อ ไปสู่การคิดด้วยตัวเองอยู่อย่างสม่ำเสมอและพัฒนากลายไปเป็นปัญญาของข้าพเจ้าไป และนั่นก็สามารถที่จะพบเห็นได้ในงานของข้าพเจ้าตัวอย่างเช่น Centre Pompidou นั่น เป้นตัวอย่างของการ แหกคอกในทางวัฒนธรรมที่ดีที่สุด อันหนึ่ง มันเป็นการปฎิเสธที่จะเอารูปแบบเดิมๆที่มีอยู่ในภาพพจน์ของคนทั่วๆไป เข้าไปว่างเพิ่มในเมืองที่แทบจะท่วมไปด้วยความทรงจำอันมหาศาลของตนเองอยู่แล้ว นี่เป็นการโจมตีทางเอกลักษณ์เข้าสู่ความคิดดั้งเดิมของ ความเป็นพวกอนุรักษ์นิยมสุดกู่ที่มีอยู่มาแต่เดิมๆ โดยตรง ที่น่ามหัศจรรย์ก็คือ เราได้รับการตอบรับจากกรรมการที่ตัดสินการประกวดนี้ ท่ามกลางผู้เข้าประกวดถึง 700 รายจริงๆแล้วข้าพเจ้าน่าจะโทษ Centre Pompidou นี้หรืออาจจะเรียกว่า เป็นดวง ของข้าพเจ้าก็ได้ ที่หลังจากนี้ อีกหลายสิปปี ข้าพเจ้าถูกกีดกันออกจากชุมชนวิชาชีพ จากสมาคม และสถาบันการศึกษาต่างๆ เนื่องจากงานชิ้นนั้น แต่ยังไงข้าพเจ้าก็ยังมีความสงบในจิตใจที่อยู่และมีความสุขใจในตัวเองอยู่พอสมควรข้าพเจ้าเคยคิดถึงอยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับเรื่องราวของ Jean Prouve’ ผู้ซึ่งเป็นลูกศิษย์เอก คนสุดท้ายของ Le Corbusier เขาผู้นี้เป็นผู้ที่อยู่นอกวงการศึกษาของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่อย่างแท้จริง เขาเป้นผู้ที่ก้าวมาสู่การเป็นสถาปนิกจากการฝึกงานกับตัว Le Corbusier เองล้วนๆ โดยที่ไม่มี ปริญญาบัตร ข้่าพเจ้าเคยปรึกษากับเพื่อนว่า จะจัดพิธีมอบปริญญาบัตร กิติมศักดิ์ให้เขา แต่เขาก็ตอบปฎิเสธเรื่อยมา จนวันหนึ่งเขาก็ได้พูดกับข้าพเจ้าตรงๆว่า “นี่ Renzo ฉันขอบใจเธอมาก ฉันรู้สึกเป็นเกียรติมากจริงๆ แต่ช่วยทีเถอะ อย่าให้ฉันรับไอ้ปริญญานี่เลย ให้ฉันตายแบบดื้อด้านของฉันแบบนี้เถอะ” เขาต้องการที่จะตายในสถาณภาพที่เขาเชื่อมั่นในความทรงคุณค่าของมันมาตลอดชีวิตของเขา ดีกว่าการที่จะได้รับ degree ปลอมๆ
Genoa
มีหลายภาพในความทรงจำของข้าพเจ้าที่ มักจักย้อนกลับมาในใจของข้าพเจ้าเสมอ ข้าพเจาเรียกมันว่า “Postcard from the Past” ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมาจากความทรงจำที่ เมือง Genoa บ้านเกิดของข้าพเจ้า Paolo Conte (.....) กล่าวไว้เกี่ยวกับ Genoa ว่า เหมือนกับแสงอาทิตย์ที่สาดส่องมาจากกระจก และ ทุกคนจะสามารถเห็นทะเลที่เคลื่อนไหลได้ตลอดเวลา แม้ในยามค่ำคืน ซึ่งพอพูดถึง แสง และทะเลแล้ว ก็หมายความถึงท่าเรือนั่นเองท่าเรือเป็น ภูมิทัศน์ที่มีทั้งความอลังการและการคงอยู่ที่สั้นมาก การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา ภาพสะท้อนบนน้ำ การยกของขึ้นลงจากเรือ ปั้นจั่นที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา และแน่นอน เรือที่เข้าออกตลอดเวลา จากที่ไหนสักแห่งในโลก และไปสู่ที่ไหนสักแห่ง เมื่อหลายปีก่อนมี นักวิจารณ์งานศิลปะ Giovanni Carandente บอกช้าพเจ้าว่า Centre Pompidou นั้นดูเหมือนจะเป็นงานที่มีบรรยากาศของความเป้นท่าเรืืออยู่ไม่น้อย ข้าพเจ้าไม่เคยนึกถึงมันในแง่นี้มาก่อน แต่พอมานั่งคิดดูอีกที มันอาจจะเป็นจริงก็ได้ อีกที่หนึ่งที่เป็น Postcard from the past ของข้าพเจ้า ก็คือ ใจกลางเมืองที่เป็นบ้านเรือนเก่าๆ หรืออาจจะเรียกว่าเป็นโบราณสถาณก็ได้ เป็นความรู้สึกที่น่าอบอุ่น สงบ และเหมือนจะคงอยู่ตลอดไป ซึ่งเป็นความรู้สึกตรงข้ามกับท่าเรืออย่างมาก ข้าพเจ้ามีความรู้สึกที่ทั้งรักและทั้งเกลียดเมือง Genoa นี้ ข้าพเจ้าไม่คิดว่าข้าพเจ้าจะใช้ชีวิตอยู่ได้นาน ข้าพเจ้าชอบที่จะอยู่ใน Paris หรืิอ London มากกว่า แต่ว่าข้าพเจ้าเองก็อยากที่จะกลับมาที่นีได้ทุกๆครั้งที่ต้องการ
The Conditions for Creating
ในฐานะที่เป็นสถาปนิก ข้าพเจ้ามีความเชื่อตลอดมาว่า สถาน(Place) นั้น เป็นสิ่งที่ มีผลต่อ การรับรู้ อารมณ์ และ กิจกรรมของผู้คน ดังนั้น ณ จุดหนึ่งของชีวิตของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ถามคำถามตัวเองว่า ที่ๆข้าพเจ้าควรจะทำงานนั้น ควรจะเป็นสถาณที่แบบใด มีลักษณะอย่างไร การที่จะสร้างสรรค์อะไรอย่างหนึ่งเป้นสิ่งที่ยากอยู่แล้ว การที่เราจะนำตัวเองเข้าไปอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมต่อการที่จะคิดสร้างสรรค์อะไรสักอย่างนั้นเป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่า เราต้องการความสงบ ความเงียบ แต่เราก็ต้องการ ความกดดันเล้กน้อย และพลังจากรอบด้านด้วย เราต้องการเวลาที่ดำเนินไปตามระบบแต่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ในที่สุด UNESCO Laboratory and Workshop ก็ได้ เกิดขึ้นมา บนชายผั่งตะวันตกของเมือง Genoa ต้้งอยู่บนหินและห้อมล้อมด้วยทะเล ตัวมันเองนั้นเหมือนเป็นหิน และเรือในขณะเดียวกัน และในความเป้นจริง ที่แห่งนี้ถูกเรียกว่า Punta Nave: Ship Rock ณ ที่นี้ ข้าพเจ้าค้นพบความสงบ และสมาธิ ซึ่งเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการเป็นอย่างมากในการทำงานข้าพเจ้ามักจะต้องกล่าวป้องกันตัวเองเสมอว่าที่นี่ไม่ใช่ ถ้ำของฤาษีที่ตัดขาดจากโลกภายนอกแต่อย่างไร เนื่องจากมีผู้คนจากหลายชาติหลายภาษาทำงานอยู่ที่นี่ มีการติดต่อประสานงานกับทุกมุมโลกอยู่ตลอดเวลา โดยที่มีสำนักงานร่วมในที่อื่นๆ ได้แ่ก่ Osaka, Noumea และ Sydney ข้าพเจ้าเชื่อว่า มนุษย์เรานั้น ต้องการที่จะอยู่มากกว่า 1 ที่ในเวลาเดียวกัน และเราก็ทำได้ในระดับหนึ่งในปัจจุบันนี้ ด้วยการช่วยเหลือของ Technology แต่เราไม่ได้ไปที่นั่นจริงๆ (Physical) ดังนั้นจึงเกิดคำว่า เสมือน(Virtual) ขึ้นมาTechnology เหล่านี้เป็นของหรูหรามาก สำหรับข้าพเจ้า เป็นเหมือนของขวัญพิเศษ ทั้ง โทรศัพท์ โทรสาร โมเด็ม อินเตอร์เน็ท ของเหล่านี้ทำให้ข้าพเจ้ามาอยู่ริมทะเลอันห่างไกลนี่ได้การทำงานใน Punta Nave ของข้าพเจ้านั้น แน่นอนว่ามีความสัมพันธ์บางอย่างย้อนไปกับความรู้สึกของ Postcard from the past แต่มีเหตุผลอื่นก็คือ ข้าพเจ้ามีความรักในคำว่า Workshop ที่เป็นการสื่อถึง ความเป็นสถานที่สำหรับ งานฝีมือ (Craftsmanship) และเทคโนโลยี ระดับสูงที่เรานำมาใช้ร่วมกัน ความกล้าที่จะลอง ความอดทนที่ต้องทุ่มเทให้ ความแน่วแน่ การทำงานเป็นทีม และ ความเป็นส่วนตัวที่ทำให้เกิดสมาธิแต่ในขณะเดียวกัน ข้าพเจ้าก็ชอบ Paris ข้าพเจ้าชอบที่ทำงานของข้าพเจ้าใน Marais ข้าพเจ้าชอบเดินไปใน ย่านต่างๆ ในช่วงเช้าวันอาทิตย์ ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าได้ทักทายกับผู้คน และเห็นการใช้ชีวิตของคน การพบปะกับคนนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกๆ คนควรจะมีประสบการณ์ เช่นเดียวกับความรู้สึกเหมือนผู้อพยพในดินแดนต่างๆ ที่เราไม่รู้จักเป็นครั้งคราว สำหรับ Paris นั้น ข้าพเจ้ารู้สึกว่า การพบปะผู้ึคนนั้น เป็นกิจกรรมที่มีความหนาแน่นที่สุดเทียบกับเมืองอื่นๆ ส่วน Punta Nave นั้นเป็นความสันโดษ ที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงทั้งหมดนี้ ชีวิตก็เหมือนเป็นงานก่อกระเบื้อง Mosaic ขนาดใหญ่ชิ้นหนึ่ง ซึ่งเราต้องเข้าไปทำงานอย่างใกล้ชิดในทุกๆ รายละเอียด กระเบื้องแต่ละแผ่นต้องลงไปอยู่ ณ ที่ๆ เราต้องการอย่างชัดเจน แต่ บางครั้งบางคราว เราก็ต้องถอยออกมาไกลๆ หน่อยเพื่อให้เห็นภาพรวม Marais นั้นเป็นความโกลาหลของชีวิต ที่เหมือนกันการเข้าไปดูใกล้ๆ ส่วน Punta Nave นั้นเป็นเหมือนกับ บัลลูนที่พาข้าพเจ้าไปอยู่ในที่สูงๆ เพื่อให้เห็นวิวทิวทัศน์ทั้งหมด
Architecture is a Patient Game
มีหลายโอกาสในชีวิตของคนคนหนึ่งที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ปัญญา และมีอีกหลายโอกาสที่จะต้องใช้มันอย่างมา สิ่งที่ข้าพเจ้าทำคือ ใช้ปัญญาเข้าไปเกี่ยวข้องให้น้อยหน่อย แต่ใช้ความรู้สึกและสัญชาติญาณมากหน่อย โดยที่ข้าพเจ้าไม่ต้องการทำให้งาน Mosaic ชิ้นนี้ เป็นเหมือนการถูก Program ขึ้นมา หรือ เป็นสิ่งที่แสดงอุดมคติ ข้าพเจ้าสนใจแค่ให้มันใช้การได้สำหรับข้าพเจ้าเท่านั้นสถาปัตยกรรมนั้น เป็นเหมือนเกม เป็นเกมที่ต้องการความอดทนเป็นอย่างสูง งานของเราไม่มีทางที่จะกลายเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาภายในเวลาอันสั้น งานของเราไม่ควรที่จะทำอย่างรีบร้อน ไม่มีใครควรพูดว่า “เออ มันทำกันแบบนี้ล่ะ มันต้องใช้การได้แน่” เราควรจะรอให้แนวความคิดต่างๆ ที่เราคิดออกมานั้น ได้รับการตรวจสอบและมองจากในหลายๆ มุมก่อน อาจจะใช้คำว่า รอให้แนวความคิดมัน “บ่ม” ตัวเองก่อนก็ได้ เหมือนกับ ไวน์ ซึ่งมีกรรมวิธี ที่ดีที่สุดอยู่วิธีเดียว ออกมาจากความไม่รีบร้อน การที่จะได้แนวความคิดที่ดีที่สุดนั้น ต้องมาจากการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ให้เวลากับการตัดสินใจมากๆ แล้วแนวความคิดที่ดีที่สุดจะมาอยู่บนจุดสูงสุดในสายตาทุกๆคนเอง โดยไม่สำคัญว่าจะมาจากใครก็ตาม มีคนหลายคนพูดกันมากเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม ซึ่งมันควรจะหมายถึงอะไร ถ้ามันหมายถึงการทำงานโดยที่ คนๆ หนึ่ง ทำงานออกมา แล้วส่งต่อให้คนอีกคนหนึ่งที่ทำงานด้วยข้อจำกัดมากขึ้น แล้วส่งต่อไปอีกคนที่ต้องเจอข้อจำกัดมากขึ้นไปอีก ไปเรื่อยๆ เช่นนี้ นั่นไม่ใช่สิ่งที่ข้าพเจ้าหมายความถึงแม้แต่น้อยการทำงานเป็นทีม คือการที่ท่านโยนแนวความคิดลงไป แล้วมันเด้งกลับมาหาท่านเหมือนการเล่น ปิงปอง เราอาจจะเล่นกันสองคน สีคน หกคน หรือแม้แต่แปดคนก็ได้ ถ้ามีการจัดการระบบที่ดี ลุกจะเดังไปมาระหว่างคนเหล่านี้ และอาจจะใช้ลูกได้ถึง 8 ลุกเช่นกัน สิ่งที่เกิดขึ้นจะซับซ้อนและเชื่อมสัมพันธ์กันเป็นอย่างมากจนเมื่องานออกมาจริงๆ เราก็บอกไม่ได้แล้วว่า แนวความคิดส่วนไหน มาจากใคร
Trying Over and Over Again
การออกแบบนั้นไม่ใช้ ระบบการทำงานเป็นเส้นตรง จากขึ้นที่ 1 ไปสู่ขั้นที่สองไปเรือย แต่มันเ็็ป็นเหมือนการทำงานเป็น วงกลม (Cycle) โดยที่ เมื่อ แนวความคิดถุกผลิตออกมา ก็จะถูกนำไปวาด หรือสร้าง Model จากนั้นก็จะถูกนำมาวิเคราะห์ แล้วก็กลับไปพัฒนาความคิดใหม่ เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ถึงตามจุดประสงค์ ซึ่งจริงๆแล้ว ก็เป็นเหมือนกับวิธีการทำงานของวิชาชีพสาขาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น การแต่งเพลง การทดลองทางฟิสิกส์ ในการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์นั้น ท่านต้องทำงานกับสภาวะของตัวแปรที่มากมายและผลกระทบที่อาจจะทำให้ผลการทดลองเปลี่ยนไป ในความเป็นไปได้ทีไม่รู้จบ ดังนั้นเพื่อจำกัดความสับสน นักทดลองจึงตั้งตัวแปรคงที่ขึ้นมา เพื่อจำกัดความมากมายอันนั้น และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการได้ หลังจากได้ผลลัพธ์มาแล้วก็ต้องนำผลลัพธ์อันนั้นไปตรวจสอบตามจุดประสงค์ ถ้าใช้ไม่ได้ก็ต้องมาเิริ่มกันใหม่ว่าผิดตรงไหน อย่างไร แล้วกลับไปตั้งสมมุติฐานใหม่ แล้วก็นับหนึ่ง เมื่อการทดลองทำซ้ำไปเรื่อยๆ และมีการตรวจสอบไปเรื่อย วงโคจรของระบบการทำงานก็จะแคบลงๆ เหมือนกับเหยี่ยวที่บินล้อมจับเหยื่อ การที่ทดลองซ้ำไปเรื่อยๆ เช่นนี้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การแก้ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่เป็นวิธีการทำความเข้าใจกับตัวโครงการที่่เราทำงานอยู่มากขึ้น รวมทั้งหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ วัสดุ แสง และ เสียง อีกด้วย
Experimentation
เมื่อครั้งโบราณกาล การออกแบบนั้นเป็นเป็นระบบการทำงานที่ ก่อให้เกิดการค้นพบอื่นๆ ในระหว่างทางด้วยเช่นกัน เช่น Brunelleschi นั้น ได้ทำการสังเกตุระบบการเดินของนาฬิกา ซึ่งเขาได้นำไปใช้ในระบบแรงสมดุลย์ (Counterweight หรือ แรง Moment ในคาน) ซึ่งต่อมาได้นำไปใช้ในการสร้างโดมของ Florence Cathedral อันลือชื่อ ระบบวิธีการขึ้นตอนและผลลัพทธ์ (The means and the end) เป็นผลพวงที่มาจากการทดลองชิ้นเดียวกัน ณ วินาที่ที่เราทดลองนั้น ไม่ควรเป็น วินาทีเดียวกันกับที่เราทำการสร้างงานขึ้นมาจริงๆ แต่ควรจะไปเกี่ยวข้องกับการตีความในสิ่งที่เกิดขึ้น การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และ ความคิดสร้างสรรค์ เมื่อเราทำงานเป็นระบบวงโคจรที่กล่าวมาแล้ว หัวข้อเกี่ยวกับเทคนิคการก่อสร้างที่จะต้องทำให้งานเกิดขึ้นได้จริงนั้น จะกลับมาเป็นจุดสำคัญที่ต้องทำการแก้ปัญหาให้ได้อย่างครบถวนเสมอ วัสดุและการก่อสร้างจะกลับมาเป้นจุดสำคัญเสมอ เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าทำงาน Menil Collection ใน เมือง Houston รัฐ Texas ของ สหรัฐอเมริกา (ปี 1982) เราได้ทำการคิดค้นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่เราเรียกโดยตรงแบบทึ่มๆ ว่า Solar Machine ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้พวกเราใน Genoa เข้าใจตำแหน่งของดวงอาทิตย์ใน เมือง Houston ได้ นอกจากนี้เราได้สร้างโมเดลขนาด 1:10 ของ section อาคารแล้วนำไปวางไว้ในสวนเพื่อ ศึกษาการกระจายตัวของแสง (Diffusion - ไม่แน่ใจว่าแปลถูกหรือเปล่า ตรวจสอบกับผู้รู้ด้วย- ผู้แปล) โครงการอื่นๆ ที่ออกมาจาก office ของเราก็มักจะทำงานผ่านวิธีการเดียวกันนี้เช่นกัน เราต้องการทำงานด้วยความรู้ที่เรามี ไม่ใช่ความรู้ในการใช้สมองอย่างเดียว แต่เป็นความรู้ในการใช้มือด้วย ซึ่งฟังดูอาจจะเหมือนเป็นจุดมุ่งหมายในอุดมคติ เทียบกับระบบการทำงานของวิชาชีพเราในปัจจุบัน แต่ความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้เป็นเช่นนั้นแม่แต่น้อย การสร้างสรรค์อย่างเป็นอิสระเสรีนั้น เกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าท่านมีความตั้งใจที่จะ ใช้วัสดุ วิธีการก่อสร้าง และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ในวิธีการที่แปลกใหม่ออกไปนั้น จะมีจุดใดจุดหนึ่งในระหว่างทางที่ท่านจะต้องพูดออกมาว่า “เออ มันคงทำไม่ได้หรอก” เพราะมันไม่เคยมีใครทำมาก่อน แต่ถ้าท่านพยายามที่จะทำ ท่านสามารถไปต่อได้ และจะเป็นการเดินทางที่ เพิ่มระดับความเป็นอิสระทางความคิดของท่านที่จะไม่ยึดติด อยุ่กับข้อจำกัดใดๆ อย่างที่ท่านเคยเป็นมาก่อนเมื่อครั้งที่เราสร้าง Centre of Pompidou นั้น เราได้พยายามสร้างระบบโครงสร้าง จากเหล็กหล่อ พวกเราได้รับการต่อต้านจาก สหพันธ์เหล็กกล้าของฝรั่งเศสอย่างเต็มที่ โดยให้เหตุผลกับพวกเราว่า โครงสร้างแบบนั้นไม่มีทางอยู่ได้แน่ๆ แต่พวกเรามีความแน่ใจในสิ่งที่เราทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Peter Rice ผู้ซึ่งยืนยันถึงความแข็งแรงของโครงสร้างนี้ (วิศวกรโครงสร้างคู่ใจของ Renzo Piano - เป็นบุคคลสำคัญของโลกในเรื่องระบบโครงสร้าง - ผู้เขียน) ได้ทำการ ส่งแบบของโครงการนี้ ต่อไปให้ บริษัทเยอรมัน Krupp ซึ่งได้ทำการหล่อแบบโครงสร้างหลักให้ ซึ่งเป็นกรณีศึกษาอีกอันหนึ่งว่า ความเข้าใจที่ถูกต้องของโครงสร้างที่เรามีนั้น ได้ปลดปล่อยพันธนาการทางความคิดของการสร้างสรรค์ของเราให้เป็นอิสระและในความคิดที่ค่อนข้างแปลกประหลาดของข้าพเจ้านั้น ด้วยสิ่งที่ปนๆ มาในอดีตของข้าพเจ้า ทั้งเรื่อง Postcard from the past, เรีืื่่อง Site ก่อสร้าง เรื่อง Robinson Crusoe และดนตรี Jazz ข้าพเจ้าอยากจะแนะนำงานต่างๆ ในชีวิตข้าพเจ้า ด้วยวิธีการที่เหมือนกับท่านแนะนำงานของท่านให้เพื่อนท่านฟัง
No comments:
Post a Comment