จะเป็นไปได้มั้ยครับที่
สมาคมจะมีสถานีวิทยุ online ที่จะมาจัดรายการคุยกันเรื่องเกี่ยวกับวิชาชีพ ตั้งแต่เรื่อง trend เรื่อง ธุรกิจ เรื่อง ตลก เบาสมองในวงการใกล้เคียงกับเรา เรื่อง เกี่ยวกับ สาระต่างๆ ในต่างประเทศทุกๆ ประเทศ (สมาชิกของเรามีอยู่ทั่วโลก) โทรกันเข้ามา คุยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันสดๆ นอกจากนี้ยังเชิญ แขกพิเศษทั้งนอก และในวงการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิชาชีพของเรา เข้ามาคุยกันได้ แบบยาวๆ มีคนโทรเข้ามาถามคำถามได้ น่าจะเป็นรายการที่เป็นสาระเป็นส่วนใหญ่ มีเบาๆ สมองบ้าง แต่จะมีบันเทิงเป็นส่วนน้อย (จะไม่มีเลยก็คงไม่ได้ เพราะเราเป็นพวก สุนทรีย์ และสถาปัตยกรรมก็เกี่ยวข้องกับหลายๆ มุมในชีวิตธรรมดาทั่วๆ ไป (Lifestyle) เป็นอย่างมาก) ในด้านวิชาการ ก็จะเป็นที่ๆ ให้เด็กที่เรียนสถาปัตยกรรมทั่วประเทศไทย ส่งคำถามเข้ามาถามได้ จะมีผู้เชี่ยวชาญมาตอบ จะเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้เท่ากันมากขึ้น ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ไหน อาจจะมีการจัดประกวดแบบย่อย โดยสถานีวิทยุก็ได้
ผมว่าคนที่สนใจน่าจะมาคุยกัน ทีมที่น่าจะมาช่วยกันได้ ก็มีหลายๆ คน ท่านที่เป็นอาจารย์ พิเศษต่างๆ ที่ชอบสอนหนังสือ แต่อาจจะไม่มีเวลาเดินทางก็น่าจะใช้ Channel นี้ได้ เช่นพี่ยอดเยี่ยมก็จะได้คุยเรื่อง FTA อาจารย์เกชา ก็มาสอนเรื่อง งานระบบอาคารที่สถาปนิกควรรู้ อาจารย์อ๊อตโต้ สอนเรื่องวัสดุและเรื่องการก่อสร้าง
เวลาจะสอบ กส ก็เอาปรมาจารย์ มานั่งติวกันทาง วิทยุได้ และท่านที่อยู่ใน กระทู้ “รสนิยมสถาปนิก” ท่านเหล่านี้มีมุมมองเรื่อง Life Style ที่น่าสนใจมาก ส่วนผมเองก็ Contribute เรื่อง Trend และ เนื้อหาจากต่างประเทศได้ หรือถ้าจะแปลงานเขียนที่น่าสนใจก็จะได้อ่านแล้วพูดไปเลย จะเร็วกว่ามากที่จะเขียนแปล เป็นเดือน กว่าจะเสร็จ เพื่อนผมที่ทำงานในประเทศจีนบางคนก็อาจจะนำมุมมอง เรื่องความเป็นไปได้ของตลาดของการออกแบบในประเทศจีน น่าจะมานั่งคุยกัน รับรองได้ว่ามีเรื่องคุยกันไม่จบไม่สิ้นแน่ๆ
ใครมี Idea อะไรลองมา Brain Storm กันหน่อยสิครับ เผือจะเอาไปเสนอ สมาคมให้เป็นโครงการจริงได้
เท่าที่ผมดูคือ เทคโนโลยีมันไม่น่าแพงมาก การลงทุนที่ต้องใช้ กับประโยชน์ที่น่าจะได้มันมหาศาล แต่แน่นอน ว่าเราต้องมีกรอบนโยบายชัดเจน มีคณะกรรรมการควบคุมการใช้ และไม่อยากให้มี Sponsor อะไรทั้งสิ้น เพราะเกิดฟลุ้ค มีสถาปนิกฟังมากขึ้นมาก็จะมี access เข้ามามหาศาล กรรมการก็จะถูก approach เป็นที่ครหาอีก (มีเงินที่ไหนมีข่าวอื้อฉาวที่นั่น) หรือถ้าจำเป็นต้องมีจริงๆ ก็ต้องมีกฏกติกาการคัดเลือกที่เป็นธรรมมากๆ และทุกอย่างต้องเปิดเผยให้กับสมาชิก ถ้าจะระดมสมองในที่นี้ ลองคิดตารางเวลาเป็น หนึ่งอาทิตย์ อาทิตย์ละสี่ชั่วโมง รายการ ห้าโมง ถึง สามทุ่มดูก่อนดีมั้ยครับ คือที่ออกแนวนี้เพราะไม่อยากให้รบกวนเวลาทำงาน หรือบางท่านอาจจะคิดอีกอย่างว่า ทำงานสิดี จะได้มีวิชาการ เข้าทางกัน เวลา หลังเลิกงานจะเอาไว้บันเทิงกับดูข่าว ดูละคร ก็ตามใจนะครับ ลองมาคุยกันดู รายการที่ผมนึกออกตอนนี้ ก็น่าจะมีได้ประมาณนี้ นี่คิดเล่นๆ นะครับ
1. รายการ Architect and the Gang ตั้งชื่อเล่น มาสนทนาเรื่องปัญหาการทำงานกับ คนอื่นๆ เช่น Consult ทั้งวิศวกร Interior และการทำงานกับผู้รับเหมา การทำงานกับ เจ้าหน้าที่รัฐ
2. รายการ Going Global พูดถึงการไปหา project บุกตลาดต่างประเทศ มีตลาดที่ไหนบ้าง จีน อินเดีย เขมร ยุโรป อเมริกา พูดเรื่อง FTA เรื่องกฎการค้าต่างๆ ที่เราควรรู้
3. รายการ "ก้าวแรกสู่สถาปัตย์" อันนี้มุ่งสู่ผู้ฟังที่เป็นเด็ก อยากเรียนสถาปัตย์ โดยเฉพาะ
4. รายการ "สายตรงจาก......." อันนี้ ใครที่อยู่ต่างประเทศ มีอะไรจะ share ก็เข้ามาเล่นกันเลย ผมอยู่อเมริกา ใครอยู่อังกฤษ ใครอยู่ Singapore มา Share ความคิดกัน
5. รายการ "ข่าวสถาปัตย" ประกวดแบบที่ไหน มีอะไรออก มีอะไรสร้างเสร็จ
6. รายการ "Life Style" พวกเราเป็นพวกรสนิยมสูงรายได้ต่ำ ก็คือต้องหาอะไรถูกๆ มาทำให้ดูดีๆ จะทำยังไง รายการนี้น่าจะมุ่งไปตรงนั้น
7. รายการ ปูชนียบุคคล - พี่ยอดเยี่ยมเคยบอกว่า เด็กสมัยใหม่รู้ Know how เยอะ แต่ Know who น้อยมาก การที่เราจะเชิญผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการ เล่าให้ฟังถึงการพัฒนาสถาปัตยกรรมในอดีต มาจนถึงปัจจุบันก็เท่ากับเป็นการเรียสถาปัตยกรรมแบบ post modern กลายๆ เลย
8 รายการ Young blood อันนี้ เป็นพื้นที่ของนิสิต นักศึกษาสถาปัตย์ เชิญ เด็กที่ชนะ ประกวดแบบ อะไรที่ไหน รุ่นใหม่ๆ ที่อยากแจ้งเกิด มาออก หรือจะเป็นกิจกรรมคณะก็ได้
9. รายการหมอบ้าน " คราวนี้ Convert มาไว้ช่องนี้เลย" มุงไปที่ประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ต้องรองานอาษาแล้ว มาที่นี่เลย จะได้ทำให้ อาจารย์เชี่ยวตกงานได้ซะที
10. รายการ "Knowledge 360" ความรู้ ทางสังคมที่ไม่เกี่ยวกับสถาปนิกโดยตรง แต่ศาสตร์ของเรากว้างมาก น่าจะเป้นรายการเบ็คเตล็ด เชิญบุคคลสำคัญในประเทศมาออก ให้ความรู้ในสาขาอื่นๆ ที่กว้างขวางมากขึ้น เช่น ทนายความ แพทย์ ครู และอื่นๆ
11. รายการ Computer Tech อันนี้ให้ คุณ K9 ไปเลย แต่ช่วนหาคนแปลไทยเป็นไทยมาทำรายการร่วมด้วย
12. รายการที่น่าจะสำคัญที่สุด "Financial Architect" สอนสถาปนิกเรื่องการเงิน การจัดการธุรกิจ การบริหาร การตลาด น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับ Freelance และคนที่อยากจะเปิด office เอง
13. "สถาปนิกช่วยสถาปนิก" ให้เป็นที่ระบายอารมณ์ คุยเรื่องอะไรก็ได้ กลุ้มใจอะไร เรื่องอะไร การงาน ชีวิตส่วนตัว มาแก้ปัญหากัน หรืออะไรแนวนี้ อันนี้คิดเล่นๆ นะครับ อย่างที่เห็นว่า คงต้องใช้กำลังคนมหาศาล และรายการน่าจะเป็น อาทิตย์ละครั้ง หรือาทิตย์เว้นอาทิตย์ งบประมาณก็คง ต้องมาจากสมาคม อันนี้ หลายท่านอาจจะบอกว่า เออ งั้นก็คงต้องมี sponser แน่ๆ ก็ ต้องลองมาดูความเป็นไปได้กันครับ
Thursday, June 15, 2006
บทความแปล: "Warchitecture" by Rem Koolhaas
แปลจาก International Institute of Asian Studies Newsletter ฉบับที่ 39 – ธันวาคม ปี 2005
(คำนำโดย บรรณาธิการ)
ใน การประชุม ของ International Institute of Asian Studies (IIAS) ที่ประเทศ Netherlands การบรรยายหลักของคน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนนั้น เป็นของ Rem Koolhaas สถาปนิกชาวดัชท์ ที่มีชือเสียงระดับโลก เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย Harvard เป็น ผู้ก่อตั้งสำนักงาน Office of Metropolitan Architecture (OMA) และ AMO (ไม่แน่ใจว่าย่อมาจาก Architecture Media Organization หรือเปล่า – ใครทราบช่วย Confirm ด้วยครับ – ดร.พร) ซึ่งทั้งสองเป็น เหมือนกับ สมองกล หรือที่มาของ idea อันบรรเจิดมากมาย โครงการที่ Rem Koolhaas ออกแบบตัวอย่างเช่น Kunsthal แห่งเมือง Rotterdam, Guggenheim Museum แห่งเมือง Las Vegas สหรัฐอเมริกา, Prada Boutique แห่ง Soho ณ กรุงนิวยอร์ค, Casa a Musica แห่ง Porto ประเทศ โปรตุเกส, Seattle Public Library ที่เมือง Seattle สหรัฐอเมริกา และ แน่นอน สำนักงานใหญ่ สถานีโทรทัศน์ CCTV แห่ง กรุงปักกิ่ง งานเขียนของเขาก็มีตั้งแต่ Delirious New York, a retroactive manifesto (1978) จนถึง S,M,L,XL ที่หน้าถึง 1500 หน้า (1995), Great Leap Forward (2002) และ Harvard Design School Guide to Shopping (2002) และล่าสุดคือ Content (2005) โดย ใน Newsletter ฉบับนี้ เราได้พยายามค้นหาว่า ทำไม Rem Koolhaas ในหนังสือเล่มล่าสุด ถึงได้พยายามพาพวกเราไปค้าหาโลกตะัวันออก (ใช้คำว่า Go East – ดร.พร) ทำไมเขาจึงมีความประทับใจมาจนชั่วชีวิตกับเมืองในเอเชีย ทำไมเลือดของเขาถึงได้สูบฉีดเวลาที่พูดถึงโลกตะวันออก ทำไม OMA ถึงได้พัฒนาความสนใจและมาตรฐานในการที่จะอนุรักษ์เมืองเก่าในกรุงปักกิ่งเอาไว้ และสิ่งที่อาจจะสำคัญที่สุด ทำไมเขาจึงมีแนวคิดที่ว่าสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อกับความเป็นอุดมคติได้
Rem Koolhaas ที่อ้างตัวว่าเป็น นักสืบสมัครเล่น ได้นำเสนอเนื้อหาของความเปลี่ยนแปลงของ เมืองใน เอเชีย นับตั้งแต่ปี 1930s มาจนถึงปัจจุบัน ทำการวิเคราะห์เรื่องของการเมืองระดับย่อย และผลกระทบของรูปแบบการเมืองเหล่านั้นต่อสภาพแวดล้อมของเมือง โดย Rem ได้ทำการปาฐกถาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ผ่านทางมิติของลัทธิ ฟาซิสม์ ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ และทุนนิยม ซึ่งทั่งสี่เป็น สุดยอดของ แนวความคิดที่เป็นอุดมคติ ที่ได้รับการยอมรับในเอเชียตะวันออก ในช่วง 75 ปี ที่ผ่านมา แต่ Rem ได้ระบุไว้อย่างหนักแน่นว่า ไม่ว่าจะเป็นระบบไหนก็ตาม สิ่งที่ออกมาก็ล้วนเป็น “เผด็จการ” ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเ้ป็นเผด็จการซ่อนเร้น หรือเปิดเผย ก็ล้วนเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่แท้จริงของความเจริญก้าวหน้าของเอเชียตะวันออกเท่านั้น
จากการศึกษา Rem Koolhaas จะได้ทำการแสดงในสอง กรณีศึกษาหลัก ได้แก่ กรณีของ จีน และ กรณีของ ญี่ปุ่น ว่ารัฐบาลของทั้งสองประเทศ ได้ทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบเืมืองไปได้อย่างไร (ใช้คำว่า Reform) แต่ไม่ว่าความเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปในทิศทางไหน แนวคิดที่ฝังรากลึกในสังคมนั้นๆ ก็จะยังไม่ได้เลือนหายไปจากระบบการใช้ชีวิตและการปกครองโดยรวม เช่น ประชาธิปไตยของญี่ปุ่น เป็นสิ่งที่มีพัฒนาการและมีผลกระทบ (Influences) มาจากการปกครองแบบ ฟาสซิสม์ ที่มีมาก่อนสมัยสงครามโลก เป็นเวลานาน และทุนนิยมที่เป็นอยู่ในประเทศจีน ก็เป็นสิ่งที่มีพัฒนาการและมีผลกระทบ (Influences) มาจากการปกครองแบบ คอมมิวนิสต์ อาจจะออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่มีจุดประสงค์เหมือนกันในเชิงของการพยายามที่จะแก้ปัญหาของสังคมที่เป็นอยู่ ณ ช่วงเวลานั้น แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ อาณาจักรทั้งสองนี้ เป็นมหาอาณาจักรที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเมืองในประเทศทุกๆ ประเทศในเอเชียตะวันออกอย่างใหญ่หลวง (รายละเอียดเพิ่มเติมในช่วงของ Timeline ก็คือ ญี่ปุ่น ก็กลายสภาพจาก ฟาสซิสม์ มาเป็นประชาธิปไตย โดยการผลัีกดันของ สหรัฐอเมริกา ส่วน จีน ก็กลายสภาพจาก ทุนนิยมประชาธิปไตย (สมัยเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้) มาเป็น คอมมิวนิสต์ ผ่านการผลักดันโดย สหภาพโซเวียต– แต่ก็มีลักษณะการบริหารประเทศและเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ใต้การเมือง คอมมิวนิสต์ แบบปัจจุบัน - การเปลี่ยนแปลงทั้งสองเกิดขึ้นในช่วงเดียวกันคือ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง– ดร.พร)
Koolhas เริ่มต้นการพูดด้วยการบรรยายถึงชีวิตในวัยเด็กของเขา เมื่อตอนที่เขาอายุแปดขวบ ครอบครัวของเขาได้ย้ายเข้าไปอยู่ที่เมือง จาการ์ตา ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในเมืองที่มีโครงสร้างที่เรียกว่า Kampongs เป็นรูปแบบที่หาได้ทั่วๆ ไปในประเทศอินโดนีเซีย ที่เมืองจาการ์ตานั้น มี Kampongs ที่หนาแน่นที่สุด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือเขารู้สึกได้ว่า บ้านเมืองในอินโดนีเซียสมัยนั้นมีความเป็น Modern มากกว่า Holland ที่เขาจากมา และสิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดที่เขาจำได้อย่างหนึ่งก็คือ คนอินโดนีเซียคิดถึงชาวญี่ปุ่นในครั้งนั้น(อย่างน้อยก็ในช่วงที่ญั่ปุ่นบุกเขามาตอนแรก)ว่า เป็นผู้มาปลดปล่อยพวกเขา
คนญี่ปุ่นได้เข้ามาปกครอง และพยายามที่จะสร้างระบบการขนส่ง ที่เรียกว่า Lebensraum ขึ้นมา ซึ่งเหมือนกับที่ คนเยอรมันมี Autobahns โดยสถาปนิกและวิศวกรญี่ปุ่นได้ทำการปรับเปลี่ยรูปแบบเมืองใหม่หมดในดินแดนยึดครอง มีการสร้างถนนใหม่และทางรถไฟ เพื่อทำการเชื่อมต่อเขตที่สร้างใหม่กับเขตเมืองเก่า เราอาจจะมองได้ว่า นี่เป็นเหมือนอาชญากรรมที่คนต่างชาติเข้ามายึดครองแผ่นดินแล้วสร้างอะไรตามใจชอบ แต่นี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่ สถาปัตยกรรมถูกนำมาใช้ในการประกอบอาชญากรรม มาผสมกันจนแยกไม่ออก ลัทธิฟาสซิสม์ของญี่ปุ่นนั้น เป็นเหมือนคลื่นลูกที่สองของการเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมในเอเชีย หลังจากยุคล่าอาณานิคมของยุโรป การขยายตัวของจักรวรรดิญีุ่ปุ่นนั้น อย่างน้อยในทางทฤษฎี็ก็เป็นที่เชื่อถือว่า เป็นการพัฒนามาจากการวางผังแบบใหม่ ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ เปิดโอกาสให้เกิดการพัฒนาทางการออกแบบสถาปัตยกรรมให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และจุดนี้ Koolhaas ได้มาถึงประเด็นสำคัญที่ว่า “สงครามเป็นสิ่งที่เจ็บปวด แต่เป็นสิ่งที่เป็นผลบวกต่อวงการสถาปัตยกรรม เป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยรวมเท่าใด เป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากความเป็นเผด็จการ (ใช้คำว่า Autocratic) ไม่ได้เคารพสิทธิมนุษยชน โดยที่สถาปนิกได้รับอำนาจอย่างมหาศาลมาจากผู้มีอำนาจเพียงแหล่งเดียว
ประเด็นนี้ได้รับการกล่าวไว้ใน หนังสือชื่อ Delirious New York ในปี 1978 โดย Koolhaas บอกว่า “The Grid” ซึ่งเป็น การวางผังเมืองให้ถนนตัดเป็นตาราง ของ ถนนตั้ง 13 เส้น (Avenues) และ ถนนขวาง 156 เส้น (Streets) เป็นสิ่งที่ทำให้เกาะแมนฮัตตัน (Manhattan) มีลักษณะพิเศษอย่างมาก (สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่เคยไป Manhattan ก็อยากจะอธิบายสั้นๆว่า เกาะ Manhattan เป็นส่วนหนึ่งของเมืองชื่อ New York City ที่หลายๆ ท่านอาจจะได้ดูในหนัง Hollywood เป็นเกาะที่เล็กมาก แต่ถูกใช้ประโยชน์ทุกตารางนี้ว และทางใต้ของเกาะที่เป็นบริเวณที่เรียกว่า downtown นั้นก็คือ ที่ตั้งของ World Trade Center ที่ถูกทำลายไปแล้วนั่นเอง-ดร.พร) Koolhaas บอกว่า Grid บนเกาะ Manhattan นี้ เป็นสิ่งที่เป็น การวางแผนที่กล้าหาญที่สุด (most courageous act) ในโลกตะวันตก แต่ก็ไม่ใช่เป็นการกระทำที่ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของประชากร แต่เป็นการกระทำตามใจของผู้ปกครอง (จริงอยู่ว่า สหรัฐอเมริกามีเป็นประชาธิปไตยมาตลอด แต่โดยการปฎิบัติแล้ว ในยุคโบราณ ผู้ปกครองก็ทำอะไรตามใจตัวเองโดยไม่ฟังเสียงประชาชนเหมือนกัน – ดร.พร) แต่ผลที่ออกมาก็เป็นสิ่งที่ดี
อีกตัวอย่างหนึ่งที่ Koolhaas ให้ก็คือ Rotterdam ในประเทศ Holland ที่จะไม่มีทางเป็นเมืองที่เป็นแนวหน้าทางสถาปัตยกรรมของประเทศและของโลกได้เลย ถ้าไม่ถูกนาซีเยอรมัน ถล่มเสียราบคาบในปี 1940 เราคงไม่มีทางปฎิเสธได้ว่า อาณาจักรของการล่าอาณานิคม ไม่ว่าจะยุคสมัยใดนั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง เด็ดขาด เป็นอย่างมากในเชิงสถาปัตยกรรมและผังเมือง
กลับมามองที่ การล่าอาณานิคมของญี่ปุ่น เราก็เห็นชัดว่ามีกลุ่มสถาปนิกรุ่นเยาว์ที่ได้ประโยชน์จากการที่มีพื้นที่ใหม่เปิดให้ หนึ่งในสถาปนิกรุ่นเยาว์กลุ่มนั้นก้คือ Mr.Kenzo Tange ซึ่งต่อมาเป็นบิดาของ Metabolist Movement ในญี่ปุ่น (จะกล่าวขยายความต่อไป) เป็นกลุ่มสถาปนิกรุ่นใหม่ไฟแรงในเวลาต่อมา ในช่วงหลังสงคราม รัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยในญี่ปุ่น ก็จะมีระบบการตัดสินงานประกวดแบบโดยใช้กรรมการที่ลำเอียงสุดขั้ว Koolhaas บอกว่า Kenzo Tange นั้นเป็น “The True Manchurian Candidate” (หลายๆ ท่านอาจจะเคยได้ชมภาพยนต์ ชื่อนี้เมื่อสองปีที่แล้ว นำแสดงโดย Denzel Washington แต่ความหมายของๆคำๆนี้ คือ บุคคลที่ผ่านการล้างสมองอย่างเป็นระบบจนทำให้เกิดเป็นลักษณะของ อีกหนึ่งบุคลิกภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวคนๆนี้ และจะถูกนำออกมาเมื่อถึงเวลาที่ผู้ควบคุมที่ทำการล้างสมองนั้น ต้องการ – ดร.พร) Kenzo Tange เ็ป็นคนที่ยอมรับระบบ Corruption อันใหม่นี้ และทำร่วมมือร่วมใจกับ รัฐบาลใหม่ที่แตกต่างจากรัฐบาลเผด็จการในอดีตในเรื่องของระบบวิธีการได้ และทำให้ญี่ปุ่นได้ทำการประกาศตัวเองเป็นผู้นำในโลกของสถาปัตยกรรมของโลกได้ โดยตัวเขาเองได้รับการสนับสนุนอย่างสุดชีวิตโดยรัฐบาลกลางและนักเขียนหลายๆ คน และทำให้กลุ่ม Metabolist ได้รับการกล่าวขวัญเป็นอย่างมากในปี 1960 ที่ World Design Conference และไปถึงจุดสุดยอดในปี 1970 World Fair ที่ญีั่ปุ่น โดยได้รับการสนับสนุนของ Sony และบริษัทยักษ์ใหญ่อื่นๆ และงานในครั้งนั้น ทุกอณูในเชิงสถาปัตยกรรมก็รายล้อมรอบอยู่กับ Superstar ชื่อ Kenzo Tange เพียงคนเดียว
หลังจากที่ได้เข้าสู่อำนาจในการปกครองประเทศ พรรคคอมมิวนิสต์ของจีนได้ทำการวางผังเมืองและสร้างเมืองออกมาในรูปแบบที่เหมือนกับ สหภาพโซเวียต สมุดปกแดงของ เหมาเจ๋อตง มีภาพหมู่บ้านที่อยู่ในป่าอันอุดมสมบูรณ์และมีปล่องไฟ ซึ่งปัจจุบันเป็นภาพที่เห็นได้ทั่วไปทั้งประเทศตามบ้านนอก สถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเด็ดขาด รุนแรงตามสไตล์ของลัทธิคอมมิวนิสต์นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนประเทศฝั่งซ้ายทั่วไป แต่ยุคที่เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจริงๆ คือ จีนภายใต้การนำของเติ้งเสี่ยวผิง “to get rich is glorious” หรือ จะแปลง่ายๆ เป็นไทยว่า ยิ่งรวยยิ่งดี และนั่นก็เป็นคติพจน์ ที่มาจากผู้นำสูงสุด และผลที่ออกมาในตัวภาพพจน์ของเมืองก็คือ การวางผังอย่างรวดเร็ว การก่อสร้างอย่างรวดเร็วมากซึ่งปัจจุบันเราแทบจะไม่ได้เห็นภาพเก่าๆ จากหนังสือของประธานเหมาอีกแล้ว
Koolhaas ได้ทำการศึกษา โครงการ Pearl River Delta ซึ่งเป็น(เขตเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมพิเศษ ของประเทศจีนที่ทำขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตในฝั่งจีน และ back up ทางการเงินจากเงินลงทุนจากต่างชาติซึ่งผ่านมาทางฮ่องกง – ดร.พร) ห้าเมือง รวมกับเมืองของฮ่องกง และหมาเ๊ก๊า ซึงปัจจุบัน เมืองทั้งสามประชากร 20 ล้านคน แต่ในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า อาจจะมีเพิ่มเป็น 36 ล้านคน หรือ 40 ล้านคนในอนาคต ซึ่งจะเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นใน Pearl River Delta นั้น Koolhaas บอกว่าเป็นสิ่งที่ ไม่ได้ต่างกับที่เกิดขึ้นในแมนจูเรียเมื่อ 65 ปีที่แล้ว ซึ่งในแมนจูเรียนั้น พื้นที่ถูกกวาดอย่างเรียบวุด โดยไม่สนว่าใครอยู่ตรงนั้น พิ้นที่ธรรมชาติถูกปรับใหม่อย่างเด็ดขาด ไม่ฟังเสียงใคร มีการสร้างถนน ทางด่วน ทางรถไฟ การจัดแบ่งผังเป็นไปในระบบของพรรคคอมมิวนิสต์ การจัดการกับเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวนี้ จริงๆแล้วถ้ามองอีกด้านก็เป็นการพัฒนาอีกขั้นหนึ่งของวิสัยทัศน์ประธานเหมานั่นเอง สิ่งที่แตกต่างกันก็คือปัจจุบันการพัฒนานั้นนำมาซึ่งเงินตราให้กับสมาชิกของพรรคและเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งในสมัยก่อนเป็นสิ่งที่ขาด และเงินเหล่านั้นก็ถูกนำมาใช้ซื้อเครื่องมือที่ก้าวหน้าในทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำในสิ่งที่ขวานและเคียวไม่มีทางทำได้ (ขวานและเคียวคือเครื่องหมายของลิทธิคอมมิวนิสต์)
JAPANESE MODERNITY: METABOLISM
เคนโซ ตังเงะ (1913-2005) เป็นคนที่ไม่ชอบทั้งการที่จะกลับไปสู่วัฒนธรรมดังเกิม แต่ก็ไม่อยากที่จะทำตัวเหมือน International Modern เขาพยายามที่จะหาหนทางใหม่ Kenzo Tange เป็นคนที่มาเป็นแรงบัลดาลใจให้กับ สถาปนิกรุ่นต่อมาเช่น Noriaki Kurokawa และ Tadeo Ando โดยวิธีของ Tange คือการ ใช้สัญลักษณ์ใน สถาปัตยกรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น มาทำการประกอบกันด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ การก้าวกระโดดไปสู่สถาปัตยกรรม modern แนวใหม่ที่เป็นเอกลักษณฺ์เฉพาะตัวของญี่ปุ่นเอง โครงการที่เป็นที่กล่าวขวัญมากที่สุดโครงการหนึ่ง ได้แก่ Tokyo Bay Area เป็นโครงการที่แสดงให้เห็นว่าคนเอเชียสามารถที่จะแซงหน้าสิ่งที่ชาวตะวันตกเชื่อว่าเป็นความสำเร็จสูงสุดของเขาได้ เพราะตัวอย่างที่อลังการสูงสุดในโลกตะวันตกในขณะนั้นคือ New York City ซึ่งเป็นการสร้างบนเกาะมีการรุกเข้าไปในน้ำทะลบ้าง แต่สำหรับโครงการของ Kenzo Tange นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นการ Taming the water (แปลตรงๆว่าทำให้ ผิว“น้ำ”ทะเล ที่เหมือนสัตว์ป่า มาทำให้เชื่อง กลายเป็นสัตว์เลี้ยงได้ – ดร.พร) ซึ่งปัจจุบันโครงการที่จะเปรียบเทียบกันได้ก็คือ โครงการภายใต้วิสัยทัศน์ของประธานาธิบดี ลี กวน ยู เท่านั้นที่จะเข้าใกล้ Metabolism ได้เท่านั้น ซึ่งก็แน่นอนว่า เป็นการปกครองแบบเผด็จการ ภายใต้กฎเหล็กเช่นกันสำหรับประเทศสิงคโปร์
(ขอขยายความเรื่อง Tokyo Bay Project หน่อยนะครับ สำหรับ โครงการนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานของลัทธิ Metabolism อย่างสูงสุดเพราะเป็นเรื่องของ “เมือง” โครงการนี้มีการสร้างถนนเป็นโครงข่ายเหมือน กิ่งก้านของต้นไม้ เป็น Freeform และก็จะเป็น Form หลักที่จะ Copy ต่อๆ กันไปเป็น Unit ที่มีการเชื่อมโยงกัน กลายเป็นป่า แต่การออกแบบให้เป้นลักษณะนี้ก็มีปัญหาตามมาหมือนกันเพราะว่า ความต้องการที่จะให้มีความ Complex และมี Character พิเศษในทุกๆ มุมมอง เหมือนกับสิ่งมีชีวิต (ต้องไปดูงานของ Michael Sorkin) แ่ต่ก็ ต้องอยู่ภายใต้กฎของความเรียบง่ายเรื่องงานระบบ เรื่องการจราจร และเรื่อง Hierarchy ของพื้นที่ ตามหลักการออกแบบเืมือง แต่ก็ได้รับการกล่าวชมเชยโดยนักทฤษฎีผังเมืองชื่อดัง Christopher Alexander เมื่อปี 1965 ใน เอกสารชื่อ “A City is not a tree” ซึ่ง Alexander ได้บอกว่า แม้ว่าจะดูซับซ้อนแต่ก็มีหลักการดำเนินงานที่ตรงไปตรงมา แต่ก็วิจารณ์่ว่า Kenzo Tange ไมได้คำนึงถึงเรื่องการเจริญเติบโตมากเท่าที่ควร หลายๆ คนก็เอางานของ Tange เรื่อง เมืองทีมี Form มาจาก ต้นไม้ หรือสิ่งมีชีวิต มาพัฒนาต่อ หนึ่งในนั้นคือ Arata Isosaki อันนี้มาเป็นต้นไม้จริงๆ เลย)
CHINESE MODERNITY?
สำหรับกรณีของจีนนั้นแตกต่างออกไป โดยในการประชุมครั้งที่ Koolhaas เข้าร่วมนี้ สถาปนิกและนักวิจารณ์ชื่อดังของจีน Zheng Shiling ได้กล่าวว่า ในขณะที่ญี่ปุ่นได้มุ่งไปสู่สถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ที่เป็นของตัวเอง การเจริญเติบโตอย่างมหาศาลของอุตสาหกรรมก่อสร้างในจีน ไม่ได้ทำให้เกิดสถาปัตยกรรมจีนแบบใหม่แต่อย่างใด จะเห็นได้ชัดจากตัวอย่างของ โอลิมปิคในปี 2008 ที่จะจัดที่ประเทศจีน นั้น สถาปนิกจากทั่วโลก เช่น Norman Foster, PTW, Herzon & de Meuron ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบ แต่ไม่มีสถาปนิกชั้นนำของจีนเข้ามาร่วมเป็นแถวหน้าแต่อย่างใด มีแต่มาเ็ป็นสถาปนิกร่วม (Architect of record) ซึ่งก็หาเหตุผลได้ยากว่าเป็นเพราะอะไร บางคนบอกว่าสถาปนิกจีนเน้นเรื่องปริมาณมากกว่าคุณภาพ แต่เหตุผลที่แท้จริงน่าจะเป็นเพราะว่า รัฐบาลของจีนมีความตั้งใจอย่างมากที่จะให้จีนยืนเด่นบนแผนที่โลก และการที่จะให้โลกได้ยอมรับ ก็คือการที่จะต้องมีสถาปนิกนานาชาติมาร่วมออกแบบในโครงการนี้ ซึ่ง Zheng ก็ยอมรับอย่างเศร้าใจ
CCTV = BIGNESS = REMOLOGY
งานชิ้นโบว์แดงของ สำนักงาน OMA ของ Rem Koolhaas นั้น ได้แก่ อาคารสำนักงาน CCTV (China Central Television) หรือ โทรทัศน์กลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเป็นอาคารสูง 230 เมตร มีพื้นที่อาคารประมาณ 360,000 ตารางเมตร เป็นสถาณีที่ใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลที่สุดในประเทศจีน (มีตั้งแต่รายการที่มีเนื้อหาของรัฐบาล ข่าว และการให้การศึกษาอื่นๆ มีบันเทิง รวมทั้งหมดมี 16 ช่อง รวมทั้งที่เป็นภาษาอังกฤษ ภาษาสเปญและภาษาฝรั่งเศส – ใครอยากดูอาคารหลังนี้ลองหาดูใน Internet นะครับ) อาคารหลังนี้เป็น การประกอบกันของรูปทรงที่แรงมากที่เป็น volume ยาว ทั้งทางตั้งและทางนอน เป็นโครงการที่ตั้งอยูี่่ในเขตเมืองที่มีอาคารสูงปนอยู่แล้ว ไม่ใช่ไปตั้งอยู่กลางทุ่งโล่ง เป็นแท่งสูงเสียดฟ้า รูปทรงที่ออกมา Koolhaas ไ้ด้บอกว่า ต้องการที่จะเปลี่ยนความรู้สึกของอาคารสูงที่ส่วนใหญ่ต้องการไปสู่ฟ้า แต่อาคารหลังนี้ให้เหมือนกันหันมาคุ้มครองคนบนพื้นดินบ้าง อันเป็นปรัชญาของโลกตะวันออกอย่างหนึ่ง
ในหนังสือ S,M,L,XL นั้น Koolhaas ได้อธิบายเรื่องเกี่ยวกับ คำว่า “ultimate architecture” อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้สถาปัตยกรรมไปสู่จุดที่เรียกว่าเป็นสิ่งที่ให้ความรู้กับคนในสังคม Koolhaas ได้ให้คำหลักๆว่า “Bigness” โดยเริ่มต้นตั้งแต่ เกือบร้อยปีก่อน ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการปฎิวัติของวงการศิลปะ ที่เรียกว่า “Modernist Revolution” ซึ่งในช่วงนั้นก็มี Picasso, Marinetti และ Joyce ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเน้นรูปทรงบางประการและการสื่อความหมายที่่ลึกซึ่งมากขึ้น เป็น abstract และ symbol มากขึ้น Picasso เน้นเรื่องการวาดภาพแบบ สองมิติที่มีการเหลื่อมกันระหว่าง เส้นสายและสี Joyce เน้นไปในด้านงานเขียนโดยการมุ่งโจมตีหลักการการใช้ภาษาเก่าๆ มีการปรับเปลี่ยน ภาษา สัญลักษณ์ และ งานพิมพ์ Marinetti ซึ่งเรียกว่าเป็นผู้นำของ Italian Futurists ทำการปฎิวัติวงการโดย เน้นเรื่อง การสร้างการเคลื่อนไหว และความรู้สึกของความเร็ว ลงไปใน Form ที่หยุดนิ่ง
ด้วยการ Contribute (แปลเป็นไทยได้ไม่ตรงครับ คำนี้) ต่อสังคมของ Mies van der Rohe, Gropius และ Frank Lloyd Wright สถาปัตยกรรม ได้เข้าสู่ยุคของการทดลองหรือ Experiment ซึ่งเป็นยุคที่ Koolhaas ได้จับแยกออกมาเป็น ห้าส่วน; โดยเป็นการค้นหา 1) ในเรื่องการขยายส่วนในการทำซ้ำ (Multiplicity) 2) เรื่องของตัวรูปด้าน (Elevation) 3) ลักษณะของรูปด้าน (Façade) 4) การแยกส่วนของพื้นที่เมือง (Disintegration of Urban Tissue) และ ส่วนสุดท้ายที่สำคัญที่สุด คือ 5) จริยธรรมใหม่ ที่ต้องไปมากกว่า กรอบของ ความดีและความเลว หัวข้อทั้งห้าเหล่านี้เป็นการเปิดทางไปสู่ “Bigness” ของ Rem Koolhaas เปรียบเทียบสถาปัตยกรรมที่ใหญ่ผิดปกติเหล่านี้โดยใช้คำว่า Nietzschean ซี่งหมายถึง มนุษย์ที่ถูกสร้่างขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลงยีนให้มีความแข็งแกร่ง ฉลาด และมีคุณสมบัติเพรียบพร้อม เหนือมนุษย์ทั่วไป และแก้ปัญหาข้อเสียทั้งหมดของมนุษย์ไป สำหรับในกรณีของ สถาปัตยกรรม ก็คือการไปสู่จุดที่ใหญ่เหนือมนุษย์ ห่างไกลจากความเป็น scale ของมนุษย์ (inhuman quantity) เพราะคนที่สร้างสถาปัตยกรรมชนิดนี้ขึ้นมา มีจุดมุ่งหมายในการที่จะสร้างสถาปัตยกรรมให้ มีลักษณะใหญ่โต มโหฬารดังกล่าว ดังนั้น จะเป็นไปได้มั้ยว่าอาคาร CCTV ที่ Koolhaas ออกแบบนั้นเป็นสิ่งที่จะเป็นผลลบ คำตอบของ Koolhaas ก็คือ ไม่จริง เพราะ Koolhaas สรุปว่า สถาปัตยกรรมนั้น มาคู่กับความเป็น อาชญากรรม (Crime) มาคู่กับความบ้าอำนาจ (Despotic Regime) เพราะนั่นคือหนทางที่มันจะไปสู่ความเป็น Bigness ซึ่ง CCTV ก็เป็นอาคารที่ ใหญ่ที่สุด ในชีวิตการทำงานของ Rem Koolhaas ซึ่งเป็นผลสะท้อนของความเป็น Remology (การศึกษาทาง Rem Koolhaas = Rem + Ology เหมือนกับ Sociology, Biology)
Down Fall of The Sky Scraper
ประวัติศาสตร์ของอาคารสูงเสียดฟ้า หรือ Skyscraper นั้นเป็นประวัติศาสตร์ที่มีการพัฒนามุ่งไปทางตะวันออก โดยเริ่มต้นมาจากปี 1920 ในมหานคร นิวยอร์ค และชิคาโก และมุ่งไปสู่ยุโรป ไปสู่อัฟริกา และหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองก็ไปสู่เอเชีย ในระหว่างที่ค่อยๆคลืบคลานไปนั้น ประโยชน์ใช้สอย และการสื่อความหมายก็เปลี่ยนไป อาคารสูงระฟ้านั้นถูกใช้เป็นเครื่องหมายและเครื่องมือของลัทธิทุนนิยมเสมอ แต่ลัทธิทุนนิยมก็ไม่ได้ใช้มันโดยตรง หรือไม่ได้มีอิทธิพลต่อการสร้างให้อาคารสูงเป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้สูงสุดภายใต้ความเชื่อของลัทธินี้แต่อย่างใด ตัวอย่างที่น่าสนใจได้แ่ก่อาคาร Seagram ที่มหานครนิวยอร์ค ซึ่งเป็นเครื่องจักรทุนนิยม ทำจากเหล็กกล้าและกระจก เป็นการเชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์ระหว่างที่ว่างและเวลา (ขอขยายความหน่อยว่า อาคาร Seagram นี้เป็นอาคารที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นอาคารที่มีค่าก่อสร้างต่อพื้นที่แพงที่สุดในโลก สาเหตุเพราะเรื่องการ Set back ที่ Mies Van De Rohe บอกให้ Set ไปทั้งแผง เกิดเป็น Plaza หน้าอาคาร ขนาดใหญ่เป็นครั้งแรก ในขณะที่อาคารอื่นๆ ใช้วิธี ค่อยๆ set back เป็นขึ้นบันได้ เพื่อจะได้พื้นที่เต็มขั้น Plaza ที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้คนเห็นอาคารได้อย่างอลังการแต่ในขณะเดียวกันก็แห้งแล้งไร้ชีวิตชีวา ตามสไตล์ โมเดิร์น ทีล็อคตัวเองอยู่ในช่วง 60s – 70s จนกระทั่งค่อยๆ ปรับเปลี่ยนไปเป็นทางเท้า ที่มีชีวิตชีวาที่เกิดขึ้น ต้องไปเปรียบเทียบกับ Rockefeller Sunken Plaza – ตัวอาคารของ Seagram เองนั้นมีการคิดเรื่อง Model ของ Mullion กระจก การปรับพื้นที่ให้ flexible การให้แสงธรรมชาติ เป็น in side out และ out side in ที่ perfect ที่สุดอันหนึ่งของโลก คนที่รู้เรื่อง Mies มากที่สุดคนหนึ่งที่ผมรู้จักในที่นี้ คือ คุณศัลยเวทย์ ประเสริฐวิทยาการ ลองให้ท่านมาอธิบายดู) ในขณะเดียวกัน อาคารที่เราเห็นอยู่ในปัจจุุบันนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสัญลักษณ์เป็นส่วนใหญ่ หนึ่งในนั้นคือ กลุ่มอาคารสูงใหม่ของเมืองเซี้ยงไฮ้ เป็นสิ่งที่คิดขึ้นมาส่วนใหญ่เพื่อจุดประสงค์เพียงมิติเดียวคือ เพื่อความเทห์ Oriental Pearl TV Tower เป็นสิ่งที่ชัดมาก เพราะเป็นอาคารที่เป็น กลุ่มรูปทรงที่ดู แปลกตา นักท่องเที่ยวต้องมารุมดู เป็นสัญลักษณ์ของยุคใหม่ แต่ภายในแทบจะไม่มีพื้นที่ใช้สอยที่มีความหมายใดๆ เลย ถ้านี่คืออาคารสูงที่เป็น ผลสะท้อนของเศรษฐกิจ ไปตามกระแสตลาด เป็นเหมือนกับการสนองความอยากตามแต่ตัณหาจะพาไป (Rem Koolhaas ใช้คำว่า Viagra-Potency) สิ่งที่ Koolhaas พยายามทำกับ CCTV ทีออกแบบคือการ ทำลายแนวคิดตรงนี้ลงไป (แนวคิดเดิมๆ Koolhaas ใช้คำว่า Banality) เป็นสิ่งที่ โลก Communist ของจีนที่ดำเนินไปด้วยเชื้อเพลีงของทุนนิยมจะต้องทำการทดลองค้นคว้าต่อไป (Exploration) แต่สรุปแล้ว ถ้าจะให้เปลี่ยนแปลงอย่างเด็ดขาด ไม่มีทางอื่นนอกจากจะต้อง ฆ่าอาคารสูงระฟ้าเท่านั้น (Kill The Skyscraper)
WELCOME TO PHOTOSHOPOLIS!
ถ้าจะมีสิ่งที่เป็นประเด็นหลักในงานเขียนของ Rem Koolhaas เรื่องที่น่าสนใจก็คือ เรื่องของ “ตรรกะ” ของเมืองในปัจจุบันที่ต่างกับสมัยก่อน เป็น ตรรกะ หรือ Logic ที่เขาหยิบยกมาใช้ตลอด Koolhaas ไม่ได้สนใจการจะสร้างความชัดเจนให้กับสิ่งที่เขานำเสนอ แต่เขาสนใจที่จะให้ผู้ชมตีความสิ่งที่เขาเสนอเอาเอง เขาได้เขียน ประสบการณ์ และมีการนำภาพถ่ายของสัญลักษณ์ หรือสิ่งของต่างๆที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ไม่เคยได้ิยินมาก่อนมาให้กับผู้ชม โดยเนื้อหาก็จะพันไปถึงเรื่องของ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และ สถาปัตยกรรม ซึ่งจะมีการส่งผลมาถึงตัว Form ที่เห็น เป็นผลลัพท์สุดท้าย
ถ้าเช่นนั้น อะไรเป็น Influences (ใครช่วยแปลคำว่า Influences หน่อยครับ ไม่ได้แปลว่าผลกระทบ) ที่ทำให้เกิดเมืองสมัยใหม่ในประเทศจีน ตัวอย่างชัดๆ ก็คือ Pearl River Delta, Shanghai และ Beijing เพราะ Koolhaas มักจะทำให้เรามึนงงเสมอด้วย คำถามอันมากมายเกี่ยวกับสิ่งที่เขา ได้พบ ฟัง และรู้สึก มันฟังดูแปลกมั้ยที่ ศูนย์กลางของเมือง (City Center) ของเมือง เสิ่นเจิ้น คือ สนามกอล์ฟ, อะไรคือการกำหนดคำจำกัดความของคำว่าอาคารระฟ้า (Skyscraper) ในเมือง (Urban) ทั้งๆที่ อาคารสิบชั้นในจีนคืออาคารที่สร้างอย่างปกติใน ชานเมือง แล้วอะไรที่ทำให้ รัฐบาลและกลุ่มธุรกิจไม่สนใจผลเสียใดๆ ว่าทางด่วน Wu ซึ่งแพงมาก และแทบไม่ได้แตะพื้นเลย และเป็นทางด่วนที่ไม่ได้มุ่งไปที่ไหนเลย
Koolhaas ไม่ได้ตั้งคำถามเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อหาคำตอบ แต่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เกิดสภาวะของแนวคิดในระดับ Conceptual กับสิ่งต่างๆ ที่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาอย่างยิ่งใหญ่แต่แทบจะไม่ได้ตอบสนองอะไรเลยเหล่านี้ Koolhaas ใช้คำว่า POTEMKIN CORRIDORS หรือ POTEMKIN CITIES (ความหมายของ Potemkin มาจาก คำว่า Potemkin Village หรือหมู่บ้านของ Potemkin ซึ่งเป็นชื่อของ Grigori Alexandrovich Potemkin ขุนนางและนักรบสมัย สมเด็จพระราชินี แคเธอรีนมหาราชแห่งรัสเซีย หลายกระแสบอกว่าเป็น Lover พระองค์ด้วย เป็น โดยครั้งหนึ่งได้ทำการก่อสร้างหมู่บ้านปลอม ท่าเรือปลอม ป้อมปลอม เพื่อให้สมเด็จพระราชีนีเกิดความประทับใจ ถ้าจะเปรียบเทียบกับประเทศไทยก็คือการจัดหมู่บ้าน ตกแต่งให้ดูว่าเจริญแล้ว เพื่อรับนักการเมืองหรือรับเสด็จ นั่นเอง หมายถึงการก่อสร้างให้ดูดี แต่เป็นของจอมปลอม ไม่ได้สะท้อนการพัฒนาที่แท้จริง) ประเทศจีนนั้น มีหลายกรณีมากที่เป็นแบบนี้ การเจริญเติบโตที่ไม่ได้เป็นผลสะท้อนมาจากความต้องการที่แท้จริง แต่เหมือนเป็นการสร้างภาพ ทำให้เกิดสูญเสียลักษณะเฉพาะ หรือ itendity ที่เป็นผลสะท้อนทางวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่แท้จริงของสังคมนั้นๆ เป็นเมืองทีดูธรรมดาๆ เหมือนทั่วๆไปในโลก ไม่สามารถมองดูแล้วบอกได้ว่าที่นี่คือที่ไหน (Generic City) มีเพียงแต่แรงโน้มถ่วงของโลกเท่านั้นทีทำให้อาคารเหล่านี้ยังตั้งอยู่ แต่ไร้แรงทางวัฒนธรรมและสังคม เป็นเมืองที่มีลักษณะทางกายภาพแต่ไร้จิตวิญญาณ (Urban without Urbanity) ดูเหมือนทางรัฐของประเทศจีนจะปฎิเสธความแตกต่างของความเป็นเมือง และชนบทไปหมดแล้ว และความเป็นเมืองก็ดูเหมือนจะเกิดขึ้นมาจากความรีบเร่งของเวลา มากว่าความต้องการที่จะเข้ามาจัดการพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพแบบการเกิดความเป็นเมืองทั่วๆไปในโลก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเมืองหนึ่งคือ Zhouhai ที่เป็นเมืองใหม่ในประเทศจีน มีตึกรามบ้านช่องสูงใหญ่ ในเขตของ Pearl Delta River เขตเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ที่มีการพัฒนาสูงสุดแห่งหนึ่งของประเทศจีน ซึ่งเป็นเมืองที่ว่างเปล่า ไม่มีพื้นที่สาธารณะ และไม่มีคนอยู่ (อันนี้ไม่ตรงกับข้อมูลของ Website ของรัฐบาลจีนว่า Zouhai เป็นเมืองในฝัน มีการวางผังและจัดระบบการพัฒนาแบบมืออาชีพ และจะเป็นเมืองที่มีคุณภาพชีวิตสูงมาก เหมาะสำหรับชาวต่างชาติจะย้ายมาเป็นที่อยู่อาศัย และเป็นบ้านที่สองสำหรับนักธุรกิจต่างประเทศ - ลองดูเองว่าจะเชื่อใครนะครับ) แทนที่จะเป็นเมืองจริงๆ กลับกลายเป็นเมืองที่เหมือนกับเมือง เป็น Announcement City หรือเมืองที่ประกาศศักดา เป็นหน้าตาของประเทศ เท่านั้นเอง (กลับไปที่ Potemkin Village ใหม่)
Koolhaas ย้ำมากว่า ในระดับของความเร็วที่เกิดขึ้นในการก่อสร้างเมืองใหม่ของรัฐบาลจีนนั้น Shenzhen หรือเสิ่นเจิ้นนั้น แทบจะยังไม่เป็นวัยรุ่นด้วยซ้ำ แต่กลับเป็นเมืองที่มีคนมาอยู่เ้ป็นล้านๆ แล้ว เมืองเสิ่นเจิ้นนั้นไม่ใช่กรณีพิเศษ แต่เหมือนกับทุกๆ แห่งในประเทศ เป้นการออกแบบที่ทำบนเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ในบ้านเล็กๆ หรือห้องเล็กๆในครัวของ สถาปนิกเด็กที่ยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่ Koolhaas บอกว่า กลุ่มสถาปนิกจีนเหล่านี้เป็นกลุ่มสถาปนิกที่สำคัญที่สุดในโลก เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ ตอกย้ำความจำเป็นที่สถาปนิกเหล่านี้ต้องมีความเข้าใจต่อ กฎเกณฑ์ของสถาัปัตยกรรม เป็นอย่างมาก (นึำกถึงประเทศไทยสมัย เศรษฐกิจปาฎิหารย์ ก่อนปี 1997 ที่เด็กจบใหม่ได้ออกแบบ Condo สามสิบชั้น แต่ที่นีคือออกแบบเมืองเลย) ถ้าไม่เช่นนั้น จะเป็นปัญหาที่น่ากลัวมากในอนาคต (เพราะเมื่อถึงเวลาทุกสิ่งทุกอย่างจะเริ่มเสีย เริ่มเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็วพร้อมกันทั้งประเทศเหมือนกัน)
สิ่งที่มีขนาดใหญ่และต้องการความรวดเร็วในการออกแบบเช่น เมืองในประเทศจีนนี้ ไม่สามารถทำให้ออกมาอย่างมีคุณภาพด้วย กระดาษและดินสออีกต่อไป แต่ทุกๆคนก็ต้องหันมาใช้ คอมพิวเตอร์ AutoCAD หรือถ้าดีกว่านั้นคือ PHOTOSHOP ซึ่งเป็น เครื่องมือที่รวมทุกๆอย่างที่คนจะจินตนาการได้เข้ามาในกรอบภาพกรอบเดียว การตัดแปะอาคารสูง 200 เมตร สร้างขึ้นมาภายใน 20 วัน เป็นเรื่องปกติไปแล้ว และการออกแบบด้วยวิธีนี้ทำให้เกิดผลกระทบที่ค่อนข้างน่ากลัวต่อเมือง การตัดและแปะไม่ได้ทำให้เกิดความเป็นเืมืองซึ่งควรจะเป้นการรวมตัวกันของ สไตล์และฟอร์มที่หลากหลาย แต่รวมตัวกันเป็นหนึ่งลักษณะไปในทางเดียวกัน (Koolhaas ใช้คำว่า Melodic Coexistence) เมืองที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วย Photoshop เป็นสิ่งที่ดูดีแต่ยากที่จะเิกิด ความเป็นหนึ่งลักษณะดังกล่าวได้ แต่กลับกลายเป็น ความแตกต่างที่เป็นความวุ่นวายและน่าจะนำไปสู่หายนะ (City of Exacerbated Difference)
IS OMA GETTING OLD?
Koolhaas ปิดการบรรยายด้วยการยอมรับ ว่าหน่วยงานของเขา (Koolhaas ไม่ใช้คำว่า Office หรือ Company แต่ใช้คำว่า Bureau เหมือนกับความเป็น ราชการที่ทำงานเพื่อสังคม) เริ่่มที่จะทำสิ่งที่เขาไม่เคยคิดว่าจะทำเลย เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เช่น การทำโครงการอนุรักษ์เขตวัฒนธรรมพิเศษในประเทศจีน การตัดสินใจที่ท้าทายมากว่า จตุรัส Hutongs ควรจะกลายเป็นอาคารสูงระฟ้า หรือจะเป็นบ้านโบราณไว้ให้อนาคตของชาติได้เห็น
สิ่งที่เป็นปัญหากับระบบการอนุรักษ์คือ คนจะมองว่าเป็นเรื่องของอาคาร เรื่องของรูปร่างหน้าตา น่าเสียดายที่เราไม่สามารถ อนุรักษ์แนวทางการใช้ชีวิตของคนไว้ได้ บ้านเก่าๆ เหล่านี้ ต่อไปก็จะไม่มีใครอยูเพราะสภาพของเมืองจะผลักคนเหล่านี้ออกไป Koolhaas กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของการอนุรักษ์น่าจะเป็นทั้งระบบ ไม่ใช่เพียงแต่เปลือก สภาพชีวิตของคนที่อยู่ในอาคารเก่า วิถีชีวิตของพวกเขาจะเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมเห็นความแตกต่าง แต่ไม่ใช่การห้ามการสร้างของใหม่ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ท้าทายมากต่อไปในอนาคต
(คำนำโดย บรรณาธิการ)
ใน การประชุม ของ International Institute of Asian Studies (IIAS) ที่ประเทศ Netherlands การบรรยายหลักของคน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนนั้น เป็นของ Rem Koolhaas สถาปนิกชาวดัชท์ ที่มีชือเสียงระดับโลก เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย Harvard เป็น ผู้ก่อตั้งสำนักงาน Office of Metropolitan Architecture (OMA) และ AMO (ไม่แน่ใจว่าย่อมาจาก Architecture Media Organization หรือเปล่า – ใครทราบช่วย Confirm ด้วยครับ – ดร.พร) ซึ่งทั้งสองเป็น เหมือนกับ สมองกล หรือที่มาของ idea อันบรรเจิดมากมาย โครงการที่ Rem Koolhaas ออกแบบตัวอย่างเช่น Kunsthal แห่งเมือง Rotterdam, Guggenheim Museum แห่งเมือง Las Vegas สหรัฐอเมริกา, Prada Boutique แห่ง Soho ณ กรุงนิวยอร์ค, Casa a Musica แห่ง Porto ประเทศ โปรตุเกส, Seattle Public Library ที่เมือง Seattle สหรัฐอเมริกา และ แน่นอน สำนักงานใหญ่ สถานีโทรทัศน์ CCTV แห่ง กรุงปักกิ่ง งานเขียนของเขาก็มีตั้งแต่ Delirious New York, a retroactive manifesto (1978) จนถึง S,M,L,XL ที่หน้าถึง 1500 หน้า (1995), Great Leap Forward (2002) และ Harvard Design School Guide to Shopping (2002) และล่าสุดคือ Content (2005) โดย ใน Newsletter ฉบับนี้ เราได้พยายามค้นหาว่า ทำไม Rem Koolhaas ในหนังสือเล่มล่าสุด ถึงได้พยายามพาพวกเราไปค้าหาโลกตะัวันออก (ใช้คำว่า Go East – ดร.พร) ทำไมเขาจึงมีความประทับใจมาจนชั่วชีวิตกับเมืองในเอเชีย ทำไมเลือดของเขาถึงได้สูบฉีดเวลาที่พูดถึงโลกตะวันออก ทำไม OMA ถึงได้พัฒนาความสนใจและมาตรฐานในการที่จะอนุรักษ์เมืองเก่าในกรุงปักกิ่งเอาไว้ และสิ่งที่อาจจะสำคัญที่สุด ทำไมเขาจึงมีแนวคิดที่ว่าสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อกับความเป็นอุดมคติได้
Rem Koolhaas ที่อ้างตัวว่าเป็น นักสืบสมัครเล่น ได้นำเสนอเนื้อหาของความเปลี่ยนแปลงของ เมืองใน เอเชีย นับตั้งแต่ปี 1930s มาจนถึงปัจจุบัน ทำการวิเคราะห์เรื่องของการเมืองระดับย่อย และผลกระทบของรูปแบบการเมืองเหล่านั้นต่อสภาพแวดล้อมของเมือง โดย Rem ได้ทำการปาฐกถาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ผ่านทางมิติของลัทธิ ฟาซิสม์ ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ และทุนนิยม ซึ่งทั่งสี่เป็น สุดยอดของ แนวความคิดที่เป็นอุดมคติ ที่ได้รับการยอมรับในเอเชียตะวันออก ในช่วง 75 ปี ที่ผ่านมา แต่ Rem ได้ระบุไว้อย่างหนักแน่นว่า ไม่ว่าจะเป็นระบบไหนก็ตาม สิ่งที่ออกมาก็ล้วนเป็น “เผด็จการ” ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเ้ป็นเผด็จการซ่อนเร้น หรือเปิดเผย ก็ล้วนเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่แท้จริงของความเจริญก้าวหน้าของเอเชียตะวันออกเท่านั้น
จากการศึกษา Rem Koolhaas จะได้ทำการแสดงในสอง กรณีศึกษาหลัก ได้แก่ กรณีของ จีน และ กรณีของ ญี่ปุ่น ว่ารัฐบาลของทั้งสองประเทศ ได้ทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบเืมืองไปได้อย่างไร (ใช้คำว่า Reform) แต่ไม่ว่าความเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปในทิศทางไหน แนวคิดที่ฝังรากลึกในสังคมนั้นๆ ก็จะยังไม่ได้เลือนหายไปจากระบบการใช้ชีวิตและการปกครองโดยรวม เช่น ประชาธิปไตยของญี่ปุ่น เป็นสิ่งที่มีพัฒนาการและมีผลกระทบ (Influences) มาจากการปกครองแบบ ฟาสซิสม์ ที่มีมาก่อนสมัยสงครามโลก เป็นเวลานาน และทุนนิยมที่เป็นอยู่ในประเทศจีน ก็เป็นสิ่งที่มีพัฒนาการและมีผลกระทบ (Influences) มาจากการปกครองแบบ คอมมิวนิสต์ อาจจะออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่มีจุดประสงค์เหมือนกันในเชิงของการพยายามที่จะแก้ปัญหาของสังคมที่เป็นอยู่ ณ ช่วงเวลานั้น แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ อาณาจักรทั้งสองนี้ เป็นมหาอาณาจักรที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเมืองในประเทศทุกๆ ประเทศในเอเชียตะวันออกอย่างใหญ่หลวง (รายละเอียดเพิ่มเติมในช่วงของ Timeline ก็คือ ญี่ปุ่น ก็กลายสภาพจาก ฟาสซิสม์ มาเป็นประชาธิปไตย โดยการผลัีกดันของ สหรัฐอเมริกา ส่วน จีน ก็กลายสภาพจาก ทุนนิยมประชาธิปไตย (สมัยเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้) มาเป็น คอมมิวนิสต์ ผ่านการผลักดันโดย สหภาพโซเวียต– แต่ก็มีลักษณะการบริหารประเทศและเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ใต้การเมือง คอมมิวนิสต์ แบบปัจจุบัน - การเปลี่ยนแปลงทั้งสองเกิดขึ้นในช่วงเดียวกันคือ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง– ดร.พร)
Koolhas เริ่มต้นการพูดด้วยการบรรยายถึงชีวิตในวัยเด็กของเขา เมื่อตอนที่เขาอายุแปดขวบ ครอบครัวของเขาได้ย้ายเข้าไปอยู่ที่เมือง จาการ์ตา ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในเมืองที่มีโครงสร้างที่เรียกว่า Kampongs เป็นรูปแบบที่หาได้ทั่วๆ ไปในประเทศอินโดนีเซีย ที่เมืองจาการ์ตานั้น มี Kampongs ที่หนาแน่นที่สุด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือเขารู้สึกได้ว่า บ้านเมืองในอินโดนีเซียสมัยนั้นมีความเป็น Modern มากกว่า Holland ที่เขาจากมา และสิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดที่เขาจำได้อย่างหนึ่งก็คือ คนอินโดนีเซียคิดถึงชาวญี่ปุ่นในครั้งนั้น(อย่างน้อยก็ในช่วงที่ญั่ปุ่นบุกเขามาตอนแรก)ว่า เป็นผู้มาปลดปล่อยพวกเขา
คนญี่ปุ่นได้เข้ามาปกครอง และพยายามที่จะสร้างระบบการขนส่ง ที่เรียกว่า Lebensraum ขึ้นมา ซึ่งเหมือนกับที่ คนเยอรมันมี Autobahns โดยสถาปนิกและวิศวกรญี่ปุ่นได้ทำการปรับเปลี่ยรูปแบบเมืองใหม่หมดในดินแดนยึดครอง มีการสร้างถนนใหม่และทางรถไฟ เพื่อทำการเชื่อมต่อเขตที่สร้างใหม่กับเขตเมืองเก่า เราอาจจะมองได้ว่า นี่เป็นเหมือนอาชญากรรมที่คนต่างชาติเข้ามายึดครองแผ่นดินแล้วสร้างอะไรตามใจชอบ แต่นี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่ สถาปัตยกรรมถูกนำมาใช้ในการประกอบอาชญากรรม มาผสมกันจนแยกไม่ออก ลัทธิฟาสซิสม์ของญี่ปุ่นนั้น เป็นเหมือนคลื่นลูกที่สองของการเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมในเอเชีย หลังจากยุคล่าอาณานิคมของยุโรป การขยายตัวของจักรวรรดิญีุ่ปุ่นนั้น อย่างน้อยในทางทฤษฎี็ก็เป็นที่เชื่อถือว่า เป็นการพัฒนามาจากการวางผังแบบใหม่ ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ เปิดโอกาสให้เกิดการพัฒนาทางการออกแบบสถาปัตยกรรมให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และจุดนี้ Koolhaas ได้มาถึงประเด็นสำคัญที่ว่า “สงครามเป็นสิ่งที่เจ็บปวด แต่เป็นสิ่งที่เป็นผลบวกต่อวงการสถาปัตยกรรม เป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยรวมเท่าใด เป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากความเป็นเผด็จการ (ใช้คำว่า Autocratic) ไม่ได้เคารพสิทธิมนุษยชน โดยที่สถาปนิกได้รับอำนาจอย่างมหาศาลมาจากผู้มีอำนาจเพียงแหล่งเดียว
ประเด็นนี้ได้รับการกล่าวไว้ใน หนังสือชื่อ Delirious New York ในปี 1978 โดย Koolhaas บอกว่า “The Grid” ซึ่งเป็น การวางผังเมืองให้ถนนตัดเป็นตาราง ของ ถนนตั้ง 13 เส้น (Avenues) และ ถนนขวาง 156 เส้น (Streets) เป็นสิ่งที่ทำให้เกาะแมนฮัตตัน (Manhattan) มีลักษณะพิเศษอย่างมาก (สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่เคยไป Manhattan ก็อยากจะอธิบายสั้นๆว่า เกาะ Manhattan เป็นส่วนหนึ่งของเมืองชื่อ New York City ที่หลายๆ ท่านอาจจะได้ดูในหนัง Hollywood เป็นเกาะที่เล็กมาก แต่ถูกใช้ประโยชน์ทุกตารางนี้ว และทางใต้ของเกาะที่เป็นบริเวณที่เรียกว่า downtown นั้นก็คือ ที่ตั้งของ World Trade Center ที่ถูกทำลายไปแล้วนั่นเอง-ดร.พร) Koolhaas บอกว่า Grid บนเกาะ Manhattan นี้ เป็นสิ่งที่เป็น การวางแผนที่กล้าหาญที่สุด (most courageous act) ในโลกตะวันตก แต่ก็ไม่ใช่เป็นการกระทำที่ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของประชากร แต่เป็นการกระทำตามใจของผู้ปกครอง (จริงอยู่ว่า สหรัฐอเมริกามีเป็นประชาธิปไตยมาตลอด แต่โดยการปฎิบัติแล้ว ในยุคโบราณ ผู้ปกครองก็ทำอะไรตามใจตัวเองโดยไม่ฟังเสียงประชาชนเหมือนกัน – ดร.พร) แต่ผลที่ออกมาก็เป็นสิ่งที่ดี
อีกตัวอย่างหนึ่งที่ Koolhaas ให้ก็คือ Rotterdam ในประเทศ Holland ที่จะไม่มีทางเป็นเมืองที่เป็นแนวหน้าทางสถาปัตยกรรมของประเทศและของโลกได้เลย ถ้าไม่ถูกนาซีเยอรมัน ถล่มเสียราบคาบในปี 1940 เราคงไม่มีทางปฎิเสธได้ว่า อาณาจักรของการล่าอาณานิคม ไม่ว่าจะยุคสมัยใดนั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง เด็ดขาด เป็นอย่างมากในเชิงสถาปัตยกรรมและผังเมือง
กลับมามองที่ การล่าอาณานิคมของญี่ปุ่น เราก็เห็นชัดว่ามีกลุ่มสถาปนิกรุ่นเยาว์ที่ได้ประโยชน์จากการที่มีพื้นที่ใหม่เปิดให้ หนึ่งในสถาปนิกรุ่นเยาว์กลุ่มนั้นก้คือ Mr.Kenzo Tange ซึ่งต่อมาเป็นบิดาของ Metabolist Movement ในญี่ปุ่น (จะกล่าวขยายความต่อไป) เป็นกลุ่มสถาปนิกรุ่นใหม่ไฟแรงในเวลาต่อมา ในช่วงหลังสงคราม รัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยในญี่ปุ่น ก็จะมีระบบการตัดสินงานประกวดแบบโดยใช้กรรมการที่ลำเอียงสุดขั้ว Koolhaas บอกว่า Kenzo Tange นั้นเป็น “The True Manchurian Candidate” (หลายๆ ท่านอาจจะเคยได้ชมภาพยนต์ ชื่อนี้เมื่อสองปีที่แล้ว นำแสดงโดย Denzel Washington แต่ความหมายของๆคำๆนี้ คือ บุคคลที่ผ่านการล้างสมองอย่างเป็นระบบจนทำให้เกิดเป็นลักษณะของ อีกหนึ่งบุคลิกภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวคนๆนี้ และจะถูกนำออกมาเมื่อถึงเวลาที่ผู้ควบคุมที่ทำการล้างสมองนั้น ต้องการ – ดร.พร) Kenzo Tange เ็ป็นคนที่ยอมรับระบบ Corruption อันใหม่นี้ และทำร่วมมือร่วมใจกับ รัฐบาลใหม่ที่แตกต่างจากรัฐบาลเผด็จการในอดีตในเรื่องของระบบวิธีการได้ และทำให้ญี่ปุ่นได้ทำการประกาศตัวเองเป็นผู้นำในโลกของสถาปัตยกรรมของโลกได้ โดยตัวเขาเองได้รับการสนับสนุนอย่างสุดชีวิตโดยรัฐบาลกลางและนักเขียนหลายๆ คน และทำให้กลุ่ม Metabolist ได้รับการกล่าวขวัญเป็นอย่างมากในปี 1960 ที่ World Design Conference และไปถึงจุดสุดยอดในปี 1970 World Fair ที่ญีั่ปุ่น โดยได้รับการสนับสนุนของ Sony และบริษัทยักษ์ใหญ่อื่นๆ และงานในครั้งนั้น ทุกอณูในเชิงสถาปัตยกรรมก็รายล้อมรอบอยู่กับ Superstar ชื่อ Kenzo Tange เพียงคนเดียว
หลังจากที่ได้เข้าสู่อำนาจในการปกครองประเทศ พรรคคอมมิวนิสต์ของจีนได้ทำการวางผังเมืองและสร้างเมืองออกมาในรูปแบบที่เหมือนกับ สหภาพโซเวียต สมุดปกแดงของ เหมาเจ๋อตง มีภาพหมู่บ้านที่อยู่ในป่าอันอุดมสมบูรณ์และมีปล่องไฟ ซึ่งปัจจุบันเป็นภาพที่เห็นได้ทั่วไปทั้งประเทศตามบ้านนอก สถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเด็ดขาด รุนแรงตามสไตล์ของลัทธิคอมมิวนิสต์นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนประเทศฝั่งซ้ายทั่วไป แต่ยุคที่เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจริงๆ คือ จีนภายใต้การนำของเติ้งเสี่ยวผิง “to get rich is glorious” หรือ จะแปลง่ายๆ เป็นไทยว่า ยิ่งรวยยิ่งดี และนั่นก็เป็นคติพจน์ ที่มาจากผู้นำสูงสุด และผลที่ออกมาในตัวภาพพจน์ของเมืองก็คือ การวางผังอย่างรวดเร็ว การก่อสร้างอย่างรวดเร็วมากซึ่งปัจจุบันเราแทบจะไม่ได้เห็นภาพเก่าๆ จากหนังสือของประธานเหมาอีกแล้ว
Koolhaas ได้ทำการศึกษา โครงการ Pearl River Delta ซึ่งเป็น(เขตเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมพิเศษ ของประเทศจีนที่ทำขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตในฝั่งจีน และ back up ทางการเงินจากเงินลงทุนจากต่างชาติซึ่งผ่านมาทางฮ่องกง – ดร.พร) ห้าเมือง รวมกับเมืองของฮ่องกง และหมาเ๊ก๊า ซึงปัจจุบัน เมืองทั้งสามประชากร 20 ล้านคน แต่ในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า อาจจะมีเพิ่มเป็น 36 ล้านคน หรือ 40 ล้านคนในอนาคต ซึ่งจะเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นใน Pearl River Delta นั้น Koolhaas บอกว่าเป็นสิ่งที่ ไม่ได้ต่างกับที่เกิดขึ้นในแมนจูเรียเมื่อ 65 ปีที่แล้ว ซึ่งในแมนจูเรียนั้น พื้นที่ถูกกวาดอย่างเรียบวุด โดยไม่สนว่าใครอยู่ตรงนั้น พิ้นที่ธรรมชาติถูกปรับใหม่อย่างเด็ดขาด ไม่ฟังเสียงใคร มีการสร้างถนน ทางด่วน ทางรถไฟ การจัดแบ่งผังเป็นไปในระบบของพรรคคอมมิวนิสต์ การจัดการกับเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวนี้ จริงๆแล้วถ้ามองอีกด้านก็เป็นการพัฒนาอีกขั้นหนึ่งของวิสัยทัศน์ประธานเหมานั่นเอง สิ่งที่แตกต่างกันก็คือปัจจุบันการพัฒนานั้นนำมาซึ่งเงินตราให้กับสมาชิกของพรรคและเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งในสมัยก่อนเป็นสิ่งที่ขาด และเงินเหล่านั้นก็ถูกนำมาใช้ซื้อเครื่องมือที่ก้าวหน้าในทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำในสิ่งที่ขวานและเคียวไม่มีทางทำได้ (ขวานและเคียวคือเครื่องหมายของลิทธิคอมมิวนิสต์)
JAPANESE MODERNITY: METABOLISM
เคนโซ ตังเงะ (1913-2005) เป็นคนที่ไม่ชอบทั้งการที่จะกลับไปสู่วัฒนธรรมดังเกิม แต่ก็ไม่อยากที่จะทำตัวเหมือน International Modern เขาพยายามที่จะหาหนทางใหม่ Kenzo Tange เป็นคนที่มาเป็นแรงบัลดาลใจให้กับ สถาปนิกรุ่นต่อมาเช่น Noriaki Kurokawa และ Tadeo Ando โดยวิธีของ Tange คือการ ใช้สัญลักษณ์ใน สถาปัตยกรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น มาทำการประกอบกันด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ การก้าวกระโดดไปสู่สถาปัตยกรรม modern แนวใหม่ที่เป็นเอกลักษณฺ์เฉพาะตัวของญี่ปุ่นเอง โครงการที่เป็นที่กล่าวขวัญมากที่สุดโครงการหนึ่ง ได้แก่ Tokyo Bay Area เป็นโครงการที่แสดงให้เห็นว่าคนเอเชียสามารถที่จะแซงหน้าสิ่งที่ชาวตะวันตกเชื่อว่าเป็นความสำเร็จสูงสุดของเขาได้ เพราะตัวอย่างที่อลังการสูงสุดในโลกตะวันตกในขณะนั้นคือ New York City ซึ่งเป็นการสร้างบนเกาะมีการรุกเข้าไปในน้ำทะลบ้าง แต่สำหรับโครงการของ Kenzo Tange นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นการ Taming the water (แปลตรงๆว่าทำให้ ผิว“น้ำ”ทะเล ที่เหมือนสัตว์ป่า มาทำให้เชื่อง กลายเป็นสัตว์เลี้ยงได้ – ดร.พร) ซึ่งปัจจุบันโครงการที่จะเปรียบเทียบกันได้ก็คือ โครงการภายใต้วิสัยทัศน์ของประธานาธิบดี ลี กวน ยู เท่านั้นที่จะเข้าใกล้ Metabolism ได้เท่านั้น ซึ่งก็แน่นอนว่า เป็นการปกครองแบบเผด็จการ ภายใต้กฎเหล็กเช่นกันสำหรับประเทศสิงคโปร์
(ขอขยายความเรื่อง Tokyo Bay Project หน่อยนะครับ สำหรับ โครงการนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานของลัทธิ Metabolism อย่างสูงสุดเพราะเป็นเรื่องของ “เมือง” โครงการนี้มีการสร้างถนนเป็นโครงข่ายเหมือน กิ่งก้านของต้นไม้ เป็น Freeform และก็จะเป็น Form หลักที่จะ Copy ต่อๆ กันไปเป็น Unit ที่มีการเชื่อมโยงกัน กลายเป็นป่า แต่การออกแบบให้เป้นลักษณะนี้ก็มีปัญหาตามมาหมือนกันเพราะว่า ความต้องการที่จะให้มีความ Complex และมี Character พิเศษในทุกๆ มุมมอง เหมือนกับสิ่งมีชีวิต (ต้องไปดูงานของ Michael Sorkin) แ่ต่ก็ ต้องอยู่ภายใต้กฎของความเรียบง่ายเรื่องงานระบบ เรื่องการจราจร และเรื่อง Hierarchy ของพื้นที่ ตามหลักการออกแบบเืมือง แต่ก็ได้รับการกล่าวชมเชยโดยนักทฤษฎีผังเมืองชื่อดัง Christopher Alexander เมื่อปี 1965 ใน เอกสารชื่อ “A City is not a tree” ซึ่ง Alexander ได้บอกว่า แม้ว่าจะดูซับซ้อนแต่ก็มีหลักการดำเนินงานที่ตรงไปตรงมา แต่ก็วิจารณ์่ว่า Kenzo Tange ไมได้คำนึงถึงเรื่องการเจริญเติบโตมากเท่าที่ควร หลายๆ คนก็เอางานของ Tange เรื่อง เมืองทีมี Form มาจาก ต้นไม้ หรือสิ่งมีชีวิต มาพัฒนาต่อ หนึ่งในนั้นคือ Arata Isosaki อันนี้มาเป็นต้นไม้จริงๆ เลย)
CHINESE MODERNITY?
สำหรับกรณีของจีนนั้นแตกต่างออกไป โดยในการประชุมครั้งที่ Koolhaas เข้าร่วมนี้ สถาปนิกและนักวิจารณ์ชื่อดังของจีน Zheng Shiling ได้กล่าวว่า ในขณะที่ญี่ปุ่นได้มุ่งไปสู่สถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ที่เป็นของตัวเอง การเจริญเติบโตอย่างมหาศาลของอุตสาหกรรมก่อสร้างในจีน ไม่ได้ทำให้เกิดสถาปัตยกรรมจีนแบบใหม่แต่อย่างใด จะเห็นได้ชัดจากตัวอย่างของ โอลิมปิคในปี 2008 ที่จะจัดที่ประเทศจีน นั้น สถาปนิกจากทั่วโลก เช่น Norman Foster, PTW, Herzon & de Meuron ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบ แต่ไม่มีสถาปนิกชั้นนำของจีนเข้ามาร่วมเป็นแถวหน้าแต่อย่างใด มีแต่มาเ็ป็นสถาปนิกร่วม (Architect of record) ซึ่งก็หาเหตุผลได้ยากว่าเป็นเพราะอะไร บางคนบอกว่าสถาปนิกจีนเน้นเรื่องปริมาณมากกว่าคุณภาพ แต่เหตุผลที่แท้จริงน่าจะเป็นเพราะว่า รัฐบาลของจีนมีความตั้งใจอย่างมากที่จะให้จีนยืนเด่นบนแผนที่โลก และการที่จะให้โลกได้ยอมรับ ก็คือการที่จะต้องมีสถาปนิกนานาชาติมาร่วมออกแบบในโครงการนี้ ซึ่ง Zheng ก็ยอมรับอย่างเศร้าใจ
CCTV = BIGNESS = REMOLOGY
งานชิ้นโบว์แดงของ สำนักงาน OMA ของ Rem Koolhaas นั้น ได้แก่ อาคารสำนักงาน CCTV (China Central Television) หรือ โทรทัศน์กลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเป็นอาคารสูง 230 เมตร มีพื้นที่อาคารประมาณ 360,000 ตารางเมตร เป็นสถาณีที่ใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลที่สุดในประเทศจีน (มีตั้งแต่รายการที่มีเนื้อหาของรัฐบาล ข่าว และการให้การศึกษาอื่นๆ มีบันเทิง รวมทั้งหมดมี 16 ช่อง รวมทั้งที่เป็นภาษาอังกฤษ ภาษาสเปญและภาษาฝรั่งเศส – ใครอยากดูอาคารหลังนี้ลองหาดูใน Internet นะครับ) อาคารหลังนี้เป็น การประกอบกันของรูปทรงที่แรงมากที่เป็น volume ยาว ทั้งทางตั้งและทางนอน เป็นโครงการที่ตั้งอยูี่่ในเขตเมืองที่มีอาคารสูงปนอยู่แล้ว ไม่ใช่ไปตั้งอยู่กลางทุ่งโล่ง เป็นแท่งสูงเสียดฟ้า รูปทรงที่ออกมา Koolhaas ไ้ด้บอกว่า ต้องการที่จะเปลี่ยนความรู้สึกของอาคารสูงที่ส่วนใหญ่ต้องการไปสู่ฟ้า แต่อาคารหลังนี้ให้เหมือนกันหันมาคุ้มครองคนบนพื้นดินบ้าง อันเป็นปรัชญาของโลกตะวันออกอย่างหนึ่ง
ในหนังสือ S,M,L,XL นั้น Koolhaas ได้อธิบายเรื่องเกี่ยวกับ คำว่า “ultimate architecture” อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้สถาปัตยกรรมไปสู่จุดที่เรียกว่าเป็นสิ่งที่ให้ความรู้กับคนในสังคม Koolhaas ได้ให้คำหลักๆว่า “Bigness” โดยเริ่มต้นตั้งแต่ เกือบร้อยปีก่อน ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการปฎิวัติของวงการศิลปะ ที่เรียกว่า “Modernist Revolution” ซึ่งในช่วงนั้นก็มี Picasso, Marinetti และ Joyce ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเน้นรูปทรงบางประการและการสื่อความหมายที่่ลึกซึ่งมากขึ้น เป็น abstract และ symbol มากขึ้น Picasso เน้นเรื่องการวาดภาพแบบ สองมิติที่มีการเหลื่อมกันระหว่าง เส้นสายและสี Joyce เน้นไปในด้านงานเขียนโดยการมุ่งโจมตีหลักการการใช้ภาษาเก่าๆ มีการปรับเปลี่ยน ภาษา สัญลักษณ์ และ งานพิมพ์ Marinetti ซึ่งเรียกว่าเป็นผู้นำของ Italian Futurists ทำการปฎิวัติวงการโดย เน้นเรื่อง การสร้างการเคลื่อนไหว และความรู้สึกของความเร็ว ลงไปใน Form ที่หยุดนิ่ง
ด้วยการ Contribute (แปลเป็นไทยได้ไม่ตรงครับ คำนี้) ต่อสังคมของ Mies van der Rohe, Gropius และ Frank Lloyd Wright สถาปัตยกรรม ได้เข้าสู่ยุคของการทดลองหรือ Experiment ซึ่งเป็นยุคที่ Koolhaas ได้จับแยกออกมาเป็น ห้าส่วน; โดยเป็นการค้นหา 1) ในเรื่องการขยายส่วนในการทำซ้ำ (Multiplicity) 2) เรื่องของตัวรูปด้าน (Elevation) 3) ลักษณะของรูปด้าน (Façade) 4) การแยกส่วนของพื้นที่เมือง (Disintegration of Urban Tissue) และ ส่วนสุดท้ายที่สำคัญที่สุด คือ 5) จริยธรรมใหม่ ที่ต้องไปมากกว่า กรอบของ ความดีและความเลว หัวข้อทั้งห้าเหล่านี้เป็นการเปิดทางไปสู่ “Bigness” ของ Rem Koolhaas เปรียบเทียบสถาปัตยกรรมที่ใหญ่ผิดปกติเหล่านี้โดยใช้คำว่า Nietzschean ซี่งหมายถึง มนุษย์ที่ถูกสร้่างขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลงยีนให้มีความแข็งแกร่ง ฉลาด และมีคุณสมบัติเพรียบพร้อม เหนือมนุษย์ทั่วไป และแก้ปัญหาข้อเสียทั้งหมดของมนุษย์ไป สำหรับในกรณีของ สถาปัตยกรรม ก็คือการไปสู่จุดที่ใหญ่เหนือมนุษย์ ห่างไกลจากความเป็น scale ของมนุษย์ (inhuman quantity) เพราะคนที่สร้างสถาปัตยกรรมชนิดนี้ขึ้นมา มีจุดมุ่งหมายในการที่จะสร้างสถาปัตยกรรมให้ มีลักษณะใหญ่โต มโหฬารดังกล่าว ดังนั้น จะเป็นไปได้มั้ยว่าอาคาร CCTV ที่ Koolhaas ออกแบบนั้นเป็นสิ่งที่จะเป็นผลลบ คำตอบของ Koolhaas ก็คือ ไม่จริง เพราะ Koolhaas สรุปว่า สถาปัตยกรรมนั้น มาคู่กับความเป็น อาชญากรรม (Crime) มาคู่กับความบ้าอำนาจ (Despotic Regime) เพราะนั่นคือหนทางที่มันจะไปสู่ความเป็น Bigness ซึ่ง CCTV ก็เป็นอาคารที่ ใหญ่ที่สุด ในชีวิตการทำงานของ Rem Koolhaas ซึ่งเป็นผลสะท้อนของความเป็น Remology (การศึกษาทาง Rem Koolhaas = Rem + Ology เหมือนกับ Sociology, Biology)
Down Fall of The Sky Scraper
ประวัติศาสตร์ของอาคารสูงเสียดฟ้า หรือ Skyscraper นั้นเป็นประวัติศาสตร์ที่มีการพัฒนามุ่งไปทางตะวันออก โดยเริ่มต้นมาจากปี 1920 ในมหานคร นิวยอร์ค และชิคาโก และมุ่งไปสู่ยุโรป ไปสู่อัฟริกา และหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองก็ไปสู่เอเชีย ในระหว่างที่ค่อยๆคลืบคลานไปนั้น ประโยชน์ใช้สอย และการสื่อความหมายก็เปลี่ยนไป อาคารสูงระฟ้านั้นถูกใช้เป็นเครื่องหมายและเครื่องมือของลัทธิทุนนิยมเสมอ แต่ลัทธิทุนนิยมก็ไม่ได้ใช้มันโดยตรง หรือไม่ได้มีอิทธิพลต่อการสร้างให้อาคารสูงเป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้สูงสุดภายใต้ความเชื่อของลัทธินี้แต่อย่างใด ตัวอย่างที่น่าสนใจได้แ่ก่อาคาร Seagram ที่มหานครนิวยอร์ค ซึ่งเป็นเครื่องจักรทุนนิยม ทำจากเหล็กกล้าและกระจก เป็นการเชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์ระหว่างที่ว่างและเวลา (ขอขยายความหน่อยว่า อาคาร Seagram นี้เป็นอาคารที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นอาคารที่มีค่าก่อสร้างต่อพื้นที่แพงที่สุดในโลก สาเหตุเพราะเรื่องการ Set back ที่ Mies Van De Rohe บอกให้ Set ไปทั้งแผง เกิดเป็น Plaza หน้าอาคาร ขนาดใหญ่เป็นครั้งแรก ในขณะที่อาคารอื่นๆ ใช้วิธี ค่อยๆ set back เป็นขึ้นบันได้ เพื่อจะได้พื้นที่เต็มขั้น Plaza ที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้คนเห็นอาคารได้อย่างอลังการแต่ในขณะเดียวกันก็แห้งแล้งไร้ชีวิตชีวา ตามสไตล์ โมเดิร์น ทีล็อคตัวเองอยู่ในช่วง 60s – 70s จนกระทั่งค่อยๆ ปรับเปลี่ยนไปเป็นทางเท้า ที่มีชีวิตชีวาที่เกิดขึ้น ต้องไปเปรียบเทียบกับ Rockefeller Sunken Plaza – ตัวอาคารของ Seagram เองนั้นมีการคิดเรื่อง Model ของ Mullion กระจก การปรับพื้นที่ให้ flexible การให้แสงธรรมชาติ เป็น in side out และ out side in ที่ perfect ที่สุดอันหนึ่งของโลก คนที่รู้เรื่อง Mies มากที่สุดคนหนึ่งที่ผมรู้จักในที่นี้ คือ คุณศัลยเวทย์ ประเสริฐวิทยาการ ลองให้ท่านมาอธิบายดู) ในขณะเดียวกัน อาคารที่เราเห็นอยู่ในปัจจุุบันนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสัญลักษณ์เป็นส่วนใหญ่ หนึ่งในนั้นคือ กลุ่มอาคารสูงใหม่ของเมืองเซี้ยงไฮ้ เป็นสิ่งที่คิดขึ้นมาส่วนใหญ่เพื่อจุดประสงค์เพียงมิติเดียวคือ เพื่อความเทห์ Oriental Pearl TV Tower เป็นสิ่งที่ชัดมาก เพราะเป็นอาคารที่เป็น กลุ่มรูปทรงที่ดู แปลกตา นักท่องเที่ยวต้องมารุมดู เป็นสัญลักษณ์ของยุคใหม่ แต่ภายในแทบจะไม่มีพื้นที่ใช้สอยที่มีความหมายใดๆ เลย ถ้านี่คืออาคารสูงที่เป็น ผลสะท้อนของเศรษฐกิจ ไปตามกระแสตลาด เป็นเหมือนกับการสนองความอยากตามแต่ตัณหาจะพาไป (Rem Koolhaas ใช้คำว่า Viagra-Potency) สิ่งที่ Koolhaas พยายามทำกับ CCTV ทีออกแบบคือการ ทำลายแนวคิดตรงนี้ลงไป (แนวคิดเดิมๆ Koolhaas ใช้คำว่า Banality) เป็นสิ่งที่ โลก Communist ของจีนที่ดำเนินไปด้วยเชื้อเพลีงของทุนนิยมจะต้องทำการทดลองค้นคว้าต่อไป (Exploration) แต่สรุปแล้ว ถ้าจะให้เปลี่ยนแปลงอย่างเด็ดขาด ไม่มีทางอื่นนอกจากจะต้อง ฆ่าอาคารสูงระฟ้าเท่านั้น (Kill The Skyscraper)
WELCOME TO PHOTOSHOPOLIS!
ถ้าจะมีสิ่งที่เป็นประเด็นหลักในงานเขียนของ Rem Koolhaas เรื่องที่น่าสนใจก็คือ เรื่องของ “ตรรกะ” ของเมืองในปัจจุบันที่ต่างกับสมัยก่อน เป็น ตรรกะ หรือ Logic ที่เขาหยิบยกมาใช้ตลอด Koolhaas ไม่ได้สนใจการจะสร้างความชัดเจนให้กับสิ่งที่เขานำเสนอ แต่เขาสนใจที่จะให้ผู้ชมตีความสิ่งที่เขาเสนอเอาเอง เขาได้เขียน ประสบการณ์ และมีการนำภาพถ่ายของสัญลักษณ์ หรือสิ่งของต่างๆที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ไม่เคยได้ิยินมาก่อนมาให้กับผู้ชม โดยเนื้อหาก็จะพันไปถึงเรื่องของ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และ สถาปัตยกรรม ซึ่งจะมีการส่งผลมาถึงตัว Form ที่เห็น เป็นผลลัพท์สุดท้าย
ถ้าเช่นนั้น อะไรเป็น Influences (ใครช่วยแปลคำว่า Influences หน่อยครับ ไม่ได้แปลว่าผลกระทบ) ที่ทำให้เกิดเมืองสมัยใหม่ในประเทศจีน ตัวอย่างชัดๆ ก็คือ Pearl River Delta, Shanghai และ Beijing เพราะ Koolhaas มักจะทำให้เรามึนงงเสมอด้วย คำถามอันมากมายเกี่ยวกับสิ่งที่เขา ได้พบ ฟัง และรู้สึก มันฟังดูแปลกมั้ยที่ ศูนย์กลางของเมือง (City Center) ของเมือง เสิ่นเจิ้น คือ สนามกอล์ฟ, อะไรคือการกำหนดคำจำกัดความของคำว่าอาคารระฟ้า (Skyscraper) ในเมือง (Urban) ทั้งๆที่ อาคารสิบชั้นในจีนคืออาคารที่สร้างอย่างปกติใน ชานเมือง แล้วอะไรที่ทำให้ รัฐบาลและกลุ่มธุรกิจไม่สนใจผลเสียใดๆ ว่าทางด่วน Wu ซึ่งแพงมาก และแทบไม่ได้แตะพื้นเลย และเป็นทางด่วนที่ไม่ได้มุ่งไปที่ไหนเลย
Koolhaas ไม่ได้ตั้งคำถามเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อหาคำตอบ แต่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เกิดสภาวะของแนวคิดในระดับ Conceptual กับสิ่งต่างๆ ที่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาอย่างยิ่งใหญ่แต่แทบจะไม่ได้ตอบสนองอะไรเลยเหล่านี้ Koolhaas ใช้คำว่า POTEMKIN CORRIDORS หรือ POTEMKIN CITIES (ความหมายของ Potemkin มาจาก คำว่า Potemkin Village หรือหมู่บ้านของ Potemkin ซึ่งเป็นชื่อของ Grigori Alexandrovich Potemkin ขุนนางและนักรบสมัย สมเด็จพระราชินี แคเธอรีนมหาราชแห่งรัสเซีย หลายกระแสบอกว่าเป็น Lover พระองค์ด้วย เป็น โดยครั้งหนึ่งได้ทำการก่อสร้างหมู่บ้านปลอม ท่าเรือปลอม ป้อมปลอม เพื่อให้สมเด็จพระราชีนีเกิดความประทับใจ ถ้าจะเปรียบเทียบกับประเทศไทยก็คือการจัดหมู่บ้าน ตกแต่งให้ดูว่าเจริญแล้ว เพื่อรับนักการเมืองหรือรับเสด็จ นั่นเอง หมายถึงการก่อสร้างให้ดูดี แต่เป็นของจอมปลอม ไม่ได้สะท้อนการพัฒนาที่แท้จริง) ประเทศจีนนั้น มีหลายกรณีมากที่เป็นแบบนี้ การเจริญเติบโตที่ไม่ได้เป็นผลสะท้อนมาจากความต้องการที่แท้จริง แต่เหมือนเป็นการสร้างภาพ ทำให้เกิดสูญเสียลักษณะเฉพาะ หรือ itendity ที่เป็นผลสะท้อนทางวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่แท้จริงของสังคมนั้นๆ เป็นเมืองทีดูธรรมดาๆ เหมือนทั่วๆไปในโลก ไม่สามารถมองดูแล้วบอกได้ว่าที่นี่คือที่ไหน (Generic City) มีเพียงแต่แรงโน้มถ่วงของโลกเท่านั้นทีทำให้อาคารเหล่านี้ยังตั้งอยู่ แต่ไร้แรงทางวัฒนธรรมและสังคม เป็นเมืองที่มีลักษณะทางกายภาพแต่ไร้จิตวิญญาณ (Urban without Urbanity) ดูเหมือนทางรัฐของประเทศจีนจะปฎิเสธความแตกต่างของความเป็นเมือง และชนบทไปหมดแล้ว และความเป็นเมืองก็ดูเหมือนจะเกิดขึ้นมาจากความรีบเร่งของเวลา มากว่าความต้องการที่จะเข้ามาจัดการพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพแบบการเกิดความเป็นเมืองทั่วๆไปในโลก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเมืองหนึ่งคือ Zhouhai ที่เป็นเมืองใหม่ในประเทศจีน มีตึกรามบ้านช่องสูงใหญ่ ในเขตของ Pearl Delta River เขตเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ที่มีการพัฒนาสูงสุดแห่งหนึ่งของประเทศจีน ซึ่งเป็นเมืองที่ว่างเปล่า ไม่มีพื้นที่สาธารณะ และไม่มีคนอยู่ (อันนี้ไม่ตรงกับข้อมูลของ Website ของรัฐบาลจีนว่า Zouhai เป็นเมืองในฝัน มีการวางผังและจัดระบบการพัฒนาแบบมืออาชีพ และจะเป็นเมืองที่มีคุณภาพชีวิตสูงมาก เหมาะสำหรับชาวต่างชาติจะย้ายมาเป็นที่อยู่อาศัย และเป็นบ้านที่สองสำหรับนักธุรกิจต่างประเทศ - ลองดูเองว่าจะเชื่อใครนะครับ) แทนที่จะเป็นเมืองจริงๆ กลับกลายเป็นเมืองที่เหมือนกับเมือง เป็น Announcement City หรือเมืองที่ประกาศศักดา เป็นหน้าตาของประเทศ เท่านั้นเอง (กลับไปที่ Potemkin Village ใหม่)
Koolhaas ย้ำมากว่า ในระดับของความเร็วที่เกิดขึ้นในการก่อสร้างเมืองใหม่ของรัฐบาลจีนนั้น Shenzhen หรือเสิ่นเจิ้นนั้น แทบจะยังไม่เป็นวัยรุ่นด้วยซ้ำ แต่กลับเป็นเมืองที่มีคนมาอยู่เ้ป็นล้านๆ แล้ว เมืองเสิ่นเจิ้นนั้นไม่ใช่กรณีพิเศษ แต่เหมือนกับทุกๆ แห่งในประเทศ เป้นการออกแบบที่ทำบนเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ในบ้านเล็กๆ หรือห้องเล็กๆในครัวของ สถาปนิกเด็กที่ยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่ Koolhaas บอกว่า กลุ่มสถาปนิกจีนเหล่านี้เป็นกลุ่มสถาปนิกที่สำคัญที่สุดในโลก เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ ตอกย้ำความจำเป็นที่สถาปนิกเหล่านี้ต้องมีความเข้าใจต่อ กฎเกณฑ์ของสถาัปัตยกรรม เป็นอย่างมาก (นึำกถึงประเทศไทยสมัย เศรษฐกิจปาฎิหารย์ ก่อนปี 1997 ที่เด็กจบใหม่ได้ออกแบบ Condo สามสิบชั้น แต่ที่นีคือออกแบบเมืองเลย) ถ้าไม่เช่นนั้น จะเป็นปัญหาที่น่ากลัวมากในอนาคต (เพราะเมื่อถึงเวลาทุกสิ่งทุกอย่างจะเริ่มเสีย เริ่มเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็วพร้อมกันทั้งประเทศเหมือนกัน)
สิ่งที่มีขนาดใหญ่และต้องการความรวดเร็วในการออกแบบเช่น เมืองในประเทศจีนนี้ ไม่สามารถทำให้ออกมาอย่างมีคุณภาพด้วย กระดาษและดินสออีกต่อไป แต่ทุกๆคนก็ต้องหันมาใช้ คอมพิวเตอร์ AutoCAD หรือถ้าดีกว่านั้นคือ PHOTOSHOP ซึ่งเป็น เครื่องมือที่รวมทุกๆอย่างที่คนจะจินตนาการได้เข้ามาในกรอบภาพกรอบเดียว การตัดแปะอาคารสูง 200 เมตร สร้างขึ้นมาภายใน 20 วัน เป็นเรื่องปกติไปแล้ว และการออกแบบด้วยวิธีนี้ทำให้เกิดผลกระทบที่ค่อนข้างน่ากลัวต่อเมือง การตัดและแปะไม่ได้ทำให้เกิดความเป็นเืมืองซึ่งควรจะเป้นการรวมตัวกันของ สไตล์และฟอร์มที่หลากหลาย แต่รวมตัวกันเป็นหนึ่งลักษณะไปในทางเดียวกัน (Koolhaas ใช้คำว่า Melodic Coexistence) เมืองที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วย Photoshop เป็นสิ่งที่ดูดีแต่ยากที่จะเิกิด ความเป็นหนึ่งลักษณะดังกล่าวได้ แต่กลับกลายเป็น ความแตกต่างที่เป็นความวุ่นวายและน่าจะนำไปสู่หายนะ (City of Exacerbated Difference)
IS OMA GETTING OLD?
Koolhaas ปิดการบรรยายด้วยการยอมรับ ว่าหน่วยงานของเขา (Koolhaas ไม่ใช้คำว่า Office หรือ Company แต่ใช้คำว่า Bureau เหมือนกับความเป็น ราชการที่ทำงานเพื่อสังคม) เริ่่มที่จะทำสิ่งที่เขาไม่เคยคิดว่าจะทำเลย เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เช่น การทำโครงการอนุรักษ์เขตวัฒนธรรมพิเศษในประเทศจีน การตัดสินใจที่ท้าทายมากว่า จตุรัส Hutongs ควรจะกลายเป็นอาคารสูงระฟ้า หรือจะเป็นบ้านโบราณไว้ให้อนาคตของชาติได้เห็น
สิ่งที่เป็นปัญหากับระบบการอนุรักษ์คือ คนจะมองว่าเป็นเรื่องของอาคาร เรื่องของรูปร่างหน้าตา น่าเสียดายที่เราไม่สามารถ อนุรักษ์แนวทางการใช้ชีวิตของคนไว้ได้ บ้านเก่าๆ เหล่านี้ ต่อไปก็จะไม่มีใครอยูเพราะสภาพของเมืองจะผลักคนเหล่านี้ออกไป Koolhaas กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของการอนุรักษ์น่าจะเป็นทั้งระบบ ไม่ใช่เพียงแต่เปลือก สภาพชีวิตของคนที่อยู่ในอาคารเก่า วิถีชีวิตของพวกเขาจะเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมเห็นความแตกต่าง แต่ไม่ใช่การห้ามการสร้างของใหม่ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ท้าทายมากต่อไปในอนาคต
Theme และ Boutique
ผมยังคิดว่าทั้งสองคำ Link ไปกับอาคารทางด้านโรงแรม เพราะไม่เคยได้ยินว่า โรงพยาบาล โรงเรียน สถาณีตำรวจ หรือ อาคารราชการจะเป็น Theme หรือ Boutique อะไร
เท่าที่เคยทำมา คำว่า Theme นั้นเป็นสิ่งที่ คนส่วนใหญ่มี Perception หรือภาพ ในใจอยู่แล้ว เช่น Theme ทะเลใต้ Theme ละครสัตว์ นั่นจะไปเกิดในโรงแรมที่จะมีการจัดไปในทางเดียวกันหมด ตั้งแต่การตกแต่ง เครื่องแบบพนักงาน และ ข้าวของเครื่องใช้ไปในทางเดียวกันหมด การลงทุนมหาศาล ค่า Maintaintenane มหาศาล หลายๆ สิ่งทีทำขึ้นต้องเป็น Custom made คือสั่งทำพิเศษ ดังนั้น ถ้า order เป็น lot เล็กๆ ก็ไม่คุ้ม ซึ่งหมายถึงว่า Theme Resort นั้นจะต้องเป้นโรงแรมที่ใหญ่มากๆ มีเป็นพันห้อง เหมือนเนรมิตให้คนไปอยู่ในโลกอีกโลกหนึ่ง ซึ่ง ตามลักษณะตลาดนั้น ตอนนี้เบาบางลงไปแล้ว คนกำลังเข้าสู่สไตล์ใหม่ๆ Theme Resort ที่ชัดเจนมากก็อย่างเช่น Venetian แห่งเมือง Las Vegas ก็คือ Theme เป็นเมือง Venice เลย เอา Venice มาตั้งไว้ในทะเลทราย, Caesars Palace แห่งเมือง Las Vegas ก็มี Theme เป็นโรมัน ทหารโรมันเดินไปมาในโรงแรม อะไรแบบนั้น
คำว่า Boutique นั้นเป็นอีกเรื่อง คือตอนนี้ใครๆ จะเปิดโรงแรม หา Furniture สวยๆ ทำแสงสลัว แล้วแต่ง Minimal หน่อยก็จะเรียกตัวเองว่าเป็น Boutique แล้ว แต่ในส่วนตัว และเคยได้คุยกับเจ้านายที่ออกแบบโรงแรมมา 30 ปี บอกว่า คำว่า Boutique ถ้าจะให้ Valid จริงๆ ต้องออกมาจากการออกแบบ Space เพื่อให้เกิดความแปลกใหม่ ไม่เหมือนใครจริงๆ คือต้องเป็น Structure และ Architecture ไม่ใช่ Skin และ Interior เ่ท่านั้น ว่าง่ายๆ ก็คือ ถ้าไปซื้อตึกเก่า เอาสี Paint แ่ต่งผนัง ทำแสงสวยๆ เอา โซฟา Design แรงๆ มาวาง แต่ห้องเป็นสี่เหลี่ยมธรรมดา อันนี้ไม่ใช่ แต่ถ้าเข้าไปในห้องพักที่โรงแรม มี อ่างอาบน้ำอยู่กลางห้องเลย หรือมีห้องน้ำไปอยู่ติดหน้าต่าง มีเตียงลอยอยู่เหนือสระน้ำ อะไรแบบนี้คือ Design From the beginning ซึ่งมันไม่เหมือนใคร นี่คือ Boutique
แต่อย่างว่า มันไ่ม่ใช่ Legal Term ทุกวันนี้ Chain Hotel ที่ตั้งชื่อตัวเองว่า Boutique ก็ทำโรงแรมออกมา ไม่ได้ มี Design อะไรมากเท่าไหร่ ถ้า Boutique จริงๆ คงจะต้อง Recommend W Hotel Chain ทั้งหมด หรือ Standard Hotel ที่ นคร Los Angeles หรือ โรงแรมที่เป็น Adaptive Reuse ทั้งหลาย เช่นเอา อ่างเก็บน้ำเก่ามาทำโรงแรม เอาโรงงานรถยนต์มาทำเป็นโรงแรม พวกนี้จะได้ความแปลกพิสดาร ไม่เหมือนใคร
เท่าที่เคยทำมา คำว่า Theme นั้นเป็นสิ่งที่ คนส่วนใหญ่มี Perception หรือภาพ ในใจอยู่แล้ว เช่น Theme ทะเลใต้ Theme ละครสัตว์ นั่นจะไปเกิดในโรงแรมที่จะมีการจัดไปในทางเดียวกันหมด ตั้งแต่การตกแต่ง เครื่องแบบพนักงาน และ ข้าวของเครื่องใช้ไปในทางเดียวกันหมด การลงทุนมหาศาล ค่า Maintaintenane มหาศาล หลายๆ สิ่งทีทำขึ้นต้องเป็น Custom made คือสั่งทำพิเศษ ดังนั้น ถ้า order เป็น lot เล็กๆ ก็ไม่คุ้ม ซึ่งหมายถึงว่า Theme Resort นั้นจะต้องเป้นโรงแรมที่ใหญ่มากๆ มีเป็นพันห้อง เหมือนเนรมิตให้คนไปอยู่ในโลกอีกโลกหนึ่ง ซึ่ง ตามลักษณะตลาดนั้น ตอนนี้เบาบางลงไปแล้ว คนกำลังเข้าสู่สไตล์ใหม่ๆ Theme Resort ที่ชัดเจนมากก็อย่างเช่น Venetian แห่งเมือง Las Vegas ก็คือ Theme เป็นเมือง Venice เลย เอา Venice มาตั้งไว้ในทะเลทราย, Caesars Palace แห่งเมือง Las Vegas ก็มี Theme เป็นโรมัน ทหารโรมันเดินไปมาในโรงแรม อะไรแบบนั้น
คำว่า Boutique นั้นเป็นอีกเรื่อง คือตอนนี้ใครๆ จะเปิดโรงแรม หา Furniture สวยๆ ทำแสงสลัว แล้วแต่ง Minimal หน่อยก็จะเรียกตัวเองว่าเป็น Boutique แล้ว แต่ในส่วนตัว และเคยได้คุยกับเจ้านายที่ออกแบบโรงแรมมา 30 ปี บอกว่า คำว่า Boutique ถ้าจะให้ Valid จริงๆ ต้องออกมาจากการออกแบบ Space เพื่อให้เกิดความแปลกใหม่ ไม่เหมือนใครจริงๆ คือต้องเป็น Structure และ Architecture ไม่ใช่ Skin และ Interior เ่ท่านั้น ว่าง่ายๆ ก็คือ ถ้าไปซื้อตึกเก่า เอาสี Paint แ่ต่งผนัง ทำแสงสวยๆ เอา โซฟา Design แรงๆ มาวาง แต่ห้องเป็นสี่เหลี่ยมธรรมดา อันนี้ไม่ใช่ แต่ถ้าเข้าไปในห้องพักที่โรงแรม มี อ่างอาบน้ำอยู่กลางห้องเลย หรือมีห้องน้ำไปอยู่ติดหน้าต่าง มีเตียงลอยอยู่เหนือสระน้ำ อะไรแบบนี้คือ Design From the beginning ซึ่งมันไม่เหมือนใคร นี่คือ Boutique
แต่อย่างว่า มันไ่ม่ใช่ Legal Term ทุกวันนี้ Chain Hotel ที่ตั้งชื่อตัวเองว่า Boutique ก็ทำโรงแรมออกมา ไม่ได้ มี Design อะไรมากเท่าไหร่ ถ้า Boutique จริงๆ คงจะต้อง Recommend W Hotel Chain ทั้งหมด หรือ Standard Hotel ที่ นคร Los Angeles หรือ โรงแรมที่เป็น Adaptive Reuse ทั้งหลาย เช่นเอา อ่างเก็บน้ำเก่ามาทำโรงแรม เอาโรงงานรถยนต์มาทำเป็นโรงแรม พวกนี้จะได้ความแปลกพิสดาร ไม่เหมือนใคร
Subscribe to:
Posts (Atom)