Monday, February 27, 2006
Sunday, February 26, 2006
บทความแปล - กรณีศึกษาวิชาชีพในประเทศสเปน
บทความแปล - กรณีศึกษาวงการประกอบวิชาชีพของ Spain - สถาปนิกใน "ออก" สถาปนิกนอก "เข้า"
เขียนบน Website ของ สมาคมสถาปนิกสยาม (www.asa.or.th) เริ่มเขียนเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2005
จาก The Spanish Import/Export Business:As foreign architects flock to Spain, Spaniards explore abroad. Architecture Record ฉบับ มีนาคม 2005 โดย Sam Lubell
จากพระราชวัง Alhambra แห่งเมือง Granada ไปสู่ Renaissance Monastery แห่ง El Escorial ณ เมือง Madrid โดย Juan De Herrara (สถาปนิกสเปน 1530-1597) จนถึง Sagrada Familia โดย Antonio Gaudi งานสุดยอดสถาปัตยกรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้โลกได้เห็นถึง ความสามารถของสถาปนิกสเปน ที่มีมาหลายศตวรรษ แ่ต่ ประเทศ สเปน ในปัจจุบันที่เราเ็ห็น ไม่ได้เป็นดินแดนของ Gaudi เท่าั้นั้น แต่ที่นี่ยังเป็นดินแดนของ Gehry อีกด้วย พิพิธภัณฑ์ Bilbao อันมีเอกลักษณ์ของผนัง Aluminium ภายนอก ที่เขาได้ออกแบบนั้น (1996) อาจจะเีรียกได้ว่าเป็น โครงการ(สถาปัตยกรรม) ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประเทศ ก็เป็นได้ ไม่ใช่เพียงแค่ในด้านของการดึงดูดคน และการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นเท่านั้น แต่เป็นการ บ่งบอกถึงจุดของเวลา ที่่สถาปนิกต่างชาติได้ทำการบุกเข้าสู่คาบสมุทร Iberian แห่งนี้ กองทัพสถาปนิกต่างชาติเหล่านี้ มาพร้อมกับอาวุธยุธโทปกรณ์ ทั้งด้าน Computer Program, ทฤษฎีทางด้านความงามสมัยใหม่ รสนิยมที่ทั้งโลกกำลังไปสู่ทางเดียวกัน ซึ่งทั้งหมด กำลังค่อยๆ เปลี่ยนแปลงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของประเทศ Spain ไปอย่างช้าๆ แต่รุนแรง สถาปนิกและนักออกแบบทั้งหลายที่พยายามจะเข้ามาใน Spain นั้น โหยหาความสำเร็จที่เหมือนกับ Bilbao และต้องการที่จะเข้ามามีส่วนแบ่งกับตลาดของอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่เจริญเติบโตรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นจุดจบของสถาปนิก สเปน แต่อย่างใด ตรงกันข้าม สถาปนิก สเปน กลับมุ่งไปได้ Project ในทุกๆ มุมของโลก ด้วยอัตราที่สูงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สาเหตุส่วนหนึ่งก็เื่นื่องมาจากความทึ่งของโลก กับสถาปัตยกรรมสเปนสมัยใหม่ ที่มีแนวการคิดอันสลับซับซ้อนแต่ แสดงออกมาอย่างเรียบง่าย หมดจด และ ระบบการทำรายละเอียดโครงสร้าง ที่มีคุณภาพสูงที่สุดเป้นอันดับต้นๆ ของโลก (นิตยสารเกี่ยวกับการออกแบบและสถาปัตยกรรม นั้น มุ่งเน้นไปในการเผยแพร่ประเด็นนี้มาโดยตลอด) ดังนั้น การนำเข้าสถาปนิกต่างชาติ และการส่งออกสถาปนิก สเปนไปทั่วโลก ณ ปัจจุบัน ทำให้ Spain เป็นเหมือนกับ ห้องทดลองทางความคิดสร้างสรรค์จากนานาชาติ และน่าจะเป็นกรณีศึกษาที่ดี สำหรับประเด็นของ Globalization of Architecture
สถาปนิกต่างชาติ กำลังมา !!!
การหลั่งไหลของ สถาปนิกต่างชาติเข้ามาใน ประเทศ เสปน นั้นเหมือนกับการที่สถาปนิกต่างชาติเข้าสุ๋ประเทศจีน ภายหลังจากการปกครองของนายพล ฟรังโก เศรษฐกิจของประเทศก็ดีขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้ ความช่วยเหลือจาก EU. ทำให้ตลาดการก่อสร้างเป็นที่โหยหาของสถาปนิกจากนานาประเทศ จากข้อมูลของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน Analistas Financieros เศรษฐกิจการก่อสร้างนั้นคิดเป็น 9.8% ของเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมดของประเทศในปี 2003 โดยเทียบกับ ทั้ง 5.6% ของ E.U.
เช่นเดียวกับจีน ประเทศเสปนนั้นต้องการแสดงความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจโดยการจ้างสถาปนิกชื่อดัง ราคาแพงๆ จากต่างประเทศมากทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความสำเร็จของพิพิธภัณฑ์ Bilbao ที่มีคนมาเยี่ยมประมาณ 1 ล้านคนต่อปี นั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากมี และด้วยผลกระทบอันนี้ทำให้ชาวเสปน พยายามมองหาสถาปนิกต่างชาติที่ีความสามารถมากขึ้น
จำนวนของสถาปนิกต่างชาติที่เข้ามาใน Spain ในรอบ 5 ปี นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะถือว่ามหัศจรรย์ เริ่มได้ตั้งแต่ Frank Gehry ที่ได้รับการรับเชิญให้ออกแบบแผนพัฒนาเมืองอีก 1 เมือง ที่ชื่อ Elciego ที่เป็นเมือง ผลิตไวน์ที่มีชื่อเสียง โดย Gehry สัญญา่ว่าจะ Redefine และ Invigorate ภาพพจน์ของเืมืองต่อสาธารณะใหม่ แปลว่าจะตีความใหม่และทำให้เกิดความตื่นเต้นและมีสีสัน (โปรดสังเกตุว่าคนเสปนเชื่อมันในตัวสถาปนิกมากในเื่รื่องที่จะมาทำงานระดับนโยบาย ไม่ได้เป็นแค่งานระดับการประกอบวิชาชีพหรือนำเสนอแนวทางการสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพเท่านั้น - ผู้เขียน) นอกจากนี้ Gehry เป็นสถาปนิกออกแบบโรงแรมแห่งใหม่ในเขต Poblenou ในเมือง Barcelona สถาปิกชาวฝรั่งเศส Dominic Perrault มีโครงการยักษ์ๆ 4 โครงการ (เสปนคือตลาดที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท) David Chipperfield จากอังกฤษ มี 6 โครงการ Herzog and de Meuron แห่งสวิส มี 8 โครงการ นอกจากนี้ยังมี Zaha Hadid (4 โครงการ) และ OMA ของ Rem Koolhaas (2 โครงการยักษ์ที่สำคัญมาก)
“ประเทศอื่นๆ ในยุโรปมีการก่อสร้างเต็มไปหมดเรียบร้อยแล้ว” ฮวน เฟอร์นันเดซ อันดริโน สถาปนิกแห่งบริษัท Dominic Perrault กล่าว “ผมคิดว่าประเทศสเปน เป็นประเทศที่มองหา idea ใหม่ๆ และ คนใหม่ อยู่เสมอ” นอกจากนี้ Ascan Merganthaler หุ้นส่วนของ Herzog & de Meuron ก็เสริมว่า “สเปนน่าจะเป็นประเทศเดียวในโลกถ้าไม่นับจีน ที่เป็นประเทศที่คุณสามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงสภาพของเืมืองได้อย่างสิ้นเชิง (Radical Change)”
ความรู้สึกที่อยากจะมีอะไรใหม่ๆหรือเทห์ๆ อยู่เป็นสัญลักษณ์ของชุมชน หรืออาจจะเรียกได้ว่าความบ้าสถาปัตยกรรมก็ได้นั้น เป็นสิ่งที่มาจากวัฒนธรรมของสเปนโดยแท้ ที่มีความเป็น Visual Culture สูงมาก โดย Peter Eisenmann เคยกล่าวไว้ในตอนที่เขาทำการออกแบบ Galicia City of Culture ซึ่งเป็น โครงการทางวัฒนธรรมขนาดใหญ่ ในเขต Santiago de Composela ว่า “ตอนที่ผมเดินเข้าไปในโรงแรมนี่ มีคนรู้จักผมเยอะมาก พอตอนที่ไปกินข้าวก็ได้รับการเสนอให้นั่งในโต๊ะพิเศษ ซึ่งถ้าผมอยู่ในอเมริกา(ประเทศของเขาเอง)นี่ ไม่มีทางที่จะได้รับการดูแลอย่างดีเช่นนี้แน่นอน” นอกจากนี้ ตัวเขาเองได้รับการรับเชิญให้ไปพบปะสังสรรค์กับผู้ว่าการรัฐทุกๆ ครั้งที่ได้บินไป ส่วนสถาปนิกคนอื่นๆก็มีเรื่องเล่าทำนองเดียวกันนี้ เช่น บางคนที่ไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยก็จะมีคนภายนอกทั่วไปเข้ามาร่วมฟังด้วยเป็นจำนวนมาก ส่วนบางคนเมื่อเวลาที่ไปเยี่ยมชม site ก่อสร้างก็จะมีประชาชนไปยืนเกาะรั้วเพื่อที่จะดูตัวเป็นร้อยคน (เป็นสัญญลักษณ์ของความเป็น Celebrityship ของสถาปนิกเหล่านี้ในสายตาชาวสเปน ที่ยากที่จะหาได้กับประเทศอื่นๆ ในโลก-ผู้แปล)
โดยภาพรวมนั้นเหมือนกับว่า ประเทศสเปนกำลังทำตัวเองให้เป็นพื่นที่ทดลองทางงานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิกต่างประเทศหลายๆคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาหลงสเหน์ของความสามารถ ความยืดหยุ่น และความกล้าที่จะทดลองอะไรใหม่ๆ ของ ผู้รับเหมาก่อสร้างชาวสเปนที่แตกต่างจากที่อื่นๆ สำหรับที่สเปน ในขั้นตอนการก่อสร้าง เจ้าเหนือหัวที่สั่งได้ทุกอย่างคือ”สถาปนิก” ไม่ใช่ ผู้รับเหมา Change Orders ในการก่อสร้าง (ภาษาไทย คืออะไรผู้รู้ช่วยแปลด้วยนะครับ ถ้าผมแปลตรงตัวคือบริการนอกเหนือสัญญาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจจากเจ้าของโครงการที่จะต้องมีการเสียค่าใช้จากเพิ่มให้กับสถาปนิกและ/หรือ ผู้รับเหมา-ผู้แปล) ถ้าจะมองให้ง่ายอีกแง่ก็คือ การออกแบบไม่ได้จบลงตรงขั้นตอนการทำแบบก่อสร้างเสร็จ แต่จะจบลงเมื่อก่อสร้างเสร็จ ทุกอย่างมีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงได้ และก็แน่นอนว่า ข้อเสียก็คือ ความไม่เป็นระเบียบ การสื่อสารที่มีปัญหาระหว่างกลุ่ม ทำให้เกิดความล่าช้า และค่าใช้จ่ายที่บาน ตามมา ซึ่งก็เป็นผลกระทบที่ตรงตัว แต่ที่ทุกคนมีตรงกันที่แตกต่างจากความร้อนแรงในการก่อสร้างของจีนคือ ทุกๆ คน ตั้งแต่สถาปนิก ผู้รับเหมา วิศวกร ไปจนถึงคนงานก่อสร้าง มีวิสัยทัศน์ในเรื่องของ Modern Architecture อยู่ในหัวแล้ว เพราะได้รับการสอนมาจากในสถาบันการศึกษาตั้งแต่เป็นเด้ก ทุกคนเข้าในความสลับซับซ้อนและบางครั้งหาเหตุผลที่ชัดเจนไม่ได้ของคำว่า Design แต่นั่นก็ก่อให้เกิดข้อเสียเล็กๆ น้อยๆ ตามมาเป็นปกติ เช่นในกรณีที่ Mergenthaler กล่าวไว้ว่า “บางครั้งพวกเขา (ผู้รับเหมาก่อสร้าง) คิดว่าเขารู้ดีกว่า”
The New Style
แนวความคิดที่ได้รับความสนใจจากชาวสเปนของสถาปนิกต่างชาตินั้น มักจะมาในรูปของ Abstract หรือมาในรูปของทฤฎีที่มีความแตกต่างอย่างมากกับ รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศสเปนในยุคหลัง ที่มักจะมาในรูปของ รูปทรงที่เรียบง่าย (มาก) และความแตกต่างของ วัสดุก่อสร้างที่น้อยๆ ค่อนข้างจะไปในทาง Minimalism ซึ่งจะไปตรงกับเอกลักษณ์ของ Herzog and de Meuron ที่เพิ่งทำ Forum Building เสร็จไป เป็นอาคารที่ มีูรูปด้านใหญ่ หนัก และยาวมากเนื่องจากความเป็นประโยชน์ใช้สอยที่มีลักษณะของความเป็น Convention (ถ้าในเมืองไทยอาจจะแปลเป็นศูนย์แสดงสินค้า แต่จริงๆแล้วประโยชน์ีมากกว่านั้นมาก) Herzog ใช้สีน้ำเงินเข้ม กับวัสดุที่มีลักษณะความหยาบ ได้ effect ของน้ำทะเล และมีการตัดด้วย กระจกที่สีน้ำเงินที่ทำหน้าที่เป็นเหมือน LED Screen โดยมีการใช้ แสง Laser ยิงไปบนกระจกให้เกิด effect ของคลื่นในทะเล บนนั้น หลังคาของโครงการมีบางส่วนที่เป็นสระน้ำ มีน้ำตกไหลจากที่สูงมาสู่ที่ต่ำบน Plaza หน้าโครงการ โครงการนี้ ชาวสเปนเห็นว่า สะท้อนความเป็นชาวสเปนได้เป็นอย่างดี ส่วนโครงการที่จะมีลักษณะพิเศษในเรื่องโครงสร้างที่น่าจับตามองคงจะเป็น Barajas Airport ที่ออกแบบโดย Richard Rogers คู่กับ บริษัท Lamela ของสเปน และ้ถ้าเป็นเื่องของขนาด ก็คงจะไม่พ้น City of Culture ของ Eisenmann และ Agbar Tower ของ Jean Nouvel ที่เป็นโครงสร้างตึกรูปหัวกระสุน มีCurtain Wall กระจกที่มีสีแดง เขียว และ สีน้ำเงิน ที่มีการเรียงตัวในรูปแบบที่น่าสนใจมากค่อยๆ ขึ้นไปสู่ท้องฟ้า
ในขณะที่ประเทศสเปนทำการต้อนรับสถาปนิกชั้นนำต่างชาติมากมาย ในขณะที่สถาปนิกสเปนก็บ่นว่า มีการนำสถาปนิกต่างชาติมาแย่งงานสถาปนิกในสเปน แต่รัฐบาลสเปนก็บอกว่า การประกวดแบบทุกๆครั้งก็ให้ สถาปนิกนอก กับสถาปนิกท้องถิ่นเข้าประกวดในจำนวนเท่าๆกัน สถาปนิกบางคนก็บ่นอีกว่า งานที่ออกมาของสถาปนิกพวกนี้ ไม่สง่างามเ่ท่าสถาปัตยกรรมของสเปน นอกจากนี้ก็มีข้องสงสัยว่า สถาปนิกต่างชาติได้รับการยกเว้นกฎมากมาย แต่สถาปนิกท้องถิ่นเจอกฎเหล็ๆครบชุด และที่สำคัญที่สุดคือประชาชนทั่วไปคิดว่า การเจริญเิติบโตของอุตสาหกรรมก่อสร้างในขณะนี้เป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืิน ซึ่งจากการขยายตัวของ EU โดยการรวมประเทศที่ยากจนกว่า ระดับเฉลี่ย เข้ามาเป็นสมาชิกทำให้คาดการณ์ได้ว่า เงินทุนต่างๆ จะเข้ามาในสเปนน้อยลง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดวิกฤติการณ์หนี้สินในอนาคตได้
แต่ในขณะที่สถาปนิกทั่วโลกตบเท้าเข้ามาในสเปนนั้น สถาปนิกของสเปนเองก็ทำการตอบโต้ด้วยการออกไปได้ Commission จากทั่วโลกเหมือนกัน โดยที่ความต้องการของสถาปนิกกลุ่มนี้ก็เหมือนจะีมีมากขึ้นเสียด้วย Richardo Bofill สถาปนิกโมเดิร์นสุดกู่ก็มีงานที่กำลังดำเนินอยุ่ใน ประเทศต่างๆ รวม 11 งาน ได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เชค รีพับบลิค ลักเซมเบิร์ก ญี่ปุ่น จีน เลบานอน โมรอคโค และอื่นๆ Juan Navarro Baldeweg กำลังทำอาคารสำนักงานที่ Amersoort, ประเทศเนเธอร์แลนด์ ส่วน Alberto Campo ก็เพิ่งจะทำ กล่องกระจกที่มี Detail พิเศษ อย่างอลังการในแนว สเปน เสร็จไปที่ นคร New York
สถาปนิกคนหนึ่งของ สเปนที่ต้องนับเป็นหัวหอกในการ “ส่งออก”สถาปนิกสเปนไปสู่ระดับโลกก็คือ Rafael Moneao ซึ่งได้ทำงานออกแบบที่สำคัญมากใน อเมริกาได้แก่ Cathedral of Our Lady of the Angels ณ เมือง Los Angeles ซึ่งเป็นงานที่ทำให้ชาวอเมริกันทั่วๆไปได้รู้จักเขา มีคนไปชม เป็นหมื่นๆ คนทุกๆ วันหยุด ไม่ว่าจะมาจาศาสนาใดก็ตาม นอกจากนี้งานของเขาก็ืืคือ Cranbrook Art Museum ในรัฐ Michigan และงานของเขาก็ก้าวหน้าเขาไปอยู่ในสถาบันที่มีความเป็นอเมริกันอย่างสูงสุดเช่น โครงการศูนย์นักศึกษา Rhode Island School of Design และ ห้องปฎิบัติการวิศวกรรม ของมหาวิทยาลัย Harvard โดยเฉพาะโครงการ RISD นั้นกลายเป็นสิ่งที่คนในเมืองยกให้เป็นสัญลักษณ์ หรือ “โคมไฟ” ของเืมือง ไปเรียบร้อยแล้ว
สาเหตุของความสำเร็จอันมากมายของสถาปนิก สเปนทั่วโลกนั้น อาจจะมาจากการที่สถาปนิกล้นตลาดในประเทศเป็นส่วนหนึ่ง แต่จริงๆแ้ล้ว ก็อาจจะมาจากการที่คนทั่วโลกกำลังหันเข้า trend ตรงนี้ซึ่งบางคนอาจจะเีรียกว่าเป็น old-fashion ซึ่งมาจาก แนวทางการก่อสร้างที่เน้นระบบการก่อสร้างเป็นจุดศูนย์กลางมากกว่าเรื่อง Shape และ Form
ผมคิดว่าคนที่ชอบสถาปัตยกรรมของเรา(สเปน)เืนื่องจากเรื่องของ Purity, Logic and Rationalism (แปลตรงๆ คือเรื่องของความเรียบง่ายและเต็มไปด้วยเหตผล)” Miguel Quismondo ซึ่งเป็นสถาปนิกที่รับผิดชอบงานของ Alberto Campo ในโครงการ Baeza’s House “อาจจะเรียกได้ว่า เป็น Modernism ที่เต็มไปด้วยการทะนุทะหนอม อย่างดีก็ได้ ในขณะที่ Jean-Pierre Carniaux ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของ Richardo Bofill กล่าว่า “น่าจะเรียกว่า Archeomodernism ก็คงจะได้” โดยทั้งหมดอาจจะมาจากการที่ในยุค เผด็จการของจอมผล Francisco Franco นั้น สเปนเหมือนกับหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ของโลกเพราะยึดถืดนโยบายโดดเดี่๋ยว และเิกิดสงครามกลางเมือง ไม่มีใครคิดว่าจริงแล้ว การศึกษาทางสถาปัตยกรรมก็ยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องโดยที่ เน้นไปทาง Engineer มาก และไม่ได้ขึ้นอยูกับ standard ของระบบอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างมากนัก ทำให้เืมื่อประเทศเปิดสู่ภายนอก ทุกๆ คนก็หันมามองกับความไม่เหมือนใครตรงนี้ทันที “พอหลังจากนั้น โลกกันหันมามองเรา” Antonio Cruz บอก “พวกเขาค้นพบสถาปัตยกรรมที่ดีมากๆ และพวกเขาก็ประหลาดใจมากๆ”
Exceptions ข้อยกเว้น
ในความเป็นจริงแล้ว งานที่ออกแบบโดยสถาปนิกสเปน หรือที่เรียกกันว่าเป็นงาน “ส่งออก” ก็ไม่ได้เป็นงานออกแบบที่เป็น สเปนสุดๆ หรือที่เน้นความ pure ของโครงสร้างอย่างที่ว่า แ่ต่อย่างใด กลับออกจะเป็นการผสมปนเปไปกับ สายพวก deconstruction หรือ กระแสหลักอื่นๆ ของโลกด้วยซ้ำ ตัวอย่างเช่นงานของ EMBT ที่ได้รับเลือกให้ออกแบบ รัฐสภาของประเทศ สก๊อตแลนด์ ที่เมือง Edinburgh (พยายามอย่าเอามาเปรียบเทียบว่าเราควรจ้างสถาปนิกเมืองนอกมาออกแบบรัฐสภาของเราบ้างนะครับ ยุโรปกำลังมีเรื่อง merger ของวัฒนธรรมที่ต้องการให้มีการจ้างงานข้ามวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก เพื่อให้เป็นหนึ่งยุโรปให้ได้ ทั้งในทางการเงิน และวัฒนธรรม - ผู้แปล), โรงเรียนดนตรี ที่ Hamburg, เยอรมันนี ก็จะเป็น Deconstruction มาก หรือในกรณีของ Santiago Calatrava ที่มีลายมือที่ชัดเจนของตัวเอง แต่ก็ไ้ด้รับยกย่องมากจนเหมือนเป็นตัวแทนของสถาปัตยกรรมยุคใหม่ของสเปนไปแล้ว ทั้งๆ ที่จริงๆแล้วงานส่วนใหญ่ของเขาก็ไม่ได้อยู่ในสเปน และแม้แต่ office ของเขาก็ไม่ได้อยู่ในสเปน มีแต่ชื่อและสายเลือดเท่านั้นที่เป็นสเปน
ยิ่งถ้ามองไปใน กลุ่มสถาปนิกรุ่นใหม่นั้น กลายเป็นว่ายิ่งไปกันใหญ่ เพราะว่าได้เข้าไปติดอยู่กับ Trend ของความเป็นสากล ทฤษฎีต่างๆ เทคโนโลยี กลุ่มนี้เองก็เริ่มส่งออกงานไปต่างประเทศแล้วเหมือนกัน โดย Critic หลายๆ คนก็ยังยกย่องว่ากลุ่มรุ่นใหม่เหล่านี้ก็มีความเป็นเฉพาะตัวในเรื่องรูปแบบของงานออกแบบไม่แฟ้คนรุ่นเก่า ตัวอย่างในกลุ่มนี้ เช่น Cruz Ortiz ที่ออกแบบ Rijksmuseum ที่ประเทศ เนเธอร์แลนด์ และ สถานีรถไฟที่เมือง Basel ในประเทศ สวิสเซอร์แลนด์, Mansilla+Tunon ที่ออกแบบ บ้านที่โด่งดังมากในประเทศจีน และ Carlos Ferrater ที่ออกแบบ Aquieila Tower ที่เมือง Venice ประเทศ อิตาลี และโครงการพัฒนาโรงละครที่เมือง Le Mans (งานพวกนี้เจ๋งๆ ทั้งนั้นนะครับ ไปลอง Search หาดูใน google นะครับ - ผู้แปล) กลุ่มเลือดใหม่เหล่านี้ก็กำลังสร้างมาตรฐานใหม่ของ “งานส่งออก” ที่กำลังจะขึ้นมาใหม เป็นการสร้างชื่อเสียงในอีกยุคให้กับประเทศ
อย่างไรก็ตาม กลุ่มสถาปนิกอนุร้กษ์นิยมก็รู้สึกขมขื่นพอสมควรกับ International Style หรือรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นสากล ที่กำลังเข้ามาผสมพันธุ์กับสถาปัตยกรรมยุคใหม่ของสเปน และอีกไม่นานสิ่งที่เรียกว่า Modern Spanish Architecture ดังกล่าวอาจจะไม่มีหลงเหลืออยู่อีกแล้วก็ได้ ซึ่งคนที่่เป็นนักอนุรักษ์สถาปัตยกรรมรูปแบบดังกล่าวชอบเรียก Internatinal style นั้นว่า เป็น Contamination หรือการทำให้เสื่อม ซึ่งก็คงต้องเถียงกับสถาปนิกรุ่นเด็กๆ ไปอีกนาน ว่าทำให้เสื่อมจริงหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายก็ดุเหมือนจะเห็นพ้องต้องกันในแนวทางหนึ่งคือ เรื่องของ “professional rejection” หรือการ “ปฎิเสธ” ในระดับวิชาชีพ และสิ่งที่ปฎิเสธก็คือ การเอาผลกำไรนำหน้า การออกแบบ หรือการเอารูปแบบธุรกิจเป็นอาวุธ ในการไปทำการออกแบบทั่วโลก
แนวคิดในการปฎิเสธดังกล่าว ทำให้เกิดคำถามอีกคำถามหนึ่งที่ยังจะต้องไปหาคำตอบกัน ก็คือ ถ้าสเปนกำลังเป็นตัวแทนของวงการสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ วงการสถาปัตยกรรมในกระแสโลกาภิวัฒน์้ จะหลีกเลี่ยงการมุ่งไปสู่รูปแบบเดียวได้้ (Homogenization)หรือไม่ โดยเฉพาะในเรื่องของ ความงาม และ วัฒนธรรม
ถ้าคำถามนี้ได้รับการตอบอย่างเหมาะสม อาจจะนำไปสู่ยุคใหม่ของสถาปัตยกรรมที่เราคาดไม่ถึงก็ได้
เขียนบน Website ของ สมาคมสถาปนิกสยาม (www.asa.or.th) เริ่มเขียนเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2005
จาก The Spanish Import/Export Business:As foreign architects flock to Spain, Spaniards explore abroad. Architecture Record ฉบับ มีนาคม 2005 โดย Sam Lubell
จากพระราชวัง Alhambra แห่งเมือง Granada ไปสู่ Renaissance Monastery แห่ง El Escorial ณ เมือง Madrid โดย Juan De Herrara (สถาปนิกสเปน 1530-1597) จนถึง Sagrada Familia โดย Antonio Gaudi งานสุดยอดสถาปัตยกรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้โลกได้เห็นถึง ความสามารถของสถาปนิกสเปน ที่มีมาหลายศตวรรษ แ่ต่ ประเทศ สเปน ในปัจจุบันที่เราเ็ห็น ไม่ได้เป็นดินแดนของ Gaudi เท่าั้นั้น แต่ที่นี่ยังเป็นดินแดนของ Gehry อีกด้วย พิพิธภัณฑ์ Bilbao อันมีเอกลักษณ์ของผนัง Aluminium ภายนอก ที่เขาได้ออกแบบนั้น (1996) อาจจะเีรียกได้ว่าเป็น โครงการ(สถาปัตยกรรม) ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประเทศ ก็เป็นได้ ไม่ใช่เพียงแค่ในด้านของการดึงดูดคน และการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นเท่านั้น แต่เป็นการ บ่งบอกถึงจุดของเวลา ที่่สถาปนิกต่างชาติได้ทำการบุกเข้าสู่คาบสมุทร Iberian แห่งนี้ กองทัพสถาปนิกต่างชาติเหล่านี้ มาพร้อมกับอาวุธยุธโทปกรณ์ ทั้งด้าน Computer Program, ทฤษฎีทางด้านความงามสมัยใหม่ รสนิยมที่ทั้งโลกกำลังไปสู่ทางเดียวกัน ซึ่งทั้งหมด กำลังค่อยๆ เปลี่ยนแปลงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของประเทศ Spain ไปอย่างช้าๆ แต่รุนแรง สถาปนิกและนักออกแบบทั้งหลายที่พยายามจะเข้ามาใน Spain นั้น โหยหาความสำเร็จที่เหมือนกับ Bilbao และต้องการที่จะเข้ามามีส่วนแบ่งกับตลาดของอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่เจริญเติบโตรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นจุดจบของสถาปนิก สเปน แต่อย่างใด ตรงกันข้าม สถาปนิก สเปน กลับมุ่งไปได้ Project ในทุกๆ มุมของโลก ด้วยอัตราที่สูงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สาเหตุส่วนหนึ่งก็เื่นื่องมาจากความทึ่งของโลก กับสถาปัตยกรรมสเปนสมัยใหม่ ที่มีแนวการคิดอันสลับซับซ้อนแต่ แสดงออกมาอย่างเรียบง่าย หมดจด และ ระบบการทำรายละเอียดโครงสร้าง ที่มีคุณภาพสูงที่สุดเป้นอันดับต้นๆ ของโลก (นิตยสารเกี่ยวกับการออกแบบและสถาปัตยกรรม นั้น มุ่งเน้นไปในการเผยแพร่ประเด็นนี้มาโดยตลอด) ดังนั้น การนำเข้าสถาปนิกต่างชาติ และการส่งออกสถาปนิก สเปนไปทั่วโลก ณ ปัจจุบัน ทำให้ Spain เป็นเหมือนกับ ห้องทดลองทางความคิดสร้างสรรค์จากนานาชาติ และน่าจะเป็นกรณีศึกษาที่ดี สำหรับประเด็นของ Globalization of Architecture
สถาปนิกต่างชาติ กำลังมา !!!
การหลั่งไหลของ สถาปนิกต่างชาติเข้ามาใน ประเทศ เสปน นั้นเหมือนกับการที่สถาปนิกต่างชาติเข้าสุ๋ประเทศจีน ภายหลังจากการปกครองของนายพล ฟรังโก เศรษฐกิจของประเทศก็ดีขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้ ความช่วยเหลือจาก EU. ทำให้ตลาดการก่อสร้างเป็นที่โหยหาของสถาปนิกจากนานาประเทศ จากข้อมูลของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน Analistas Financieros เศรษฐกิจการก่อสร้างนั้นคิดเป็น 9.8% ของเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมดของประเทศในปี 2003 โดยเทียบกับ ทั้ง 5.6% ของ E.U.
เช่นเดียวกับจีน ประเทศเสปนนั้นต้องการแสดงความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจโดยการจ้างสถาปนิกชื่อดัง ราคาแพงๆ จากต่างประเทศมากทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความสำเร็จของพิพิธภัณฑ์ Bilbao ที่มีคนมาเยี่ยมประมาณ 1 ล้านคนต่อปี นั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากมี และด้วยผลกระทบอันนี้ทำให้ชาวเสปน พยายามมองหาสถาปนิกต่างชาติที่ีความสามารถมากขึ้น
จำนวนของสถาปนิกต่างชาติที่เข้ามาใน Spain ในรอบ 5 ปี นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะถือว่ามหัศจรรย์ เริ่มได้ตั้งแต่ Frank Gehry ที่ได้รับการรับเชิญให้ออกแบบแผนพัฒนาเมืองอีก 1 เมือง ที่ชื่อ Elciego ที่เป็นเมือง ผลิตไวน์ที่มีชื่อเสียง โดย Gehry สัญญา่ว่าจะ Redefine และ Invigorate ภาพพจน์ของเืมืองต่อสาธารณะใหม่ แปลว่าจะตีความใหม่และทำให้เกิดความตื่นเต้นและมีสีสัน (โปรดสังเกตุว่าคนเสปนเชื่อมันในตัวสถาปนิกมากในเื่รื่องที่จะมาทำงานระดับนโยบาย ไม่ได้เป็นแค่งานระดับการประกอบวิชาชีพหรือนำเสนอแนวทางการสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพเท่านั้น - ผู้เขียน) นอกจากนี้ Gehry เป็นสถาปนิกออกแบบโรงแรมแห่งใหม่ในเขต Poblenou ในเมือง Barcelona สถาปิกชาวฝรั่งเศส Dominic Perrault มีโครงการยักษ์ๆ 4 โครงการ (เสปนคือตลาดที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท) David Chipperfield จากอังกฤษ มี 6 โครงการ Herzog and de Meuron แห่งสวิส มี 8 โครงการ นอกจากนี้ยังมี Zaha Hadid (4 โครงการ) และ OMA ของ Rem Koolhaas (2 โครงการยักษ์ที่สำคัญมาก)
“ประเทศอื่นๆ ในยุโรปมีการก่อสร้างเต็มไปหมดเรียบร้อยแล้ว” ฮวน เฟอร์นันเดซ อันดริโน สถาปนิกแห่งบริษัท Dominic Perrault กล่าว “ผมคิดว่าประเทศสเปน เป็นประเทศที่มองหา idea ใหม่ๆ และ คนใหม่ อยู่เสมอ” นอกจากนี้ Ascan Merganthaler หุ้นส่วนของ Herzog & de Meuron ก็เสริมว่า “สเปนน่าจะเป็นประเทศเดียวในโลกถ้าไม่นับจีน ที่เป็นประเทศที่คุณสามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงสภาพของเืมืองได้อย่างสิ้นเชิง (Radical Change)”
ความรู้สึกที่อยากจะมีอะไรใหม่ๆหรือเทห์ๆ อยู่เป็นสัญลักษณ์ของชุมชน หรืออาจจะเรียกได้ว่าความบ้าสถาปัตยกรรมก็ได้นั้น เป็นสิ่งที่มาจากวัฒนธรรมของสเปนโดยแท้ ที่มีความเป็น Visual Culture สูงมาก โดย Peter Eisenmann เคยกล่าวไว้ในตอนที่เขาทำการออกแบบ Galicia City of Culture ซึ่งเป็น โครงการทางวัฒนธรรมขนาดใหญ่ ในเขต Santiago de Composela ว่า “ตอนที่ผมเดินเข้าไปในโรงแรมนี่ มีคนรู้จักผมเยอะมาก พอตอนที่ไปกินข้าวก็ได้รับการเสนอให้นั่งในโต๊ะพิเศษ ซึ่งถ้าผมอยู่ในอเมริกา(ประเทศของเขาเอง)นี่ ไม่มีทางที่จะได้รับการดูแลอย่างดีเช่นนี้แน่นอน” นอกจากนี้ ตัวเขาเองได้รับการรับเชิญให้ไปพบปะสังสรรค์กับผู้ว่าการรัฐทุกๆ ครั้งที่ได้บินไป ส่วนสถาปนิกคนอื่นๆก็มีเรื่องเล่าทำนองเดียวกันนี้ เช่น บางคนที่ไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยก็จะมีคนภายนอกทั่วไปเข้ามาร่วมฟังด้วยเป็นจำนวนมาก ส่วนบางคนเมื่อเวลาที่ไปเยี่ยมชม site ก่อสร้างก็จะมีประชาชนไปยืนเกาะรั้วเพื่อที่จะดูตัวเป็นร้อยคน (เป็นสัญญลักษณ์ของความเป็น Celebrityship ของสถาปนิกเหล่านี้ในสายตาชาวสเปน ที่ยากที่จะหาได้กับประเทศอื่นๆ ในโลก-ผู้แปล)
โดยภาพรวมนั้นเหมือนกับว่า ประเทศสเปนกำลังทำตัวเองให้เป็นพื่นที่ทดลองทางงานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิกต่างประเทศหลายๆคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาหลงสเหน์ของความสามารถ ความยืดหยุ่น และความกล้าที่จะทดลองอะไรใหม่ๆ ของ ผู้รับเหมาก่อสร้างชาวสเปนที่แตกต่างจากที่อื่นๆ สำหรับที่สเปน ในขั้นตอนการก่อสร้าง เจ้าเหนือหัวที่สั่งได้ทุกอย่างคือ”สถาปนิก” ไม่ใช่ ผู้รับเหมา Change Orders ในการก่อสร้าง (ภาษาไทย คืออะไรผู้รู้ช่วยแปลด้วยนะครับ ถ้าผมแปลตรงตัวคือบริการนอกเหนือสัญญาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจจากเจ้าของโครงการที่จะต้องมีการเสียค่าใช้จากเพิ่มให้กับสถาปนิกและ/หรือ ผู้รับเหมา-ผู้แปล) ถ้าจะมองให้ง่ายอีกแง่ก็คือ การออกแบบไม่ได้จบลงตรงขั้นตอนการทำแบบก่อสร้างเสร็จ แต่จะจบลงเมื่อก่อสร้างเสร็จ ทุกอย่างมีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงได้ และก็แน่นอนว่า ข้อเสียก็คือ ความไม่เป็นระเบียบ การสื่อสารที่มีปัญหาระหว่างกลุ่ม ทำให้เกิดความล่าช้า และค่าใช้จ่ายที่บาน ตามมา ซึ่งก็เป็นผลกระทบที่ตรงตัว แต่ที่ทุกคนมีตรงกันที่แตกต่างจากความร้อนแรงในการก่อสร้างของจีนคือ ทุกๆ คน ตั้งแต่สถาปนิก ผู้รับเหมา วิศวกร ไปจนถึงคนงานก่อสร้าง มีวิสัยทัศน์ในเรื่องของ Modern Architecture อยู่ในหัวแล้ว เพราะได้รับการสอนมาจากในสถาบันการศึกษาตั้งแต่เป็นเด้ก ทุกคนเข้าในความสลับซับซ้อนและบางครั้งหาเหตุผลที่ชัดเจนไม่ได้ของคำว่า Design แต่นั่นก็ก่อให้เกิดข้อเสียเล็กๆ น้อยๆ ตามมาเป็นปกติ เช่นในกรณีที่ Mergenthaler กล่าวไว้ว่า “บางครั้งพวกเขา (ผู้รับเหมาก่อสร้าง) คิดว่าเขารู้ดีกว่า”
The New Style
แนวความคิดที่ได้รับความสนใจจากชาวสเปนของสถาปนิกต่างชาตินั้น มักจะมาในรูปของ Abstract หรือมาในรูปของทฤฎีที่มีความแตกต่างอย่างมากกับ รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศสเปนในยุคหลัง ที่มักจะมาในรูปของ รูปทรงที่เรียบง่าย (มาก) และความแตกต่างของ วัสดุก่อสร้างที่น้อยๆ ค่อนข้างจะไปในทาง Minimalism ซึ่งจะไปตรงกับเอกลักษณ์ของ Herzog and de Meuron ที่เพิ่งทำ Forum Building เสร็จไป เป็นอาคารที่ มีูรูปด้านใหญ่ หนัก และยาวมากเนื่องจากความเป็นประโยชน์ใช้สอยที่มีลักษณะของความเป็น Convention (ถ้าในเมืองไทยอาจจะแปลเป็นศูนย์แสดงสินค้า แต่จริงๆแล้วประโยชน์ีมากกว่านั้นมาก) Herzog ใช้สีน้ำเงินเข้ม กับวัสดุที่มีลักษณะความหยาบ ได้ effect ของน้ำทะเล และมีการตัดด้วย กระจกที่สีน้ำเงินที่ทำหน้าที่เป็นเหมือน LED Screen โดยมีการใช้ แสง Laser ยิงไปบนกระจกให้เกิด effect ของคลื่นในทะเล บนนั้น หลังคาของโครงการมีบางส่วนที่เป็นสระน้ำ มีน้ำตกไหลจากที่สูงมาสู่ที่ต่ำบน Plaza หน้าโครงการ โครงการนี้ ชาวสเปนเห็นว่า สะท้อนความเป็นชาวสเปนได้เป็นอย่างดี ส่วนโครงการที่จะมีลักษณะพิเศษในเรื่องโครงสร้างที่น่าจับตามองคงจะเป็น Barajas Airport ที่ออกแบบโดย Richard Rogers คู่กับ บริษัท Lamela ของสเปน และ้ถ้าเป็นเื่องของขนาด ก็คงจะไม่พ้น City of Culture ของ Eisenmann และ Agbar Tower ของ Jean Nouvel ที่เป็นโครงสร้างตึกรูปหัวกระสุน มีCurtain Wall กระจกที่มีสีแดง เขียว และ สีน้ำเงิน ที่มีการเรียงตัวในรูปแบบที่น่าสนใจมากค่อยๆ ขึ้นไปสู่ท้องฟ้า
ในขณะที่ประเทศสเปนทำการต้อนรับสถาปนิกชั้นนำต่างชาติมากมาย ในขณะที่สถาปนิกสเปนก็บ่นว่า มีการนำสถาปนิกต่างชาติมาแย่งงานสถาปนิกในสเปน แต่รัฐบาลสเปนก็บอกว่า การประกวดแบบทุกๆครั้งก็ให้ สถาปนิกนอก กับสถาปนิกท้องถิ่นเข้าประกวดในจำนวนเท่าๆกัน สถาปนิกบางคนก็บ่นอีกว่า งานที่ออกมาของสถาปนิกพวกนี้ ไม่สง่างามเ่ท่าสถาปัตยกรรมของสเปน นอกจากนี้ก็มีข้องสงสัยว่า สถาปนิกต่างชาติได้รับการยกเว้นกฎมากมาย แต่สถาปนิกท้องถิ่นเจอกฎเหล็ๆครบชุด และที่สำคัญที่สุดคือประชาชนทั่วไปคิดว่า การเจริญเิติบโตของอุตสาหกรรมก่อสร้างในขณะนี้เป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืิน ซึ่งจากการขยายตัวของ EU โดยการรวมประเทศที่ยากจนกว่า ระดับเฉลี่ย เข้ามาเป็นสมาชิกทำให้คาดการณ์ได้ว่า เงินทุนต่างๆ จะเข้ามาในสเปนน้อยลง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดวิกฤติการณ์หนี้สินในอนาคตได้
แต่ในขณะที่สถาปนิกทั่วโลกตบเท้าเข้ามาในสเปนนั้น สถาปนิกของสเปนเองก็ทำการตอบโต้ด้วยการออกไปได้ Commission จากทั่วโลกเหมือนกัน โดยที่ความต้องการของสถาปนิกกลุ่มนี้ก็เหมือนจะีมีมากขึ้นเสียด้วย Richardo Bofill สถาปนิกโมเดิร์นสุดกู่ก็มีงานที่กำลังดำเนินอยุ่ใน ประเทศต่างๆ รวม 11 งาน ได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เชค รีพับบลิค ลักเซมเบิร์ก ญี่ปุ่น จีน เลบานอน โมรอคโค และอื่นๆ Juan Navarro Baldeweg กำลังทำอาคารสำนักงานที่ Amersoort, ประเทศเนเธอร์แลนด์ ส่วน Alberto Campo ก็เพิ่งจะทำ กล่องกระจกที่มี Detail พิเศษ อย่างอลังการในแนว สเปน เสร็จไปที่ นคร New York
สถาปนิกคนหนึ่งของ สเปนที่ต้องนับเป็นหัวหอกในการ “ส่งออก”สถาปนิกสเปนไปสู่ระดับโลกก็คือ Rafael Moneao ซึ่งได้ทำงานออกแบบที่สำคัญมากใน อเมริกาได้แก่ Cathedral of Our Lady of the Angels ณ เมือง Los Angeles ซึ่งเป็นงานที่ทำให้ชาวอเมริกันทั่วๆไปได้รู้จักเขา มีคนไปชม เป็นหมื่นๆ คนทุกๆ วันหยุด ไม่ว่าจะมาจาศาสนาใดก็ตาม นอกจากนี้งานของเขาก็ืืคือ Cranbrook Art Museum ในรัฐ Michigan และงานของเขาก็ก้าวหน้าเขาไปอยู่ในสถาบันที่มีความเป็นอเมริกันอย่างสูงสุดเช่น โครงการศูนย์นักศึกษา Rhode Island School of Design และ ห้องปฎิบัติการวิศวกรรม ของมหาวิทยาลัย Harvard โดยเฉพาะโครงการ RISD นั้นกลายเป็นสิ่งที่คนในเมืองยกให้เป็นสัญลักษณ์ หรือ “โคมไฟ” ของเืมือง ไปเรียบร้อยแล้ว
สาเหตุของความสำเร็จอันมากมายของสถาปนิก สเปนทั่วโลกนั้น อาจจะมาจากการที่สถาปนิกล้นตลาดในประเทศเป็นส่วนหนึ่ง แต่จริงๆแ้ล้ว ก็อาจจะมาจากการที่คนทั่วโลกกำลังหันเข้า trend ตรงนี้ซึ่งบางคนอาจจะเีรียกว่าเป็น old-fashion ซึ่งมาจาก แนวทางการก่อสร้างที่เน้นระบบการก่อสร้างเป็นจุดศูนย์กลางมากกว่าเรื่อง Shape และ Form
ผมคิดว่าคนที่ชอบสถาปัตยกรรมของเรา(สเปน)เืนื่องจากเรื่องของ Purity, Logic and Rationalism (แปลตรงๆ คือเรื่องของความเรียบง่ายและเต็มไปด้วยเหตผล)” Miguel Quismondo ซึ่งเป็นสถาปนิกที่รับผิดชอบงานของ Alberto Campo ในโครงการ Baeza’s House “อาจจะเรียกได้ว่า เป็น Modernism ที่เต็มไปด้วยการทะนุทะหนอม อย่างดีก็ได้ ในขณะที่ Jean-Pierre Carniaux ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของ Richardo Bofill กล่าว่า “น่าจะเรียกว่า Archeomodernism ก็คงจะได้” โดยทั้งหมดอาจจะมาจากการที่ในยุค เผด็จการของจอมผล Francisco Franco นั้น สเปนเหมือนกับหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ของโลกเพราะยึดถืดนโยบายโดดเดี่๋ยว และเิกิดสงครามกลางเมือง ไม่มีใครคิดว่าจริงแล้ว การศึกษาทางสถาปัตยกรรมก็ยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องโดยที่ เน้นไปทาง Engineer มาก และไม่ได้ขึ้นอยูกับ standard ของระบบอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างมากนัก ทำให้เืมื่อประเทศเปิดสู่ภายนอก ทุกๆ คนก็หันมามองกับความไม่เหมือนใครตรงนี้ทันที “พอหลังจากนั้น โลกกันหันมามองเรา” Antonio Cruz บอก “พวกเขาค้นพบสถาปัตยกรรมที่ดีมากๆ และพวกเขาก็ประหลาดใจมากๆ”
Exceptions ข้อยกเว้น
ในความเป็นจริงแล้ว งานที่ออกแบบโดยสถาปนิกสเปน หรือที่เรียกกันว่าเป็นงาน “ส่งออก” ก็ไม่ได้เป็นงานออกแบบที่เป็น สเปนสุดๆ หรือที่เน้นความ pure ของโครงสร้างอย่างที่ว่า แ่ต่อย่างใด กลับออกจะเป็นการผสมปนเปไปกับ สายพวก deconstruction หรือ กระแสหลักอื่นๆ ของโลกด้วยซ้ำ ตัวอย่างเช่นงานของ EMBT ที่ได้รับเลือกให้ออกแบบ รัฐสภาของประเทศ สก๊อตแลนด์ ที่เมือง Edinburgh (พยายามอย่าเอามาเปรียบเทียบว่าเราควรจ้างสถาปนิกเมืองนอกมาออกแบบรัฐสภาของเราบ้างนะครับ ยุโรปกำลังมีเรื่อง merger ของวัฒนธรรมที่ต้องการให้มีการจ้างงานข้ามวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก เพื่อให้เป็นหนึ่งยุโรปให้ได้ ทั้งในทางการเงิน และวัฒนธรรม - ผู้แปล), โรงเรียนดนตรี ที่ Hamburg, เยอรมันนี ก็จะเป็น Deconstruction มาก หรือในกรณีของ Santiago Calatrava ที่มีลายมือที่ชัดเจนของตัวเอง แต่ก็ไ้ด้รับยกย่องมากจนเหมือนเป็นตัวแทนของสถาปัตยกรรมยุคใหม่ของสเปนไปแล้ว ทั้งๆ ที่จริงๆแล้วงานส่วนใหญ่ของเขาก็ไม่ได้อยู่ในสเปน และแม้แต่ office ของเขาก็ไม่ได้อยู่ในสเปน มีแต่ชื่อและสายเลือดเท่านั้นที่เป็นสเปน
ยิ่งถ้ามองไปใน กลุ่มสถาปนิกรุ่นใหม่นั้น กลายเป็นว่ายิ่งไปกันใหญ่ เพราะว่าได้เข้าไปติดอยู่กับ Trend ของความเป็นสากล ทฤษฎีต่างๆ เทคโนโลยี กลุ่มนี้เองก็เริ่มส่งออกงานไปต่างประเทศแล้วเหมือนกัน โดย Critic หลายๆ คนก็ยังยกย่องว่ากลุ่มรุ่นใหม่เหล่านี้ก็มีความเป็นเฉพาะตัวในเรื่องรูปแบบของงานออกแบบไม่แฟ้คนรุ่นเก่า ตัวอย่างในกลุ่มนี้ เช่น Cruz Ortiz ที่ออกแบบ Rijksmuseum ที่ประเทศ เนเธอร์แลนด์ และ สถานีรถไฟที่เมือง Basel ในประเทศ สวิสเซอร์แลนด์, Mansilla+Tunon ที่ออกแบบ บ้านที่โด่งดังมากในประเทศจีน และ Carlos Ferrater ที่ออกแบบ Aquieila Tower ที่เมือง Venice ประเทศ อิตาลี และโครงการพัฒนาโรงละครที่เมือง Le Mans (งานพวกนี้เจ๋งๆ ทั้งนั้นนะครับ ไปลอง Search หาดูใน google นะครับ - ผู้แปล) กลุ่มเลือดใหม่เหล่านี้ก็กำลังสร้างมาตรฐานใหม่ของ “งานส่งออก” ที่กำลังจะขึ้นมาใหม เป็นการสร้างชื่อเสียงในอีกยุคให้กับประเทศ
อย่างไรก็ตาม กลุ่มสถาปนิกอนุร้กษ์นิยมก็รู้สึกขมขื่นพอสมควรกับ International Style หรือรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นสากล ที่กำลังเข้ามาผสมพันธุ์กับสถาปัตยกรรมยุคใหม่ของสเปน และอีกไม่นานสิ่งที่เรียกว่า Modern Spanish Architecture ดังกล่าวอาจจะไม่มีหลงเหลืออยู่อีกแล้วก็ได้ ซึ่งคนที่่เป็นนักอนุรักษ์สถาปัตยกรรมรูปแบบดังกล่าวชอบเรียก Internatinal style นั้นว่า เป็น Contamination หรือการทำให้เสื่อม ซึ่งก็คงต้องเถียงกับสถาปนิกรุ่นเด็กๆ ไปอีกนาน ว่าทำให้เสื่อมจริงหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายก็ดุเหมือนจะเห็นพ้องต้องกันในแนวทางหนึ่งคือ เรื่องของ “professional rejection” หรือการ “ปฎิเสธ” ในระดับวิชาชีพ และสิ่งที่ปฎิเสธก็คือ การเอาผลกำไรนำหน้า การออกแบบ หรือการเอารูปแบบธุรกิจเป็นอาวุธ ในการไปทำการออกแบบทั่วโลก
แนวคิดในการปฎิเสธดังกล่าว ทำให้เกิดคำถามอีกคำถามหนึ่งที่ยังจะต้องไปหาคำตอบกัน ก็คือ ถ้าสเปนกำลังเป็นตัวแทนของวงการสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ วงการสถาปัตยกรรมในกระแสโลกาภิวัฒน์้ จะหลีกเลี่ยงการมุ่งไปสู่รูปแบบเดียวได้้ (Homogenization)หรือไม่ โดยเฉพาะในเรื่องของ ความงาม และ วัฒนธรรม
ถ้าคำถามนี้ได้รับการตอบอย่างเหมาะสม อาจจะนำไปสู่ยุคใหม่ของสถาปัตยกรรมที่เราคาดไม่ถึงก็ได้
บทความแปล: Tadao Ando - Pounding The Sandbag
เขียนบน website ของสมาคมสถาปนิกสยาม (www.asa.or.th) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2004
คำนำ จากหนังสือ ANDO ARCHITECTแต่งโดย Kazukiyo Matsubaแปลและเรียบเรียงโดย - ดร.พร วิรุฬห์รักษ์
ทาดาโอะ อันโดะ เกิดที่เมือง โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเมืองที่ เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมของประเทศมาแต่ครั้งโบราณ จากการที่เขาเติบโตขึ้นมาในย่านชุมชนที่เต็มไปด้วยโรงงานเล็กๆ ทำให้เขาได้รับการอบรมในแง่ของ ระเบียบวินัย การทำงานหนัก และ ความรับผิดชอบ และเนื่องจากได้รับอิสระเป็นอย่างมากในสมัยเป็นเด็กๆ เขากลายเป็นเด็กที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก คุณปู่และคุณย่า(อาจจะเป็นตาหรือยายก็ได้ เพราะมาจากคำว่า Grandparents) ซึ่งเป็นผู้ที่เลี้ยงดูเขามานั้น เป็นผู้ที่ต้องทำงานหนักทั้งคู่ และก็ไม่ได้หวังมากมายว่าจะให้เด็กชายทาดาโอะ คนนี้ต้องเรียนหนังสือให้เก่งฉกาจเลิศเลอ ซึ่งในที่สุดในช่วงปลายวัยรุ่นของเขา เขาได้ให้ความสนใจกับการชกมวยเป็นอย่างมาก และถึงขนาดไปขึ้นชกจนได้ใบประกาศรับรองความเป็นนักชกอาชีพเรียบร้อยก่อนที่จะเรียนจบมัธยมปลาย แต่หลังจากที่เรียนจบ แทนที่เขาจะมุ่งหน้าชกมวยอย่างจริงจัง เขากลับเลือกที่จะทำงานเป็นพนักงานเขียนแบบในสำนักงานสถาปนิกแห่งหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกับพนักงานเขียนแบบที่ทำงานในญี่ปุ่นหรือในที่อื่นๆ สมัยนั้น ด้วยความที่ทาดาโอะ อันโดะ ไม่เคยไปร่ำเรียนวิชาสถาปัตยกรรมหรือการเขียนแบบใดๆ มาจากในมหาวิทยาลัยทาดาโอะ อันโดะคนนี้ ไม่มีปริญญา แต่เขาใช้เวลามากมายในช่วงทศวรรษ 1960s ซึ่งอยู่ในวัย 20 กว่าๆของเขา ทำการศึกษาการเขียนแบบด้วยตัวเอง รวมทั้งทำการ ท่องเที่ยวไปทั่วประเทศ และทั่วโลก
ถ้า Tadao Ando ผู้ซึ่งมีความเป็นตัวของตัวเองและมีความมั่นใจในตัวเองสูงมากนั้น จะ มีภาพพจน์ที่ไม่เหมือนกับลักษณะของชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่จากสายตาของชาวโลก ก็เนื่องมาจากว่า เขาไม่ได้เ็ป็นชาวญีุ่ปุ่นกระแสหลัก แต่เขาคือ Osakaite หรือ ชาวเมือง Osaka ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของเขต Kansai (ฟังดูเล็กๆ แต่จริงแล้วเหมือนมณฑล หรือ รัฐ) ชาว Kansai นั้นจะมีลักษณะและวัฒนธรรมในการดำรงชีพ แตกต่างจากชาวญี่ปุ่นอื่นๆ ลักษณะเด่นคือการที่แสดงอารมณ์อย่างตรงไปตรงมา และมีความกระตือรือร้นมากกว่า เทียบกับ ความสุขุมและค่อนข้างเก็บตัวของชาวโตเกียว และถึงแม้ว่าคนกลุ่มนี้จะเป็นคนที่มีระเบียบวินัยในการใช้ชีวิต และมีความตั้งใจในการทำงานไม่แพ้ชาวญี่ปุ่นอื่นๆ พวกเขาก็มักจะถูกนับว่าเป็นพลเมืองชั้นรอง นอกจากนี้ แม้ว่าจะมี นโยบายรวมชาติผ่านทางการสร้างวัฒนธรรมของประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว ที่ได้ปฎิบัติกันมาทั่วประเทศนับตั้งแต่ต้นศตวรรษ ชาว Kansai ก็ยังคงปฎิเสธที่จะยกเลิกภาษาท้องถิ่นของเขาในการสนทนาประจำวัน
Tadao Ando เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากคนที่รู้จักว่า เป็นบุคคลที่มีศักดิ์ศรีในตัวเองมาก จากวิธีการทำงานของเขา ซึ่งเขากล้าจะยินดีรับผิดชอบกับผลลัพธ์ทุกๆอย่างที่เกิดขึ้นจากงานที่เขาทำ และเขาจะเป็นคนทำงานละเอียดละออมากๆ โดยจะตรวจตราในทุกๆจุดอย่างถีถ้วนเสมอ และจากที่ได้รับการกล่าวถึงใน นิตยสารสถาปัตยกรรมในประเทศญี่ปุ่นว่า เขามีรสนิยมของความงานที่สลับซับซ้อน (อาจจะแปลว่า พิลึกก็ได้ ถ้าพูดแบบสุภาพตามประสาคนญี่ปุ่น - ผู้แปล) แต่ก็มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ ไม่หวั่นไหว ที่จะทำงานในเชิง Modernism (ในที่นี้หมายถึงแนวทางที่สถาปนิก ยุโรป เช่น Gropius – Mies หรือ Ler Corbusier วางเอาไว้) โดยไม่ข้องแวะเข้าไปในกระแสอื่นๆ ที่มาตาม Fashion แต่อย่างใด
อาจจะเป็นการที่จะพูดเกินจริงว่า มหานครโตเกียว นั้นก็คือประเทศญี่ปุ่น แต่จากตัวเลขจะเห็นได้ว่า 70% ของผลผลิตมวลรวมในประเทศ มากจากโตเกียว และนั่นก็รวมถึงธุรกิจก่อสร้างด้วย ในขณะที่คนอเมริกัน หรือคนยุโรปไม่ได้สนใจที่จะต้องเดินทางไปอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เพื่อที่จะทำธุรกิจหรือหางานทำเพื่อความเจริญก้าวหน้า ประเทศใน เอเชียอย่าง ญี่ปุ่น ผู้คนยังคงให้ความสำคัญ และเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี ว่าคุณประสบความสำเร็จในโตเกียวหรือไม่ แต่สำหรับ Tadao Ando แล้ว เขาไม่ได้สนใจเรื่องนี้แต่อย่างใด เขาได้ก่อตั้ง Office ไว้ที่เมือง Osaka ที่เขาคุ้นเคย มาตั้งแต่เริ่มต้น และไม่เคยย้ายไปไหน แม้ว่าปัจจุบันจะเป็นบริษัทระดับโลกไปแล้วก็ตาม ในช่วงทศวรรษ 1980s วงการการออกแบบสถาปัตยกรรมในญี่ปุ่นเริ่มมาถึงจุดหักเห เมื่อ ความ Pure และ Functionalism ต่างๆ เริ่มเจือจาง และมีสถาปิกหลายๆ คนได้หันกลับมาหาความเป็นญี่ปุ่นมากขึ้น โดยต้องการที่จะหา identity อันใหม่ ของสถาปัตยกรรมที่แสดงความเป็นญี่ปุ่น โดยแนวทางของการพัฒนาเพื่อค้นหานี้ จะแยกออกเป็น 2 กลุ่ม หนึ่งคือกลุ่มที่ยังคงยึดความเป็น Modern อยู่เป็นฐาน และอีกกลุ่มคือ กลุ่มที่ต้องการจะหา Style อื่นๆ โดยไม่ยึดติดกับอะไร สถาปนิกหลายๆ คนหันไปหาแนวทางใหม่เป็นส่วนใหญ่ แต่ Tadao Ando ก็ไม่ใสใจกับคลื่นความเปลี่ยนแปลงนั้น ยังคงทำงานแบบ Modern ของตัวเองต่อไป
มีหลายๆครั้ง ที่ สถาปนิกและนักวางผังเมืองชาวยุโรปและอเมริกันได้กล่าวยกย่อง ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ในไม่เปลี่ยนแปลง ในการทำงานStyle Modern ของ Tadao Ando ต่อหน้าข้าพเจ้า (Mr.Matsuba ผู้เขียน) โดยที่ไม่ทราบว่าข้าพเจ้าเป็นเพื่อนสนิทของเขา เนื่องจากในคนกลุ่ืมนี้ ทั้งที่มีชื่อเสียงมากและไม่ค่อยมีชื่อเสียง ได้ทำการผันตัวเองไปตามกระแสของโลกที่ต้องการสีสันใหม่ๆ โดยการออกจาก Modern เข้าไปหา Post Modern และกระแสอื่นๆ ที่ตามมา แต่ทุกๆคนก็ยังยกย่องAndo ที่เหมือนเป็นตัวแทนที่กำลังทำในสิ่งที่พวกเขาอยากจะทำ แต่ไม่สามารถทำไดแล้ว
จากบ้าหลังเล็กๆ ที่มีขนาดประมาณ 100 ตารางเมตร (Row House Sumiyoshi) ที่เป็นงานสร้างชื่อของเขา Ando ได้ทำการออกแบบอย่างดุดัน และค่อยข้างจะเป็นเรื่องที่มีความเสียงสูงในด้าน Trend ที่จะยังคงใช้ ความเป็น Abstract ของรูปทรง และ ความงามในด้านสัดส่วน (ทำมาโดยตลอด ไม่เคยเปลี่ยน) เขาพยายามเปิดตัวเองอยู่เสมอและหาโอกาสอธิบายงานของเขาต่อทุกๆ คนที่ผ่านเข้ามาในเส้นทางการดำเนินชีวิตและการทำงาน เพื่อเป็นการเผยแพร่สิ่งที่เขาเชื่อและปฎิบัติอยู่
แต่อย่างไรก็ตาม จุดที่เป็นความแข็งแกร่งที่สุดในการทำงานของเขานั้น คือ ความสามารถในการ ใช้รูปทรงที่สร้างความงามเหนือกาลเวลาให้กับสัดส่วนของอาคาร (His Mastery of Geometry that sustains a supeb sense of proportion) ซี่งในปัจจุบัน Ando อาจจะเป็นคนเดียวที่ทำได้ ไกลขนาดที่เห็น
ถ้าจะพูดสั้นๆ ก็คือ Tadao Ando พยายามที่จะ มุ่งหน้าทำงานเื่พื่อสร้างสรรค์ ความงามของสถาปัตยกรรม Modern โดยไม่ใส่ใจว่าโลกรอบๆ ตัวนั้จะเปลี่ยนไปอย่างไร อาจจะเป็นการสื่อให้เห็นแนวคิดว่า เขามีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่า Modernism นั้นเป็น อุดมคติอันถาวรของโลกปัจจุบัน ในขณะที่ Post-Modernism นั้นเป็นเพียงแค่แสงวูบวาบของดาวตกเท่านั้น ในด้านทักษะทางการสนทนาและการเข้าสังคมนั้น Ando เป็นคนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ฟังที่มีความตั้งใจที่จะเข้าถึงความต้องการของลูกค้ามากกว่า สถาปนิกคนอื่นๆ แต่ในสภาวะของการทำงานแล้ว เขาเป็น Creator หรือผู้สร้าง และจะไม่ยอมอ่อนข้อในเรื่องของแนวทางการออกแบบที่เกี่ยวกับ Modernism นี้แม้แต่นิดเดียว ซึ่งลักษณะตรงข้ามที่ผสมผสานกันเป็นอย่างดีนี้ เป็นที่นิยมชบชอบของคนทั้งในและนอกวงการสถาปัตยกรรม
จากการสังเกตุของผู้เขียน (Mr.Matsuba) พบว่า สถาปนิกที่ได้รับการยกย่องในปรัชญาของวิถีการการทำงานอย่างแน่วแน่ ทางคล้ายๆ กับ Tadao Ando นี้ ได้ผ่านขั้นตอน 3 ขั้น ในชีวิตการทำงานของพวกเขา เช่นในกรณีของ Kenzo Tange นี่ชัดมาก โดยเริ่มจาก สถาปัตยกรรมที่เป็นตามประเพณีดั้งเดิม ที่เรียกว่า Sukiya (บ้านของเขา ได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก Katsura Imperial Villa) หลังจากนั้นก็ปรับไปสู่ Dynamic Metastructure (ใึีึีึครช่วยผมแปลด้วยครับ หมดปัญญาจริงๆ - ผู้แปล) และจบด้วย Postmodern Deco (หมดปัญญาเหมือนกันครับ ไม่กล้าเดา)- ซึ่ง I.M. Pei และ Le Corbusier ก็เป็นไปตามนั้น จะมีเว้นเสียก็แต่ Mies Van De Rohe คนเดียวเท่านั้น และสำหรับ Ando นั้น ผู้เขียนคิดว่ากำลังอยู่ในขั้นที่สอง
งานของ Tadao Ando ไม่เคยเปลี่ยนแปลงแบบรุนแรงมาก่อน งานของเขายังคงเป็น คอนกรีตเปลือย ที่มีรูปทรงเรียบง่าย แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปหลังจากงาน Raika Building แล้ว สิ่งที่เขาให้ความสนใจมากขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดคือเรื่องของ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และงามภูมิสถาปัตยกรรมรอบๆตัวอาคารที่เขาออกแบบ งานคอนกรีตของเขาหลังจากนี้จะเป็นสิ่งที่ เข้าไปกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นป่าเขา หรือว่างานที่วางอยู่ริมท้องทะเลก็ตาม
หลักการหนึ่งของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่สาธารณชนไม่เห็นด้วยก็คือ หลักของการอยู่โดดเดี่ยว (Isolation) และความสูงสงเหนือธรรมชาติกว่าโลกที่เป็นอยู่ทั่วไปจดหยดสุดท้าย งานของ Ando นั้นจะเห็นได้ชัดว่ามีการพัฒนาการไปในทางตรงกันข้ามกับหลักการดังกล่าว เช่น งาน Row House Sumiyoshi นั้น ได้มีการสร้างประสบการณ์ให้ผู้อยู่อาศัยมีปฎิสัมพันธ์กับ สภาพอากาศภายนอก เป็นที่น่าแปลกใจว่า ยิ่งเทคโนโลยีมีการพัฒนาให้คอนกรีตมีความแข็งแกร่งขึ้น และ Ando ก็มีวิธีการออกแบบและการใช้วัสดุคอนกรีตไปในแนวทางที่พลิกแพลงมากขึ้น แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับภายในอาคารที่เขาออกแบบก็มากขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวผู้เขียนเอง (Kazukiyo Matsuba) ที่ได้ติดตามผลงานของ Ando มาโดยตลอดนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในญี่ปุ่นนี้ ค่อนข้างมีความมั่นใจว่า ผู้เขียนได้เห็นแนวทางการทำงานของ Tadao ในมุมที่กว้างและลึกกว่าคนที่มองมาจากต่างประเทศ ที่ได้เห็นผลงานที่มีชื่อเสียงหลายๆแห่งในโลกของเขา ข้าพเจ้ามีความเห้นว่า ณ เวลานี้ แนวทางการทำงานของ Tadao กำลังอยู่ในขั้นที่สองและกำลังจะก้าวไปสู่ขั้นที่สามแ้ล้ว
เมื่อข้าพเจ้าได้รับข่าวว่า Tadao Ando ชนะการประกวดแบบ Modern Art Museum แห่งเมือง Fort Worth รัฐ Texas นั้น ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างมาก เพราะนี่เป็นข้อพิสูจน์ว่าผลงานของเขานั้นเป็นที่ยอมรับในระดับสากลที่มากไปกว่าการเป็น อาคารที่มีความงานแบบประติมากรรมโมเดิร์นอย่างที่เคยเป็น ผลงานที่ออกมาอันเป็นการสะท้อนเอกลักษณ์และเรื่องราวของ อาคารพิพิธภัณฑ์ เก่าที่อยู่เคียงกัน ที่ออกแบบโดย Luis I Kahn เป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า Tadao Ando ได้มาสู่จุดสูงสุดของความรอบคอบในการพิจารณาบริบทรอบอาคารที่อย่างแท้จริง
ในขณะที่ผู้เขียน (Kazukiyo Matsuba) แต่งหนังสือเล่มนี้ ก็ได้รับทราบข่าวว่า Tadao Ando ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นอาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว สถาบันแห่งนี้คือจุดสูงสุดของระบบการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น และเป็นที่ผลิตสุดยอดสถาปนิกของญี่ปุ่นมาแล้วมากมายหลายคน รวมทั้ง Kenzo Tange และ Arata Isozaki สิ่งที่ต้องนำมาบอกให้โลกรู้ไว้ในที่นี้คือ Tadao Ando ไม่มีปริญญา และไม่เคยผ่านการเรียนรู้หรือการฝึกงานที่เป็นระบบในวิชาชีพสถาปัตยกรรมมาก่อน ซึ่งสำหรับสังคมที่มีระบบ ระเบียบแบบแผนที่เ้ข้มงวดและซับซ้อนอย่างญี่ปุ่นนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ สามารถนับได้เหมือนกับว่าเป็นการเปิดยุคใหม่เลยทีเดียว
ในความเป็นจริงแล้ว การประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมอย่างที่เ็ป็นในปัจจุบันอาจจะไม่ได้เหมาะกับลักษณะการศึกษาของสถาบันแห่งนี้สักเท่าใด ทุกวันนี้ สถาบันแห่งนี้คือที่ๆ สอนเรื่องเกี่ยวกับปรัชญาสังคมแบบเก่าและเป็นที่ผลิตชนชั้นสูง และในจำนวนนี้หลายๆคนก็เข้าสู่ระบบราชการ และทำงานในนั้นไปตลอดชีวิต ดังนั้นการที่รับ Tadao Ando เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดวิชาสถาปัตยกรรมต่อคนรุ่นใหม่ของสถาบันแห่งนี้ จึงเป็นการจุดประกายที่สำคัญอีกด้านหนึ่งที่น่าสนใจให้กับ คนรุ่นใหม่ของวิชาชีพ
ผู้เขียนต้องขอเพิ่มเติมอีกด้านหนึ่งคือ นี่จะต้องเป็นสถาณการณ์ที่ทางมหาวิทยาลัยโตเกียวรู้ตัวเองว่ากำลังเข้าสู่จุดคับขัน จึงได้ยินยอมที่จะรับ “คนเถื่อน” แบบ Tadao Ando เข้ามาเป็นอาจารย์ในสถาบัน ปัญหาที่เป็นอยุ่ในปัจจุับันคือ อาจารย์หลายๆคนในสถาบันเป็นผู้ที่อยู่ในโลกของอุดมการณ์และตัดขาดจากโลกของความเป็นจริงในการประกอบวิชาชีพ โดยหากจะมองในสังคมทั้งประเทศญี่ปุ่นแล้ว เรากำลังอยู่ในจุดที่ค่อนข้างอันตรายเนื่องจากเราให้ความสนใจกับการซ่อมแซมเศรษฐกิจที่สึกหรอให้เป็นเหมือนที่เคยมีมา โดยไม่สนใจที่จะสร้างมันออกมาในรูปแบบใหม่ให้ยั่งยืนกว่าเก่า และหลักการอันนี้ก็ส่งผลกระทบออกไปในทุกๆวงการ รวมทั้งการศีกษาด้วย สิ่งที่ผู้คนทุกวันนี้รู้สึกกับชีวิตตัวเองในทุกๆ มิติคืออนาคตที่ค่อนข้างมืดมัวเหมือนกับเมฆดำที่อยู่บนอากาศ การเข้ามาของ Ando นั้นก็เหมือนเป็นความพยายามอันหนึ่งที่จะขจัดเมฆนี้ออกไป
การชนะประกวดแบบใน Texas และ การได้รับเลือกให้เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยโตเกียว ทำให้ 1997 เป็นปีทองของ Tadao Ando และทำให้ เมือง Osaka ของเขานั้นกลายมาเป็นอีกหนึ่งเนื้อหาที่จะเข้าไปปะปนกับภาพพจน์โดยรวมของ ญี่ปุ่นที่คนทั่วโลกได้เห็น โดยที่ Tadao Ando จะเป็นสถาปนิกที่ เป็นตัวแทนของภาพพจน์อันนี้ ในรูปแบบที่บริสุทธิ์ที่สุด
ถ้าหากลองย้อนกลับไปมองชีวิตทั้งชีวิตของเขา นั้น ก็ต้องยอมรับว่าอัศจรรย์ เรื่องราวของเขาที่ได้รับใบอนุญาติเป็นนักมวยอาชีพเมื่อตอนเป็นนักเรียนมัธยม และถึงขนาดเข้ามาขึ้นชกบนเวทีที่ประเทศไทย (ข้อมูลใน Internet หลายอันยืนยันเหมือนกัน – ผู้แปล) เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องราวที่ทำให้ตัวเขาเ็ป็นจุดสนใจเทียบกับสถาปนิกญี่ปุ่นคนอื่นๆ หลายๆ คนคงจะจำเรื่องราวของนักชกคนหนึ่งที่เติมโตบนถนนของเมือง Brooklyn ในมหานคร New York และได้ก้าวไปเป็นแชมเปี้ยนโลก สำหรับ Tadao Ando ที่เป็นแชมเปี้ยนในวงการสถาปัตยกรรมนี้ เขาก็ได้ไต่เต้ามาทีละนิดจากความเหนื่อยยากในการชกกระสอบทรายในทุกๆก้าวของการขึ้นสู่จุดสูงสุดของเขา เหมือนเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าคนนอกคอกในประเทศของเขาเองคนนี้นี่แหละที่ได้กลายมาเป็นตัวแทนของประเทศที่ไม่ยอมรับเขา และทำให้เห็นว่าคน “ในคอก” ที่เป็นส่วนใหญ่ของสังคมนั้นมีสักกี่คนกันที่จะกลายเป็นมาเป็นคนที่โลกยอมรับได้อย่างเขาคนนี้
เมื่อใดที่เสียงของหมัดที่เขาชกลงบนกระสอบทรายทุกๆหมัด ได้ก้องผ่าน ตึกรามบ้านช่องของเมือง Osaka ไปสู่ทุกๆจุดในโลกแล้ว เมื่อนั้น ความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของพวกเราชาวญีุ่ปุ่นก็คงจะกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถยืดอกบนโลกใบนี้ได้โดยที่ไม่ต้องเกรงกลัวใคร
จบ
คำนำ จากหนังสือ ANDO ARCHITECTแต่งโดย Kazukiyo Matsubaแปลและเรียบเรียงโดย - ดร.พร วิรุฬห์รักษ์
ทาดาโอะ อันโดะ เกิดที่เมือง โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเมืองที่ เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมของประเทศมาแต่ครั้งโบราณ จากการที่เขาเติบโตขึ้นมาในย่านชุมชนที่เต็มไปด้วยโรงงานเล็กๆ ทำให้เขาได้รับการอบรมในแง่ของ ระเบียบวินัย การทำงานหนัก และ ความรับผิดชอบ และเนื่องจากได้รับอิสระเป็นอย่างมากในสมัยเป็นเด็กๆ เขากลายเป็นเด็กที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก คุณปู่และคุณย่า(อาจจะเป็นตาหรือยายก็ได้ เพราะมาจากคำว่า Grandparents) ซึ่งเป็นผู้ที่เลี้ยงดูเขามานั้น เป็นผู้ที่ต้องทำงานหนักทั้งคู่ และก็ไม่ได้หวังมากมายว่าจะให้เด็กชายทาดาโอะ คนนี้ต้องเรียนหนังสือให้เก่งฉกาจเลิศเลอ ซึ่งในที่สุดในช่วงปลายวัยรุ่นของเขา เขาได้ให้ความสนใจกับการชกมวยเป็นอย่างมาก และถึงขนาดไปขึ้นชกจนได้ใบประกาศรับรองความเป็นนักชกอาชีพเรียบร้อยก่อนที่จะเรียนจบมัธยมปลาย แต่หลังจากที่เรียนจบ แทนที่เขาจะมุ่งหน้าชกมวยอย่างจริงจัง เขากลับเลือกที่จะทำงานเป็นพนักงานเขียนแบบในสำนักงานสถาปนิกแห่งหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกับพนักงานเขียนแบบที่ทำงานในญี่ปุ่นหรือในที่อื่นๆ สมัยนั้น ด้วยความที่ทาดาโอะ อันโดะ ไม่เคยไปร่ำเรียนวิชาสถาปัตยกรรมหรือการเขียนแบบใดๆ มาจากในมหาวิทยาลัยทาดาโอะ อันโดะคนนี้ ไม่มีปริญญา แต่เขาใช้เวลามากมายในช่วงทศวรรษ 1960s ซึ่งอยู่ในวัย 20 กว่าๆของเขา ทำการศึกษาการเขียนแบบด้วยตัวเอง รวมทั้งทำการ ท่องเที่ยวไปทั่วประเทศ และทั่วโลก
ถ้า Tadao Ando ผู้ซึ่งมีความเป็นตัวของตัวเองและมีความมั่นใจในตัวเองสูงมากนั้น จะ มีภาพพจน์ที่ไม่เหมือนกับลักษณะของชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่จากสายตาของชาวโลก ก็เนื่องมาจากว่า เขาไม่ได้เ็ป็นชาวญีุ่ปุ่นกระแสหลัก แต่เขาคือ Osakaite หรือ ชาวเมือง Osaka ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของเขต Kansai (ฟังดูเล็กๆ แต่จริงแล้วเหมือนมณฑล หรือ รัฐ) ชาว Kansai นั้นจะมีลักษณะและวัฒนธรรมในการดำรงชีพ แตกต่างจากชาวญี่ปุ่นอื่นๆ ลักษณะเด่นคือการที่แสดงอารมณ์อย่างตรงไปตรงมา และมีความกระตือรือร้นมากกว่า เทียบกับ ความสุขุมและค่อนข้างเก็บตัวของชาวโตเกียว และถึงแม้ว่าคนกลุ่มนี้จะเป็นคนที่มีระเบียบวินัยในการใช้ชีวิต และมีความตั้งใจในการทำงานไม่แพ้ชาวญี่ปุ่นอื่นๆ พวกเขาก็มักจะถูกนับว่าเป็นพลเมืองชั้นรอง นอกจากนี้ แม้ว่าจะมี นโยบายรวมชาติผ่านทางการสร้างวัฒนธรรมของประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว ที่ได้ปฎิบัติกันมาทั่วประเทศนับตั้งแต่ต้นศตวรรษ ชาว Kansai ก็ยังคงปฎิเสธที่จะยกเลิกภาษาท้องถิ่นของเขาในการสนทนาประจำวัน
Tadao Ando เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากคนที่รู้จักว่า เป็นบุคคลที่มีศักดิ์ศรีในตัวเองมาก จากวิธีการทำงานของเขา ซึ่งเขากล้าจะยินดีรับผิดชอบกับผลลัพธ์ทุกๆอย่างที่เกิดขึ้นจากงานที่เขาทำ และเขาจะเป็นคนทำงานละเอียดละออมากๆ โดยจะตรวจตราในทุกๆจุดอย่างถีถ้วนเสมอ และจากที่ได้รับการกล่าวถึงใน นิตยสารสถาปัตยกรรมในประเทศญี่ปุ่นว่า เขามีรสนิยมของความงานที่สลับซับซ้อน (อาจจะแปลว่า พิลึกก็ได้ ถ้าพูดแบบสุภาพตามประสาคนญี่ปุ่น - ผู้แปล) แต่ก็มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ ไม่หวั่นไหว ที่จะทำงานในเชิง Modernism (ในที่นี้หมายถึงแนวทางที่สถาปนิก ยุโรป เช่น Gropius – Mies หรือ Ler Corbusier วางเอาไว้) โดยไม่ข้องแวะเข้าไปในกระแสอื่นๆ ที่มาตาม Fashion แต่อย่างใด
อาจจะเป็นการที่จะพูดเกินจริงว่า มหานครโตเกียว นั้นก็คือประเทศญี่ปุ่น แต่จากตัวเลขจะเห็นได้ว่า 70% ของผลผลิตมวลรวมในประเทศ มากจากโตเกียว และนั่นก็รวมถึงธุรกิจก่อสร้างด้วย ในขณะที่คนอเมริกัน หรือคนยุโรปไม่ได้สนใจที่จะต้องเดินทางไปอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เพื่อที่จะทำธุรกิจหรือหางานทำเพื่อความเจริญก้าวหน้า ประเทศใน เอเชียอย่าง ญี่ปุ่น ผู้คนยังคงให้ความสำคัญ และเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี ว่าคุณประสบความสำเร็จในโตเกียวหรือไม่ แต่สำหรับ Tadao Ando แล้ว เขาไม่ได้สนใจเรื่องนี้แต่อย่างใด เขาได้ก่อตั้ง Office ไว้ที่เมือง Osaka ที่เขาคุ้นเคย มาตั้งแต่เริ่มต้น และไม่เคยย้ายไปไหน แม้ว่าปัจจุบันจะเป็นบริษัทระดับโลกไปแล้วก็ตาม ในช่วงทศวรรษ 1980s วงการการออกแบบสถาปัตยกรรมในญี่ปุ่นเริ่มมาถึงจุดหักเห เมื่อ ความ Pure และ Functionalism ต่างๆ เริ่มเจือจาง และมีสถาปิกหลายๆ คนได้หันกลับมาหาความเป็นญี่ปุ่นมากขึ้น โดยต้องการที่จะหา identity อันใหม่ ของสถาปัตยกรรมที่แสดงความเป็นญี่ปุ่น โดยแนวทางของการพัฒนาเพื่อค้นหานี้ จะแยกออกเป็น 2 กลุ่ม หนึ่งคือกลุ่มที่ยังคงยึดความเป็น Modern อยู่เป็นฐาน และอีกกลุ่มคือ กลุ่มที่ต้องการจะหา Style อื่นๆ โดยไม่ยึดติดกับอะไร สถาปนิกหลายๆ คนหันไปหาแนวทางใหม่เป็นส่วนใหญ่ แต่ Tadao Ando ก็ไม่ใสใจกับคลื่นความเปลี่ยนแปลงนั้น ยังคงทำงานแบบ Modern ของตัวเองต่อไป
มีหลายๆครั้ง ที่ สถาปนิกและนักวางผังเมืองชาวยุโรปและอเมริกันได้กล่าวยกย่อง ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ในไม่เปลี่ยนแปลง ในการทำงานStyle Modern ของ Tadao Ando ต่อหน้าข้าพเจ้า (Mr.Matsuba ผู้เขียน) โดยที่ไม่ทราบว่าข้าพเจ้าเป็นเพื่อนสนิทของเขา เนื่องจากในคนกลุ่ืมนี้ ทั้งที่มีชื่อเสียงมากและไม่ค่อยมีชื่อเสียง ได้ทำการผันตัวเองไปตามกระแสของโลกที่ต้องการสีสันใหม่ๆ โดยการออกจาก Modern เข้าไปหา Post Modern และกระแสอื่นๆ ที่ตามมา แต่ทุกๆคนก็ยังยกย่องAndo ที่เหมือนเป็นตัวแทนที่กำลังทำในสิ่งที่พวกเขาอยากจะทำ แต่ไม่สามารถทำไดแล้ว
จากบ้าหลังเล็กๆ ที่มีขนาดประมาณ 100 ตารางเมตร (Row House Sumiyoshi) ที่เป็นงานสร้างชื่อของเขา Ando ได้ทำการออกแบบอย่างดุดัน และค่อยข้างจะเป็นเรื่องที่มีความเสียงสูงในด้าน Trend ที่จะยังคงใช้ ความเป็น Abstract ของรูปทรง และ ความงามในด้านสัดส่วน (ทำมาโดยตลอด ไม่เคยเปลี่ยน) เขาพยายามเปิดตัวเองอยู่เสมอและหาโอกาสอธิบายงานของเขาต่อทุกๆ คนที่ผ่านเข้ามาในเส้นทางการดำเนินชีวิตและการทำงาน เพื่อเป็นการเผยแพร่สิ่งที่เขาเชื่อและปฎิบัติอยู่
แต่อย่างไรก็ตาม จุดที่เป็นความแข็งแกร่งที่สุดในการทำงานของเขานั้น คือ ความสามารถในการ ใช้รูปทรงที่สร้างความงามเหนือกาลเวลาให้กับสัดส่วนของอาคาร (His Mastery of Geometry that sustains a supeb sense of proportion) ซี่งในปัจจุบัน Ando อาจจะเป็นคนเดียวที่ทำได้ ไกลขนาดที่เห็น
ถ้าจะพูดสั้นๆ ก็คือ Tadao Ando พยายามที่จะ มุ่งหน้าทำงานเื่พื่อสร้างสรรค์ ความงามของสถาปัตยกรรม Modern โดยไม่ใส่ใจว่าโลกรอบๆ ตัวนั้จะเปลี่ยนไปอย่างไร อาจจะเป็นการสื่อให้เห็นแนวคิดว่า เขามีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่า Modernism นั้นเป็น อุดมคติอันถาวรของโลกปัจจุบัน ในขณะที่ Post-Modernism นั้นเป็นเพียงแค่แสงวูบวาบของดาวตกเท่านั้น ในด้านทักษะทางการสนทนาและการเข้าสังคมนั้น Ando เป็นคนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ฟังที่มีความตั้งใจที่จะเข้าถึงความต้องการของลูกค้ามากกว่า สถาปนิกคนอื่นๆ แต่ในสภาวะของการทำงานแล้ว เขาเป็น Creator หรือผู้สร้าง และจะไม่ยอมอ่อนข้อในเรื่องของแนวทางการออกแบบที่เกี่ยวกับ Modernism นี้แม้แต่นิดเดียว ซึ่งลักษณะตรงข้ามที่ผสมผสานกันเป็นอย่างดีนี้ เป็นที่นิยมชบชอบของคนทั้งในและนอกวงการสถาปัตยกรรม
จากการสังเกตุของผู้เขียน (Mr.Matsuba) พบว่า สถาปนิกที่ได้รับการยกย่องในปรัชญาของวิถีการการทำงานอย่างแน่วแน่ ทางคล้ายๆ กับ Tadao Ando นี้ ได้ผ่านขั้นตอน 3 ขั้น ในชีวิตการทำงานของพวกเขา เช่นในกรณีของ Kenzo Tange นี่ชัดมาก โดยเริ่มจาก สถาปัตยกรรมที่เป็นตามประเพณีดั้งเดิม ที่เรียกว่า Sukiya (บ้านของเขา ได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก Katsura Imperial Villa) หลังจากนั้นก็ปรับไปสู่ Dynamic Metastructure (ใึีึีึครช่วยผมแปลด้วยครับ หมดปัญญาจริงๆ - ผู้แปล) และจบด้วย Postmodern Deco (หมดปัญญาเหมือนกันครับ ไม่กล้าเดา)- ซึ่ง I.M. Pei และ Le Corbusier ก็เป็นไปตามนั้น จะมีเว้นเสียก็แต่ Mies Van De Rohe คนเดียวเท่านั้น และสำหรับ Ando นั้น ผู้เขียนคิดว่ากำลังอยู่ในขั้นที่สอง
งานของ Tadao Ando ไม่เคยเปลี่ยนแปลงแบบรุนแรงมาก่อน งานของเขายังคงเป็น คอนกรีตเปลือย ที่มีรูปทรงเรียบง่าย แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปหลังจากงาน Raika Building แล้ว สิ่งที่เขาให้ความสนใจมากขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดคือเรื่องของ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และงามภูมิสถาปัตยกรรมรอบๆตัวอาคารที่เขาออกแบบ งานคอนกรีตของเขาหลังจากนี้จะเป็นสิ่งที่ เข้าไปกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นป่าเขา หรือว่างานที่วางอยู่ริมท้องทะเลก็ตาม
หลักการหนึ่งของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่สาธารณชนไม่เห็นด้วยก็คือ หลักของการอยู่โดดเดี่ยว (Isolation) และความสูงสงเหนือธรรมชาติกว่าโลกที่เป็นอยู่ทั่วไปจดหยดสุดท้าย งานของ Ando นั้นจะเห็นได้ชัดว่ามีการพัฒนาการไปในทางตรงกันข้ามกับหลักการดังกล่าว เช่น งาน Row House Sumiyoshi นั้น ได้มีการสร้างประสบการณ์ให้ผู้อยู่อาศัยมีปฎิสัมพันธ์กับ สภาพอากาศภายนอก เป็นที่น่าแปลกใจว่า ยิ่งเทคโนโลยีมีการพัฒนาให้คอนกรีตมีความแข็งแกร่งขึ้น และ Ando ก็มีวิธีการออกแบบและการใช้วัสดุคอนกรีตไปในแนวทางที่พลิกแพลงมากขึ้น แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับภายในอาคารที่เขาออกแบบก็มากขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวผู้เขียนเอง (Kazukiyo Matsuba) ที่ได้ติดตามผลงานของ Ando มาโดยตลอดนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในญี่ปุ่นนี้ ค่อนข้างมีความมั่นใจว่า ผู้เขียนได้เห็นแนวทางการทำงานของ Tadao ในมุมที่กว้างและลึกกว่าคนที่มองมาจากต่างประเทศ ที่ได้เห็นผลงานที่มีชื่อเสียงหลายๆแห่งในโลกของเขา ข้าพเจ้ามีความเห้นว่า ณ เวลานี้ แนวทางการทำงานของ Tadao กำลังอยู่ในขั้นที่สองและกำลังจะก้าวไปสู่ขั้นที่สามแ้ล้ว
เมื่อข้าพเจ้าได้รับข่าวว่า Tadao Ando ชนะการประกวดแบบ Modern Art Museum แห่งเมือง Fort Worth รัฐ Texas นั้น ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างมาก เพราะนี่เป็นข้อพิสูจน์ว่าผลงานของเขานั้นเป็นที่ยอมรับในระดับสากลที่มากไปกว่าการเป็น อาคารที่มีความงานแบบประติมากรรมโมเดิร์นอย่างที่เคยเป็น ผลงานที่ออกมาอันเป็นการสะท้อนเอกลักษณ์และเรื่องราวของ อาคารพิพิธภัณฑ์ เก่าที่อยู่เคียงกัน ที่ออกแบบโดย Luis I Kahn เป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า Tadao Ando ได้มาสู่จุดสูงสุดของความรอบคอบในการพิจารณาบริบทรอบอาคารที่อย่างแท้จริง
ในขณะที่ผู้เขียน (Kazukiyo Matsuba) แต่งหนังสือเล่มนี้ ก็ได้รับทราบข่าวว่า Tadao Ando ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นอาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว สถาบันแห่งนี้คือจุดสูงสุดของระบบการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น และเป็นที่ผลิตสุดยอดสถาปนิกของญี่ปุ่นมาแล้วมากมายหลายคน รวมทั้ง Kenzo Tange และ Arata Isozaki สิ่งที่ต้องนำมาบอกให้โลกรู้ไว้ในที่นี้คือ Tadao Ando ไม่มีปริญญา และไม่เคยผ่านการเรียนรู้หรือการฝึกงานที่เป็นระบบในวิชาชีพสถาปัตยกรรมมาก่อน ซึ่งสำหรับสังคมที่มีระบบ ระเบียบแบบแผนที่เ้ข้มงวดและซับซ้อนอย่างญี่ปุ่นนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ สามารถนับได้เหมือนกับว่าเป็นการเปิดยุคใหม่เลยทีเดียว
ในความเป็นจริงแล้ว การประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมอย่างที่เ็ป็นในปัจจุบันอาจจะไม่ได้เหมาะกับลักษณะการศึกษาของสถาบันแห่งนี้สักเท่าใด ทุกวันนี้ สถาบันแห่งนี้คือที่ๆ สอนเรื่องเกี่ยวกับปรัชญาสังคมแบบเก่าและเป็นที่ผลิตชนชั้นสูง และในจำนวนนี้หลายๆคนก็เข้าสู่ระบบราชการ และทำงานในนั้นไปตลอดชีวิต ดังนั้นการที่รับ Tadao Ando เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดวิชาสถาปัตยกรรมต่อคนรุ่นใหม่ของสถาบันแห่งนี้ จึงเป็นการจุดประกายที่สำคัญอีกด้านหนึ่งที่น่าสนใจให้กับ คนรุ่นใหม่ของวิชาชีพ
ผู้เขียนต้องขอเพิ่มเติมอีกด้านหนึ่งคือ นี่จะต้องเป็นสถาณการณ์ที่ทางมหาวิทยาลัยโตเกียวรู้ตัวเองว่ากำลังเข้าสู่จุดคับขัน จึงได้ยินยอมที่จะรับ “คนเถื่อน” แบบ Tadao Ando เข้ามาเป็นอาจารย์ในสถาบัน ปัญหาที่เป็นอยุ่ในปัจจุับันคือ อาจารย์หลายๆคนในสถาบันเป็นผู้ที่อยู่ในโลกของอุดมการณ์และตัดขาดจากโลกของความเป็นจริงในการประกอบวิชาชีพ โดยหากจะมองในสังคมทั้งประเทศญี่ปุ่นแล้ว เรากำลังอยู่ในจุดที่ค่อนข้างอันตรายเนื่องจากเราให้ความสนใจกับการซ่อมแซมเศรษฐกิจที่สึกหรอให้เป็นเหมือนที่เคยมีมา โดยไม่สนใจที่จะสร้างมันออกมาในรูปแบบใหม่ให้ยั่งยืนกว่าเก่า และหลักการอันนี้ก็ส่งผลกระทบออกไปในทุกๆวงการ รวมทั้งการศีกษาด้วย สิ่งที่ผู้คนทุกวันนี้รู้สึกกับชีวิตตัวเองในทุกๆ มิติคืออนาคตที่ค่อนข้างมืดมัวเหมือนกับเมฆดำที่อยู่บนอากาศ การเข้ามาของ Ando นั้นก็เหมือนเป็นความพยายามอันหนึ่งที่จะขจัดเมฆนี้ออกไป
การชนะประกวดแบบใน Texas และ การได้รับเลือกให้เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยโตเกียว ทำให้ 1997 เป็นปีทองของ Tadao Ando และทำให้ เมือง Osaka ของเขานั้นกลายมาเป็นอีกหนึ่งเนื้อหาที่จะเข้าไปปะปนกับภาพพจน์โดยรวมของ ญี่ปุ่นที่คนทั่วโลกได้เห็น โดยที่ Tadao Ando จะเป็นสถาปนิกที่ เป็นตัวแทนของภาพพจน์อันนี้ ในรูปแบบที่บริสุทธิ์ที่สุด
ถ้าหากลองย้อนกลับไปมองชีวิตทั้งชีวิตของเขา นั้น ก็ต้องยอมรับว่าอัศจรรย์ เรื่องราวของเขาที่ได้รับใบอนุญาติเป็นนักมวยอาชีพเมื่อตอนเป็นนักเรียนมัธยม และถึงขนาดเข้ามาขึ้นชกบนเวทีที่ประเทศไทย (ข้อมูลใน Internet หลายอันยืนยันเหมือนกัน – ผู้แปล) เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องราวที่ทำให้ตัวเขาเ็ป็นจุดสนใจเทียบกับสถาปนิกญี่ปุ่นคนอื่นๆ หลายๆ คนคงจะจำเรื่องราวของนักชกคนหนึ่งที่เติมโตบนถนนของเมือง Brooklyn ในมหานคร New York และได้ก้าวไปเป็นแชมเปี้ยนโลก สำหรับ Tadao Ando ที่เป็นแชมเปี้ยนในวงการสถาปัตยกรรมนี้ เขาก็ได้ไต่เต้ามาทีละนิดจากความเหนื่อยยากในการชกกระสอบทรายในทุกๆก้าวของการขึ้นสู่จุดสูงสุดของเขา เหมือนเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าคนนอกคอกในประเทศของเขาเองคนนี้นี่แหละที่ได้กลายมาเป็นตัวแทนของประเทศที่ไม่ยอมรับเขา และทำให้เห็นว่าคน “ในคอก” ที่เป็นส่วนใหญ่ของสังคมนั้นมีสักกี่คนกันที่จะกลายเป็นมาเป็นคนที่โลกยอมรับได้อย่างเขาคนนี้
เมื่อใดที่เสียงของหมัดที่เขาชกลงบนกระสอบทรายทุกๆหมัด ได้ก้องผ่าน ตึกรามบ้านช่องของเมือง Osaka ไปสู่ทุกๆจุดในโลกแล้ว เมื่อนั้น ความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของพวกเราชาวญีุ่ปุ่นก็คงจะกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถยืดอกบนโลกใบนี้ได้โดยที่ไม่ต้องเกรงกลัวใคร
จบ
Subscribe to:
Posts (Atom)