จากหนังสือพิมพ์ภาคภาษาอังกฤษ The Nation
พิมพ์เมื่อวันที 20 ตุลาคม 2005
พื้นที่รอบๆ สนามบินสุวรรณภูมิไ่ม่ใช่พื้นที่ๆ ดีที่สุดในการสร้างเมืองใหม่ สถาปนิกที่เป็นผู้นำทีมวางผังเืมืองใหม่นี้ ได้ให้สัมภาษณ์เมื่อวานนี้ โดยในการสัมภาษณ์กับเดอะเนชั่น ดร. สุเมธ ชุมสาย ได้กล่าวว่า พื้นที่ทั้งหมดนั้นมีการทรุดตัวอย่างต่อเื่นื่อง และถ้าจะทำต่อไปก็จะเป็นการฝืนธรรมชาติ
“เรากำลังการะทำการที่ฝืนธรรมชาิติอยู่ สักวันธรรมชาติอาจจะเอาคืนเราบ้าง” สุเมธกล่าว
“ภายในอีก สามชั่วอายุคนข้างหน้า พื้นที่ตรงนี้จะมีระดับต่ำกว่าน้ำทะเลประมาณ 3 เมตร นายกทักษิณน่าจะิคิดหาคำตอบตรงนี้ให้กับคนรุ่นหลานของเรา”
สุเมธ คือ ประธานของ บริษัท SJA 3D เป็นสำนักงานสถาปนิกในกรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในสี่บริษัทที่ได้รับการมอบหมาย โดย กรมโยธา และ กรมผังเมือง เพื่อทำการออกแบบเมืองขนาด 850 ตารางกิโลเมตรนี้
เขายังบอกอีกด้วยว่า ปรากฎการณ์เรือนกระจกจะเป็น ตัวแปรสำคัญที่มีผลกระทบต่อสภาพดิน ทำให้การพัฒนาในบริเวณนี้ทำได้ยากขึ้น โดยพื้นที่ดังกล่าวได้แก่ เขตประเวศ เขตลาดกระบัง เขตบางพลีของสมุทรปราการ และเขตบางเสาธง
“มันไม่ใช่แค่พื้นที่่ชุ่มน้ำ อีกต่อไปแล้ว ตอนนี้มันจะกลายเป็นเืหมือนทะเลสาบ เพราะผู้คนขุดดินขึ้นมาขายเป็นเวลานานแล้ว และเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะสร้างอะไรแถวๆ นี้เพราะดินมีสภาพเหมือนเยลลีี่่”
ปริมาณดินครึ่งหนึ่งของพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะเป็นปริมาณที่จะต้องใช้ในการถมบริเวณนี้เพื่อทำการสร้างเืมืองใหม่
และจากสภาพการใช้งานของสนามบินที่จะมีคนเข้าถึง 45 ล้านคนต่อปี พื้นที่ชุมชนโดยรอบๆนั้นจะมีแต่ปัญหาที่เกิดจาก เสียง และ มลพิษจากเครื่องบิน
แนวความคิดที่จะสร้างเืมืองใหม่นั้นเป็น ความเข้าใจผิด เนื่องจากสนามบินทั้งโลกเขาก็สร้างให้ห่างไกลออกไปจากเืมืองทั้งสิ้น ยิ่งห่างยิ่งดี
การพัฒนานครสุวรรณภูมินี้ นอกจากจะเป้นผลร้ายในระยะยาวต่อผู้่ที่อาศัยในบริเวณนั้นแล้ว ยังเป็นผลร้ายต่อชาวกทม ด้วย เพราะพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่กักน้ำเพื้อไม่ให้กรุงเทพน้ำท่วมมานับสิบปีแล้ว ดังนั้นถ้าเมืองนี้สร้างเสร็จเืมื่อไหร่ น้ำจะท่วมกรุงเทพมหานครทันที
สุเมธกล่าวว่า เขาและทีมงานกำลังทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได้เพื่อลดความเีสียหายให้มากที่สุด ในโครงการนี้ โดยเนื้อหาเบื้องต้นที่จะมีคำแนะนำให้รัฐบาลก็คือ อย่าเวณคืนลำคลองในบริเวณนี้
ภาพรวมของการพัฒนานั้น นครสุวรรณภูมิจะมี ชุมชน 6 ชุมชุน และจะมีใจกลางเมือง อยู่ทางด้านตะวันตกของสนามบิน
เขายังไ้ด้กล่าวอีกว่า คนที่ไปซื้อที่ดินล่วงหน้าเพื่อเก็งกำไรนั้น ไม่ใช่ความคิดที่ดี
ในขณะเดียวกัน บริษัท Property Perfect Plc ได้กล่าวว่า ทางบริษัทจะได้รับประโยชน์อย่างมากเพราะได้ซื้อที่ดินบริเวณนั้นไปเป็นจำนวนมากแล้ว
“ราคาที่ดินบริเวณนี้ ขึ้นไป 25-30% ในรอบสองปีที่ผ่านมา” ธีรชล มโนมัยพิบูล กล่าว
“นักพัฒนาที่ดิน เชื่อว่ารัฐบาลชุดนี้ จะลงทุนก่อนสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้คนย้ายมาอยู่แถวนี้ ให้ใกล้ๆกับที่ทำงานใหม่ ที่จะอยู่ใกล้สนามบิน”
“อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างจะต้องอาศัยเวลา คนทั่วๆ ไปจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปีที่จะค่อยๆ คิดเรื่องการย้ายที่อยู่ และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆที่ว่าก็ต้องใช้เวลานานในการที่จะสร้างขึ้นมา”
นอกจากนี้ ปัญหาถัดไปคือ พื้นที่รอบๆ สนามบินก็ไม่เหมาะสมสำหรับการสร้างอาคารขนาดใหญ่ เช่นโรงงาน เพราะเป็นพื้นที่หนอง ชุ่มน้ำ
“นักลงทุนที่สนใจจะมาสร้างอะไรที่นี่ จะต้องคิดดูให้ดีๆ ก่อนเพราะค่าที่ดินที่พุ่ง 25-30% ดังกล่าว และต้องคำนึงค่าก่อสร้างที่จะแพงกว่าปกติเนื่องจากสภาพดิน
บริษัทอสังหาริมทรัพย์ Jones Lang LaSalle (Thailand) กล่าวว่า พื้นที่รอบๆ สนามบิน มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาไปเป็น ตลาดการค้าใหม่ ในทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร
นายสุพิน มีชูชีพ กรรมการบริหารของบริษัทดังกล่าว ได้กล่าวว่า ตอนนี้ คนที่เป็นนักค้าขายที่ดินจะสนใจความเป็นไปได้ของโครงการที่อยู่อาศัยมากที่สุด แต่ไม่ได้มองถึง โครงการที่เป็นโรงงาน การขนส่ง สำนักงาน ร้านค้า โรงแรม มากนัก เพราะเรื่องพวกนั้นต้องรอการวิเคราะห์ที่ค่อนข้างซับซ้อน
โดยหากจะวิเคราะห์คร่าวๆนั้น อุตสาหกรรมที่จะเติบโตมากที่สุดคือ โรงงาน โรงเก็บของ และการขนส่ง เพราะพวกนี้จะเป็นประโยชน์มากถ้าอยู่ใกล้สนามบิน
โดยหลักการวิเคราะห์ทั้งหมดนี้ ใ้ช้ตัวเลขของ 50 ล้านคนต่อปี ที่จะเข้ามาใช้สนามบินแห่งนี้
Friday, February 24, 2006
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment