Saturday, February 25, 2006

บทความแปล: การตั้ง Architecture Firm ของตัวเอง

เขียนบน Website ของสมาคมสถาปนิกสยาม (www.asa.or.th) เริ่มเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2003

Starting a New Firm: Practical advice for the adventurous By Peter Piven, FAIA

เกี่ยวกับผู้เขียน Peter Piven, FAIA (FAIA ย่อมาจาก Fellow of American Institute of Architects ซึ่งเป็นสมาชิกระดับสูงสุดของสมาคมวิชาชีพ ในบางรัฐมีประมาณ 3-4 คนเท่านั้น) เป็นผู้บริหารและเจ้าของบริษัท Coxe Group, Inc. ในเมือง Philadelphia ซึ่งเป็น บริษัทที่เก่าแก่ และ มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่ทำงานเกี่ยวกับ การสนับสนุน บริษัท สถาปนิก วิศวกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมภายใน Graphic ให้มีความสามารถในการ จัดการองค์กร จัดสรรระบบการออกแบบ และผลิตงาน การประเมิณผลงาน การจัดสรรเวลา การตลาด ประชาสัมพันธ์ การเงิน ฯลฯ Peter Piven ได้รับ M.Arch จาก University of Pennsylvania, MS of Architecture จาก Columbia University และ Certificate in Management of Design Organization จาก Harvard จากนั้นไปเป็น ผู้บริหารการเงินให้กับ Gaddes Brecher Qualls Cunningham ซึ่งเป็น บริษัทออกแบบ และก่อสร้าง ใน Philadelphia และ Princeton เขาได้รับเลือกให้อยู่ในกรรมการทุกสมัยของ American Institute of Architects สาขาเมือง Philadelphia และสำหรับในระดับ ชาติของ America นั้น เขาได้รับเลือกให้ ดำรงตำแหน่งประธานของคณะกรรมการพิเศษ เกี่ยวกับการจัดการ ระบบเวลาทำงานของสถาปนิก และต่อมาได้ร่วมก่อตั้ง คณะกรรมการวิชาการ ว่าด้วยเรื่อง การจัดการระบบการเงิน ให้กับ AIA อีกด้วย นอกจากนี้ Peter Piven ยังเป็น อาจารย์พิเศษ ของ University of Pennsylvania ซึ่งสอน วิชา และการสัมนาประจำ ที่น่าสนใจมากมายเช่น “The Design and Design Oranizations” “Practice Seminar” “Starting a Design Firm” หนังสือ ที่ Peter Piven เขียนได้แก่ Financial Management in Current Techniques in Architectural Practice และ Compensation Management: A Guideline for Small Firms Peter Piven จัดเป็นกลุ่มสถาปนิกกลุ่มน้อยที่มีความสามารถเป็นพิเศษที่สถาปนิกส่วนใหญ่ไม่มี คือ ความเชียวชาญในด้านการบริหารองค์กร และ บริหารการเงิน Article ที่เกี่ยวกับ Starting A New Firm นี้ น่าจะเป็น Article ที่เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจจะตั้งบริษัทออกแบบ ของตัวเอง เนื้อหาของ Paper นี้ค่อนข้างจะเป็นกลางมาก และน่าจะเป็นประโยน์โดยไม่สำคัญว่าท่านจะ ประกอบวิชาชีพอยู่ที่ไหนก็ตาม

Introduction

สถาปนิกทุกคน ณ จุดหนึ่งของวิชาชีพ ก็พยายามที่จะตั้งบริษัทของตัวเองทั้งนั้น เหตุผลนั้นเป็นได้ นับร้อย นับพัน คำถามที่น่าสนใจสำหรับสถาณการณ์ในปัจจุบันก็คือ ทำไมสถาปนิกบางคนถึงอยากเปิดบริษัทของตัวเองท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่เช่นนี้ สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั้นสะท้อนปัญหาที่เกี่ยวข้องคือ การแข่งขันสูง และก็ดูเหมือนว่า บริษัทที่จะเกิดขึ้นใหม่นั้น ไม่น่าจะมีโอกาสได้ลืมตาอ้าปากเลย ในทางปฎิบัติแล้ว มีสถาปนิกหลายคนที่ตัดสินใจเดินสวนกระแส ตั้งบริษัทของตัวเองในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย Charles Dickens กล่าวไว้ใน Tales of Two Cities ว่า “It was the best of times; it was the worst of times.” ตามความหมายแล้ว สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็เป็นเช่นนั้น ในบางสถาณการณ์อันเหมาะเจาะ อาจจะเป็นโอกาสให้บริษัทเล็กๆ ได้ ประกาศศักดา ขึ้นมาแข่งขันในตลาดได้ไม่แพ้บริษัทใหญ่ การ Lay off (การให้ออก แบบสุภาพ เนื่องจากไม่มีปัญญาจ้างแล้ว ซึ่งใน America ต่างกันมากกับ Fire ที่แปลว่า ไล่ออก ซึ่งมักจะเกิดจากการทำความผิดอย่างร้ายแรง หรทุจริต - ผู้แปล) ก็เป็นสาเหตุหนึ่งทีทำให้ สถาปนิกผู้มีความสามารถหลายคน ตัดสินใจที่จะไม่เป็นลูกจ้างใครอีกต่อไปแล้ว

สาเหตุของการ Lay off นั้นก็เข้าใจได้ไม่ยาก ตามปกติ บริษัทใน America ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับ Labor (เงินเดือน - ประกันสุขภาพ - Bonus – Benefit etc.) จะตกประมาณ 40 % ของรายจ่ายทั้งหมด เป็นเรื่องธรรมดา ของคนที่ต้องโดน Lay Off เนื่องจากเป็นคนที่เงินเดือนมากนั้น มักจะเป็นคนที่มีความสามารถสูง รอบตัว พอที่จะเริ่มต้นกิจการของตัวเองได้ และเมื่อมองไปรอบๆตัวแล้ว ไม่มีบริษัทไหนที่จะให้ข้อเสนอที่ดีพอ ส่วนบริษัทที่ให้ออกนั้น การ Lay off มักจะนำไปสู่สถาณการณที่ดีขึ้น แต่ก็เพียงชั่วคราวเท่านั้น ณ จุดนี้ บุคคลผู้ที่ “เป็นอิสระ” ได้ถูกปล่อยให้ เดินออกไปสู่โลกกว้าง โดยที่ต้องนั่งคิดแบบจริงจัง กันเสียทีว่า จะเอาอย่างไรกับอนาคตของตัวเอง และหลายๆคนก็ตัดสินใจ ที่จะก้าวไปสู่สถาณภาพ อันเป็น ช่องว่างอันมหึมาของวิชาขีพอันน่าสนใจ และเป็นที่นิยมสูงสุด อยู่เสมอ ก็คือ Independent Practice (หรือ ภาษาไทยคือ Freelance) Earl Flansburgh สถาปนิกแห่งรัฐ Massachusetts กล่าวไว้เมื่อ 20 กว่าปีก่อน ว่า “There is no good time to start a new firm, only better times” ซึ่งเขาก็พูดได้ถูกต้องทีเดียว ถึงแม้ว่าการเปิดบริษัทในช่วงเศรษฐกิจรุ่งเรื่องจะเป็นที่นิยมและดูเหมาะสม แต่ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำก็มีโอกาสอันน่าสนใจอยู่ไม่น้อย ลูกค้าหลายๆคนที่โดนมรสุม ก็อาจจะอยากจะหาวิธีลด ค่าแบบจากบริษัทระดับ 5 ดาว โดยหันมาลองให้โอกาสบริษัทเล็กดูได้ ลูกค้า่ส่วนใหญ่ได้รับประสบการณที่ดีจากการทำงานกับสถาปนิกใหม่ที่ไฟแรง และทุ่มเทให้กับงานมากเป็นภาระสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด มากกว่าบริษัทใหญ่ที่มีภาระหลักคือการต้องหาเงินให้ได้พอกับค่าใช้จ่ายอันมหาศาลในองค์กร และต้องค้นพบตัวเองว่าไม่สามารถ Manage Project ขนาดเล็กได้ดีเท่ากับบริษัทมือใหม่ได้ เพราะไม่ชิน ไม่เคยทำมาก่อน

สิ่งที่ต้องคิดก่อนที่จะเริ่มลงมีอตั้งบริษัท ก็มีดังที่จะกล่าวต่อไป

S.I. Morris สถาปนิกจากเมืิอง Houston รัฐ Texas กล่าวไว้อย่างถ่อมตนว่า “อยากจะทำบริษัทสถาปนิกให้ประสบความสำเร็จมันก็ไม่มีอะไรมากหรอก ก็แค่หา Project ให้ได้ตลอดเวลาแล้วก็ ทำให้ดีที่สุดตั้งแต่ีต้นจนจบก็แค่นั้น” แต่ก็เป็นที่แน่นอนและรู้โดยทั่วๆไปทุกๆคนว่า สิ่งที่กล่าวมาทุกอย่างนั้นไม่มีอะไรง่ายเลยแม้แต่นิดเดียว แล้วสิ่งที่ผู้ที่ตั้งใจจะตั้งสำนักงานสถาปนิกเป็นของตัวเองจะต้องเริ่มคำนึงถึงก่อนคืออะไร? สิ่งแรกที่น่าจะคำนึงถึงก่อนเป็นอันดับแรกนั้นก็คือตัวเอง

ผู้ที่จะสร้างกิจการ จะต้องมีความเป็นผู้นำเป็นอันดับแรก คุณจะค้องมี ความสามารถที่จะสร้าง Vision ที่ชัดเจนสำหรับอนาคตขึ้นมา และจะต้องมีความสามารถที่จะอธิบายหรือสื่อสาร Vision อันนั้นให้กับคนรอบๆข้างของคุณให้คล้อยตาม และเขาจะต้องสามารถ ชักจูง หรือให้แรงใจ (Motivate) คนรอบๆข้างให้เกิดแรงบันดาลใจอันจะเป็นบ่อเกิดให้มีความมุ่งมั่นในการร่วม ลงทุนลงแรงในกิจการนี้ให้สำเร็จ ผู้นำของบริษัทจะต้องสามารถระบุตำแหน่งของบริษัทได้อย่างชัดเจน ในตลาดของงานออกแบบ หรือที่เรียกว่า Niche Market เช่น การที่มีปรัชญาการออกแบบที่ไม่เหมือนใคร การมีระบ Hightech ในงาน Design หรือ การที่สามารถให้บริการได้อย่างสมบูรณ์แบบเหนือบริษัทอื่นๆ ถ้ามองในทางวืิชาชีพ ผู้นำของบริษัทจะต้องมีความสามารถในการจัดการคน ซึ่งเป็นความสามารถที่แตกต่างจากการเป็นผู้นำที่ดี ผู้นำหรือในหลายกรณีคือ Managing Director ของบริษัทจะต้องทำหน้าที่ จัดสรรงาน (assign and distribute tasks) วางแผนระบบงาน (Make work plans) ควบคุมการทำงาน (Supervise) สอนงาน (Mentor) และ การพัฒนาคุณภาพบุคลากร (Develop Talent) นอกจากนี้ยังจะต้องมีความสามรถทางด้านการขาย และการตลาดเพื่อที่จะหา project มาให้กับบริษัทได้ตลอดเวลา และท้ายที่สุดและสำคัญที่สุด ผู้นำของบริษัทจะต้อง มีความสามารถในการจัดการด้านการเงิน (Money-Management Skills) เพื่อที่จะทำให้ บริษัีทอยู่ในสภาวะที่มีกำไร สามารถตั้งตัวและเจริญก้าวหน้าต่อไปได้

จะเห็นได้ว่า ความสามารถและทักษะที่จะต้องมีนั้นมากมายและหลากหลาย ซึ่งเป็นได้ยากที่จะมีอยู่ในคนๆเดียวได้ ดังนั้นในหลายๆกรณีการตั้งบริษัทใหม่ๆที่ผู้ก่อตั้งวางแผนอย่างจริงจังที่จะก้าวไปสู่อนาคต ขยายขนาดทั้งกำลังคนและกำลังเงิืนออกไป ไม่ใช่แค่ One Man Show Freelance นั้น มักจะเป็นการก่อตั้งโดยการรวบรวมผู้คนที่มีความสามารถในด้านต่างๆ แต่มองไปยังจุดมุ่งหมายเดียวกัน เข้ามาร่วมกันทำงาน เรียกได้อีกอย่างว่าเป็น

หุ้นส่วน

กลุ่มคนที่มีสมาชิกที่มีความสามารถหลากหลาย และมีความช่วยเหลือเกิ้อกูลซึ่งกันและกันอย่างแน่นแฟ้นนั้นจะสามารถนำไปสู่โอกาสของความสำเร็จในการสร้างกิจการมากกว่า การดำเนินไปด้วยคนเพียงคนเดียว Partners สามารถที่จะช่วยกันดูแล เรื่องระบบก่อสร้าง เรื่องทางกฎหมาย เรื่องการบริหารองค์กร หรือเรื่องการควบคุมคุณภาพได้ดีกว่า ตา 1 คู่ของคนเพียงคนเดียวอย่างแน่นอน มีเจ้าของบริษัืทหลายบริษัทที่ป็นผู้ถือหุ้นแต่ผู้เดียว ไม่สามารถออกเดินทางไปพักผ่อนที่ไหนได้เลยเนื่องจากไม่สามารถที่จะทิ้งกิจการไปได้ ในขณะที่ระบบ Partners เป็นระบบที่ทุกๆคนสามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แบ่งๆ กันไปพักได้บ้าง ในระบบที่เรียกว่า Classic สำหรับกิจการของบริษัทสถาปนิกนั้น Partners จะประกอบด้วยบุคคล 3 ประเภท ได้แก่ Partner ที่มีความสามารถทางธุรกิจ สามารถหา Project เข้า office ได้ Partner ที่เก่งด้านการออกแบบและก่อสร้าง ทำหน้าที่ผลิตงาน และ สุดท้ายคือ Partner ที่มีความสามารถในทางการบริหารคน และบริหารเงิน เป็นผู้ที่ทำให้องค์กรดำิเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ความสุดยอดของ office จะเกิดขึ้นเมื่อ Partner ทุกๆคน มีความพอใจและความเชียวชาญในงานส่วนที่ตัวเองทำ และสามารถทำหน้าที่แทน Partners คนที่ไม่ว่างในงานส่วนนั้นได้บ้าง เป็นกรณีๆ ไป ดังที่ได้เห็นความสำคัญของ Partners แต่ละคนไปแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่าง Partners นั้นก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้ความสามารถส่วนตัว ความสัมพันธ์ของ Partners เป็นสิ่งที่จะสามารถทำให้บริษัีท เจริญรุ่งเรื่อง หรืออาจจะเป็นจุดที่ทำให้เกิดความวิบัติอย่างฉับพลันก็เป็นได้ ดังนั้นข้อสำคัญในการเลือกหุ้นส่วนคือ - คุณควรจะหาคนที่มีความสามารถในระดับเดียวกับคุณ ไม่จำเป็นว่าจะต้องออกแบบเก่งเหมือนคุณ แต่หาคนที่เก่งมากพอๆ กับคุณใน Field ของเขา เช่น คนที่คุณมั่นใจว่า ทำการเงินได้เก่งมากพอๆ กับที่คุณออกแบบเก่ง - Partner แต่ละควรควรจะ เคารพ และ ไว้ใจใน ตัว Partners คนอื่นๆ ในจุดนี้ มิตรภาพที่มีมายาวนานอาจช่วยได้ แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป - Partner ไม่จำเป็นต้องทำงานหนักมาก เหมือนกัน แต่ต้องเป็นแกนนำในการ รับผิดชอบหน้าที่ตัวเองให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นหาลูกค้า ออกแบบ ผลิตงาน บริหาร ฯลฯ สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างของลักษณะหุ้นส่วนก็คือ การที่หุ้นส่วนแต่ละคนมี Attitude ที่แตกต่างกัน หารความแตกต่างนั้น ตั้งอยู่บนความเคารพ ไว้เนื้อเชื่อใจ และมีจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน บริษัทนั้นจะเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จ การเข้าเป็นหุ้นส่วนกันนั้น เป็นการเช้าชื่อรวมลงนามข้อตกลงร่วมกัน (Agreement) ดังนั้นการที่ บริษัทจะประสบความสำเร็จได้หรือไม่ ส่วนนึงก็ขึ้นอยู่กับว่า Agreement อันนี้จะยั่งยืนไปได้นานเท่าไหร่ การเขียน Agreement นั้นควรจะใช้เวลาให้มากที่สุดเพื่อให้ครอบคลุมข้อสงสัยและคำถามในใจของ Partner ทุึกๆคน โดยไม่ให้มีข้อข้องใจใดๆ หลงเหลืออยูี่ เพราะถ้ามี ในอนาคตข้อข้องใจเล็กๆนี้อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง และแตกหักได้ และไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก้ตาม ถ้าหากเห็นว่า หุ้นส่วนที่มีอยู่หรือความสัมพันธ์อันนั้น ไม่ Work ก็ควรจะจบความสัมพันธ์อันนั้นโดยเร็ว และถ้าเป็นไปได้ อย่างมีไมตรี

เงินลงทุน

หรือในการนี้อาจจะเรียกได้ว่าเงินหน้าตัก นั้นจำเป็นจะต้องมากพอที่จะใช้จ่ายใน 2 ประเด็นใหญ่คือ เงินสำหรับจัดตั้ง และ เิงินสำหรับค่าใช้จ่ายเบื่องต้น ก่อนที่จะมีเงินจากลูกค้าเข้าในบริษัท คำถามที่ถสถาปนิกทุกคนมักจะถามก็คือ แล้งจริงๆมันคือเท่าไหร่กันแน่ การจัดตั้งสำนักงามสถาปนิกนั้น ค่อนข้างจะเป็นอะไรที่หลากหลายและหาตัวเลขเบื้องต้นแบบระบุชัดเจนไปเลยคงจะไม่ได้ แต่ว่า ส่วนใหญ่แล้ว ทุกๆบริษัทที่เปิดใหม่ควรจะมีเงินไว้เลี้ยงตัวเองได้ประมาณ 3-6 เดือนโดยที่ยังไม่มีรายรับเลย การที่จะหาจำนวนเงินตรงนี้ออกมาได้ ก็คือการสมมุติ สถาณการณืของการทำงานว่า เราจะใช้อะไรบ้าง แล้วเอาค่าใข้จ่ายมารวมแล้วประมาณดู ค่าใช้จ่ายในสำนักงานนั้น หลักๆ คือ Operating Expenses ก็คือ ค่าแรง ค่าประกันสุขภาพ พนักงาน ค่าเดินทาง Fax โทรศัพท์ ค่าส่งของ etc. เช่นว่า Project นี้จะลงทุนเท่าไหร่ ก็จะอยู่ในกลุ่มนี้และ Organizational Expenses ซึ่งเป็นสิ่งที่สถาปนิกจะคิดไม่ค่อยออก หรือคาดไม่ถึงว่าจะต้องมากขนาดไหน Organizational Expenses หลักๆได้แก่ ค่าเช่าสำนักงาน เฟอร์นิเจอร์ คอมพิวเตอร์ ซอฟตฺ์แวร์ โบรชัวร์ฺ ปากกา ดินสอ etc นอกเหนือจากการคาดคะเนค่าใช้จ่ายเหล่านี้แล้ว เจ้าของบริษัทควรจะเพิ่มงบฉุกเฉินเข้าไปอีก ในกรณืเกิดสถาณการณ์อันไม่พึงประสงค์ คำถามต่อไปคือ เมื่อไหร่เงินถึงจะเข้ามาเป็นเนื้อเป็นหนังให้เห็น? สถาปนิกบางคน เริ่มตั้งบริษัทโดยที่มี Project อยู่ในมือแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็น Project ที่่่คาดว่าจะสร้างชื่อ และน่าจะไปได้ดี ทำให้สามารถที่จะมีความสบายใจในเรื่องรายได้ มากขึ้นมาหน่อย แต่สำหรับงานบริการรูปแบบนี้ในปัจจุบันแล้ว การเก็บเงินจะทำได้ก็ต่อเมื่อ เราส่งใบเสร็จ (Invoice) ไปให้ลูกค้า แจ้งว่าเราทำอะไรไปแล้วเท่านั้น จึงจะได้เงินมา กรณีที่ยกเว้น ลูกค้ายอมจ่ายล่วงหน้านั้นก็คือ บริษัทออกแบบใหญ่ๆที่ลูกค้าต้องมาตามขอร้องให้ออกแบบให้เท่านั้น ถ้าบริษัทที่เริ่มต้นจากการที่ไม่มี Project เลยในมือ เงินทุนสำรองที่ต้องมีไว้นั้น อาจจะต้อง มากขึ้นไปอีก เพราะก่อนที่จะได้เงินมานั้น บริษัทต้อง เปิดตัว ออกไปหาลูกค้า ทำการตลาด ได้ Project เริ่มทำงาน แล้วจึงจะส่ง invoice ไปให้ลูกค้าได้ จึงจะได้เงินมา เงินลงทุนเบื้องต้นนั้นมาได้จากหลายแหล่ง เช่น เงินสะสมส่วนตัว เงินกู้จาก Bank ผ่านการจำนองอสังหาริมทรัพย์ เงินกู้จากเพื่อนๆ พ่อแม่ พี่น้อง Credit Card ฯลฯ ในบางกรณีที่ Bank ไม่ให้เงินกูนั้น เจ้าของบริษัทใหม่ก็ไม่ควรไปตกใจ เนื่องจาก Bank นั้นต้องการเป็น คนให้เงินกู้ ไม่้ต้องการเป็นนักลงทุน ดังนั้น Bank จะไม่อยากรับภาระเสี่ยง และจะไม่ต้องการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ส่วนใหญ่แล้ว Bank จะให้เงินกูไม่เกินครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินลงทุนเบื้องต้นที่เราขอไป

การปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ Professional Services

บริษัททุกบริษัท ต้องการ Banker หรือนักการธนาคารที่จะให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นทางด้านการเงินก่อนเป็นอันดับแรก ต่อมาก็มันจะไปถึงความต้องการ ทนายความ สมุห์บัญชี ที่ปรึกษาด้านภาษี บางบริษีัทก็จะจ้าง Consultant Firm เข้ามารับผิดชอบด้านต่างๆไปเลย เช่น Information Technology เป็นต้น ดังนั้นแม้แต่คนที่จะตั้งบริษัทขึ้นมาเองด้วยคัวคนเดียวนั้น ไม่จำเป็นต้องรู้สึกว่าขาดที่พึ่งเลยแม้แต่น้อย เพราะมีผู้ที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือแก่ท่านอยู่มากมาย และเมื่อท่านต้องการที่จะหาบุคคลเหล่านี้ คุณสมบัติของพวกเขาคือ จะต้องเป็นคนที่ ฟังและพยายามเข้าใจลักษณะของ Architecture Business จะเป็นการดีมากถ้าพวกเขาเคยทำงานกับ บริษัทสถาปนิกมาก่อน เมืิ่อท่านพบปัญหาที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง และต้องการความช่วยเหลือจากบุคคลเหล่านี้ ท่านจะต้องพิจารณาว่า วิธีการแก้ปัญหาที่บุึคคลเหล่านี้ แสดงให้ท่านเห็นนั้น มีความเหมาะสมต่อคุณสมบัติของวิชาชีิพ หรือลักณะการดำเนินการของบริษัทออกแบบของท่านหรือไม่ จะมีหลายครั้งที่ Business Advisor เหล่านี้ ใช้แผนแบบเดิมๆในการแก้ปัญหา (ที่เขาคิดว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน) ของบริษัทที่อยู่ในธุรกิจที่แตกต่างกัน วิธิการแก้ปัญหาบางอย่างสามารถเป็นรูปแบบที่ตายตัว แต่บางอย่างก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของธุรกิจ และธุรกิจออกแบบสถาปัตย์นั้นก็มีลักษณะพิเศษมากมาย วิธิการแก้ปัญหาแบบตายตัวอาจจะใช้ไม่ได้เสมอไป ดังนั้น ท่านจะต้องเป็นผู้พิจารณาแผนของ Consultant เหล่านี้ก่อนที่จะลงมีอนำไปปฏิบัติ ไม่ใช่เขาว่าอย่างไรก็ว่าตามนั้่น เพราะอย่าลืมว่าถึงแม้เขาทำงานให้กับท่าน แต่บริษัทนี้ไม้ใช่ของเขา ถ้าแผนเขาผิดพลาด อย่างมากเขาคือเสียลูกค้า แต่ท่านอาจจะเสียบริษัท ในกรณีของความสัมพันธ์กับทนายความนั้น ส่วนใหญ่ทนายความจะเช้ามาทำหน้าที่ในเรื่องของ สัญญาระหว่างหุ้นส่วน สัญญาระหว่างลูกค้ากับสถาปนิก สัญญาระหว่างสถาปนิกกับบริษัทประกันภัยทางธุรกิจและความเสียหายอื่นๆ สัญญาระหว่างบริษัทกับลูกจ้าง ฯลฯ การได้ทนายที่ดีและไว้ใจได้มาีีร่วมทางในการดำเนินธุรกิจนั้นสำคัญมาก เพราะการพูดโทรศัพท์กับทนายความเพียง 5 นาที อาจจะช่วยลดเวลาอันมากมาย (อาจจะเป้นนอาทิตย์ ในบางกรฺณี) ที่จะต้องเสียไปในการคลำหาลู่ทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาทางกฎหมายได้ สำหรับในกรณีของสมุห์บัญชี เป็นเรื่องที่ค่อนข้างปกติถ้าบริษัทที่เปิดใหม่จะไม่มี สมุห์บัญชีประจำอยู่ ถ้าบริษัทนั้นเล็กมาก อาจจะไม่ต้องการเลยก็ได้ แต่ถ้าบริษัทนั้นเริ่มจะมี ลูกจ้างประมาณ 2-3 คนขึ้นไป หรือว่ามีการรวมหุ้นกับหุ้นส่วน หรือเปลี่ยนลักษณะของบริษัท เป็นห้างหุ้นส่วน หรือ นิติบุคคล ฯลฯ สมุห์บัญชีอาจจะมีความจำเป็นขึ้นมา สมุห์บัญชีที่ดีจะช่วยจัดการเรื่องระบบเงินเดือน การเก็บบันทึกของการเงินเข้าของบริษัท และการใช่จ่ายในแต่ละ Project ได้ ซึ่งแน่นอนว่า สถาปนิกทั่วไปไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้เท่าใด และแน่นอนว่าไม่มีบริษัทใดที่ไม่มี บัญชีเงินฝากธนาคาร การสร้่างความสัมพันธ์ระหว่างตัวท่านซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทกับธนาคารที่ท่านไว้ใจนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ตั้งแต่การที่ท่านจะกูเงินไปลงทุนทำกิจการเป็นต้นไป นายธนาคารที่ท่านจะติดต่อด้วยนั้น น่าจะเป็นคนที่เข้าใจลักษณะธุรกิจของท่าน และสามารถแนะแนวการลงทุนเพื่อขยายกิจการให้ท่านได้ ในบางกรณี อาจจะสามารถแนะแนวการนำกำไรไปใช้ในการลงทุนต่างๆที่อาจจะทำให้เกิดผลดีกับธุรกิจของท่านมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในหลายกรณี สถาปนิกที่มีความสัมพันธ์อันดีกับธนาคารนั้น มันจะได้รับการแนะนำลูกค้าใหม่ๆ Project ใหม่ๆ จากทางธนาคารเสมอ สุดท้ายก็คือ ถ้าหากท่านต้องการให้ธุรกิจของท่านขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว มั่นคง และ นิ่มนวล ท่านมักจะต้องมองหา ที่ปรึกษาทางการบริหารธุรกิจ (ฺBusiness Management Consultant) ที่ปรึกษาทางการบริหารธุรกิจที่ดีนั้น มักจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษามาแล้วกับลูกค้าที่ทำธุรกิจในหลายๆด้าน ที่ประสบปัญหากับเหตุการหลายๆแบบ พวกเขาจะเข้าใจการดำเนินงานของธุรกิจที่มีลักษณะพิเศษ และสามารถปรับทัศนวิสัยของเข้าเพือให้เขาใจปัญหาใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วและครบถ้วน พวกเขาจะสามารถให้คำปรีกษาที่ดีเนื่องจากว่าเขาสามารถนำกรณีเปรียบเทียบที่น่าสนใจจากธุรกิจอื่นๆมาแนะนำให้ท่านได้ และสามารถนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา และผลกระทบ ที่จะออกมาในแบบต่างๆ ให้ท่านเลือกได้ มากกว่า 1 วิธีอยู่เสมอ

จรรยาบรรณวิชาชีพ

สถาปนิกและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวงการออกแบบทั้งหลายควรจะต้องประกอบวิชาชีพอย่างมีจรรยาบรรณ และอาจจะไม่จำไปต้องพูดต่อไปอีกว่า บริษัทที่ตั้งขึ้นมานั้นควรจะยึดหลักนี้ไว้เหนือสิ่งอื่้นใด ไม่มีอะไรจะสำคัญไปกว่าจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุณปฏิบัติต่อลูกค้า ถ้าคุณละเลย บกพร่องในจุดนี้ คุณไม่ได้เพียงแต่ทำลายธุรกิจของตัวเองแต่ยังทำลายภาพพจน์ของวิชาชีพและเพื่อนๆร่วมวิชาชีพของคุณอีกด้วย ใน America นั้น American Institutes of Architects ได้จัดทำ Code of Ethics and Professional Conducts และ update โดยนำกรณีใหม่ๆขึ้นมาวิเคราะห์กันทุกปี (สำหรับในประเทศไทย ทางสมาคม หรือสภาคงจะมีคู่มือตรงนี้อยู่เข่นกัน) และเป็นคู่มือที่เปิดเผยให้คนทั่วไปให้เข้าไปรับรู้ข้อมูล ไม่จำกัดแต่สถาปนิกเท่านั้น อย่างไรก็ตามกรณีที่น่าจะนำมากล่าวถึง คือเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างในบริษัท สถาปนิกทุกคนเริ่มต้นจากการเป็น Intern ให้กับบริษัทหนึ่งๆ ก่อน หลังจากนั้นเมื่อทำงานมีประสบการณ์มากขึ้น ได้ติดต่อกับลูกค้ามากขึ้น ก็มักจะใช้ ความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าที่มีต่อตัวเองนั้น ก้าวไปทำบริษัทของตัวเองในที่สุด (ถ้าลูกค้าเลือกที่จะเชื่อในตัวสถาปนิกคนนี้ มากกว่าเชื่อใน่ Credit ของบริษํท) ในเวลาที่ทำงานให้กับบริษัทหนึ่งๆ ถ้าหากมีโอกาสที่คุณจะใช้ชื่อของตัวเอง และ Credit ของตัวเองในการทำงาน Project นั้นๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่คุณทำงานอยู่ คุณต้องแน่ใจว่า เวลาและเงินลงทุน ที่คุณ ใช้ไปในการทำ Project อันนี้ออกมาจากกระเป๋าจของคุณเอง ไม่ใช่กระเป๋าของบริษัทที่คุณทำงานอยู่ อย่าพยายามแก้ตัวว่า คุณเป็นตัวแทนของบริษัท แ่ต่เอางานเข้าัตัวเอง (แต่เงินเข้ากระเป๋าคุณคนเดียวด้วย) จงทำงานอย่างทุ่มเทเต็มที่ต่อนายจ้างของคุณ ถ้าคิดว่าไม่สามารถจัดการแบ่งเวลาให้ลงตัวได้ ก็ต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง หากคุณต้องการจะ Copy งานของบริษัทเข้าไปไว้ใน Port Folio ของคุณเอง อย่าลืมขออนุญาติเจ้านายของคุณก่อน บริษัทบางแห่งมีนโยบายที่เข้มงวดกับการ เผยแพร่ข้อมูลในบริษัทมาก บางแห่งไม่เข้มแต่ลูกค้าเรียกร้องให้ปิดข้อมูลเป็นความลับ ถ้ารั่วไหลออกไป (เพราะคุณ) ลูกค้าอาจจะเสียความไว้วางใจ บริษํทอาจจะเสียลูกค้าที่ด และอาจจะแถมด้วยการฟ้องร้องอีกด้วย ถ้าคุณต้องการจะทำการตลาดของบริษัทคุณเองด้วยการ แสดงผลงานที่คุณมีส่วนร่วมตอนที่ทำงานอยู่กับบริษัทที่คุณทำงานให้เขามาแต่ก่อน จงแสดงให้ชัดเจนว่า คุณมีส่วนร่วม ณ จุดใด และอย่าลืมให้ Credit ของบริษัทที่คุณทำงานให้ พร้อมกับ ชื่อของ Team ผู้ร่วมงานนั้นๆให้ครบด้วย ในกรณีปกติ ถ้าคุณกำลังอยู่ในช่วงที่จะออกไปตั้งบริษัทเอง คุณอาจจะบอกกับลูกค้าของบริษัีทที่คุณทำงานอยู๋ ลูกค้าที่คุณสนิืทด้วยว่า คุณกำลังจะเปิดบริษัทตัวเองแล้ว แต่ถ้าคุณได้เซ็นสัญญา Noncompete Agreement (หรือสัญญาว่าจะไม่แข่งขันกับนายจ้างในขณะที่เป็นลูกจ้างของบริษัท) คุณก็หมดสิทธิ์ตรงนี้ไป และสัญญาอันนี้ก็จะมีผลไปถึงการที่จะไม่ให้คุณชวนคนอื่นออกจากงาน ไปร่วมตั้งบริษัทกับคุณด้วย คุณทำได้เพียงแต่บอกเพื่อนร่วมงานเท่านั้น ว่าคุณจะตั้งบริษัท แต่ให้เขาตัดสินใจเอาเอง ในวิชาชีพนี้ นับว่าเป็นโชคดีที่เราอยู่ในวงการของคนที่ค่อนข้างจะมีนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ยังเป็น Artist มากกว่า Businessman ดังนั้นคุณอาจจะแปลกใจที่จะพบว่า ในการตั้งบริษัทใหม่ของคุณเองนั้น เจ้านายเก่าของคุณอาจจะช่วยคุณอย่างเต็มที่ ทั้งคำแนะนำ กำลังใจ ข้อมูล การช่วยเหลืออื่นๆ และอาจจะถึงขนาดหา Project ให้อีกด้วย ขอให้คุณเป็นคนดีที่ไว้ใจได้ ทำงานให้กับเขามาอย๋างจริงใจและต่อเนื่อง อย่างลืมว่าวงการของเราเป็นวงการที่แคบ สักวันคนที่เราเคยคบ เคยทำงานด้วยกัน ก็จะต้องกลับมาพบกันอีก มีมิตรย่อมดีกว่ามีศัตรู

จบ

2 comments:

Anonymous said...

ขอบคุณมาก ๆ นะครับ

Anonymous said...

Attraсtive sectіon of content. I just stumbled upon your blog
and in aссession capitаl to assert
thаt ӏ acquirе actually enjoyеd account yоur blog
posts. Any way Ӏ'll be subscribing to your feeds and even I achievement you access consistently fast.

Here is my blog post :: hyves.nl
Visit my web-site ... ultrasound technologists salary