Sunday, January 14, 2007

ความประทับใจที่ สถาปัตย์ มหาสารคาม

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และ นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถาบันการศึกษาที่มีอนาคตไกล

เขียนเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2006


ผมได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรพิเศษ เีกี่ยวกับการออกแบบอาคารสูงและโรงแรมที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และ นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเมื่อวันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2549 ที่ผ่านมา

คณะนี้เป็นคณะที่ มีสามภาควิชาได้แก่ สถาปัตยกรรม ผังเมือง และ นฤมิตศิลป์ โดยจะเป็นปริญญาตรีทั้งหมด

ต้องยอมรับว่าในช่วงแรกผม ตามประสาคนกรุงเทพ ก็คิืดว่า เป็นการไปช่วยเหลือมหาวิทยาลัยที่ห่างไกล และไม่พร้อมในทุกๆ เรื่องตั้งแต่สถาบัน ยันจำนวนอาจารย์ต่อนิสิตและศักยภาพของนิสิตเองด้วย นอกจากนี้จากการที่ได้อ่านบทความเกี่ยวกับการรับนิสิตในมหาวิทยาลัยของรัฐที่ถูกกล่าวหาว่า จะเน้นแ่ต่การเอาเงิน โดยรับเด็กเพิ่มมากๆ เพื่อรับค่าเล่าเรียน แต่มีอาจารย์ไม่เพียงพอ หรืออะไรก็แล้วแต่ เอาเป็นว่าไม่ได้คาดหวังอะไรมาก ไปสอนๆ ให้จบๆ ก็แล้วกํน

แต่ก็ต้องยอมรับว่าคิดผิดไปถนัด

เมื่อไปถึงก็มีอาจารย์มาต้อนรับ มีอาคารเรียนที่ใหญ่โต (ทราบอีกครั้งว่าเป็นของคณะศิลปกรรมศาสตร์) แต่อาคารของคณะสถาปัตย์นั้นกำลังก่อสร้างอยู่ นอกจากนี้ การที่ได้รู้จักกับคณาจารย์ ก็ิยิ่งประทับใจ โดยเห็นได้ว่าเป็นผู้ที่มีทั้งความรู้ ทั้งกำลัง และทั้งอุดมการณ์

คืออาจารย์มหาวิทยาลัยบางคนที่ผมรู้จัก ไม่ว่าจะในเืมืองหรือนอกเมือง ถ้าเป็นมหาวิทยาลับของรัฐจะมีกลุ่มคนที่มาสอนเพื่อที่จะยกระดับตัวเอง คือใช้ความเป็นอาจารย์เพื่อเข้าหาทุน เพื่อจะได้เรียนต่อ แต่ส่วนตัวไม่มีจิตวิญญาณของความเป็นครูแม้แต่น้อย พอจบมาก็เอาแต่ทำงานนอก สอนเด็กแบบ Minimum มาถึงไ่ม่เตรียมตัวสอน เอาแต่ด่าเด็กเป็นหลัก

แต่อาจารย์ที่ผมเจอที่มหาสารคาม นั้นตรงกันข้าม อาจารย์เหล่านี้มีจิตวิญญาณของความเป็นครูจริงๆ คือจะสอนเด็กแบบเขี้ยวเข็ญ ตามเด็กมาส่งงาน ทำอะไรก็ได้ให้เด็กได้ดี ผมจำ detail เล็กๆ ได้คือตอนที่ผมกำลังสอน มีเด็กคนหนึ่งเอา magazine ขึ้นมาอ่าน อาจารย์ถึงขนาดไปตามเก็บมายึดไว้ (เหมือนครูประถม) เพื่อให้เด็กตั้งใจฟัง อาจารย์แต่ละคนที่อยู่ที่นี่ ส่วนใหญ่ รักที่จะอยู่ทั้งสิ้นและจะอยู่ไปอีกนาน

ผมคิดไปอีกทีก็นับถืออาจารย์เหล่านี้ ว่ายินยอมเสียสละมาอยู่ในดินแดนกันดาร เพื่ออุดมการณ์ของตัวเอง 100% โดยมีชีวิตที่ไม่ได้สุขสบายเหมือนที่ๆ เคยอยู่มาก่อน (อาจารยฺ์ส่วนใหญ่เป็นคนกรุงเทพทั้งสิ้น)

แต่ผมก็ต้องคิดผิดอีกที ใครกันที่พูดว่าอีสาน แห่งแล้งกันดาร ไม่จริงครับ

อาหารมื้อแรกของผม นั้นเป็นอาหารอีสาน ที่มีทั้งคุณภาพและปริมาณ ปลาที่ผมกิน ตัวขนาดเท่าอ่างล้างมือเล็กๆ ถ้ากินในกรุงเทพ ต้องตัวละเป็นพันแน่ๆ เป็นปลาที่สดเพราะจับจากบ่อ ส้มตำ ปล่าย่าง ปลาทอด ซี่โครงหมูทอด และอาหารอีสานที่ผมจำชื่อไม่ได้หลายชนิด กินกัน 9 คน แทบเป็นแทบตาย เช็คบิลออกมา ตกคนละ 70 กว่าบาท ทำให้รู้ซึ่งเลยว่า อาจารย์พวกนี้ ไม่ได้ลำบากอย่างที่ผมคิด ถ้าเงินเดือนลูกจ้างของรัฐ ในรูปแบบของการออกนอกระบบที่เท่ากันทั้งประเทศในค่าครองชีพแบบนี้ อาจารย์เหล่านี้ความเป็นอยู่ดีมากๆ

คิดเทียบกันตรงไปตรงมา ชาเย็นในร้านหรูๆ ที่กรุงเทพ ราคาเฉลี่ยตกอยู่ที่ 45 บาท แต่ที่นี่ 15 บาทครับ

ค่าเช่าบ้านของอาจารย์เหล่าี้นี้ ก็ไม่ต้องเสีย มีอาคารหอพักอาจารย์ให้อยู่ เสียเงินเพียง 500 บาท เท่านั้น หมดค่าเช่าบ้านไปอีก

รถหรือครับ ไม่ต้องมี รถไม่ติด ถ้ามีมอเตอร์ไซค์ซักคัน ก็สบายแ้ล้ว อากาศดี เมืองเล็กๆ สงบๆ ไม่มี pollution จากบ้านมาทำงานใช้เวลา 5 นาที มีเวลามานั่งอ่านหนังสือ พัฒนาความสามารถตัวเอง และองค์กรเ็ป็นอย่างมาก

ถ้าท่านเบื่อ ก็ไปท่องเที่ยวได้ ไม่ต้องไปเดินห้างแบบกรุงเทพ มหาสารคามเป็นจังหวัดที่เรียกว่าเป็นสะดือ อีสาน คือ อยู่ตรงกลางพิกัดของ ภาคพอดี จะไปที่ไหนก็ 3-4 ชั่วโมงอย่างมาก ขับรถไป ไม่ถึงชั่วโมงก็ กาฬสินธุ์ วนไปอีกทีก็ ขอนแก่นแล้ว แต่ละจังหวัด ก็จะมีอาหารอร่อยๆ และผู้คนที่มีน้ำจิตน้ำใจที่ดี มีที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติมากมาย ถ้าท่านได้ไปอยู่ รับรองว่าแข็งแรงมาก ทั้งจากอากาศ อาหาร และการใช้ชีวิต

ถ้าจะเป็นวิทยากรพิเศษ ก็อยู่อย่างราชา ไปถึงที่สนามบินขอนแก่น มีรถมารับ ไปสอนที่คณะ กลางคืนพักโรงแรมตักศิลา สบายมากๆ อยู่กลางเมือง ถ้านับกันในประเทศ ผมให้ สามดาวครึ่ง โรงแรมนี้

อินเตอร์เน็ทของมหาวิทยาลัยก็เร็วมาก ไม่แพ้แถวสยามแสควร์

สรุปแล้ว สบายครับ ไม่ลำบากเลย

ที้นี้นิสิตเป็นอย่างไร ก็อาจจะต้องยอมรับว่า เป็นนิสิตที่อาจจะไ่ม่ไ้ด้รู้ได้เห็นอยู่ใน Trend มากเท่าเด็กกรุงเทพ คือความรู้พื้นฐานอาจจะทันกัน แต่ประสบการณ์อาจจะน้อยกว่า แต่เด็กพวกนี้ ความตั้งใจไม่แพ้แน่นอน และเด็กเหล่านี้มีสัมมาคารวะกับอาจารย์มาก ไม่เหมือนเด็กมหาวิทยาลัยเอกชน “บางแห่ง” ที่ ด่าพ่อล่อแม่กันข้ามหัวอาจารย์ (ผมเจอมาแล้ว) เพราะเขาถือว่า เขาจ่ายเงินมาแพง อาจารย์คือลูกจ้างของเขา

เด็กๆที่เรียนอยู่ที่นี่ เป็นเด็กที่มาจากทุกๆ จังหวัดในภาคอีสานทั้งสิ้น จะมีความหลากหลายในเรื่องของถิ่นที่อยู่ แต่จะยังคงมีรากของวัฒนธรรมท้องถิ้นผังลึกมาก ยังมีการไปทำบุญที่วัดเป็นประจำ มีการใช้ภาษาท้องถิ่้น หรือพูดง่ายๆ ก็คือยังคงความงดงามของเอกลักษณ์ประจำท้องถิ้นได้เป็นอบ่างดี

งาน Project ที่ทำก็จะเป็นงานในภาคอีสานเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเมือง การทำแผนให้กับ อบต หรือส่วนราชการของจังหวัด

สรุปก็คือ อาจจะไม่ใช้มหาวิทยาลัยที่เจริญก้าวหน้าอย่างฟู่ฟ่า อลังการ หรือไม่ได้ผลิตเด็กที่เก่งเป็น top class ของประเทศ แต่เป็นที่ๆ ถ้าเจริญก็น่าจะเจริญอย่างยั่งยืนได้ และ่ก่อให้เกิดความเจริญที่เหมาะสมกับศักยภาพของท้องถิ่นได้

สถาปนิกท่านใดที่มีความรู้ความสามารถ อยากจะแบ่งปันให้กับเด็กเหล่านี้ ก็ลองสมัครเป็นอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษได้นะครับ กินอยู่ เดินทาง ฟรี ติดต่อไปได้ที่ ท่านอาจารย์ มณี พานิชการ คณะบดี ได้ที่ 0-4375-4381 หรือ fax 0-4375-4382 ส่ง Resume ไปเลยครับ แล้วบอกไปเลยว่าอยากสอนวิชาอะไร

เรื่องใหญ่ที่สุดคือเรื่องความอยากสอนนะครับ สำหรับสถาปนิกทุกท่าน ความรู้ เราทุกคนพอมี แต่ใจที่อยากจะให้เป็นเรื่องใหญ่ อย่ารอให้เขามาเชิญท่านเลยครับ เสนอตัวไปเลย อย่างผมนี่ก็ ได้เจออาจารย์มณี ในงานที่กรุงเทพ ผมก็บอกว่า ผมยินดีที่จะสอน ให้ผมได้เมื่อไหร่ก็ได้ เขาก็ส่งจดหมายมาเชิญผมไป

มาช่วยๆ กันกระจายความรู้ที่เรามีเพื่อวิชาชีพของเรานะครับ

2 comments:

Anonymous said...

ผมอ่านแล้วได้กำลังใจคับอย่างน้อยก็คิดว่าตัวมีดีถ้าอยู่ที่อื่นคับ (นิสิตถาปัด มมส.คับ)

nonthalee said...

จริงค่ะ หนูเป็นนิสิตสถาปัตย์ที่จบแล้ว หนูยอมรับว่ารู้สึกเดียดฉันท์คนกรุงเทพและความเป็นอยู่ที่กรุงเทพ เพราะเค้าคอยดูถูกเราเสมอ ทำให้คนบ้านนอกกลับไปคิดว่ากรุงเทพดี ทั้งที่มีแต่ความแก่งแย่งชิงดี มีแต่ผลประโยชน์

บ้านนอกออกจะสะดวกสบาย อากาศบริสุทธิ์ เดินทางง่าย อาชญากรรมน้อย คนก็มีน้ำใจ รักกันดี

ทุกวันนี้กำลังเริ่มเปลี่ยนไป เพราะชาวบ้านเค้าอยากให้บ้านเมืองเค้ากลายเป็นกรุงเทพ การพัฒนาเมืองก็จะเป็นกรุงเทพอยู่แล้ว เอาวัตถุความเจริญจอมปลอมมาใส่ หนูหล่ะเศร้าใจ หนูอยากเป็นส่วนหนึ่งที่จะพัฒนาบ้านเมืองที่มันยังไม่เสื่อมนี้ ให้ไปในทิศทางที่ดี และถูกต้องค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่มาสอนน้องๆนะคะ ส่วนตัวหนูจบแล้ว หนูต้องไปหาความรู้ประสบการณ์ที่กรุงเทพก่อน แล้วกลับมาพัฒนาบ้านเกิดแน่นอนค่ะ

ศิษย์เก่าคณะสถาปัตย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม