Sunday, February 26, 2006

บทความแปล - กรณีศึกษาวิชาชีพในประเทศสเปน

บทความแปล - กรณีศึกษาวงการประกอบวิชาชีพของ Spain - สถาปนิกใน "ออก" สถาปนิกนอก "เข้า"

เขียนบน Website ของ สมาคมสถาปนิกสยาม (www.asa.or.th) เริ่มเขียนเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2005

จาก The Spanish Import/Export Business:As foreign architects flock to Spain, Spaniards explore abroad. Architecture Record ฉบับ มีนาคม 2005 โดย Sam Lubell

จากพระราชวัง Alhambra แห่งเมือง Granada ไปสู่ Renaissance Monastery แห่ง El Escorial ณ เมือง Madrid โดย Juan De Herrara (สถาปนิกสเปน 1530-1597) จนถึง Sagrada Familia โดย Antonio Gaudi งานสุดยอดสถาปัตยกรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้โลกได้เห็นถึง ความสามารถของสถาปนิกสเปน ที่มีมาหลายศตวรรษ แ่ต่ ประเทศ สเปน ในปัจจุบันที่เราเ็ห็น ไม่ได้เป็นดินแดนของ Gaudi เท่าั้นั้น แต่ที่นี่ยังเป็นดินแดนของ Gehry อีกด้วย พิพิธภัณฑ์ Bilbao อันมีเอกลักษณ์ของผนัง Aluminium ภายนอก ที่เขาได้ออกแบบนั้น (1996) อาจจะเีรียกได้ว่าเป็น โครงการ(สถาปัตยกรรม) ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประเทศ ก็เป็นได้ ไม่ใช่เพียงแค่ในด้านของการดึงดูดคน และการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นเท่านั้น แต่เป็นการ บ่งบอกถึงจุดของเวลา ที่่สถาปนิกต่างชาติได้ทำการบุกเข้าสู่คาบสมุทร Iberian แห่งนี้ กองทัพสถาปนิกต่างชาติเหล่านี้ มาพร้อมกับอาวุธยุธโทปกรณ์ ทั้งด้าน Computer Program, ทฤษฎีทางด้านความงามสมัยใหม่ รสนิยมที่ทั้งโลกกำลังไปสู่ทางเดียวกัน ซึ่งทั้งหมด กำลังค่อยๆ เปลี่ยนแปลงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของประเทศ Spain ไปอย่างช้าๆ แต่รุนแรง สถาปนิกและนักออกแบบทั้งหลายที่พยายามจะเข้ามาใน Spain นั้น โหยหาความสำเร็จที่เหมือนกับ Bilbao และต้องการที่จะเข้ามามีส่วนแบ่งกับตลาดของอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่เจริญเติบโตรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นจุดจบของสถาปนิก สเปน แต่อย่างใด ตรงกันข้าม สถาปนิก สเปน กลับมุ่งไปได้ Project ในทุกๆ มุมของโลก ด้วยอัตราที่สูงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สาเหตุส่วนหนึ่งก็เื่นื่องมาจากความทึ่งของโลก กับสถาปัตยกรรมสเปนสมัยใหม่ ที่มีแนวการคิดอันสลับซับซ้อนแต่ แสดงออกมาอย่างเรียบง่าย หมดจด และ ระบบการทำรายละเอียดโครงสร้าง ที่มีคุณภาพสูงที่สุดเป้นอันดับต้นๆ ของโลก (นิตยสารเกี่ยวกับการออกแบบและสถาปัตยกรรม นั้น มุ่งเน้นไปในการเผยแพร่ประเด็นนี้มาโดยตลอด) ดังนั้น การนำเข้าสถาปนิกต่างชาติ และการส่งออกสถาปนิก สเปนไปทั่วโลก ณ ปัจจุบัน ทำให้ Spain เป็นเหมือนกับ ห้องทดลองทางความคิดสร้างสรรค์จากนานาชาติ และน่าจะเป็นกรณีศึกษาที่ดี สำหรับประเด็นของ Globalization of Architecture

สถาปนิกต่างชาติ กำลังมา !!!

การหลั่งไหลของ สถาปนิกต่างชาติเข้ามาใน ประเทศ เสปน นั้นเหมือนกับการที่สถาปนิกต่างชาติเข้าสุ๋ประเทศจีน ภายหลังจากการปกครองของนายพล ฟรังโก เศรษฐกิจของประเทศก็ดีขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้ ความช่วยเหลือจาก EU. ทำให้ตลาดการก่อสร้างเป็นที่โหยหาของสถาปนิกจากนานาประเทศ จากข้อมูลของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน Analistas Financieros เศรษฐกิจการก่อสร้างนั้นคิดเป็น 9.8% ของเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมดของประเทศในปี 2003 โดยเทียบกับ ทั้ง 5.6% ของ E.U.

เช่นเดียวกับจีน ประเทศเสปนนั้นต้องการแสดงความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจโดยการจ้างสถาปนิกชื่อดัง ราคาแพงๆ จากต่างประเทศมากทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความสำเร็จของพิพิธภัณฑ์ Bilbao ที่มีคนมาเยี่ยมประมาณ 1 ล้านคนต่อปี นั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากมี และด้วยผลกระทบอันนี้ทำให้ชาวเสปน พยายามมองหาสถาปนิกต่างชาติที่ีความสามารถมากขึ้น

จำนวนของสถาปนิกต่างชาติที่เข้ามาใน Spain ในรอบ 5 ปี นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะถือว่ามหัศจรรย์ เริ่มได้ตั้งแต่ Frank Gehry ที่ได้รับการรับเชิญให้ออกแบบแผนพัฒนาเมืองอีก 1 เมือง ที่ชื่อ Elciego ที่เป็นเมือง ผลิตไวน์ที่มีชื่อเสียง โดย Gehry สัญญา่ว่าจะ Redefine และ Invigorate ภาพพจน์ของเืมืองต่อสาธารณะใหม่ แปลว่าจะตีความใหม่และทำให้เกิดความตื่นเต้นและมีสีสัน (โปรดสังเกตุว่าคนเสปนเชื่อมันในตัวสถาปนิกมากในเื่รื่องที่จะมาทำงานระดับนโยบาย ไม่ได้เป็นแค่งานระดับการประกอบวิชาชีพหรือนำเสนอแนวทางการสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพเท่านั้น - ผู้เขียน) นอกจากนี้ Gehry เป็นสถาปนิกออกแบบโรงแรมแห่งใหม่ในเขต Poblenou ในเมือง Barcelona สถาปิกชาวฝรั่งเศส Dominic Perrault มีโครงการยักษ์ๆ 4 โครงการ (เสปนคือตลาดที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท) David Chipperfield จากอังกฤษ มี 6 โครงการ Herzog and de Meuron แห่งสวิส มี 8 โครงการ นอกจากนี้ยังมี Zaha Hadid (4 โครงการ) และ OMA ของ Rem Koolhaas (2 โครงการยักษ์ที่สำคัญมาก)

“ประเทศอื่นๆ ในยุโรปมีการก่อสร้างเต็มไปหมดเรียบร้อยแล้ว” ฮวน เฟอร์นันเดซ อันดริโน สถาปนิกแห่งบริษัท Dominic Perrault กล่าว “ผมคิดว่าประเทศสเปน เป็นประเทศที่มองหา idea ใหม่ๆ และ คนใหม่ อยู่เสมอ” นอกจากนี้ Ascan Merganthaler หุ้นส่วนของ Herzog & de Meuron ก็เสริมว่า “สเปนน่าจะเป็นประเทศเดียวในโลกถ้าไม่นับจีน ที่เป็นประเทศที่คุณสามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงสภาพของเืมืองได้อย่างสิ้นเชิง (Radical Change)”

ความรู้สึกที่อยากจะมีอะไรใหม่ๆหรือเทห์ๆ อยู่เป็นสัญลักษณ์ของชุมชน หรืออาจจะเรียกได้ว่าความบ้าสถาปัตยกรรมก็ได้นั้น เป็นสิ่งที่มาจากวัฒนธรรมของสเปนโดยแท้ ที่มีความเป็น Visual Culture สูงมาก โดย Peter Eisenmann เคยกล่าวไว้ในตอนที่เขาทำการออกแบบ Galicia City of Culture ซึ่งเป็น โครงการทางวัฒนธรรมขนาดใหญ่ ในเขต Santiago de Composela ว่า “ตอนที่ผมเดินเข้าไปในโรงแรมนี่ มีคนรู้จักผมเยอะมาก พอตอนที่ไปกินข้าวก็ได้รับการเสนอให้นั่งในโต๊ะพิเศษ ซึ่งถ้าผมอยู่ในอเมริกา(ประเทศของเขาเอง)นี่ ไม่มีทางที่จะได้รับการดูแลอย่างดีเช่นนี้แน่นอน” นอกจากนี้ ตัวเขาเองได้รับการรับเชิญให้ไปพบปะสังสรรค์กับผู้ว่าการรัฐทุกๆ ครั้งที่ได้บินไป ส่วนสถาปนิกคนอื่นๆก็มีเรื่องเล่าทำนองเดียวกันนี้ เช่น บางคนที่ไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยก็จะมีคนภายนอกทั่วไปเข้ามาร่วมฟังด้วยเป็นจำนวนมาก ส่วนบางคนเมื่อเวลาที่ไปเยี่ยมชม site ก่อสร้างก็จะมีประชาชนไปยืนเกาะรั้วเพื่อที่จะดูตัวเป็นร้อยคน (เป็นสัญญลักษณ์ของความเป็น Celebrityship ของสถาปนิกเหล่านี้ในสายตาชาวสเปน ที่ยากที่จะหาได้กับประเทศอื่นๆ ในโลก-ผู้แปล)

โดยภาพรวมนั้นเหมือนกับว่า ประเทศสเปนกำลังทำตัวเองให้เป็นพื่นที่ทดลองทางงานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิกต่างประเทศหลายๆคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาหลงสเหน์ของความสามารถ ความยืดหยุ่น และความกล้าที่จะทดลองอะไรใหม่ๆ ของ ผู้รับเหมาก่อสร้างชาวสเปนที่แตกต่างจากที่อื่นๆ สำหรับที่สเปน ในขั้นตอนการก่อสร้าง เจ้าเหนือหัวที่สั่งได้ทุกอย่างคือ”สถาปนิก” ไม่ใช่ ผู้รับเหมา Change Orders ในการก่อสร้าง (ภาษาไทย คืออะไรผู้รู้ช่วยแปลด้วยนะครับ ถ้าผมแปลตรงตัวคือบริการนอกเหนือสัญญาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจจากเจ้าของโครงการที่จะต้องมีการเสียค่าใช้จากเพิ่มให้กับสถาปนิกและ/หรือ ผู้รับเหมา-ผู้แปล) ถ้าจะมองให้ง่ายอีกแง่ก็คือ การออกแบบไม่ได้จบลงตรงขั้นตอนการทำแบบก่อสร้างเสร็จ แต่จะจบลงเมื่อก่อสร้างเสร็จ ทุกอย่างมีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงได้ และก็แน่นอนว่า ข้อเสียก็คือ ความไม่เป็นระเบียบ การสื่อสารที่มีปัญหาระหว่างกลุ่ม ทำให้เกิดความล่าช้า และค่าใช้จ่ายที่บาน ตามมา ซึ่งก็เป็นผลกระทบที่ตรงตัว แต่ที่ทุกคนมีตรงกันที่แตกต่างจากความร้อนแรงในการก่อสร้างของจีนคือ ทุกๆ คน ตั้งแต่สถาปนิก ผู้รับเหมา วิศวกร ไปจนถึงคนงานก่อสร้าง มีวิสัยทัศน์ในเรื่องของ Modern Architecture อยู่ในหัวแล้ว เพราะได้รับการสอนมาจากในสถาบันการศึกษาตั้งแต่เป็นเด้ก ทุกคนเข้าในความสลับซับซ้อนและบางครั้งหาเหตุผลที่ชัดเจนไม่ได้ของคำว่า Design แต่นั่นก็ก่อให้เกิดข้อเสียเล็กๆ น้อยๆ ตามมาเป็นปกติ เช่นในกรณีที่ Mergenthaler กล่าวไว้ว่า “บางครั้งพวกเขา (ผู้รับเหมาก่อสร้าง) คิดว่าเขารู้ดีกว่า”

The New Style

แนวความคิดที่ได้รับความสนใจจากชาวสเปนของสถาปนิกต่างชาตินั้น มักจะมาในรูปของ Abstract หรือมาในรูปของทฤฎีที่มีความแตกต่างอย่างมากกับ รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศสเปนในยุคหลัง ที่มักจะมาในรูปของ รูปทรงที่เรียบง่าย (มาก) และความแตกต่างของ วัสดุก่อสร้างที่น้อยๆ ค่อนข้างจะไปในทาง Minimalism ซึ่งจะไปตรงกับเอกลักษณ์ของ Herzog and de Meuron ที่เพิ่งทำ Forum Building เสร็จไป เป็นอาคารที่ มีูรูปด้านใหญ่ หนัก และยาวมากเนื่องจากความเป็นประโยชน์ใช้สอยที่มีลักษณะของความเป็น Convention (ถ้าในเมืองไทยอาจจะแปลเป็นศูนย์แสดงสินค้า แต่จริงๆแล้วประโยชน์ีมากกว่านั้นมาก) Herzog ใช้สีน้ำเงินเข้ม กับวัสดุที่มีลักษณะความหยาบ ได้ effect ของน้ำทะเล และมีการตัดด้วย กระจกที่สีน้ำเงินที่ทำหน้าที่เป็นเหมือน LED Screen โดยมีการใช้ แสง Laser ยิงไปบนกระจกให้เกิด effect ของคลื่นในทะเล บนนั้น หลังคาของโครงการมีบางส่วนที่เป็นสระน้ำ มีน้ำตกไหลจากที่สูงมาสู่ที่ต่ำบน Plaza หน้าโครงการ โครงการนี้ ชาวสเปนเห็นว่า สะท้อนความเป็นชาวสเปนได้เป็นอย่างดี ส่วนโครงการที่จะมีลักษณะพิเศษในเรื่องโครงสร้างที่น่าจับตามองคงจะเป็น Barajas Airport ที่ออกแบบโดย Richard Rogers คู่กับ บริษัท Lamela ของสเปน และ้ถ้าเป็นเื่องของขนาด ก็คงจะไม่พ้น City of Culture ของ Eisenmann และ Agbar Tower ของ Jean Nouvel ที่เป็นโครงสร้างตึกรูปหัวกระสุน มีCurtain Wall กระจกที่มีสีแดง เขียว และ สีน้ำเงิน ที่มีการเรียงตัวในรูปแบบที่น่าสนใจมากค่อยๆ ขึ้นไปสู่ท้องฟ้า

ในขณะที่ประเทศสเปนทำการต้อนรับสถาปนิกชั้นนำต่างชาติมากมาย ในขณะที่สถาปนิกสเปนก็บ่นว่า มีการนำสถาปนิกต่างชาติมาแย่งงานสถาปนิกในสเปน แต่รัฐบาลสเปนก็บอกว่า การประกวดแบบทุกๆครั้งก็ให้ สถาปนิกนอก กับสถาปนิกท้องถิ่นเข้าประกวดในจำนวนเท่าๆกัน สถาปนิกบางคนก็บ่นอีกว่า งานที่ออกมาของสถาปนิกพวกนี้ ไม่สง่างามเ่ท่าสถาปัตยกรรมของสเปน นอกจากนี้ก็มีข้องสงสัยว่า สถาปนิกต่างชาติได้รับการยกเว้นกฎมากมาย แต่สถาปนิกท้องถิ่นเจอกฎเหล็ๆครบชุด และที่สำคัญที่สุดคือประชาชนทั่วไปคิดว่า การเจริญเิติบโตของอุตสาหกรรมก่อสร้างในขณะนี้เป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืิน ซึ่งจากการขยายตัวของ EU โดยการรวมประเทศที่ยากจนกว่า ระดับเฉลี่ย เข้ามาเป็นสมาชิกทำให้คาดการณ์ได้ว่า เงินทุนต่างๆ จะเข้ามาในสเปนน้อยลง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดวิกฤติการณ์หนี้สินในอนาคตได้

แต่ในขณะที่สถาปนิกทั่วโลกตบเท้าเข้ามาในสเปนนั้น สถาปนิกของสเปนเองก็ทำการตอบโต้ด้วยการออกไปได้ Commission จากทั่วโลกเหมือนกัน โดยที่ความต้องการของสถาปนิกกลุ่มนี้ก็เหมือนจะีมีมากขึ้นเสียด้วย Richardo Bofill สถาปนิกโมเดิร์นสุดกู่ก็มีงานที่กำลังดำเนินอยุ่ใน ประเทศต่างๆ รวม 11 งาน ได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เชค รีพับบลิค ลักเซมเบิร์ก ญี่ปุ่น จีน เลบานอน โมรอคโค และอื่นๆ Juan Navarro Baldeweg กำลังทำอาคารสำนักงานที่ Amersoort, ประเทศเนเธอร์แลนด์ ส่วน Alberto Campo ก็เพิ่งจะทำ กล่องกระจกที่มี Detail พิเศษ อย่างอลังการในแนว สเปน เสร็จไปที่ นคร New York

สถาปนิกคนหนึ่งของ สเปนที่ต้องนับเป็นหัวหอกในการ “ส่งออก”สถาปนิกสเปนไปสู่ระดับโลกก็คือ Rafael Moneao ซึ่งได้ทำงานออกแบบที่สำคัญมากใน อเมริกาได้แก่ Cathedral of Our Lady of the Angels ณ เมือง Los Angeles ซึ่งเป็นงานที่ทำให้ชาวอเมริกันทั่วๆไปได้รู้จักเขา มีคนไปชม เป็นหมื่นๆ คนทุกๆ วันหยุด ไม่ว่าจะมาจาศาสนาใดก็ตาม นอกจากนี้งานของเขาก็ืืคือ Cranbrook Art Museum ในรัฐ Michigan และงานของเขาก็ก้าวหน้าเขาไปอยู่ในสถาบันที่มีความเป็นอเมริกันอย่างสูงสุดเช่น โครงการศูนย์นักศึกษา Rhode Island School of Design และ ห้องปฎิบัติการวิศวกรรม ของมหาวิทยาลัย Harvard โดยเฉพาะโครงการ RISD นั้นกลายเป็นสิ่งที่คนในเมืองยกให้เป็นสัญลักษณ์ หรือ “โคมไฟ” ของเืมือง ไปเรียบร้อยแล้ว

สาเหตุของความสำเร็จอันมากมายของสถาปนิก สเปนทั่วโลกนั้น อาจจะมาจากการที่สถาปนิกล้นตลาดในประเทศเป็นส่วนหนึ่ง แต่จริงๆแ้ล้ว ก็อาจจะมาจากการที่คนทั่วโลกกำลังหันเข้า trend ตรงนี้ซึ่งบางคนอาจจะเีรียกว่าเป็น old-fashion ซึ่งมาจาก แนวทางการก่อสร้างที่เน้นระบบการก่อสร้างเป็นจุดศูนย์กลางมากกว่าเรื่อง Shape และ Form

ผมคิดว่าคนที่ชอบสถาปัตยกรรมของเรา(สเปน)เืนื่องจากเรื่องของ Purity, Logic and Rationalism (แปลตรงๆ คือเรื่องของความเรียบง่ายและเต็มไปด้วยเหตผล)” Miguel Quismondo ซึ่งเป็นสถาปนิกที่รับผิดชอบงานของ Alberto Campo ในโครงการ Baeza’s House “อาจจะเรียกได้ว่า เป็น Modernism ที่เต็มไปด้วยการทะนุทะหนอม อย่างดีก็ได้ ในขณะที่ Jean-Pierre Carniaux ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของ Richardo Bofill กล่าว่า “น่าจะเรียกว่า Archeomodernism ก็คงจะได้” โดยทั้งหมดอาจจะมาจากการที่ในยุค เผด็จการของจอมผล Francisco Franco นั้น สเปนเหมือนกับหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ของโลกเพราะยึดถืดนโยบายโดดเดี่๋ยว และเิกิดสงครามกลางเมือง ไม่มีใครคิดว่าจริงแล้ว การศึกษาทางสถาปัตยกรรมก็ยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องโดยที่ เน้นไปทาง Engineer มาก และไม่ได้ขึ้นอยูกับ standard ของระบบอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างมากนัก ทำให้เืมื่อประเทศเปิดสู่ภายนอก ทุกๆ คนก็หันมามองกับความไม่เหมือนใครตรงนี้ทันที “พอหลังจากนั้น โลกกันหันมามองเรา” Antonio Cruz บอก “พวกเขาค้นพบสถาปัตยกรรมที่ดีมากๆ และพวกเขาก็ประหลาดใจมากๆ”

Exceptions ข้อยกเว้น

ในความเป็นจริงแล้ว งานที่ออกแบบโดยสถาปนิกสเปน หรือที่เรียกกันว่าเป็นงาน “ส่งออก” ก็ไม่ได้เป็นงานออกแบบที่เป็น สเปนสุดๆ หรือที่เน้นความ pure ของโครงสร้างอย่างที่ว่า แ่ต่อย่างใด กลับออกจะเป็นการผสมปนเปไปกับ สายพวก deconstruction หรือ กระแสหลักอื่นๆ ของโลกด้วยซ้ำ ตัวอย่างเช่นงานของ EMBT ที่ได้รับเลือกให้ออกแบบ รัฐสภาของประเทศ สก๊อตแลนด์ ที่เมือง Edinburgh (พยายามอย่าเอามาเปรียบเทียบว่าเราควรจ้างสถาปนิกเมืองนอกมาออกแบบรัฐสภาของเราบ้างนะครับ ยุโรปกำลังมีเรื่อง merger ของวัฒนธรรมที่ต้องการให้มีการจ้างงานข้ามวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก เพื่อให้เป็นหนึ่งยุโรปให้ได้ ทั้งในทางการเงิน และวัฒนธรรม - ผู้แปล), โรงเรียนดนตรี ที่ Hamburg, เยอรมันนี ก็จะเป็น Deconstruction มาก หรือในกรณีของ Santiago Calatrava ที่มีลายมือที่ชัดเจนของตัวเอง แต่ก็ไ้ด้รับยกย่องมากจนเหมือนเป็นตัวแทนของสถาปัตยกรรมยุคใหม่ของสเปนไปแล้ว ทั้งๆ ที่จริงๆแล้วงานส่วนใหญ่ของเขาก็ไม่ได้อยู่ในสเปน และแม้แต่ office ของเขาก็ไม่ได้อยู่ในสเปน มีแต่ชื่อและสายเลือดเท่านั้นที่เป็นสเปน

ยิ่งถ้ามองไปใน กลุ่มสถาปนิกรุ่นใหม่นั้น กลายเป็นว่ายิ่งไปกันใหญ่ เพราะว่าได้เข้าไปติดอยู่กับ Trend ของความเป็นสากล ทฤษฎีต่างๆ เทคโนโลยี กลุ่มนี้เองก็เริ่มส่งออกงานไปต่างประเทศแล้วเหมือนกัน โดย Critic หลายๆ คนก็ยังยกย่องว่ากลุ่มรุ่นใหม่เหล่านี้ก็มีความเป็นเฉพาะตัวในเรื่องรูปแบบของงานออกแบบไม่แฟ้คนรุ่นเก่า ตัวอย่างในกลุ่มนี้ เช่น Cruz Ortiz ที่ออกแบบ Rijksmuseum ที่ประเทศ เนเธอร์แลนด์ และ สถานีรถไฟที่เมือง Basel ในประเทศ สวิสเซอร์แลนด์, Mansilla+Tunon ที่ออกแบบ บ้านที่โด่งดังมากในประเทศจีน และ Carlos Ferrater ที่ออกแบบ Aquieila Tower ที่เมือง Venice ประเทศ อิตาลี และโครงการพัฒนาโรงละครที่เมือง Le Mans (งานพวกนี้เจ๋งๆ ทั้งนั้นนะครับ ไปลอง Search หาดูใน google นะครับ - ผู้แปล) กลุ่มเลือดใหม่เหล่านี้ก็กำลังสร้างมาตรฐานใหม่ของ “งานส่งออก” ที่กำลังจะขึ้นมาใหม เป็นการสร้างชื่อเสียงในอีกยุคให้กับประเทศ

อย่างไรก็ตาม กลุ่มสถาปนิกอนุร้กษ์นิยมก็รู้สึกขมขื่นพอสมควรกับ International Style หรือรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นสากล ที่กำลังเข้ามาผสมพันธุ์กับสถาปัตยกรรมยุคใหม่ของสเปน และอีกไม่นานสิ่งที่เรียกว่า Modern Spanish Architecture ดังกล่าวอาจจะไม่มีหลงเหลืออยู่อีกแล้วก็ได้ ซึ่งคนที่่เป็นนักอนุรักษ์สถาปัตยกรรมรูปแบบดังกล่าวชอบเรียก Internatinal style นั้นว่า เป็น Contamination หรือการทำให้เสื่อม ซึ่งก็คงต้องเถียงกับสถาปนิกรุ่นเด็กๆ ไปอีกนาน ว่าทำให้เสื่อมจริงหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายก็ดุเหมือนจะเห็นพ้องต้องกันในแนวทางหนึ่งคือ เรื่องของ “professional rejection” หรือการ “ปฎิเสธ” ในระดับวิชาชีพ และสิ่งที่ปฎิเสธก็คือ การเอาผลกำไรนำหน้า การออกแบบ หรือการเอารูปแบบธุรกิจเป็นอาวุธ ในการไปทำการออกแบบทั่วโลก

แนวคิดในการปฎิเสธดังกล่าว ทำให้เกิดคำถามอีกคำถามหนึ่งที่ยังจะต้องไปหาคำตอบกัน ก็คือ ถ้าสเปนกำลังเป็นตัวแทนของวงการสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ วงการสถาปัตยกรรมในกระแสโลกาภิวัฒน์้ จะหลีกเลี่ยงการมุ่งไปสู่รูปแบบเดียวได้้ (Homogenization)หรือไม่ โดยเฉพาะในเรื่องของ ความงาม และ วัฒนธรรม

ถ้าคำถามนี้ได้รับการตอบอย่างเหมาะสม อาจจะนำไปสู่ยุคใหม่ของสถาปัตยกรรมที่เราคาดไม่ถึงก็ได้

1 comment:

Anonymous said...

Thank you for your inform, if you have time that better you can change background and word colors. Thank you very much sir.