Saturday, February 25, 2006

บทความแปล: การบุกตลาด Asia ของสถาปนิกตะวันตก

เขียนบน Website ของสมาคมสถาปนิกสยาม (www.asa.or.th) เริ่มเขียนเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2003

Leaders Roundtable: Success in Asia-Pacific เป็น Article ที่ลงใน Online Magazine – Design Intelligence เป็นบทสัมภาษณ์ของ Executive 4 คน ของ 3บริษัทสถาปิกมหายักษ์ของโลกตะวันตกที่ทำการบุกตลาด Asia Pacific และประสบความสำเร็จอย่างงดงามและรุนแรง ซึ่งได้แก่

1. Harold Adams, chairman of RTKL Associates Inc.;

2. Steve Huh, president and chief executive officer of The Leonard Parker Associates (a part of the Durrant Group)

3. Howard J. Wolff, Senior Vice President

4. Chao "Robert" Zhen, Director of Business Development for Greater China of Wimberly, Allison, Tong & Goo.

หลายๆคนที่สนใจเรื่องการเข้ามาทำงานในประเทศแถบ Asia ของสถาปนิกตะวันตกว่ามีความเป็นมาอย่างไรใน วิธีการเปิดตลาด หาลูกค้า การทำงานกับสถาปนิกท้องถิ่น อาจจะได้ข้อมูลดีๆ จาก Article นี้

ถาม: ขอให้ทุกท่านช่วยเล่า Background ของการเข้ามาทำงานใน Asia Pacific ก่อนครับ

Adams: ประสบการณ์ใน Asia Pacific ของ RTKL เริ่มมาประมาณเมื่อ 15 ปีก่อน ตอนที่เศรษฐกิจทางฝั่ง America นี่แย่มาก แต่ทางฝั่ง Asia รุ่งเรื่อง พวกเราเปิด office ที่ Tokyo เมื่อปี 1990 แล้วก็ค่อยๆพัฒนาไปเรื่อยๆ ในช่วง 15 ปีนี้เราได้ สร้างเครื่อข่าย ทำความรู้จัก และความสัมพันธ์อันดีกับ ผู้คนในหลายๆประเทศของภูมิภาคนี้ ตั้งแต่ เกาหลี ไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไต้หวัน ออสเตรเลีย และล่าสุด และมาแรงที่สุดก็คือ จีน - งานออกแบบพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีที่ เซี่ยงไฮ้นั้นเป็นโครงการที่เปิดประตูไปสู่โอกาสของ โครงการอื่นๆ ที่เราได้มาอีกเป็นจำนวนมาก และด้วยความที่โครงการมีจำนวนมาก และโอกาสอันดีในอนาคตที่เรายังมองเห็นอยู่ เราจึงอยู่ในช่วงของการดำเนินการที่จะเปิด office ใหม่ที่เซี่ยงไฮ้เร็วๆนี้

Huh: Leonard Parker Associates ของเรามีจุดเริ่มต้นที่ เกาหลีเมื่อ 15 ปีก่อนเหมือนกัน ส่วนใหญ่โครงการที่ได้ทำคือ บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ มีหลายๆรูปแบบ ตั้งแต่เป็นโครงการบ้านชานเมืองเป็นหลังๆ จนถึง High Rise Apartment และ Condo. แต่ในช่วงที่ผ่านมาล่าสุดนี้งานของเราจะไปอยู่ในจีนเสีย เป็นส่วนใหญ่ เช่น โครงการ Mix-use ขนาด 3 ล้านตารางเมตร ที่จังหวัด Dailian แล้วก็ โครงการ Artist Park ใน Olympic Complex ที่ ปักกิ่ง ในปี 2008 นี้ นอกจากนี้เราก็มีประสบการณ์ ใน Australia และ New Zealand มามากพอสมควร โครงการของเรามีในประเทศอื่นๆ เช่น ไต้หวัน และ ฟิลิปปินส์ แต่ว่าในช่วงหลังๆนี้เราไม่ค่อยได้เข้าไป เพราะว่าเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มนี้ไม่ค่อยดี ประเภทหลักๆของโครงการที่เราได้ออกแบบคือ ศูนย์การประชุม โรงแรม ห้างสรรพสินค้า และบางครังก็ เป็นพิพิธภัณฑ์ โดยหลักๆแล้ว รายได้จากโครงการในต่างประเทศของบริษัทเรานั้นคิดเป็น 30 % ของรายได้รวม แ่ต่เนื่องจากเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของ America ในปัจจุบันนั้น เราต้อง บุกตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น

Wolf : รายได้ 26% ของ Wimberly Allison Tong and Goo ของเรานั้น มาจาก ใน Asia Pacific อยู่แล้ว และถ้านับ Hawaii ด้วยก็คือ 29% Office 6 office จาก จำนวน 7 office ของเรา ในตอนนี้ มี โครงการที่กำลังอยู่ในขึ้นการออกแบบ ใน Asia Pacific เราทำโครงการต่างๆในภูมิภาคนี้มาตั้งแต่ช่วงปี 1950s แล้ว

ถาม: แล้ววิชาชีพสถาปัตยกรรมใน Asia นี่แตกต่างกับเรามากหรือเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน จีน

Adams: แต่ละประเทศเขาก็มีระบบระเบียบในการดำเนินวิชาชีพของตัวเอง ดังนั้นคำถามนี้จึงตอบคำตอบเดียวไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามองจากระดับการพัฒนาของประเทศต่างๆ บางประเทศนั้นเป็นประเทศพัฒนาแล้ว บางประเทศเป็นประเทศกำลังพัฒนา ถ้าอย่างจีนนี่ต้องนับว่าเป็นประเืทศที่กำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก ทั้งในด้านกำลังเงิน และชีดความสามารถของบุคลากร จีนกำลังต้องการที่จะมุ่งไปสู่ความเป็นสากลมาก และนั่นก็แสดงออกมาในรูปแบบของ สถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้นในรอบสิปปีที่ผ่านมานี้ สิ่งที่เราต้องระมัดระวังคือเรื่องของการมุึ่่งไปสู่งสากลอันนั้น จะมีผลกระทบกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวจีนอย่างไร ทุกวันนี้คุณอาจจะเห็นสถาปัตยกรรมที่สมัยใหม่มาก แต่ในเรื่องการออกแบบผังเมืองนั้น ยังนับว่า จีนเพิ่งเริ่มให้ความใส่ใจจริงๆ เมื่อไม่นานมานี้เอง

Huh : สำหรับตัวผมเอง ผมไม่คิดว่าการประกอบวิชาชีพใน Asia เทียบกับใน America นั้นต่างกันมากนัก แต่แน่นอน อันนั้นสามารถมองได้แตกต่างกันออกไปในระดับรายละเอียด แต่ในเรื่องของ ทิศทาง และรูปแบบของ Design นั้น ค่อนข้างที่จะมุ่งไปในทางเดียวกัน ขีดความสามาถในการออกแบบของ สถาปนิกเอเชียนั้น นั้นกำลังจะตามทันความเป็นสากล ในยุโรป หรือ America แล้ว ผมทายว่าอีกประมาณ 10 ปี สถาปนิก Asia จะสามารถแข่งขันกับสถาปนิกจาก America หรือ Europe ได้

Zehn: สถาปนิก Asia ถูกยอมรับในด้านของ ความสามารถในเชิง Production และ Technical มากกว่าความสามารถในการออกแบบ ลูกค้าส่วนใหญ่่ในจีน ให้ความสำคัญกับ ความคิดสร้างสรรค์ของสถาปนิก American ควบคู่ไปกับการใช้ ความรู้และข้อจำกัดเช่นเรื่อง ฝีมือแรงงาน และ วัสดุ ในท้องถิ่นนั้นๆ มาใช้ให้การก่อสร้างสำเร็จลุล่วงไปได้

ถาม: แล้วเรื่อง ค่าแบบ(Fees) เปรียบเทียบกันแล้วเป็นอย่างไรบ้างครับ?

Wolf: จากประสบการณ์ที่มี ผมว่า ค่าแบบในโลกตะวันตกค่อนข้างจะทัดเทียมกับส่วนอื่นๆของโลก แต่แน่นอนว่า บริษัทในประเทศนั้นๆ ย่อมจะ Charge ได้ ถูกกว่า

Adams: ปกติค่าแบบที่ได้จากงานในต่างประเทศ โดยเฉพาะใน Asia นี้ มักจะถุกเสนอมาในราคาที่ถูกมาก เราจึงต้องมีการ Negotiate เพื่อให้ได้ ราคาที่เหมาะสม ส่วนใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะออกมาเป็นที่น่าพอใจ เงินที่ได้รับจะมาจากกที่เราทำงานเสร็จเป็ฯ Phase ไป ส่วนที่ยากก็คือการที่จะให้ได้ Approve ใน Asia ค่อนข้างจะยุ่งยาก แล้วก็ การที่จะให้ลูกค้า “จ่าย” เงินมาให้เราจริงๆ ตามที่ตกลงกันไว้ อันนั้นก็อีกเรื่องเลย มันก็น่าสนใจในการที่ลูกค้้า อาจจะขอเจรจาอีกรอบก็ได้ แต่ในขณะที่การเจรจาเป็นไปอย่างเชื่องช้า Construction Document ที่ถูกผลิตในท้องถิ่นนั้นกลับเป็นไปอย่างรวดเร็วผิดปกติ เราใช้เวลาไปมากในการเจรจาที่ค่อนข้างจะยุ่งยาก แต่เราก็ได้ค่าแบบในจำนวนที่เราพอใจมา Huh: ค่าแบบใน Asia นั้นถุกมาก (Extremely Low) สำหรับมาตรฐานที่พวกเขาตั้งขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตาม มาตรฐานของงานเป็นไปในแบบเดียวกัน คือเราต้องได้ เงินค่าจ้างของเวลาที่เราลงทุนไป เรามักจะเป็นคนบอกไปว่า นี่คือราคาของเรา แล้วก็ จะต้องมีการ เจรจากันไปอีกนานอยู่เสมอ

ถาม: ตอนนี้ประเทศจีน พยายามที่จะประกาศไปทั่วโลกเกี่ยวกับ ความพยายามในการที่สร้างชื่อในการเป็นประเทศที่คำนึงถึงสภาวะสิ่งแวดล้อม โดยการที่จะให้ Building Complex ทั้งหมดใน Olympic 2008 นี้เป็น Green Architecture อยากให้ทุกท่านช่วยเปรียบเทียบ Trend ตรงนี้ของจีน กับ USA หน่อย

Huh: เรื่องสิ่งแวดล้อมนั้นเป็น หัวข้อที่ทุกประเทศใน Asia ให้ความสำคัญหมด เนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วนั้นมักก่อให้เกิดปัญหามลพิษ อันนี้ก็รวมไปถึงความหนาแน่นของคนในเมืองด้วยซึ่งก็โยงไปถึงปัญหาการขาดแคลน พลังงาน เรื่องประหยัดพลังงานนี้ โยงไปถึงเหตุผลทางการเงินมากกว่าเรื่องอื่น คือส่วนใหญ่รัฐบาลในทุกๆประเทศจะย้ำให้เราคำนึงเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ก็ไม่มีคู่มือ หรือหนังสือประกอบการออกแบบให้เหมาะสมสำหรับเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ทางเราเองก็ มักจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ในขั้นตอนของการออกแบบอยู่แล้ว

Adams: ความสนใจเรื่อง Green Design กับ Sustainability กำลังเป็น Trend ของ Asia การที่รัฐบาลจีน ออกมาประกาศเรื่องการที่จะให้่หัวข้อตรงนี้เป็น 1 ในแรงขับเคลื่อน ของกระบวนการออกแบบ Olympic Park นั้นก็ นับว่าน่าประทับใจอยู่มาก แต่ในความเป็นจริงแล้วก็ต้องยอมรับว่า หัวข้อเรื่องสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันของจีนนั้น ยังไม่อยู่ในสายตาของประชากรส่วนใหญ่เท่าใด เนื่องจากทุกคนกำลังให้ความสำคัญกับ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการขยายตัวของเมือง (Urban Expansion) แต่ถ้าจะให้เปรียบเทียบกันในเชิงนโยบายละก็ ผมว่า จีนนำหน้า USA อยูี่ระดับหนึ่ง Wolf: เรื่องนี้ค่อนข้างจะละเอียดอ่อน และอยู่ในความสนใจของ ลุกค้าหลายคนที่ผมได้พบ สิ่งที่เป็นรูปธรรมที่ได้รับการปฎิบัติแล้ว หรือคนพยายามที่จะทำให้ดีขึ้นก็คือ การลดปริมาณของเสีย (Waste) และมลภาวะ มากกว่าการที่จะวางแผนเพื่อการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainability Development) ในจีนนั้น ลูกค้ามักจะเลือกเอา Green เฉยๆ (Green เป็นแสลงของ ภาษา อังกฤษในที่นี้หมายถึง เิงิน) มากกว่าที่จะเอา Green Building

ถาม: มาถึงเรื่องมาตรฐานแบบเดียวกับ ADA (American with Disability Act - กรมที่ดูแลเรื่องสิทธิืของคนพิการ - การออกแบบอาคารเพื่อคนพิการเป็นส่วนหนึ่งของกรมนี้ ภายใต้กระทรวงยุติธรรม ของ USA) และ OSHA (Occupational Safety & Health Administration คล้ายๆ กับกรมที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน เป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงแรงงานของ USA) นี่มีความคล้ายคลึงกับของเราหรือว่า แ่ตกต่างกันออกไปใน Asia Pacific นี้

Adams: ความสนใจในเรื่องนี้กำลังกระจายออกไปอย่างกว้างขวางใน Asia แต่สำหรับในจีนนี่ เท่าที่ผมเห็น รัฐบาลยังไม่มีนโยบายที่เป็นรูปธรรมสักเท่าไหร่ สำหรับทางเราเอง เราจะพยายาม Market ตัวเองให้ทุกๆอย่างที่ออกมานั้นเป็น International Standard อยู่แล้ว และอันนี้ก็รวมไปถึงเรือง ความปลอดภัยในขั้นตอนการก่อสร้าง และความปลอดภัยของผู้ใช้อาคารด้วย ลูกต้าส่วนใหญ่ก็คล้อยตามเราในเรื่องนี้มากกว่าในเรื่องการออกแบบอาคารเพื่อคนพิการ

Huh: สำหรับตัวผมเอง ผมคิดว่าในจีนนั้น ยังไม่มีกฎหมายทืี่ชัดเจนใดๆทั้งสิ้นในเรื่องนี้ แต่รัฐบาลกำลังให้ความสนใจในการค้นคว้ามาก และก็พยายามเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด การที่ บริษัืทของ American นำ Safty Code ของ America มาใช้ในภูมิภาคนี้เป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อ วงการออกแบบสถาปัตย์ท้องถิ่นเป็๋นอย่างมาก มันเป็นการส่งข้อความทางอ้อมว่า เรามีความเชื่อมั่นในความก้าวหน้าของประเทศนั้นๆ ว่าสักวัน มาตรฐานเหล่านี้จะได้รับการพัฒนาให้ทัดเทียม หรือดียิ่งกว่าโลกตะวันตก และในระยะยาวจะประหยัดค่าใช้จ่ายที่จะต้องมานั่ง Upgrade อาคารให้ตรงตาม กฎหมายนั้นๆ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช้ว่าลูกค้าทุกคนที่เรา Present ให้ฟังจะคล้อยตามเราหมด เพราะว่าในเมื่อกฎหมายไม่ได้บังคับ มาตรฐานสากลซึ่งจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้นนั้นก็อาจกลายเป็นสิ่งที่เิกินความจำเป็นสำหรับลูกค้าได้ แต่เราก็พยายามย้ำอยู่เสมอว่า ลูกค้าจะอาจจะต้องเสียเงินจำนวนมากในอนาคต ถ้าละเลยประเด็นนี้ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น

ถาม: การที่จะได้งานใน Asia นี่ยากหรือเปล่าครับ และเมื่อได้มาแล้วเนี่ยลำบากมากมั้ยที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ

Wolf: มีกุญแจสำคัญ 2 ประการ ในการที่จะได้ project ใน Asia ซึ่งก็คือ Reputation (ชื่อเสียงของบริษัท) และ Relationship (ความสัมพันธฺ์อันดี ซึ่งในที่นี้อาจจะหมายถึง การรู้จักคนถูก หรือ Connection) ส่วน อุปสรรคที่สำคัญที่สุด 2 ประการก็คือ การ Communicate (การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล ซึ่งรวมไปถึงเรื่องความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรม) และ Delivering Less than what was promised (คุณภาพของงานที่ทำไม่ดีพอกับที่ลูกค้าตั้งความหวังไว้)

Adams: เรื่อง Relationship นี่เป็นเรื่องใหญ่มากที่สุด เพราะบริษัทที่ใหญ่ๆ จากโลกตะวันตกไม่ค่อยจะมีปัญหาในการที่จะไปถึงตัวลูกค้าเท่าไหร่ ส่วนใหญ่การที่จะได้รับเลือกเข้าทำ Project ใหญ่ๆนั้นก็มาจากการประกวดแบบทั้งนั้น แต่การที่ชนะประกวดแบบ ก็ไม่ได้จำเป็นว่า บริษัทนั้นๆที่ชนะ จะต้องได้งานไปทำ บางทีอาจจะมีจุดพลิกผันในขั้นสุดท้าย เราไม่มีทางรู้เลย โครงการ พิพิทธภัณฑ์วิทยศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เซี่ยงไฮ้ นั้น (สร้างเสร็จเมื่อปี 2001) เป็นโครงการที่อยู่ในขั้นตอนการประกวดแบบนานมาก คือประมาณ 18 เดือน มี Presentation หลายครั้งมาก และพนักงานเกือบทุกๆคนในบริษัทของเราได้เข้ามามี ส่วนร่วมในโึครงการนี้ มีคนประมาณ 30 คน ทำ Project นี้อยู่ตลอดเวลา เมื่อเราชนะและได้รับเลือก ขั้นต่อไปคือการที่จะต้องหาข้อมูล ที่จำเป็นที่จะเกี่ยวกับการก่อสร้าง เริ่มจากศูนย์ ข้อจำกัดของฝีมือแรงงาน ข้อจำกัดของวัสดุก่อสร้าง ฯลฯ เราพยายามหาคนจำนวนมากในเมืองจีนที่มี Degree มาจาก America คนกลุ่มนี้ช่วยเราแก้ปัญหาไปได้มาก เพราะพวกเขาเข้าใจภาษา และวัฒนธรรมของเขาเอง และก็ของเรา เราจะไม่มีทางทำงานได้สำเร็จเลยถ้าไม่มีคนเหล่านี้

Huh: การที่จะได้งานใน Asia หรือที่อื่นๆก็ตามสำหรับผม หลักสำคัญก็คือการที่เรามี service ที่มีคุณภาพ คุณจะต้องมีความรู้และความสามารถสูงมากกว่ามาตรฐานทั่วๆไป ทั้งในเรื่องของ เทคนิคการก่อสร้าง และความงามทางสถาปัตยกรรม แต่ก็แน่นอน การที่คุณมี Connection ในประเทศที่คุณไปทำงานนั้น เป็นสิ่งช่วยได้มาก อาจจะเรียกได้ว่าสำคัญมากที่สุดกว่าเรื่องอื่นเลยก็ได้ Relationship เป็นสิ่งที่สำคัญ และการที่จะได้ Relationship ก็ต้องมาจาก Reputation ที่ดี และการที่จะได้ Reputation ที่ได้ต้องมาจากการตลาด (Marketing)ที่ดี เราต้องรู้จัก Promote ตัวเอง ให้คนในท้องถิ่นนั้นๆรู้จักเรา การลงทุนในด้านการตลาดนั้น บางครั้งอาจดูเหมือนเอาเงินไปทิ้ง แต่ผมก็ไม่เคยเห็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จบริืษัทไหนที่ไม่มีการลงทุนเป็นจำนวนมากในทางการคลาด

ถาม: เรื่องภาษา เป็นอุปสรรคมากหรือเปล่าในการสื่อสาร

Huh: คุณต้องมีใครบางคนคอยให้ความช่วยเหลือในด้านนี้ตามประเทศต่างๆที่คุณมีงานอยู่ คนๆนี้ควรจะต้องพูดได้ทั้ง ภาษาอังกฤษและภาษาของเขา เรื่องสำคัญที่สุดคือเรื่อง Attitude ของเรา เราจะต้องแสดงให้คนท้องถิ่นนั้นๆ เห็นว่า เราให้ความสำคัญและต้องการจะเรียนรู้วัฒนธรรมของเขา เราต้องการที่จะเปิดรับความคิดเห็นในมุมมองของเขา เพื่อใ้ห้เขาพูดอะไรก็ได้กับเราอย่างเปิดอก ที้นี้ถ้าเป็นลูกค้าต่างชาติ อันนี้จะเป็นอีกเรื่อง ปกติผมจะมีวิธีคือถ้าเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญของการสนทนา ผมจะย้ำเป็นทั้งภาษาของเขาและภาษาของเรา อันนี้อาจจะทำให้ดูยืดยาว แต่เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการที่จะหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่เกิดจากการติดต่อสื่อสาร สิ่งที่มีประสิทธิภาพก็คือการประชุมที่เราได้มาเจอกันตัวต่อตัว เพราะข้อดีส่วนหนึ่งคือการลดความกดดัน ระหว่างสองด้าน เพราะเป็นสิ่งที่ง่ายเหลือเกิดที่จะเกิดขึ้นสำหรับคน 2 กลุ่มที่มีเบิ้องหลังทางวัฒนธรรมแตกต่างกัน

Zehn: ลูกค้าของเราส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษได้ เพียงแ่ต่ว่าเขามี Project อยู่ในเมืองจีน เขาอาจจะไม่ใช่คนจีนเลยก็ได้ แต่เรามีพนักงานที่พูดได้ทั้ง 2 ภาษาอยู่จำนวนหนึ่ง ทั้งในกลุ่มการตลาดและกลุ่มออกแบบ เรามีทั้งพนักงานที่พูดภาษา Asia ภาษาอื่นๆได้อีกด้วย เรื่องภาษาถ้าใครอยากจะแ้ก้ปัญหาตรงๆ ก็คือไปจ้างล่าม ใครๆก็จ้างล่ามได้ อันนั้นมันไม่ยาก แต่ล่ามพอมาแล้วก็ไป เป็นการประชุมเป็นครั้งๆ ถ้าเป็นเรา เราจะยอมเสียเวลาสร้างคนที่เข้าใจองค์กรของเรา และธุรกิจของเรา มาแก้ตรงจุดนี้ดีกว่าดีกว่า

ถาม: แล้วหลังจากที่มีการสร้างความสัมพันธ์กันแล้ว คุณมีการจัดการยังไงในเรื่องการทำงานร่วมกันในระยะไกล พวกคุณใช้ Technology อะไรช่วยตรงนี้หรือเปล่า

Adams: เราก็ใช้ Technology เท่าที่มีของเรา อย่างเช่น Teleconferencing, Web Meeting, e-mail, fax ฯลฯ แต่ไม่มีอะไรสู้ตั๋วเครื่องบินได้หรอก (หัวเราะ) เราเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะง่ายขึ้นมาอีกหน่อยถ้าเราเปิด office ที่เซี้ยงไฮ้ ในระหว่างนั้นเราก็มีการจ้างคนเพื่อทำงานให้เราอยู่ อย่างที่ได้บอกไปแล้ว Wolff: สำนักงาน 2 แห่งของเราที่ Honolulu, Hawaii กับที่ สิงคโปร์ เป็นส่วนที่เวลาไม่ตรงกันในการทำงาน บางที่เลิกทำงานเวลาที่ลูกค้าเราเพิ่งเข้า office แต่ส่วนใหญ่ทางลูกค้าจะมีบุคลากรที่จะมาติดตามการทำงานของเรา และเราก็ใช้ Technology เข้าช่วยให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่สิ่งที่คิดว่าใช้มากและมีประสิทธิภาพที่สุดก็คือโทรศัพท์ ถาม: สำนักงานสถาปนิกใน America ที่สนใจที่จะหา Project ใน Asia ควรจะมี สาขาอยู่ที่นั่นเลยหรือเปล่า การทีมีมันจะทำให้เกิดความแตกต่างในการทำงานมากกว่าการที่จะไม่มีหรือไม่

Wolff: ลูกค้าทุกคนต้องการที่จะคุยกับคุณได้ทุกเวลาที่เขาต้องการ นั่นคือประเด็น การที่มี สำนักงานใน Timezone เดียวกันย่อมเป็นสิ่งที่เราปราถนาเช่นกัน แต่เราก็เชื่อว่าลูกค้าไม่ต้องการเสียค้าใช่จ่ายตรงนั้น ดังนั้นถ้าเราจะมีสำนักงานในต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายก็จะออกมาจาก ตัว Project เอง หรือไม่เราก็ต้อง ลงทุนไปก่อน บางทีบินไปบ่อยๆ ยังถูกกว่า Huh: ผมไม่แนะนำให้มีสำนักงานขนาดใหญ่ เพราะว่างานที่ทำส่วนใหญ่เราทำร่วมกับสถาปนิกท้องถิ่นมากกว่า ส่วนมากแล้ว สถาปนิกท้องถิ่นจะเป็นคนวิ่งเข้ามาหาเราพร้อมกับงานให้เราร่วมด้วยด้วยซ้ำไป ดังนั้นการทำ Marketing ของเราก็ไม่จำเป็นมาก เนื่องจากคนรู้จักเรามากอยู่แล้ว แต่ถ้าบริษัทท้องถิ่นเหล่านี้รู้สึกว่าเขาทำงานกับเราไม่สะดวก เขาก็จะไม่แนะนำเราให้กับลุกค้าอีก เพราะฉะนั้นตรงนี้ต้องระวังมาก ดังนั้นการทำงานในต่างประเทศนั้นผมว่า Connection กับ สถาปนิกท้องถิ่นสำคัญว่าการที่จะมี สำนักงานอยู่ที่นั่นมาก

Adams: ลูกค้าคน Asia ของเรา หรือจะว่าลูกค้าไหนๆ ก็ได้ มักจะ ต้องการเวลาที่จะพบกับสถาปนิกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้อยู่แล้ว ถ้าเราทำให้ลูกค้าเชื่อได้ว่าเราจะไม่ทิ้งเขา เราเอาใจใส่กับงาน เราโทรกลับไปทุกครั้งที่เขาฝากข้อความ อันนั้นก็จะทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น การที่เรามีคนทำงานให้เราอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ เป็นตัวแทนโดยตรงของเรา ก็เป็นสิ่งที่ดีมากขึ้นไปอีก เพราะทำให้เราเองเข้าไปสู่ข้อมูลทางการเมือง หรือข้อมูลที่เฉพาะคนท้องถิ่นเท่านั้นที่รู้ ซึ่งจะมีความสำคัญมากในเวลาที่เราจะเข้าสู่การประกวดแบบ

ถาม: สิ่งที่เป็นปัญหาที่จะต้องพูดถึงก่อนเป็นอันดับแรกถ้าจะมีการตั้งสำนักงานสถาปนิกในภูมิภาคนี้คือ?

Adams: ภาษีกับกฎหมาย แค่นี้ก็หนักแล้ว

Huh: ประเทศแต่ละประเทศมีหลักวิธีการจัดเก็บภาษีแตกต่างกันมาก ละมีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจของเรา ถ้าอย่างพวกเรานี่คือ เราโดนเก็บภาษี 2 ต่อ คือจากทางบ้านเราที่ America แล้วก็ประเทศที่เรามี office อยู่ การตั้ง office ในต่างประเทศจึงเป็นการตัดสินใจที่เกิดขึ้นจากความมั่นใจที่จะได้กำไรแน่นอนเท่านั้น เพราะมันเสี่ยง

Zehn: ขอแบ่งประเด็นปัญหาเป็นสามส่วนดีกว่า คงจะบอกว่าส่วนไหน หนักกว่ากันก็พูดยาก ประเด็นแรกคือ ปัญหาเบื้องต้นทั่วๆไปในขั้นตอนของการจัดตั้ง office ซึ่งจะนำไปสู่ประเด็นที่สองก็คือการที่เราจะต้อง แข่งกับราคาค่าบริการที่ต่ำกว่า (มาก) ของสถาปนิกท้องถิ่น และจะนำไปสูประเด็นสุดท้ายก็คือความเสี่ยงของการที่เราอาจจะต้องยินยอมลดคุณภาพของงานออกแบบลงเพื่อให้พอกับค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นความเสียหายมากในระยะยาวต่อชื่อเสียงของเรา

ถาม: เรื่องกรอบของการทำงานและการบริหารสำนักงานนี่ มีอะไรบ้างที่ตรงกันข้ามเลยกับ ฝั่ง America บ้าง

Adams: ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา รายได้ประมาณ 30% ของเรามาจากประเทศในแถบ Asia ขนาดของ Project มักจะใหญ่กว่า และซับซ้อนกว่า ดังนั้นค่าแบบที่ได้รับก็ค่อนข้างจะสูง และเรื่องการออกแบบนั้นเขาก็ค่อนข้างเปิดโอกาสให้เราได้ทำอะไรอย่างที่เราอยากจะทำ ไม่ค่อยมีการควบคุมมากเท่าใน America แต่เราก็ยังไม่มีโอกาสที่จะได้ทำงารละเอียดเข้าไปในขั้นตอนของการทำรายละเอียดการก่อสร้าง หรือควบคุมคุณภาพโดยสมบูรณ์แบบเลย นี่คือสิ่งที่ตรงกันข้าม เราไม่มีทางทำงานเองตั้งแต่ต้นจบจบได้ เราต้องเข้าร่วมกับบริษัทหรือองค์กรท้องถิ่นเสมอ

Huh: ประเทศในเอเชีย มักจะสนใจในด้าน “Front End” จากพวกเรา ในที่นี้ก็คือ Conceptual Design, Master Planning หรือ Idea เบื้องต้น อย่างมากที่เราไปได้ก็คือ Schematic Design หรือ 50% ของ Design Development - ใน America พวกเราทำงานตั้งแต่ต้นจบจบ Preliminary ไปจนถึง Construction Administration แต่งานใน Asia นี่ออกแบบไปแล้วก็ต้องทำใจว่า เราจะไม่มีทางรู้ว่า ผลลัพธ์จะออกมาจริงๆเป็นอย่างไร ถ้าเจ้าของให้เราเข้าไปร่วม อย่างน้อยมีการส่งข่าวให้เรารู้ตลอดก็ดีไป แต่ถ้าเขาไม่ทำ เราก็ต้องนั่งภาวนาให้งานออกมาดี บางครั้งงานที่ออกมา เป็นงานที่แบบโดนเปลี่ยนหมดจนเราจำไม่ได้เลยก็มี และแน่นอนที่สุด โดยส่วนใหญ่แล้วเราไม่มี License ใน Asia เราเซ็นแบบไม่ได้ ต้องให้บริษัทที่ร่วมกับเราเข้ามาเซ็น และในบางครั้ง่ต่อให้คนที่ทำงานให้เรามี License เรายังไม่อยากให้เซ็นเลย เพราะว่าประเทศส่วนใหญ่ใน Asia ระบบการประกันภัยในเชิงธุรกิจนั้น ยังไม่พัฒนาเท่าไหร่ ถ้าเกิดเรื่องขึ้นมาจริงๆ เราก็เข้าเนื้อเต็มๆ ทั้งนั้น ไม่ค่อยคุ้ม

Wolff: ทางผมก็คงจะเห็นคล้ายๆกันคือ เราได้แต่ทำงานเบื้องต้นอย่างเดียว แบบก่อสร้างและรายการประกอบแบบมักจะเป็น สถาปนิกท้องถื่นทั้งนั้น ส่วนจะได้ ควบคุมคุณภาพหรือเปล่าอันนั้นขึ้นอยู่กับความเมตตาของลูกค้า

ถาม: มีความประทับใจส่วนตัวที่อยากเล่าให้ฟังบ้าง ?

Adams: มิตรภาพกับลูกค้าค่อนข้างจะน่าสนใจมาก คือเขาถือเหมือนเราเป็นเพื่อนเขา พาไปเที่ยวทีี่ต่างๆ ดูแลเราดีมาก แล้วก็ เรื่องความจริงใจนี่มีเต็มเปี่ยม ลูกค้าที่ทำงานกับเราเมื่อ 15 ปีก่อนที่ญี่ึปุ่นยังคงติดต่อกับเราอยู่

Huh: เราค่อนข้างจะประทับใจกับบรรยากาศของการประกวดแบบ เราสามารถทำแบบได้สบายๆ แบบทีี่เราต้องการ อย่างใน America นี่ขั้นตอนการคัดเลือกผู้มีสิทธิเข้าร่วมยุ่งยากมาก ถ้าใน Asia คุณทำงานชนะประกวดสักอัน คถุณอาจจะได้รับการยกย่องเป็น Expert ในอาคารประเภทนั้นไปเลยก็ได้ เรามักจะเรียกร้องเงินค่าแบบจากการเข้าประกวดแบบเสมอไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ อันนั้นเป็นการแสดงเจตนาของลูกค้าด้วยว่าเขาจริงใจกับเราขนาดไหน โดยส่วนใหญ่ เราจะชนะเสียประมาณ 50% เรื่องที่ประทับใจอีกเรื่องคือการได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่น่าสนใจของคนในท้องถิ่นนั้นๆ และการได้พบปะกับผู้คนที่่มีความคิดหลากหลาย มันเป็นความภูมิใจอย่างมากที่คนในท้องถิ่นให้การยอมรับและชื่นชมการงานออกแบบของเรา

ถาม: อะไรบ้างที่ต้องใช้เวลาและทรัพยากรมากมายกว่าจะได้เรียนรู้

Adams: ความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างของเรากับของเขา เป็นสิ่งที่จะมีผลต่อการทำธุรกิจในทุกๆขั้นตอนตั้งแต่การร่างสัญญา การเจรจา การออกแบบ ฯลฯ เราพยายามอย่างมากที่จะเตรียมตัวตรงนี้ก่อนไป แต่ก็ไปเจออะไรอีกแบบที่เราต้องปรับตัวอย่างมากอยู่ดี Huh:ในหลายๆ กรณี เราเจอกับการที่ตัว Program ถูกเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในขั้นตอนการออกแบบ อันนี้คือเราไม่เคยเจอใน America แล้วก็ ส่วนใหญ่ลูกค้าไม่ค่อยชอบเรื่องการที่จะต้องมีค่าบริการเพิ่ม เนื่องมาจากสาเหตุข้างต้น ดังนั้นในขั้นตอนการเขียนสัญญาก็จะมีเรื่องของรายละเอียดในประโยคบางประโยคเพื่อเป็นการ Save ตัวเอง โดยจะเขียนว่า “สถาปนิืกและวิศวกร ควรจะทำการเปลี่ยนแปลงแบบเพื่อให้เหมาะสมกับ program ในขั้นตอนสุดท้าย” และอันนี้มันก็ไม่ดีสำหรับเราเท่าไหร่ ดังนั้นเรื่องภาษานี่สำคัญมาก เราต้องมีคนมาดูแลตรงนี้ ลูกค้าส่วนมากก็มักจะบอกว่า การเปลี่ยนแบบจะมีน้อยมาก แต่เราทำงานมานาน เรารู้ดีว่ายังไงก็ไม่น้อยแน่ๆ

ถาม: ช่วยเล่าเกี่ยวกับงานหลักๆ ใน Asia ที่ทำอยู่ในปัจจุบันหน่อย

Adams - งานหลักของเราคือ พิพิทธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ที่เซี่ยงไฮ้ ขนาดก็ประมาณ 1,200,000 ตารางฟุต (110,000 ตารางเมตร) เป็นอาคารที่จะใช้ไปแล้วเป็นที่ประชุม Apec ในปี 2001 เป็นอาคารที่มีรูปแบบล้ำหน้าไปมาก เป็นสัญลักษณ์ของจีนใหม่ กร้าวแกร่ง แข็งขัน แ่ต่ในขณะเดียวกันก็น้อบน้อมและเคารพต่อวัฒนธรรมอันยาวนาน มีอีกโครงการหนึ่งก็คือเรื่องของ ความพยายามของเราที่จะเสนอ โครงการออกแบบพัฒนาสภาพแวดล้อมของเมือง (Urban Design) ในส่วนทางตอนเหนือของเมือง ส่วนนี้เป็นส่วนที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มาก ทางรัฐสนใจที่จะปรับ โรงเก็บสินค้าและโรงงานเก่าๆนี้ให้เป็น ย่านที่อยู่อาศัยและธุรกิจขนาดหนาแน่นมาก ให้เหมือนกับ Lower Manhattan โครงการนี้เราก็ได้รับเลือกไปแล้ว ประกวดแบบได้ที่ 1

Huh: โครงการ Lotte World II ที่เมือง Pusan ประเทศเกาหลีใต้ของเรา ขนาดประมาณ 5.5 ล้านตารางฟุต (530,000 ตารางเมตร) - โดยบริษัีท Lotte ผู้ผลิตสินค้าหลักคือขนมขบเคี้ยวต่างๆ ทั่วโลก - เ็ป็นโครงการที่มี Function หลายอย่างมาก ตั้งแต่ Shopping, โรงหนัง, โรงละคร, โรงแรม, Apartment, และสวนสนุกต่างๆ ตัวอาคารกินเนื้อที่ไปประมาณ 3 ล้านตารางฟุต ใข้เวลาประมาณ 8 เดือนในการทำ Conceptual, Schematic แล้วก็ 50% DD

ถาม - สุดท้ายอย่างจะให้มุ่งประเด็นไปทางประเทศ จีนสักหน่อย - ประเทศจีนจะมีความสำคัญมากกับประเทศเราหรือเปล่าในอนาคตสำหรับตลาด AEC (ไม่ทราบว่าที่แน่ๆ ย่อมาจากอะไรแต่คิดว่าคงเป็น Architecture Engineering and Construction-ผู้แปล) จะเป็นแหล่งที่หลบภัยสำหรับสภาวะถดถอยของประเทศเราตอนนี้หรือเปล่า

Adams - ประเทศจีนน่าจะเป็นแหล่งที่สำคัญที่สุดสำหรับ AEC Industry ของเราตอนนี้ ตั้งแต่เราทำงานมา ประเทศจีนเป็นตลาดที่มีความคึกคักมากที่สุด และดูเหมือนจะมีอนาคตที่ยังอีกยาวไกล และผมว่านักลงทุกหลายคนก็พยายามเรียนรู้จาก ความพินาศของเศรษฐกิจใน South East Asia เมื่อประมาณ ปลายยุค 90s แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้องเตรียมตัวไว้ว่า บริษัทในเืมืองจีนที่เรียนรู้จากเราไปมากๆ ก็จะกลายมาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของเราเหมือนกัน

Huh - ในอีกประมาณ 10-15 ปีต่อไปนี้ ประเทศจีนจะเป็นตลาดที่สำคัญที่สุดในโลกถ้ายังรักษาระดับการเจริญเติบโตแบบนี้ไว้ได้ แต่อย่างไรก็ตามผมไม่คิดว่าตลาดของประเทศจีนจะเป็นแหล่งหลบภัยของเราในสภาพเศรษฐกิจถดถอยแบบที่เป็นอยู่ เนื่องจากเรายังคงปฎิบัติตามนโยบายของเราว่าเราจะรับงานต่างประเทศไม่เกิน 30% ของงานทั้งหมด และเราก็ใช้หลักการพิจารณาการรับงานเหมือนกันว่า โครงการนี้ มีความน่าตื่นเต้นมั้ย มีผลประโยชน์ต่อชื่อเสียงของเราหรือเปล่า หรือมีผลกำไรที่ดีพอหรือเปล่า ถ้าจะพูดกันตรงๆอีกอย่างก็คือ การรับงานต่างประเทศมีผลกับการที่เราจะรับคนทำงานใหม่ๆ เข้ามาในบริษัท คนรุ่นใหม่สนใจทำงานที่อยู่ในต่างประเทศมาก เราทำการออกแบบโครงการในต่างประเทศ ไปแล้วประมาณ 20 โครงการ รวมมูลค่าการก่อสร้างทั้งหมด 2,500 ล้านเหรียญ ส่วนใหญ่เป็นโครงการ แบบ Multi-use, multi-complex, ศูนย์การประชุม, โครงการที่อยู่อาศัย, พิพิทธภัณฑ์ อาคารรัฐบาล ฯลฯ

Zehn: ประเทศจีนดูจะมีการเจริญเติบโตในยุคนี้ผิดกับส่วนอื่นๆของโลก และโดยเฉพาะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีในปัจจุบันทำให้บริษัท American ทั้งหลายต้องออกไปหางานจากต่างประเทศมาเข้าบริษัท แต่ถ้าเศรษกิจที่นี่ดีอีก หลายๆ บริษัทก็คงจะทิ้งตลาดกลับมาทำงานที่ America เพราะว่ามันง่ายกว่าที่่จะทำงานในบ้านเราเอง สำหรับเรื่องโครงการที่เราเคยทำในจีน และ ประเทศใกล้เคียงที่อยู่ในการปกครองเราเริ่มมาตั้งแต่ปี 1976 - เฉพาะในปี 2002 นี้ค่าแบบที่เราได้มา ประมาณ 7 ล้านเหรียญ มาจากภูมิภาคนี้ของโลก (จีน - ฮ่องกง - ไต้หวัน - มาเก๊า)

จบ

1 comment:

Anonymous said...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ