Friday, November 16, 2018

Powerful: Building a Culture of Freedom and Responsibility "ใจกลางการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรของ Netflix" ตอนที่: 001

Powerful: Building a Culture of Freedom and Responsibility
#001
โดย Patty Mccord
Publisher: Silicon Guild (January 9, 2018)

หนังสือเล่มนี้ คนเขียนคือ Executive Member ของ Netflix ที่รับผิดชอบเรื่องการบริหารคน ซึ่งผมอยากให้ผู้อ่านพยายาม ลืมคำว่า Human Resource หรือ ฝ่ายบุคคล ออกไป ไม่ว่าจะเป็นคำว่า Personnel หรือ People หรือ อะไรก็ตาม - เขาอาจจะมี Title ว่า HR แต่ความจริง การบริหารคนคือใจกลางของการบริหารองค์กร ดังนั้น Tactic ในการบริหารคนนั้นจริงๆ แล้วคือ Key สำคัญในการพาองค์กร ไปให้ประสบความสำเร็จ หรือพาไปสู่หายนะ

Netflix คือ บริษัทที่เราคุยกันอยู่ ณ ปี 2018 ถือเป็นองค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดองค์กรหนึ่งในโลก เรื่องราวที่ ถูกนำมาเล่าโดยคุณ Patty Mccord นี้ หลายๆ เรื่องเป็นเรื่องที่ มีผู้บริหารองค์กรในประเทศไทย “คิด” แต่ มันก็ดูสุดโต่ง และหลายคนก็อาจมีความกลัวว่าทำแล้ว มันจะเป็นยังไง เพราะมันก็ไม่มีใครกล้าทำ

การที่จะบอกว่า Netflix กล้าทำ แล้วเขาทำสำเร็จ แปลว่า เราก็ควรจะเอามาทำด้วยนั้น ไม่ใช่ตรรกะที่ดีนัก เพราะทุกอย่าง ล้วนมีรายละเอียดปลีกย่อยอันเป็นสาระสำคัญ ที่ผมเชื่อว่าหลายๆ เรื่อง คุณ Mccord ก็ไม่ได้เขียนมา และ เราก็ต้องเข้าใจว่า Netflix คือ บริษัทที่ดำเนินการบนพื้นฐานของวัฒนธรรมอเมริกัน ที่มีลักษณะสำคัญคือ ความตรงไปตรงมา ความเท่าเทียมกันในเชิงของวัฒนธรรม (มี Hierarchy ทางสังคมในระดับที่น้อยกว่าทางตะวันออก) และ value personal relationship น้อยกว่า ภาพรวมขององค์กร ซึงลักษณะเหล่านี้จะสวนทางกับ วัฒนธรรมตะวันออกของเรา

ดังนั้นการทำความเข่าใจหนังสือเล่มนี้ ดีที่สุดคือฟังหูไว้หู ลองดูไปทีละประเด็น และต้องเปรียบเทียบกลับมาในลักษณะธุรกิจของท่านด้วย ผมเองมีความเชื่อว่า ธุรกิจบางธุรกิจ เอาหลักการนี้ไปใช้แทบไมไ่ด้เลย แต่ธุรกิจบางธุรกิจ อาจจะเอาไปใช้ได้เป็นจำนวนมากก็ได้

สิ่งหนึ่งที่สำคัญและ เป็นเรื่องที่ต้องย้ำให้ทุกคนเชื่อในยุคนี้คือ หลายๆ เรื่องที่เรา (หมายถึงคนที่อายุ 40 ปี ขึ้นไปเหมือนผม) มีความเชื่อกันมาตั้งแต่เด็กว่า หลักการบริหารทีถูกต้องคือแบบนั้น แบบนี้ หลายๆ เรื่อง มันใช้ไม่ได้แล้วกับยุคปัจจุบัน หลายๆ เรื่อง มัน “ต้องเลิกใช้” แล้วฝังมันไปเลย หลายๆ เรื่อง อาจจะต้องค่อยๆ เลิก พอได้ เพราะหากเราไม่ค่อยๆ ลก ละ เลิก เรื่องพวกนี้ ลงแล้ว องค์กรของเรา อาจถึงกาลอวสานเร็วกว่าที่เราคิดไว้

เป็นยุคที่ คนที่อายุมาก ประสบการณ์ มาก จะเป็นศัตรูตัวร้ายที่สุดของตัวเอง เพราะคุณกำลังเชื่อในหลายๆ สิ่งที่มันใช้การไม่ได้แล้ว และที่แย่ไปกว่านั้นคือ คนที่อยู่รอบๆ ตัวคุณเขารู้หมดแล้ว แต่เขาอาจจะรักคุณมาก จนไม่อยากให้คุณเจ็บปวด หรือเกลียดคุณมาก จนไม่อยากให้คุณรู้ ให้คุณไปตายเอง ไม่ว่าจะทางไหนก็ตาม หายนะก็คือหายนะ และคุณจะโทษใครไม่ได้เลย

หนังสือเล่มนี้ จะเป็นบทพิสูจน์บทเล็กๆ บทหนึ่งที่ คำว่า ตรรกะที่ถูกต้อง และได้ผลลัพธ์ที่ดี ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตาม Norm ของวงการใดๆ เพราะ Norm คือสิ่งที่ต้องถูกตั้งคำถาม “ทุกวัน” ในยุคที่เราเป็นอยู่นี้

พร

---
บทนำ

แนวทางการทำงานแบบใหม่: สร้างให้เกิดอิสระและความรับผิดชอบ

ในการประชุมผู้บริหารวันหนึ่งที่ Netflix เราเพิ่งจะรู้ว่า ในอีก 9 เดือนข้างหน้าเราจะต้องใช้ Bandwitdth ของอินเตอร์เน็ท ปริมาณ เป็น ⅓ ของสหรัฐอเมริกา ธุรกิจของเราเติบโต 30% ต่อเนื่องมา 3 ไตรมาสติดๆ กัน ก่อนหน้านั้นเราแค่คิดว่า อีกหน่อยเราอาจจะใหญ่โตกับเขาบ้าง อย่างน้อยๆ ก็ต้องไปชนกับ HBO ได้ แต่ก็คงจะอีกสักพักนึง อีกหลายปี แต่แล้วพอเราเจอการเติบโต ในระดับนี้ เราก็มาลอง ให้หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ ของเราคำนวณกันว่า bandwidth ที่เราต้องการ ในปีหน้า จะต้องประมาณไหน คำตอบที่ออกมาก็ทำให่้เราตกใจกันมาก “เราต้องการประมาณ ⅓ ของที่ใช้กันในประเทศอเมริกาของเรานี่ล่ะ” - พวกเราอึ้งกันไปหมด แล้วก็ถามกลับไป “อะไรนะ.??” - “แล้วมีใครในบริษัทเราที่รู้บ้างว่าเราจะจัดการเรื่องนี้ยังไง” - คำตอบที่ได้มา ก็เหมือนคำตอบที่ตรงไปตรงมาอื่นๆ แบบที่เราอยู่กันที่นี่ “ผมไม่รู้ครับ”

ในช่วง 14 ปีที่ดิฉันอยู่ใน Netflix ในฐานะผู้บริหาร เราเจอสถานการณ์ที่พิสดารอันเกิดจากการเติบโตของเราเป็นประจำ บางอันก็ถึงขนาดว่าเหมือนเราเดินทางไปต่างดาวกันเลยทีเดียว เพราะธุรกิจของเรา คือการก้าวไปสู่สิ่งที่เราไม่รู้จักว่าเป็นอย่างไร ทุกอย่างคือการเปิดโลกใหม่ ไม่มีหลักการอะไร ไม่มีทฤษฎีอะไร เราต้องทำไปคิดไป ตั้งแต่วันที่ดิฉันเข้ามาใน Netflix ตอนที่บริษัทเปิดใหม่ๆนั้น มันช่างแตกต่างกันตอนนี้จนแทบจำไม่ได้ เราผ่านการเปลี่ยนแปลงในแทบจะทุกๆ เรื่องอย่าางต่อเนื่องและรวดเร็ว ในรุปแบบธุรกิจของเรานั้น หากเราเพียงแค่คิดว่าจะตามให้ทัน นั่นถือว่าไม่เพียงพอ เราต้องประมาณสถานการณ์ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น แล้วต้องคิดไปล่วงหน้าก่อนว่าจะต้องจัดการมันอย่างไร แล้วเตรียมรับมือมัน เราต้องจ้างคนที่เก่งฉกาจที่สุดในสาขาที่เราเองก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามันคืออะไร แล้วก็ต้องจัดทีมเดิมที่มีอยู่ในทำงานได้ เชื่อมกันได้ และที่สำคัญคือ แผนหลายๆ อย่างที่เราวางไวก็อาจไม่ได้ใช้ แล้วก็อาจมีสิ่งที่ผิดพลาด เราก็ต้องรีบสรุป ยอมรับมัน แล้วก็เดินหน้าต่อไปในทิศทางใหม่อีก บรษัทของเรา ต้องถือว่าอวตารตัวเองกันเป็นประจำ อย่างต่อเนื่อง ดิฉันยังจำได้ในวันที่เราต้องคิดว่า จะรักษาฐานธุรกิจส่ง DVD ทางไปรษณีย์ ให้ไปได้ดี แล้วก็สร้างฐานของโลก online stream ไปพร้อมๆ กัน แล้วก็ต้องเอาทั้งหมดไปขึ้น Cloud แล้วแถมยังจะสร้างหนังและทีวีซีรีย์ ของเราเองด้วย 

(มีต่อ)

Monday, February 11, 2008

บทความแปล - Integrated Practice in Perspective: A new model for the architectural profession

โดย Andrew Pressman, FAIA – เป็นสถาปนิกแห่งนคร Washington D.C. และเป็นบรรณาธิการบริหาร ของการโครงการจัดพิมพ์ Architectural Graphic Standards, 11th Edition (2007) หรือตำรามาตรฐานการเขียนแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นหนังสืออ้างอิงที่ “สำคัญที่สุด” และได้รับการยอมรับมากที่สุดในวงการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมในสหรัฐอเมริกา

เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรทุกวันนี้สามารถสร้างอะไรก็ได้เท่าที่นักออกแบบพึงจะสร้างสรรค์ขึ้นมา การจัดการข้อมูลทั้งหลายที่ซับซ้อนก็สามารถทำให้ง่ายลงมาเพื่อให้เจ้าของโครงการสามารถจัดการได้อย่างดี สถาปนิก ที่ปรึกษา และเจ้าของโครงการ ทำงานกันอย่างใกล้ชิดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

Integrated Practice (IP) เป็นศัพท์ที่ถูกใช้ในการเรียกระบบการทำงานที่ใกล้ชิดดังกล่าว (Collaborative Process) IP เป็นระบบที่ตอบโจทย์ของตลาดการก่อสร้างในปัจจุบันที่ ต้องออกแบบให้รวดเร็วและทำการก่อสร้างให็เสร็จอย่างรวดเร็ว ด้วยราคาที่ต่ำ และต้องมีคุณภาพที่สูงในหลายๆด้านเช่น คุณสมบัติเพื่อความยั่งยืน (Sustainability) BIM หรือ Building Information Modeling เป็นระบบที่บังคับ ทำให้เกิดวัฒนธรรมของ Integrated Practice ตรงนี้ขึ้นมา

BIM ก็คือคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ ที่เรียกกันว่า Parametric object-based ซึ่งไม่ได้เขียนเพียงแค่ ตัวสามมิติ หรือชิ้นงานก่อสร้างเท่านั้น แต่ยังบวกข้อมูลที่ละเอียดมากเช่น การประเมิณงบประมาณการก่อสร้าง (Budget Estimates) ตารางเวลาการก่อสร้าง (Construction Schedules) ปริมาณของวัสดุที่จะใช้ (Quantities Takeoff) และการประกอบเข้าหากันของวัสดุก่อสร้าง (Fabrication Details) ระบบ Parametric Modeling ทำให้การปรับหรือเปลี่ยนที่เกี่ยวข้องกับหลายๆส่วนในงานออกแบบ ทำได้ง่ายขึ้นและตรวจสอบผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น ซึ่งระบบดังกล่าวได้เคยถูกกล่าวไว้แล้วใน Architectural Records ฉบับเดือน เมษายน 2007 ในบทความชื่อว่า “Transformative Tools Start to Take Hold” (ขอแปลแบบด้อยสติปัญญาว่า “เครื่องมือที่มีความยืดหยุ่นในการใช้และการปรับตัวเอง กำลังจะเริ่มเข้ามามีบทบาทเป็นตัวหลักของการออกแบบ” - ยาวแต่คงได้ใจความครบนะครับ – ผู้แปล)

ความสัมพันธ์ และการทำงานร่วมกันระหว่าง สถาปนิก ลูกค้า ที่ปรึกษา ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการของเรา William Caudill, FAIA หุ้นส่วนของบริษัท Caudill Rowlett Scott, ได้บัญญัติคำัศัพท์ว่า Squatters ขึ้นมาในปี 1950s โดยอธิบายการประชุมระดมความคิดระหว่าง สถาปนิก วิศวกรที่ปรึกษา ลูกค้า และผู้ใช้อาคาร เพื่อทำการร่างโปรแกรมการออกแบบ การหาคุณค่าที่สำคัญของงานออกแบบ และอื่นๆ William Lam นักออกแบบด้านแสง (Lighting Designer) ชื่อก้องโลก ได้กล่าวเกี่ยวกับขั้นตอนนี้ว่า การสนทนากันระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมจะต้องมีบรรยากาศที่เปิดเผย ทุกคนต้องลด ego ของตัวเองลง แล้วเพิ่มความใส่ใจในผลลัพท์ชองสิ่งที่กำัลังทำงานร่วมกันให้มากขึ้น อันเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

โดยหลักๆ Lam ได้พูดถึงพื้นฐานของวิธีการทำงานที่บริษัทในปัจจุบันควรทำในเชิงของ “Integrated Practice”ไว้แล้วในการวิจารณ์ดังกล่าง โดยทั่วๆ ไปที่เราเห็นคือ ที่ปรึกษาจะมาประชุมร่วมกันตอนต้นในการร่างนโยบายการทำงาน และวางโปรแกรม เสร็จแล้วก็จะแยกย้ายกันไป แต่ BIM เป็นระบบที่เน้นการทำงานร่วมกันอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การปรับเปลี่ยนแบบและการ update ข้อมูลที่เิกิดขึี้นตลอดเวลาเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน และกำลังถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในเชิงของเวลาและค่าใช้จ่าย ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการทำงานรูปแบบใหม่นี้มีอย่างกว้างขวาง เช่น วัฒนธรรมการทำงานของบริษัท รุปแบบการเขียนสัญญาจ้างที่ปรึกษา การประกันภัยวิชาชีพ (Professional Liability Insurance) การบริหารความเสี่ยง ระบบการจ่ายค่าตอบแทนให้กับพนักงาน (Compensation) และ ระบบการศึีกษา (Professional Education) ใครก็ตามที่เข้าใจการทำงานในระบบดังกล่าว และสามารถนำมาปรับใช้กับการทำธุรกิจได้จะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในองค์กรของเขา

วัฒนธรรมของสำนักงาน (Firm Culture)

สิ่งที่ต้องปรับตัวเพื่อเรียนรู้ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ๆ อีกต่อไป แต่เป็นเรื่องของมุมมอง (Attitude) ต่อการร่วมมืออย่างสมบูรณ์กับสมาชิกในทีมออกแบบทั้งหมด (วิศวกรและที่ปรึกษาอื่นๆ) Volker Mueller, Assoc. AIA ซึ่งเป็น Design Technology Manager ของบริษัทยักษ์ใหญ่ NBBJ กล่าวว่า “การที่จะทำให้สมาชิกทุกคนในทีมเข้าใจจุดมุ่งหมาย (Goal) ของโครงการร่วมกันแต่ต้น และจะต้องมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ตั้น นั้นเป็นสิ่งท้าทายและอาจจะต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใ้ช้เพื่อให้การดำเนินการตรงนี้เ็ป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

“สถาปนิกควรจะพัฒนาตนเองในด้านความเป็นผู้นำ (Leadership) มากกว่าความเป็นเจ้าของกิจการ (Ownership) และทำการออกแบบให้เต็มที่แทนที่จะมาั่นั่งกลัวเรื่องความเสี่ยงทั้งหลายกันอยู่” Scott Simpson, FAIA หุ้นส่วนของบริษัท KlingStubbins แห่งเมือง Boston ได้กล่าวไว้ ส่วน Andy Anway แห่ง บริษัท Amaze Design ได้กล่าวว่า “ความสามารถเฉพาะส่วนของที่ปรึกษาทั้งหลายจะต้องมีการประสานกันให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ภายใต้การนำของสถาปนิก ถ้าเรามีคนที่มีคุณภาพ มีเครื่องมือที่มีคุณภาพ มีระบบที่มีคุณภาพ ภายใต้การนำที่มีคุณภาพ งานที่ออกมาจะไม่มีทางเป็นอย่างอื่นได้นอกจากงานที่มีคุณภาพ สิ่งที่น่าสนใจตรงนี้คือ การปรากฎการณ์ของการ Cross Suggestion วิศวกรอาจจะนำเสนอเรื่องความงาม สถาปนิกอาจจะความเห็นเรื่องงานระบบ ซึ่งสิ่งที่สถาปนิกจะต้องปรับตัวก็คือการรับฟังความเห็นคนมากขึ้น และอาจจะสูญเสียการควบคุมโครงการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด (Total Control)

ส่วนในบริษัทเองนั้น คนที่อยู่ในระดับ Senior ขององค์กร ต้องมีการรวบรวมแนวคิดให้มุ่งไปทางเดียวกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างไป ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องของหลักการในการดำเนินการขององค์กร ปรัชญาการทำงานขององค์กรคืออะไร สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรคืออะไร คือผลกำไรของลูกค้าที่จะได้รับ หรือกำไรของพวกเราที่จะได้รับ จะเป็นอะไรก็ได้ แต่ต้องเชื่อเหมือนกัน และคิดไปในทางเดียวกัน

แบบและสัญญาก่อสร้าง (Contract Documents)

Chris Noble แห่ง สำนักงานทนายความชื่อ Noble & Wickersham (ในสหรัฐอเมริกาสัญญาการก่อสร้าง หรือการว่าจ้างออกแบบใดๆ ก็ตาม ทุกฉบับไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กต้อง ผ่านการตรวจสอบและแก้ไขจากทนายความเสมอ - ผุ้แปล)แห่งเมือง Cambridge ในรัฐ Massachusetts ให้ความเห็นว่า Integrated Practice จะมีผลทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในระบบการทำงานของการวางโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการร่างสัญญาการทำงาน การ share ข้อมูลซึ่งกันและกัน การบริหารและจัดสรรความเสี่ยง การจ่ายค่าตอบแทน และหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละบุคคล ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะมีมากขึ้นเืมื่อ การพัฒนาของ Design-Build ก้าวไปเรื่อยๆ (ในสหรัฐ Design-Build ยังเป็นสิ่งทีเป็นปรากฎการณ์ใหม่มาก ในขณะที่ในเอเชียของเราเป็นเรื่องปกติ) การแก้ไขมาตรฐานของสัญญาก่อสร้างต้นแบบ และการทดสอบที่จะนำวิีธีการบริหารจัดการงานก่อสร้างอื่นๆ มาใช้ในอนาคต ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ Noble กล่าวว่า “จะมีการเขียนสัญญา ที่ระบุการแ้ก้ปัญหาในกรณีต่างๆไว้ล่วงหน้า (Conditions) เพื่อสร้างการคุ้มครองทางกฎหมายให้กับทุกๆ ฝ่าย เข่น ในด้านของ ลิขสิทธิ์ (Intellectual Property Rights) ข้อยัดแย้งระหว่างฝ่าย (intra-project disputes) การสื่อสารและแนวทางการสื่อสารระหว่างบุคคล (communication protocol) และผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่พึงจะต้องเกิดขึ้น (allocate rewards commensurate with risks)

Suzanne Harness, AIA ประธารคณะกรรมการว่าด้วยเรื่องสัญญา (Counsel for Contract Documents) แห่ง American Institute of Architects ได้กล่าวเกี่ยวกับ Integrated Practice และการแบ่งสรรความเสี่ยงให้แต่ละฝ่ายอย่างเหมาะสมว่า เรากำลังอยู่ในช่วงของการค้นคว้าเท่านั้น เรากำลังสร้างสถาณการณ์ในแต่ละระดับของการประสานกัน (Integrated) ตรงนี้ ตั้งแต่ไม่มีการประสานกันแต่อย่างใด ไปจนถึงการประสานกันอย่าง 100% ซึ่งในความเป็นจริงและ สภาวะสุดโต่งทั้งสองไ่ม่มีทางเกิดขึ้น เราเพียงแต่ต้องการหา Indicator หรือเหมือนกับ มาตรวัด เพื่อมาพยายามหาว่า สภาวะที่เหมาะสมในสถาณการณ์หลักที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงนั้นเ็็ป็นอย่างไร นอกจากนี้ เธอยังตระหนักในเรื่องของการเรียกร้องจากสมาชิกทั้งหลายให้มีการออกสัญญาต้นแบบในลักษณะ Integrated Practice ให้ออกมาโดยเร็วที่สุด แต่เธอก็ยืนยันที่จะค่อยๆ พัฒนาตามแผนเพื่อให้เกิดความถูกต้อง ดีกว่ารีบออกแล้วก้ไปแก้แล้วแก้อีกระหว่างทาง

Liability and Risk Management
ความรับผิดชอบต่อความเสียหายและการบริหารความเสี่ยง

“เลือกสมาชิกทีมที่ปรึกษาด้วยความระมัดระวัง” คือคำแนะำนำของ David W. Hinson, FAIA ซึ่งเป็นคณบดีของ School of Architecture, Alabama’s Auburn University เกี่ยวกับเคล็ดลับความสำเร็จในระบบ Design-Built ในโครงการก่อสร้างต่างๆ ซึ่งในกรณีนี้ คำแนะนำสำหรับระบบ Integrated Practice ก็ไม่ต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสถาปนิกยังคงเป็น “ผู้นำ” ที่มีความรับผิดชอบสูงสุดและรับผิดชอบแทนกลุ่มที่ปรึกษาทั้งหมดตามกฎหมาย (Legal Entity) ที่จะใช้ระบบ BIM ซึ่งเป็นระบบที่จะต้องมีการประสานงานกันอย่างสูงสุด ทั้งในด้านความเชี่ยวชาญเฉพาะตัว (Expertise) ความไว้ใจซึ่งกันและกัน (Trust) ความเคารพซึ่งกันและกัน (Respect) และการแบ่งข้อมูลซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกในทีม ระดับของความเข้มข้นในการบริหารความเสียงต่างๆ จะขึ้นอยู่กัความสัมพันธตรงนี้เป็นอย่างมาก

Joseph H. Jones, Jr. AIA ซึ่งเป็น ผู้อำนวยการของ Victor O. Schinnerer & Company บริษัทจัดการบริหารความเสี่ยงในธุุรกิจออกแบบก่อสร้าง กล่าวว่า “สมาชิกในทีมทุกคนต้องลดความเป็นตัวของตัวเองลงอย่างมาก ต้องมีการปรับตัวตามสภาพ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันอย่างแนบแน่นในโครงการนั้น ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้มีการ ร่างสัญญาที่มีคู่สัญญาระว่างเจ้าของโครงการ กับทีมที่ปรึกษา แบบใหม่ (Entity) ขึ้นมา” อันดับแรกคือเลือกลูกค้ากับเลือกโครงการที่เหมาะสมที่จะใช้ระบบนี้เสียก่อน

Lorna Parsons ซึ่งเป็นผู้บริหารอีกคนของ Sccchinnerer กล่าวว่า “การที่พวกเราในวงการทำงานผ่านทาง Internet มากขึ้นก็ทำให้ความเสียงในยุคเก่าๆ ที่เคยมีมาลดลง และเกิดความเสี่ยงประเภทใหม่ๆ ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น เรื่องของการใช้ Software ลิขสิทธิ์ เรื่องของลิขสิทธิ์ในงานออกแบบต่างๆ เป็นต้น แต่ ในขณะเดียวกัน เธอก็กล่าวว่า บริษัทของเธอจะไม่เข้าไปก้าวก่ายการทำงานของ Integrated Practice System ว่าจะต้องทำงานอย่างไรให้เสี่ยงน้อย และเธอก็ให้ความเห็นว่า บริษัทประกันภัย (ในที่นี้หมายถึงบริษัทประกันความเสี่ยงในการประอบวิชาชีพ หรือ Professional Liability Insurance) เองก็ไม่ควรจะเข้ามามีบทบาทในการกำหนดว่า Integrated Practice จะต้องดำเนินไปอย่างไรเช่นเดียวกัน ควรจะให้พวกเราทำในสิ่งที่พวกเราเห็นว่าเหมาะสม แล้วก็ให้เขาคิด เบี้ยประกันที่เป็นธรรมออกมา

เป็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ที่วันหนึ่งในอนาคต Computer 3D Model จะกลายมาเ็ป็น แบบก่อสร้างที่ต้องมีการเซ็นรับรองโดยผู้ออกแบบและกลายมาเป็นเอกสาร(Documents) ที่มีผลตามกฎหมาย แต่ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร ความใส่ใจที่มาจากลักษณะนิสัยการในประกอบวิชาีชีพของสถาปนิกเอง และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพกับลุกค้าก็จะเป็นองค์ประกอบที่่สำคัญที่สุดในการที่จะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งหรือการร้องเรียน (Claim) ต่างๆ ปัจจุบันยังเป็นการยากที่จะมีการออกกฎหมายมาเพื่อควบคุมการประกอบวิชาชีพในลักษณะของ Integrated Practice องค์กรที่รับผิดชอบเรื่องการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมอย่าง National Council of Architectural Registration Board กำลังจะทำรายงานออกมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ในปี 2008


Compensation

มีบริษัทออกแบบบางบริษัทได้เริ่มพิจารณาในการคิดราคาค่าบริการวิชาชีพที่แตกต่างไปจากเดิมในการให้บริการแบบ Intergrated Practice สิ่งหนึ่งที่อาจจะเปลี่ยนไปได้ โดยเฉพาะในยุคที่เราใช้ Building Information Modeling อย่างมาก ก็คือ การเปลี่ยนวิธีการเก็บเงินจากแบบที่เป็น Phase (Schematic Design, Design Development etc.) ไปเป็นแบบอื่น

James R. Brogan, AIA หัวหน้าฝ่าย IT จากบริษัท Kohn Pedersen and Fox ให้ความเห็นว่า Intergrated Practice จะทำให้ขั้นตอนที่เป็น Phase หายไป และจะมีผลโดยตรงต่อรูปแบบการเชียนสัญญาระหว่าง สถาปนิก-ที่ปรึุกษา-ลูกค้า ซึ่งก็หมายความว่า สัญญามาตรฐานจาก AIA ก็จะต้องถูกปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ คำสำคัญ (Term) ที่ใช้ในทางกฎหมายซึ่งสื่อความหมายของความสัมพันธ์ในการทำงานจะถูกปรับปรุงและตีความใหม่เกือบหมด นอกจากระบบที่น่าสนใจเช่่น Project-Alliance System ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่สหรัฐอเมริกา (ระบบที่มีการให้เงิน Bonus หรือ ค่าปรับ ตามคุณภาพของงานที่ได้รับ โดยรวม ซึ่งเป็นผลงานของทีมทั้งหมด) อาจจะถูกนำเข้ามาใช้

“Value เป็นสิ่งที่จะต้องถูกแสดงให้ เจ้าของหรือผู้ที่จะจ่ายค่าบริการวิชาชีพเข้าใจให้ได้” Scott Simpson ได้กล่าวไว้ “สถาปนิกจะต้องเรียนรู้ิวิธีการอธิบาย คุณค่า (อาจจะแปลว่ามูลค่าก็ได้ เพราะเป็นการเปรียบเทียบกับเงิน – ผู้แปล) ว่าเราทำอะไรให้กับลูกค้าบ้างที่คุ้มค่าเงินที่จะออกจากกระเป๋าของเขา ถ้าลูกค้าเขาใจและเห็นคุณค่า ลูกค้าจะยินดีมากที่จะจ่ายเงิน” การออกแบบที่มีประสิทฺธิภาพ และการประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสามารถทำให้ลูกค้าเห็น Value ดังกล่าว “การลดปริมาณของ Change Order (การเปลี่ยนแปลงแบบในระหว่างการก่อสร้าง) และการลดเวลาก่อสร้างโดยรวมลง เป็นสิ่งที่ลูกค้าจดจำได้และตระหนักถึงประสิทธิภาพที่เรามอบให้” แต่บางคนก็มองว่า การใ้ห้ Value ที่เพิ่มขึ้นตรงนี้ไม่ได้แปลว่าเราจะไปเก็บเงินลูกค้าเพิ่มขึ้นได้ในระยะยาว เพราะในจุดหนึ่ง Integrated Practice ที่เคยเป็นจุดที่ทำให้บางบริษัทมีประสิทธิภาพเหนือคู่แข่ง ก็จะกลายมาเป็นมาตรฐานปกติที่ทุกๆคนใช้กัน เหมือนกับ เทคโนโลยีอื่นๆ


Implication for Architectural Educationsผลกระทบต่อวงการศึกษาสถาปัตยกรรม


สถาบันการศึกษาสถาปัตยกรรมหลายๆ แห่งยังพยายามผลิตนักศึกษาที่เข้าใจว่าจะได้ออกมาทำงานเป็นวีรบุรุษหรือวีรสตรีเพื่อ****้โลกด้วยตัวเองเพียงคนเดียวอยู่ แน่นอนว่า Integrated Practice จะทำให้แนวความคิดดังกล่าวต้องถูกเปลี่ยนแปลงไป การศึกษาไม่เพียงแต่สอนเรื่องการออแบบหรือการก่อสร้างเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะต้องมองไปถึงการสอนเรื่อง ภาวะความเป็นผู้นำ (leadership) การสื่อสารกับคนนอกวิชาชีพ การทำงานร่วมกับคนที่ีมีมุมมองแตกต่างกับตนเอง การให้ความเคารพกับคนในวิชาชีพอื่นๆ เป็นต้น Renee Cheng, AIA อาจารย์แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Minnesota ได้กล่าวไว้ว่า “แน่นอนว่าเรื่องการออกแบบยังคงเป็นวิชาเอกที่ต้องศึกษาสำหรับเราต่อไป แต่วิชารองอันดับต้นๆ นั้น ปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก เราเห็นว่าทักษะที่สำคัญที่นักศึกษาจะต้องมีคือ ทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการเจรจาและการวางแผน หรือทักษะใดๆ ก็ตามที่จะทำให้นักศึกษาเหล่านี้ มีความสามารถในการประสานงานได้อย่างดีกับวิชาชีพอื่นๆ ที่อยู่ในวงการก่อสร้างเหมือนๆ กัน”


แน่นอนว่า คำถามต่อไป คือ จะเอาวิชาที่เกี่ยวกับทักษะใหม่ๆ เหล่านี้เข้าไปยัดใส่ตารางเวลาที่แน่นมากๆ อยู่แล้วสำหรับนักศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้อย่างไร อาจารย์ Cheng ก็เตือนไว้ว่า ถ้าจับวิชาเหล่านี้มาแทนที่วิชาการออกแบบจะทำให้เราเสียความเป็นตัวตนและทักษะหลักของเราไป เธอเสนอให้นำแนวความคิดของ BIM เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในวิชาหลายๆ วิชาแทนที่จะตั้งเป็นวิชาหลักต่างหาก การที่นักศึกษาเกิดความเข้าใจว่า BIM เป็นส่วนหนึ่งของการประกอบวิชาชีพที่สำคัญ ไม่ต่างกับเรื่องของการออกแบบที่แทรกสอดเข้าไปในทุกๆ วิชาของการเรียนสถาปัตยกรรมนั้น จะทำให้นักศึกษาไม่แยก BIM ออกไปเป็นชิ้นส่วนที่สามารถ โยนทิ้งไปได้เมื่อเรียนจบวิชา หรือเมื่อจบการศึกษา


ทุกวันนี้ Practice Academy ซึ่งเป็นองค์กรที่ ทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อทำการพัฒนาการศึกษาสถาปัตยกรรม ได้พยายามอย่างยิ่งในการที่จะเชื่อมโลกของการทำงาน (Practice World) เข้ากับโลกของการศึกษาสถาปัตยกรรม (Academic World) และได้จัดหาเงินทุกเพื่อให้สถาบันการศึกษาต่าๆ เข้ามารับเพื่อนำไปใช้ในการทดลองสร้างหลักสูตรที่ตอบโจทย์ดังกล่าว Boston Architectural College เป็นหนึ่งในสถาบันแรกๆ ที่รับทุนนี้ โดยพยายามสร้างหลักสูตรที่มีเนื้อหาของ Integrated Practice และ Building Information Modeling อย่างเต็มที่ โดยร่วมมือกับ บริษัทชั้นนำในท้องถิ่นหล่ายๆ แห่งที่ใช้ระบบเดียวกัน ซึ่งเป็นประโยชน์กับนักศึกษาเป็นอย่างมาก Bruce E. Blackmer, FAIA ประธานของ National Architectural Accrediting Board (NAAB) หรือ องค์กรรับรองสถาบันการศึกษาสถาปัตยกรรมของสหรัฐ ได้ยอมรับว่า แม้ว่าจะไม่มีความเกี่ยวข้องระหว่างสถาบันที่นำระบบ IP หรือ BIM เข้ามาอยู่ในหลักสูตร ว่าสถาบันนั้นจะมีโอกาสในการได้รับรองจากองค์กรมากขึ้นหรือไม่ แต่ก็เชื่อว่า ทักษะที่นักศึกษาได้รับนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตการประกอบวิชาชีพของนักศึกษาเป็นอย่างมาก และจะทำให้ผลงานออกแบบของนักศึกษาเหล่านี้มีคุณภาพมาก ในปี 2008 NAAB จะมีการประชุมว่า ควรจะนำหัวข้อของ BIM และ IP เข้ามามีส่วนร่วมในการรับรองสถาบันการศึกษาด้วยหรือไม่


And what about preliminary design?
การอภิปรายจะไม่มีทางสมบูรณ์ได้ถ้าเราเหล่าสถาปนิกไม่พูดถึงเรื่องที่เป็นเรื่องพื้นฐานที่สุดคือเีืรื่องของขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น เพื่อสร้างสรรค์พื้นที่ว่างเพื่อใช้ในการทำงาน การอยู่อาศัย และสันทนาการ การออกแบบในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สถาปนิกมีบทบาทมาก แทบจะเรียกได้ว่ามีอิทธิพลมาจากความเป็นตัวตนของสถาปนิกผู้ออกแบบคนนั้นๆ เป็นส่วนใหญ่ (Personal and Idiosyncratic) และจะเป็นกระบวนการที่ผ่านการใช้สื่อ แบบหยาบๆ เพื่อให้เห็นภาพ เช่น การใช้ปากกา กระดาษร่าง โปรแกรมสามมิติ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะไม่มีทางหายไปไหนในวงการออกแบบ

Geoffrey Adams ซึ่งเป็น อาจารย์ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่ง มหาวิทยาลัย New Mexico ได้ให้ความเห็นในเรื่องของความแตกต่างในการสร้าง ข้อมูลด้วยโครงสร้างที่คิดถึงการใช้สอยโดยไม่มีรายละเอียดของตัววัสดุและการก่อสร้าง (algorithmic computation) กับการสร้างข้อมูลด้วยการทำความรู้ที่ซับซ้อนจากรายละเอียดต่างๆ เข้ามาประกอบกัน (associative thinking) โดย Professor Adams เห็นว่า ระบบ Associative Thinking นั้น เป็นระบบที่มีซับซ้อนและหากต้องการเพิ่มองค์ประกอบของความเป็นศิลปะเข้าไปนั้น ระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันยังไม่สามารถไปถึงตรงนั้นได้ ยังคงต้องใช้มันสมองของมนุษย์ในการสร้างสรรค์ต่อไป แต่ก็ยอมรับว่า BIM เป็นระบบที่มีเสนห์ต่อวงการศึกษามากเช่นกัน แต่ก็อยากให้ใช้เป็นโครงการต่อโครงการไปก่อนในปัจจุบัน

ไม่มีเทคโนโลยีระดับไหนที่จะก้าวข้ามพลังแห่งการสร้างสรรค์ของมนุษย์ได้ แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญในวงการหลายๆ คนที่มีความกังวลในเรื่องการเสพติดคอมพิวเตอร์ของนักออกแบบยุคใหม่ เพราะทำให้เกิดความมักง่าย เวลาออกแบบก็จะออกแบบด้วยการทำโมเดลที่่โปรแกรมสร้างมาให้เป็นโครงร่างพื้นฐาน Earl Mark อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม แห่ง University of Virginia’s Department of Architecture ซึ่งเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์มาก่อน ได้ระบุปัญหานี้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญและจะขยายตัวออกไปมากขึ้น ปัญหาในฝั่งของนักออกแบบ Software เองก็คือ ถ้า Software ในอนาคตมีความซับซ้อนมากขึ้น ความมักง่ายตรงนี้มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นตามไปด้วย


After Integrated Practice, What’s Next? ผู้เชี่ยวชาญหลายๆคนที่ให้สัมภาษณ์ในบทความนี้เห็นตรงกันอยู่ประเด็นหนึ่งว่า BIM จะเป็นระบบที่ไม่สามารถถูกนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตราบใดที่ผู้รับเหมาก่อสร้างไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วยตั้งแต่ต้น รวมทั้งที่ปรึกษาทั้งหลายด้วย แต่การที่จะไปถึงจุดนั้นได้ ลูกค้าก็จะต้องมีความเชื่อมันต่อการทำงารของระบบ Design-Build (ทำกันมากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว เป็นอย่างน้อย ในประเทศญี่ปุ่น – ผู้แปล) มากกว่าระบบ Design-Bid-Build ที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมี ค่าใช้จ่ายต่อความผิดพลาดในการสื่อสารข้อมูลระหว่างบุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในการทำงานสูงกว่า แต่เจ้าของมีอำนาจในการควบคุมมากกว่า เป็นต้น
ในสภาพแวดล้อมของการทำงานในปัจจุบันนั้น ไม่เพียงแต่เราจะต้องทำงานให้ตรงเวลาและตรงตามงบประมาณ พร้อมกับรักษาคุณภาพอย่างเต็มที่เพียงเท่านั้น Integrated Practice จะไม่มีความหมายอะไรถ้าเราไม่สามารถนำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งภายใต้ การทำงานอย่างถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณของสถาปนิก ถ้าจะถามความหมายของคำว่า Integrated Practice แบบง่ายๆ แล้ว ก็อาจจะแปลได้ว่า “อัจฉริยะ” นั่นเอง

--จบ--

Friday, November 16, 2007

Thai Fire & Rescue Training Academy กับภาพย้อนหลังไปสู่ “โรงเรียนสอนดับเพลิง” Thesis ปริญญาตรี ของข้าพเจ้า

ที่จั่วหัวไว้นี่ เป็นความจริงครับ เมื่อประมาณ เกือบสิบปีที่แล้ว
ในการศึกษาปีที่ห้า ผมได้มีความคิดที่จะทำโรงแสดงคอนเสิร์ต เป็นโครงการวิทยานิพนธ์ปริญญาตรี เพราะตัวเองเป็นนักดนตรี แต่แล้วก็ต้องเปลี่ยนใจ เมื่อวันหนึ่งได้เข้าไปอบรมเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในการอยู่อาศัยภายในอาคารสูง โดย พล ตำรวจ ตรี โชคชัย ยิ้มพงษ์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดับเพลิง
ผลจากการบรรยายคราวนั้นให้แรงบัลดาจใจกับผมมาก และทำให้ได้ทราบว่า กิจการการดับเพลิงและกู้ภัยของประเทศไทย ยังไม่มีการจัดการในแง่ของการฝึกระดับสูง (Advance) และในขณะนั้น ท่านโชคชัยก็บอกว่า กำลังมีการตั้งแนวทางการศึกษาเพื่อก่อตั้งสถาบันดังกล่าวอยู่ จึงตัดสินใจนำมาเป็นหัวข้อโคงการวิทยานิพนธ์ ชื่อ สถาบันอัคคีภัยแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนสอนดับเพลิงระดับสูง พิพิธภัณฑ์การกู้ภัยสำหรับเด็กๆ สถานฝึกอบรมสำหรับคนทั่วๆ ไป
ของแบบนี้ ตอนทำก็สนุก พอทำเสร็จก็ลืมครับ เวลาก็ผ่านไป
ผมเองก็ได้ทำงานในสหรัฐอเมริกาก็ทำใหได้เรียนรู้เกียวกับเรื่องนี้มาอีกระดับหนึ่ง ชีวิตการออกแบบของสถาปนิกที่นี่ เรื่องที่ต้องทำอยู่ทุกวันในการตัดสินใจใดๆ ส่วนใหญ่จะเป็นสอนเรื่องคือ เรื่องความปลอดภัยจากเพลิงไหม้ ซึ่งกฎหมายควบคุมทั้งหลายจะเล็งประเด็นนี้เ้ป็นหลัก อีกเรื่องคือเรื่องความเป็นไปได้ในการใช้อาคารของคนพิการ (Accessibility)
แต่ผมก็แทบจะไม่ได้คิดถึงเรื่อง สถาบันนี้อีกเลย
แต่เมื่อเช้านี้ก็ได้เกิดความรู้สึกประทับใจ ที่เหมือนทำให้ได้รับรู้ถึงอดีตที่กลับมาใหม่
เรื่องของเรื่องคือผมได้อ่านพบเรื่องราวเกี่ยวบกับสถาบันชื่อ Thai Fire & Rescue Training Academy – สถาบันดับเพลิงและกู้ภัยชั้นสูง ที่นี่ครับ
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9500000010910
ความรู้สึกมันยังกับฝันที่เป็นจริง
ใครๆ ที่เคยทำ Thesis แล้วโครงการของตัวเอง เกิดเป็นจริงขึ้นมา ก็คงจะเข้าใจความรู้สึกนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นคนไปลงมืออกแบบก่อสร้างเองจริงๆ ก็เถอะ
ผมได้อ่านบทความ แล้วก็ได้เข้าไปดูใน Website ของสถาบัน ก็รู้สึกประทับใจมากที่มีคนพยายามทำอะไรดีๆ ให้กับประเทศของเรา การฝึกทั้งหลายแน่นอนว่า ที่เป็นหลักคือการฝึกกู้ภัย แต่ที่น่าสนใจคือเขารับให้คำปรึกษากับการกู้ภัยในโครงการต่างๆ ซึ่งเรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพวกเราโดยตรง
ท่านที่รับนิตยสาร อาษาอาจจะเคยได้อ่านที่ผมเขียนเกี่ยวกับเรื่องแบบแผนอพยพ หรือ Exit Plan มาแล้ว มันคืออะไรทำนองนั้นล่ะครับ แต่ที่สถาบันนี้จะให้คำปรึกษาในระดับรายละเอียดที่ Advance มากๆ โดยเฉพาะถ้าโครงการเป็นประเภทอันตราย เช่นโรงงานเคมี คลังน้ำมัน โรงพยาบาล เป็นต้น
เว็บของสถาบันแห่งนี้คือ
http://www.thaifire.com/
อยากจะให้สถาปนิกทุกๆ ท่านลองเข้าไปดู ผมได้ปรึกษากับท่านชาติชาย ไทยกล้า ผู้บริหารสถาบัน (ซึ่งท่านก็มีลูกสาวเป็นสถาปนิก) ว่า เราน่าจะมีโครงการอะไรที่สถาปนิกจะได้เข้าไปเรียนรู้กันได้บ้าง ท่านชาติชายมีประวัติที่ผมพูดได้คำเดียวว่า God มาก ท่านเป็นครูฝึกที่สอนฝรั่งอเมริกันมาแล้ว ผ่านการฝึกมาแล้วทุกรูปแบบ นักบินท่านก็เป็น โดดร่ม ดำน้ำ ก็ได้คือสถาณการณ์ฉุกเฉินเกือบทุกรูปแบบ ท่านเคยผ่านการฝึกเพื่่อเข้ากูภัยและแก้ปัญหามาเกือบหมดแล้ว
คือเราได้รับการฝึกอบรมเรื่องการออกแบบเพื่อให้คนหนีออกจากอาคารได้มาพอสมควร เราก็ต้องเรียนรู้กันต่อไป แต่ผมว่าีมีพวกเราน้อยคนมากที่เคยเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบอาคารเพื่อให้สะดวกในการเข้ากู้ภัยโดยหน่วยกู้ภัย หรือที่เรียกกันว่าเป็น “Firemen’s Friendly” ทำนองเดียวกับ User’s Friendly ที่แปลว่า ใช้ง่าย
การออกแบบให้หน่วยดับเพลิงหรือหน่วยกู้ภัย มีความสะดวกในการทำงานนั้นก็เท่ากับว่า เราจะทำให้เราช่วยชีวิตคนได้มากขึ้น ซึ่งนั่นน่าจะเป็นสิ่งที่ดีใช่มั้ยครับผม

ดินสอที่มีอักษรเขียนว่า "เงินไม่สำคัญ"

เมื่อวานเพิ่งตอนเดินออกไปกินกาแฟ ใกล้ๆ กับที่ทำงาน ผมได้หยิบดินสออันหนึ่งที่ตกอยู่บนทางเท้าขึ้นมา เป็นดินสอที่หักซีกที่ตกอยู่เป็นซีกที่มีปลายแหลมสำหรับเขียน แล้วมีอักษรเขียนอยู่ด้านข้างว่า "Money is not important" หรือ เงินไม่สำคัญ ซึ่งเป็นประโยคที่ทำให้ผมคิดอะไรได้หลายๆ อย่างและอยากจะเอามา share ให้เพื่อนฟัง
ผมคิดว่าประโยคนี้ คงไม่ใช่ประโยคที่จบในตัวเอง คิดว่าน่าจะมีประโยคอีกส่วนหนึ่งที่อยู่ในอีกครึ่งหนึ่งของดินสอที่ไม่ได้อยู่ตรงนั้น ประโยคนั้นอาจจะเขียนว่า "Jesus is Important" หรือ "Family is important" หรืออะไรก็แล้วแต่ เพราะผมเชื่อว่านี่คือดินสอของที่ระลึกจากโบสถ์หรือองค์กรเอกชนที่ต้องการลดพฤติกรรมการทำงานหนักอย่างแรง เพื่อเงินของคนอเมริกันและหันมาเข้าหาศาสนาหรือให้เวลากับ ครอบครัวมากขึ้น แต่การที่ได้เห็นประโยคแค่ว่า "เงินไม่สำคัญ" ทำให้ผมได้แต่ยิ้มแล้วก็ส่ายหน้า


สิ่งที่แล่นเข้าหาสมองของผมตอนนั้นก็คือว่า ผมจะใช้ดินสอนนี้ทำอะไรได้บ้าง
แน่นอนผมก็สามารถเอาดินสอนี้ไปเขียนหนังสือได้ ผมจะเขียนอะไร ผมอาจจะเขียนเรื่องราวหรือกลอนที่ใช้เป็นแรงบันดาลใจคนทั้งโลก หรือใครก็ตามที่อยากจะอ่าน หรือผมอาจจะใช้เขียนคำที่เต็มไปด้วยความเกลียดชังให้คนเกิดความแค้น หรือผมอาจจะหยิบดินสอนี้ขึ้นมาแล้วหันปลายแหลมเข้าหาตัวเอง แล้วก็ … ทิ่มคอตัวเองตาย ก็เป็นได้
อุปมาที่น่าขันที่สุดในแนวคิดนี้ คือว่า คนในสังคมโลกของเรา ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหน มีทางเลือกในการใช้ประโยคที่ว่า “เงินไม่ใช่สิ่งสำคัญ” ได้ไม่ต่างกับดินสอที่ผมพูดถึงนี้เลย
คุณสามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่จะทำให้ชีวิตคุณมีแต่ความสุขความสงบ เหมือนกับการเขียนกลอนจรรโลงโลก หรือคุณอาจจะใช้ประโยคนี้ในการฆ่าตัวตายด้วยการเอาปลายแหลมของมันทิ่มคอหรือหัวใจของตัวเองให้สิ้นชีพไปก็ได้
คนที่พูดว่าเงินไม่ใช่ิสิ่งที่สำคัญที่ผมรู้จักในชีวิตมีอยู่สองรูปแบบคือ
หนึ่ง คนที่ทำมาหากินมาหนักสร้างเนื้อสร้างตัวมาจนถึงระดับที่มีเงินมากเสียจนรู้สึกว่า มันไม่ใช่ปัญหาของชีวิตของเขาอีกต่อไป เขากลับรู้สึกว่าการมีเงินมีทองนั้น มันไม่ได้ช่วยให้ชีวิตเขาเติมเต็ม เขารู้สึกว่า ชีวิตมีสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นที่รอให้คนหาอยู่ เช่นการเข้าหาธรรมะ การช่วยเหลือสังคม หรือการหาความตื่นเต้นอื่นๆ
สอง คือคนที่ ทั้งชีวิตไม่มีความพยายามที่จะทำงานหนักอะไร ไม่มีความต้องการที่จะพัฒนาตัวเองอะไร ไม่ยอมแม้กระทั่งจะพยายามดูสักครั้งเพื่อไปถึงสิ่งที่ฝัน แล้วก็เลยสร้างกำแพงล้อมตัวเองในใจ โดยใช้ประโยคว่า “เงินไม่ใช่เรื่องสำคัญ” มาเป็น “ข้อแก้ตัว” ที่ทำให้ตัวไม่จำเป็นต้องพยายาม ไม่จำเป็นต้องประสบความสำเร็จ
บุคคลสองกลุ่มนี้ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หากเปรียบเทียบเป็นยอดยุทธในบู๊ลิ้ม:
บุคคลกลุ่มแรก คือกลุ่มที่ไปถึงจุดสูงสุดแล้วคืนสู่สาัมัญ เขาได้ไปถึงจุดที่มีเงิน มีทอง ประสบความสำเร็จแล้วเขา แน่ใจอย่างชัดเจน ว่าเงิน เป็นเพียงเครื่องมือในการใช้ชีวิตเท่านั้น ไม่มีวันที่ตัวมันเองจะเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตไปได้ แถมยังเป็นเครื่องมือที่ต้องใช้ให้ถูก ถ้าใช้ผิดจะมีแต่ความทุกข์ แต่คนกลุ่มนี้ถ้าถูกรุกราน ก็จะสามารถป้องกันตัวเองและควบคุมการดำเนินชีวิตตัวเองได้เพราะมีวิทยายุทธอยู่
บุคคลกลุ่มที่สองคือคนที่ไ่ม่เคยหัดหมัดหัดมวย คิดว่า หัดไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร ไม่ได้จะไปสู้กับใคร หัดไปประสบความสำเร็จก็มีแต่ความว่างเปล่าแบบที่คนกลุ่มหนึ่งเป็น ก็เลยคิดว่า ไม่ต้องหัดเสียก็ดี แต่พอถึงเวลาที่มีเหตุการณ์ ถูกรุกราน คนกลุ่มนี้ก็จะช่วยอะไรตัวเองไม่ได้
ทำไมเงินจะไม่สำคัญ ทั้งๆ ที่ในโลกปัจจุบันของเราเป็นโลกเศรษฐกิจทุนนิยม
เงินนั้น มีความสำคัญอย่างแน่นอน ในส่วนที่มันมีความสำคัญได้ และเงินนั้นก็ไม่มีความสำคัญแม้แต่น้อยในส่วนที่มันไม่มีความสำคัญได้
เงินเป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ต่างกับฆ้อน หรือ ไขควง เราต้องใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
ถ้าท่านในแง่ดี ก็คือ บริจาค สร้างโรงพยาบาล สร้างสาธารณกุศล สร้างโรงเรียน ก็ว่าไปถ้าท่านในแง่ลบ ก็คือ ฆ่ากัน ทำสงครามกัน
นั่นคือสิ่งที่เงินซื้อได้
แต่เงินไม่สามารถซื้อ ความรัก การให้อภัย การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ความโอบอ้อมอารี
ซึ่งสิ่งเหล่าล้วนแต่เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ และห่างไกลจากเรื่องของเงินมาก ทำให้หลายๆ คนที่อยู่ในกลุ่มที่สอง(กลุ่มแก้ตัว) ยิ่งมีข้อสนับสนุนแนวคิดของตัวเองว่า เงินไม่ใช่เรื่องสำคัญของตน ได้มากขึ้นไปอีก แต่นั่นคือการเอาปากกาทิ่มคอตัวเองตายอยู่ !!
ถ้าท่านใช้ประโยคว่า “เงินไม่มีความสำัคัญ” เป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิต ท่านจะมีจิตใจที่โอบอ้อมอารี รู้จักบริจาค ให้ท่าน มีชีวิตพอเพียง เวลาตายจะไม่กังวลเรื่องทรัพย์สิน เพราะท่านได้ละแล้ว ไม่ยึดติดกับมันแล้ว นั่นคือการใช้ปากกาเขียนกลอนจรรโลงโลก
แต่ถ้าท่านใช้ประโยคว่า “เงินไม่มีความสำคัญ” มาเป็นข้อแก้ตัวในการดำเนินชีวิจของท่าน ท่านก็จะสามารถใช้ประโยคนี้ไป apply กับสิ่งอื่นๆ ได้ เช่น “การส่งลูกเรียนสูงๆ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ” การที่หาเงินให้พ่อแม่เกษียณ ได้ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ การที่จะให้ภรรยาของท่านไม่ต้องทำงานหนก ดูแลลูกอยู่กับบ้าน อบรมลูกให้เป็นคนดี ก็ไม่สำคัญอะไรมาก นั่นคือการใช้ปากกา ทิ่มคอตัวเองตายอย่างชัดเจน
สิ่งที่ผมกำลังพยายามจะพูดถึงคืออะไร
ผมกำลังบอกว่า การจะหยิบดินสอนหรือปากกาขึ้นมาทำอะไรนั้นเป็น “ทางเลือก” ของท่านที่ถือดินสอหรือปากกาอยู่ เพียงคนเดียว
การจะเขียนกลอนหรือบทความ หรือบทเพลงให้คนทั่งโลกนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ท่านต้องหาข้อมูล ฝึกฝนตัวเอง มีจิืตใจที่แนวแน่ มีความพยายามที่จะพัฒนา ซึ่งก็เหมือนกับความตั้งใจในการทำุธุรกิจที่จะหาเงิน ต้องมีจิตใจที่แนวแน่ ไม่ย้อท้อต่อความยากลำบาก ไม่กลัวความเหนื่อย ไม่กลัวที่จะถูกปฎิเสธ เป็นหนทางที่ยากเย็นแสนเข็ญ แต่ราววัลที่ได้รับนั้น หอมหวานมาก และท่านจะไปสู่จุดสูงสุดอันเป็นปรัชญาที่เข้าใจความหมายอย่างแท้จริงของประโยคที่ว่า “เงินไม่สำคัญ” นั้น คืออะไร
แต่การเอาดินสอหันเข้าหาตัวเองแล้วเอา ทิ่มคอตัวเองมันง่าย แค่ยกมือเพียงครั้งเดียว ชีวิตท่านก็จะจบสิ้น ไม่ต่างกับการที่่คนๆ นั้นไม่สนใจที่จะพัฒนาอะไร พูดว่าอยากทำธุีรกิจออกแบบให้ประสบความสำเร็จ แต่ไม่เคยค้นคว้า ไ่ม่เคยศึกษาหาตัวอย่างอะไร แต่ดันเลือกที่จะเป็น “เหยื่อ”
โปรดสังเกตุว่าผมใช้คำว่า “เลือก” ที่จะเป็นเหยื่อ
ผมไม่เชื่อว่าในชีวิตนี้มีใครที่ เกิดมาเป็นเหยื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เข้ามาเป็นสถาปนิกในวงการวิชาชีพอันทรงเกียรตินี้ได้ คนที่กลายเป็นเหยื่อคือคนที่เลือกที่จะเป็นเองลักษณะของเหยื่อ คืออะไร ? เจ้านายของผม Mr.Arthur Danielian ที่เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวงการสถาปัตยกรรมเคยบอกผมไว้ว่า มีสี่อย่าง
1. Blaming หรือ โทษคนอื่น – เหยื่อคือคนที่โทษทุกสิ่งทุกอย่างรอบๆ ตัวเวลาที่ตัวเองไม่ประสบความสำเร็จ โทษลูกค้า โทษสมาคม โทษหัวหน้า โทษลูกน้อง โทษเพื่อนร่วมงาน โทษสภาสาปนิก โทษภรรยา และแน่นอนที่สุด หลายๆ คนโทษพ่อแม่ตัวเองที่เลี้ยงตัวเองมาเป็นแบบนี้้ ปัญหาคือ เหยื่อเหล่านี้ โทษคนทั้งโลกยกเว้นตัวเอง
2. Justifying หรือ แก้ตัว – เหยื่อคือคนที่ไม่ประสบความสำเร็จแล้ว พยายามแก้ตัว ว่าสิ่งที่ตัวเองไม่ประสบความสำเร็จไม่ได้มีความสำคัญเช่น ไม่เห็นจะต้องไปสอบกส ไม่ได้สำคัญอะไร ไม่ต้องไปเรียนเรื่องการตลาด ไม่ได้สำคัญอะไร ไม่ต้องไปเรียนเรื่องการวางระบบเพราะไม่สำคัญอะไร สรุปแล้ว อะไรที่ตัวเองทำไม่สำเร็จ ก็จะบอกว่าไม่สำคัญ เป็นการสร้างเกราะกำบังให้ตัวเอง แทนที่จะยอมรับความไม่สำเร็จตรงนั้นแล้วพยายามใหม่ กลับบอกว่า คนที่ประสบความสำเร็จอยู่นั้นเป็นคนที่หลงทาง ทำอะไรที่ไม่มีความสำัคัญอยู่
3. Complaining – บ่น – นี่คือสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่เหยื่อจะทำได้ พอมีปัญหาอะไรก็บ่น หรือด่า แต่ไม่คิดจะต่อสู้ ไม่คิดจะมานั่งปรึกษาหาวิธีที่จะทำอะไรให้ดีขึ้น พอมีปัญหา ก็ด่าสมาคม ด่าสภา ด่าผู้บริหาร พอบอกให้ส่งจดหมายไปร้องเรียนสักฉบับก็บอกว่า ส่งไปก็ไ่ม่มีประโยชน์ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ลอง สรุปก็คือ ขอให้ได้บ่น การบ่นหรือด่า นั้นเป็นการรวมรวมความเลวร้ายที่เป็นสิ่งไม่ดีในชีวิตเข้ามาหาตนเอง เวลาทีคนเราบ่น เรากำลังพยายามมุ่งเน้นอะไรอยู่? เรามุ่งเนั้นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ในชีวิตเรา ถ้าเราวันๆ เองแต่มุ่งเน้นสิ่งที่ไม่ดีมากๆ เราจะกลายเป็นเหมือนกับแม่เหล็กที่ดูดสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายให้เข้ามามากขึนๆๆๆๆ
4. Back Stabbing หรือ นินทาคนอื่น – เป็นการกระทำที่ไมไ่ด้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรแม้แต่น้อย และเป็นอีกครั้งที่มุ่งเน้นแต่เนื้อหาในแง่ลบของชีวิตเข้ามาใส่ตัว เป็นสี่งที่เสียเวลาในชีวิตมาก แทนที่จะเลือกทำอะไรสักอย่าง ถ้าไม่ชอบคนๆ นี้ ก็ควรจะเลือกว่า หนึ่ง จะไม่คุยกับคนๆ นั้นอีก หรือ สองคือ ทำตัวเ็ป็นศัตรูคู่อาฆาต ต่อสู้ฟาดฟันกับคนๆ นั้นไป แต่ขอร้องว่าทำอะไรสักอย่าง อย่ามัวแต่นั่งนินทา
Mr. Danielian บอกอีกว่า ถ้าท่านอยากจะทำให้ชีวิตท่านกลายเป็นพลังที่มีแต่แง่บวก ขอให้เลิกเป็นเหยื่อเสีย ก็คือ จงงดกิจกรรมสี่ประการในชีิวิตของท่านให้หมดสิ้น ลองดูสัก สองสามอาทิตย เลิก โทษคนอื่น เลิกแก้ตัว เลิกบ่น แล้วก็เลิกนินทา ท่านอาจจะเห็นว่าชีวิตท่านเปลี่ยนไปอย่างไม่น่าเชื่อ
สรุปคือ ปากกาแท่งนี้อยู่ในมือของท่านแล้ว ท่านพร้อมหรือไม่ที่จะเริ่มฝึกตัวเอง ฝึกตัวเองให้หนัก ฝึกให้ตัวเองมีความเหนื่อยยากหรือ Uncomfortable ตั้งแต่วันนี้ เรียนรู้เรื่องการทำการตลาด การวางระบบ การจัดการเรื่องการเงิน เพื่อให้ท่านมีความเจริญเติบโตต่อไปข้างหน้า เพื่อให้ท่าน สามารถเป็นผู้เขียนกลอน หรือบทกวีบรรลือโลก สักวันหนึ่ง และมีประโยคที่ว่า “เงินไม่ใช่เรื่องที่สำคัญ” เป็นปรัชญาประจำตัวของท่าน หรือท่านจะเลือกวิธีง่ายๆ ที่จะเอาปากกาแท่่งนี้ ทิ่มคอตัวเอง ท่านต่อไปๆๆๆ อย่างต่อเนื่อง แล้วก็มีประโยคที่ว่า “เงินไม่ใช่เรื่องสำคัญ” มาเป็นข้อแก้ตัวและพันธนาการที่จะปิดโอกาสในการสร้างความเจริญของท่านไปตลอดชีวิต?:)
เชิญพี่ๆ น้องๆ อภิปรายได้ตามสะดวกต่อจากนี้นะครับ

บทความแปล: นอกจาก Zaha Hadid แล้วยังมี "พวกเธอ": สุภาพสตรีที่เป็นเจ้าของบริษัทสถาปัตย์

ยุค 2000 น่าจะเป็นยุคที่เป็น Power of the Women ใช่มั้ยครับ
เราเคยคิดว่า วิชาชีพสถาปนิกเป็นวิชาชีพของผู้ชายสมัยโน้น ตอนนี้ คณะสถาปัตย์ชั้นนำหลายๆ แห่ง มีผู้หญิงเรียนพอๆ กับผู้ชายแล้ว และอาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ
ใครที่เรียนเก่งที่สุดในชั้นครับ ? ใครที่จด lecture เก่งที่สุด เพื่อนๆ ต้องมาของ Zerox ถ้าไม่ได้เอามานั่งอ่าน หลายๆ คนอาจจะเรียนไม่จบ ก็เพื่อนผู้หญิงของพวกเราใช่มั้ยครับ
นั่นคือความสามารถของพวกเธอ แล้วในระดับความเป็นผู้นำของโลกล่ะ ?
เราได้เห็นสุภาพสตรี ได้กลายมาเป็นผู้นำประเทศยักษ์ใหญ่ อย่างเยอรมันนี กลายมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ กลายมาเป็นรัฐมนตรีกลาโหมของนอร์เวย์ (จริงคนนี้เป็นมาก่อนปี 2000 อีก) เร็วๆ นี้เราอาจจะได้เห็นสุภาพสตรีเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของสหรัฐอเมริกาก็ได้
มาลองดูวงการของเรา ในประเทศเราก็มีสถาปนิกสุภาพสตรีที่เป็น Sole Owner หรือเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว ของบริษัทออกแบบหลายคนแล้วเหมือนกัน
ในสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตกอื่นๆ ก็มีสถาปนิกสุภาพสตรีหลายคนที่เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว และทำการบริหารจัดการกิจการของตัวเองจนเจริญรุ่งเรือง ไม่แพ้ หมายเลขหนึ่งอย่าง Zaha Hadid ที่เป็นที่รู้จักกันดี และแน่นอนว่าไม่แพ้ชายอกสามศอกแต่อย่างใด (บางทีอาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ)
มาลองดูเรื่องราวของหญิงแกร่ง และหญิงเก่งเหล่านี้ เขียนโดย Suzanne Stephens แห่ง Architecture Record ฉบับเดือน ธันวาคมปี 2006 ครับ

ปล.โดยผู้แปลขอร้องว่าอย่ามองกระทู้นี้เป็น กระทู้ Sexist กันเลยนะครับ ไม่ได้ต้องการจะเอาผู้หญิงเพศแม่มาดูถูก หรือ จะเอาผู้ชายแบบพวกเรามาดูถูกเปรียบเทียบอะไรกันเลย เพียงแต่ผมคิดว่าวิชาชีพของเราซึ่ง เรามักจะเห็นคนที่ประสบความสำเร็จดังๆ มักจะเป็นสุภาพบุรุษ บทความนี้ได้สะท้อนมุมมองที่ตรงกันข้ามกับมุมนั้นบ้าง เท่านั้นเองครับ ด้วยความเคารพ

ลองสมมุติว่า ถ้าคุณไม่ใช่คนที่อยู่ในวงการนี้ แล้วลองไปเดินตามท้องถนน หยิบหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารสำหรับคนทั่วไปที่มีตลาดกว้างๆ ขึ้นมาอ่าน คุณอาจจะเข้าใจว่า ในโลกนี้มีสถาปนิกผู้หญิงเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ได้ออกแบบอาคารชั้นนำ ได้โครงการดีๆ ที่น่าสนใจไปทำ ชื่อของเธอก็ไม่ใช่ใครที่ไหน Zaha Hadid นั่นเอง แน่นอนว่าเราก็ต้องให้เครดิตกับเธอหน่อย สถาปนิกที่มีเชื้อสายอิรักซึ่งมีสำนักงานอยู่ในลอนดอนแห่งนี้ ได้นำสีสันอันอลังการเข้ามาสู่วงการของเราได้ไม่น้อย แต่คุณก็อาจจะอดไม่ได้ที่จะถามว่า แล้วสถาปนิกหญิงคนอื่นๆ ล่ะ ไม่มีใครที่มีความสามารถระดับนี้อีกแล้วหรือ มีใครบ้างไหม ที่เป็น แบบ Hadid ที่บริหารจัดการสำนักงานออกแบบด้วยตัวเอง เป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว ในบทความนี้ นิตยสารของเรา (Architectural Record) ได้ตัดสินใจลงลึกไปในประเด็นนี้ โดยสำรวจในกลุ่มของสถาปนิกหญิงในสหรัฐอเมริกา ว่าเรื่องความเป็นเพศหญิงของเธอนั้น ส่งผลใดกับเส้นทางวิชาชีพของพวกเธอกันบ้าง ถ้าถามกลับไปว่า ผู้หญิงมาไกลแค่ไหนในวิชาชีพนี้ ก็อาจจะต้องมองกลับไปในยุคที่ สุภาพสตรีมีการรวมพลังกันอย่างแข็งขัน นั่นคือในยุค 1970s โดยเมื่อปี 1977 ได้มีนิทรรศการที่ชื่อว่า Woman in American Architecture, an Historical and Contemporary Perspective (ขอแปลตรงๆ ว่า มุมมองในประวัติศาตร์และมุมมองร่วมสมัย เกี่ยวกับ สตรีในวงการสถาปัตยกรรมของสหรัฐอเมริกา) จัดขึ้นที่ Brooklyn Museum of Art จัดโดย Susana Torre และให้การสนับสนุนโดย Architectural League of New York งานแสดงครั้งนั้น เป็นที่ตื่นตะลึงไปทั่ว เพราะเป็นการแสดงผลงานอันตระการตาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ของสถาปนิกหญิงที่ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน บางอาคารมีชื่อเสียงมาก แต่ไม่มีใครรู้ว่าคนออกแบบเป็นสุภาพสตรีคำถามก็คือ ในปัจจุบัน เมื่อเวลาผ่านมาได้ 30 ปีพอดี ทุกวันนี้ สุภาพสตรี ยังสร้างความตื่นตะลึงให้กับวงการสถาปัตยกรรมได้มากน้อยแค่ไหน


ในการทำงานครั้งนี้เราได้สัมภาษณ์สถาปนิกสตรีที่มีประสบการณ์ทำงานยาวนาน ด้วยตนเองหรือกับหุ้นส่วนคนอื่นๆ ที่เป็นสุภาพสตรี เราพยายาจะกรองบริษัทที่มีผู้นำเป็นสุภาพสตรี แต่มีหุ้นส่วนต่างๆ เป็นสุภาพบุรุษ นอกเสียจากว่าจะมีการบริหารด้วยสุภาพสตรีมาตลอดจนเพิ่งจะมาเพิ่มบุรุษในตอนหลัง เราไม่ได้ต้องการที่จะมาพิสูจน์ว่า บริษัทที่ดำเนินการด้วยสถาปนิกสุภาพสตรีจะดีกว่าบริษัทที่ดำเนินการด้วยสุภาพบุรุษหรือผสม เราเพียงแต่ต้องการจะหาขอมูลว่า บรรยากาศและรูปแบบต่างๆของบริษัทรูปแบบนี้ เป็นอย่างไร และเราอยากได้แนวคิดและคำแนะนำที่จะมีให้กับนิสิตนักศึกษาสถาปัตย์และสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิตที่เป็นสตรี จากสถาปนิกสตรีผุ้ประสบความสำเร็จเหล่านี้
ในขณะที่เราพยายามหาไปทั่วประเทศ บริษัทที่เข้าตามคุณสมบัติที่เราคิดเอาไว้ส่วนใหญ่จะอยู่ใน มหานครนิวยอร์ค เหตุผลก็น่าจะมาจากสองสามประการ หนึ่งก็คือ มีโรงเรียนสถาปนิกอยู่มากมาย บัณฑิตที่จบมาก็ชอบที่จะอยู่ในเมืองที่มีสีสันแบบนี้ เมื่อมีแรงงานมาก ก็เกิดการแข่งขันมาก ดังนั้นบริษัทที่อยู่รอดและประสบความสำเร็จในการแข่งขัน ก็ต้องนับว่าอยู่ในระดับที่น่าสนใจเพียงพอที่จะนำมาพูดกันในที่นี้
ทุกวันนี้ ในสหรัฐอเมริกา จำนวนสุภาพสตรีที่เป็นสมาชิกของ AIA หรือ American Institute of Architects (คนที่มีใบอนุญาติเท่านั้นจึงจะเป็นสมาชิกได้) ถึงประมาณ 13.3% หรือประมาณ 62400 คน ถ้าหากนับรวม สุภาพสตรีที่มีใบอนุญาติ แต่ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ AIA จำนวนรวมกันของสถาปนิกสตรีที่มีใบประกอบวิชาชีพอาจจะรวมกันได้ถึง 110,000 คน ซึ่งถ้ารวมๆ กันอาจจะดูไม่มากเทียบกับบุรุษ แต่หากดูในแง่ของการเพิ่มจำนวนแล้ว จะเห็นได้ว่ามีความชัดเจนมาก ในปี 1975 ตามสถิติของ AIA สุภาพสตรีที่มีใบประกอบวิชาชีพสถาปนิก มีเพียง 1.2% เท่านั้น แต่พอเข้าปี 1991 กลับมีจำนวนสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาเป็น 9.59% และมี 4.3% ที่เป็นเจ้าของบริษัท และในปี 2006 มีสุภาพสตรีถึง 13% เป็นเจ้าของหรือหุ้นส่วนบริษัท แต่ถึงจะมีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับสัดส่วน 40% ของนิสิตนักศึกษาหญิงที่ศึกษาวิชาสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นระดับปริญญาตรี หรือปริญญาตรีแล้ว ผลที่ออกมาเป็นสิ่งที่ชัดเจนว่า จำนวนบัณฑิตหญิงที่เข้ามาทำงานจริงในวงการออกแบบสถาปัตยกรรมยังมีน้อย


Why do I? – ทำไมพวกเธอถึงตัดสินใจเริ่มทำธุรกิจ
สุภาพสตรีที่เราสัมภาษณ์ทุกคนพูดเหมือนกันหมดว่า การที่เธอตัดสินใจทำธุรกิจด้วยตัวเองเพียงคนเดียวเพราะต้องการอำนาจในการตัดสินใจเพื่อที่จะทำงานออกแบบที่มีคุณภาพได้ ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่เหมือนๆ กับคนที่เปิดสำนักงานใหม่ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม Suman Sorg, FAIA (สมาชิกระดับ Fellowship หรือน่าจะพอเปรียบเทียบได้กับ วุฒิสถาปนิก ในประเทศไทย) เป็นสถาปนิกสุภาพสตรีที่มีสำนักงานขนาด 40 คน ชื่อว่า Sorg and Associates ในเมือง Washington, D.C. เธอพูดว่า “ดิฉันยอมรับว่า ตัวเองเป็นคนที่มีความทะเยอทะยาน ต้องการที่จะพัฒนางานอยู่เสมอ และแน่นอนว่าต้องการอิสระในการออกแบบ”เช่นเดียวกับ Anne Fougeron, AIA ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทขนาด 9 คน อยู่ในเมือง San Francisco “ฉันต้องการพิสูจน์ให้สังคมรู้ว่า การที่สตรีจะดำเนินธุรกิจออกแบบด้วยตัวเองเพียงคนเดียวเป็นสิ่งที่เป็นไปได้” ในบางกรณี ความเห็นก็แตกต่างออกไป เช่น ความเห็นของ Page Ayres Cowley, AIA ซึ่งเป็นเจ้าของสำนักงาน ขนาด 11 คน เธอเคยมีหุ้นส่วนเป็นสุภาพบุรุษมาก่อนที่จะมาเป็นเจ้าของคนเดียว “การเข้าหุ้นกันจะไม่มีทางไปกันได้รอด ถ้าแต่ละฝ่ายมีมุมมองที่ต่างกันในเรื่องของ รายได้เป้าหมาย และเรื่องของนโยบายต่างๆ ในการทำธุรกิจ” แต่ก็มีสุภาพสตรีบางคนที่ เจอหุ้นส่วนที่ดี เช่นในกรณีของ Ann Beha, FAIA ที่เป็นเจ้าของบริษัทขนาด 30 คนใน Boston และได้พบกับ Pamela Hawkes, FAIA โดยทั้งสองชอบที่จะทำงานประเภท Renovation เหมือนๆกัน
สุภาพสตรีหลายๆคนที่จบการศึกษามาจากโรงเรียนสอนสถาปัตยกรรมในช่วงปี 1970s ก็ได้พยายามในการทำธุรกิจของตัวเองมาตลอด บางคนทำเพราะเชื่อมันว่าทำได้ ไม่มีการไปค้นคว้าตลาดแต่อย่างใด บางคนก็พยายามอยู่ให้รอดโดยการทำงานเล็กๆ ที่คนอื่นไม่มีใครทำ บางคนก็แอบทำ ในขณะที่ตัวเองมีงานประจำอยู่ บางคนก็มีคำตอบที่ดีให้กับชีวิตโดยเฉพาะเวลาที่มีลูกว่า การเป็นเจ้าของธุรกิจทำให้เธอจัดเวลาของเธอได้ ทำให้เธอได้เป็นแม่เต็มเวลา และยังทำงานได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังไม่ต้องไปทำงานแข่งกับผู้ชายในสำนักงานใหญ่ๆ ซึ่งก็จะทำให้เธอต้องห่างกับครอบครัว
Katherine McGraw Berry, AIA แห่ง นคร New York เปิดบริษัทออกแบบของเธอเมื่อปี 1985 ในช่วงที่เธอมีลูกชายฝาแฝดสองคน โดยที่เธอลาออกมาจาก Kohn Pedersen and Fox เธอบอกว่า เธอมีความสุขที่ได้ทำงานขนาดไม่ใหญ่มาก มีเวลาใส่ใจกับรายละเอียดและรายได้ที่พอสมควร ไม่มาก แต่ทำให้เธอแบ่งเวลาให้กับทุกๆ มิติในชีวิต Heather McKinney, AIA แห่งเมือง Austin รัฐ Texas กล่าวว่า “เวลาที่ลูกเราโตขึ้นมา เธอใช้เวลากับการดูแลครอบครัวไปมาก หลายๆ คนที่ออกไปทำงานส่วนตัว จะไม่มีประสบการณ์มากพอที่จะไปทำงานระดับใหญ่ หรือระดับซับซ้อน ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะก้าวหน้าในวิชาชีพ” แต่สิ่งที่เราคนพบ กับบริษัทที่ประสบความสำเร็จซึ่งดำเนินการโดยสุภาพสตรีในบทความนี้ สถาปนิกสตรีเกือบทุกคนที่เราได้พูดคุยก็มีครอบครัวและมีลูก เช่นนกรณีของ Beha เธอมีลูกสองคน ซึ่งเธอให้ความเห็นว่า “ก็เป็นงานที่ยากลำบากอีกชิ้นหนึ่งที่เข้ามาในชีวิตเท่านั้นเอง”


สุภาพสตรีหลายๆคนที่จบการศึกษามาจากโรงเรียนสอนสถาปัตยกรรมในช่วงปี 1970s ก็ได้พยายามในการทำธุรกิจของตัวเองมาตลอด บางคนทำเพราะเชื่อมันว่าทำได้ ไม่มีการไปค้นคว้าตลาดแต่อย่างใด บางคนก็พยายามอยู่ให้รอดโดยการทำงานเล็กๆ ที่คนอื่นไม่มีใครทำ บางคนก็แอบทำ ในขณะที่ตัวเองมีงานประจำอยู่ บางคนก็มีคำตอบที่ดีให้กับชีวิตโดยเฉพาะเวลาที่มีลูกว่า การเป็นเจ้าของธุรกิจทำให้เธอจัดเวลาของเธอได้ ทำให้เธอได้เป็นแม่เต็มเวลา และยังทำงานได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังไม่ต้องไปทำงานแข่งกับผู้ชายในสำนักงานใหญ่ๆ ซึ่งก็จะทำให้เธอต้องห่างกับครอบครัว
Katherine McGraw Berry, AIA แห่ง นคร New York เปิดบริษัทออกแบบของเธอเมื่อปี 1985 ในช่วงที่เธอมีลูกชายฝาแฝดสองคน โดยที่เธอลาออกมาจาก Kohn Pedersen and Fox เธอบอกว่า เธอมีความสุขที่ได้ทำงานขนาดไม่ใหญ่มาก มีเวลาใส่ใจกับรายละเอียดและรายได้ที่พอสมควร ไม่มาก แต่ทำให้เธอแบ่งเวลาให้กับทุกๆ มิติในชีวิต Heather McKinney, AIA แห่งเมือง Austin รัฐ Texas กล่าวว่า “เวลาที่ลูกเราโตขึ้นมา เธอใช้เวลากับการดูแลครอบครัวไปมาก หลายๆ คนที่ออกไปทำงานส่วนตัว จะไม่มีประสบการณ์มากพอที่จะไปทำงานระดับใหญ่ หรือระดับซับซ้อน ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะก้าวหน้าในวิชาชีพ” แต่สิ่งที่เราคนพบ กับบริษัทที่ประสบความสำเร็จซึ่งดำเนินการโดยสุภาพสตรีในบทความนี้ สถาปนิกสตรีเกือบทุกคนที่เราได้พูดคุยก็มีครอบครัวและมีลูก เช่นนกรณีของ Beha เธอมีลูกสองคน ซึ่งเธอให้ความเห็นว่า “ก็เป็นงานที่ยากลำบากอีกชิ้นหนึ่งที่เข้ามาในชีวิตเท่านั้นเอง”
สุภาพสตรีส่วนใหญ่ที่เราได้สัมภาษณ์มาจาก รุ่นที่จบการศึกษาในยุคปลาย 1970s และต้น 1980s ส่วนใหญ่ทำธุรกิจด้วยตัวเองมาประมาณ 10-20 ปีแล้ว ขนาดของบริษัทก็มีตั้งแต่ทำงานคนเดียวไปจนถึง 40 คน โดยในประวัติของบริษัทก็จะมีพนักงานอยู่ประมาณ 20-30 คน บริษัทส่วนใหญ่มีสถาปนิกและนักออกแบบ (ไม่มีใบอนุญาติ แต่ได้รับมอบหมายงานให้ออกแบบ) สถาปนิกคนหนึ่งที่เราได้สัมภาษณ์คือ Sophia Guruzdys, AIA ซึ่งเคยทำงานให้กับ Pei Cobb Freed มาก่อน (พัฒนามาจากสำนักงานส่วนตัวของ I.M.Pei) ซึ่งเธอได้บอกว่า Harry Cobb หนึ่งในหุ้นส่วนได้เป็นคนสนับสนุนให้เธอออกมาทำเอง โดยส่วนตัวเธอบอกว่า เธอไม่ชอบทำงานให้กับเจ้านาย โดยที่เธอไม่มีส่วนร่วมในการควบคุมอะไรในโครงการนั้นเลย แน่นอนว่า การที่เธอออกมาก็มีข้อเสียคือ ในช่วงแรกที่เปิดสำนักงานในปี 1988 นั้น เธอต้องรับโครงการที่เธอไม่ได้อยากทำเลย แต่ต้องรับเพื่อให้มีรายได้
Gisue and Mojgan Hariri (น่าจะเป็นคนเชื้อสายอิหร่าน – ผู้แปล) สองสาวพี่น้องที่ทำงานด้วยกันมาตั้งแต่ปี 1986 ได้แนวคิดที่จะทำงานด้วยกันหลังจากที่ได้ไปเยี่ยมชมโครงการของบรีษัท Greene and Greene ในเมือง Pasadena, California “ถ้าหากว่าพี่น้องผู้ชายสองคนเขายังทำได้ พวกเราเลยคิดว่าพวกเราก็น่าจะทำได้เหมือนกัน”
อีกรายคือ Robin Elmslie Osler เธอเติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมของสถาปัตยกรรม พ่อของเธอเป็นเจ้าของบริษัทสถาปัตย์และลุงของเธอเป็นหุ้นส่วนของ Purcell & Elmslie ที่มีชื่อเสียง แห่งเมือง Minneapolis แม้ว่าเธอจะมีอาชีพเป็น นางแบบแฟชั่นมาก่อน แต่ประสบการณ์ที่เธอเคยอยู่ใกล้ชิดกับพ่อโดยเฉพาะได้เห็น site ก่อสร้างทำให้เธอตัดสินใจเข้าเรียนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ Yale และจบการศึกษาในปี 1990 เธอเปิดบริษัทของเธอเองชื่อว่า EOA/Elmsilie Osler Architects ในปี 1996 ปัจจุบันมีพนักงาน 8 คน ซึ่งงานส่วนใหญ่ที่เธอได้นั้น มาจากคนที่เธอรู้จักในวงการแฟชั่น แต่พอเวลาที่เธอได้ทำงานไปเรื่อยก็มีฐานลูกค้ามากขึ้น ล่าสุดลูกค้าที่เธอได้นั้น มาจากการส่งต่อโดย Richard Gluckman, FAIA แห่งสำนักงาน Gluckman Mayner ณ มหานคร นิวยอร์ค


Getting Clients
สำหรับสถาปนิกผู้หญิงการออกเดินสายหาลูกค้าเพื่อทำโครงการไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ส่วนใหญ่จะได้รู้จักกับลูกค้าตอนที่ทำงานในสำนักงานใหญ่ๆ ก่อนที่จะออกไปทำเองแล้วลูกค้าตามไปจ้าง หลายๆ คนต้องใช้วิธีที่ค่อนข้าง aggressive หรือ ถึงลูกถึงคน เช่นในกรณีของ Wendy Evens Josephs, FAIA ซึ่งมีโอกาสได้ตั้งสำนักงานขนาดหกคนของตัวเองในปี 1996 เพราะได้โครงการ สะพานคนข้ามของมหาวิทยาลัย Rockefeller ใน นคร นิวยอร์ค โดยที่มาของการได้โครงการนี้ก็มีอยู่ว่า ในคืนวันหนึ่งที่เธอกำลังรับประทานอาหารในงานสังคมงานหนึ่ง อธิการบดีของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้อยู่ในที่งานนี้ด้วยและอธิบายถึงปัญหาการขาดแคลนงบประมาณในการสร้างสะพานให้เธอฟัง เธอได้นำเสนอแผนการคร่าวๆ ให้อธิการบดีฟังทันที ด้วยความมีประสบการณ์อันมากมายมาจาก การออกแบบ Holocaust Museum ใน นครวอชิงตัน ดีซี สมัยที่ทำงานให้กับ Pei Cobb Freed โดยเธอมีทีมวิศวกรที่ใกล้ชิดและเด็กดร้าฟที่ทำงานที่โต็ะกินข้าวที่บ้านของเธอ แล้วต่อมาเธอก็ได้งานนี้ไป (ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน คงจะง่ายเพราะเป็นการตัดสินใจของ Board แต่ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ โอกาสที่จะได้งานแบบ Unsolicited proposal แบบนี้ น้อยมาก เพราะถ้า Board ส่ง proposal เข้าที่ประชุมแล้วสรุปโดยไม่มีการเปิดประมูลสาธารณะ ก็อาจจะโดนประชาชนผู้เสียภาษี ซึ่งมีสถาณภาพเหมือนผู้สนับสนุนกิจการของมหาวิทยาลัย ฟ้องร้องได้ – ผู้แปล)

Andrea Leers, FAIA และ Jane Weinzapfel, FAIA เปิดสำนักงานส่วนตัวในเมือง Boston ในปี 1982 ซึ่งเน้นความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบสาธาณูปโภคหรืองานเทคนิคระดับซับซ้อน เช่น หอควบคุมระบบการขนส่งทางน้ำของ Massachusetts Bay Transportation Authority เป็นต้น Leers กล่าวว่า “เราได้งานในตลาดที่ค่อนข้างไม่หวือหวา และมีงบประมาณที่จำกัดมาก เป็นโครงการที่บริษัททั่วๆไปไม่ค่อยสนใจ ซึ่งก็เป็นข้อดีสำหรับเรา เพราะเราจะไม่ค่อยถูกกระทบมากจากวงจรเศรษฐกิจที่มีขึ้นมีลง” อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ เรื่องเกี่ยวกับความเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายนั้นแทบจะไม่มีความหมาย โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกานั้น โครงการของรัฐนั้นมีระบบพิเศษที่จะช่วยเหลือกลุ่มที่ถือว่า “ด้อยโอกาสในสังคม” หรือที่เรียกว่า Minority ซึ่งธุรกิจที่มี สุภาพสตรีเป็นเจ้าของก็เป็นหนึ่งในนั้น ตัวอย่างเช่น นคร New York City ต้องการหาบริษัทที่มีผู้หญิงล้วนมาทำโครงการของรัฐ (เป็นการสร้างภาพทางการเมือง ในสหรัฐ การสร้างภาพเพื่อให้ตัวเองดูมีมุมมองที่กว้างขวาง ช่วยเหลือกลุ่มที่ด้อยโอกาสในสังคม เช่น คนดำ หรือสุภาพสตรีนั้น เป็น การรับประกันว่านักการเมืองจะได้ คะแนนเสียงจากคนกลุ่มนี้ไปในตัว) ตัวอย่างของ สถาปนิกกลุ่มนี้ได้แก่ Karen Bausman AIA และ Beyhan Karahan AIA ซึ่งแต่ละคนมี พนักงาน 11 และ 15 คนตามลำดับ ได้มีชื่อบริษัทของตัวเองอยู่ในบัญชีสถาปนิกของ นคร New York’s design excellence program ที่เป็นโครงการจากผู้ว่า Michael Bloomberg (http://www.archpaper.com/news/2007_0404.htm) ในแผนก ออกแบบและก่อสร้าง


อีกประการหนึ่งทีสถาปนิกหญิงพบในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาคือ การเพิ่มจำนวนของลูกค้าที่เป็นสุภาพสตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลูกค้ากลุ่มที่มาจากสถาบันการศึกษา สถาบันทางวัฒนธรรมต่างๆ และภาครัฐ Andrea Leers ได้กล่าวว่า “การที่เราเป็นผู้หญิงนั้นเป็นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับลูกค้าที่ใจกล้า ที่จะลองรับการบริการวิชาชีพจากเรา” แต่ Gisue Hariri ก็ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับ คณะกรรมการคัดเลือกสถาปนิกในองค์กรสำคัญๆ ว่า “ถ้าในกรรมการนั้น ไม่มีผู้หญิงอยู่เลย ก็จะไม่มีสถาปนิกหญิงได้รับเลือกเช่นกัน ส่วน Diane Lewis, AIA ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทขนาด 11 คนในนิวยอร์คก็ได้กล่าวว่า “บริษัทของดิฉันจะดึดดูดลูกค้าที่ค่อนข้างจะมีความรู้ และมีรสนิยมทางศิลปะมากหน่อย” งานของเธอนั้นเป็นประเภท Art Gallery, Charter School และห้องพัก (Loft) ของ Mark Wigley คณะบดีของ Graduate School of Planning and Preservation แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
แต่ถ้าเป็นลูกค้าที่เป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นั้นจะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง การได้งานจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่น้นเป็นได้ยากมากสำหรับสถาปนิกสตรี Deborah Berke, AIA ซึ่งเป็นเจ้าของสำนักงานขนาด 25 คน ได้กล่าวว่า “นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่โทรหาเรานั้น มักจะเป็นคนที่มีจิตใจเิปิดกว้างอยู่แล้ว” Julie Snow, FAIA ซึ่งเป็นเจ้าของสำนักงานขนาด 15 คนในเมือง Minnesota ในความเห็นว่า ลูกค้าบางคนนั้นไม่ค่อยจะรู้สึกสบายใจที่จะทงานกับผู้หญิง “แต่ที่เราได้งานส่วนใหญ่จากลูกค้าที่เป็นผู้ชายนั้น จะเป็นเพราะพวกเขาต้องการมุมมองของผู้หญิงที่อยากให้เขาไปอยุ่ในงานออกแบบ” Audrey Matlock, AIA ที่ีมีสำนักงานขนาด 12 คน ได้กล่าวว่า ถ้าเราไม่ได้งานนั้นมาทำกับมือ เราก็จะไม่รู้ว่าเรื่องความเป็นผู้หญิงของเรานั้นเกี่ยวข้องกับประเด็นที่เขาเลือกเราให้ทำงานกับเขาหรือไม่ ณ ปัจจุบัน เธอกำลังออกแบบโครงการ ศูนย์กีฬา และคฤหาสน์ ขนาดใหญ่ในประเทศคาซัคสถาน ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับผ่านมาทาง Skidmore Owings & Merril (SOM) นายจ้างเก่าของเธอ
Ronnette Riley, FAIA เปิดสำนักงานในนิวยอร์คตั้งแต่ปี 1987 มีจำนวนพนักงานไม่เกิน 14 คน พบว่าการทำงานกับบริัษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นเรื่องที่ยากเพราะ เป็นคนที่ค่อนข้างจะอนุัรักษ์นิยม และชินกันการเสี่ยง พวกเขามักจะชอบทำงานกับคนที่คุยภาษาเีดียวกับเขา แต่เธอก็เล่าให้ฟังว่า เธอได้งานจากลูกค้าคนหนึ่งเพราะรถที่เธอซื้อมาขับ (BMW 645 CI) เขาหยุดแล้วถามเธอเกี่ยวกับรถที่เธอขับว่าเป็นอย่างไรบ้าง แล้วการสนทนาก็เิ่ริ่มมาจากตรงนั้น Alison Spear, AIA มีสำนักงานขนาด 6 คนในเมือง Miami รัฐ Florida ชอบทำงานกับ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มาก เธอชอบความกดดันในการทำงาน เธอกล่าวว่าทำให้เธอรู้สึกสนุกกับมัน เธอเพิ่งจะออกแบบโครงการคอนโดมิเนียมขนาด 12 ชั้นเสร็จ โดยเป็นโครงการของบริษัท Aqua บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชื่อดัง เธอทำงานออกแบบภายใน ร่วมกับการออกแบบสถาปัตยกรรมด้วย เธอกล่าวว่า นี้เป็นสิ่งที่ลูกค้าเธอชอบเพราะไม่ต้องไปหานักออกแบบหลายๆ คน มาหาเธอคนเดียวแล้วจบ


The Press
การได้รับตีพิมพ์เป็นสิ่งสำคัญ แต่คุณจะให้สื่อต่างๆ มาสนใจคุณได้อย่างไรเวลาที่คุณเพิ่งเิริ่มเปิดกิจการ ก็มีหลักๆ สองอย่างที่จะดึงความสนใจสื่อได้คือ ประเภทของโครงการกับลูกค้าที่มีชื่อเสียง Spear ได้รับการตีพิมพ์เยอะมากในโครงการ loft ที่เธอทำเมื่อ 20 ปีก่อน ให้กับ Jay McInerney (นักเขียนชื่อดัง) ซึ่งเป็นลูกค้าที่เธอได้พบจากเครือข่ายศิลปินของ National Arts Club เธอจบการศึกษาจาก Cornell และตัดสินใจเข้าทำงานกับ Juan Pablo Molyneux ซึ่งเป็นมัณฑนากร เธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับ antiques การให้สี และ fabric ต่างๆ มากมาย ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับเธอ เทียบกับการเรียนสถาปัตยกรรมที่มีแต่ขาวกับดำ เธอเชื่ออยู่เสมอว่าตัวเองเป็นสถาปนิก แต่ทำงานออกแบบมัณฑนากร แต่สื่อมักจะคิดว่าเธอเป็น มัณฑนากรหรือ เรียกเธอว่า Decorator ในกรณีของ Jennifer Luce, AIA ผู้ทำธุรกิจออกแบบ ทั้งงาน Landscape และ งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ด้วยสาเหตุที่บริษัทของเธอมีสุภาพสตรีทำงานอยู่ถึง 75% ทำให้สื่อคิดว่าบริษัทของเธอเป็นบริษัทมัณฑนากร ล่าสุดงานของเธอ Nissan Design America Building ใน ดีทรอยต์ และ Nissan Design Studio ที่ La Jolla ในแคลิฟอร์เนีย น่าจะทำให้ภาพพจน์ตรงนี้ลดลง แต่เธอก็บอกว่ายาก เพราะเธอเป็นคนที่ใส่ใจในทุกรายละเอียดในงานของเธอ (ตีความว่าเป็นนิสัยของ Interior Designer )

สถาปนิกแห่ง มหานครนิวยอร์คอีกคนชื่อ Annabelle Selldorf, AIA ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยมีปัญหาในการได้รับความสนใจจากสื่อสักเท่าไหร่ ส่วนหนึ่งเพราะลูกค้าที่เป็นคนที่มีชื่อเสียงในวงการศิลปะของเธอ งานออกแบบของเธอส่วนใหญ่จะเป็นที่อยู่อาศัยของคนกลุ่มนี้ หรือไม่ก็ออกแบบ Art Gallery เช่น Museum of German and Austrian Art ในแมนฮัตตัน “ดิฉันเริ่มต้นจากการทำงานปรับปรุงห้องครัวเล็กๆ ในปี 1989” ปัจจุบันบริษัทของเธอมีพนักงาน 33 คน และได้รับงาน ที่สำคัญอย่าง Urban Glass House ออกแบบโดย ฟิลลิป จอห์นสัน เธอเลยได้ใช้โครงการนี้ไปในการทำการตลาดให้กับบริษัทของเธอ และดึงดูด สื่อไปโดยปริยาย ส่วน Lindy Roy เจ้าของสำนักงานชื่อ ROY ก่อตั้งในปี 2000 มีพนักงานเฉลี่ยประมาณ 10 คนได้กล่าวว่า ในปี 2001 สำนักงานของเธอได้รับเลือกให้ออกแบบ Courtyard ใน PS1 Contemporary Art Center ในเขต Long Island City ของนิวยอร์ค โดยเป็นส่วนหนึ่งของ MoMA/P.S.1 Young Architects Program “สื่อที่มาทำข่าวครั้งนั้น เป็นผลดีกับดิฉันมาก มีลูกค้าใหม่ๆ หลายคนโทรติดต่อเข้ามา” Roy เป็น สถาปนิกจาก อัฟริกาใต้ จบการศึกษาจาก Columbia University ผู้ออกแบบ Andre’ Balasz’s Hotel QT ซึ่งเป็น อาคารสำนักงานเก่าในย่าน Time Square ในปี 2005

Thursday, March 01, 2007

บทความแปล: Designer Compensation: How Important is Money, Really? เงินเดือนคือ ประเด็นหลักจริงหรือ?

หลายๆ คนที่เป็นผู้บริหารองค์กร คิดว่าการให้เงินเดืนอที่ดี เป็นสิ่งที่จะดึงดูดพนักงานเป็นอันดับหนึ่งให้อยู่ในองค์กรของท่าน บทความของ Robert Smith ชิ้นนี้อาจจะเพิ่มมุมมอง และประเด็นที่น่าสนใจบางอย่างให้กับการบริหารการจ่ายเงินเดือน และประเด็นข้างเคียงเกี่ยวกับการที่จะทำให้คนอยากทำงานกับองค์กรของท่าน

ในยุคที่เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างมีแบบแผนมากขึ้น และอาชีพการงานต่างๆ ก็ขยายตัวปลีกย่อยออกไป สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่คือการค้นหาความหมายของสิ่งที่ดึงดูดพนักงานที่มีคุณภาพสิ่งที่บริษัทออกแบบต้องต่อสู้เสมอคือการหาบุคลากรที่มีคุณภาพและรักษาไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ Compensation (ผลตอบแทน) จึงเป็นสิ่งที่ต้องหยิบยกขึ้นมาคุยอยู่เสมอคนทั่วไปจะคิดว่า Compensation นั้นเป็นเรื่องของ เงินเดือน และผลตอบแทนอื่นๆ ที่ตามมาเป็นเรื่องรองๅลงไป ด้วยเหตุผลนั้น ทำให้คนที่เป็นเจ้าของกิจการต้องพยายามที่จะตั้งอัตราเงินเดือนไว้ในระดับที่เหมาะสม ที่จะแข่งกับบริษัทอื่นๆ ได้ แต่ถึงเงินเดือน และผลตอบแทนอื่นๆ เช่น ประกันสุขภาพ จะสำคัญอย่างไร ทั้งส่องอย่างก็ไม่ควรเป็นเพียงสองสิ่งที่เจ้าของบริษัทให้ความสนใจเท่านั้น ในการตัดสินใจที่จะเข้าทำงานในบริษัทแห่งหนึ่ง คนๆนั้นจะค่อยๆ นั่งคิดถึงความสลับซับซ้อนของความต้องการส่วนตัว สิ่งที่เป็นระดับชั้นของความต้องการ (Hierarchy of needs) เป็นสิ่งที่มีระดับความละเอียดอ่อนแตกต่างกัน ตั้งแต่ความหิวต้องการเงินไปซื้ออาหาร ความตื่นเต้น ละความชอบสิ่งละอันพันละน้อยเล็กๆ ที่ได้พบเห็นในบริษัทนั้นๆ ซึ่งความต้องการต่างๆ เหล่านี้ ส่วนใหญ่แล้ว ไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่อง เงินเดือน หรือ ผลตอบแทนอื่นๆ (Salary and Benefits) สักเท่าใด

ตามทฤษฎีของ มาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy) นั้น เืมื่อมนุษย์ได้ประสบความสำเร็จในปัจจัยแต่ละขั้น “ความพึงพอใจ” อาจจะไม่ได้เป็นผลที่เกิดขึ้นโดยเสมอไป แต่อาจจะกลายเป็นความทะยานอยากที่จะก้าวไปสู่ขั้นต่อไป แทนที่ตัวอย่างเช่น เืมื่อสถาปนิกคนหนึ่ง ได้รับความสุขสบายทางร่างกาย (ปัจจัย 4) แล้วก็มีความปลอดภัย (มีเงิืนในธนาคาร มีบ้าน มีประกันชีวิต - จริงๆ แล้ว มาสโลว์ รวมความต้องการพื้นฐานไปถึงเรื่องการมี sex แบบสม่ำเสมอด้วย แต่เราไว้ว่ากันเื่รื่องนี้นอก web ดีกว่าครับ เดี๋ยวจะโดน censor) ระดับต่อไปที่ต้องการก็จะเป็นสิ่งที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น ต้องการอยู่กับบริษัทที่มีชื่อเสียง แล้วพอได้อยู่แล้ว ก็อาจจะอยากได้ตำแหน่งหน้าที่ๆ ดี เป็นระดับ project manager พอได้แล้ว ก็อยากจะขึ้นเป็นผู้บริหาร เป็นต้น (ฟังดูเหมือนพระพุทธเจ้าตรัสเกี่ยวกับตัณหาขั้นละเอียด)

ท่ามกลางระดับความต้องการในชีวิตมนุษย์ที่มาสโลว์ มีเพียงไม่กี่ข้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเงินตอบแทนจากการทำงาน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เงินเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทุกคนทราบ เพราะเงินนำไปใช้ืซื้อความสะดวกสะบายได้ ทำให้เกิดความมั่นคงในชีวิตได้ (เงินประกัน หรือเงินฝากสะสมสำหรับเวลาเกษียณ) หรือแม้กระทั่งเอาไปใช้ซื้อความโก้เก๋ เช่นการซื้อรถ BMW หรือบ้านสวยๆ ริมทะเล (มากกว่าการที่จะมีรถธรรมดาเพื่อไว้ใช้ หรือบ้านถูกๆ ไว้อยู่)นั่นคือระดับหยาบถ้าพูดถึงความพึงพอใจในระดับละเีอียดแล้ว มาสโลว์ แสดงให้เห็นน้อยมากถึงความเชื่อมโยงโดยตรงกับเงินทองค่าตอบแทนในการทำงาน แต่ความพึงพอใจกลับเข้าไปอยู่ในเรื่องของกิจกรรมในการทำงานและบรรยากาศของที่ทำงานเสียมากกว่า

Self-Actualization (การยอมรับนับถือในตัวเอง) อาชีพนักออกแบบที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีเรื่องตลกที่เกี่ยวข้องด้วยมากมาย หนึ่งในนั้นคือ “นี่ คุณสถาปนิก ถ้าคุณได้รับรางวัลล๊อตเตอรี่ หนึ่งล้านเหรียญคุณจะทำอะไรกับชีวิตคุณต่อไป”“อ้อ ผมก็ คงจะทำงานเป็นสถาปนิกไปเรื่อยๆ จนกว่าเงินจะหมดล่ะครับ”ถ้าเรื่องตลกนี่ไม่ค่อยตรงกับความจริง เราก็คงจะได้หัวเราะกับหงายหลัง แต่บังเอิญว่ามันกลายเป็นสิ่งที่เราขำไม่ออกเพราะัมันเป็นเรื่องจริง มีหลายครั้งที่นักออกแบบมืออาชีพอย่างพวกเรา คิดถึงเรื่องสถาณที่ๆอยากทำงานด้วย หรือแนวทางการออกแบบของสถาณที่ๆเราทำงานด้วยมาก่อนเรื่องเงินทอง ลองดูว่า ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นเรื่องจริงที่เราคุ้นเคยกันหรือไม่ (อาจจะไ่ม่เกิดขึ้นบ่อยในประเทศไทย แต่ในสหรัฐอเมริกานี่คือเรื่องปกติ)1. นักออกแบบที่ดีๆ เก่งๆ วิ่งข้ามไปข้ามมาระหว่างoffice หลายๆ รอบเพื่อเิพิ่มเงินเดือนให้ตัวเอง แต่ในที่สุดก็จบลงที่ยอมรับเงินเดือนน้อยลงแต่ได้ทำงานกับ office ที่ให้อิสระกับเขาในการออกแบบและการทำงานมากหน่อย2. นักออกแบบที่เก่งๆยอมที่จะอดอยาก ได้เงินเดือนน้อยมาก เพื่อให้ได้มีส่วนร่วมกับการออกแบบโดยตรง (มากกว่างานทำแบบก่อสร้าง บริหารก่ารก่อสร้าง งานเก็บกวาดข้อผิดพลาด งานการตลาด และอื่น) 3. สถาปนิกที่เก่งๆ ยอมที่จะทำงานเกินงบประมาณเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีออกมาสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละข้อนั้น เป็นสิ่งที่สะท้อนความรับผิดชอบอันสูงสุดของพวกเรา ที่ต้องการที่จะไปสู่ยอดพีระมิดของมาสโลว์ หรือ การยอมรับนับถือในตัวเอง (Self Actualization – น่าจะแปลว่าความภูมิใจก็ได้ แต่ล้ำลึกกว่านั้นอีกหน่อย)มาสโลว์ได้ยกตัวอย่างไปถึงนักดนตรีว่า“นักดนตรีก็ต้องเล่นดนตรี นักวาดภาพก็ต้องวาดภาพ กวีก็ต้องแต่งกลอน ถ้าหากเขาต้องการเกิดความสงบในจิตใจ เขาก็ต้องทำสิ่งเหล่านี้ คนที่เกิดมาเพื่อเ็ป็นอะไรสักอย่างก็ต้องเป็นไปตามที่เขาเชื่อมั่นที่จะเป็นไป นั่นล่ะ คือ ความยอมรับนับถือในตนเอง หรือจะเรียกอีกอย่างได้ว่า เป็นความปราถนาที่จะเติมชีวิตให้เต็ม”พวกเราที่เป็นนักออกแบบอาจจะมีปัญหาเรื่องการยอมรับนับถือในตนเองน้อยกว่าวิชาชีพอื่นๆ เพราะการยอมรับนับถือในตัวเองเป็นคุณลักษณะทางจิตใจที่สิ่งที่ สำคัญมาก สำหรับวิชาชีพของเรา แนวความคิดที่ว่า “นักออกแบบต้องออกแบบ” กลายเป็นสิ่งที่มีผลกระทบกว้างขวางมากต่อการตั้งระดับเงินเดือน และการบริหารจัดการสำนักงานออกแบบโดยรวม

เรื่องตลกเกี่ยวกับ เงินๆ ทองๆในรอบหลายๆ ปีที่ผ่านมา ผม(Robert Smith) ได้ทำการหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นที่ปรึกษาในการจัดระบบบริหารให้กับบริษัทออกแบบทั้งหลาย และในเกือบทุกครั้งเวลาที่เข้าไปทำการตรวจสอบหาข้อมูลในสำนักงานของลูกค้ารายใหม่ ผมต้องเจอกับคำเรียกร้องของพนักงานในเรื่องค่าตอบแทน แต่หลังจากที่ได้ทำการค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับค่าตอบแทนแล้ว ส่วนใหญ่ผมจะพบว่า บริษัทหลายๆ แห่งก็ให้ค่าตอบแทนที่ Competitive (แปลตรงๆ ว่าพอแข่งขันในตลาดได้ หรือพอๆ กับบริษัทอื่น) สิ่งที่น่าสนใจคือสิ่งที่พนักงานเห็นว่าเป็นปัญหาหลักไม่ใช่เงินเดือน แต่เป็นบรรยากาศของการทำงานในสำนักงานมากกว่า เงินค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียวไม่สามารถมาชดเชยเรื่องเกี่ยวกับ “บรรยากาศที่ไม่ดีในสำนักงาน” หรือ “สภาวะไร้โอกาสก้าวหน้าในทางการงาน”ได้ การที่พนักงานสักคนจะเข้ามาทำงานในที่ใดที่หนึ่งเพราะเห็นผลเรื่องเงินเดือนเพียงอย่างเดียวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นน้อยมาก ถ้ากลับไปมองที่ Maslow’s Hierarchy จะเห็นว่า ผู้บริหารของสำนักงานต้องเน้นไปในการพัฒนา “ประสบการณ์ที่พนักงานได้รับจากการทำงานในที่ทำงานของท่าน” เพราะนั่นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้พนักงานคนใดคนหนึ่งเลือกที่จะทำงานกับท่าน

ผลตอบแทนที่นอกเหนือจากเงิน เป็นสิ่งที่ทีมบริหารบริษัทต้องนำมาพิจารณาเป็นเรื่องหลัก ผลตอบแทนเหล่านี้มีได้หลายแนวทางมากอาจจะใช้้คำนิยามของผลตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงิน และไม่สามารถวัดเป็นปริมาณได้ดังกล่าวว่า “รายได้ทางใจ” หรือ Psychic Income (ขอร้องตรงนี้ว่าอย่าเอาไปใช้เป็นมุขกวนๆ เวลาที่ลูกน้องมาขอเงินเดือนขึ้นละกันนะครับ ผมแปลเอาตรงตัวเท่านั้นเอง) คือเป็นสิ่งตอบแทนที่ทำให้ลูกน้องของท่านรู้สึกมีขวัญและกำลังใจที่จะทำงานในองค์กรของท่าน ซึ่งเป็นเรื่องที่แทบจะไ่ม่เกี่ยวข้องกับเม็ดเงินที่เขาได้ทุกเดือนเลย Robert Smith เสนอให้ผู้บริหารทั้งหลายถามคำถามที่จะเป็นตัวนำการสร้าง “รายได้ทางใจ” ดังกล่าวที่เหมาะสมสำหรับสำนักงานของท่านในการดึงดูดพนักงานระดับคุณภาพ1. วัฒนธรรมของสำนักงานของท่านเป็นอย่างไร (Culture of the Office)2. ลักษณะของโครงการที่ท่านทำเป็นอย่างไร (Project Characteristics) 3. ระบบการทำงานของการผลิดผลงานเป็นอย่างไร (Nature of the Process) 4. บรรยากาศในการทำงานเป็นอย่างไร (Working Conditions)5. ที่ตั้งของสำนักงานของท่าน (Location of the Office)ขยายความได้ดังนี้

1. วัฒนธรรมของสำนักงานของท่านเป็นอย่างไร (Culture of the Office)- บริษัทของท่านมีนโยบายอย่างไรในเรื่องเกี่ยวกับการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นการคบเป็นส่วนตัว(Personal) หรือเป็นความสัมพันธ์แบบเพื่อนร่วมงาน(Professional)มากกว่ากัน - มีการสนับสนุนเส้นทางวิชาชีพของเขาหรือไม่ มีการแนะแนวหรือไม่- มีการแนะแนวการสร้างความสมดุลย์ระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวหรือไม่ อย่างไร - คำว่า “งาน” สำหรับบริษัทของท่าน มีความหมายอย่างไร 2. ลักษณะของโครงการที่ท่านทำเป็นอย่างไร (Project Characteristics) - โครงการต่างที่บริษัทของท่านมีอยู่ในมือนั้น หลากหลายพอที่จะทำให้คนไม่เบื่อหรือไม่- คุณภาพของงานที่ท่านได้ทำออกไปให้สาธารณะได้เห็นนั้น ดีพอที่สมาชิกในบริษัทของท่านจะรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรหรือไม่- บริษัทพยายามเข้าไปหางานที่เป็นงานในระดับชั้นที่ทำให้คนในบริษัทเกิดความกระตือรือร้นหรือไม่ (ไม่จำเป็นต้องเป็นงานใหญ่ แต่เป็นงานดัง)

3. ระบบการทำงานของการผลิดผลงานเป็นอย่างไร (Nature of the process) - บริษัทของท่านเป็นแบบแบ่งเป็นแผนก (Departments) หรือว่า เป็นแบบทำงานเป็นกลุ่ม (Team) - การผลิตงานให้กับลูกค้านั้นเป็นแบบสบายๆ หรือแบบที่ต้องใช้ความเคร่งเครียดสูง?- งานที่สำเร็จส่วนใหญ่มากจากความสามารถของคนๆ เดียว หรือมาจากความร่วมมือของทุกๆคนในทีม 4. บรรยากาศในการทำงานเป็นอย่างไร (Working Conditions)- ภาพพจน์ หรือการจัดสำนักงานของท่านทำให้คนทำงานเกิดความภาคภูมิใจหรือเกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นหรือไม่- เฟอร์นิเจอร์และัวัสดุตกแต่งทั้งหลายนั้น ดูดีมีคุณภาพ และทนทานหรือไม่- อุปกรณ์และระบบเทคนิคต่างๆ ที่บริษัทจัดหาให้เพียงพอกับความต้องการในการทำงานของพนักงานหรือไ่ม่- การสนับสนุนและแก้ปัญหาในการทำงานเช่น ฝ่าย IT ข้อมูลสนับสนุนเพื่อการออกแบบ (Library) การฝึกหัดต่างๆ (Training) และโอกาสในการเจริญเติบโตในวิชาชีพ พอเพียงหรือไม่ - การทำงานนั้นถ้ามีการทำเงินเกินเวลา จะมีนโยบายในการให้ผลตอบแทนพิเศษ (ไม่จำเป็นต้องเป็นเงิน) กับพนักงานอย่างไร ให้โอกาสในการเลือกวันหยุดหรือไม่5. ที่ตั้งของสำนักงานของท่าน (Location of the Office)- ตั้งอยู่ในที่ๆ การเดินทางไปมาสะดวกหรือไม่- การเข้าถึงด้วยระบบขนส่งสาธารณะเป็นอย่างไร- มีที่จอดรถเพียงพอหรือไม่- มีร้านค้า ร้านอาหาร และ สถาณที่ๆ น่าสนใจต่างๆ ดูมีวัฒนธรรมหรือไม่

คำตอบของทุกๆคำถามในแต่ละบริษัทก็จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งก็จะเหมือนกับคำตอบที่แตกต่างกันของพนักงานแต่ละคนที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งต่างๆในชีวิตที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นความเหมาะสมของแต่ละที่จึงไม่มีอะไรที่เป็น Absolute หรือ คำตอบที่เหมือนกันทั้งหมดแต่มัน key word หรือ คำที่สามารถยึดไว้เป็นหัวใจหลักของกระบวนการได้ก็คือคำว่า “ความเกี่ยวข้อง” หรือ “Associations”ผลตอบแทนอันมีคุณค่าึซึ่งไม่ใช่ตัวเงินที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี้ มีปัจจัยหลักมาจากเรื่องของ "ความเกี่ยวข้อง" กับสิ่งต่างๆ พนักงานทุกคนอยากเข้าไปเกี่ยวข้องกับ โครงการที่ดีๆ (Projects) ลูกค้าที่ดี (Clients) ผู้ออกแบบที่ดี (Designers) ผู้สอนที่ดี (Mentors) และเพื่อนร่วมงานที่่ดี (Colleagues) การที่พนักงานได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีคุณภาพในระดับสูงดังกล่าว ทำให้คุณภาพของเขาได้รับการผลักขึ้นไปให้สูง ทำให้เขามองไปสู่ที่สูง เกิดความต้องการที่จะพัฒนาตัวเองให้เท่าเทียม เกิดเป็นความภูมิใจ เกิดเป็นสถาณภาพที่คนอื่นยอมรับ(Prestige) และความรู้สึกในทางบวกต่างๆ ที่จะตามมา ซึ่ง ต้องย้ำอีกครั้งว่า ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับจำนวนเงินเดือนที่เขาได้รับเลย

ผู้ที่อยู่ในวิชาชีพออกแบบทุกๆคนที่ต้องการจะก้าวหน้า ก็จะมองหา ความเกี่ยวข้องต่างๆดังกล่าว ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ทางวิชาชีพ ความสัมพันธ์ทางบุคคล เพื่อที่จะได้เรียนรู้ และเติบโตไปบนความสัมพันธ์อันนั้น ผลตอบแทนที่ไม่ได้เป็นเงิน ที่บริษัทสามารถจัดหาให้พนักงานได้นั้น จะเป็นสิ่งที่ช่วยในเรื่องการเพิ่มทักษะ การเพิ่มความรู้ การให้โอกาส การสร้างชื่อเสียงให้กับตัวพนักงานเอง การให้โอกาสเดินทาง และการเข้าสังคมระดับที่ดีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ สะท้อนกลับไปยัง พีระมิดของมาสโลว์ ในเรื่องการยอมรับนับถือในตนเอง (Self-Actualization) บริษัทใด ที่ไม่ใส่ใจความต้องการของพนักงานตรงนี้ ก็จะเข้าไปอยู่ในสถาวะที่มีการเปลี่ยนพนักงานบ่อย มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ (Operating Cost) สูง และพนักงานจะไม่มีความกระตืนรือร้นใดๆ ในการทำงานเพื่อองค์กรประเด็นสำคัญอีกเรื่งคือ คำถามเกี่ยวกับเรื่องของ ผลตอบแทนที่เป็นเงิน หรือไม่ใช่เงินนั้น ไม่ใช่เรื่องของการที่ บริษัทจะมาเลือกตอบเอาเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้พนักงานเลือกเอา แต่บริษัทที่ประสบความสำเร็จจะมีทั้งสองอย่างให้พนักงานเสมอ แต่ในส่วนของพนักงานแล้ว มักจะใช้สามัญสำนึกหรือความรู้สึกเป็นตัวตัดสิน เพราะัมักจะต้องมีการมาเปรียบเทียบกันว่ามี บริษัทยื่นข้อเสนอให้เขาแบบใด เทียบกับที่เก่าที่ทำงานอยู่

monetary income + psychic income = total income ผลตอบแทนที่เป็นเงิน + ผลตอบแทนทางใจ = ผลตอบแทนโดยรวมเื่มื่อผลตอบแทนทางใจมีมาก สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทำให้พนักงานเห็นแนวทางชีวิตที่จะดำเนินไปในอนาคตกับองค์กรนั้นนๆ เพราะในชีวิตประจำวันทั่วๆไป ในองค์กรต่างๆ พนักงานทุกๆ คนจะรู้จักที่จะเลือกในการที่จะเดินเข้าไปทำงานที่หนึ่งว่า เขาควรจะเลือกว่าจะไปทางด้านเงิน หรือจะไปทางด้านที่เป็นผลตอบแทนทางใจ แต่ในที่สุดแล้ว คนที่มีคุณภาพจะเลือกในที่ๆ มีทั้งสองอย่างรวมกันได้เป็นผลตอบแทนที่สูงสุด ตามสมการดังกล่าวผู้บริหารอย่าได้พยายามที่จะเอาเรื่องผลตอบแทนโดยรวมมาเอาเปรียบพนักงานเพราะจะไ่ม่ีมีทางสำเร็จ ถ้าท่านไปสัญญาว่าจะมีผลตอบแทนทางใจมากมาย (ส่วนใหญ่พวกนี้ไม่ได้อยู่ในสัญญาว่าจ้างเหมือนกับจำนวนเงินเดือน) แต่พอถึงเวลาท่านให้ได้ไม่ตรงกับที่พนักงานเขาคาดหวังไว้ เขาก็จะไ่ม่อยู่กับท่าน ผู้บริหาร ควรจะต้องพิจารณาถึง “ราคากลาง” ของแรงงานที่ท่านจ้าง ในแง่ของผลตอบแทนทางใจตรงนี้ด้วย และจำเป็นจะต้อง “จ่าย” ผลตอบแทนรูปแบบนี้อย่างเป็นธรรมเหมือนกันผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน สิ่งที่เป็นจุดมุ่งหมายของท่านคือ หาจุดสมดุลย์ที่เหมาะสมกับองค์กรของท่านระหว่างผลตอบแทนทั้งสองรูปแบบ เพราะในบทสรุปแล้ว บริษัทที่สามารถให้ผลตอบแทนทั้งสองด้านกับพนักงานอย่างเหมาะสม ด้วยวิธีที่น่าสนใจ จะสามารถดึงดูดพนักงานที่มีคุณภาพ จะสามารถรักษาเขาและเธอทั้งหลายไว้ได้ มันทำให้พวกเขาได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และจะทำให้พวกเขาภักดีต่อองค์กรของท่านเป็นอย่างมาก ซึ่งทั้งหมด ก็จะเป็นผลดีกับองค์กรของท่านเอง

จบ

Robert Smith, AIA, เป็นหุ้นส่วนและผู้บริหารของ Culpepper, McAuliffe and Meaders, Inc., แห่งเมืองแอตแลนตา, รัฐจอเจียร์

Sunday, January 14, 2007

ตอบกระทู้: แบ่งวิชาชีพ หรือรวมวิชาชีพ

เขียนเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2006

ขออนุญาตินะครับ คุณสามเศร้า ถ้าท่านเป็นผู้อาวุโสกว่าผมก็ อโหสิกรรมให้ผมนะครับ แต่ผมต้องพูดตรงๆ กับท่านล่ะ สังคมข้อมูลข่าวสารเสรีนะครับ

1. ข้อหนึ่งเป็นเรื่องจรรยาบรรณและศีลธรรม เห็นด้วยครับ เรื่องในสมัยเป็นนักเรียนที่มีการ่สอนต่อๆ กันมาจากรุ่นพี่ว่า สถาปนิกเป็นคนที่เด่นและดีกว่าคณะอื่นๆ นั้นเ็ป็นเรื่องจริง แต่ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย จะล้มกระดาน กันหมดเลยก็กระไรอยู่ แต่ผมเห็นด้วยในการลดเรื่อง ออกแบบลงแล้วไปเรียนเรื่องอื่น ไม่ควรยัดอะไรเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่ เพราะทุกวันนี้เด็กเรียนมากพออยู่แล้ว ถ้าจะเพิ่มอะไรเข้าไป ต้องไปหาว่า อะไรควรตัดออก

2. ข้อสอง เห็นด้วยอย่างยิ่ง คงต้องมีการจัดการที่ดีและเป็นระบบจากทั้ง สภาสถาปนิก สภาวิศวกรรม และ สมาคมผู้รับหมาครับ

3. อันที่สามนี่ไ่ม่เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ อาชีพแต่ละอาชีพแยกย่อยลงไปเยอะมาก งานมัณฑนากร และงานภูมิสถาปัตยกรรม แต่เห็นว่า การมีใบอนุญาติวิชาชีพหนึ่งแล้ว จะมาสอบอีกวิชาชีพหนึ่งน่าจะเป็นไปได้ ให้พวกเราทุกคนได้มีการขยาดฐานความรู้ในทางกว้างบ้าง นอกจากทางลึกอย่างเดียว แต่ทางลึกเป็นสิ่งทีสำคัญมาก ทิ้งไม่ได้

อย่างของสหรัฐอเมริกานี่ ทั้งงาน Landscape และ Interior Design เป็นงานระดับซับซ้อน มีการเขียน Spec กันดุเดือดมาก งานภูมิก็เป็นวิทยาศาสตร์มากทั้งเืรื่องระบบน้ำ และระบบการวางต้นไม้ตามฤดุกาล และอีกหลายๆ เรื่อง

ถ้าท่านอยากให้วิชาชีพไหนมีการพัฒนาไปในอนาคต ต้องให้พื้นที่ของเขาที่เขาจะโตไปเป็น Expert ไปได้ ขืนไปปิดประตูใส่หน้าเขา ไปบังคับให้เขามาสอบใบอนุญาติสถาปนิกหมด แล้วงานระดับซับซ้อนที่ต้องอาศัย Technical ระดับมหากาฬ เราจะให้ใครทำดีครับ ถ้าคนแห่มาเป็นสถาปนิกกันหมด ? แล้วจริงๆ ถ้าใช้ Logic ที่ท่านว่า ซึ่งผมจะขอเรียนกว่า Logic แบบ Merger คือรวบกันเข้ามาให้หมด เราจะไม่มี Expert อะไรเลยในทาง Landscape และ Interior เพราะคนไม่ให้ความสำคัญ บนพื้นฐานที่ท่านว่า ใครๆ ก็ทำได้ งานที่เขาทำจะถูก Degrade ไปเป็นเรื่อง ง่ายๆ ถูกดูถูกไป

ลองสมมุติว่า ผมเป็นผู้รับเหมา ผมจะไปป่าวประกาศได้บ้างหรือไม่ครับว่า “จะไปจ้างสถาปนิกทำไม มาหาผมดีกว่า ผมมีแบบ ปรับนิดหน่อย ไม่ต้องออกแบบก็ได้ ยุบสภาสถาปนิกไปเลย ไม่ต้องมี เพราะถึงออกไปยังไง ผมก็ต้องเป็นคนสร้าง ท่านอยากได้อาคารแบบไหน ผมไปหาคนมา coordinate ทำเลย เปิดหนังสือเมืองนอกมา ผมจะเอา เด็ก Draft ทำ shop drawing เลย เดี๋ยวสร้างเสร็จ สถาปนิกไปจ้างทำไม เสียเวลา เพราะไปจ้างเขาออกแบบแล้ว คุณก็ต้องมาจ้างผมสร้างอยู่ดี?

สถาปนิกจะมีไปทำไม เพราะคนที่้ต้องรับผิดชอบกับ ชีวิตและความปลอดภัยจริงๆ คือผม ผู้รับเหมา เพราะผมเป็นคนตัดสินใจว่าจะสร้างยังไง สถาปนิกแค่มาดู Site ก่อสร้าง อาทิตย์ละครั้ง บางทีก็ไม่มา ?

เอา แบบนี้เลยมั้ยครับ คุณสามเศร้า?

ท่านบอกว่า ให้ผุ้จ้างตัดสินใจเอง โดยไม่มีกฎหมายมารองรับ เพราะถ้าเขาจะจ้างจริงๆ เขาก็มาหา มัณฑนากรหรือภุิมิสถาปนิกเอง งั้นผมถามว่า ถ้าวันนี้เรายกเลิกกฎหมายวิชาชีพสถาปนิกเลย ไ่ม่ต้องมี License สถาปนิกเลย ผมถามว่าลูกค้าเราจะจ้างเราหรือไม่

ลูกค้าไม่ิวิ่งไปหาผู้รับเหมาตรงๆ ไปเลย แล้วเราไม่ต้องเป็นเบี้ยล่างผู้รับเหมาไปตลอดกาลหรือครับ ?

ท่านกำลังอยากจะให้ มัณฑนากร และภุมิสถาปัตยกรรม เป็นเบี้ยล่างของสถาปนิกสายหลักแบบพวกเราหรือ ?

ผมว่า ท่านใจดำมาก กับเพื่อนร่วมอาชีพสาชาใกล้เคียง ซึ่งขัดแย้งกับ ข้อแนะนำข้อแรกของท่านว่า ควรให้เกียรติผู้อื่น ยอมรับผู้อื่น แล้วท่านยอมรับ คนพวกนี้หรือเปล่าครับ?

ผมเห็นด้วยว่าประชาชนควรได้ประโยชน์สูงสุด จากการตัดสินใจของเรา ประชาชนทั้งประเทศต้องมาก่อน แต่ปััญหาดูเหมือนจะอยู่กับเรื่องของ ขอบข่ายหน้าที่ ว่ามันจะต้องไปลงตรงไหน ถ้านั่นคือปัญหา ก็ไปแก้ตรงนั้น ไม่ใช่ไปยุบเลิกวิชาชีพเขาซะทั้งหมดแล้วมาฮุบรวมกับพวกเราซะเฉยๆ แบบนั้น

ผมเห็นด้วยว่า กฎหมายเรื่องขนาดพื้นที่ ถ้ามันเป็นสนามหญ้าโล่งๆ ร้อยเปอร์เซ็นต์ ไ่ม่มีต้นไม่ ไม่มีระบบน้ำ ไม่มีอะไรทั้งสิ้น แล้วจะต้องมาหา ภูิมิสถาปนิกให้เซ้น มันก็ไม่ค่อยจะเป็นธรรมกับลูกค้า

ผมเห็นด้วยว่า กฎหมายเรื่องขนาดพื้นที่ของ มัณฑนากร ถ้างานมันไม่ซับซ้อน มีแค่ ผนัง พื้น แล้วก็ ผ้าเพดาน ตรงไปตรงมา เขียน Spec แผ่นเดียวจบ จะให้ต้องมี มัณฑนากรมาเซ้นให้ถูกกฎหมาย ก็ไม่เป็นธรรมกับประชาชนเหมือนกัน

เราไปแก้ตรงนั้นแทนดีมั้ยครับ แทนที่จะคว่ำกระดาน หรือ Hijack กันซึ่งหน้าเลย

4. ข้อสี่ คนที่เซ็นแบบควรจะเป็นเ้จ้าของกิจการเท่านั้น เพราะเป็นคนที่ได้ผลประโยชน์มากที่สุด ก็ควรจะเป็นผู้ที่รับความเสี่ยงมากที่สุด การเซ็นยอมรับคือการรับความเสี่ยง การไปเซ็นโดยที่ไม่ดูนั้น เป็นเรื่องของคนที่ไปเซ็นเอง ผมเห็นด้วยเรื่องการยกเลิกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถากำลังจะ adopt American Model ของเรื่องการฝึกงานและการสอบ ซึ่งเขาก็ไ่ม่มีการแบ่งระดับ ที่นี่คนที่มีใบอนุญาติ ก็คือ ออกแบบอะไรก็ได้ ใหญ่แค่ไหนก็ได้

ผมไม่ทราบว่าท่านไปคุยกับสถาปนิกญี่ปุ่นคนไหน แต่ คำว่า Kenchikushi นั้นแปลว่า Architect and Building Engineers ภายใต้กฎหมาย Kenchikushi Law ปี 1950 โดยใบอนุญาติของ Kenchikushi นั้นเป็นใบอนุญาติ เพื่อทำการออกแบบ (Design Building) หรือ ควบคุมการก่อสร้าง (Superintend Construction Work) และมี Kenchikushi อยุ่ สามประเภท ได้ก่

1st-class Kenchikushi, - ออกแบบ อาคาร และ ควบคุมการก่อสร้างกับอาคารได้ทุกขนาด

2nd-class Kenchikushi, - ออกแบบและควบคุมอาคารขนาดเล็กได้เท่านั้น ซึ่งหมายถึงอาคาร ต่ำกว่า หนึ่งพันตารางเมตร และอาคารที่สูงไม่เกิน 13 เมตร (ความสูงรวม) หรือความสูงของ ผนังพื้นที่ใช้สอยชั้นสูงสุด (eve) ไม่เกิน เก้าเมตร

Mokuzo-Kenchikushi. – ทำได้เฉพาะอาคารไม้เล็กๆ เท่านั้น และนี่แหละ คือช่างไม้ที่ท่านว่า

พอเห็นภาพของมั้ยครับ (คุ้นๆ ม้ยว่าเหมือนกฎหมายวิชาชีพสถาปัตยกรรมประเทศไหน)

ท่านจะเห็นได้ว่า คำว่า Kenchikushi ไม่ได้แปลตรงๆ ว่าสถาปนิกเลย แต่เป้นคำที่ใหญ่มาก กินความถึงช่าง สถาปนิก วิศวกร ผุ้รับเหมา หรือเกือบจะเรียกได้ว่า เป็นสมาชิกทั้งหมดของอุตสาหกรรมการก่อสร้างก็ได้ (ยกเว้นผู้ผลิตวัสดุ) การที่ท่านมาบอกว่า สถาปนิกญุ่ปุ่น ไม่มีระดับ ก็คงจะไม่จริงทั้งหมด และการที่ท่านมาบอกว่า ช่างไม้ในญี่ปุ่นก็เป็นสถาปิกเหมือนกัน ก็คงจะไม่ผิด แต่ก็คงจะไม่ถูกเหมือนกัน เพราะในเมื่อ Term หรือ ศัพท์ดังกล่าว ไม่ได้เป็นเป็นสิ่งที่ Identical หรือเท่าเทียมกัน ท่านจะเอามาเปรียบเทียบกันได้อย่างไร ??? (เหมือนเอาทุเรียนไทยไปเปรียบเทียบกับสาลี่ญี่ปุ่น อันไหนมีคุณภาพกว่ากัน ? จะเปรียบเทียบกันยังไงดีครับ? )

ท่านเล่นอยากอ้างอะไรท่านก็อ้างโดยไม่มีการ ตรวจ ก่อนแบบนี้ แล้วเกิดเด็กมาอ่าน แล้วเขาเชื่อท่านหมดหัวใจ เอาไปป่าวประกาศทั้งประเทศว่า ญี่ปุ่นมีช่างไม้เป็นสถาปนิกด้วย โดยที่เขาเข้าใจว่า เป็นสถาปนิกเหมือนๆ กับพวกเรา แบบที่ท่านเข้าใจผิดอยู่นี่ ท่านจะรับผิดชอบหรือไม่ ? หรือท่านจะอ้างว่าก็ท่านฟังมาจากสถาปนิกญี่ปุ่น ก็น่าจะถูก

ทุกวันนี้ ที่ประเทศไทยเราเพี้ยนกันหนักขนาดนี้ ก็เพราะมีนักวิชาการ ไปเรียนปริญญาเอก ไม่เคยทำงานทำการ นั่งเล่นเทียนอยู่บนหอคอยงาช้าง เท้าไม่ติดดิน อ้างข้อมูลไปมาโดยไม่ ตรวจสอบความถูกต้อง แล้วก็เอาข้อมูลไปใช้ ไปปฎิบัติเลย ออกมามันก็เละ แล้วประเทศเราก็เจอแต่ โครงการวิบัติ โครงการที่ไม่ work แผนที่ไร้ทิศทาง ปฎิบัติไม่ได้ แล้วใครรับกรรม? ก็ประชาชนไทยทั้งนั้น.

ถ้าท่านรักประเทศไทยจริง เริ่มจากการตรวจสอบสิ่งที่จะแนะนำให้ชาวบ้านเขาทำก่อนจะดีหรือไม่ ว่ามาจากฐานข้อมูลที่ถูกต้องหรือเปล่า ?

ท่านอย่าได้อ้างว่า ท่านเจตนาดี เจตนาดีหรือไม่นั้น ไม่สำคัญ เจตนาดีแต่ผลร้าย เอาไปลดหย่อนผ่อนโทษในศาลได้ถ้าท่านทำผิดกฎหมาย แต่ถ้าทำการพัฒนาแล้ว สิ่งที่สำคัญอยู่ที่ผลของการปฎิบัติ ถ้าท่านกระทำหรือพูดอะไรด้วยความไม่รู้ ต่อให้เจตนาท่านดี ผลก็อาจะกลายเป็นวิบัติได้

ถ้าอยากอ่านข้อมูลโดยละเอียด เชิญ ได้ที่นี่ครับ เป็น Website ของ Japan Architectural and Education Center

http://www.jaeic.or.jp/




5. ข้อห้า ผมว่า คนหลายๆ คนที่มาเสียเวลาเขียนอะไรในนี้ โดยที่ไม่ได้ผลประโยชน์ตอบแทน ก็คงเป็นคนที่รักประเทศไทยและอยากเห็นสังคมไทยเป็นสังคมที่ดีไม่แพ้ท่านหรอกครับ (แต่คำถามนี้ล่ะ เป็นคำถามที่ทำให้ผมเดือด)

ถ้าเราออกกฎกันแปลกๆ ขึ้นราคาค่าประกอบวิชาชีพกันเอง แบบฮั้วกัน (cartel) ผมว่า สมาคมผู้บริโภคที่มีหูตาราวกับสับปะรด เขาจะจัดการกับเราเองครับ แบบที่เขาจัดการกับ กฟผ แล้วก็ กำลังจะจัดการกับ ปตท อสมท แพทย์สถา และอื่นๆ

ถ้าท่านไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ผมพูด ผมก็จะรอคำตอบนะครับ

Interior Architecture และ Interior Design

ขอเอาของสหรัฐละกันนะครับ

Interior Design เป็นวิชาชีพ ที่ต้องมีใบอนุญาติ โดย สมาคม the National Council for Interior Design Qualification หลักๆ ของหน้าที่คือ การปรับแต่งสภาพแวดล้อมของ พื้นที่ภายในอาคาร โดยการปรับเปลี่ยน พื้นผิว และองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งจะต้องผ่านทางการใช้ข้อความสื่อสารและ การเขียนแบบก่อสร้าง รายการประกอบแบบ คำว่า Interior Design เป็น term ที่คนรู้จักกันมากและใช้อย่างแพร่หลาย ในระดับการประสานงานทางวิชาชีพ ระหว่างวิชาชีพที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง ก็จะเรียกผู้ที่รับผิดชอบด้านการออกแบบพื้นที่ภายในว่า Interior Designer เพราะฉะนั้น ความหมายของ Interior Designer น่าจะชัด โดยส่วนใหญ่ ส่วนเรื่องการศึ่กษานั้น จะเป็นระบบ สี่ปี และจะเป็นการศึกษาที่ยืนอยู่ในภาคของตัวเอง ไม่อิงกับคณะอื่นๆ ดังนั้น สาขาการศึกษาและวิชาชีพของ Interior Designer นั้น ชัดเจนมาก กรอบการทำงานก็ชัดมากคือ รับผิดชอบในเรื่อง FF&E หรือ Furniture Finishing and Equipment

ในขณะที่ Interior Architecture นั้นเป็น ศาสตร์ที่คนพยายามคิดขึ้นมาเพื่อ เชื่อม ช่องว่างระหว่าง Architecture หรือ สถาปัตยกรรม กับ Interior Designer หรือ มัณฑนากร ซึ่งทั้งสองศาสตร์ในรอบ เกือบๆ 30 ปีที่ผ่านมามีองค์ความรู้ขยายไปอย่างมหาศาลมาก เนื่องจากการพัฒนาระบบอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ อะไรก็แล้วแต่ ทำให้ คนจากทั้งสองวงการรู้สึกมีช่องว่างทางการสื่อสารขึ้นมา เลยพยายามจะหากลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งขึ้นมาปิด ช่องว่างตรงนี้ ก็คือเป็นคนที่เข้าใจหลักทางวิทยาศาสตร์เรื่องโครงสร้าง เรื่องงานระบบทั้งหลายดี แต่จะเนั้นเรื่องสภาพแวดล้อมในอาคารมากกว่า ก็คือเหมือนกับ สถาปนิกที่เราต้องประสานงานกับ วิศวกร (ซึ่ง Interior Designer ไม่ทำ เขาจะคุยกับสถาปนิกคนเดียว) และ ก็เน้นการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในด้วย ซึ่งเป็นกรอบการทำงานของ Interior Designer ฟังดูก็น่าจะเป็นวิชาชีพที่ดี ทีไ่ด้อยู่ทั้งสองโลก

แต่่ข้อจำกัดที่เกิดขึ้นคือเรื่องของ Term ในทางกฎหมายอีกนั่นเอง เพราะบุคคลที่จะใช้คำเรียกตัวเองได้ว่า สถาปนิก หรือ Architect ซึ่งได้กรณีนี้คือ Interior Architect คุณต้องได้รับใบอนุญาติ จาก National Council of Architectural Registration Board ซึ่ง ในกรณีนี้ คุณก็ต้องไปสอบ แล้วพอคุณเป็นสถาปนิก คุณจะเีรียกตัวเองว่า เป็น Interior Architect ก็ไ่ม่มีใครว่าอะไร เพราะในทางกฎหมายคุณคือ Architect เฉยๆ ในขณะเดียวกัน คุณจะเรียกตัวเองว่า Interior Designer ก็ไม่ได้ เพราะ คุณต้องได้รับ ใบอนุญาติ จาก NCIDQ ที่ได้กล่าวไปแล้ว ถ้าคุณไปสอบผ่าน ก็ไม่มีปัญหา คุณก็จะกลายเป็น Interior Designer ตามกฎหมาย

เพราะฉะนั้น สรุปคือ ถ้ามองในการศึกษานั้น Interior Architecture จะ เป็นสาขาที่ดี เพราะคุณได้ สัมผัสทั้งสองโลก แต่ถ้าจบออกมาจะทำงานเหมือนแบบที่เรียนมาจริงๆ จะยาก เพราะสองโลกที่ว่า เขาจะบังคับให้คุณเลือก หรือไม่ก็ต้องเข้าร่วมมันทั้งสองโลกเลย จึงจะได้ประกอบวิชาชีพแบบที่เรียนมาจริงๆ

รู้สึกว่าในสหรัฐ จะมีสาขาวิชาที่เปิดเป็น Interior Architecture จริงๆ สิบกว่าที่ แต่ละที่มีหลักสูตรแตกต่างกันออกไป เพราะไม่ีมีองค์กรที่มากำหนด มาตรฐาน ไม่เหมือนกับ สถาปนิก หรือ มัณฑนากร โดยตรง ที่มี องค์กรตรวจสอบมาตรฐานวิชาชีพมาวัดผลตลอดเวลา

การข้ามสองโลกในวงการการศึกษาเป็นเรื่องปกติ เพราะจุดประสงค์คืการต้องการให้ความรู้ นักศึกษาให้ได้มากที่สุด การประกอบวิชาชีพนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งข้างหน้า ตัวอย่างที่ชัดๆ ก็คือ ภาควิชา สถาปัตยวิศวกรรม หรือ Architecture Engineering ที่เปิดสอนที่มหาวิทยาลัยระดับ Top Class แบบ Perdue เป็นต้น สถาปนิกที่ประกอบวิชาชีพที่ ผมเคยรู้จักจบมาจากที่นี่ จะเข้าใจเรื่อง งานระบบและงานโครงสร้างลึกมาก เวลาออกแบบนี่ทุกอย่างจะแป๊ะไปหมด และผมรู้สึกว่า ในประเทศ เยอรมันก็จะเป็น Architecture Engineering ยังไงฝากผู้รู้ช่วย Confirm ด้วยครับ