เขียนเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2006
ขออนุญาตินะครับ คุณสามเศร้า ถ้าท่านเป็นผู้อาวุโสกว่าผมก็ อโหสิกรรมให้ผมนะครับ แต่ผมต้องพูดตรงๆ กับท่านล่ะ สังคมข้อมูลข่าวสารเสรีนะครับ
1. ข้อหนึ่งเป็นเรื่องจรรยาบรรณและศีลธรรม เห็นด้วยครับ เรื่องในสมัยเป็นนักเรียนที่มีการ่สอนต่อๆ กันมาจากรุ่นพี่ว่า สถาปนิกเป็นคนที่เด่นและดีกว่าคณะอื่นๆ นั้นเ็ป็นเรื่องจริง แต่ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย จะล้มกระดาน กันหมดเลยก็กระไรอยู่ แต่ผมเห็นด้วยในการลดเรื่อง ออกแบบลงแล้วไปเรียนเรื่องอื่น ไม่ควรยัดอะไรเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่ เพราะทุกวันนี้เด็กเรียนมากพออยู่แล้ว ถ้าจะเพิ่มอะไรเข้าไป ต้องไปหาว่า อะไรควรตัดออก
2. ข้อสอง เห็นด้วยอย่างยิ่ง คงต้องมีการจัดการที่ดีและเป็นระบบจากทั้ง สภาสถาปนิก สภาวิศวกรรม และ สมาคมผู้รับหมาครับ
3. อันที่สามนี่ไ่ม่เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ อาชีพแต่ละอาชีพแยกย่อยลงไปเยอะมาก งานมัณฑนากร และงานภูมิสถาปัตยกรรม แต่เห็นว่า การมีใบอนุญาติวิชาชีพหนึ่งแล้ว จะมาสอบอีกวิชาชีพหนึ่งน่าจะเป็นไปได้ ให้พวกเราทุกคนได้มีการขยาดฐานความรู้ในทางกว้างบ้าง นอกจากทางลึกอย่างเดียว แต่ทางลึกเป็นสิ่งทีสำคัญมาก ทิ้งไม่ได้
อย่างของสหรัฐอเมริกานี่ ทั้งงาน Landscape และ Interior Design เป็นงานระดับซับซ้อน มีการเขียน Spec กันดุเดือดมาก งานภูมิก็เป็นวิทยาศาสตร์มากทั้งเืรื่องระบบน้ำ และระบบการวางต้นไม้ตามฤดุกาล และอีกหลายๆ เรื่อง
ถ้าท่านอยากให้วิชาชีพไหนมีการพัฒนาไปในอนาคต ต้องให้พื้นที่ของเขาที่เขาจะโตไปเป็น Expert ไปได้ ขืนไปปิดประตูใส่หน้าเขา ไปบังคับให้เขามาสอบใบอนุญาติสถาปนิกหมด แล้วงานระดับซับซ้อนที่ต้องอาศัย Technical ระดับมหากาฬ เราจะให้ใครทำดีครับ ถ้าคนแห่มาเป็นสถาปนิกกันหมด ? แล้วจริงๆ ถ้าใช้ Logic ที่ท่านว่า ซึ่งผมจะขอเรียนกว่า Logic แบบ Merger คือรวบกันเข้ามาให้หมด เราจะไม่มี Expert อะไรเลยในทาง Landscape และ Interior เพราะคนไม่ให้ความสำคัญ บนพื้นฐานที่ท่านว่า ใครๆ ก็ทำได้ งานที่เขาทำจะถูก Degrade ไปเป็นเรื่อง ง่ายๆ ถูกดูถูกไป
ลองสมมุติว่า ผมเป็นผู้รับเหมา ผมจะไปป่าวประกาศได้บ้างหรือไม่ครับว่า “จะไปจ้างสถาปนิกทำไม มาหาผมดีกว่า ผมมีแบบ ปรับนิดหน่อย ไม่ต้องออกแบบก็ได้ ยุบสภาสถาปนิกไปเลย ไม่ต้องมี เพราะถึงออกไปยังไง ผมก็ต้องเป็นคนสร้าง ท่านอยากได้อาคารแบบไหน ผมไปหาคนมา coordinate ทำเลย เปิดหนังสือเมืองนอกมา ผมจะเอา เด็ก Draft ทำ shop drawing เลย เดี๋ยวสร้างเสร็จ สถาปนิกไปจ้างทำไม เสียเวลา เพราะไปจ้างเขาออกแบบแล้ว คุณก็ต้องมาจ้างผมสร้างอยู่ดี?
สถาปนิกจะมีไปทำไม เพราะคนที่้ต้องรับผิดชอบกับ ชีวิตและความปลอดภัยจริงๆ คือผม ผู้รับเหมา เพราะผมเป็นคนตัดสินใจว่าจะสร้างยังไง สถาปนิกแค่มาดู Site ก่อสร้าง อาทิตย์ละครั้ง บางทีก็ไม่มา ?
เอา แบบนี้เลยมั้ยครับ คุณสามเศร้า?
ท่านบอกว่า ให้ผุ้จ้างตัดสินใจเอง โดยไม่มีกฎหมายมารองรับ เพราะถ้าเขาจะจ้างจริงๆ เขาก็มาหา มัณฑนากรหรือภุิมิสถาปนิกเอง งั้นผมถามว่า ถ้าวันนี้เรายกเลิกกฎหมายวิชาชีพสถาปนิกเลย ไ่ม่ต้องมี License สถาปนิกเลย ผมถามว่าลูกค้าเราจะจ้างเราหรือไม่
ลูกค้าไม่ิวิ่งไปหาผู้รับเหมาตรงๆ ไปเลย แล้วเราไม่ต้องเป็นเบี้ยล่างผู้รับเหมาไปตลอดกาลหรือครับ ?
ท่านกำลังอยากจะให้ มัณฑนากร และภุมิสถาปัตยกรรม เป็นเบี้ยล่างของสถาปนิกสายหลักแบบพวกเราหรือ ?
ผมว่า ท่านใจดำมาก กับเพื่อนร่วมอาชีพสาชาใกล้เคียง ซึ่งขัดแย้งกับ ข้อแนะนำข้อแรกของท่านว่า ควรให้เกียรติผู้อื่น ยอมรับผู้อื่น แล้วท่านยอมรับ คนพวกนี้หรือเปล่าครับ?
ผมเห็นด้วยว่าประชาชนควรได้ประโยชน์สูงสุด จากการตัดสินใจของเรา ประชาชนทั้งประเทศต้องมาก่อน แต่ปััญหาดูเหมือนจะอยู่กับเรื่องของ ขอบข่ายหน้าที่ ว่ามันจะต้องไปลงตรงไหน ถ้านั่นคือปัญหา ก็ไปแก้ตรงนั้น ไม่ใช่ไปยุบเลิกวิชาชีพเขาซะทั้งหมดแล้วมาฮุบรวมกับพวกเราซะเฉยๆ แบบนั้น
ผมเห็นด้วยว่า กฎหมายเรื่องขนาดพื้นที่ ถ้ามันเป็นสนามหญ้าโล่งๆ ร้อยเปอร์เซ็นต์ ไ่ม่มีต้นไม่ ไม่มีระบบน้ำ ไม่มีอะไรทั้งสิ้น แล้วจะต้องมาหา ภูิมิสถาปนิกให้เซ้น มันก็ไม่ค่อยจะเป็นธรรมกับลูกค้า
ผมเห็นด้วยว่า กฎหมายเรื่องขนาดพื้นที่ของ มัณฑนากร ถ้างานมันไม่ซับซ้อน มีแค่ ผนัง พื้น แล้วก็ ผ้าเพดาน ตรงไปตรงมา เขียน Spec แผ่นเดียวจบ จะให้ต้องมี มัณฑนากรมาเซ้นให้ถูกกฎหมาย ก็ไม่เป็นธรรมกับประชาชนเหมือนกัน
เราไปแก้ตรงนั้นแทนดีมั้ยครับ แทนที่จะคว่ำกระดาน หรือ Hijack กันซึ่งหน้าเลย
4. ข้อสี่ คนที่เซ็นแบบควรจะเป็นเ้จ้าของกิจการเท่านั้น เพราะเป็นคนที่ได้ผลประโยชน์มากที่สุด ก็ควรจะเป็นผู้ที่รับความเสี่ยงมากที่สุด การเซ็นยอมรับคือการรับความเสี่ยง การไปเซ็นโดยที่ไม่ดูนั้น เป็นเรื่องของคนที่ไปเซ็นเอง ผมเห็นด้วยเรื่องการยกเลิกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถากำลังจะ adopt American Model ของเรื่องการฝึกงานและการสอบ ซึ่งเขาก็ไ่ม่มีการแบ่งระดับ ที่นี่คนที่มีใบอนุญาติ ก็คือ ออกแบบอะไรก็ได้ ใหญ่แค่ไหนก็ได้
ผมไม่ทราบว่าท่านไปคุยกับสถาปนิกญี่ปุ่นคนไหน แต่ คำว่า Kenchikushi นั้นแปลว่า Architect and Building Engineers ภายใต้กฎหมาย Kenchikushi Law ปี 1950 โดยใบอนุญาติของ Kenchikushi นั้นเป็นใบอนุญาติ เพื่อทำการออกแบบ (Design Building) หรือ ควบคุมการก่อสร้าง (Superintend Construction Work) และมี Kenchikushi อยุ่ สามประเภท ได้ก่
1st-class Kenchikushi, - ออกแบบ อาคาร และ ควบคุมการก่อสร้างกับอาคารได้ทุกขนาด
2nd-class Kenchikushi, - ออกแบบและควบคุมอาคารขนาดเล็กได้เท่านั้น ซึ่งหมายถึงอาคาร ต่ำกว่า หนึ่งพันตารางเมตร และอาคารที่สูงไม่เกิน 13 เมตร (ความสูงรวม) หรือความสูงของ ผนังพื้นที่ใช้สอยชั้นสูงสุด (eve) ไม่เกิน เก้าเมตร
Mokuzo-Kenchikushi. – ทำได้เฉพาะอาคารไม้เล็กๆ เท่านั้น และนี่แหละ คือช่างไม้ที่ท่านว่า
พอเห็นภาพของมั้ยครับ (คุ้นๆ ม้ยว่าเหมือนกฎหมายวิชาชีพสถาปัตยกรรมประเทศไหน)
ท่านจะเห็นได้ว่า คำว่า Kenchikushi ไม่ได้แปลตรงๆ ว่าสถาปนิกเลย แต่เป้นคำที่ใหญ่มาก กินความถึงช่าง สถาปนิก วิศวกร ผุ้รับเหมา หรือเกือบจะเรียกได้ว่า เป็นสมาชิกทั้งหมดของอุตสาหกรรมการก่อสร้างก็ได้ (ยกเว้นผู้ผลิตวัสดุ) การที่ท่านมาบอกว่า สถาปนิกญุ่ปุ่น ไม่มีระดับ ก็คงจะไม่จริงทั้งหมด และการที่ท่านมาบอกว่า ช่างไม้ในญี่ปุ่นก็เป็นสถาปิกเหมือนกัน ก็คงจะไม่ผิด แต่ก็คงจะไม่ถูกเหมือนกัน เพราะในเมื่อ Term หรือ ศัพท์ดังกล่าว ไม่ได้เป็นเป็นสิ่งที่ Identical หรือเท่าเทียมกัน ท่านจะเอามาเปรียบเทียบกันได้อย่างไร ??? (เหมือนเอาทุเรียนไทยไปเปรียบเทียบกับสาลี่ญี่ปุ่น อันไหนมีคุณภาพกว่ากัน ? จะเปรียบเทียบกันยังไงดีครับ? )
ท่านเล่นอยากอ้างอะไรท่านก็อ้างโดยไม่มีการ ตรวจ ก่อนแบบนี้ แล้วเกิดเด็กมาอ่าน แล้วเขาเชื่อท่านหมดหัวใจ เอาไปป่าวประกาศทั้งประเทศว่า ญี่ปุ่นมีช่างไม้เป็นสถาปนิกด้วย โดยที่เขาเข้าใจว่า เป็นสถาปนิกเหมือนๆ กับพวกเรา แบบที่ท่านเข้าใจผิดอยู่นี่ ท่านจะรับผิดชอบหรือไม่ ? หรือท่านจะอ้างว่าก็ท่านฟังมาจากสถาปนิกญี่ปุ่น ก็น่าจะถูก
ทุกวันนี้ ที่ประเทศไทยเราเพี้ยนกันหนักขนาดนี้ ก็เพราะมีนักวิชาการ ไปเรียนปริญญาเอก ไม่เคยทำงานทำการ นั่งเล่นเทียนอยู่บนหอคอยงาช้าง เท้าไม่ติดดิน อ้างข้อมูลไปมาโดยไม่ ตรวจสอบความถูกต้อง แล้วก็เอาข้อมูลไปใช้ ไปปฎิบัติเลย ออกมามันก็เละ แล้วประเทศเราก็เจอแต่ โครงการวิบัติ โครงการที่ไม่ work แผนที่ไร้ทิศทาง ปฎิบัติไม่ได้ แล้วใครรับกรรม? ก็ประชาชนไทยทั้งนั้น.
ถ้าท่านรักประเทศไทยจริง เริ่มจากการตรวจสอบสิ่งที่จะแนะนำให้ชาวบ้านเขาทำก่อนจะดีหรือไม่ ว่ามาจากฐานข้อมูลที่ถูกต้องหรือเปล่า ?
ท่านอย่าได้อ้างว่า ท่านเจตนาดี เจตนาดีหรือไม่นั้น ไม่สำคัญ เจตนาดีแต่ผลร้าย เอาไปลดหย่อนผ่อนโทษในศาลได้ถ้าท่านทำผิดกฎหมาย แต่ถ้าทำการพัฒนาแล้ว สิ่งที่สำคัญอยู่ที่ผลของการปฎิบัติ ถ้าท่านกระทำหรือพูดอะไรด้วยความไม่รู้ ต่อให้เจตนาท่านดี ผลก็อาจะกลายเป็นวิบัติได้
ถ้าอยากอ่านข้อมูลโดยละเอียด เชิญ ได้ที่นี่ครับ เป็น Website ของ Japan Architectural and Education Center
http://www.jaeic.or.jp/
5. ข้อห้า ผมว่า คนหลายๆ คนที่มาเสียเวลาเขียนอะไรในนี้ โดยที่ไม่ได้ผลประโยชน์ตอบแทน ก็คงเป็นคนที่รักประเทศไทยและอยากเห็นสังคมไทยเป็นสังคมที่ดีไม่แพ้ท่านหรอกครับ (แต่คำถามนี้ล่ะ เป็นคำถามที่ทำให้ผมเดือด)
ถ้าเราออกกฎกันแปลกๆ ขึ้นราคาค่าประกอบวิชาชีพกันเอง แบบฮั้วกัน (cartel) ผมว่า สมาคมผู้บริโภคที่มีหูตาราวกับสับปะรด เขาจะจัดการกับเราเองครับ แบบที่เขาจัดการกับ กฟผ แล้วก็ กำลังจะจัดการกับ ปตท อสมท แพทย์สถา และอื่นๆ
ถ้าท่านไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ผมพูด ผมก็จะรอคำตอบนะครับ
Sunday, January 14, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
1 comment:
Slots for Real Money at JTM Hub - Slots, Bingo & Casino
JTG 경기도 출장안마 offers a wide range of online 양주 출장마사지 slots for you to play online. At Slots.lv you can play a wide variety of casino 시흥 출장안마 games 동두천 출장안마 with real money or 군산 출장샵 free spins.
Post a Comment