เรียนคุณ vbada
ดีใจที่ชอบนะครับ บางคนก็ว่ามันไม่เป็นวิชาการเหมือนกัน นานาจิตตังนะครับ
ผมเคยสอนนิสิตปริญญาโท หลักสูตรภาษาอังกฤษ การจัดการทางวัฒนธรรม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทั้งหมดเป็นกลุ่มคนที่มี background แตกต่างกันมากและส่วนใหญ่ ไม่มีความรู้เลยเกี่ยวกับวิชาชีพสถาปนิก ผมได้มีโอกาสอธิบายให้เขาได้ฟังโดยใช้วิธีนี้
1. เราเป็นผู้นำของทีมก่อสร้าง ก็เล่าให้เขาฟังว่า เริ่มแรกคือ สถาปนิกกับเจ้าของ พอไปเรื่อยก็เป็น สถาปนิก+วิศวกร+interior กับเจ้าของ ต่อมาพอเริ่มสร้างก็จะเป็นสองก๊ก ก๊กที่ปรึกษา นำโดยสถาปนิก กับก๊กผู้รับเหมา นำโดยผู้รับเหมาหลัก ตรวจสอบซึ่งกันและกัน แล้วพอยุ่ง เจ้าของก็ เอา CM เข้ามา ทำแบบนี้ เขียนเป็น Diagram ให้เขาเห็นชัดๆ ตรงนี้จะทำให้เขาเห็นว่า สถาปนิก วิศวกร มัณฑนากร ต่างกันอย่างไร
2. เราเป็นผู้ที่มีหน้าที่รับใช้สังคม – เรามีหน้าที่รับผิดชอบความเป็นอยู่ที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ว่าไปให้เห็นความดีงามของวิชาชีพ
3. เราไม่ได้เป็น Artist – ไม่ใช่พวกเพื้อฝัน เราต้องทำงานตรงเวลา เราต้องสื่อสารกับคนเป็นร้อย เราไม่ทำตามอารมณ์
4. เราไม่ได้เป็น พระเจ้า – ไม่ใช่ว่าเสกอะไรออกมาแล้วจะเป็นจริงดั่งใจ คนสร้างคือเจ้าของ เราคือ นักแปลที่ทำฝันของเจ้าของให้ออกมาเป็นจริง ตามข้อจำกัดเท่าที่มี คนที่ออกเงินคือเจ้าของ
5. เรามีหน้าที่รับผิดชอบต่อ สามส่วน คือ เจ้าของเงิน ผู้ใช้อาคาร และตัวเราเอง ตามหลักการประกอบวิชาชีพ
6. เป็นอาชีพทีทำเงินทำทองได้ แต่ต้องไปเรียนรู้ Business Skill เพราะในโรงเรียนจะไม่สอน
7. วาดรูปไม่เก่ง หัดได้ แต่ถ้าหัดแล้วไม่ได้ ดื้อดึงจะเรียนก็จะเหนื่อย และอาจจะไม่สนุก เพราะ Computer ที่ช่วยวาดมันก็เหมือนปากกาแท่งหนึ่ง เหมือนกัน Skill ที่จะวาดก็ต้องมี
ไม่ต้องพูดทั้งหมดนี่นะครับ เป็นทางเลือกเฉยๆ เอาให้สนุกๆ ไว้ก่อนจะดีกว่านะครับ
เท่าที่ผมเห็นเพื่อนๆ ผมในรุ่นเดียวกันที่ทำงานมานะครับ อาจจะมีคนเป็นส่วนน้อยที่ทำวิชาชีพสถาปนิกอย่างที่เรียนมาจริง แต่ผมคิดว่าจะมีน้อยมาก ที่เสียใจที่ได้เรียนคณะนี้ หลายๆคนผมมั่นใจมากว่า ช่วงเวลาที่ได้เรียนในคณะสถาปัตย์คือช่วงเวลาที่มีความสนุกและความสุขมากที่สุดในชีวิต และความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมานั้น ก็ยังเป็นความรู้ที่นำไปใช้ประกอบสัมมาอาชีพอื่นๆที่ทำอยู่ เพราะเราสอนวิธีการคิด วิธีการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทั้งชีวิตอยู่แล้วในทุกๆด้าน --- อันนี้อาจจะเป็นสิ่งที่บอกน้องๆ พวกนี้ได้อีกประเด็นนะครับ
ขอให้มีความสุขในการแนะแนวครับผม
Tuesday, March 07, 2006
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment