Friday, January 12, 2007

Quote: Answer to Earth Quake Question from K.Siem (ASA web)

ความคิดเห็นที่ 8 โดย: seim (willy) วันที่ ( 16 Dec 2006 03:29:38 )

"อ่านเจอในตำรามาตั้งแต่ตอนเรียนว่า อาคารโบราณของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีแผ่นดินไหวอยู่เรื่อยๆ มีการออกแบบที่ดีและเหมาะสม เพราะ joint สามารถยืดหยุ่นได้ และไม่มีการยึดติด แต่ใช้เดือยไม้ (ลักษณะน่าจะเหมือนเรือนไทยบ้านเราๆ)แต่ความรู้จากอีกเล่ม บอกว่าอาคารของ Ando ที่เป็นก้อนคอนกรีต Rigid แข็งเป้กทั้งก้อน เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศที่เกิดแผ่นดินไหวอย่างญี่ปุ่นมากๆ.....ผมเลยงง (มานานแล้ว) ว่าตกลงอาคารที่ยอมให้ส่วนของอาคารขยับได้ หรือ เป็นก้อนแข็งริจิด ถึงจะเหมาะกับการป้องกันความเสียหายจากแผ่นดินไหวได้มากกว่ากันไม่ทราบว่ามี ผู้รู้ ท่านใด ช่วยไขปริศนาให้ ผู้ไม่รู้ อย่างผมให้ทีได้ไหมครับ..?"

คือ อย่างนี้ครับ คุณ Seim

ถ้าว่ากันตามวัสดุแล้ว โครงสร้างที่ใช้กันทุกวันนี้ก็มี สามอย่างคือ ไม้ เหล็ก แล้วก็ คอนกรีต (เสริมเหล้ก) ที่ใช้กันมากทีสุด

บ้านญี่ปุ่นสมัยก่อนที่เป็นโครงไม้ ทำเป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ่น พัฒนามาเป็นพันๆ ปีนั้น ไม่ได้มีการใช้ตะปู แต่เป็นการเข้าไม้ ดังนั้น วิธีการรับมือกับแผ่นดินไหว จึงเป็นรูปแบบของ การทำ Joint หรือข้อต่อให้ Flexible เวลาที่แผ่นดินไหว ลักษณะมาเป็นคลื่นบนดินนั้น Member ของโครงสร้าง เช่น เสา หรือ คาน สามารถ เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ หรือ “ดิ้นได้” โดยที่ Joint ไม่ได้ยึดติดกัน อาคารมันก็เลยไม่พัง อาจจะมีความเสียหายในเรื่องของ กระเบื้อง ประตู หน้าต่างบ้าง แต่ โครงสร้างไม่เป็นไร (ในกรณี แผ่นดินไหวเล็กน้อยนะครับ) หรืออย่างน้อยก็รักษาบ้านไว้ได้นานพอที่จะให้คนกระโดดออกจากบ้านนั่นล่ะถ้าแผ่นดินไหวแรงมาก

ต่อมา ในกรณีของ พิพิธภัณฑ์ ท่าน Ando นั้น ผมเองแม้จะไม่มีข้อมูล แต่จากที่เคยได้ มีส่วนร่วม เล้กน้อย ในการทำโครงการที่เคยตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่นมา อยากจะขอสันนิษฐานว่า อาคารของ Ando นั้นน่าจะเป็นโครงสร้าง Concrete เสริมเหล็ก ซึ่งแน่นอนว่า ธรรมชาติของระบบโครงสร้างนั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับไม้ เพราะตัวโครงสร้างมีการหล่อให้เชิ่อมต่อกันหมด ดังนั้นวิธีการรับมือกับแผ่นดินไหวก็คือ มีการสร้าง Plate หรือ แผ่นฐานราก ซึ่งตั้งอยู่บน Spring ซึ่งก็ตั้องอยู่บน เสาเข็มที่แผ่กกระจายอยู่ทั้ง site Plate ตัวนี้ จะทำหน้าที่รับแรงกระทำด้านข้างโดยตรง โดยหากมีแรงสั่นสะเทือนเป็นคลื่นบนดินมา ก็จะทำให้อาคารสั่นไปพร้อมๆ กัน ในทิศทางเดียวกันทุกๆ ส่วน ถ้าจะเปรียบเทียบแล้วก็ให้ลองคิดถึง กล่องสบู่ ตัวกล่องคือ Plate หรือแผ่นฐานราก แล้วสบู่คือตัวอาคาร เวลาเราเขย่า สบู่ก็สั่นไปทั้งก้อนนะครับ แต่จะอยู่ในกรอบของการรับมือของกล่องสบู่ไม่ให้พัง ที่เปรียบเทียบเป้นกล่องสบู่ นั้นบางคนอาจจะไม่เห็นด้วย เพราะแผ่นฐานรากออกจะแบน แต่กล่องสบู่นั้นเป็นกล่อง แต่บางกรณีถ้าอาคารตั้งอยู่บนที่ดินที่เป็นเนิน หรือ slope ก็อาจจะต้องมีการสร้างกำแพงเพิ่ม หรือเป็น Shear Wall ที่ เชื่อมต่อกับ Plate ดังกล่าวเหมือนกัน ซึ่งสำหรับ อาคารพิพิธภัณฑ์ของ ท่าน Ando ผมคิดว่าเป็นอาคารที่ไม่สูงมาก ยิ่งถ้ามี เสาหรือผนังส่วนใหญ่เป็น คอนกรีต ยิ่งทำให้ วิธีการใช้ Plateพวกนี้มีประสิทธิภาพากขึ้นไปอีก

ทีนี้ มันจะมีปัญหาเวลาที่ท่านทำตึกสูงในญี่ปุ่นนี่ละครับ ที่จะเริ่มยุ่งล่ะ และต้องเอาหลายวิธีมากๆ มาผสมกัน เดี๋ยวขอพักผ่อนก่อนวันนี้ แล้วจะเล่าให้ฟังต่อนะครับ

2 comments:

Anonymous said...

http://lumerkoz.edu i'm fine good work http://rc8forum.com/members/Buy-Zofran.aspx democrats http://soundcloud.com/ativans mapped http://soundcloud.com/arimidex luchi http://soundcloud.com/effexor outsiders complained http://barborazychova.com/members/Buy-Plavix.aspx zational commute

Anonymous said...

Hi my loved one! I wish to say that this article is amazing, nice written
and come with approximately all significant infos.

I would like to look extra posts like this .
Also see my web site > GFI Norte